วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Chinese civilization II

             ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาม การแผ่ขยายวัฒนธรรม อิทธิพล ประเพณีของจีน มากับผู้อพยพชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งชาวจีนมีการอพยพถิ่นฐานมาแต่อดีตช้านาน ในสมัยราชวงศ์หมิง มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 ชื่อเดิมคือ "ซานเป่า" แซ่หม่า เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนชองมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบาร..การเดินทางสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง มากกว่า 37 ประเทศ เร่ิมต้นการสำรวจตรวกับสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทองปกีตองกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่เรียกว่า "เป่าฉวน" ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพอ่ซำปอกง"(ซานเป่ากง) วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณวำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเนืองจาก ชาวจีนผุ้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการพวงพ่อโตวัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า "ซำปอฮุดกง"ซึ่งแปลว่า พระเจ้า 3 พระอง๕์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น "ซำปอกง" จึงเข้าใจว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา เจิ้งเหอเป็นขันทีไม่สามารถมีลูกได้ หากแต่พี่ขชายได้ยกลูกชายหยิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกี่ยรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานใหนเจิ้งชงหลิ่ง ผุ้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม ..(th.wikipedia.org/../เจิ้งเหอ)
          ในสมัยหมิงนี้มีการเดินทางค้าขายและอยู่อาศัยในดินแดนโพ้นทะเล ชาวจีนที่เป็นพ่อค้าเรือสำเภาเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเส้นทางเดินเรือยุคโบราณ เช่น หมู่เกาะที่เป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ดินแดนในแหลมมลายู ช่องแคบมะละกาและหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งเป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน ซึ่งผุ้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นพอค้าเหล่านี้เรียกว่า Huashang ซึ่งพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ได้อยู่กอนกับสตรีพื้นเมืองจนเกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในยุคแรกๆ โดยมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดถึงยุคปัจจุบัน ชาวจีนที่อพยพไปยังดินแดนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจากมณฑลหวางตุ้ง ฟูเจี้ยน และเจ้อเจียงเป็นหลัก ประกอบด้วยชาวจีนที่ใช้ภาษาถิ่นฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮากกา(จีนแคะ)และไหหลำเป็นส่วนใหญ่
              การเดินทางอพยพกลุ่มใหญ่ของชาวจีนเดิขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่กลาางคริศตศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ภายหลังยุคล่า
อาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาครอบครองอินแดนต่างๆ และเปิดโอกาสให้พ่อค้า นัก
เดินเรือและช่างฝีมือชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของตน จึงก่อให้เกิดคลื่นลูกที่หนึ่งของการอพยพย้ายถ่ินของชาวจีน โดยในช่วงราชวงศ์ชิงทีถูกปกคหรองด้วยชาวแมนจู ชาวฮั่นจากจีนได้มีการพอยพอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับร้อยปี จนก่อให้เกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนราว 1.5 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 แม้ในช่วงนี้จักรวรรดิจีนจะไม่มีนโยบายให้ชาวจีนอพยพไปอยู่ต่างประเทศ  การย้ายถิ่นในช่วงที่แรงงบานชาวจีนหลั่งไหลออกนอกประเทศภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เป็นยุคคลื่นลูกที่สอง การพ่ายแพ้สงครามฝิ่นทำให้ทางการจีนต้องยอมให้มหาอำนาจตะวันตกระดมแรงงานจีนไปทกงานในต่างประเทศได้อย่างเสร จนเรียกว่าเป็นช่วงการอพยพของกลีชาวจีน ทำให้แรงงานจีนซึ่งนิยมเรียกกันว่า Huagong จำนวนถึงประมาณ 5 ล้านคนหลังไหลไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ ช่วงปลายคริศตศักราชที่ 19 ถึงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยส่วนมากจะมาเป็นแรงงานในเหมือง
