วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Isalamic civilization

             ศาสนาอิสลามมีกำเนินขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 จากนั้น ศาสนาอิสลามก็แพร่หลายออกไปสู่ดินแดนอื่นๆ โดยรอบคาบสมุทรอาหรับ ทางตะวันตกแพร่ไปถึงยุโรปภาคใต้ และทางตะวันออกแพร่เข้ามาสู่อินเดีย และจากอินเดียเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นมีกษัตริย์มุสลิมครองอยู่ที่เอลฮี และในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 อิสลามเผยแร่ต่อมาทางใต้ในแค้วนคุจราต ซึ่งมีศูรย์กบางอยู่ที่เมือง แคมเบย์ (ปัจจุบันเรียกเมือง คามปาท) อันเป็นเมืองท่าติดต่อทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่เดิม พ่อค้าอินเดียที่หันไปนับถือศาสนาอิสลามเื่อมาค้าขายยังเอเชียตะวันออเฉียงใต้ ก็ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั้น เมื่อพ่อค้าอินเดียเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีจุดประสงค์เพียงค้าขายเท่านั้น แต่เมื่อสมัยหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13 พ่อค้าอินเดียเริ่มมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย เพราะว่าศาสนาอิสลามนั้นไม่มีนักบวชเช่นศษสนาอื่นๆ ประชาชนทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาไปในตัวนั่นเอง...
              ด้วยความเชื่อหลักสำคัญๆ ของศาสนา เช่น ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์นั้น ขัดต่อความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ทั่วๆ ไป ที่นิยมบูชาพระเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ทั้งในศษสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธแต่ชาวเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารับนับถือศาสนาอิสลามได้นั้น ก็เพราะว่าภายหลังที่พระมะหะหมัดเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว ศษสนาอิสลามก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างต้ามกาลเวลาเพื่อให้เข้ากับความรู้สึกนึกคิดของคนในชาติต่างๆ ในดินแดนที่ศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้าไป เกิดมีนิกายต่างๆ แตกแยกออกไปหลายนิกาย เพื่อที่ชาวเพื้นเมืองนั้นจะได้นำไปผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนได้ประเพณีความเชื่อถือดั้งเดิมของขนชาติต่างๆ เหล่านี้ จึงถูกนำมาผสมผสานเข้ากับหลักของศาสนาอิสลาม จนในที่สุดก็ยากที่จะแยกแยะออกได้ว่า หลักใด พิธีใด เป็นของศาสนาอิสลาม และหลักใด พิธีใด เป็นประเพณีดั้งเดิของพื้นเมือง
         
อิสลามที่ผ่านการวิวัฒนาการเช่นนี้แล้วนั่นเองที่เป็นอิสลามที่เผยแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองชุมทางทางการต้าต่างๆ อย่างแพร่หลาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในทางศษสนาในการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมานับถือศษสนาอิสลาม...
           หมู่เกาะทางตอนใต้ของเอเชียที่เรียกรวมกันว่า "มาลัยทวีป" หรือที่ประเทศตะวันตกรู้จักกันในนามของ ชายทะเลใต้ ได้แก่ เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะบอร์เนียว เกาะสุราเวสี เกาะเซลีเบส มะละา และเกานิวกินี แต่เดิมได้รับอิทะิพลจากอารยธรรมฮินดู พราหมณ์ และศษสนาพุทธนิกายมหายานจากอินเดีย แต่ในช่วงศตวรรษที่ 14 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางศษนา กล่าวคือศาสนาอิสลามได้เิร่มเข้ามามีบทบาทในแถบบริเวณนี้ จนทำให้ประชากรในประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประชากรมุสลิมที่มากที่สุดในโลก.. ปัจจุบันอินโดนีเซียก็ยังเต็มไปด้วยอารยธรรมแบบดั้งเดิม เช่น บรมพุทโธ(โบโรบุดูร์) อันเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ หรือในเกาะบาหลีที่เต็มไปด้วยอารยธรรมฮินดู พร้อมๆ กับความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาอิสลาม
            การขยายตัวของศาสนาอิสลามตามนครรัฐต่างๆ ทางเกาะสุมาตรา และแหลมมลายูนั้น จะเป็ฯไปในรูปแบบที่ว่า เมื่อนครรัฐใดได้กลายเป็นนครรัฐอิสลามแล้วนครรัฐเหล่านั้นจะพยายามเผยแพร่ ศาสนอิสลามไปสู่ประชาชนในรัฐใกล้เคียง ในลักษณะของการชักจูง แนะนำ รวมถึงใช้อิทธิพลทางการเมือง ทำให้รัฐใกล้เคียงกลายเป็นรัฐอิสลามตามไปด้วย ส่งผลให้การขยายตัวของอสลาในระยะนี้ได้แพร่ขยายขึ้นมาจากทางตอนเหนือ ของมลายูเขามายังตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าเจ้าผู้ปกครองเมื่อนครทางภาคใต้ของไทยในระยะนั้นจึนถึง เมืองนครศรีธรรมราชหันมานับถือศาสนอิสลามเป็นระยะเวลกว่า 700 ปี มาแล้ว และทางอาณาจักรสุโขทัยเองก็ได้พบหลักฐานว่ามีกาค้าขายกับกลุ่มประเทศที่ใช้ ภาษาอกหรับและเปอร์เซีย โดยพบว่าเครื่องชามสังคโลกในสมัยนั้นมีการแกะสลักเป็นภาษาเปอร์เซีย
         
ศาสนาอิสลามที่เข้าสุ่ดินแดน มาลัยทวีป ในลักษณะที่เรียกได้ว่า Indo-Persian กล่าวคือมีลักษณะเหมือนศาสนาอิสลามเข้ามาในอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากอิสลามในแหลมอาระเบีย เพราะอิสลามที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ถูกผสมกลมกลืนเข้ากับ วัฒนธรรมดั้งเดิม ทั้งนี้อิสลามในแต่ละพื้ที่ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามบริบมและประวัติ ศาสตร์ของสภานที่นั้นๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือเหมือนกันคือ หลักปฏิบัติ 5 ประการ
           จากบันทึกของชาวจีนในปี พ.ศ. 1949 กล่าวว่า ชาวชวา ชาวมาเลเซีย และชาวเกาะสุมาตราเป็นอิสลาม ซึ่งมีหลักฐานว่าผุ้เผยแพร่ศาสนาที่มาจาก ฮาตรา เมาท์ มาสู่เกาะชวา ท่านผู้นี้คือ เมาลานา มาลิก อิบรอฮีม และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 1962 ทางตอนเหนือของเมืองซุราบายาในชวา มีหลุมฝั่งศพของทา่านกลายเป็นอนุสรณ์มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการแสดงให้เก็นว่าตอนนั้นอสลามได้เข้มรยังเกาะชวาแล้ว ดดยในเริ่มแรกชาวมุสลิมมีอิทธิพลอยู่ตามชายฝั่งทะเลเพราะได้เดินทางมาทาง เรือ ด้วยเหตุที่มีความขยัน มีฐานะดี ซือสัตย์ สุจริ ตชาวมุสลิมจึงมัเป็นที่นับถือของชนพื้นเมือง จนเริ่มมีความสนิทสนม และความสัมพันะ์อันแน่นแฟ้น รวมถึงได้มีการแต่งงานระหว่างกัน
                                     
                                                                         
           (www.thaiartcmu.com/.., การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในอินแดนเอเซียตะวันออเฉียงใต้)
           (www.sameaf.mfa.go.th/.. การเข้ามาของศาสนาอิสลามสู่ตะวันออกไกล โดยโชติ โมารทัต, รายการวิทยุโลกมิสลิม วันที่ 12 เมษายน 2554.)

