หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชาตกอยู่ใต้การรุกรานของเวียนดนามและรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา สงครามกลางเมืองหลัง พ.ศ. 2523 เป็นการสู้รบระห่างกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นองกลุ่มต่างๆ สามกลุ่มคือ พรรคฟุดซินเปกของพระนโรดม สีหนุ พรรค กัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง และแนวร่วมปลอปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร มีการเจรจาสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และไปสู่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกในปี พ.ศ. 2534 ในที่สุดมีกาจัดตั้งโดยสหประชาชาติในพ.ศ. 2536 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟูประเทศ พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังจากมีการเลือกตั้งโดยปกติใน พ.ศ. 2541 การเมืองมีความมั่นคงขึ้น หลังการล่มสลายของเขมรแดงใน พ.ศ. 2541
สถานะภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่มีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา CCP ของสมเด็จฮุน เซน และพรรค ฟุนซินเปค FUNCINPEC ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมือกันได้อย่งราบรื่นทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผุ้นำ เขมรแดงมาพิจารณาโทษ เป็นต้น
กลุ่มการเมืองฝายตรงข้ามรฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสมารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพุชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพุชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณะและนานาชาต เห็นถึงการทุจริตและประพฟติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค(wikipedia.co.th กัมพูชา)
จากสถิติสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา ระบุว่าตั้งแต่ 2534-2536 มีนักลงทุนต่างชาติยื่นคำของอนุญาตดำเนินธุรกิจ ซึ่งนักลงทุนไทยยื่นคำขอสูงที่สุดในบรรดานักลงทุนต่างชาต รองลงมาได้แก่นักลงทุนจากสิงคโปร์, ฝรั่งเศส, และฮ่องกง
นักลงทุนไทยที่เข้าไปทำการต้า และลงทุนในจังหวัดเกาะกงมีหลายราย เช่น ธนิต ไตรวุฒิ ส.ส. ตราด ทำธุรกิจรับซื้อไมจากเกาะกง, สมพร สหวัฒน์ ทำสัมปทานไม่, ทัด สิงหพันธ์ นักลงทุนจากตราดเข้าไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำบนพื้นที่กว่าร้อยไร่, ทด สิงหพันธ์ ลงทุนทำรีสอร์ทที่ปากคลอง, สุรศักดิ์ อิงประสาร พ่อค้าพลอย จากจันทบุรีเช่าวังสีหนุเก่าหรือตึกแดงเพื่อทำรีสอร์ทฯ
เมื่อศูนย์อำนาจในกัมพุชาด้ถูกถ่ายโอนจากคณะรัฐบาลฮุนเซ็น มาเป็นเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ภายหลังที่พรรคฟุนซินเปคยึดครองชัยชนะในการเลือกตั้งสมรชิกสภาร่างรัฐะธรรมนูญเมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่
เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักลงทุนต่างชาติ และรัฐบาลพนมเปญก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง ว่าหากพรรคฟุนซิเปคได้เป็นฝ่านจัดตั้งรัฐบาลนโยบายเร่งด่วนที่ฟุดซินเปคได้เป็นฝ่ายยจัดตั้งรัฐบาลนโยบายเร่งด่วนที่ฟุดซินเปคจะนำใช้คือ นโยบายการทบทวน และแก้ไขสัญญาการลงทุนของนักลวทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนชาวไทยได้ถูกเพ่งเลงเป็นพิเศษ อันเนื่องมาจากความสัมพันะืที่ใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลพนมเปญ รวมทั้งข้อครหาว่านักลงทุนชาวไทยส่วนใหญ่นิยมติดสินบนใหแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อำนวยความสะดวกในการอนุมัติโครงการ
