Civilization : Isalamic civilization

             ศาสนาอิสลามมีกำเนินขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 จากนั้น ศาสนาอิสลามก็แพร่หลายออกไปสู่ดินแดนอื่นๆ โดยรอบคาบสมุทรอาหรับ ทางตะวันตกแพร่ไปถึงยุโรปภาคใต้ และทางตะวันออกแพร่เข้ามาสู่อินเดีย และจากอินเดียเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นมีกษัตริย์มุสลิมครองอยู่ที่เอลฮี และในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 อิสลามเผยแร่ต่อมาทางใต้ในแค้วนคุจราต ซึ่งมีศูรย์กบางอยู่ที่เมือง แคมเบย์ (ปัจจุบันเรียกเมือง คามปาท) อันเป็นเมืองท่าติดต่อทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่เดิม พ่อค้าอินเดียที่หันไปนับถือศาสนาอิสลามเื่อมาค้าขายยังเอเชียตะวันออเฉียงใต้ ก็ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั้น เมื่อพ่อค้าอินเดียเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีจุดประสงค์เพียงค้าขายเท่านั้น แต่เมื่อสมัยหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13 พ่อค้าอินเดียเริ่มมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย เพราะว่าศาสนาอิสลามนั้นไม่มีนักบวชเช่นศษสนาอื่นๆ ประชาชนทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาไปในตัวนั่นเอง...
              ด้วยความเชื่อหลักสำคัญๆ ของศาสนา เช่น ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์นั้น ขัดต่อความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ทั่วๆ ไป ที่นิยมบูชาพระเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ทั้งในศษสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธแต่ชาวเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารับนับถือศาสนาอิสลามได้นั้น ก็เพราะว่าภายหลังที่พระมะหะหมัดเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว ศษสนาอิสลามก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างต้ามกาลเวลาเพื่อให้เข้ากับความรู้สึกนึกคิดของคนในชาติต่างๆ ในดินแดนที่ศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้าไป เกิดมีนิกายต่างๆ แตกแยกออกไปหลายนิกาย เพื่อที่ชาวเพื้นเมืองนั้นจะได้นำไปผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนได้ประเพณีความเชื่อถือดั้งเดิมของขนชาติต่างๆ เหล่านี้ จึงถูกนำมาผสมผสานเข้ากับหลักของศาสนาอิสลาม จนในที่สุดก็ยากที่จะแยกแยะออกได้ว่า หลักใด พิธีใด เป็นของศาสนาอิสลาม และหลักใด พิธีใด เป็นประเพณีดั้งเดิของพื้นเมือง
         
