วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : "East India Company, British"and South east Asia

           จักรวรรดิบริติช หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ คราวน์โคโลนี รัฐในอารักขา รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นมหาอำนาจ โลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึงศตวรรษ จักวรรดิบริติชปกครองประชการประมาณ 458 ล้านค้น หรือกว่หนึ่งในห้าของประชากรโลกในเวลานั้นครอบคลุมพื้ที่มากกว่า 33,000,000
ตารางกิโลเมตร เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก เป็นผลให้มรดกทางการเมือง, กฎหมาย, ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษแผ่ขยาย ในยุคที่จักรวรรดิบริติชรุ่งเรื่องที่สุด มักใช้คำวลี "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิบริติช" เพราะดินแดนที่มีอยู่ทั่วโลกทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองอย่างย้อนที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา
           อังกฤษ เริ่มสนใจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังจากการเดินทางรอบโลก ของ เซอร์ ฟรานซิส เดรก และได้จักตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนแข่งกับฮอลันดา เพื่อ ผลประโยชน์ทางการค้าในหมู่เกาะอิสดีสตะวันออก แต่การลงทุน และระยะเวลาที่เข้ามามีน้อยกว่าฮอลันดา อังกฤษได้เข้ามา
ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตน เพื่อทำการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย เมื่อการค้าก้วรหน้าขึ้น อังกฤษจึงต้องการดินแดนริมฝั่งทะเล เพื่อเป็นสถานีการค้าและเป็นฐานทัพ เรือของตน อังกฤษจึงสนใจมลายู และได้ดำเนินการเป็นขึ้นตอนเพื่อเข้าครอบครองมลายู ใน พ.ศ. 2329 อังกฟษ ได้ดำเนินการขอเช่าเกาะปีนังจากเจ้าเทืองไทนบุรี ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทยเวลานั้น ต่อมาได้ขอเช่าไทรบุรี และให้ชื่อว่ โพรวินส์ เวสลีย์ และได้เจรจาของเข่าเกาะสิงคโปร์ จากสุลต่านรัฐยะโฮร์ ซึ่งดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของฮอลันดามาก่อน อังกฤษจึงต้องเจรจากับฮอลันดา ตกลงทะสนธิสัญญาลอนดอน สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการแบ่งอิทะิพล ระหว่างอังกฤษกับฮอลันดา คือ ฮอลันดาได้ครอบครองหมู่เกาะอินเดียตะวัน
ออก ในขณะที่อังกฤษครอบครองมะละกา ซึ่งเป็นของฮอลันดามาก่อน และอังกฤษต้องถอนตนออกจากเกาะสุมาตรา หลังจากนั้น อังกฤษได้รวม ปีนัง สิงคโปร์ และมะละกาเข้าด้วยกัน เรียกว่ สเตรทส์ เซทเทิลเมนส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษเข้ายึดอินเดียย เป็นอาณานิคมแล้ว อังกฤษก็ให้ความสนใจดินแนในแหลมมลายูมาขึ้น โดยเข้าไปรักษาความสงบและข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่างๆ จนเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ รวมทั้งการเจรจาทำสนธิสัญญากับไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ซึ่งเป็นของไทย โดยอังกฤษจะยอมเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ หลังจากอังกฤษ ได้ครอบครองดินแดนในแหลมมลายูแล้ว อังกฤษได้ครอบครองดินแดนอื่นๆ คือ บอร์เนียว บรูไนส์ และพม่า โดยที่อังกฤไษด้ทำสงครามกับพม่าถึง 3 ครั้ง และได้ชัยชนะตลอด จนพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
              สหภาพมาลายา เป็นสหพันธ์ของกลุ่มรัฐมลายูและอาณานิคมช่องแคบ รวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งสืบทอดมาจากลุ่มอาณานิคมบริติชมาลายาสหภาพแห่งนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อรวมสูนย์การปกครองของรัฐต่างๆ ที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูให้อยู่ใต้รัฐบาลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ สหภาพมลายาเป็นรูปแบบการปกครองที่อังกฤษเสนอขึ้นเพื่อใช้ปกครองอินแดนมลายู่เป็นอาณานิคม
            ปลายศตวรรษที่ 15 และต้นศตวรรษที่ 16 มะละกาได้ขยายเป็นจักรวรรดิครอบครองพื้นที่ทั้งหมดของคาบสมุทรมาลายูและบ่างส่วนของเกาะสุมาตรา มะละกาได้เปลี่ยนสภานภาพจากเมืองท่าเล็กๆ เป็นชุมทางการค้าการขนส่งทางทะเลและโมลุกกะ กับตลาดทังใยุโรปและเอเชีย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะละกาประสบความสำเร็จ คือ มะละกาตังอยู่ในแนวลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวัออกเฉียงเหนือซึ่ง
ช่วยให้เรือสำเภาทั้งจากตะวันตกและตะวันออกสามารถแล่นถึงกันได้ตลอดทั้งปี เมื่อมหาอำนาจตะวันตกยึดเมืองมะละกา สุลต่านอาห์เหม็ด ชาห์ สุลต่านองค์ุดท้ายของมะละกาได้หนีไปยะโอร์และใช้ยะโฮร์เป็นฐานที่มั่นในการต่อสู้เพื่อชิงมะละกาคืมาแต่ไม่เป็นผลจึงหนีไปเปรัคและสวรรคต พระโอรสองค์โต สุลต่าน มุซาฟาร์ ชาห์ ได้ก่อตั้งเมืองใหม่ในปีเดียวกันที่เปรัคซึ่งเป็นเมืองที่อุดมด้วยดีบุก และพระโอรสองค์รอบสุลต่านอัลเลาะด์ดิน ไรยัท ชาห์ ตั้งมั่นอยู่ที่ยะโฮร์และสถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยะโฮร์ ได้ขยายอำนาจขึ้นเป็นจักรวรรดิครอบครองยะโฮร์ สิงคโปร์และหมู่เกาะรีเยา และเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่แทนมะละกา การล่มสลายของจักรวรรดิมะละกาและยะโฮร์ทำให้มหาอำนาจทั้งในและนอกภูมิภาคผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองคาบสมุทรมลายู
           อังกฤษเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติสุดท้าย ต่อจาก โปรตุเกศและเนเธอร์แลนด์ที่เข้าครอบครองคาบสมุทรมลายู การครอบครองรัฐต่างๆ ของอังกฤษแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ อาณษนิคมช่องแคบ สหพันธ์รัฐมลาย และรัฐนอกสหพันธ์มลาย ซึ่งแต่ละแบบมีวิธีการที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่อาศัยการแทรกแซงทางการเมืองซึ่งมีความขัดแย้งกันอยู่เป็นทุนเดมและแสวงหาแนวร่วมด้านผลประโยชน์ กล่าวคื อคาบสมุทรมลายูประกอบด้วยรัฐน้อยใหญ่มากมาย อาทิ ยะโฮร์ เซลังงอร์ เปรัค ปาหัง ตรังกานู แแต่ละรัฐมีผู้ปกครองของตน ทำให้คาบสมุทรมลายูไม่มีความเป็นเอกภาคในการปกครองและขาดเสถียรภาพทางการเมือง อังกฤษอาศัยจุดอ่อนนี้ในการครอบครองรัฐต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปแม้จะใช้เวลาที่ยาวนานแต่ก็สามารถครอบครองคาบสมุทรมลายูได้อย่างเบ็ดเสร็จ
              อาณานิคมช่องแคบ คืออาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง รัฐมะละกา สิงคโปร์ และบาบวนในปัจจุบัน อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2369 โดยในตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึงของอินแดนที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาได้กลายเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว และได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
              อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้สมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเจตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลนทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์โดยและกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเากะปีนังมาสิงคโปร์
             ในปี พ.ศ.2410 นิคมดังกล่าวำด้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเต็มตัว โดยอยู่ภายใต้การปกครองของสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอนแทนที่จะขึ้นตรงกับรัฐบาลประจำอินเดียในกัลกัตตา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลอังกฤษได้ตราธรรมนูญประจำอาณานิคม โดยให้อำนาจแก่ข้าหลวงแห่งนิคม ซึ่งบริหารกิจการของอาณานิคมโดยได้รับคามช่วยเหลือจากสภบริหารและสภานิติบัญญัติ
             ดินดิงซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะทางตะวันตกของรัฐเประก์ ได้กลายเป็นของอังกฤษตามสนธิสัญญาปังโกร์ แต่ดินแดนดังกล่าวก็ไม่ทำประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากนัก
             พรอวินซ์เลส์ลีย์ซึ่งเป็นพื้นทางชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกดะห์ที่อยู่ตรงกันข้ามกับเกาะปีนังและมีอาณาเขตทางใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ ได้กลายเป็นของอังกฤษ โดยเขตแดนทางเหนือและทางตะวันออกที่ติดต่อกับรัฐเกดะห์นั้นได้กำหนดตามข้อตกลงที่ทำกับสยาม ดินแดนแห่งนี้ถูกปกครองโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งขึ้นตรงต่อหน่วยงานในเกาะปีนัง พื้นที่ส่วนใหญ่ของพรอวินซ์เลลส์ลีย์เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู โดยมีชาวจีนและชาวทมิฆซึ่งเป็นแรงงาน รวมทั้งผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆ อาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง พื้ประมาณหนึ่งในสิบเป็นเนินเตี้ยๆ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ พื้นที่นี้ผลิตข้าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
             อาณานิคมช่องแคบประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปีนัง ดินดิงส์ และโพรวินซ์ เวลเลสลีย์ พื้นที่ีชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกดะห์ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะปีนัง มะละกา และสิงค์โปร์ต่อมาเมืองจึงรวมลาบวน บนเกาะบอร์เนียวไว้ในอาณานิคมช่องแคบในท้ายที่สุดอาณานิคมช่องแคบอยู่ในสังกัดสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอนและเรียกดินแดนเหล่านี้ว่า คราวน์ โคโลนีย์ โดยอังกฤษส่งข้าหลวง มาปกคอรงบริหารรัฐเหล่านี้โดยขึ้ตรงกับกษัตรย์อังกฤษ
            ปีนัง เป็นเกาะอยู่ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น เกาะหมาก(ในภาษาไทย) ปูเลา ปีนัง (ภาษามาลายู) และพรินซ์ออฟเวลล์(ในภาษาอังกฤษ) ปีนังเป็นอาณานิคมแห่งแรกของอังกฤษในคาบสมุทรมลายู อังกฤษเริ่มแข้ามาเกาะปีนังในปี ค.ศ. 1771 ขณะนั้นปีนังเป็นส่วนหนึ่งของเกดะห์ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เจรจากับสุลต่านมูฮัมหมัด จีวาแห่งเกดะห์เพื่อของการจัดตั้งสภานีการค้าแห่งในปีนัง ในช่วงนั้นเกดะห์ หรือไทรบุรีเป็นเมืองขึ้นของสยามและต้องส่งบรรณาการแก่สยามทุกปี สุลต่านจึงยอมให้อังกฤษจัดตั้งสถานีการต้าเพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอังกฤษ ปีนังจึงเป็นรัฐแรกที่ถูกอังกฤษครอบครองและจัดตั้งเป็นสภานีการค้าแห่งแรกของอังกฤษในคาบสมุทรมลายู
             สิงคโปร์ ข้าหลวงอังกฤษคิดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งสถนีการค้าแห่งใหม่และเพื่อคานอำนาจของฮอลันดา จึงออกสำรวจและเดินทางถึงสิงคโปร์ และมีความเห็นว่าสิงคโปร์มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจะเป็นสูนย์กลางการค้าของอังกฤษในภูมิภาคนี้ ขณะนั้นเกาะสิงคโปร์เป็นเพียงหมู่บ้าชาวประมงเล็กๆ ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำสิงคโปร์ และเป็นส่วนหนึ่งของยะโฮร์ อังกฤษเจรจากับสุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน แห่งยะโฮร์เพื่อจัดตั้งสถานีการค้าบนเกาะสิงคโปร์แต่ถูกปฏิเสธ ทั้งนี้เพรราะยะโฮร์อยู่ภายใต้อำนาจของฮอลันดาและยูกส ต่อมาอังกฤษได้สืบทราบว่าการที่สุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน ได้ครองราชย์เป็นเพราะพระเชษฐา ตนกูฮุสเซน ชาห์ หรือตนกูลอง ซึ่งมีสิทธิ์ในการครอบครองราชย์ไม่ประทับอยู่ที่ยะโฮร์ในขณะที่อดีตสุลต่านสวรรคต จึงเสียสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ เซอร์แรฟเผิลจึงได้สมคบกับตนกูฮุสเซน ชาห์ ซึ่งถูกเนรเทศไปยู่ที่รีเยาให้กลับมาเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์ ช่วยให้อังกฤษสามารถครอบครองสิงคโปร์ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและสุลต่านฮุสเซน ซาห์ ได้ลงนามอย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้เกาะสิงคโปร์ เมื่ออังกฤษได้จัดตั้งอาณานิคมช่องแคบซึ่งประกอบด้วย ปีนัง ดินดิงส์ มะละกา และสิงคโปร์ ได้กำหนดให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการต้าและการปกครองของอาณานิคมช่องแคบ
            มะละกา อังกฤษและฮอลันดาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในคาบสมุทรมลาู โดยอังกฤษยกเบนคูเลน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตราให้กับฮอลันดาและฮอลันดามอบมะละกาให้แก่อังกฤษเป็นการตอบแทน
            รัฐในอารักขาของอังกฤษ รัฐในอารักขาคือ รัฐซึ่งมีเอกราชและอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้ามแข็งกว่าทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้อินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง
            สหพันธรัฐมาลายา เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมลายูและดินแดนต่างรวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะลกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร แต่ต่อมาก็ได้มีการประกาศเอกราช และจัดตั้งเป็นประเทศมาเลเซียในเวลาต่อมา สหพันธ์รัฐมลายาประกอบด้วยรัฐเซลังงอร์ เปรัค ปาหัง และเนกรี แซมบิลัม ก่อนที่จะมีการจัดตั้งสหพันธรัฐมลายา แต่ละรัฐมีสุลต่านเป็นผู้ปกครอง และอังกฤษส่งข้าหลวงประจำ เพื่อดูแลการต้าและผลประโยชน์ของอังกฤษในรัฐต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาสุลต่านใด้านการเก็บภาษีอากร เมื่อมีการรวมรัฐทั้งสี่และจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐมลายาในปี ค.ศ. 1895 จึงได้แต่งตั้ง ข้าหลวงใหญ่ เป็นผู้ปกครองสูงสุดของสหพันธรัฐมาลายูรวมถึงอาณานิคมช่องแคบ การได้มาซึ่งรัฐในสหรัพธ์รัฐมลายามีดังนี้
            เซลังงอร์  ในศตวรรษที่ 19 เซลังงอร์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากได้สำรวจพบแหล่งแร่ดีบุกอีกท้้งยังเป็นแผล่งผลิตยางพาราที่สำคัญ ในช่วงนี้เองมีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่เข้ามาขายแรงงานในเซลังงอร์เป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านี้ได้รวมตัวกันอย่างลับๆ และร่วมมือกับชนชั้นผู้นำเพื่อควบคุมเหมืองดีบุก ในระหว่างความขัดแย้งได้ลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองซ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างผู้ปกครองเซลังงอร์และผู้ปกครองเมืองแคลงเพื่อยึดครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการปกครอง ซึ่งรู้จักกันในนาม สงครามกลางเมืองเซลังงอร์หรือสงครามแคลง เหตุการณ์นี้เปิดช่องให้อังกฤษซึ่งในขณะนันมีบทบาทในเศรษฐกิจของเซลังงอร์ยื่นข้อเสนอให้สุลต่านแห่งเชลังงอร์ยอมรับให้มีข้าหลวงอังกฤษประจำเซลังงอร์เพื่อให้ความช่วยเหลือในการยุติความขัแย้งและสงครามแลางเมือง หลังจากที่เซลังงอร์กลับข้าหวงอังกฤษประจำเซลังงอร์ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการยุติความขัดแย้งและสงครตามกลางเมือง หลังจากที่เซลังงอร์กลับเข้าสู่สภาวะปกติข้อหลวงประจำของอังกฤษเซอร์แฟรง สเวทเทนแฮม ได้ประสานให้มีการรวมเซลังงอร์ เนเกรี เซมบิแลน เปรัค และปาหัง เพื่อจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลย์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ในเซลงงอร์
                เปรัค เปรัคก่อตั้งหลังจากที่อาณาจักรมะละกาล่มสลาย โดยาชบุตองค์โตของสุลต่าน อาห์เหม็ด ชาห์ สุลต่านองค์สุดท้ายแห่งมะละกา คือ สุลต่าน มุซาฟาร์ ชาห์ เนื่องจากเปรัคอุดมด้วยแร่ดีบุก จึงเป็นที่หมายปองของรัฐต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค ในศตควรรษที่ 19 บูกิส อาเจะห์และสยสมต่างพยายามที่จะครอบครองเปรัค ในขณะนั้นอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลในคาบสมุทรมลายู โดยได้ครอบครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ และหมายที่จะครอบครองเปรัคเช่นกัน อังกฤษจึงเข้ามาแทรกแซงการรุกรานดังกล่าวทำให้เปรัคสามารถรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของสยาม
                ต่อมาเกิดการแย่งชิงสัมปทานเหมืองแร่ระวห่างชาวจีน 2 กลุ่มในเปรัค สุลต่านแห่งเปรัคไม่สามารถปราบปรามได้ เนื่องจากเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ในราชสำนักสุลต่าน ราชามุดา อับดุลลาห์ ได้มีสาสน์ถึงข้าหลวงใหญ่ของนิคมช่องแคบแสดงความจำนงค์ยินยอมให้เปรัคอยู่ในอาณัติของอังกฤษหากช่วยให้เขาได้ครองบัลลังก์ ทั้งสองได้พบกันที่เกาะปังกอร์ เพื่อลงามในสนธิสัญญาเพื่อให้อังกฤษช่วยรักษาความสงในรัฐเปรัค และสนับสนุนให้ราชามุดา อับดุลลาห์เป็นสุลต่านอับดุลลาห์ มูห์หมัด ชาห์ ที่ 2 แทนสุลต่าน อิสเมล มอบิดดิน ไรยัท ชาห์ โดยเปรัคยอมให้อังกฤษส่งข้าหลวงมาประจำ อีกทั้งมอบสิทธิในการครอบครองอินดิงส์ และเกาะปังกอร์ ให้แก่อังกฤษ
              ปาหัง เป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดบนคาบสมุทรมลายูเป็ฯรัฐเก่าแก่ของไทย เคยมีคนไทยเป็ฯเจ้าอมืองมาแต่โบราณ ก่อนหน้านี้ปาหังเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย แต่หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1000 ปาหังถูกครอบครองโดยอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาโดยสยาม และสุดท้ายโดยจักรวรรดิมะละกา
            เนเกรี เชมบิลัน อยู่ในสภาวะความขัดแย้งทางการเมืองมาตลอด สาเหตุเนื่องจากเนเกรี เซมบิลันเป็นรัฐที่ก่อตั้งโดยชาวมินังคาเบาจากเกาะสุมาตราในศตวรรษที่ 15 ในช่วงแรกเนเกรี เซมบิลันอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งยะโฮร์ ต่อมายะโฮร์อ่อนกำลังลงเนื่องจากถูกบูกิสโจมตี เนเกรี เซมบิลันจึงหันพึ่งสุมาตราซึ่งเป็นเชื้อสายเดียวกัน สุมาตราได้ส่ง ราชาเมเลวาร์ มาครองเนเกรี เซมบิลัน แต่เมื่อมาถึงปรากฎว่าราชาคาทิบ ได้ตั้งตนเป็นผู้ปกครองเนเกรี เซมบิลันเรียบร้อยแล้ว ในที่สุดราชาเมเลวอร์ได้ขึ้นครองรชย์ในปี 1773 โดยการรับรองของสุลต่านแห่งยะโฮร์โดยแต่งตั้งให้เป็น ยังดีปอตวนอากงแห่งเนเกรี เซมบิลัน และเมื่อราชาเมลาวาร์สิ้นพระชนม์ทายาทของราชาเมเลวาร์และราชาคาทิบก็ต่อสุ่เพื่ออ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ การต่อสู้ลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองอังกฤษจึงถือเป็นข้ออ้างในการส่งกองกำลังเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษในเมืองซันไกอูจง และส่งข้าหลวงมาประจำต่อมา ยึดเมือง เจเลบู และยึดเมืองที่เหลือได้ทั้งหมด
              บอร์เนียวเหนือ เป็นรัฐในอารักขาในการดูแลของบริษัทบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรโดยใช้ชื่อว่าบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ จนถึงปี ค.ศ.1963 บอร์เนียวเหนือตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ซึ่งก็คือรัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน
              บรูไน  เป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 -คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอเนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้นคือ การบูร พริกไทยและทองคำ หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปนและฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยิมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมายอมลงนามในสนธิสัญญายินยิมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
               รัฐนอกสหรัพธรัฐมลายา ประกอบด้วย รัฐยะโฮร์ และรัฐที่เป็นเมืองขึ้นของสยาม การครอบครองรัฐเหล่านี้อาศัยวิธีการดังนี้
              ยะโฮร์ เป็นหนึ่งในสองรัฐที่สามารถขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิในช่วงที่ฮอลันดาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในคาบสมุทรมลายูจักรวรรดิยะโฮร์-รีเยา-ลิงกะ ประกอบด้วยดินแดนในอาณัติ 4 ส่วน คือ มัวร์ ปาหัง รีเยา และยะโฮร์ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์ แต่ละส่วนมีผู้ปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งจากสุลต่านซึ่งประทับอยู่ในลิงกะ จักรวรรดิยะโฮร์เรื่องอำนาจในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 17 แต่เมืองขึ้นต้นศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มเสือมอำนาจลงเนื่องจากถูกรุกรานโดยบูกิสและมินังกาเบา นอกจากนี้ความเสื่อมถอยของราชสำนักสุลต่านยังเป็นผลมาจากการแทรกแซงของอังกฤษโดยเริ่มต้นจากเซอร์แรฟเฟิล สแตมฟอร์ด ในการสนับสนุนให้ตนกูฮุสเซน ชาห์ ครองราชย์แทนสุลต่าน อับดุล ราห์์มาน มอสแซน โดยมุ่งหวังที่จะขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากยะโฮร์เพื่อจัดตั้งเป็นสถานีการค้าในปี 1819 ในปีนี้เองจักวรรดิแยกเป็น 2 ส่วน คือ อาณาจักยะโฮร์ ซึ่งปกครองโดยชาวเตเมงกองและรัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกะซึ่งปกครองโดยบูกิส การแทรกแซงของอังกฤษมากขึ้นตามลำดับจนกระทั่งราชสำนักอ่อนกำลัง ประจวบกับในปลายศตวรรษที่ 19 มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อยะโฮร์กับสหพันธรัฐมลายาทำให้ยะโฮร์ต้องยอมอังกฤษ โดยอังกฤษส่งข้าหลวงมาประจำและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษในที่สุด
             รัฐที่เป็นเมืองขึ้นของสยาม ได้แก่
                          - เกดะห์ ซึ่งไทยเรียกว่า ไทรบุรี มีพรมแดนติดต่อจังหวัดสงขลาของไทย ไทรบุรีอยู่ภายใต้อิทะิพลของอาณาจักรศรีวิชัย และต่อมาเป็นเมืองขึ้นของไทย ดังที่กล่าวมาแล้ว ไทรบุรียอมให้อังกฤษเช่าเกาะปีนัง เพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอังกฤษเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของสยาม
                           - กลันตัน เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย เป็นเมืองขึ้นเก่าแก่ของไทย กลันตันหลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย และต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมะละกา แต่เมื่อโปรตุเกสครอบครองมะละกากลันตันอยูาภายใต้อาณัติของปัตตานี และกลับมาอยู่ในอาณัติของประเทศไทย
                            - ตรังกานู เป็นรัฐอิสระที่มีสุลต่านซึ่งสืบเชื้อสายจากยะโฮร์เป็ฯผู้ปกครอง ในช่วงนี้การเมืองในตรังกานูถูกครอบงำโดยยะโฮร์ และตกเป็ฯประเทศราชของสยามและส่งเครื่องราชบยรรณาการมาถวายทุกปี
                             - เปอร์ลิส ซึ่งไทยเรียกว่า ปะลิส เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดสตูลและสงขลาของไทย ในอดีตเปอร์ลิสเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ซึ่งผลัดกันปกครองโดยอาเจะห์และสยาม หลังจากที่เคดาห์กลับมาเป็นของไทย เนื่องจากอังกฤษเกรงว่าผลประโยชน์ของตนในเปรัคจะถูกคุกคาม มีการลงนามในสนธิสัญญเบอร์นีย์ โดยอังกฤษยมอรับว่ารัฐทั้งสี่ในภาคเหนือของคาบสมุทรมลายู เป็นส่วนหนึ่งราชอาณาจักรสยาม และสยามยอมรับว่าอังกฤษเป็ฯเจ้าของเกาะปีนัง อีกทั้งให้สิทธิ์อังกฤษในการค้าขายในกลันตันและตรังกานู ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ สุลต่าน อาห์เหม็ด แห่งเกดะห์ ซึ่งถูกเนรเทศและต่อต้านสยามถึง 12 ปี จำยอมรับเง่อนไขและกลับมาครองบัลลังก์ หลังจากนั้นสยามได้แยกเปอร์ลิสออกจากเกดะห์
                              สนธิสัญญาเบอร์นีย์สิ้นสุดลงเมื่ออังกฤษและไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแองโกล-สยาม หรือสนธิสัญญากรุงเทพ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน โดยอังกฤษยกเมืองสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสให้เป็นของสยาม และอังฏฟษได้เมืองเกดะห์ กลันตัน และตรังกานู ส่วนเปอร์ลิสและสตูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ ให้เปอร์ลิสเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลเป็นของสยาม รัฐเหล่านี้ก่อนได้รับเอกราชแม้จะมีสุลต่านเป็นผู้ปกครองแต่มีข้อหลวงอังกฤษทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่สุลต่าน
             