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Chinese civilization II

             ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาม การแผ่ขยายวัฒนธรรม อิทธิพล ประเพณีของจีน มากับผู้อพยพชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งชาวจีนมีการอพยพถิ่นฐานมาแต่อดีตช้านาน ในสมัยราชวงศ์หมิง มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 ชื่อเดิมคือ "ซานเป่า" แซ่หม่า เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนชองมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบาร..การเดินทางสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง มากกว่า 37 ประเทศ เร่ิมต้นการสำรวจตรวกับสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทองปกีตองกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่เรียกว่า "เป่าฉวน" ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพอ่ซำปอกง"(ซานเป่ากง) วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณวำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเนืองจาก ชาวจีนผุ้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการพวงพ่อโตวัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า "ซำปอฮุดกง"ซึ่งแปลว่า พระเจ้า 3 พระอง๕์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น "ซำปอกง" จึงเข้าใจว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา เจิ้งเหอเป็นขันทีไม่สามารถมีลูกได้ หากแต่พี่ขชายได้ยกลูกชายหยิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกี่ยรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานใหนเจิ้งชงหลิ่ง ผุ้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม ..(th.wikipedia.org/../เจิ้งเหอ)
          ในสมัยหมิงนี้มีการเดินทางค้าขายและอยู่อาศัยในดินแดนโพ้นทะเล ชาวจีนที่เป็นพ่อค้าเรือสำเภาเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเส้นทางเดินเรือยุคโบราณ เช่น หมู่เกาะที่เป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ดินแดนในแหลมมลายู ช่องแคบมะละกาและหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งเป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน ซึ่งผุ้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นพอค้าเหล่านี้เรียกว่า Huashang ซึ่งพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ได้อยู่กอนกับสตรีพื้นเมืองจนเกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในยุคแรกๆ โดยมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดถึงยุคปัจจุบัน ชาวจีนที่อพยพไปยังดินแดนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจากมณฑลหวางตุ้ง ฟูเจี้ยน และเจ้อเจียงเป็นหลัก ประกอบด้วยชาวจีนที่ใช้ภาษาถิ่นฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮากกา(จีนแคะ)และไหหลำเป็นส่วนใหญ่
              การเดินทางอพยพกลุ่มใหญ่ของชาวจีนเดิขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่กลาางคริศตศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ภายหลังยุคล่า
อาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาครอบครองอินแดนต่างๆ และเปิดโอกาสให้พ่อค้า นัก
เดินเรือและช่างฝีมือชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของตน จึงก่อให้เกิดคลื่นลูกที่หนึ่งของการอพยพย้ายถ่ินของชาวจีน โดยในช่วงราชวงศ์ชิงทีถูกปกคหรองด้วยชาวแมนจู ชาวฮั่นจากจีนได้มีการพอยพอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับร้อยปี จนก่อให้เกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนราว 1.5 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 แม้ในช่วงนี้จักรวรรดิจีนจะไม่มีนโยบายให้ชาวจีนอพยพไปอยู่ต่างประเทศ  การย้ายถิ่นในช่วงที่แรงงบานชาวจีนหลั่งไหลออกนอกประเทศภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เป็นยุคคลื่นลูกที่สอง การพ่ายแพ้สงครามฝิ่นทำให้ทางการจีนต้องยอมให้มหาอำนาจตะวันตกระดมแรงงานจีนไปทกงานในต่างประเทศได้อย่างเสร จนเรียกว่าเป็นช่วงการอพยพของกลีชาวจีน ทำให้แรงงานจีนซึ่งนิยมเรียกกันว่า Huagong จำนวนถึงประมาณ 5 ล้านคนหลังไหลไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ ช่วงปลายคริศตศักราชที่ 19 ถึงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยส่วนมากจะมาเป็นแรงงานในเหมือง
ทอง เหมืองถ่านหิน แปลงเกษตรและไร่ขนาดใหญ่.. ช่วงนี้เป็นยุคแรกที่ชาวจีนกลุ่มใหญ่อพยพออกนอกทวีปเอเชีย มีการปาระเมิน่าชุมชนชาวจีนซึ่งรวมถึงครอบครัวลูกผสมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5 ล้านคนในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1920  ยุคคลื่นลูกที่สาม เกิดขึ้นภายหลังกานสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ จนเกิดการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ยุคนี้เป็นยุคที่ชาวจีนอพยพไปยังต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้เนื่องจากภาวะรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นในช่วงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยเฉพาะหลังการฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีการลงทุนและการเติบโตทางอุตสาหกรรมอย่างมาก ชุมชุนชาวจีนเติบโตมากในยุคนี้ ชาวจีนอพยพในยุคนี้มักถูกเรียกว่า เป็นพวก "หัวเฉียว" ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นผุ้มีการศึกษาและมีความรู้สึกชาตินิยมสูง และส่วนหนึ่งมีความหวังจะกลับไปยังเมืองจีน.. คาดการณ์ว่าจำนวนชาวจีนอพยพจนถึงทศวรรษที่ ค.ศ.1950 มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน แต่กระแสการอพยพของชาวจีนได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1949  อย่างไรก็ตาม
ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดยลูกหลานชาวจีนที่เกิดในประเทศต่างๆ ยังคงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของตน อนึ่ง ในยุคคลื่นลูกที่สามนี้ เป็นศักราชใหม่ของการย้ายถิ่นที่สำคัญของสตรีชาวจีน โดยก่อนหน้านี้ผู้อพยพชาวจีนจะเป็นเพศชาวเป็นหลัก ปัจจัยดึงดูดที่สำคัญคือ ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขนาดของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล การติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภูมิลำเนาเดิม สร้างความมั่นใจให้กับสตรีชาวจีนในการไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศ ยุคคลื่นที่สี่ เป้าหมายของผุ้อพยพคือประเทศที่พัฒนาแล้วหาใช่เอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ดังชาวจีนโพ้นทะเลในอดีต โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด้ อิตาลี สเปนเป็นต้น และนิยมเดินทางไปยังประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และรัสเซียด้วย ในเวลาต่อมาชาวจีนได้เริ่มกระจายไปอาศัยยังภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมของขาวจีนโพ้นทะเล อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก แอฟริกาใต้ อิสราเอล อียิปต์ ซาอุดิอาระเบียและตุรกี โดยทางการจีนได้เรียกชาวจีนอพยพในยคุคลื่นลูกที่สี่ว่า Xin yimin หรือ  New Migrants ถึงอย่างนั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของชาวจีนในคลื่นลูกที่สี่ คาดว่ามีชาวจีนกว่า 2.3-2.65 ล้านคน โดยเป็นสตรี ประมาณหนึ่งล้านคน หรือเกือบครึ่งของชาวจีนอพยพรุ่นที่สี่...(www.idsa.ipsr.mahidol.ac.th/../คลื่นลูกที่สี่.)
           
