วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : Indochine française Union Indochinoise

                  ก่อน ค.ศ. 1500 มีชาวยุโรปเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสนใจดินแดที่อยู่นอกเหนือชายฝั่งทะเลองตน พวกเขารู้จักเฉพราะบริเวณรอบๆ ทะเลบอลติค และการขยายตัวไปทางตะวันออกสู่ทวีปเอเชย สงครามครูเสด ได้นำชาวยุโรปสู่ตะวันออกกลาง และทำให้ชาวยุโรปเกิดความตื่นเต้น กระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไปแม้ว่าในเวลานั้นชาวยุโรปจะรูจักทะเลดำ และทะเลเมติเตอร์เรเนีย แต่ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกและตะวันออกเฉียใต้ของสเปนนั้นยังเป็นที่ว่างเปล่าในแผนที่ของชาวยุโรป            
                 มาร์โค โปโล พือค้าชาวเวนิสที่มีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นผุ้ที่มีส่วนทำให้ชาวยุโรปตะหนักว่ามีดินแดห่งไกลที่แปลกประหลาด สมาชิกของตระกูลโปโลได้ติดต่อขายกับพวกมองโกล ในเอเชียตะวันตก พวกเขาเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งซึ่งจักรพรรดิกุบไลข่าน ครองราชย์อยู่ในขณะนั้นพวกโปโลอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งเป็นเวลาหลายปี และเมื่อมาณ์โค โปโล เดินทางกลับมายังอิตาลี เขาก็เขียนหนังสือเล่าถึงการเดินทางของเขา และเปิดเผยถึงความร่ำรวยอย่างมหาศาลของโลกตะวันออก ซึ่งทำให้ชาวยุโรปรู้สึกประหลาดใจและกระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไป
                 เป็นเวลาหลายศตวรรษทาแล้วที่ชาวตะวันตกบริโภคสินค้าต่างๆ จากดินแนตะวันออกำหล โดยผ่านางพ่อค้าคนกลางคือพวกอาหรบ นครรัฐต่างๆ ของอิตาลีซึ่งเป็นผุ้ผูกขากการค้าเครื่องเทศที่ได้กำไรอย่างมหาศาลต้องการรักษาสถานะเดิมใขณะนั้นแต่พ่อค้าของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ต่างต้องการทำการค้าโดยตรงกับทางตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านท้งพ่อค้าอิตาลีและพ่อค้าอาหรับ
                 การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษมีผลต่อแรงผลักดันใหมีการเดินทางสำรวจภายนอกประเทศ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ และพระราชินีอิซาเบบา ของสเปนได้รวมราชอาณาจักรต่างๆ เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกันคือ สเปน ฐานะของกษัตริย์สเปนจึงเข้มแข็งกว่าแต่ก่อน และพร้อมที่จะสนับสนุนการสำรวจดินแดน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม โปรตุเกสซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้สุดของทวีปยุโรปกลับเป็นประเทศแรกที่เริ่มการสำรวจทางทะเล
                 เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การแข่งขันกันเพื่อหาเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปตะวันตกและตะวันอกไกลก็เริ่มขึ้นชาวยุโรปทราบว่าไม่มีเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนและมหาสมุทรอินเดีย มีเส้นทางที่เป็นไปได้เพียง 2 ทาง คือ เส้นทางแรกโดยไปททางใต้ อ้อมทวีปแอฟริกาและมุ่งตะวันออกสู่อินเดีย อีกเส้นทางหนึ่งคือเดินทางสู่ทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ซึ่้งเป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความกล้าหาญและการเสียงมากกว่า เพราะแม้นักภูมิศาสตร์จะเชื่อว่าจีนตั้งอยูอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติคแต่ไม่มีผุ้ใดทราบแน่นอนว่ามันเป็นระยะทางเท่าไรหรือมีอะไรขวางกั้นอยู่ ทั้งสองเส้นทางเป็นการเดินเรือที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสี่ยงภัย แม้พ่อค้าชาวยุโรปกระหายที่จะหาเส้นทางใหม่แต่ก็ไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินในการสำรวจ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งเห็นว่า การหาเส้นทางเดินเรือและสถานีการค้าใหม่จะเป็นการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกษัตริย์ซึ่บงมีพระราชประสงค์จะสำรวจเส้นทางเดินเรือยังทรงได้รับการสนับสนุนจากศานจักรเพราะพระชั้นผู้ใหญ่มุ่งทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาและต้องการให้มีผุ้เข้ารีดมากขึ้น ดังนั้นการขยายตัวของชาวยุโรปมาสู่ภาคโพ้นทะเลจึงมีสาเหตุในระยะแรก 3 ประการคือ ความต้องการของพ่อค้าสำหรับทองคำและความร่ำรวยจาการค้า, ความปรารถนาของกษัตริย์สำหรับอำนาจและเกี่ยรติยศและแรงบันดาลใจของพวกพระในคริสต์ศาสนาที่ต้องการเผยแพร่ศาสนา
                 จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส ประกอบด้วย อาณานิคมโพ้นทะล, รัฐในอารักขา และบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีสซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือ จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่งซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1814 เมื่อนโปเลี่ยนถูกถอดจากราชบัลลังก์ และเริ่มเข้าสู้ยุคจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่ 2 อีกครั้งในปี 1838 เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรีย และเริ่มเสื่อมถอยลงจากสงครามในเวียดนาม(1955) และแอลจีเรีย (1962) ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในอีกหลายๆ ประเทศภายหลังปี 1960
                อินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพอินโดจีน เป็นอาณานิคมจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วย ตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมเป็นเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาจึงรวมลาวเข้าด้วย อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงแล้วจึงย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชี และยังถูกญีุ่ปุ่นรุกรานด้วย ต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่า สงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้ง รัฐเวียดนาม ซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสและต่อมาเวียดมินห์ก็กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยมีรัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่
               การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส
               ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุดิต นำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอค เข้ามาเผยแผ่คริสต์สาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวยดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็ฯดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอน ได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วงเหลือเงียน อั็ญ (ซึ่งภายหลังคือ จักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สุญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึง พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิ การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง
             ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตี ดานัง ของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เอด เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ต่อมากองทัพผสมระว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปนได้เข้าตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด
         
 เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อน ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญ เดื่อง ให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจาหน้าที่ เพราะเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนา จากจักพพรรดิตึ ดิ๊ก และต่อมาในฝรังเศสประกาศดินแดนของฝรั่งเศสจังหวัด เจิวต็ก(โชฎก) ห่าเตียนและหวิญล็อง ก็ตกเป็นของฝรั่งเศส
           ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษณ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ
            ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าำว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม
             ฝรั่งเศสมอบอำนาจให้กับผุ้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชาและเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริง อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผุ้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่กระทั่ง พ.ศ. 2497
            กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 1401 และในช่วงกลางคริสต์ทวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428-2438 ฟาน ดิญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม ดดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหนึ่งจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น
ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบตินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนะให้ยอมตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของอินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส
             ฝรั่งเศสกดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้งโดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่เศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมาสยามต้องยอมยอตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และปัจจันตคีรีเขตร์  ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยากลับคือ และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐแสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยามในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้นผู้ลวนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยัง โตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญส่งมอบอินแดนคืน
             ปี พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียบ็าย การจลาจลแห่งเอียบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคอชาตินิยมเวียดนาม การปะทะกันครั้งนี้เป็ฯการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในชวงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดนดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ..


                                (www.th.wikipedia.org/..อินโดจีนของฝรั่งเศส)
                                ("การกำเนิดและสิ้นสุดระบบอาณานิคม", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2536)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...