                 (www.tri.chula.ac.th/.. "การครอบครองคาบสมุทรมลายูของมหาอำนาจตะวันตก")
                 (www.th.wikipedia.org/..,ประเทศบรูไน.., รัฐในอารักขา.., เบอร์เนียว.., สหพันธรัฐมลายา.., นิคมช่องแคบ.., จักรวรรดิบริติช.)
                 (http//site.google.com/.., "เอเชียใต้)
               

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : Indochine française Union Indochinoise

                  ก่อน ค.ศ. 1500 มีชาวยุโรปเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสนใจดินแดที่อยู่นอกเหนือชายฝั่งทะเลองตน พวกเขารู้จักเฉพราะบริเวณรอบๆ ทะเลบอลติค และการขยายตัวไปทางตะวันออกสู่ทวีปเอเชย สงครามครูเสด ได้นำชาวยุโรปสู่ตะวันออกกลาง และทำให้ชาวยุโรปเกิดความตื่นเต้น กระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไปแม้ว่าในเวลานั้นชาวยุโรปจะรูจักทะเลดำ และทะเลเมติเตอร์เรเนีย แต่ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกและตะวันออกเฉียใต้ของสเปนนั้นยังเป็นที่ว่างเปล่าในแผนที่ของชาวยุโรป            
                 มาร์โค โปโล พือค้าชาวเวนิสที่มีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นผุ้ที่มีส่วนทำให้ชาวยุโรปตะหนักว่ามีดินแดห่งไกลที่แปลกประหลาด สมาชิกของตระกูลโปโลได้ติดต่อขายกับพวกมองโกล ในเอเชียตะวันตก พวกเขาเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งซึ่งจักรพรรดิกุบไลข่าน ครองราชย์อยู่ในขณะนั้นพวกโปโลอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งเป็นเวลาหลายปี และเมื่อมาณ์โค โปโล เดินทางกลับมายังอิตาลี เขาก็เขียนหนังสือเล่าถึงการเดินทางของเขา และเปิดเผยถึงความร่ำรวยอย่างมหาศาลของโลกตะวันออก ซึ่งทำให้ชาวยุโรปรู้สึกประหลาดใจและกระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไป
                 เป็นเวลาหลายศตวรรษทาแล้วที่ชาวตะวันตกบริโภคสินค้าต่างๆ จากดินแนตะวันออกำหล โดยผ่านางพ่อค้าคนกลางคือพวกอาหรบ นครรัฐต่างๆ ของอิตาลีซึ่งเป็นผุ้ผูกขากการค้าเครื่องเทศที่ได้กำไรอย่างมหาศาลต้องการรักษาสถานะเดิมใขณะนั้นแต่พ่อค้าของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ต่างต้องการทำการค้าโดยตรงกับทางตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านท้งพ่อค้าอิตาลีและพ่อค้าอาหรับ
                 การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษมีผลต่อแรงผลักดันใหมีการเดินทางสำรวจภายนอกประเทศ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ และพระราชินีอิซาเบบา ของสเปนได้รวมราชอาณาจักรต่างๆ เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกันคือ สเปน ฐานะของกษัตริย์สเปนจึงเข้มแข็งกว่าแต่ก่อน และพร้อมที่จะสนับสนุนการสำรวจดินแดน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม โปรตุเกสซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้สุดของทวีปยุโรปกลับเป็นประเทศแรกที่เริ่มการสำรวจทางทะเล
                 เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การแข่งขันกันเพื่อหาเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปตะวันตกและตะวันอกไกลก็เริ่มขึ้นชาวยุโรปทราบว่าไม่มีเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนและมหาสมุทรอินเดีย มีเส้นทางที่เป็นไปได้เพียง 2 ทาง คือ เส้นทางแรกโดยไปททางใต้ อ้อมทวีปแอฟริกาและมุ่งตะวันออกสู่อินเดีย อีกเส้นทางหนึ่งคือเดินทางสู่ทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ซึ่้งเป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความกล้าหาญและการเสียงมากกว่า เพราะแม้นักภูมิศาสตร์จะเชื่อว่าจีนตั้งอยูอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติคแต่ไม่มีผุ้ใดทราบแน่นอนว่ามันเป็นระยะทางเท่าไรหรือมีอะไรขวางกั้นอยู่ ทั้งสองเส้นทางเป็นการเดินเรือที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสี่ยงภัย แม้พ่อค้าชาวยุโรปกระหายที่จะหาเส้นทางใหม่แต่ก็ไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินในการสำรวจ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งเห็นว่า การหาเส้นทางเดินเรือและสถานีการค้าใหม่จะเป็นการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกษัตริย์ซึ่บงมีพระราชประสงค์จะสำรวจเส้นทางเดินเรือยังทรงได้รับการสนับสนุนจากศานจักรเพราะพระชั้นผู้ใหญ่มุ่งทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาและต้องการให้มีผุ้เข้ารีดมากขึ้น ดังนั้นการขยายตัวของชาวยุโรปมาสู่ภาคโพ้นทะเลจึงมีสาเหตุในระยะแรก 3 ประการคือ ความต้องการของพ่อค้าสำหรับทองคำและความร่ำรวยจาการค้า, ความปรารถนาของกษัตริย์สำหรับอำนาจและเกี่ยรติยศและแรงบันดาลใจของพวกพระในคริสต์ศาสนาที่ต้องการเผยแพร่ศาสนา
                 จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส ประกอบด้วย อาณานิคมโพ้นทะล, รัฐในอารักขา และบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีสซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือ จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่งซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1814 เมื่อนโปเลี่ยนถูกถอดจากราชบัลลังก์ และเริ่มเข้าสู้ยุคจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่ 2 อีกครั้งในปี 1838 เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรีย และเริ่มเสื่อมถอยลงจากสงครามในเวียดนาม(1955) และแอลจีเรีย (1962) ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในอีกหลายๆ ประเทศภายหลังปี 1960
                อินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพอินโดจีน เป็นอาณานิคมจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วย ตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมเป็นเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาจึงรวมลาวเข้าด้วย อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงแล้วจึงย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชี และยังถูกญีุ่ปุ่นรุกรานด้วย ต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่า สงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้ง รัฐเวียดนาม ซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสและต่อมาเวียดมินห์ก็กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยมีรัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่
               การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส
               ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุดิต นำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอค เข้ามาเผยแผ่คริสต์สาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวยดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็ฯดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอน ได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วงเหลือเงียน อั็ญ (ซึ่งภายหลังคือ จักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สุญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึง พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิ การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง
             ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตี ดานัง ของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เอด เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ต่อมากองทัพผสมระว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปนได้เข้าตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด
         
 เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อน ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญ เดื่อง ให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจาหน้าที่ เพราะเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนา จากจักพพรรดิตึ ดิ๊ก และต่อมาในฝรังเศสประกาศดินแดนของฝรั่งเศสจังหวัด เจิวต็ก(โชฎก) ห่าเตียนและหวิญล็อง ก็ตกเป็นของฝรั่งเศส
           ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษณ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ
            ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าำว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม
             ฝรั่งเศสมอบอำนาจให้กับผุ้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชาและเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริง อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผุ้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่กระทั่ง พ.ศ. 2497
            กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 1401 และในช่วงกลางคริสต์ทวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428-2438 ฟาน ดิญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม ดดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหนึ่งจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น
ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบตินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนะให้ยอมตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของอินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส
             ฝรั่งเศสกดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้งโดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่เศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมาสยามต้องยอมยอตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และปัจจันตคีรีเขตร์  ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยากลับคือ และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐแสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยามในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้นผู้ลวนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยัง โตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญส่งมอบอินแดนคืน
             ปี พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียบ็าย การจลาจลแห่งเอียบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคอชาตินิยมเวียดนาม การปะทะกันครั้งนี้เป็ฯการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในชวงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดนดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ..


                                (www.th.wikipedia.org/..อินโดจีนของฝรั่งเศส)
                                ("การกำเนิดและสิ้นสุดระบบอาณานิคม", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2536)

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism

         ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจองประเทศอื่นๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนั่งในการคงไว้ซึ่ง"อาณานิคม" และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนนั้นๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีกานำนำว่า "จักรวรรดินยม" ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนีคำว่า "จักรวรรดินิยม"มีนับแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาน เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่นๆ เหนือกว่าชาตที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย
          กิจกรรมซึ่งเรียกได้ว่าลัทธิอาณานิคมนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานเริ่มจากจักรวรรดิแอฟริกาก่อนสมัยอาณานิคมซึ่งนำให้ชาวอียิปต์ ฟินีเซียกรีกและโรมันล้วนสร้างอาณานิคมในสมัยโบราณ ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่เริ่มด้วยยุคแห่งการสำรวจ โปรตุเกสและสเปนค้นพบดินแดนใหม่ทั่วทั้งมหาสมุทรและสร้างสถานีการค้าหรือพิชิตดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล บางคนถือว่าการสร้างอาณานิคมทั้งทั้งมหสมุทรนี้เองที่แยกแยะ "ลัทธิอาณานิคม" จาก "ลัทธิการขยายอาณาเขต" แบบอื่นมีการแบ่งดินแดนใหม่เหล่านี้ระว่างจักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนครั้งแรกโดยสารตราพระสันตะปาปาอนเทอร์เซเทอรา และต่อมาโดยสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาสและสนธิสัญญาซาราโกซา สมัยนี้ยังสมันพันธ์กับการปฏิวัติพาณิชน์ สมัยกลางตอนปลายมีการปฏิรูปการบัญชีและการธนาคารในอิตาลีและเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ยุโรปตะวันตกรับและนำมาปรับใช้กับความเสี่ยงและรางวัลสูงที่เกี่ยวกับการลงทุนแาณานิคม
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดิดัตช์ เช่น เดียวกับกรรมสิทธิโพ้นทะเลของอังกฤษ ซึ่งต่อมากลายเป็นจักรวรรดิอังกฤษนอกจากนี้ ยังมีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กและอาณานิคมโพ้นทะเลของสวีเดนบ้าง
          การแพร่กระจายของจักรวรรดิอาณานิคมลดลงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสงครามปฏิวัติอเมริกา และสงครามประกาศอิสรภาพละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเบลเยียม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลายชาติยุโรปเกี่ยวข้องในลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา..
           จักรวรรดินิยมในเอเชีย เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำสู่ยุคแห่งการสำรวจโดยตรง และนำการสงครามสมัยใหม๋ตอนต้นมาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียกว่าตะวันออกไกล เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุคแห่งการเดินเรือขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการต้าเครื่องเทศภายใต้ลัทธิอาณานิคมอย่างมาก มีจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ ติมอร์-เลสเต ซึ่งเปาณานิคมสุดท้ายของจักรวรรดิโปรตุเกส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์ชาติและรัฐพหุชาติแบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตก
            แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้าโภคภัฒฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียยอ้อมแหลมกู็ดโฮป อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทะิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตเวีย ซึ่งเป็ฯสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอรแลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) จากนั้น ดัตช์แย่งชิงการค้ากับ "มะละกา ซีออน" ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และญี่ปุนที่มีกำไรมาจากโปรตุเกส. อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนีจะคอยๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลังสงครามเจ็ดปี อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนาบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดในอนุทวีปอินเดีย
             ก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุปสงค์ของสินคึ้าตะวันออกอย่างเช่น เครื่องเปลือกไข ไหม เครืองเทศและชา ยังเป็นแรงผลักเบื้องหลังจักรวรรดินิยมของยุโรป และเดิมพันของยุโรปในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ยังจำกดัอยูกับสถานีการค้าและกองรักษาด่านทางยุทูศาสตร์ซึงจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้า ทว่า การปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเพิ่มอุปสงค์ของยุโรปต่อวัตถุดิบจากเอเชียอย่างมาก และภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำระยะยาว แห่งคริสต์ทศวรรษ 1870 เป็นชนวนการแย่งชิงตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยุโรปและบริการทางการเงินในทวีป แอฟริกา อเมริกา ยุโรปตะวันออ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเชีย การแย่งชิงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสมัยใหม่ในการขยายอาณานิคมโลกเรียกว่า "จักรวรรดินิยมใหม่" ซึ่งหัมความสนใจจากการค้าและการปกครองทางอ้อมเป็นการควบคุมอาณาเขตโพ้นทะเลไพศาลแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการ ปกครองดโยการขยายทางการเมืองจากประเทศแม่ ระหว่งคริสต์ทศวรรษ 1870 กระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริ่มใน ค.ศ. 1914 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมผนวกอาณาเขตกว้างใหญ่อของตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดียและเอเบียตะวันออกเฉียงใต้ เข้ากับจักรวรรดิของตน ในห้วงเวลาเดียวกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปเมจิ จักรวรรดเยอรมันหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียยุตลง จักรวรรดิรัสเซยและสหรัฐอเมริกาหลังสงคราม สเปน-อเมริกา กำเนิดเป็นเจ้าอาณาเขตในเอเชียตะวันออกและบริเวณมหาสมุทรเเปซิฟิกอย่างรวดเร็ว

ในทวีปเอเชีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่ สองเป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าอาณานิคมหลายชาติ ความขัดแย้งดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชาติยุโรปกับรัสเซียและสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งกำลังผงาด ทว่าไม่มีเจ้าอาณานิคมประเทศใดมีทรัพยากรเพียงพอกับความเสียหายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและธำรงการปกครองดโยตรงในทวีปเอเชียได้.. แม้ขบวนการชาตินิยมทั้วโลกอาณานิคมนำมาซึ่งเอกราชทางการเมืองในอาณานิคมแทบทั้งหมดที่เหลืออยู่ในทวีปเอเชีย การปลดปล่อยอาณานิคมถูกสงครามเย็นขัดขวาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวัออกกลางและเอเชียตะวันตกยังจมอยู่ในระบบเศรษฐกิจ การเงินและและการทหารโลก ซึ่งมหาอำนาจแข่งกันขยายอิทธิพล
              อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามที่รวดเร็วของเสือเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน ตลอดจนการล่มสลายของสไภาพโซเวียต ได้ลดอิทะิพลของยุโรปและอเมริกา เหนือทวีปเอเชีย ทำให้มีการสังเกตในปัจจุบันว่าอินเดียและจีนสมัยใหม่ อาจกำเนิดเป็นอภิมหาอำนาจใหม่ของโลก
            อินเดีย การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย
             อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ขึ้นในปี ค.ศ. 1600 แม้นะเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขายอำนาจเ้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษทต่อมา เื่ออังกฤษเข้าครองเบงกอลได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการที่ปาลาศี บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลเหรือราชวงศ์โมกุล ตกต่ำเสื่อถอยเนื่องจกาการคอรับชั้น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฎ และในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลาย ในรัชสมัยของกษัตรยิ์โอรัง เซบ ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658-1707
             รัชสมัยของกษัตริย์ ชาห์ จาฮัน เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์ แต่เมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็ยุคแห่งหายนะ กษัตริย์โอรัง เซบเป็นผุ้มีความอำมหิตและคลั่งไคล้ศาสนา มีระประสงค์กำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากควาเชื่อของมุสลิม ในช่วงเริ่มต้นของการรัชสมัยโอรังเซบเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมก์ฮัลสามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลที่สุด มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินเดียทั้งหมด แต่สิลห้าปีหลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์โอรังเซบ ราชอาณาจักรโมก์ฮัลที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงแก่การล่มสลายลง อนุทวีปก้าวเข้าสู่ช่วงอนาธิปไตย บ้านเมืองยุ่งเหยิง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางแย่งกันเป็นใหญ่ ในช่วงเวลาดังกล่าวราชวงศ์โมก์ฮัลปกครองอินเดียอยู่ในนาม กลางทั้งปี ค.ศ. 1858 รัฐบาลกลางจึงถึงกาลล่มสลาย เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจในดินแดนภาระที่กว้างใหญ่นี้
            การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น "จักรพรรดินีแห่งอินเดีย" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถภูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้านๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมา กฎหมายที่ออกมาเหล่านี้ได้ให้อำนจแก่รัฐสภในการควบคุมนโยบายต่างๆ ของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่างตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่าง ว่า "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี 1858 ในปี ค.ศ. 1818 บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก ปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมขององัฏฟษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกคหรองโดยตรงขององักฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองอยู่ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
             จีน การแทรกซึมของลัทธิจักรวรรดินยมในจีน
              ในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษมีการค้าขายกับจีน โดยมีการส่งออกแร่เงินจากเม็กซิโกไปยังจีนและนำเข้าชาจากจีนไปยังเมืองแม่ แต่เมื่ออังกฤษสูญเสียอาณานิคมอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับเม็กซิโกไป อังกฤษก็สูญเสียแหล่งป้อมแร่เงินสำคัญของตนไปด้วย จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาสินคาทางเลือกอื่นเพื่อการส่งออก  "ฝิ่น" ของชนอินเดียนเป็นสินค้าที่สามารถทำกำไรได้งามถ้านำมาส่งออกไปยังจีนแทน ถ้าไม่คำนึงถึงศีลธรรมสินค้าตัวใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีให้แก่อังกฤษได้ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านสังคมในจีน ส่งผลให้เกิดสงครามฝิ่น ระหว่างอังกฤษกับจีนในปี ค.ศ. 1830..
            ความทะเยอทะยานของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมและคู่แข่งในตะวัออกไกลทำให้จีนซึ่งมี
อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล และจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของโลกตกเป็นเป้าของการไล่ล่าเพื่อเข้ายึดครองแย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้จีนยังคงสามารถอยู่รอดเป็นประเทศเอกราชอยูได้ในภาพรวมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยืดหยุ่นของโครงสร้างทางสังคมและการบริหารปกครองของจีนเอง อย่างไรก็ตามการคงความเป็นเอกราชของจีน ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดจำกัดที่แท้จริงของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการอ้างสิทธิในการแข่งขันที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
          .. ตามหลักการแล้ว เบื้องลึกของการไล่ล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ก็เพื่อให้มีดินแดนที่ใช้เป็นที่ตั้งกองกำลัง เพื่อทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่ "การลงทุน" ขนาดใหญ่ของเหล่าประเทศเจ้าอาณานิคมท้งหลาย ในบางสำนึก อังกฤษยังคงยึดมั่นกับแยวคิดตามลัทธเเสรพาณิชย์ของนักเศรษฐศาสตร์ "คอบ เด็น" ที่ว่า ลัทธิอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการนั้น มีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับใน
กลุ่มนักลงทุนนิยมอุตสาหกรรมทั้งหลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่างการล่มสลาบของนโปเลียนและสงครามฟรังโก้-ปรัสเซีย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปน้ัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความชอบสำหรับลัทธิอาณานิคมเหนือ กว่าจักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการ แต่ท่าที่ต่อการปกครองอาณานิคมอย่างเป็นทางการในส่วนใหญ่ของพื้นที่ในแถบร้อนั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกพิจารณาว่า "ล้าหลัง" มากเกินไปสำหรับการค้า พื้นที่ซึ่งมีความเป็นเอกราชนั้น ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการถูกกครองในฐานะอาณานิคมอย่างเป็นทางการ เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
            อังกฤษพบว่าเป็นการยากที่จะขายสินค้าของตนในจีน และประสบกับสถานการณ์ที่ต้องเสียดุลการค้าให้แก่จีน(ในลักษณะที่เหมือนกันกับชาติยุโรปอื่นๆ) กระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 การเริ่มต้นค้าฝิ่นขนานใหญ่จากอาณานิคมอินเดียของอังกฤษไปยังจีน ทำให้สถานการณ์ดุลการค้าดังกล่าวเเปแเปลียนไป พร้อมกับทำให้จำนวนผู้เสพติดฝิ่นเพ่ิมขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประชากรจีนระดับสูง และเป็นภัยคุกคามประเทศด้วยก่อให้เกิดความเสียหาย บ่อนทำลายประชากรจีนทั้งทางด้านสุขภาพ ศีลธรรมจรรยา และทางด้านจิตวิทยา อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะวัดคำนณออกมาเป็นสถิติตัวเลขได้


                                (www,th.wikipedia.org/..ลัทธิจักรวรรดินิยม)
                                (www.th.wikipedia.org/..ลัทธิอาณานิคมนิยม)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Isalamic civilization

             ศาสนาอิสลามมีกำเนินขึ้นในคาบสมุทรอาหรับ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 จากนั้น ศาสนาอิสลามก็แพร่หลายออกไปสู่ดินแดนอื่นๆ โดยรอบคาบสมุทรอาหรับ ทางตะวันตกแพร่ไปถึงยุโรปภาคใต้ และทางตะวันออกแพร่เข้ามาสู่อินเดีย และจากอินเดียเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นมีกษัตริย์มุสลิมครองอยู่ที่เอลฮี และในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 อิสลามเผยแร่ต่อมาทางใต้ในแค้วนคุจราต ซึ่งมีศูรย์กบางอยู่ที่เมือง แคมเบย์ (ปัจจุบันเรียกเมือง คามปาท) อันเป็นเมืองท่าติดต่อทางการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแต่เดิม พ่อค้าอินเดียที่หันไปนับถือศาสนาอิสลามเื่อมาค้าขายยังเอเชียตะวันออเฉียงใต้ ก็ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั้น เมื่อพ่อค้าอินเดียเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีจุดประสงค์เพียงค้าขายเท่านั้น แต่เมื่อสมัยหลังคริสต์ศตวรรษที่ 13 พ่อค้าอินเดียเริ่มมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย เพราะว่าศาสนาอิสลามนั้นไม่มีนักบวชเช่นศษสนาอื่นๆ ประชาชนทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามจึงทำหน้าที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาไปในตัวนั่นเอง...
              ด้วยความเชื่อหลักสำคัญๆ ของศาสนา เช่น ไม่มีพระเจ้าองค์อื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์นั้น ขัดต่อความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ทั่วๆ ไป ที่นิยมบูชาพระเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ทั้งในศษสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธแต่ชาวเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารับนับถือศาสนาอิสลามได้นั้น ก็เพราะว่าภายหลังที่พระมะหะหมัดเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว ศษสนาอิสลามก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างต้ามกาลเวลาเพื่อให้เข้ากับความรู้สึกนึกคิดของคนในชาติต่างๆ ในดินแดนที่ศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้าไป เกิดมีนิกายต่างๆ แตกแยกออกไปหลายนิกาย เพื่อที่ชาวเพื้นเมืองนั้นจะได้นำไปผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนได้ประเพณีความเชื่อถือดั้งเดิมของขนชาติต่างๆ เหล่านี้ จึงถูกนำมาผสมผสานเข้ากับหลักของศาสนาอิสลาม จนในที่สุดก็ยากที่จะแยกแยะออกได้ว่า หลักใด พิธีใด เป็นของศาสนาอิสลาม และหลักใด พิธีใด เป็นประเพณีดั้งเดิของพื้นเมือง
         
อิสลามที่ผ่านการวิวัฒนาการเช่นนี้แล้วนั่นเองที่เป็นอิสลามที่เผยแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองชุมทางทางการต้าต่างๆ อย่างแพร่หลาย และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในทางศษสนาในการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันมานับถือศษสนาอิสลาม...
           หมู่เกาะทางตอนใต้ของเอเชียที่เรียกรวมกันว่า "มาลัยทวีป" หรือที่ประเทศตะวันตกรู้จักกันในนามของ ชายทะเลใต้ ได้แก่ เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะบอร์เนียว เกาะสุราเวสี เกาะเซลีเบส มะละา และเกานิวกินี แต่เดิมได้รับอิทะิพลจากอารยธรรมฮินดู พราหมณ์ และศษสนาพุทธนิกายมหายานจากอินเดีย แต่ในช่วงศตวรรษที่ 14 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางศษนา กล่าวคือศาสนาอิสลามได้เิร่มเข้ามามีบทบาทในแถบบริเวณนี้ จนทำให้ประชากรในประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประชากรมุสลิมที่มากที่สุดในโลก.. ปัจจุบันอินโดนีเซียก็ยังเต็มไปด้วยอารยธรรมแบบดั้งเดิม เช่น บรมพุทโธ(โบโรบุดูร์) อันเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ หรือในเกาะบาหลีที่เต็มไปด้วยอารยธรรมฮินดู พร้อมๆ กับความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาอิสลาม
            การขยายตัวของศาสนาอิสลามตามนครรัฐต่างๆ ทางเกาะสุมาตรา และแหลมมลายูนั้น จะเป็ฯไปในรูปแบบที่ว่า เมื่อนครรัฐใดได้กลายเป็นนครรัฐอิสลามแล้วนครรัฐเหล่านั้นจะพยายามเผยแพร่ ศาสนอิสลามไปสู่ประชาชนในรัฐใกล้เคียง ในลักษณะของการชักจูง แนะนำ รวมถึงใช้อิทธิพลทางการเมือง ทำให้รัฐใกล้เคียงกลายเป็นรัฐอิสลามตามไปด้วย ส่งผลให้การขยายตัวของอสลาในระยะนี้ได้แพร่ขยายขึ้นมาจากทางตอนเหนือ ของมลายูเขามายังตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าเจ้าผู้ปกครองเมื่อนครทางภาคใต้ของไทยในระยะนั้นจึนถึง เมืองนครศรีธรรมราชหันมานับถือศาสนอิสลามเป็นระยะเวลกว่า 700 ปี มาแล้ว และทางอาณาจักรสุโขทัยเองก็ได้พบหลักฐานว่ามีกาค้าขายกับกลุ่มประเทศที่ใช้ ภาษาอกหรับและเปอร์เซีย โดยพบว่าเครื่องชามสังคโลกในสมัยนั้นมีการแกะสลักเป็นภาษาเปอร์เซีย
         