 ...คนจีนโพ้นทะเลเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่นที่อาจกล่าวได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประมาณร้อยละ 70 ของคนจีน
โพ้นทะเลทั่วโลก รัฐบาลจีนเองก็ได้ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มดังกล่าว โดยการกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนจีนโพ้นทะเลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน คนจีนโพ้นทะเลก็มีส่วนช่วยในการสร้างความมั่งคั่งและการพัฒนาประเทศที่พวกเขาเข้าไปอยู่อาศัย โดยมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ที่จนเชื้อสายจีนเข้าไปอยู่อาศัย กล่าวคือ เครือข่ายความสัมพันะ์เชิงญาติมิตรและภาษาของคนจีนโพ้นทะเลช่วยให้การทำธุรกิจข้ามพรมแดนเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ความสัมพันธ์ในเครือข่ายดังกล่าวทำให้เกิดความไว้วางใจและการไหลเวียนของ
ข้อมูลทางการค้าภายในเครือข่ายเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ประกอบกัยความรู้เก่ี่ยวกับวัฒนธรรมทืองถิ่น จึงช่วยส่งเสริมความร่วมมอทางการค้าระหว่งปรเทศที่เป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งกฎระเบียบทางการค้ายังไม่เข้มแข็ง ดังจะเห็ได้ว่า นอกเหนือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกแล้วเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญขชองจีนคือ ประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีสัดส่วนของประชากรเชื้อสายจีน เป้นจำนวนมาก เช่นไต้หวัน มาเลเชีย และไทยเป็นต้น..เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวอย่งที่ชัดเจนของบทบาทางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ แต่กลับเป็นเจ้าของกิจการที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าคนกลุ่มอื่นในประเทศ จะเห็นได้ว่า คนจีนโพ้นทะเลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศต่างๆ และรัฐบาลของหลายประเทศได้กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทและใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งกำลังกลายเป็นมหาอำนาจทาง
เศรษฐกิจของโลก..(www.kriengsak.com/../บทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศ)
                 รัฐบาลจีนดำเนินยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล โดยการสร้างความผุกพันทางอารมณ์ความรุ้สึกของชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศบ้านเกิด เช่น การจัดตั้งสถาบันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนเชื่อสายจีนนต่างประเทศ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรของชาวจีนโพ้นทะเล เป็นต้น รัฐบาลจีนยังกำหนดนโยบายสร้างแรงจูงใจเพื่อใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล เช่น การให้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ แก่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมให้คนจีนโพ้นทะเลที่มีความสามารถพิเศษกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการดึงบุคลากรระดับสูงเข้ามาทำงาานในประเทศจีน
         อย่างไรก็ดี นโยบายของรัฐบาลจีนที่เกี่ยวข้องกับคนจีนโพ้นทะเลกำลังมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป ตามทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างน้อยใน 3 ทิศทางหลัก ได้แก่

  - การเปลี่ยนนโยบายจกากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพลเมืองของประเทศจีนในต่างประเทศ ขยายเป็นคนเชื้อสายจีนทั้งหมดในต่างประเทศ นโยบายเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเลของรัฐบาลจีนในช่วงทศวรรษ 1980 มุ่งให้ความสนใจกลุ่มพลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ในปัจจุบัน จีนได้ขยายขอบเขตของนโยบายไปสู่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ และช่วงเวลาที่อพยพ...
             - การเปลี่ยนนโยบายจากการแสวงหาทุนทางการเงินเป็นแสวงหาทุนมนุษย์ ในช่วงแรกของการเปิดประเทศ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยใช้เครือข่ายของคนจีนโพ้นทะเลในการแสวงหานักลงทุน แต่รัฐบาลจีนมแนวโน้มเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
ประเทศจากเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ เนื่องจากความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานราคาถูกเริ่มถดถอยลงและจีนยังต้องแข่งขันกับเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายนจีนโพ้นทะเลจึงมีแนวโน้มเป็นไปเพื่อแสวงหาบุคลากรที่มีความรู้แลทักษะที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศและการแข่งขันทางเทคโนโลยี
             - การเปลี่ยนนโยบายจากากรสนับสนนุให้คนจีนโพ้นทะเลกลับสู่บ้านเกิดเป็นการให้ช่วยเหลือประเทศบ้านเกิดโดยที่ยังอยู่ในต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบาย ประกอบด้วยหนึ่ง การพัฒนาของเทคโนโลยี
สารสนเทศและกานสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นนแต่มีต้นทุนต่ำลง สอง การส่งเสิรมให้บรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของและภาคเอกชนของจีนออกไปลงทุนหรือขยายกิจการไปต่างประเทศมากขึ้น และสา จีนต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้มีความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศมากขึ้น ซึค่งความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในำต้หวันและคนไต้หวันในซิลิคอนฃวัลเล่ย์นับเป็นต้นแบบของนโยบายของรัฐบาลจีน..www.kriensak.com/.., ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล)
              ชุมชนคนจีนหรือไชน่าทาวน์ที่สำคัญๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย ย่านไชน่าทาวน์ของมะนิลา มีชื่อย่างเป็นทางการว่า ย่านบินอนโด ถือเป็นไชน่าทาวน์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่องปี 1594 โดยหลุยส์ เปเรซ ดาสมารินยาส ผู้ว่าราชการชาวสเปน ซึ่งก่อตั้งชุมชนนี้เพื่อรองรับผู้อพยพชาวจีนที่เปลี่ยนมานับถือคริสต์นิกายคาธอลิก, กรุงเทพประเทศไทย นับจากถนนเยาราชจนถึงวงเวียนโอเดียน ตั้งอยู่ในย่านเก่าแก่ที่สุดของเมือง ที่นี่อัดแน่นด้วยร้านอาหารข้างทาง แผงค้าขายบนทางเท้า และร้านทอง, โตรอนโต แคนาดา ก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นไชน่าทาวน์ที่หใญเป็นลำดับต้นๆในอเมริกาเหนือ, โจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ ชุมชนคนจีนแห่งแรกของเมืองนี้ ก่อตั้งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยชาวจีนที่เข้ามาขายแรงงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ย่านดังกล่าว ซึ่งอยุ่บน
กัลกัตตา อินเดีย ตั้งอยู่ในเขตตะวันออกของเมือง ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า ติเรตตาบาซาร์ และส่วนเมืองใหม่เรียกว่า ตันกรา ขึ้นชื่อเรื่องงานเทศกาลและอาหารของคนจีน รวมทั้งอาหารจีนที่มีกลิ่นอายแบบอินเดียผสมผสาน, ลอนดอน อังกฤษ อยู่ในย่านไลม์เฮาส์ เขตอีสต์เอนด์ โดยเป็นชุมชนของชาวจีนที่เป็นพนักงานบริษัทไชนีส อิสต์อินเดียในช่วงศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบัน ย่ายไชน่าทาวน์ขยายพื้นที่ไปถึงรอบๆถนนเจอร์ราร์ด, ฮาวานา คิวบา ไชน่าทาวด์ของฮาวานา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ บาริโอ ซิโน เดอ ลาฮาบานา ก่อตั้งขึ้นโดยคนจีนอพยพในคิวบา ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นับเป็นชุมชนคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา, ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย ชุมชนคนจีนโพ้นทะเลที่
ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในอเมริกาเหนือ เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองนี้, แวนคูเวอร์ แคนาดา ติดอันดับต้นๆ ของชุมชนคนจีนที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่
19 เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาทำงานเหมืองแร่และก่อสร้างรางรถไฟ ขึ้นชื่อในเรื่องความรุ่มรวยทางประวัติศาสตรื และเต็มไปด้วยร้านอาหาร วัดวาอาราม และสวนสวย, เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นในช่วง
ตื่นทองวิคตอเรียน ปี 1851 ได้รับความนิยมในฐานะชุมชนคนจีนที่ก่อตั้งยาวนานต่อเนื่องที่สุดในซีกโลกตะวันตก ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเี่ยวสำคัญอีกแห่งของเมือง ในย่านนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร
ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ยุโรป ออสเตรเลีย และจีน, นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่ากนว่า หยา เคน
เป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาตั้งรกรากที่นี้ ในช่วงทศวรรษ 1840 ตั้งอยู่ในย่านแมนฮัตตันของนครนิวยอร์ก จุดเด่นของที่นี่ คือ ร้านอาหาร แผงลอยข้างทาง และตลาดปลา, ไชน่าทาวน์ สิงคโปร์ ตั้งอยู่ในเขตเอาท์แรม หรือ หนิว ซี สุ่ย ชุมชนชาวจีนของที่นี่ อบอวลด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีน ปสมปสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองและตะวันตก คนเชื้อสายจีนที่นี่ เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ด้วยการเดินพาเหรดชิงเก และเทศกาลแม่น้ำหงเป่า, โยโกฮามา ญี่ปุ่น ก่อตั้งในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนร้านอาหารกว่า 500 ร้าน เฉพาะร้านอาหารจีนก็มีครบทุกภูมิภาค, ซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย ไชน่าทาวน์ในเขตเฮย์มาร์เก็ตของซิดนีย์ เป็นไชน่าทาวน์แห่งที่ 3 โดยแรกเริ่มในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชุมชนชาวจีน ตั้งรกรากอยู่ในเขตเดอะร็อค จากนั้น มีการโยกย้ายมาอยู่ใกล้ถนนมาร์เก็ต ที่ท่าเรือดาร์ลิง, ปารีส ฝรั่งเศส ตั้งอยุ่ในเขตปกครองทางใต้ เป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป นอกจากชาวจีนแล้ว ที่นี่ยังรอบรับผุ้อพยพจากเวียดนาม ลาว กัมพูชา..www.msn.co/../ รวมมิตรไช่น่าทาวน์)



