กิจกรรมซึ่งเรียกได้ว่าลัทธิอาณานิคมนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานเริ่มจากจักรวรรดิแอฟริกาก่อนสมัยอาณานิคมซึ่งนำให้ชาวอียิปต์ ฟินีเซียกรีกและโรมันล้วนสร้างอาณานิคมในสมัยโบราณ ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่เริ่มด้วยยุคแห่งการสำรวจ โปรตุเกสและสเปนค้นพบดินแดนใหม่ทั่วทั้งมหาสมุทรและสร้างสถานีการค้าหรือพิชิตดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล บางคนถือว่าการสร้างอาณานิคมทั้งทั้งมหสมุทรนี้เองที่แยกแยะ "ลัทธิอาณานิคม" จาก "ลัทธิการขยายอาณาเขต" แบบอื่นมีการแบ่งดินแดนใหม่เหล่านี้ระว่างจักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนครั้งแรกโดยสารตราพระสันตะปาปาอนเทอร์เซเทอรา และต่อมาโดยสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาสและสนธิสัญญาซาราโกซา สมัยนี้ยังสมันพันธ์กับการปฏิวัติพาณิชน์ สมัยกลางตอนปลายมีการปฏิรูปการบัญชีและการธนาคารในอิตาลีและเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ยุโรปตะวันตกรับและนำมาปรับใช้กับความเสี่ยงและรางวัลสูงที่เกี่ยวกับการลงทุนแาณานิคม
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดิดัตช์ เช่น เดียวกับกรรมสิทธิโพ้นทะเลของอังกฤษ ซึ่งต่อมากลายเป็นจักรวรรดิอังกฤษนอกจากนี้ ยังมีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กและอาณานิคมโพ้นทะเลของสวีเดนบ้าง
การแพร่กระจายของจักรวรรดิอาณานิคมลดลงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสงครามปฏิวัติอเมริกา และสงครามประกาศอิสรภาพละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเบลเยียม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลายชาติยุโรปเกี่ยวข้องในลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา..
จักรวรรดินิยมในเอเชีย เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำสู่ยุคแห่งการสำรวจโดยตรง และนำการสงครามสมัยใหม๋ตอนต้นมาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียกว่าตะวันออกไกล เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุคแห่งการเดินเรือขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการต้าเครื่องเทศภายใต้ลัทธิอาณานิคมอย่างมาก มีจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ ติมอร์-เลสเต ซึ่งเปาณานิคมสุดท้ายของจักรวรรดิโปรตุเกส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์ชาติและรัฐพหุชาติแบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตก
แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้าโภคภัฒฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียยอ้อมแหลมกู็ดโฮป อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทะิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตเวีย ซึ่งเป็ฯสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอรแลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) จากนั้น ดัตช์แย่งชิงการค้ากับ "มะละกา ซีออน" ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และญี่ปุนที่มีกำไรมาจากโปรตุเกส. อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนีจะคอยๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลังสงครามเจ็ดปี อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนาบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดในอนุทวีปอินเดีย
ก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุปสงค์ของสินคึ้าตะวันออกอย่างเช่น เครื่องเปลือกไข ไหม เครืองเทศและชา ยังเป็นแรงผลักเบื้องหลังจักรวรรดินิยมของยุโรป และเดิมพันของยุโรปในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ยังจำกดัอยูกับสถานีการค้าและกองรักษาด่านทางยุทูศาสตร์ซึงจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้า ทว่า การปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเพิ่มอุปสงค์ของยุโรปต่อวัตถุดิบจากเอเชียอย่างมาก และภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำระยะยาว แห่งคริสต์ทศวรรษ 1870 เป็นชนวนการแย่งชิงตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยุโรปและบริการทางการเงินในทวีป แอฟริกา อเมริกา ยุโรปตะวันออ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเชีย การแย่งชิงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสมัยใหม่ในการขยายอาณานิคมโลกเรียกว่า "จักรวรรดินิยมใหม่" ซึ่งหัมความสนใจจากการค้าและการปกครองทางอ้อมเป็นการควบคุมอาณาเขตโพ้นทะเลไพศาลแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการ ปกครองดโยการขยายทางการเมืองจากประเทศแม่ ระหว่งคริสต์ทศวรรษ 1870 กระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริ่มใน ค.ศ. 1914 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมผนวกอาณาเขตกว้างใหญ่อของตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดียและเอเบียตะวันออกเฉียงใต้ เข้ากับจักรวรรดิของตน ในห้วงเวลาเดียวกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปเมจิ จักรวรรดเยอรมันหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียยุตลง จักรวรรดิรัสเซยและสหรัฐอเมริกาหลังสงคราม สเปน-อเมริกา กำเนิดเป็นเจ้าอาณาเขตในเอเชียตะวันออกและบริเวณมหาสมุทรเเปซิฟิกอย่างรวดเร็ว
ในทวีปเอเชีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่ สองเป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าอาณานิคมหลายชาติ ความขัดแย้งดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชาติยุโรปกับรัสเซียและสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งกำลังผงาด ทว่าไม่มีเจ้าอาณานิคมประเทศใดมีทรัพยากรเพียงพอกับความเสียหายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและธำรงการปกครองดโยตรงในทวีปเอเชียได้.. แม้ขบวนการชาตินิยมทั้วโลกอาณานิคมนำมาซึ่งเอกราชทางการเมืองในอาณานิคมแทบทั้งหมดที่เหลืออยู่ในทวีปเอเชีย การปลดปล่อยอาณานิคมถูกสงครามเย็นขัดขวาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวัออกกลางและเอเชียตะวันตกยังจมอยู่ในระบบเศรษฐกิจ การเงินและและการทหารโลก ซึ่งมหาอำนาจแข่งกันขยายอิทธิพล
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามที่รวดเร็วของเสือเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน ตลอดจนการล่มสลายของสไภาพโซเวียต ได้ลดอิทะิพลของยุโรปและอเมริกา เหนือทวีปเอเชีย ทำให้มีการสังเกตในปัจจุบันว่าอินเดียและจีนสมัยใหม่ อาจกำเนิดเป็นอภิมหาอำนาจใหม่ของโลก
อินเดีย การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย
อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ขึ้นในปี ค.ศ. 1600 แม้นะเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขายอำนาจเ้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษทต่อมา เื่ออังกฤษเข้าครองเบงกอลได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการที่ปาลาศี บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลเหรือราชวงศ์โมกุล ตกต่ำเสื่อถอยเนื่องจกาการคอรับชั้น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฎ และในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลาย ในรัชสมัยของกษัตรยิ์โอรัง เซบ ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658-1707
รัชสมัยของกษัตริย์ ชาห์ จาฮัน เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์ แต่เมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็ยุคแห่งหายนะ กษัตริย์โอรัง เซบเป็นผุ้มีความอำมหิตและคลั่งไคล้ศาสนา มีระประสงค์กำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากควาเชื่อของมุสลิม ในช่วงเริ่มต้นของการรัชสมัยโอรังเซบเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมก์ฮัลสามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลที่สุด มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินเดียทั้งหมด แต่สิลห้าปีหลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์โอรังเซบ ราชอาณาจักรโมก์ฮัลที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงแก่การล่มสลายลง อนุทวีปก้าวเข้าสู่ช่วงอนาธิปไตย บ้านเมืองยุ่งเหยิง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางแย่งกันเป็นใหญ่ ในช่วงเวลาดังกล่าวราชวงศ์โมก์ฮัลปกครองอินเดียอยู่ในนาม กลางทั้งปี ค.ศ. 1858 รัฐบาลกลางจึงถึงกาลล่มสลาย เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจในดินแดนภาระที่กว้างใหญ่นี้
การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น "จักรพรรดินีแห่งอินเดีย" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถภูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้านๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมา กฎหมายที่ออกมาเหล่านี้ได้ให้อำนจแก่รัฐสภในการควบคุมนโยบายต่างๆ ของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่างตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่าง ว่า "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี 1858 ในปี ค.ศ. 1818 บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก ปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมขององัฏฟษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกคหรองโดยตรงขององักฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองอยู่ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
จีน การแทรกซึมของลัทธิจักรวรรดินยมในจีน
ในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษมีการค้าขายกับจีน โดยมีการส่งออกแร่เงินจากเม็กซิโกไปยังจีนและนำเข้าชาจากจีนไปยังเมืองแม่ แต่เมื่ออังกฤษสูญเสียอาณานิคมอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับเม็กซิโกไป อังกฤษก็สูญเสียแหล่งป้อมแร่เงินสำคัญของตนไปด้วย จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาสินคาทางเลือกอื่นเพื่อการส่งออก "ฝิ่น" ของชนอินเดียนเป็นสินค้าที่สามารถทำกำไรได้งามถ้านำมาส่งออกไปยังจีนแทน ถ้าไม่คำนึงถึงศีลธรรมสินค้าตัวใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีให้แก่อังกฤษได้ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านสังคมในจีน ส่งผลให้เกิดสงครามฝิ่น ระหว่างอังกฤษกับจีนในปี ค.ศ. 1830..
ความทะเยอทะยานของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมและคู่แข่งในตะวัออกไกลทำให้จีนซึ่งมี
อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล และจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของโลกตกเป็นเป้าของการไล่ล่าเพื่อเข้ายึดครองแย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้จีนยังคงสามารถอยู่รอดเป็นประเทศเอกราชอยูได้ในภาพรวมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยืดหยุ่นของโครงสร้างทางสังคมและการบริหารปกครองของจีนเอง อย่างไรก็ตามการคงความเป็นเอกราชของจีน ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดจำกัดที่แท้จริงของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการอ้างสิทธิในการแข่งขันที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
.. ตามหลักการแล้ว เบื้องลึกของการไล่ล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ก็เพื่อให้มีดินแดนที่ใช้เป็นที่ตั้งกองกำลัง เพื่อทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่ "การลงทุน" ขนาดใหญ่ของเหล่าประเทศเจ้าอาณานิคมท้งหลาย ในบางสำนึก อังกฤษยังคงยึดมั่นกับแยวคิดตามลัทธเเสรพาณิชย์ของนักเศรษฐศาสตร์ "คอบ เด็น" ที่ว่า ลัทธิอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการนั้น มีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับใน
กลุ่มนักลงทุนนิยมอุตสาหกรรมทั้งหลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่างการล่มสลาบของนโปเลียนและสงครามฟรังโก้-ปรัสเซีย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปน้ัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความชอบสำหรับลัทธิอาณานิคมเหนือ กว่าจักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการ แต่ท่าที่ต่อการปกครองอาณานิคมอย่างเป็นทางการในส่วนใหญ่ของพื้นที่ในแถบร้อนั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกพิจารณาว่า "ล้าหลัง" มากเกินไปสำหรับการค้า พื้นที่ซึ่งมีความเป็นเอกราชนั้น ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการถูกกครองในฐานะอาณานิคมอย่างเป็นทางการ เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
อังกฤษพบว่าเป็นการยากที่จะขายสินค้าของตนในจีน และประสบกับสถานการณ์ที่ต้องเสียดุลการค้าให้แก่จีน(ในลักษณะที่เหมือนกันกับชาติยุโรปอื่นๆ) กระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 การเริ่มต้นค้าฝิ่นขนานใหญ่จากอาณานิคมอินเดียของอังกฤษไปยังจีน ทำให้สถานการณ์ดุลการค้าดังกล่าวเเปแเปลียนไป พร้อมกับทำให้จำนวนผู้เสพติดฝิ่นเพ่ิมขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประชากรจีนระดับสูง และเป็นภัยคุกคามประเทศด้วยก่อให้เกิดความเสียหาย บ่อนทำลายประชากรจีนทั้งทางด้านสุขภาพ ศีลธรรมจรรยา และทางด้านจิตวิทยา อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะวัดคำนณออกมาเป็นสถิติตัวเลขได้
(www,th.wikipedia.org/..ลัทธิจักรวรรดินิยม)
(www.th.wikipedia.org/..ลัทธิอาณานิคมนิยม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น