อารยธรรม โดยทั่วไปหมายถึงความเจริญทางวัฒนธรรมแต่สำหรับทางด้านปรวัติศาสตร์ อารยธรรมอาจหมายถึงการศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม เพื่อให้เก็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบสังคมนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและการล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่นๆ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานประจำปี พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของอารยธรรมไว้ว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรม และกฎหมาย ความเจริญเหนื่งด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี จากความหมายของ อารยธรรมจะเห็นได้ว่า อารยธรรมโดยทั่วไปมักหมายถึงประเด็นของความเจริญหรือดีในแง่ต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมต่างๆ ่วนลักาณธความไม่เจริญหรือไม่พัฒนาทางวัฒนธรรม จะเรียกในทางกลับกันว่า อนารยธรรม อันแปลว่า ไม่มีอารยธรรม แต่สำหรับทางด้านประวัติศาสนาต์ อารยธรรมจะศึกษาความซับซ้อนของระบบสังคม กล่าวคือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างในสังคมแม้ว่าจะทำให้สังคมดีขึ้นหรือแย่ลงก็ตาม โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงเหตุปัจจัยการเกิดและล่มสลายของอารยธรรมนั้น รวมถึงอิทธิพลของอารยธรรมนั้นต่ออารยธรรมอื่นๆ
สำหรับคำว่า อารยธรรม นั้น โดยปกติแล้วจะมีความหมายโดยนัยถึงอารยธรรมมนุษย์ ดังนั้นองค์ปรพกอบต่างๆ ในสังคมมนุษย์ ก็คือ วัฒนธรรม นั้นเอง แต่คำว่า อารยธรรม อาจนำไปใช้ในด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ อาทิ อารยธรรมต่างดาว ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าหาควาซับซ้อนของระบบสังคมของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก เป็นต้น สำหรับบทความนี้จะหมายถึงอารยธรรมโลก หรือ อารยธรรมมนุษย์ เป็นสำคัญ
อารยธรรมอินเดีย อินเดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก (ชนชาติในทวีปเอเซีย)
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผุ้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริดเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์สักราชและรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน, เมืองฮารับปา ในเแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
- สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ "สมัยประวัติศาสตร์"เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชโดยชนเผ่านอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่น,านในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาสมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า "บรามิ ลิปิ" เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ เป็นยุคสมัยที่ศษสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
2) ประวัติศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล และเข้าปกครองอินเดีย
3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุลในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในค.ศ. 1947
อารยธรรมอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอินเดียและประเทศจีน ซึ่งเป็นดินแดน แห่งอู่อารยธรรมยิ่งใหญ่ของเอเชีย ทั้งสองประเทศนี้มีการติดต่อค้าขายกันมาอย่างยาวนานโดยใช้เส้นทางบกและเส้นทางทางทะเล อีกทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการสำหรับชาวอินเดีย เปอร์เซีย เช่น เครื่องเทศ ไม้หอม ยาไม้หอม และทองคำ
แต่เดิมอินเดียซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะทองคำในบริเวณเมดิเตอร์เรเนี่ยนและเอเชียกลาง แต่ราว พุทธศตวรรษที่ 4-5 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในแถบนี้ ทำให้การคมนาคมในแถบนี้ถูกตัดขาด อินเดียไม่อาจซื้อทองคำในไซบีเรียได้อีกต่อไป จึงหันไปซ์้อทองคำในโรมันจนทำให้เศรษบกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีกด้วยเหตุนี้อินเดียทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า "สุวรรณภมิ"
การเดินเรือแต่ละครั้งต้องรอลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดมา ในระยะเวลาช่วงเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และการกลับก็
ต้องรอลมมรสุมตะวันอกเแียงเหนือในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมพัดกลับ ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นจุดจอดพักเรือเพื่อรอและหลบมรสุม เป็นที่ขนถ่ายสินค้าเติมเสบียง และกลายเป็นศูนย์กลางทางการที่สำคัญที่สุด การเดินเรือแต่ละครั้งมิได้เมีเพียงแต่พ่อค้า ยังมีนักบวชเดินทางร่วมมากับเรือด้วยเพื่อประกอบพิธีให้กับพ่อค้าเหล่านั้น ดังนัี้นในช่วงระหว่างการอลมรสุม จึงมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่กัน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงรับวัฒนธรรมของชาวอินเดียผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง
ตัวอักษรปัลลวะแบบที่นิยมใช้ในอินเดียภาคใต้ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 11-12 ) ดังได้พบจารึกโบราณภาษาสันสกฤตทั่วินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งภาษาสันสกฤตซึ่งเป็น
ภาษาชั้นสูงของพราหมณ์ และยังมีบทบาทอยู่โดยปะปนอยู่ในแต่ละภาษาของแต่ละประเทศ คำภีร์พระเวท คืองานวรรณกรรมในศาสนา
พราหมณ์ ซึ่งนักบวชใช่เป็นหลักคำสอน ตำรา จนถึงปัจจุบัน หลักฐานสำคัญที่เป็นรูปธรรมคืองานสถาปัตยกรรม งานปฏิมากรรมและงานจิตกรรม หากพบหลักบานในเมืองใดเป็นจำนวนมาก สันนิฐานได้ว่าเป็นเมืองแรกรับวัฒนธรรม เป็นเมืองท่าเป็นศูนบย์กลางทางการค้าที่สำคัญ ศูนย์กลางการปกครองฯลฯ เทวสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีของศาสนาพราหมณ์ เป็นสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมอินเดียซึ่งปรากฎการสร้างมหาเทพท้้งสามองค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ลักษณะงานที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ แบบคาดผ้าคาดเอวและเฉียงบิดเป็นเกลี่ยวซึ่งคล้ายคลึงกับเทวรูปในศิลปะสมับหลังคุปตะ คือสมัยรา
ชวงศ์ปัลลวะทางภาคตะวันออเฉียงใต้ของอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 12 และ 2) ลักษณะแบบคาดผ้าคาดเอวแบบตรง เทวรูปในศาสนาพราหมณ์รวมถึงสิวลึงค์ถูกพบมากใน เขมร ไทย พม่า ชวา ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคแรกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ เพมื่อกาลผ่านไป ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ เข้ามา
ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ผสมผสานศษสนาพราหมณ์กับศาสนาใหม่ๆ เหล่านี้ด้วยกันจนกลายเป็นศาสนาที่มีาูปแบบเฉพาะตัว เช่นลัทธิฮินดู-ชวาในอินโดนีเซีย ขอมรับศาสนาพราหมร์แล้วก็นำไปผสมผสานกับลัทธิฮินดู-ชวา(เทวราชา) แล้วพัฒนาจนศาสนาพราหมณ์ในขอมเป็นศาสนาที่เกื้อหนุนอำนาจกษัตริย์และมากด้วยพิธีกรรมอันเคร่งครัดสลับซับซ้อน ศาสนาพุทธในประเทศไทยก็มีพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์เจืออยู่ในเกือบทุกพิธีกรรม เป็นต้น
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 เป็นต้นมา เมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออเฉียงใต้เริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้น อันเป็นผลจากการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชน ประกอบกับการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ กระทั่งเกิดเป็น อาณาจักรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับวัฒนธรรมทางศาสนาพราหมณ์คือ อาณาจักรฟูนัน นอกจากนี้ยังมีอาณาจักรโบราณในเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอารยธรรมอินเดียเช่น ทวาราวดี ศรีวิชัย จามปา เจนละฯ ( www.gotoknow.org. "อาเซียน : การรับอารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับปรับปรุง).)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น