         
             

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Chinese civilization

              ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานสำคัญของอารยธรรมจีนคือการสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ(ศตวรรษที่ 58 ก่อน คริสตศักราช) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเฟ่าใดๆ จะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื้อ เมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไ ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอืนๆ ในทวีปเอเชียและในสังคมโลก
         สมัยก่อประวัติศาสตร์ 
          - ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1965 ที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง มีอายุประมาณ 700,000 ปี -200,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1929 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง และพบหลักฐาน มนุษย์ถ้ำ มีอายุประมาณ 18,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง
          - ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปี ล่วงมาแล้ว ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
          - ยุคหินใหม่ มีอายุประมาร 6,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคม ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผ่าที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
          - ยุคโลหาะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่างๆ เช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสยงาน มากโดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ชาง และราชวงศ์โจว
          ยุคโบราณ  สมัยประวัติศาสตร์จีน เป็นที่เลาขานสืบทอดกันมาในหมู่ชาวจีนว่า ตนเองเป็นลูกหลาน เหยียนตี้ และ หวงตี้เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และยังเชื่อเช่นนั้นจวบจนปัจจุบัน
          - ราชวงศ์เซี่ย (2,100-1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เล่ากันว่า ในสมัยเหยา นั้นแม่น้ำหวงโห้ เกิดทุทกภัยน้ำหลากเข้าทำลายบ้านเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่บนต้นไม่หรือบนยอดเขาเท่านั้น ซึ่งภายหลังพระเจ้าอวี่ ใช้เวลา 13 ปีในการแก้ปัญหาอุทกภัยนี้สำเร็จ และได้รับขนานนามว่า ต้ายวี่..ราชวงศ์
เซี่ยมีประวัติยายนานเกือบ 500 ปี มีกษตริย์ปกครอง 17 องค์ กระทั่งพระเจ้าเจี๋ย ซึ่งโหดร้าย ไร้คุณธรรมเป็นที่่เกลียดชังของราษฎร เป็นเหตุให้ราชวงศ์เชี่ยล่มสลาย..
          - ราชวงศ์ซาง (1,6000-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี ในช่วงนี้มีการก่อตั้งกองทหารข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ 31 พระองค์ ราชวงศ์ซางเกิดจากการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนเนื่องจาก ผุ้ครองแผ่นดินเป็นผุ้ไร้คุณธรรม และในยุคนี้ยังมีการเริ่มใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เป็นผุ้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินจากราษฎร สุดท้ายต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผ่าตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวครองแผ่นดิน
           - ราชวงศ์โจว ( 1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักประวัติแบ่งเป็น โจวตะวันตก และโจวตะวันออก ซึ่งระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) เนื่องจากมีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
           - ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวัง ล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวียนหรง แล้วพวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่..นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆ เป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผุ้นำนครรัฐ
         
 - ยุคเลียดก๊ก ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆ เข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็มหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
             สมัยราชวงศ์ เริ่มยุคสมุยตั้งแต่ 221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1912 ยุคราชวงศ์นี้มีการปกครองที่ยาวนานกว่า 2,000 ปี ประกอบด้วย ราชวงศ์ ฉิน จีนยุคจักรวรรด ซึ่งเป็นผู้ว่างรากฐานแก่ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป้นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวงราชวงศ์ซิน เป็นราชวงศ์สั่นๆ ผุ้ก่อตั้งคือ อองมัง ทรงได้อำนาจจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกยึดอำนาจ ช่วงปลายราชวงศ์เกิดโจรโพกผ้าหลือง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หรือที่เรียกกันว่า ยุคสามก๊ก ด้วยความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเกรียตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบมาจนถึงปัจจุบัน ยุคสามก๊ก เป็นยุคที่แผ่นดินแยกออกเป็น 3  ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่, ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน แต่สุดท้าย ทั้งสามก๊กล่มสลาย สุมาเอี๋ยน ซึ่งเป็นขุนศึกในก๊กโจโฉ ยึดอำนาจ และก่อตั้งราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์จิ้นตะวันตก สุมาเอี๋ยน สถปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ต้น ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตก แทนที่ราชวงศ์ของโจโฉ และสามารถปราบง่อก๊กของซุนกวนลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊ก ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าเผ่า ซงหนู หลิวหยวน ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ และต่อมายกกำลังเข้าบุคนครหลวงองจิ้นตะวันตก จับตัว จิ้นหวยตี้เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยงๆ ราชวงศ์จิ้นย้ายฐานที่มั่นไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ประกอบกับการเปิดรับชนเผ่านอกด่าน สถานการ์ทางตอนเหนือจึงวุ่นวายอย่างหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหาแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของจีนเชื้อสายต่างๆ ราชวงศ์เหนือใต้ เมื่อราชวงศ์จิ้นตะวนตกล่มสลาย ภาคเหนือของจีนจึงตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่า กระทั่งหัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเชซียนเปยได้สถาปนาแค้วเ่ปยวุ่ย และยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ หลังจากสถาปนาราชวงศ์สุย แล้วจึงกรีธาทัพลงใต้ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ ราชวงศ์สุย ราชโอรส สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ไม่มีความสามารถทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผุถ้ปกครองหัวเมืองต่างๆ ตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งชิงอำนาจ ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาล ราชวงศ์ถัง หลี่หยวนขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือและ ตั้งราชธานี่ที่เมืองฉางอัน ผุ้นำแค้วนถังสถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้รับชัยชนะเด็ดขาดจาแคว้นอื่นไ ในที่สุดหลี่่ซื่อหมิน(โอรสรอง) ยึดอำนาจจากรัชทายาท...ขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มต้นยุคถัง เป็นยุคที่รุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น ปลายราชวงศ์ถัง มีการก่อกบฎ ขันที่ครองอำนาจ แม่ทัพสังหารขันทีแล้สสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ สิ้นสุดราชวงศ์ถัง ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร บรรดาหัวเมืองต่างๆ มีการแบ่งอำนาจเป็นห้าราชวงศ์สิบอาณษจักร ราษฎรเต็มไปด้วยความลำบาก ต่อมาเจ้าควงอิ้น ผุ้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้อง และปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งสามารถรวบรวมแผ่นดินได้อีกครั้ง ราชวงศ์ซ่ง  เจ้าควงอิ้นสถาปนาราชวงศ์ซ่ง เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง รวบรวมแผ่นดินแล้วใช้นโยบาย "ลำตันแข็ง กิ่งก้านอ่อน"ในการบริหารประเทศ อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ท้องถิ่นกลับอ่อนแอ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง หยวนชื่อจู่(กุบไลข่าน) โค่นราชวงศ์ซ่ง ปกครองจีน ราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุคสมัยนี้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น และไม่ประสบความสำเร็จ ยุคสมัยนี้อาณาจักรมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าโรมถึง 4 เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลกดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ มีการสะสมกองกำลังทหาร ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจาง ได้ปรบปรามกลุ่มต่าง และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ ราชวงศ์หมิง เป็นราชวงศ์จีนสถาปนาโดย จูหยวนจาง ในสมัยหมิง มีนักการเมือง จางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนิกการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่นำ้คูคลอง รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เจิ้งเหอ ซึ่งชาวไทยเรียกกันว่า ซำเปากง ได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาทั้งหมดกว่า 30 ประเทศ รวม 7 ครั้งตามลำดับ แต่ชวงกลางราชวงศ์ถูกรุกรานจากหลายประเทศ การค้าได้พัฒนาเริ่มปรากฎเป็นเค้าดครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่ารมากกมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีให้ ทำให้จำนวนชาวนามีที่ทำเองเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์หมิง  วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น "ซ้องกั๋ง" "สามก๊ก" "ไซอิ้ว" หรือ เรือง "บุปผาในกุณฑีทอง"เป็นต้น  ปลายสมัยราชวงศ์ าภาพผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นรุนแรงขึ้น การต่อสู้ในชนบททวีความรุนแรง เกิดทุพภิกขภัยแต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับประชาชนจ่ายภาษี เกิดการลุกฮือ ประชาชนรวมตัวเป้ฯกองทหารชาวนา กระทั่งบุกเข้ากรุงปักกิ่ง กระทั่งจักรพรรดิฉงเจินต้องผูกพระคอสิ้นพระชนม์ ซึ่งเป้นการสิ้นสุดของราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง เป็นชนเผ่าต่างชาติทางเหนือที่เข้าาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิงซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฎราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฎเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตรยิ์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เพราะเข้ายึดโดยไม่ต้องลงจากหลังม้า เป็นราชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การตรวจราข้อบังคับของสังคม,ศาสนา,และการค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง การให้ขายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจูเลีย เลียนแบบสมัยราชวงศ์ถึงเก่า พร้แมประคำ และต้องนับถือพุทธจีน ศาสนาพุทธจีนเจริญรุ่งเรื่องมากยุคหนึ่ง
               จีนยุคใหม่
                - ยุคสาธารณรัฐจีน ปี พ.ศ.2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยตร.ซุนยัดเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนัน และใน พ.ศ. 2455 ผู่อื้ จักรพรรดิองค์สุดทายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปคกรองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผุ้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมูรรณยาสิทธิราชซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดยมี ยุเหวียน ชื่อไย่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน
                หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป้นช่วงเวลาชิงอำนาตระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค แับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาะเจ๋อตุง ช่วงแรกเจียงไคเช็คเป็นฝ่ายชนะและทำการปฏิวัติได้สำเร็จ สุดท้ายกลุ่มผุ้นำพรรก๊กมินตั๋งรวมตัวกันขับไล่ เจียงไคเช็หนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
               - ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีน เหมาะ เจ๋อตุง ประกาศตั้งสาะารณรัฐประชาชนจีน(PRC) ที่กรุงปักกิ่งบน จตุรัสเทียนอัันเหมินเพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่(th.wikipedia.org/../ประวัติศาสตร์จีน)

