วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Austronesian languages IIII (central-Eastern malayo-polynesian languages)

           หลายทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียนูกแบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มกลาง-ตะวันออก การแบ่งของกลุ่มตะวันตกเป็นการแบ่งโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับหน่วยทางภาษาศาสตร์ ในปัจจุบักลุ่มตะวันตกนี้จึงแบ่งเป็นกลุ่มนอกและกลุ่มในที่กลายเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษามาโย-โพลีเนเซียศุนย์กลาง กลุ่มนเรียกว่า กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ กลุ่มนอกเรียกว่า กลุ่มภาษาซุนดา-สุลาเวสี
             กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลาง หรือ กลุ่มภาษานิเคลียร์มาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นสาขาของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งคาดวว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เกาะซูลาเวซี แยกเป็น 2 สาขา คือ กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี แรือกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตอนใน ซึ่งรวมภาษาในเกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะซุนดาใหญ่และภาษานอกบริเวณนี้เช่น ภาษาชามอร์โ และภาษาปาเลา, กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันออกตอนกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันออกคือบริเวณเกาะซุนดาน้อย เกาะอัลมาเฮอรา หมู่เกาะโมลุกกะ นิวกีนีและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
กล่มุภาษามาลาโย-โพลีเนเซียนกลาง-ตะวันออก เป็นสาขาของกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียศูนย์กลาง ประกอบด้วยภาษาในกลุ่ม 700 ภาษา ประกอบด้วย กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียนกลาง อาทิ กลุ่มภาษาบีมา-ซุนบา, กลุ่มภาษาติมอร์-ฟลอเรส, กลุ่มภาษาดามรตะวันตก, กลุ่มภาษาบาบัร, กลุ่มภาษามาลูกูตะวันออกฌแียงใต้, ภาษาเตอร์-กูร์, กลุ่มภาษาอารู, ภาษาเคโกวีโอ, กลุ่มภาษาบอมเบอไรเหนือ, กลุ่มภาษามาลูกูกลาง
           กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลาง มีผู้พูดในหมุ่เกาะซุนดาน้อยและหมู่เกาะโมลุกกะในทะเลบันดา ใกล้เคียงกับจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก จังหวัดมาลูกู และประเทศอินโดนีเซียและประเทศติมอร์-เลสเต (ยกเว้นกลุ่มภาษาปาปัวของติมอร์และเกาะใกล้เคียง) โดยมีกลุ่มภาษาบิมาที่แพร่กระจายในแบลแถบจังหวัดนูซา เต็งการาตะวันตก และภาคตะวันออกของเกาะซุมบาวาและกลุมภาาาซุลาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดมาลูกูตอนเหนือ เกาะหลัของบริเวณนี้ได้แก่ เกาะซุมบาวาเกาะซุมบา เกาะฟลอเรส เกาะติมอร์ เกาะบูรู และเกาะเซรัม ภาษาที่สำคัญได้แก่ภาษามัวหาไรของเกาะหลอเรสตะวันตกและภาษาเคตที่เป็ฯภาษาประจำชาติของติมอร์เลสเต การจัดแบ่งกลุ่มภาษานีมหลักฐานอ่อนโดยเฉพาะข้อด้อยที่ไม่มีลักษณะร่วมของภาษาใน
เขชตภูมิศาสตร์เดียกัน นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้กลุ่มนี้เป็กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลาง-ตะวันออกทีต่างจากกลุ่มภาษามาลาดย-โพลีเนเซียตะวันออก ภาาาจำนวนมากทางตะวันออกของเกาะฟลอเรสและเกาะใกล้เคียงโดยเฉพาะเกาะซาวู มีศัพท์พื้นฐานที่ไม่อยุ่ในตระกุลออสโตรนีเซียนมาก และอาจจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนแน่นอนหรือไม่