อิสลามที่ผ่านการวิวัฒนาการเช่นนี้แล้วนั่นเองที่เป็นอิสลามที่เผยแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองชุมทางทางการต้าต่างๆ อย่างแพร่หลาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในทางศษสนาในการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมานับถือศษสนาอิสลาม...
           หมู่เกาะทางตอนใต้ของเอเชียที่เรียกรวมกันว่า "มาลัยทวีป" หรือที่ประเทศตะวันตกรู้จักกันในนามของ ชายทะเลใต้ ได้แก่ เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะบอร์เนียว เกาะสุราเวสี เกาะเซลีเบส มะละา และเกานิวกินี แต่เดิมได้รับอิทะิพลจากอารยธรรมฮินดู พราหมณ์ และศษสนาพุทธนิกายมหายานจากอินเดีย แต่ในช่วงศตวรรษที่ 14 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางศษนา กล่าวคือศาสนาอิสลามได้เิร่มเข้ามามีบทบาทในแถบบริเวณนี้ จนทำให้ประชากรในประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประชากรมุสลิมที่มากที่สุดในโลก.. ปัจจุบันอินโดนีเซียก็ยังเต็มไปด้วยอารยธรรมแบบดั้งเดิม เช่น บรมพุทโธ(โบโรบุดูร์) อันเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ หรือในเกาะบาหลีที่เต็มไปด้วยอารยธรรมฮินดู พร้อมๆ กับความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาอิสลาม
            การขยายตัวของศาสนาอิสลามตามนครรัฐต่างๆ ทางเกาะสุมาตรา และแหลมมลายูนั้น จะเป็ฯไปในรูปแบบที่ว่า เมื่อนครรัฐใดได้กลายเป็นนครรัฐอิสลามแล้วนครรัฐเหล่านั้นจะพยายามเผยแพร่ ศาสนอิสลามไปสู่ประชาชนในรัฐใกล้เคียง ในลักษณะของการชักจูง แนะนำ รวมถึงใช้อิทธิพลทางการเมือง ทำให้รัฐใกล้เคียงกลายเป็นรัฐอิสลามตามไปด้วย ส่งผลให้การขยายตัวของอสลาในระยะนี้ได้แพร่ขยายขึ้นมาจากทางตอนเหนือ ของมลายูเขามายังตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าเจ้าผู้ปกครองเมื่อนครทางภาคใต้ของไทยในระยะนั้นจึนถึง เมืองนครศรีธรรมราชหันมานับถือศาสนอิสลามเป็นระยะเวลกว่า 700 ปี มาแล้ว และทางอาณาจักรสุโขทัยเองก็ได้พบหลักฐานว่ามีกาค้าขายกับกลุ่มประเทศที่ใช้ ภาษาอกหรับและเปอร์เซีย โดยพบว่าเครื่องชามสังคโลกในสมัยนั้นมีการแกะสลักเป็นภาษาเปอร์เซีย
         
ศาสนาอิสลามที่เข้าสุ่ดินแดน มาลัยทวีป ในลักษณะที่เรียกได้ว่า Indo-Persian กล่าวคือมีลักษณะเหมือนศาสนาอิสลามเข้ามาในอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากอิสลามในแหลมอาระเบีย เพราะอิสลามที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ถูกผสมกลมกลืนเข้ากับ วัฒนธรรมดั้งเดิม ทั้งนี้อิสลามในแต่ละพื้ที่ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามบริบมและประวัติ ศาสตร์ของสภานที่นั้นๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือเหมือนกันคือ หลักปฏิบัติ 5 ประการ
           จากบันทึกของชาวจีนในปี พ.ศ. 1949 กล่าวว่า ชาวชวา ชาวมาเลเซีย และชาวเกาะสุมาตราเป็นอิสลาม ซึ่งมีหลักฐานว่าผุ้เผยแพร่ศาสนาที่มาจาก ฮาตรา เมาท์ มาสู่เกาะชวา ท่านผู้นี้คือ เมาลานา มาลิก อิบรอฮีม และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 1962 ทางตอนเหนือของเมืองซุราบายาในชวา มีหลุมฝั่งศพของทา่านกลายเป็นอนุสรณ์มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการแสดงให้เก็นว่าตอนนั้นอสลามได้เข้มรยังเกาะชวาแล้ว ดดยในเริ่มแรกชาวมุสลิมมีอิทธิพลอยู่ตามชายฝั่งทะเลเพราะได้เดินทางมาทาง เรือ ด้วยเหตุที่มีความขยัน มีฐานะดี ซือสัตย์ สุจริ ตชาวมุสลิมจึงมัเป็นที่นับถือของชนพื้นเมือง จนเริ่มมีความสนิทสนม และความสัมพันะ์อันแน่นแฟ้น รวมถึงได้มีการแต่งงานระหว่างกัน
                                     
                                                                         
           (www.thaiartcmu.com/.., การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในอินแดนเอเซียตะวันออเฉียงใต้)
           (www.sameaf.mfa.go.th/.. การเข้ามาของศาสนาอิสลามสู่ตะวันออกไกล โดยโชติ โมารทัต, รายการวิทยุโลกมิสลิม วันที่ 12 เมษายน 2554.)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)