ทอง เหมืองถ่านหิน แปลงเกษตรและไร่ขนาดใหญ่.. ช่วงนี้เป็นยุคแรกที่ชาวจีนกลุ่มใหญ่อพยพออกนอกทวีปเอเชีย มีการปาระเมิน่าชุมชนชาวจีนซึ่งรวมถึงครอบครัวลูกผสมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5 ล้านคนในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1920  ยุคคลื่นลูกที่สาม เกิดขึ้นภายหลังกานสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ จนเกิดการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ยุคนี้เป็นยุคที่ชาวจีนอพยพไปยังต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้เนื่องจากภาวะรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นในช่วงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยเฉพาะหลังการฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีการลงทุนและการเติบโตทางอุตสาหกรรมอย่างมาก ชุมชุนชาวจีนเติบโตมากในยุคนี้ ชาวจีนอพยพในยุคนี้มักถูกเรียกว่า เป็นพวก "หัวเฉียว" ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นผุ้มีการศึกษาและมีความรู้สึกชาตินิยมสูง และส่วนหนึ่งมีความหวังจะกลับไปยังเมืองจีน.. คาดการณ์ว่าจำนวนชาวจีนอพยพจนถึงทศวรรษที่ ค.ศ.1950 มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน แต่กระแสการอพยพของชาวจีนได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1949  อย่างไรก็ตาม
ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดยลูกหลานชาวจีนที่เกิดในประเทศต่างๆ ยังคงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของตน อนึ่ง ในยุคคลื่นลูกที่สามนี้ เป็นศักราชใหม่ของการย้ายถิ่นที่สำคัญของสตรีชาวจีน โดยก่อนหน้านี้ผู้อพยพชาวจีนจะเป็นเพศชาวเป็นหลัก ปัจจัยดึงดูดที่สำคัญคือ ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขนาดของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล การติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภูมิลำเนาเดิม สร้างความมั่นใจให้กับสตรีชาวจีนในการไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศ ยุคคลื่นที่สี่ เป้าหมายของผุ้อพยพคือประเทศที่พัฒนาแล้วหาใช่เอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ดังชาวจีนโพ้นทะเลในอดีต โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด้ อิตาลี สเปนเป็นต้น และนิยมเดินทางไปยังประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และรัสเซียด้วย ในเวลาต่อมาชาวจีนได้เริ่มกระจายไปอาศัยยังภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมของขาวจีนโพ้นทะเล อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก แอฟริกาใต้ อิสราเอล อียิปต์ ซาอุดิอาระเบียและตุรกี โดยทางการจีนได้เรียกชาวจีนอพยพในยคุคลื่นลูกที่สี่ว่า Xin yimin หรือ  New Migrants ถึงอย่างนั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของชาวจีนในคลื่นลูกที่สี่ คาดว่ามีชาวจีนกว่า 2.3-2.65 ล้านคน โดยเป็นสตรี ประมาณหนึ่งล้านคน หรือเกือบครึ่งของชาวจีนอพยพรุ่นที่สี่...(www.idsa.ipsr.mahidol.ac.th/../คลื่นลูกที่สี่.)
           
 ...คนจีนโพ้นทะเลเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่นที่อาจกล่าวได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประมาณร้อยละ 70 ของคนจีน
โพ้นทะเลทั่วโลก รัฐบาลจีนเองก็ได้ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มดังกล่าว โดยการกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนจีนโพ้นทะเลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน คนจีนโพ้นทะเลก็มีส่วนช่วยในการสร้างความมั่งคั่งและการพัฒนาประเทศที่พวกเขาเข้าไปอยู่อาศัย โดยมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ที่จนเชื้อสายจีนเข้าไปอยู่อาศัย กล่าวคือ เครือข่ายความสัมพันะ์เชิงญาติมิตรและภาษาของคนจีนโพ้นทะเลช่วยให้การทำธุรกิจข้ามพรมแดนเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ความสัมพันธ์ในเครือข่ายดังกล่าวทำให้เกิดความไว้วางใจและการไหลเวียนของ