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Indus Civilization

              อารยธรรม โดยทั่วไปหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรมแต่สำหรับทางด้านปรวัติศาสตร์ อารยธรรมอาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เก็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบสังคมนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่นๆ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานประจำปี พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของอารยธรรมไว้ว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรม และกฎหมาย ความเจริญเหนื่งด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี จากความหมายของ อารยธรรมจะเห็นได้ว่า อารยธรรมโดยทั่วไปมักหมายถึงประเด็นของความเจริญหรือดีในแง่ต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมต่างๆ ่วนลักาณธความไม่เจริญหรือไม่พัฒนาทางวัฒนธรรม จะเรียกในทางกลับกันว่า อนารยธรรม อันแปลว่า ไม่มีอารยธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสนาต์ อารยธรรมจะศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม กล่าวคือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างในสังคมแม้ว่าจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงก็ตาม โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่นๆ
              สำหรับคำว่า อารยธรรม นั้น โดยปกติแล้วจะมีความหมายโดยนัยถึงอารยธรรมมนุษย์ ดังนั้นองค์ปรพกอบต่างๆ ในสังคมมนุษย์ ก็คือ วัฒนธรรม นั้นเอง แต่คำว่า อารยธรรม อาจนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ อาทิ อารยธรรมต่างดาว ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าหาควาซับซ้อนของระบบสังคมของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก เป็นต้น สำหรับบทความนี้จะหมายถึงอารยธรรมโลก หรือ อารยธรรมมนุษย์ เป็นสำคัญ
                อารยธรรมอินเดีย อินเดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก (ชนชาติในทวีปเอเซีย)
              - สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผุ้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริดเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์สักราชและรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน, เมืองฮารับปา ในเแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
              - สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ "สมัยประวัติศาสตร์"เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยชนเผ่านอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่น,านในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาสมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
                 
 1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า "บรามิ ลิปิ" เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ เป็นยุคสมัยที่ศษสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
                   2) ประวัติศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล และเข้าปกครองอินเดีย
                   3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุลในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16  จนถึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในค.ศ. 1947
                อารยธรรมอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอินเดียและประเทศจีน ซึ่งเป็นดินแดน แห่งอู่อารยธรรมยิ่งใหญ่ของเอเชีย ทั้งสองประเทศนี้มีการติดต่อค้าขายกันมาอย่างยาวนานโดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางทางทะเล อีกทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการสำหรับชาวอินเดีย เปอร์เซีย เช่น เครื่องเทศ ไม้หอม ยาไม้หอม และทองคำ
                แต่เดิมอินเดียซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะทองคำในบริเวณเมดิเตอร์เรเนี่ยนและเอเชียกลาง แต่ราว พุทธศตวรรษที่ 4-5 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในแถบนี้ ทำให้การคมนาคมในแถบนี้ถูกตัดขาด อินเดียไม่อาจซื้อทองคำในไซบีเรียได้อีกต่อไป จึงหันไปซ์้อทองคำในโรมันจนทำให้เศรษบกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีกด้วยเหตุนี้อินเดียทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า "สุวรรณภมิ"
                การเดินเรือแต่ละครั้งต้องรอลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดมา ในระยะเวลาช่วงเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และการกลับก็
ต้องรอลมมรสุมตะวันอกเแียงเหนือในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมพัดกลับ ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นจุดจอดพักเรือเพื่อรอและหลบมรสุม เป็นที่ขนถ่ายสินค้าเติมเสบียง และกลายเป็นศูนย์กลางทางการที่สำคัญที่สุด การเดินเรือแต่ละครั้งมิได้เมีเพียงแต่พ่อค้า ยังมีนักบวชเดินทางร่วมมากับเรือด้วยเพื่อประกอบพิธีให้กับพ่อค้าเหล่านั้น ดังนัี้นในช่วงระหว่างการอลมรสุม จึงมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่กัน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงรับวัฒนธรรมของชาวอินเดียผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง
               ตัวอักษรปัลลวะแบบที่นิยมใช้ในอินเดียภาคใต้ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 11-12 ) ดังได้พบจารึกโบราณภาษาสันสกฤตทั่วินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งภาษาสันสกฤตซึ่งเป็น
ภาษาชั้นสูงของพราหมณ์ และยังมีบทบาทอยู่โดยปะปนอยู่ในแต่ละภาษาของแต่ละประเทศ คำภีร์พระเวท คืองานวรรณกรรมในศาสนา
พราหมณ์ ซึ่งนักบวชใช่เป็นหลักคำสอน ตำรา จนถึงปัจจุบัน หลักฐานสำคัญที่เป็นรูปธรรมคืองานสถาปัตยกรรม งานปฏิมากรรมและงานจิตกรรม หากพบหลักบานในเมืองใดเป็นจำนวนมาก สันนิฐานได้ว่าเป็นเมืองแรกรับวัฒนธรรม เป็นเมืองท่าเป็นศูนบย์กลางทางการค้าที่สำคัญ ศูนย์กลางการปกครองฯลฯ เทวสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีของศาสนาพราหมณ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมอินเดียซึ่งปรากฎการสร้างมหาเทพท้้งสามองค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ลักษณะงานที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ แบบคาดผ้าคาดเอวและเฉียงบิดเป็นเกลี่ยวซึ่งคล้ายคลึงกับเทวรูปในศิลปะสมับหลังคุปตะ คือสมัยรา
ชวงศ์ปัลลวะทางภาคตะวันออเฉียงใต้ของอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 12 และ 2) ลักษณะแบบคาดผ้าคาดเอวแบบตรง เทวรูปในศาสนาพราหมณ์รวมถึงสิวลึงค์ถูกพบมากใน เขมร ไทย พม่า ชวา ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคแรกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ เพมื่อกาลผ่านไป ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ เข้ามา
ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ผสมผสานศษสนาพราหมณ์กับศาสนาใหม่ๆ เหล่านี้ด้วยกันจนกลายเป็นศาสนาที่มีาูปแบบเฉพาะตัว เช่นลัทธิฮินดู-ชวาในอินโดนีเซีย ขอมรับศาสนาพราหมร์แล้วก็นำไปผสมผสานกับลัทธิฮินดู-ชวา(เทวราชา) แล้วพัฒนาจนศาสนาพราหมณ์ในขอมเป็นศาสนาที่เกื้อหนุนอำนาจกษัตริย์และมากด้วยพิธีกรรมอันเคร่งครัดสลับซับซ้อน ศาสนาพุทธในประเทศไทยก็มีพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์เจืออยู่ในเกือบทุกพิธีกรรม เป็นต้น
               ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมา เมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออเฉียงใต้เริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น อันเป็นผลจากการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชน ประกอบกับการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ กระทั่งเกิดเป็น อาณาจักรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับวัฒนธรรมทางศาสนาพราหมณ์คือ อาณาจักรฟูนัน นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรโบราณในเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอารยธรรมอินเดียเช่น ทวาราวดี ศรีวิชัย จามปา เจนละฯ ( www.gotoknow.org. "อาเซียน : การรับอารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับปรับปรุง).)
             