               หมู่เกาะโมลุกกะ หรือหมู่เกาะมาลูกู เป็นหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซี และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู ตั้งอยู่บนแผ่นเปลื่อกโลกออสเตรเลียทางด้านตะวันออกของเกาะซูลาเวซี(เซเลบีส) ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี และทางเหนือของติมอร์ ในอดีตนั้น ชาวจีนและชาวยุโรปเรียกเกาะนี้ว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา บางส่นยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกกรุ่นอยู่ และมีสภาพภูมิอากาศที่ชื้น พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แม้จะอยู่บนเกาะที่เล็ก แคบ และล้อมรอบด้วยทะเล อาทิ ป่าฝน สาคูข้าว และเครื่องเทศต่างๆ (เช่น ลูกจันทน์เทศ กานพลู และดอกจันทน์เทศ) ถึงแม้ว่าชาวเมลานีเซียนจะเป็นประชากรส่วนใหญ่แต่เดมโดยเฉพาะบนเกาะบันดาแต่ก็ถูกสังหารในช่วงศตวรรษที่17 การอพยพเข้ามาของชาวมลายูในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในช่วงที่ชาวดัตช์ปกครองอยู่ และต่อเนื่องมาจนถึงยุคที่เป็นประเทศอินโดนีเซียแล้ว ในทางการเมือง หมู่เกาะโมลุกะเป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 มาลูกูเหนือและฮัลมเฮราลางถูกแยกออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนั้น หมู่เกาะนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น จังหวัด คือ มาลูกู และมาลูกูเหนือ ระหว่างปี 2542 ถึง 2545 เป็นช่วงที่เกิดความชัดแย้เงระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ แต่ก็เพิ่งกลับมาสงบสุขเมื่อไม่กีปีที่ผ่านมา
             
หลักฐานทางโบราณคดียุคแรกของโมลุกกะเกียวกับการครอบครองอินแดนของมนุษย์เก่าแก่ราว 32,000 ปี แต่หลักฐานเกี่ยวกับการตั้งรกรากที่เก่าแก่ว่าในออสเตรเลียบ่งชี้ว่ามาลูกูมีผู้มาเยือนก่อนหน้านั้น หลักฐานของควมสัมพันธ์ทางการค้าระยะไกลที่เพิ่มขึ้น และการครอบครองเกาะต่างๆ ที่มากครั้งขึ้นน้้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณหมื่นถึงหมื่นห้าพันปีหลังจากนั้น ลูกปัดหินออนิกซื และข้อปล้องที่ทำด้วยเงินซึ่งใช้แทนเงินตรา ในแถบอินเดียราว 200 ปีก่อนคริสตกาลถูกขุดพบนบางเกะนอกจากนี้ ภาษาท้องถ่ินที่รากของคำมาจากภาษามลายูในคำว่าแปลว่า "แร่เงิน" ขัดแย้งกับคำที่ใช้นสังคมชาวเมลานีเซียนซึ่งมีที่มาจากภาษาจีน การต้าท้องถ่ินกับจีจึงน่าจะเกิดขึ้นในช่วงคริสตวรรษที่ 5-6
           โมลุกะเป็นสังคมที่เกิดจากหลากเชื่อช้าติ และภาษา ที่ซึ่งพ่อค้าเครื่องเทศจากหลายภูมิภาคเข้ามาอาศัยตั้งรกราก รวมทั้งพ่อค้าชาวอาหรับและจีนที่ม่เยือนและใช้ชีวิตในอินแดนแถบนี้
           จังหวัดมาลูกู เป็นจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย โดยประกอบไปด้วยพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของหมู่เกาะโมลุุกกะ เมืองหลักของจังหวัดมาลูกูคืออัมบน บนเกาะอัมบนขนาดเล็ก จังหวัดที่ประชากร หนึ่งล้านห้าแสนคน ในปี 2010
            ทะเลบันดา ตำแหน่งขอททะเลบัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลบันดา ตั้งอยุ่ทางใต้อขงหมู่เกาะโมลุุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย วัดจากทิศตะวันตกมาทิศตะวันออก กว้างประมาณ 1,000 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 500 กิโลเมตร บันดา หมวดหมู่ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย
            หมู่เกาะบันดาเป็นกลุ่มเกาะภูเขาไฟสิบเกาะเล็กในทะเลบันดาที่ตั้องอยุ่ 140 กิโลเมตรทางตอนใต้ของเกาะเซอรัมและราว 2000 กิโลเมตรทางของเกาะชวา และเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโมลุกกะของออินโดนีเซียเมืองหลักและศูนย์บริหารของหมู่เกาะอยู่ที่บันดาไนราที่ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน หมู่เกาะบันดาผุดขึ้นจากมหาสมุทรที่ลึคกราว 4-6 กิโลเมตรและมีเหนื้อที่ราว 180 ตารางกิโลเมตรมีประชากรทั้งสิ้นราว 15,000 คนบันดาเป็นแหล่งผลิต ผลิตผลจากต้นจันทน์เทศแหล่งเดียวในโลกมาจนกระทั่งกลางคริสตวรรษที่ 19 นอกจะมีชื่อเสียงในการเป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศแล้วยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำและนักดำน้ำลึกด้วย