การขนนักร้องนักดนตรีชื่อดังจากเมืองไทยกว่า 50 ชีวิต ของกลุ่มชินวัตรซึ่งเข้าไปดำเนินกิจการเคเบิลทีวีและระบบโทรคมนาคมในกัมพูชา เข้าไปร่วมแสดงในการหาเสีงเลือกตั้งวันสุดท้ายของพรรคประชาชนกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดสอทางเคเบิลทีวีไปทั่วประเทศจึงเสมอืนเป็นการ "แทงม้าแบบเทกระเป๋า" ของกลุ่มชินวัตร ซึงเป็นที่ไม่พอใจของพรรคฟุนซินเปค
เมื่อเส้นทางสู่ทำเนียบเกิดพลิกผันพรรคฟุนซนเปคเป็นฝ่ายชนะ ดังนนั้น นักธุรกิจไทยจึงโดนลงดาบกันถ้วนหน้า ตั้งแต่กลุุ่มชินวัตร, พนมเปญ โฟลทติ้ง ของโอฬาร อัศวฤทธิกุล สัญญาเช่ารีสอร์ทจ.เาะกง โดยนักธุรกิจค้าพลอยชาวไทยในนาม "สุรศักดิ์ อิงประสาร" นอกจากนี้ "เท้ง บุญมา" นักธุรกิจาวไทยผู้บุกเบิกการลงทุนในกัมพูชาในยุคแรกๆ ในนามของ บริษัทไทยบุญรุ่ง
บทเรียนของนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ยังไมม่มสเสถียรภาพทางการเมือง และไม่มีหลักประกันในการลงุทนใดๆ แม้ว่าจะมีกฎหมายรองรับการลงทุนออกมา เช่นประเทศกัมพุชานั้นคงจะเป็นอุธาหารณ์ให้นักลงทุนเพ่ิมความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น(http//www.info.gotomanager.com, "บทเรียนของนักลงทุนไทยในกัมพูชา" มกราคม 2537)
การรัฐประหารที่ล้มเหลวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2537 กับการเข้าไปพวพันของบรรษัทข้ามชาติไทย การรัฐประการเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 5.00 น.กองกำลังฝ่ายกบฎประมาณ 500 คน ได้ยกพลพร้อมด้วยรถถัง 20 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ 21 คัน และอาวุธสงครามประกอบด้วยเครื่องกระสุน จรวด ตลอดจนเครื่องมือตัดสายไฟฟ้า กองกำลังทั้งหมดเดินทางมาจากจังหวัดเปรเวง มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงพนมเปญ
ต่อมาได้รับการสกัดกั้นจากกองทหารฝ่ายรัฐบาล สังกัดพรรคฟุนซินเปค ที่นำโดย นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 แทนที่จะเป็นเจ้านโรดม รณฤทธิ์
กองกำลังพรรคฟุนซินเปฝ่ายรัฐบาลได้ทำการสกัดกั้นกองกำลังกลุ่มกบฎไว้จับกุมตัวพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย สังกัดพรรคประชาชน กับนายเตียซอย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งทั้งสองคนเป็นผุ้บัญชาการกองกำลังฝ่ายกบฎหลังจากนั้นจึุงส่งกองกำลังฝ่ายกบฎกลับที่ตั้งโดยไม่มีการปะทะกัน
การรัฐประหารครั้งนี้ มีเสดต็กรมขุนเจ้านโรดม จักรพงษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีโอรสต่างมารดาในสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ และนายพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผุ้นำในการก่อรัฐประหาร กองทหารฝ่ายรับาลจึงเข้าควบคุมตัวเจ้านโรดม จักรพงษ์
เจ้านโรดม จักรพงษ์ ได้เรียกร้องขอความคุ้มครองจากผุ้สื่อข่าวชาวอเมริกัน และยังเรียกร้องไปยังสมเด็จเน้านโรดม สีหนุ ที่ทรงพำนักอยุ่ ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อขออนุญาตเดินทางลบี้ภัยไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
หลังจากนั้นกองทหารฝ่ายรัฐบาลเข้าจับกุมตัวนายพลสินสองที่บ้านพัก พร้อมกันนี้กองทหารฝ่ยรัฐบาลได้ยึดอาวุธปืนจำนวนหนึ่ง และเครื่องมือสิื่สาร ตลอดจนทำการกักตัวนายพลสินสองไว้ที่บ้านพัก สำหรับเจ้านโรดม จักรพงษ์ ต่อมาภายหลังก็ได้รับการอนุญาตจากเจ้านโรดม รณฤทธิ์ให้ลี้ภัยไปยังประเทศมาเลเซีย
!!จับกุม 14 คนไทยพัวพันการรัฐประหาร-ไล่ล่า ส.ส.ไทย พัวเครือชินวัตร?