ศาสนาอิสลามที่เข้าสุ่ดินแดน มาลัยทวีป ในลักษณะที่เรียกได้ว่า Indo-Persian กล่าวคือมีลักษณะเหมือนศาสนาอิสลามเข้ามาในอินเดีย ซึ่งแตกต่างจากอิสลามในแหลมอาระเบีย เพราะอิสลามที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ถูกผสมกลมกลืนเข้ากับ วัฒนธรรมดั้งเดิม ทั้งนี้อิสลามในแต่ละพื้ที่ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามบริบมและประวัติ ศาสตร์ของสภานที่นั้นๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือเหมือนกันคือ หลักปฏิบัติ 5 ประการ
           จากบันทึกของชาวจีนในปี พ.ศ. 1949 กล่าวว่า ชาวชวา ชาวมาเลเซีย และชาวเกาะสุมาตราเป็นอิสลาม ซึ่งมีหลักฐานว่าผุ้เผยแพร่ศาสนาที่มาจาก ฮาตรา เมาท์ มาสู่เกาะชวา ท่านผู้นี้คือ เมาลานา มาลิก อิบรอฮีม และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 1962 ทางตอนเหนือของเมืองซุราบายาในชวา มีหลุมฝั่งศพของทา่านกลายเป็นอนุสรณ์มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นการแสดงให้เก็นว่าตอนนั้นอสลามได้เข้มรยังเกาะชวาแล้ว ดดยในเริ่มแรกชาวมุสลิมมีอิทธิพลอยู่ตามชายฝั่งทะเลเพราะได้เดินทางมาทาง เรือ ด้วยเหตุที่มีความขยัน มีฐานะดี ซือสัตย์ สุจริ ตชาวมุสลิมจึงมัเป็นที่นับถือของชนพื้นเมือง จนเริ่มมีความสนิทสนม และความสัมพันะ์อันแน่นแฟ้น รวมถึงได้มีการแต่งงานระหว่างกัน
                                     
                                                                         
           (www.thaiartcmu.com/.., การเผยแพร่ของศาสนาอิสลามในอินแดนเอเซียตะวันออเฉียงใต้)
           (www.sameaf.mfa.go.th/.. การเข้ามาของศาสนาอิสลามสู่ตะวันออกไกล โดยโชติ โมารทัต, รายการวิทยุโลกมิสลิม วันที่ 12 เมษายน 2554.)

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Chinese civilization II

             ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาม การแผ่ขยายวัฒนธรรม อิทธิพล ประเพณีของจีน มากับผู้อพยพชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งชาวจีนมีการอพยพถิ่นฐานมาแต่อดีตช้านาน ในสมัยราชวงศ์หมิง มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 ชื่อเดิมคือ "ซานเป่า" แซ่หม่า เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนชองมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบาร..การเดินทางสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง มากกว่า 37 ประเทศ เร่ิมต้นการสำรวจตรวกับสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทองปกีตองกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่เรียกว่า "เป่าฉวน" ในประเทศไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เจ้าพอ่ซำปอกง"(ซานเป่ากง) วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณวำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเนืองจาก ชาวจีนผุ้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการพวงพ่อโตวัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า "ซำปอฮุดกง"ซึ่งแปลว่า พระเจ้า 3 พระอง๕์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น "ซำปอกง" จึงเข้าใจว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา เจิ้งเหอเป็นขันทีไม่สามารถมีลูกได้ หากแต่พี่ขชายได้ยกลูกชายหยิงให้กับเจิ้งเหอ ทายาทของเจิ้งเหอบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย ใช้นามสกุล วงศ์ลือเกี่ยรติ อันเป็นนามสกุลที่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเชียงใหม่ ได้ประทานใหนเจิ้งชงหลิ่ง ผุ้ซึ่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เจิ้งชงหลิ่งอพยพเข้าเมืองไทยในปี 2448 คนในตระกูลวงศ์ลือเกียรติเป็นมุสลิม ..(th.wikipedia.org/../เจิ้งเหอ)
          ในสมัยหมิงนี้มีการเดินทางค้าขายและอยู่อาศัยในดินแดนโพ้นทะเล ชาวจีนที่เป็นพ่อค้าเรือสำเภาเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเส้นทางเดินเรือยุคโบราณ เช่น หมู่เกาะที่เป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ดินแดนในแหลมมลายู ช่องแคบมะละกาและหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งเป็นอินโดนีเซียในปัจจุบัน ซึ่งผุ้ตั้งถิ่นฐานที่เป็นพอค้าเหล่านี้เรียกว่า Huashang ซึ่งพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้ได้อยู่กอนกับสตรีพื้นเมืองจนเกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในยุคแรกๆ โดยมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดถึงยุคปัจจุบัน ชาวจีนที่อพยพไปยังดินแดนโพ้นทะเลส่วนใหญ่เป็นชาวจีนจากมณฑลหวางตุ้ง ฟูเจี้ยน และเจ้อเจียงเป็นหลัก ประกอบด้วยชาวจีนที่ใช้ภาษาถิ่นฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮากกา(จีนแคะ)และไหหลำเป็นส่วนใหญ่
              การเดินทางอพยพกลุ่มใหญ่ของชาวจีนเดิขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่กลาางคริศตศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ภายหลังยุคล่า
อาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามาครอบครองอินแดนต่างๆ และเปิดโอกาสให้พ่อค้า นัก
เดินเรือและช่างฝีมือชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมของตน จึงก่อให้เกิดคลื่นลูกที่หนึ่งของการอพยพย้ายถ่ินของชาวจีน โดยในช่วงราชวงศ์ชิงทีถูกปกคหรองด้วยชาวแมนจู ชาวฮั่นจากจีนได้มีการพอยพอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับร้อยปี จนก่อให้เกิดชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนราว 1.5 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 แม้ในช่วงนี้จักรวรรดิจีนจะไม่มีนโยบายให้ชาวจีนอพยพไปอยู่ต่างประเทศ  การย้ายถิ่นในช่วงที่แรงงบานชาวจีนหลั่งไหลออกนอกประเทศภายหลังสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 เป็นยุคคลื่นลูกที่สอง การพ่ายแพ้สงครามฝิ่นทำให้ทางการจีนต้องยอมให้มหาอำนาจตะวันตกระดมแรงงานจีนไปทกงานในต่างประเทศได้อย่างเสร จนเรียกว่าเป็นช่วงการอพยพของกลีชาวจีน ทำให้แรงงานจีนซึ่งนิยมเรียกกันว่า Huagong จำนวนถึงประมาณ 5 ล้านคนหลังไหลไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ ช่วงปลายคริศตศักราชที่ 19 ถึงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยส่วนมากจะมาเป็นแรงงานในเหมือง
ทอง เหมืองถ่านหิน แปลงเกษตรและไร่ขนาดใหญ่.. ช่วงนี้เป็นยุคแรกที่ชาวจีนกลุ่มใหญ่อพยพออกนอกทวีปเอเชีย มีการปาระเมิน่าชุมชนชาวจีนซึ่งรวมถึงครอบครัวลูกผสมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5 ล้านคนในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1920  ยุคคลื่นลูกที่สาม เกิดขึ้นภายหลังกานสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ จนเกิดการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ยุคนี้เป็นยุคที่ชาวจีนอพยพไปยังต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้เนื่องจากภาวะรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้นในช่วงต้นคริสตศักราชที่ 20 โดยเฉพาะหลังการฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีการลงทุนและการเติบโตทางอุตสาหกรรมอย่างมาก ชุมชุนชาวจีนเติบโตมากในยุคนี้ ชาวจีนอพยพในยุคนี้มักถูกเรียกว่า เป็นพวก "หัวเฉียว" ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นผุ้มีการศึกษาและมีความรู้สึกชาตินิยมสูง และส่วนหนึ่งมีความหวังจะกลับไปยังเมืองจีน.. คาดการณ์ว่าจำนวนชาวจีนอพยพจนถึงทศวรรษที่ ค.ศ.1950 มีจำนวนกว่า 10 ล้านคน แต่กระแสการอพยพของชาวจีนได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1949  อย่างไรก็ตาม
ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดยลูกหลานชาวจีนที่เกิดในประเทศต่างๆ ยังคงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษของตน อนึ่ง ในยุคคลื่นลูกที่สามนี้ เป็นศักราชใหม่ของการย้ายถิ่นที่สำคัญของสตรีชาวจีน โดยก่อนหน้านี้ผู้อพยพชาวจีนจะเป็นเพศชาวเป็นหลัก ปัจจัยดึงดูดที่สำคัญคือ ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขนาดของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล การติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภูมิลำเนาเดิม สร้างความมั่นใจให้กับสตรีชาวจีนในการไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศ ยุคคลื่นที่สี่ เป้าหมายของผุ้อพยพคือประเทศที่พัฒนาแล้วหาใช่เอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ดังชาวจีนโพ้นทะเลในอดีต โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด้ อิตาลี สเปนเป็นต้น และนิยมเดินทางไปยังประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และรัสเซียด้วย ในเวลาต่อมาชาวจีนได้เริ่มกระจายไปอาศัยยังภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาเดิมของขาวจีนโพ้นทะเล อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก แอฟริกาใต้ อิสราเอล อียิปต์ ซาอุดิอาระเบียและตุรกี โดยทางการจีนได้เรียกชาวจีนอพยพในยคุคลื่นลูกที่สี่ว่า Xin yimin หรือ  New Migrants ถึงอย่างนั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของชาวจีนในคลื่นลูกที่สี่ คาดว่ามีชาวจีนกว่า 2.3-2.65 ล้านคน โดยเป็นสตรี ประมาณหนึ่งล้านคน หรือเกือบครึ่งของชาวจีนอพยพรุ่นที่สี่...(www.idsa.ipsr.mahidol.ac.th/../คลื่นลูกที่สี่.)
           
