อุษาคเนย์แผ่นดินเดียวกัน เมื่อล้านๆ ปีมาแล้ว มี "แผ่นด้นซุนดา" (พื้นที่สกรีนดำ) เชื่อมโยงถึงกันทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะปัจจุบัน ตั้งแต่ตอนเหนือ (คือทางใต้ของจีนปัจจุบัน) ลงไปหมู่เาะทั้งของฟิลิปินส์, บรูไน,จนถึงตอนใต้ของอินโดนีเซีย เช่น สุมาตรา, ชวา ฯลฯ เหตุเพราะเมื่อล้านๆ ปีที่แล้วระดับน้ำทะเลต่ำมากกว่าปัจจุบัน ทำให้พื้นท้องทะเลในมหาสมุทรทุกวันนี้เป้นผืนดินยืดยาวแผ่นเดียวกัน เรียกว่าแผ่นดินซุนดา (Sunda Land) นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุคน้ำแข็. หรือไพลสโตซีนมีธารน้ำแข็งปกคลุมพื้นที่หลายบริเวณของโลก ทำให้แหล่งน้ำทั้งหลายเหือดแห้งลงจนเกิดสะพานแผ่นดินเชื่อมติดกัน อุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าพิจารณราด้านสังคามลแะวัฒนธรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตครอบคลุมบริเวณกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยแบ่งหว้าๆ ได้ 2 ส่วน แผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ
- แผ่นดินใหญ่ ทิศเหนือ ถึงบริเวณทะเลสาบเตียนฉือที่เมืองคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน(จีน), ทิศตะวันออก ถึงมณฑลกวางสี-กว่างตุ้ง (จีน), ทิศตะวันตก ถึงลุ่มน้ำพรหมบุตรในแคว้นอัสสัม (อินเดีย) และทิศใต้ ถึงมาเลเซีย- สิงคโปร์
- หมู่เกาะ นอกจากรวมถึงหมู่ เกาะอันดามัน กับหมู่เกาะนิโคบาร์ ในทะเลอันดามันแล้ว ยังมีขอบเขตครอบคลุมถึงฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางทะเลใต้ เช่น หมุ่เกาะในอินโดนีเซีย ติมอร์และบรูไน ฯลฯ (prachatai.com/ สุจิตต์ วงศ์เทศ : "วัฒนธรรมร่วม" ในอุษาคเนย์ รากเหง้าเก่าแก่ของประชาคมอาเชียน)
แผนที่แสดงให้เห็สภาพภูมิศาสตร์ในยุคโบราณ (ภาพที่ 2 )คือสภาพตอนที่ชนกลุ่มแรกมาถึงทวีปนี้ จะเห็นว่า แผ่นดินยังเชื่อมติดกันเป็นผืนเดียวกัน จากนั้นราวสามหมื่นปี B.C.(ภาพที่ 4) เป็นช่วงที่ยุคน้ำแข็งกลับมาอีกครั้ง ระดับน้ำลดลงอย่างมาก แผ่นดินท่เรียกันว่าซุนดา นั้นขยายไปกว้างสุด นับแต่นั้นถึงราวหมื่นปี (ภาพที่ 6 ) จะเกิดยุคน้ำแข็งสั้นๆ สลับกับน้ำแข็งที่ละลายเมื่อสิ้นสุดแต่ละช่วง ถึงสามครั้งด้วยกัน ระดับน้ำทะลก็สูงขขึ้น จนในที่สุดแผ่นดินซุนดา ก็ูกน้ำทะเลท่วมจมอยู่ใต้ทะเลอย่างเช่นทุกวันนี้...
... อาจารญ์ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นหนึ่งในนักวิชาการสมัยใหม่ ที่มองเอเชียด้วยมุมมองที่ต่างกไปจากนักวิชาการกระแสเก่า ท่ามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับนักวิชาการหัวก้าวหน้าอย่าง บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ และ ทอร์ เฮเยอร์เดลฮ์
ฟุลเลอร์ เสนอความคิดของเขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 ว่าเอเชียอาคเนย์ เป็นเหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก, ทอร์ นั้นทุ่มความสนใจขกับการเดินทางพิชิตมหาสมุทรของมนุษย์ครั้งใหญ่ในสมัยโบราณ ออกสู่ทะเลแปซิฟิค ไปยังเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นไม่น้อยกว่าหกพันปีมาแล้ว มนุษย์โบราณเขาท่องไปในทะเลอย่างเชี่ยวชาญท้องทะเลนั้นไม่ใช่อุปสรรค ป่าที่มีสัตว์และโรคร้าง ภูเขาและทะเลทรายต่างหากที่เป็นอุปสรรค
ดร.สุเมธ นำเสนอแนวคิดที่ต่างไปจากนักวิชการไทยก่อนหน้านี้ และให้ข้อสังเกตุคุณสมบัติเด่นที่เกี่ยวกับน้ำ และชีวิตที่เกี่ยวพันแนบแน่นกับน้ำของชาวไทย รวมทั้งชาติพันธ์ุเครือญาติใกล้ชิด ทั้งยังชี้ให้เห็นข้อบ่งชี้หลายประการที่มีร่วมกันของผุ้คนในเอเชียและหมู่เกาะในแปซิฟิค โดยไม่ได้แบ่งแยกชาติเชื้อของผุ้คนในแถบนี้ออกจากกันบทความชื่อ กำเนินมาแต่น้ำ(หนังสือ "ลักษณะไทย"เล่มที่ 1) โดยพุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยสามสิ่งที่เด่นเป็นพิเศษ คือ ข้าว ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้คนในแถบนี้จะกินข้าวเป็นอาหารหลักเท่านั้น ยังสอนการปลูกข้าวให้กับชาวโลกดวย, บ้านเสาไม้ใต้ถุนสูง พลได้ตั้งแต่เชิงหิมาลัยไปสุดขอบฝั่งทะเลญี่ปุ่น ไล่ลงมาอุษาคเนย์และหมู่เกาะในแปซิฟิค และ เครื่องจักสานแบบสามแฉก ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่พบแต่ในเอเชียนี้เท่านั้น นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นหลักฐานสำคัญที่นำมาซึ่งการหักเหทางวิชาการก็คือการพบวำริดที่บ้านเชียง ซึ่งมีอายุเก่าถึง 3,600B.C.ขณะที่สำริดของอนาโตเลียมีอายุเพียง 3,000B.C. สำริดอินดัสแวลลีย์อายุราว 2,000B.C. ของจีนสมัยราชวงศ์ชางมีอายุราว 1,000B.C. (pongprom.wordpress.com/../ซุนดา อีเดนในอุษาทวีป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น