          ซุมบาวา เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่ในหมู่เกาะเลสเซอร์ซุนดาทางตะวันออกของเกาะลอมบอกและตะวันตกของเกาะฟลอเรส เกาะซุมบาวามีพื้นที่ 5,400ตารางกิโลเมตร (เป็น 3 เท่าของเกาะลอมบอก) มีประชากรรวม 1.33 ล้านคน เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อกุหนึงตัมโบรา อยุ่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด
           เดิมเกาะนี้เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมา แตกออกเป็นรัฐขนาดเล็หลายแห่ง เร่ิมติดต่อกับฮอลันด ในคริสต์สตวรรษที่ 17 เมื่อ ค.ศ. 1815 ภูเขาไฟกุหลังตัมโบราเกิดปะทุอยางรุนแรงทำให้ประชาชนเสียชีิวตและไร้ที่อยุ่อาศัยหลายหมื่นคน จึงมีการอพยพผู้คนจากเกาะใหช้เคียงเข้ามาอยุ่อาศัยแทน ในตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ฮอลันดาได้เข้ามาปกครอง ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างสงครามดลกครั้งที่ 2 และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียเมื่อได้รับเอกราชในค.ศ. 1950
         

ประเทศอินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยุ่ระหว่างคาบสมุทรอินโดนีจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรออินเดียกับมหาสุมทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประทศมาเลเว๊ยบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน ประเทศปาปัวนิวกินิบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์
ภาษาเตตุม
           ประเทศติมอร์-เลสเต มีชื่เรียกอย่างเป็นทางการว่าสาะารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ตั้องอยู่บนเหาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเแียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก แเกาะอาเตารู และเกาฌากูที่อยู่ใหล้เคียง และเขตโอเอกูซี ซึ่งตั้งอยุ่บนฝั่งตะวันของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย
           แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 และในปี พ.ศ. 2542 ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พ.ค. พ.ศ. 2545 เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ ในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียวกประเทศอย่างทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส
            เกาุะติมอร์ เป็นเกาะที่อยุ่ใต้สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยุ่ทางตอนเหนือของทะเลติมอร์พื้นที่บนเกาะแบ่งได้เป็นสองส่วน ได้แก่ติมอร์เลสเตร์ซึ่งเป็นรัฐอิสระและติมอร์ตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นี่ส่วนหนึ่งของจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก
            เกาะติมอร์มีพื้นที่ สามหมื่นกว่าตารางกิโลเมตรชื่อของเกาะมาจากคำว่าตีมูร์ ในภาษามลายู ซึ่งแปลว่า ตะวันออก เพราะเกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่เกาะซุนดาใหญ่
            ภาษากัมเบอรา หรือภาษาซุมบา ภาษาซุมบาตะวันออก ภาษาฮุมบา ภาษาฮีลู ฮุมบา เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ใช้พูดในหมู่เกาะซุนดาน้อย ประเทศอินโดนีเซีย
            ภาษาเตตุม เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามาเลย์และภาษาอินโดนีเซีย
       
             - th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย
             -http://th.unionpedia.org ค้นหา "กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีนีเซียศูนย์กลาง

Austronesian languages III (Sunda-Sulawesi languages)

          กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี
เป็นสาขาของกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกุลภาษาออสโตรนีเซียน ได้แก่ภาษาที่ใช้พูดในเกาะซุลาซี และเกาะซุนดาใหญ่ เชน เดียวกับในชามอโรและปาเลา โดยทั่วไปกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มตอนใน (ซุนดา-ซูลาเงวซี) ละกลุ่มตอนนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) ซึ่งการแบ่งนี้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ ภาษาในกลุ่มซุนดา-ซูลาเวซีแบ่งเป็นกลุ่มตามความใกล้ชิดได้หลายกลุ่มแต่ความสัมพันธ์ระหวางกลุ่มยังไม่ชัดเจน ภาษาในเกาะซูลาเวซีเหนือ 20 ภาษารวมทั้งภาษาในเกาะทางเหนือ (กลุ่มภาษาซังฆีริก เช่น ภาษาบันติก กลุ่มภาษามีนาฮาซัน และกลุ่มภาษาโมนโคนโคว-โคโรนตาโล) ไม่ได้อยุ่ในกลุ่มซุนดา-ซูลาเวซี แต่อยุ่ในกลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์
         กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี เป้นสาขาของกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ตระกูลภาษาออสโตรนนีเซียน ได้แก่ ภาาาที่ใช้พูดในเกาะซุลาเวซี และเกาะซุนดาใหญ่ เช่นเดียวกับในชามอโรและปาเปลาดดยทั่วไปกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบงเป้ฯสองกลุ่มคือกลุ่มตอนใน (ซุนดา-ซูลาเวซี) และกฃลุ่มตอนนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) ซึ่งการแบ่งนี้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์
        ภูมิศาสตร์ของประชากรที่พูดภาษาในกลุ่มซุนดา-ซูลาเวซี
     
- หมู่เกาะมาเรียนา แผนที่แสดงหมู่เกาสะมาเรียนา ทางตอนใต้แสดงดิจแดนเกาะกวมของสหรัฐ และทางตอนเหนือแสดงดินแดนหมู่เกาะมอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐ และเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีแดงคือตำแหน่งภูเขาไฟที่ปะทุอยุ่ หมุ่เกาะมาเียนา เป็นหมู่เกาะที่เรียงตัวเป้นรูปพระจันทร์เสี้ยว ประกอบปด้วยเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟจำนวน 15 เกาะตั้งอยู่ทางตะวันตกเหนือเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเส้นพาราเซลเหนือที่ 12 และ 21 ในคาบเส้นเมริเดียนที่ 145 องศาตะวันออก หมู่เกาะแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามพระนามของพระนางมาเรียนาโดยชาวสเปน ซึ่งเป้นคนกลุ่มแรกที่ได้มาถึงยังหมุ่เกาะนี้ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16  และเข้ายึดครองหมู่เกาะแห่งนี้เป็นอาณานิคมจากชนพื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่าชาวจามาร์โร จากการค้นคว้าของนักโบราณคดีพบว่า ชนพื้นเมืองบนหมู่เกาะนี้ได้มาตั้งรกรากตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และอาศัยอยู่อย่างต่อเนือ่งอเป็นเวลากว่านับพันปี โดยสันนิฐานว่าเกาะแรกที่พวกเขาเข้รมาตั้งรกรากคือเกาะติเนียน หนึ่งในสามเกาะหลักของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งจะถือว่าเป็นการตั้งรกรากครั้งแรกของมนุษย์ในภูมิภาคโอเชียเนีย สแตมป์ของมาเรียนา ในยุคเปยรมันนปกครอง เดิมปหมู่เกาะนี้เป็นอาณานิคมของสเปน ภายใต้กำกับของรัฐบาลข้าหลวงใหญ่สเปนประจำฟิลิปปินส จนกระทั่งปีพ.ศ. 1898 สเปนก็สูญเสียเกาะกวมแก่สหรัฐอเมริกาจากผลของสงครามสเปน-อเมริกาหมู่เกาะนี้เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าปกครองหมุ่เกาะนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามดลกครั้งที่สอง และจากการพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนั้นทำให้ราชสำนักสเปนอ่อนแอลง และไม่มีกำลังทรัพย์มากพอจะดูแลเกาะน้อยใหญ่ไต้การปกครองกว่า 6,000 เกาะทั่วดลกได้อกี ราชสำนัก
สเปนจึงเจรจากับจักรวรรดิเยอรมันในปี 1899 โดยทำใัญญาขายหมุ่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาตลอดจนเกาะอื่นๆ ของสเปนในมหาสมุทรแปซิฟิกแก่เยอรมนี (รวม สีล้านดอลล่าร์สหรัฐในขณะนั้น) ภายหลังเยอมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิญี่ป่นุซึ่งเป็นสมาชิกไตรภาคีก็เข้ายึดครองหมู่เกาะแห่งนี้ต่อจากเยอรมนี ต่อมาในสงครามดลกครั้งที่สอง ญี่ป่นุก็เข้าโจมรีฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมในวันเดียวกับการโจมตีท่าเพิร์ล ต่อมาสหรัฐก็เข้ายึดครองหมุ่เกาะนี้คืนได้ในปี 1944 และใช้เป็นฐานทัพอากาศในการทิ้งระเบิดทางอากาศต่อญี่ปุ่น ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงก็อยุ่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาเรื่อยมา...
