Transnational Organized Crime

             องค์กรอาชญกรรม หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดโครงสร้างของบุคคลตั้งแต่สามคนกรือมากกว่า ที่ดำรงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งและมีการประสานการดำเนินงานระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการกะทำอาชญากรรมร้ายแรงหนึ่งอย่างหรือมากกว่า เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยอาชกรรมร้ายแรงนั้น อนุสัญญาฯ ระบุว่า คือการกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกขั้นสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ปี หรือมากกว่า นอกจากนี้ในข้อ 3 ของอนุสัญญาฯ ยังระบุถึงลักษณะความผิดต่างๆ ที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ได้แก่
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งประเทศ
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่ส่วนสำคัญของการตระเตรียมการวางแผน การสังการ หรือการควบคุมได้กระทำในอีกประเทศหนึ่ง
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาในอาณาเขตของประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศ หรือ
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่มีผลกระทบที่สำคัญเกิดขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง...
             ในภาพกว้าง องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติหรือแก๊งมาเฟียจะดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายในสองลักษณคือการขายสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด อาวุธ สินค้าโจรกรรม ลักลอบขนแรงงานเถื่อน ปลอมแปลงเอกสารบุคคลเป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่งคืออาชญากรรมประเภทอื่นที่ไม่เข้าข่ายการจัดหาอุปทานสินค้าและบริการ เช่น การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การฉ้อฉลต่างๆ...
         
 ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในอาเชียน อาชญากรรมข้ามชาติเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันอกและอาเซียน เนื่องจากภาครัฐในหลายประเทศไม่สามารถจัดการกับปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ธุรกิจสีเทาต่างๆ เติบโตข้นจนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงและปัญหาเศรษฐกิจ โดยภูมิภาพเอเซียตะวันออกประสบปัญหารอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญ ได้แก่
           1) การค้ามนุษย์และการลักลอบขนผุ้ย้ายถิ่น ประกอบด้วย
               - การขนย้ายแรงงานและผุ้บ้ายถ่ินในอนุภูมิภาคลุมแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทย คาดว่ามีการลักลอบขนย้ายคนเหล่านี้เข้ามาในไทยปีละกว่าห้าแสนคน กว่าร้อยละห้า หรือประมาณ26,400 คน เป็นเหยื่อค้ามนุษย์
               - การลักลอบขนคนต่างด้าวจากกลุ่ม GMS เข้ามาขายบริการทางเพศในไทยและกัมพูชา
               - การลักลอบขนผุ้ย้ายถิ่นจากเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังยุดรปและสหรัฐฯ โดยประเมินว่ามีการลักลอบนำชาวจีนและเวียดนาม ปีละกว่า 12,000 คน และเกือบ 1,000 คนตามลำดับเข้าไปยังสหรัฐฯ
               - การขนผุ้ย้ายถิ่นจากเอเซียใต้และเอเชียตะวันตก เช่น กลุ่มทมิฬจากศรีลังการ ชาวอิรัก และอื่นๆ ผ่านภูมิภาคอาเซียนเข้าไปยังออสเตรเลียและแคนาดา โดยในแต่ละปีจะมีผุ้อพยพทางเรือเข้าไปยังออสเตรเลียกว่า 6,000 คน
           2) การผลิตและค้ายาเสพติด ประกอบด้วย
         
 - การค้าฝิ่นและเฮโรอีนจากพม่าและอัฟกานิสถานมายังเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยส่วนใหญ่ส่งจากรัฐฉานในพม่าไปยังจีน และจากอัฟกานิสถานส่งมายังจีนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อลำเลียงไปยังที่อื่นต่อ โดยฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญไปยังสหรัฐ
             - การค้าแอเฟตามีนและยาบ้าที่ผลิตจากพม่า จีนและประเทศใน GMS โดยส่งมาที่ไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเซีย โดยยาเสพติดทีผลิตในพม่าและจีนจะถูกส่งไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ สำหรับพม่า ชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนโดยเฉพาะกลุ่มว้าแดงและโกก้างเป็นผุ้แลค้ายาเสพติดรายใหญ่ นอกจากนี้ยังมีขบวนการค้ายาเสพติดชาวจีนและชาวพม่าเชื้อสายจีนที่มีกองกำลังคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง
            3) การค้าพืชพันธ์และสัตว์ป่า รวมถึงสารทำละลายโอโซนและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
              - การค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง
              - การค้าไม่เถื่อนจากอินโดนีเซีย มาเลเซียและประเทศอื่นในภูมิภาคไปยังจีนและเวียดนาม
              - การขนขยะอิเล็ทรอนิกส์จากสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นมายังเอเซียโดยเฉพาะจีน ไทย อินโดนีเซยและเวียดนาม โดยใช้ฮ่องกงแลุภาคเหนือของเวียดนามเป็นจุดขนถ่ายสำคัญ
              - การลักลอบค้าสารทำลายโอโซน ซึ่งต้องยกเลิกตามพิธีสารมอนทรีออล โดยมีกานขนสาร ODS จากจีนมายังไทย ฟิลิปปินส์และอินโดยนีเซียเป็นส่วนใหญ่ ผ่านผุ้นำเข้าที่เป็นผุ้ผลิตเครื่องทำความเย็น
            4) การค้าสินค้าปลอดแปลง ประกอบด้วย
              - สินค้าอุปโภคบริโภคปลอมแปลงและละเมิดลุขสิทะิ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากเอเซีย โดยแหลงผลิตใหญ่คือประเทศจีน
              - ยาปลอมซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากจีนและอินเดีย และนำไปจำหน่ายในเอเซียและแอฟริกา...
  ...ที่ผ่านมา อเาซียนได้พัฒนาความร่วมือทีเ่กี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติมาเป็นลำดับ โดยเริ่มจากความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติด จากนั้นก็ได้มีการหารือประเด็นความมั่นคงที่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในกรอบการประชุมต่างๆ เช่น การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน เป็นต้น ต่อมา ค.ศ. 1977 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอาชญากรรมขช้ามชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอาเซียร่วมลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งถือเป็นความร่วมือที่เป็นรูปธรรมครั้งแรก โดยคำประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีกลไกความร่วมมือต่างๆ เช่น การประชุม ทุกสองปี การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยกาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น ต่อมาได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ
               1) พัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือของภูมิภาคเพื่อป้องกัน ควบคุมและปราบปรามปาชญากรรมข้ามชาติ
               2) ร่วมมือกันในขึ้นตอนการสืบสวนฟ้องร้องและพิพากษาคดี และการฟื้นฟูผู้ก่ออาชญกรรม
               3) ส่งเริมการประสานงานกลไกต่างๆ ของอาเซียน
               4) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ของอาเซียนในการจัดการกับปัญหา
               5) พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมายและความตกลงของภูมิภาคที่เกี่ยวกับขบวนการยุติธรรม สำหรับกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของแผนปฏิบัติการฯ นี้ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรา่วมมือด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายการฝึกอบรม การพัฒนาองค์กร และความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคอาเซียน
                 นอกจากความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเองแล้ว อาเซียนยังพัฒนาความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มด้วย ดดยเฉพาะกับญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เช่น ความร่วมมือกับญี่ปุ่นเรื่อปัญหาโจรสลัด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)