นายฮุนเซนได้เคยพบปะกับนักธุรกิจชั้นนำ ที่กระทรวงการต่างประเทศ การพบปะดังกล่าว นายฮุนเซนได้กล่าวถึง การเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจไทยว่านักธุรกิจไทยเป็นนักฑุุรกิจที่กล้าหาญที่ไปลงทุนในกัมพูชาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งเชื่อว่านักธุรกิจไทยคงประสบความเสียหายน้อยลง
หลังจากที่ตนได้ร่วมลงนามกับเจ้ารณฤทธิ์เพื่อขอ มติขับนาย สัม รังษี อคีตรัฐมนตรีคลังออกจากตำแน่าง เหนืองจากเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของต่างประเทศ การหยิบยกสัญญาที่ได้ทำไว้กับรัฐบาลชุดก่อนขึ้นมาทบทวนแล้วบอกว่า เป้นวัญญาที่ไม่ถูกต้องหรือในกรณีที่ธนาคารต่างชาติไปลงทุนในกัมพูชาก็ถูกนาย สัม รังษีกล่าวหาว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน
นายฮุนเซน กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนในดัมพูชาตนขอเอาชีวิตเป็นประกันว่าธุรกิจและการลงทุนของไทยที่จะเข้าไปในกัมพูชาต่อไปนี้จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป และขอย้ำว่าจะมอบชีวิตเป็นประกันธุรกิจไทยในกัมพูขา ทั้งยังจะเสนอให้มีการหยิบยกสัญญาที่ยังมีปัญหาขึ้นมาพิจารณาอย่างยุติธรรมอีกครั้งหนึ่้ง โดยจะเร่งให้เสร็จสิ้นปัญหาดดยเร็วที่สุด
การให้สัมภาษณ์ของนายฮุนเซน จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ 2 ประการ ประการแรก ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 กันายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ไม่ดี นับแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลผสมและต้องทำงานร่วมกัน
ประการที่สอง ชี้ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์อันเกี่ยวเนืองเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่มนักธุรแกจไทยกับนายฮุนเซนอย่งเห็นได้ชัด ฉะนั้นการที่นาย สัม รังษี และเจ้สนโรดม รณฤทโิ์เข้ามาทำการรอันเป็นผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจไทย
จึงเป็นที่ต้องสงสัยว่า การรัฐประหารในกัมพูชาครั้งนี้ ผู้ที่เข้าไปพัวพันกับการรัฐประหารก็คือ กลุ่มนักธุรกิจจากประเทศไทย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากการที่กลุ่มนักธุรกิจซึ่งนำโดยอดีตสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรพรรคการเมืองหนึ่งกับพรรคพวก ได้ให้ความช่วยเหลือนำตัวพลเอก สินสอง ผุ้มีส่วนร่วมในการัฐประหารกับพรรคพวกหลบหนีเข้าเมืองทางชายแดนด้านจังหวัดตราด หลังจากที่กลุ่มเขมรเหล่านี้ก่อการรัฐประหารไม่สำเร็จ..(มติชนออนไลน์, เปิดวิทยานิพนธ์"ร้อน"-กลุ่มชินวัตรสัมพันะ์ลึก "ฮุนเซน" พวพันรัฐประหารซ่อนเงื่อนในกัมพูชา?)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น