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

U-sa-ka-ne...Southeast Asia...Sunda Land

         
 
          
               อุษาคเนย์แผ่นดินเดียวกัน เมื่อล้านๆ ปีมาแล้ว มี "แผ่นด้นซุนดา" (พื้นที่สกรีนดำ) เชื่อมโยงถึงกันทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะปัจจุบัน ตั้งแต่ตอนเหนือ (คือทางใต้ของจีนปัจจุบัน) ลงไปหมู่เาะทั้งของฟิลิปินส์, บรูไน,จนถึงตอนใต้ของอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา, ชวา ฯลฯ เหตุเพราะเมื่อล้านๆ ปีที่แล้วระดับน้ำทะเลต่ำมากกว่าปัจจุบัน ทำให้พื้นท้องทะเลในมหาสมุทรทุกวันนี้เป้นผืนดินยืดยาวแผ่นเดียวกัน เรียกว่าแผ่นดินซุนดา (Sunda Land) นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุคน้ำแข็. หรือไพลสโตซีนมีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นที่หลายบริเวณของโลก ทำให้แหล่งน้ำทั้งหลายเหือดแห้งลงจนเกิดสะพานแผ่นดินเชื่อมติดกัน อุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าพิจารณราด้านสังคามลแะวัฒนธรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตครอบคลุมบริเวณกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยแบ่งหว้าๆ ได้ 2 ส่วน แผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
               - แผ่นดินใหญ่ ทิศเหนือ ถึงบริเวณทะเลสาบเตียนฉือที่เมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน(จีน), ทิศตะวันออก ถึงมณฑลกวางสี-กว่างตุ้ง (จีน), ทิศตะวันตก ถึงลุ่มน้ำพรหมบุตรในแคว้นอัสสัม (อินเดีย) และทิศใต้ ถึงมาเลเซีย- สิงคโปร์
               -  หมู่เกาะ นอกจากรวมถึงหมู่ เกาะอันดามัน กับหมู่เกาะนิโคบาร์ ในทะเลอันดามันแล้ว ยังมีขอบเขตครอบคลุมถึงฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางทะเลใต้ เช่น หมุ่เกาะในอินโดนีเซีย ติมอร์และบรูไน ฯลฯ (prachatai.com/ สุจิตต์ วงศ์เทศ : "วัฒนธรรมร่วม" ในอุษาคเนย์ รากเหง้าเก่าแก่ของประชาคมอาเชียน)
          

             แผนที่แสดงให้เห็สภาพภูมิศาสตร์ในยุคโบราณ (ภาพที่ 2 )คือสภาพตอนที่ชนกลุ่มแรกมาถึงทวีปนี้ จะเห็นว่า แผ่นดินยังเชื่อมติดกันเป็นผืนเดียวกัน จากนั้นราวสามหมื่นปี B.C.(ภาพที่ 4) เป็นช่วงที่ยุคน้ำแข็งกลับมาอีกครั้ง ระดับน้ำลดลงอย่างมาก แผ่นดินท่เรียกันว่าซุนดา นั้นขยายไปกว้างสุด นับแต่นั้นถึงราวหมื่นปี (ภาพที่ 6 ) จะเกิดยุคน้ำแข็งสั้นๆ สลับกับน้ำแข็งที่ละลายเมื่อสิ้นสุดแต่ละช่วง ถึงสามครั้งด้วยกัน ระดับน้ำทะลก็สูงขขึ้น จนในที่สุดแผ่นดินซุนดา ก็ูกน้ำทะเลท่วมจมอยู่ใต้ทะเลอย่างเช่นทุกวันนี้...
               ... อาจารญ์ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นหนึ่งในนักวิชาการสมัยใหม่ ที่มองเอเชียด้วยมุมมองที่ต่างกไปจากนักวิชาการกระแสเก่า ท่ามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับนักวิชาการหัวก้าวหน้าอย่าง บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ และ ทอร์ เฮเยอร์เดลฮ์ 
               ฟุลเลอร์ เสนอความคิดของเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 ว่าเอเชียอาคเนย์ เป็นเหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก, ทอร์ นั้นทุ่มความสนใจขกับการเดินทางพิชิตมหาสมุทรของมนุษย์ครั้งใหญ่ในสมัยโบราณ ออกสู่ทะเลแปซิฟิค ไปยังเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นไม่น้อยกว่าหกพันปีมาแล้ว มนุษย์โบราณเขาท่องไปในทะเลอย่างเชี่ยวชาญท้องทะเลนั้นไม่ใช่อุปสรรค ป่าที่มีสัตว์และโรคร้าง ภูเขาและทะเลทรายต่างหากที่เป็นอุปสรรค 
               ดร.สุเมธ นำเสนอแนวคิดที่ต่างไปจากนักวิชการไทยก่อนหน้านี้ และให้ข้อสังเกตุคุณสมบัติเด่นที่เกี่ยวกับน้ำ และชีวิตที่เกี่ยวพันแนบแน่นกับน้ำของชาวไทย รวมทั้งชาติพันธ์ุเครือญาติใกล้ชิด ทั้งยังชี้ให้เห็นข้อบ่งชี้หลายประการที่มีร่วมกันของผุ้คนในเอเชียและหมู่เกาะในแปซิฟิค โดยไม่ได้แบ่งแยกชาติเชื้อของผุ้คนในแถบนี้ออกจากกันบทความชื่อ กำเนินมาแต่น้ำ(หนังสือ "ลักษณะไทย"เล่มที่ 1) โดยพุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยสามสิ่งที่เด่นเป็นพิเศษ คือ ข้าว ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้คนในแถบนี้จะกินข้าวเป็นอาหารหลักเท่านั้น ยังสอนการปลูกข้าวให้กับชาวโลกดวย, บ้านเสาไม้ใต้ถุนสูง พลได้ตั้งแต่เชิงหิมาลัยไปสุดขอบฝั่งทะเลญี่ปุ่น ไล่ลงมาอุษาคเนย์และหมู่เกาะในแปซิฟิค และ เครื่องจักสานแบบสามแฉก ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่พบแต่ในเอเชียนี้เท่านั้น นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นหลักฐานสำคัญที่นำมาซึ่งการหักเหทางวิชาการก็คือการพบวำริดที่บ้านเชียง ซึ่งมีอายุเก่าถึง 3,600B.C.ขณะที่สำริดของอนาโตเลียมีอายุเพียง 3,000B.C. สำริดอินดัสแวลลีย์อายุราว 2,000B.C. ของจีนสมัยราชวงศ์ชางมีอายุราว 1,000B.C. (pongprom.wordpress.com/../ซุนดา อีเดนในอุษาทวีป)