ข้อมูลทางการค้าภายในเครือข่ายเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ประกอบกัยความรู้เก่ี่ยวกับวัฒนธรรมทืองถิ่น จึงช่วยส่งเสริมความร่วมมอทางการค้าระหว่งปรเทศที่เป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งกฎระเบียบทางการค้ายังไม่เข้มแข็ง ดังจะเห็ได้ว่า นอกเหนือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกแล้วเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญขชองจีนคือ ประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีสัดส่วนของประชากรเชื้อสายจีน เป้นจำนวนมาก เช่นไต้หวัน มาเลเชีย และไทยเป็นต้น..เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวอย่งที่ชัดเจนของบทบาทางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ แต่กลับเป็นเจ้าของกิจการที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าคนกลุ่มอื่นในประเทศ จะเห็นได้ว่า คนจีนโพ้นทะเลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศต่างๆ และรัฐบาลของหลายประเทศได้กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทและใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งกำลังกลายเป็นมหาอำนาจทาง
เศรษฐกิจของโลก..(www.kriengsak.com/../บทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศ)
                 รัฐบาลจีนดำเนินยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล โดยการสร้างความผุกพันทางอารมณ์ความรุ้สึกของชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศบ้านเกิด เช่น การจัดตั้งสถาบันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนเชื่อสายจีนนต่างประเทศ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรของชาวจีนโพ้นทะเล เป็นต้น รัฐบาลจีนยังกำหนดนโยบายสร้างแรงจูงใจเพื่อใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล เช่น การให้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ แก่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมให้คนจีนโพ้นทะเลที่มีความสามารถพิเศษกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการดึงบุคลากรระดับสูงเข้ามาทำงาานในประเทศจีน
         อย่างไรก็ดี นโยบายของรัฐบาลจีนที่เกี่ยวข้องกับคนจีนโพ้นทะเลกำลังมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป ตามทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างน้อยใน 3 ทิศทางหลัก ได้แก่

  - การเปลี่ยนนโยบายจกากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพลเมืองของประเทศจีนในต่างประเทศ ขยายเป็นคนเชื้อสายจีนทั้งหมดในต่างประเทศ นโยบายเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเลของรัฐบาลจีนในช่วงทศวรรษ 1980 มุ่งให้ความสนใจกลุ่มพลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ในปัจจุบัน จีนได้ขยายขอบเขตของนโยบายไปสู่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ และช่วงเวลาที่อพยพ...
             - การเปลี่ยนนโยบายจากการแสวงหาทุนทางการเงินเป็นแสวงหาทุนมนุษย์ ในช่วงแรกของการเปิดประเทศ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยใช้เครือข่ายของคนจีนโพ้นทะเลในการแสวงหานักลงทุน แต่รัฐบาลจีนมแนวโน้มเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
ประเทศจากเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ เนื่องจากความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานราคาถูกเริ่มถดถอยลงและจีนยังต้องแข่งขันกับเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายนจีนโพ้นทะเลจึงมีแนวโน้มเป็นไปเพื่อแสวงหาบุคลากรที่มีความรู้แลทักษะที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศและการแข่งขันทางเทคโนโลยี
             - การเปลี่ยนนโยบายจากากรสนับสนนุให้คนจีนโพ้นทะเลกลับสู่บ้านเกิดเป็นการให้ช่วยเหลือประเทศบ้านเกิดโดยที่ยังอยู่ในต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบาย ประกอบด้วยหนึ่ง การพัฒนาของเทคโนโลยี
สารสนเทศและกานสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นนแต่มีต้นทุนต่ำลง สอง การส่งเสิรมให้บรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของและภาคเอกชนของจีนออกไปลงทุนหรือขยายกิจการไปต่างประเทศมากขึ้น และสา จีนต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้มีความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศมากขึ้น ซึค่งความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในำต้หวันและคนไต้หวันในซิลิคอนฃวัลเล่ย์นับเป็นต้นแบบของนโยบายของรัฐบาลจีน..www.kriensak.com/.., ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล)