 ...คนจีนโพ้นทะเลเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่นที่อาจกล่าวได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประมาณร้อยละ 70 ของคนจีน
โพ้นทะเลทั่วโลก รัฐบาลจีนเองก็ได้ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มดังกล่าว โดยการกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนจีนโพ้นทะเลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน คนจีนโพ้นทะเลก็มีส่วนช่วยในการสร้างความมั่งคั่งและการพัฒนาประเทศที่พวกเขาเข้าไปอยู่อาศัย โดยมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ที่จนเชื้อสายจีนเข้าไปอยู่อาศัย กล่าวคือ เครือข่ายความสัมพันะ์เชิงญาติมิตรและภาษาของคนจีนโพ้นทะเลช่วยให้การทำธุรกิจข้ามพรมแดนเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น ความสัมพันธ์ในเครือข่ายดังกล่าวทำให้เกิดความไว้วางใจและการไหลเวียนของ
ข้อมูลทางการค้าภายในเครือข่ายเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ประกอบกัยความรู้เก่ี่ยวกับวัฒนธรรมทืองถิ่น จึงช่วยส่งเสริมความร่วมมอทางการค้าระหว่งปรเทศที่เป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งกฎระเบียบทางการค้ายังไม่เข้มแข็ง ดังจะเห็ได้ว่า นอกเหนือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกแล้วเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญขชองจีนคือ ประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีสัดส่วนของประชากรเชื้อสายจีน เป้นจำนวนมาก เช่นไต้หวัน มาเลเชีย และไทยเป็นต้น..เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวอย่งที่ชัดเจนของบทบาทางเศรษฐกิจของคนเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศ แต่กลับเป็นเจ้าของกิจการที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าคนกลุ่มอื่นในประเทศ จะเห็นได้ว่า คนจีนโพ้นทะเลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศต่างๆ และรัฐบาลของหลายประเทศได้กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมบทบาทและใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งกำลังกลายเป็นมหาอำนาจทาง
เศรษฐกิจของโลก..(www.kriengsak.com/../บทบาทของคนจีนโพ้นทะเลในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศ)
                 รัฐบาลจีนดำเนินยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล โดยการสร้างความผุกพันทางอารมณ์ความรุ้สึกของชาวจีนโพ้นทะเลกับประเทศบ้านเกิด เช่น การจัดตั้งสถาบันเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนเชื่อสายจีนนต่างประเทศ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรของชาวจีนโพ้นทะเล เป็นต้น รัฐบาลจีนยังกำหนดนโยบายสร้างแรงจูงใจเพื่อใช้ประโยชน์จากคนจีนโพ้นทะเล เช่น การให้สิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ แก่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ การส่งเสริมให้คนจีนโพ้นทะเลที่มีความสามารถพิเศษกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากคนเชื้อสายจีนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการดึงบุคลากรระดับสูงเข้ามาทำงาานในประเทศจีน
         อย่างไรก็ดี นโยบายของรัฐบาลจีนที่เกี่ยวข้องกับคนจีนโพ้นทะเลกำลังมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป ตามทิศทางของการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยแนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างน้อยใน 3 ทิศทางหลัก ได้แก่

  - การเปลี่ยนนโยบายจกากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพลเมืองของประเทศจีนในต่างประเทศ ขยายเป็นคนเชื้อสายจีนทั้งหมดในต่างประเทศ นโยบายเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเลของรัฐบาลจีนในช่วงทศวรรษ 1980 มุ่งให้ความสนใจกลุ่มพลเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ในปัจจุบัน จีนได้ขยายขอบเขตของนโยบายไปสู่คนเชื้อสายจีนในต่างประเทศทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ และช่วงเวลาที่อพยพ...
             - การเปลี่ยนนโยบายจากการแสวงหาทุนทางการเงินเป็นแสวงหาทุนมนุษย์ ในช่วงแรกของการเปิดประเทศ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยใช้เครือข่ายของคนจีนโพ้นทะเลในการแสวงหานักลงทุน แต่รัฐบาลจีนมแนวโน้มเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
ประเทศจากเศรษฐกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ เนื่องจากความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานราคาถูกเริ่มถดถอยลงและจีนยังต้องแข่งขันกับเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายนจีนโพ้นทะเลจึงมีแนวโน้มเป็นไปเพื่อแสวงหาบุคลากรที่มีความรู้แลทักษะที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในประเทศและการแข่งขันทางเทคโนโลยี
             - การเปลี่ยนนโยบายจากากรสนับสนนุให้คนจีนโพ้นทะเลกลับสู่บ้านเกิดเป็นการให้ช่วยเหลือประเทศบ้านเกิดโดยที่ยังอยู่ในต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบาย ประกอบด้วยหนึ่ง การพัฒนาของเทคโนโลยี
สารสนเทศและกานสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นนแต่มีต้นทุนต่ำลง สอง การส่งเสิรมให้บรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของและภาคเอกชนของจีนออกไปลงทุนหรือขยายกิจการไปต่างประเทศมากขึ้น และสา จีนต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้มีความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศมากขึ้น ซึค่งความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงในำต้หวันและคนไต้หวันในซิลิคอนฃวัลเล่ย์นับเป็นต้นแบบของนโยบายของรัฐบาลจีน..www.kriensak.com/.., ทิศทางนโยบายของจีนเกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล)
              ชุมชนคนจีนหรือไชน่าทาวน์ที่สำคัญๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย ย่านไชน่าทาวน์ของมะนิลา มีชื่อย่างเป็นทางการว่า ย่านบินอนโด ถือเป็นไชน่าทาวน์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งเมื่องปี 1594 โดยหลุยส์ เปเรซ ดาสมารินยาส ผู้ว่าราชการชาวสเปน ซึ่งก่อตั้งชุมชนนี้เพื่อรองรับผู้อพยพชาวจีนที่เปลี่ยนมานับถือคริสต์นิกายคาธอลิก, กรุงเทพประเทศไทย นับจากถนนเยาราชจนถึงวงเวียนโอเดียน ตั้งอยู่ในย่านเก่าแก่ที่สุดของเมือง ที่นี่อัดแน่นด้วยร้านอาหารข้างทาง แผงค้าขายบนทางเท้า และร้านทอง, โตรอนโต แคนาดา ก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นไชน่าทาวน์ที่หใญเป็นลำดับต้นๆในอเมริกาเหนือ, โจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ ชุมชนคนจีนแห่งแรกของเมืองนี้ ก่อตั้งในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยชาวจีนที่เข้ามาขายแรงงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ย่านดังกล่าว ซึ่งอยุ่บน
กัลกัตตา อินเดีย ตั้งอยู่ในเขตตะวันออกของเมือง ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า ติเรตตาบาซาร์ และส่วนเมืองใหม่เรียกว่า ตันกรา ขึ้นชื่อเรื่องงานเทศกาลและอาหารของคนจีน รวมทั้งอาหารจีนที่มีกลิ่นอายแบบอินเดียผสมผสาน, ลอนดอน อังกฤษ อยู่ในย่านไลม์เฮาส์ เขตอีสต์เอนด์ โดยเป็นชุมชนของชาวจีนที่เป็นพนักงานบริษัทไชนีส อิสต์อินเดียในช่วงศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบัน ย่ายไชน่าทาวน์ขยายพื้นที่ไปถึงรอบๆถนนเจอร์ราร์ด, ฮาวานา คิวบา ไชน่าทาวด์ของฮาวานา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ บาริโอ ซิโน เดอ ลาฮาบานา ก่อตั้งขึ้นโดยคนจีนอพยพในคิวบา ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นับเป็นชุมชนคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา, ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย ชุมชนคนจีนโพ้นทะเลที่
ใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในอเมริกาเหนือ เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองนี้, แวนคูเวอร์ แคนาดา ติดอันดับต้นๆ ของชุมชนคนจีนที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่
19 เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาทำงานเหมืองแร่และก่อสร้างรางรถไฟ ขึ้นชื่อในเรื่องความรุ่มรวยทางประวัติศาสตรื และเต็มไปด้วยร้านอาหาร วัดวาอาราม และสวนสวย, เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นในช่วง
ตื่นทองวิคตอเรียน ปี 1851 ได้รับความนิยมในฐานะชุมชนคนจีนที่ก่อตั้งยาวนานต่อเนื่องที่สุดในซีกโลกตะวันตก ทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเี่ยวสำคัญอีกแห่งของเมือง ในย่านนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร
ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เวียดนาม ยุโรป ออสเตรเลีย และจีน, นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่ากนว่า หยา เคน
เป็นชาวจีนคนแรกที่เข้ามาตั้งรกรากที่นี้ ในช่วงทศวรรษ 1840 ตั้งอยู่ในย่านแมนฮัตตันของนครนิวยอร์ก จุดเด่นของที่นี่ คือ ร้านอาหาร แผงลอยข้างทาง และตลาดปลา, ไชน่าทาวน์ สิงคโปร์ ตั้งอยู่ในเขตเอาท์แรม หรือ หนิว ซี สุ่ย ชุมชนชาวจีนของที่นี่ อบอวลด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีน ปสมปสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองและตะวันตก คนเชื้อสายจีนที่นี่ เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ด้วยการเดินพาเหรดชิงเก และเทศกาลแม่น้ำหงเป่า, โยโกฮามา ญี่ปุ่น ก่อตั้งในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นหนึ่งในไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนร้านอาหารกว่า 500 ร้าน เฉพาะร้านอาหารจีนก็มีครบทุกภูมิภาค, ซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย ไชน่าทาวน์ในเขตเฮย์มาร์เก็ตของซิดนีย์ เป็นไชน่าทาวน์แห่งที่ 3 โดยแรกเริ่มในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชุมชนชาวจีน ตั้งรกรากอยู่ในเขตเดอะร็อค จากนั้น มีการโยกย้ายมาอยู่ใกล้ถนนมาร์เก็ต ที่ท่าเรือดาร์ลิง, ปารีส ฝรั่งเศส ตั้งอยุ่ในเขตปกครองทางใต้ เป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป นอกจากชาวจีนแล้ว ที่นี่ยังรอบรับผุ้อพยพจากเวียดนาม ลาว กัมพูชา..www.msn.co/../ รวมมิตรไช่น่าทาวน์)



         
             

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Civilization : Chinese civilization

              ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานสำคัญของอารยธรรมจีนคือการสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ(ศตวรรษที่ 58 ก่อน คริสตศักราช) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเฟ่าใดๆ จะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื้อ เมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไ ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอืนๆ ในทวีปเอเชียและในสังคมโลก
         สมัยก่อประวัติศาสตร์ 
          - ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเชีย หลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว มีอายุประมาณ 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1965 ที่มณฑลยูนนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง มีอายุประมาณ 700,000 ปี -200,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1929 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง และพบหลักฐาน มนุษย์ถ้ำ มีอายุประมาณ 18,000 ปี ล่วงมาแล้ว ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1930 ที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง
          - ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 ปี - 6,000 ปี ล่วงมาแล้ว ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีการพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร เครื่องมือหินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ หินสับ ขูด หัวธนู
          - ยุคหินใหม่ มีอายุประมาร 6,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้วเริ่มตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชน รู้จักเพาะปลูกข้าวฟ่าง เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคม ในยุคหินใหม่นี้มีมนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผ่าที่สวยงามมากขึ้น และเขียนลายสี
          - ยุคโลหาะ มีอายุประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้วหลักฐานที่เก่าสุดคือมีดทองแดง แล้วยังพบเครื่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่างๆ เช่น ที่บรรจุไวน์ กระถาง กระจกเงา มีขนาดใหญ่และสยงาน มากโดยเฉพาะสมัยราชวงศ์ชาง และราชวงศ์โจว
          ยุคโบราณ  สมัยประวัติศาสตร์จีน เป็นที่เลาขานสืบทอดกันมาในหมู่ชาวจีนว่า ตนเองเป็นลูกหลาน เหยียนตี้ และ หวงตี้เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และยังเชื่อเช่นนั้นจวบจนปัจจุบัน
          - ราชวงศ์เซี่ย (2,100-1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เล่ากันว่า ในสมัยเหยา นั้นแม่น้ำหวงโห้ เกิดทุทกภัยน้ำหลากเข้าทำลายบ้านเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปอยู่บนต้นไม่หรือบนยอดเขาเท่านั้น ซึ่งภายหลังพระเจ้าอวี่ ใช้เวลา 13 ปีในการแก้ปัญหาอุทกภัยนี้สำเร็จ และได้รับขนานนามว่า ต้ายวี่..ราชวงศ์
เซี่ยมีประวัติยายนานเกือบ 500 ปี มีกษตริย์ปกครอง 17 องค์ กระทั่งพระเจ้าเจี๋ย ซึ่งโหดร้าย ไร้คุณธรรมเป็นที่่เกลียดชังของราษฎร เป็นเหตุให้ราชวงศ์เชี่ยล่มสลาย..
          - ราชวงศ์ซาง (1,6000-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี ในช่วงนี้มีการก่อตั้งกองทหารข้าราชการและมีการลงโทษตามกฎหมาย มีกษัตริย์ 31 พระองค์ ราชวงศ์ซางเกิดจากการปฏิวัติของชนชั้นสูงครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนเนื่องจาก ผุ้ครองแผ่นดินเป็นผุ้ไร้คุณธรรม และในยุคนี้ยังมีการเริ่มใช้ภาชนะสำริดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะประเภท ถ้วยสุรา มีดวงพระจันทร์ กลองสำริด กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เป็นผุ้เหี้ยมโหด ขูดรีดเงินจากราษฎร สุดท้ายต้องฆ่าตัวตายด้วยการเผ่าตัวเอง ราชวงศ์ซางจึงล่มสลายแล้วสถาปนาราชวงศ์โจวครองแผ่นดิน
           - ราชวงศ์โจว ( 1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักประวัติแบ่งเป็น โจวตะวันตก และโจวตะวันออก ซึ่งระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) เนื่องจากมีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
           - ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวัง ล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวียนหรง แล้วพวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่..นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆ เป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผุ้นำนครรัฐ
         
 - ยุคเลียดก๊ก ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆ เข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เจ็มหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว ยุคนี้สิ้นสุดโดยการขึ้นครองอำนาจของ อิ๋งเจิ้ง แห่งรัฐฉิน หรือที่รู้จักกันในนาม จิ๋นซีฮ่องเต้ โดยถือเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน
             สมัยราชวงศ์ เริ่มยุคสมุยตั้งแต่ 221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1912 ยุคราชวงศ์นี้มีการปกครองที่ยาวนานกว่า 2,000 ปี ประกอบด้วย ราชวงศ์ ฉิน จีนยุคจักรวรรด ซึ่งเป็นผู้ว่างรากฐานแก่ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป้นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวงราชวงศ์ซิน เป็นราชวงศ์สั่นๆ ผุ้ก่อตั้งคือ อองมัง ทรงได้อำนาจจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกยึดอำนาจ ช่วงปลายราชวงศ์เกิดโจรโพกผ้าหลือง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หรือที่เรียกกันว่า ยุคสามก๊ก ด้วยความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเกรียตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบมาจนถึงปัจจุบัน ยุคสามก๊ก เป็นยุคที่แผ่นดินแยกออกเป็น 3  ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่, ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน แต่สุดท้าย ทั้งสามก๊กล่มสลาย สุมาเอี๋ยน ซึ่งเป็นขุนศึกในก๊กโจโฉ ยึดอำนาจ และก่อตั้งราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์จิ้นตะวันตก สุมาเอี๋ยน สถปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ต้น ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตก แทนที่ราชวงศ์ของโจโฉ และสามารถปราบง่อก๊กของซุนกวนลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊ก ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าเผ่า ซงหนู หลิวหยวน ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ และต่อมายกกำลังเข้าบุคนครหลวงองจิ้นตะวันตก จับตัว จิ้นหวยตี้เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยงๆ ราชวงศ์จิ้นย้ายฐานที่มั่นไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ประกอบกับการเปิดรับชนเผ่านอกด่าน สถานการ์ทางตอนเหนือจึงวุ่นวายอย่างหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหาแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของจีนเชื้อสายต่างๆ ราชวงศ์เหนือใต้ เมื่อราชวงศ์จิ้นตะวนตกล่มสลาย ภาคเหนือของจีนจึงตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่า กระทั่งหัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเชซียนเปยได้สถาปนาแค้วเ่ปยวุ่ย และยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือ หลังจากสถาปนาราชวงศ์สุย แล้วจึงกรีธาทัพลงใต้ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ ราชวงศ์สุย ราชโอรส สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ไม่มีความสามารถทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผุถ้ปกครองหัวเมืองต่างๆ ตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งชิงอำนาจ ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาล ราชวงศ์ถัง หลี่หยวนขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือและ ตั้งราชธานี่ที่เมืองฉางอัน ผุ้นำแค้วนถังสถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้รับชัยชนะเด็ดขาดจาแคว้นอื่นไ ในที่สุดหลี่่ซื่อหมิน(โอรสรอง) ยึดอำนาจจากรัชทายาท...ขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มต้นยุคถัง เป็นยุคที่รุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น ปลายราชวงศ์ถัง มีการก่อกบฎ ขันที่ครองอำนาจ แม่ทัพสังหารขันทีแล้สสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ สิ้นสุดราชวงศ์ถัง ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร บรรดาหัวเมืองต่างๆ มีการแบ่งอำนาจเป็นห้าราชวงศ์สิบอาณษจักร ราษฎรเต็มไปด้วยความลำบาก ต่อมาเจ้าควงอิ้น ผุ้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้อง และปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งสามารถรวบรวมแผ่นดินได้อีกครั้ง ราชวงศ์ซ่ง  เจ้าควงอิ้นสถาปนาราชวงศ์ซ่ง เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง รวบรวมแผ่นดินแล้วใช้นโยบาย "ลำตันแข็ง กิ่งก้านอ่อน"ในการบริหารประเทศ อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ท้องถิ่นกลับอ่อนแอ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง หยวนชื่อจู่(กุบไลข่าน) โค่นราชวงศ์ซ่ง ปกครองจีน ราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุคสมัยนี้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น และไม่ประสบความสำเร็จ ยุคสมัยนี้อาณาจักรมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าโรมถึง 4 เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลกดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ มีการสะสมกองกำลังทหาร ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจาง ได้ปรบปรามกลุ่มต่าง และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ ราชวงศ์หมิง เป็นราชวงศ์จีนสถาปนาโดย จูหยวนจาง ในสมัยหมิง มีนักการเมือง จางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนิกการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่นำ้คูคลอง รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เจิ้งเหอ ซึ่งชาวไทยเรียกกันว่า ซำเปากง ได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาทั้งหมดกว่า 30 ประเทศ รวม 7 ครั้งตามลำดับ แต่ชวงกลางราชวงศ์ถูกรุกรานจากหลายประเทศ การค้าได้พัฒนาเริ่มปรากฎเป็นเค้าดครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่ารมากกมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีให้ ทำให้จำนวนชาวนามีที่ทำเองเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์หมิง  วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น "ซ้องกั๋ง" "สามก๊ก" "ไซอิ้ว" หรือ เรือง "บุปผาในกุณฑีทอง"เป็นต้น  ปลายสมัยราชวงศ์ าภาพผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นรุนแรงขึ้น การต่อสู้ในชนบททวีความรุนแรง เกิดทุพภิกขภัยแต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับประชาชนจ่ายภาษี เกิดการลุกฮือ ประชาชนรวมตัวเป้ฯกองทหารชาวนา กระทั่งบุกเข้ากรุงปักกิ่ง กระทั่งจักรพรรดิฉงเจินต้องผูกพระคอสิ้นพระชนม์ ซึ่งเป้นการสิ้นสุดของราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง เป็นชนเผ่าต่างชาติทางเหนือที่เข้าาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิงซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฎราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฎเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตรยิ์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เพราะเข้ายึดโดยไม่ต้องลงจากหลังม้า เป็นราชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การตรวจราข้อบังคับของสังคม,ศาสนา,และการค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง การให้ขายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจูเลีย เลียนแบบสมัยราชวงศ์ถึงเก่า พร้แมประคำ และต้องนับถือพุทธจีน ศาสนาพุทธจีนเจริญรุ่งเรื่องมากยุคหนึ่ง
               จีนยุคใหม่
                - ยุคสาธารณรัฐจีน ปี พ.ศ.2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยตร.ซุนยัดเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนัน และใน พ.ศ. 2455 ผู่อื้ จักรพรรดิองค์สุดทายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปคกรองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผุ้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมูรรณยาสิทธิราชซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดยมี ยุเหวียน ชื่อไย่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน
                หลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป้นช่วงเวลาชิงอำนาตระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค แับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาะเจ๋อตุง ช่วงแรกเจียงไคเช็คเป็นฝ่ายชนะและทำการปฏิวัติได้สำเร็จ สุดท้ายกลุ่มผุ้นำพรรก๊กมินตั๋งรวมตัวกันขับไล่ เจียงไคเช็หนีไปยังเกาะไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นแทน
               - ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีน เหมาะ เจ๋อตุง ประกาศตั้งสาะารณรัฐประชาชนจีน(PRC) ที่กรุงปักกิ่งบน จตุรัสเทียนอัันเหมินเพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ่(th.wikipedia.org/../ประวัติศาสตร์จีน)

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...