                 

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Republic of the Philippines

            ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาร 1,000 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดี่ยวที่มีพมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน(พ.ศ. 2064-2441)และสหรัฐอเมริการ (พ.ศ. 2411-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ทศวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมฟิลิปปินส์
          ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประกรส่วนใหญ่นับถือศษสนาคริสต์(อีกประเทศคือ ติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งใชขาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจดซฟ ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์
           หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บนเกาะฟอร์โมซาหรือไต้หวันในปัจุบันได้อพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล สภาพดั่งเดิมของฟิลิปปินส์ อยู่ในสภาพของยุคหินใหม๋ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีน ดังเช่นประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนชาวพื้นเมืองดั่งเดิมเป็นชนเชื้อสายอินโดนีเซีย - มาเลเซีย ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเกาะต่างๆ ของฟิลิปปิส์ การมาตั้งถ่ินฐานนั้น มาโดยเรือเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรียกว่า บารังไก ตามชื่อเรือที่ใช้อพยพมา มีหัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า ดาดูซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือ การตั้งหมู่บ้านจะกระจายไปตามเกาะ ทำให้การติดต่อระหว่างกันไม่ค่อยมี ส่วนในด้านการปกครองนั้นเป็นแบบพ่อปกครองลูกโครงสร้างทางการปกครองเป็นแบบ
ง่ายๆ มี 4 ชนชั้นคือ ดาตู และครอบครัวขุนนาง อิสระชน ทาส ในส่วนของกฎหมายและกฎระเบีบการปกครองนั้นยังไม่มี สถาบันที่สำคัญคือ ศาสนา  ซึ่งมีพ่อมดหมอผีเป็นผุ้มีอิทธิพลในสังคม จากการนับถือศาสนาเป็นแบบ นับถือภูตผี บูชาธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่ามีพระผุ้สร้างโลกสูงสุ คือ บาฮารา และบาอารามีสาวก ผ่ายดีและผ่ายชั่ว เรียกว่า ดิวาทาส เป็นผู้กำหนดการประกอบพิธีบวงสรวง เทพฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ พ่อมด หมอผี ว่าจะประกอบพิธีเมื่อไหร่ ที่ใด สถานที่ประกอบพิธีนั้นไม่มีเฉพาะ พ่อมด หมอผีจะเป้นผู้กำหนด ที่เป็นดังนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพธรรมชาติของหมู่เกาะ ซึ่งฟิลิปินส์นั้นมีภัยธรรมชาติอยู่เนืองๆ จึงทำให้พ่อมด หมอผีมีอิทธิพลต่อประชาชนมาก และมากกว่าหรือเท่ากับดาตู อีกทั้งยังด้รับค่าประกบอพิะี เครื่องเซ่นสังเวยจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ประชาชนทำการเกษตรและการประมงไม่มีการค้าขาย มีแต่การแลกเปลี่ยนสินค้า และไม่มีการใช้เงินตรา นานๆ ครัั้งจะมีพ่อค้าต่างชาติแวะมาจอดเรือและเปลี่ยนสินค้า
                ยุคอิสลาม นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ศาสนอิสลามได้แผ่เข้าสู่หมู่เกาะทางตอนใต้ของ
ฟิลิปปินส์ หรือมานบุลาสแล้วครั้งถึงปี ค.ศ. 1380 ชาวมุสลิมก็สามารถสถาปรนารัฐอิสลามขึ้นในหมู่เกาะซุลู โดยมีนักเผยแพร่ศาสนาที่ชื่อ ชันด์ ชะรฟ กะรีม มัคคุมเข้ามาเผยแผรอิสลามในหมู่เกาะต่างๆ ของซูลู ก่อนหน้านั้นเป้นเวลานาน จนกระทั่ง ซัยยิด อบูบักร อิบนุ ชะรีฟ มุฮำหมัด อิบนิ อะลี อิบนี ซัยบิลอาบีดีน ได้เกินทางจากรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์ มายังหมู่เกาะซูลูในราวปี ค.ศ. 1450 ซัยยิดอบูบักรได้มาถึงซูลูหลังจากรายา บะกินดา จากมินังกะเบา สุมตรา ได้ลงพำนัก และเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่เหาะซูชูเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ซัยยิด อบูบักรได้สมรสกับบุตรของรายาบะกินดา ที่มีนามว่า ประไหมสุหรี เมื่อรายาบะกิดา สิ้นชีวิต ซัยยิด อบูบักร ก็กลายเป็นผุ้สืบทอดอำนาจและได้รับการขนานนามว่า สุลต่านแห่งวูลู(th.wikipedia.org/../ประเทศฟิลิปปินส์)
             การเดินทางมาถึงของนักสำรวจชาวโปร์ตุเกศ เฟอร์ดินาน แมเกลแลน ซึ่งได้รับงานสำรวจให้กับสเปน ในช่วงปี ค.ศ. 1521 นับเป้นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกไ้ด้เข้ามารู้จักหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังจากที่พยายามเปลี่ยนคนพื้นเมืองไปนับถือศษสนาคริสต์ได้ทำให้เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าเผ่าพื้นเมือง ในการฃสู้รบแมเกลเลน ถูกฆ่าตาย แต่มีเรือของเขาสามารถกลับไปยังสเปนได้ ต่อ
มามีการจัดตั้งชุมชนสเปนครั้งแรกในหมู่เกาะนี้ เมืองปี ค.ศ. 1565 นักบวชคริสตนิกายต่างๆ เดินทางเข้ามาสอนศาสนา นักบวชเหล่านี้มาพร้อมกับทหาร ค้นหาชาวพื้นเมืองไปยังเกาะต่างๆ หลักจากนั้นไม่นานสเปนก็จัดตังโบสถ์และค่ายทหาร และแสวงหาทรัพยการมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องเทศ คริสตศาสนานิการโรมันแคธอลักได้กลายเป็นศาสนากระเสหลักของฟิลิปปินส์
               ในระหว่างการต่อสู้ที่เกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าชาวที่สูง และชนเผ่าบริเวณชายฝั่ง พวกมุสลิมได้ต่อต้าการมาของชาวยุโรปอย่างเหนี่ยวแน่นในเกาะแถบมินดาเนา ในชวงนี้พวกสเปนต้องคอยต่อสู้กับโจรสลัด ชาวจีน กองกำลังของญี่ปุ่น ปอร์ตุเกส ดัช และอังกฤษ และกลุ่มประเทศเหล่านี้สนใจในการมีผลประโยชน์ในฟิลิปปินศ์เช่นกัน
             สเปนปกครองฟิลิปินส์กว่า 300 ปี และนับได้ว่ามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1781 ฟิลิปปินส์กลายเป็นจัวหวัดหนึ่งของสเปน โดยมีผุ้่าการอาณานิคม ได้สร้างสัมพันะ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศทางด้านนี้ และฟิลิปปินส์ถูกบริหารโดยตรงจสเปน การมีคลองสุเอซในปี ค.ศ. 1869 ได้ช่วยทุ่นเวลาในการเดินทางระหว่างยุโรปกับฟิลิปปินส์ซึ่งทำให้มีลูกลานชนชั้นกลางและชั้นสูงของชาวฟิลิปปินส์ได้เดินทางไปศึกษาในประเทศสเปนและประเทยะโรปอื่นๆ
            ผลจากการมีนักศึกษาหัวใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันอตกมากขึ้น จึงเกิดขบวนการประกาศอิสระภาพ ในช่วงเวลานั้นเองได้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านสเปน ที่ได้มีการปกครองในแบบอาณานิคมอย่างไม่เป็นธรรม โดยใช้ศาสนาบังหน้า และในการปกครองนี้ไม่ได้มีตัวแทนของฟิลิปปินส์ในสภาของสเปนอย่างเพียงพอ โจซ ริซอล ปัฐฐาชนชาวฟิลิปปินส์ได้เป็นผู้นำต่อสู้ในเรื่องนี้ที่ผู้คนรู้จักดีที่สุดคนหนึ่งได้ถูกลงโทษประหารชีวิตฐานก่อการกบก สร้างความไม่สงบ และจัดตั้งกลุ่มผิดกฏหมายในการนี้ได้มีผู้นำชาวฟิลิปปินส์สูงสุด ตั้งสมาคมลับ มีวัตถุประสงค์เพื่อขับไล่ชาวสเปนออกไปจากฟิลิปปินส์ แต่ในที่สุดกระบวนการปฏิวัตินั้นก็แตกสลายเป็นสองกลุ่ม การปฏิวัติต้องหยุดลงชั่วคราว และในที่สุดผุ้นำต้องลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง
             ปี ค.ศ. 1898 สหรัฐอเมริกาและสเปนมีความขัดแย้งกับและเกิดสงครามที่เรียกว่า Spaniish-American  war ผุ้นำการต่อสู้ของฟิลิปปินส์ที่สำคัญคนหนึ่งได้รับการชักจูงจากฝ่ายสหรัฐฯให้กลับจากลี้ภัย และได้รับการสัญญาว่าฟิลิปปินส์จะได้รับอิสรภาพในลักษณะเดียวกับคิวบา
             มิถุนายน 1898 เมื่อชัยชนะใกล้มือ หัวหน้าปฏิวัติได้ประกาศอิสรภาพของฟิลิปปินส์ แต่แล้วก็มาทราบว่าสงครามระหว่างสเปนและสหรัฐที่มะนิลา ทั้งสเปนและสหรัฐไม่ได้สนใจการมีตัวแทนจาฝ่ายฟิลิปปินส์ ในการเจรจาที่ปารีส สเปนถูกบังคับให้ต้องสละเกาะกวม ฟิลิปปินส์ เปอร์โต ริโก้ ให้กับสหรัฐเพื่อแลกกับเงิน 20 ล้านเหรียญ ซึ่งในระยะต่อมาสหรัฐอ้างว่าเป็นของขวัญ ไม่ใช้การซื้อประเทศ
            สหรัฐเข้ายึดครองฟิลิปปินส์แทนที่สเปน ซึ่งได้เกิดกบฏต่อต้านโดยชาวฟิลิปปินส์ และเป็นสงครามที่เรียกว่า สงครามฟิลิปปินส์อเมริกา เป็นสงครามที่กินเวลา ถึง 14 ปี ในระหว่างการยึดครองในระยะต่อมา สถานะของฟิลิปปินส์ได้ปรับเปลี่ยนไป ในปี ค.ศ. 1935 ฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่่งของเครือจักรภพของสหรัฐ มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น แต่อิสรภาพของฟิลิปปินส์ได้รับอย่างสมบูรณ์นั้นคือในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 1946 หลังจากญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองจนผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Pacific Ocean

             มหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน หมายถึง "สงบสุข" คือผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก กินเพื้นที่ประมาณ 180 ล้านตารางกิโลเมตรหรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติก ที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝังทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกา ที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างทีสุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตกอยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซีย ถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลกคือ ร่องลึกมาเรียนา อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร
           มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ ส่วนใหย่อยุ่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรแประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญ๊่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลืองทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก
           มหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ผิวประมาณ 70,722,600 ตารางไมล์ ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนจ่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโปลด์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะลาสการ์และกระแสน้ำอุนคุโระชิโอะ(th.wikipedia.org/../มหาสมุทรแปซิฟิก)
           เอเชียแปซิฟิก หรืออาจเรียกว่า Apac เป็นภูมิภาคของโลกที่อยู่ในหรืออยู่ใกล้มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออก เอชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสตราเลเซียและโอเชียเนีย และเอเชียเนีย ซึ่งอาจรวมไปถึงเอเชียใต้ สหพันธรัฐรัสเซีย และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกด้วย
          คำว่า "เอเชียแปซิฟิก" ได้กลายมาเป็นคำยอดนิยมหลังจากช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการปฏิสัมพันธ์ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ(th.wikipedia.org/../เอเซียแปซิฟิก)
           ที่มาของ เอเปค Asia-Pacific Economic Cooperation-APEC คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน เอเชีย-แปซิฟิก กรอบความร่วมมือนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาซึงกันและกัน ของเศรษฐกิจในเอลีย-แปซิฟิก เพื่อมากึ้น จากจุดเร่ิมต้นด้วยการหารืออย่างไม่เป็ฯทางการในระดับ รัฐมนตรีด้วยสามชิกเพียง 12 ราย เอเปคได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเวทีในระดับภูมิภาคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอเปคได้เร่ิมจัดการพลปะระหว่างผุ้นำเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชกรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคนมีผลิตภัณฑ์มวลรวประชาชาติรวมกันกว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544 และการค้าระหว่างประเทศกว่า ร้อยละ 69 ของไทยเป็นการค้ากับสมาชิกเอเอค ด้วยศักยภาพข้างต้น เอเปคได้ กลายมาเป็นพลังผลักดันการค้าแบบเปิดและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการอย่างแท้จริง
              วัตถุประสงค์ของเอเปค มีป้าหมายในการส่งเสริมการขยายตัวทางเสรษฐกิจ และสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นประชาคม ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในแต่ละปี ผุ้นำและรัฐมนตรีเอเปกจะมาพบกันเพื่อพบทวนความ คืบหน้าของการ ดำเนินงาน และกำหนดเป้ามหายวัตถุประสงค์หลักของความร่วมือในปีต่อๆ ไป เป้าหมายที่โดดเด่นที่สุด อันหนึ่งของเอเปค คือ "เป้าหมายโบกอร์" ที่จะส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายใน ปี 2553 และสำหรับสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 โบกอร์เป็นชื่อของเมืองชายทะเลตั้งอยู่บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมผุ้นำ เศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2537 เอเปคไม่เหมือนองค์กรอื่น เช่น สหประชาชาติ ที่ต้องมีการลงคะแนนเสียงในกระบวนการตัดสินใจบางครั้ง หรือองค์การการค้าโลกที่ประเทศสมาชิกต่างพยายามปกป้อง ผลประโยชน์ด้านการค้า ของตนอย่างเต็มที่ แต่เอเปคดำเนินการบนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ และการดำเนินการใน กรอบเวลาที่ต่างกัน นอกจากนี้เอเปคยังเป็นองค์กรที่มีลักษณะพิเศษตรงที่สามารถคุยกันใน เรื่องของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างสมาชิกที่พัฒนาแล้วกับสมาชิกที่ กำลังพัฒนาได้ ...(oic.mnre.go.th/..APEC ความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน เอเชีย- แปซิฟิก)
             
ฟิลิปปินส์หนึ่งในสมาชิกอาเซียนและเป็นดินแดนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะจำนวนส 7,107 เกาะ โดยมีเกาะใหญ่ 11 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด 298,170 ตารางกิโลเมตร ในบรรดาเกาะทั้งหมดมีเกาะที่มีคนอาศัยอยู่เพียงราว 900 เกาะเท่านั้น เกาะที่ใหย่ที่สุดคือ เกาะลูซอน ที่อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ เกาะเหนือ ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ๆ คือ เกาะลูซอน และเกาะมินโดโร หมู่กลาง เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 7,000 เกาะ หมู่เกาะใต้ ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา และ Sulu Archipa lago ซึ่งหมายถึง หมู่เกาะต่างๆ ประมาณ 400 เกาะ ที่อยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...