              ชุมชนคนจีนหรือไชน่าทาวน์ที่สำคัญๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย ย่านไชน่าทาวน์ของมะนิลา มีชื่อย่างเป็นทางการว่า ย่านบินอนโด ถือเป็นไชน่าทาวน์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่องปี 1594 โดยหลุยส์ เปเรซ ดาสมารินยาส ผู้ว่าราชการชาวสเปน ซึ่งก่อตั้งชุมชนนี้เพื่อรองรับผู้อพยพชาวจีนที่เปลี่ยนมานับถือคริสต์นิกายคาธอลิก, กรุงเทพประเทศไทย นับจากถนนเยาราชจนถึงวงเวียนโอเดียน ตั้งอยู่ในย่านเก่าแก่ที่สุดของเมือง ที่นี่อัดแน่นด้วยร้านอาหารข้างทาง แผงค้าขายบนทางเท้า และร้านทอง, โตรอนโต แคนาดา ก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นไชน่าทาวน์ที่หใญเป็นลำดับต้นๆในอเมริกาเหนือ, โจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ ชุมชนคนจีนแห่งแรกของเมืองนี้ ก่อตั้งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยชาวจีนที่เข้ามาขายแรงงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ย่านดังกล่าว ซึ่งอยุ่บน
กัลกัตตา อินเดีย ตั้งอยู่ในเขตตะวันออกของเมือง ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า ติเรตตาบาซาร์ และส่วนเมืองใหม่เรียกว่า ตันกรา ขึ้นชื่อเรื่องงานเทศกาลและอาหารของคนจีน รวมทั้งอาหารจีนที่มีกลิ่นอายแบบอินเดียผสมผสาน, ลอนดอน อังกฤษ อยู่ในย่านไลม์เฮาส์ เขตอีสต์เอนด์ โดยเป็นชุมชนของชาวจีนที่เป็นพนักงานบริษัทไชนีส อิสต์อินเดียในช่วงศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบัน ย่ายไชน่าทาวน์ขยายพื้นที่ไปถึงรอบๆถนนเจอร์ราร์ด, ฮาวานา คิวบา ไชน่าทาวด์ของฮาวานา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ บาริโอ ซิโน เดอ ลาฮาบานา ก่อตั้งขึ้นโดยคนจีนอพยพในคิวบา ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นับเป็นชุมชนคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา, ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย ชุมชนคนจีนโพ้นทะเลที่
ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในอเมริกาเหนือ เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองนี้, แวนคูเวอร์ แคนาดา ติดอันดับต้นๆ ของชุมชนคนจีนที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่
19 เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาทำงานเหมืองแร่และก่อสร้างรางรถไฟ ขึ้นชื่อในเรื่องความรุ่มรวยทางประวัติศาสตรื และเต็มไปด้วยร้านอาหาร วัดวาอาราม และสวนสวย, เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นในช่วง
ตื่นทองวิคตอเรียน ปี 1851 ได้รับความนิยมในฐานะชุมชนคนจีนที่ก่อตั้งยาวนานต่อเนื่องที่สุดในซีกโลกตะวันตก ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเี่ยวสำคัญอีกแห่งของเมือง ในย่านนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร
ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ยุโรป ออสเตรเลีย และจีน, นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่ากนว่า หยา เคน
เป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาตั้งรกรากที่นี้ ในช่วงทศวรรษ 1840 ตั้งอยู่ในย่านแมนฮัตตันของนครนิวยอร์ก จุดเด่นของที่นี่ คือ ร้านอาหาร แผงลอยข้างทาง และตลาดปลา, ไชน่าทาวน์ สิงคโปร์ ตั้งอยู่ในเขตเอาท์แรม หรือ หนิว ซี สุ่ย ชุมชนชาวจีนของที่นี่ อบอวลด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีน ปสมปสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองและตะวันตก คนเชื้อสายจีนที่นี่ เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ด้วยการเดินพาเหรดชิงเก และเทศกาลแม่น้ำหงเป่า, โยโกฮามา ญี่ปุ่น ก่อตั้งในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนร้านอาหารกว่า 500 ร้าน เฉพาะร้านอาหารจีนก็มีครบทุกภูมิภาค, ซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย ไชน่าทาวน์ในเขตเฮย์มาร์เก็ตของซิดนีย์ เป็นไชน่าทาวน์แห่งที่ 3 โดยแรกเริ่มในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชุมชนชาวจีน ตั้งรกรากอยู่ในเขตเดอะร็อค จากนั้น มีการโยกย้ายมาอยู่ใกล้ถนนมาร์เก็ต ที่ท่าเรือดาร์ลิง, ปารีส ฝรั่งเศส ตั้งอยุ่ในเขตปกครองทางใต้ เป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป นอกจากชาวจีนแล้ว ที่นี่ยังรอบรับผุ้อพยพจากเวียดนาม ลาว กัมพูชา..www.msn.co/../ รวมมิตรไช่น่าทาวน์)



         
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...