            - จังหวัดบาหลี เป็น 1 ใน34 จังหวัดของปรเทสอินโดนีเซีย เมืองสำคัญคือเดิมปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมดห้าล้านหกแสนกว่าตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิน สามล้านสี่แสนกว่าคน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาาาที่ใช้คือภาษาอนิดดนีเซียนและภาษาบาหลี
             บาหลีเป็นถ่ินที่อยุ่ของชนเผ่าออสโตรนีเซียน ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมบนเกาะไต้หวัน โดยช้เส้นทางทางทะเลผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ขิดกับผู้คนที่อาศัยอยุ่บริเวณหมูเกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และโอเชียเนีย มีการขุพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายกว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจอกิก์ ที่อยุทางตะวันตก รวมทั้งที่ต้้งถิ่นฐานและหลุ่มฝังศพของมนุษย์ในยุคหินใหม่ ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยุ่ที่พิพิธภัณฑ์ซิตุสปูร์ลาลากา ที่เมืองกีลีมานุก์ อีกด้วย ประวัติของบาหลีก่อนการเผยแพร่ศาสนาฮินดูเข้ามยังกมุ่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รุ้กันน้อยมาก อย่างไรก็ตามบาหลีเร่ิมเปนเมืองค้าขายที่คึกคักตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฎในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บรเิวณรอบๆ ภูเขากูนุงกาวี และถ้ำโกอากาจะฮ์..
            - ประเทศปาเลา มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา เป้ฯประเทศปมู่เกาะในมหาสมุทรปแซิฟิก ตั้งอยุ่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กิลโลเมตร ได้รับเอกราชในปี พงศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก
            สันนิฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากมุ่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลาจึงทำให้เชาวอังกฤษเร่ิมรุ้จักเกาะแห่งนี้ และกลายเป็นคู้ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก
            ต่อมาชาวสเปน ได้มีอำนาจเหนื่อปาเลา แต่ภายหลังได้ขายอมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนารบระหวว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภาญหลังสครมสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่่น ปาเลาต้องพึงพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา..
       
 - เกาะลอมบอก เป็นเกาะที่อยุ่ทางตะวันออกของเกาะบาหลี คำว่า ไลอมบอก" ในภาษาชวาหมายถึงพริกขี้หนู ตั้งอยู่ในจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก ประเทสอินโดนีเซีย ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาไฟ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวซาซักมีภาษาเป็นของตนเองคือ ภาษาซาซักที่ใกล้เคียงกับภาษาชวาและภาษาบาหลี วัฒนธรรมหลายอย่างของขาวซาซักก็ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของชวาและบาหลี ชาวซาซักแบ่งตามศาสนาได้ 2 กลุ่มคือ เวอตูลิม นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แบบะดียวกับชาวอินโดนีเซียโดยทั่วไป และเวอตูเตอลู นับถือศาสนาอิสลามควบคู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีชาวซาซักอีกกลุ่มที่นับถือ พุทธ-ผี ควบคู่กัน มีอยู่ประมาณ 8,000 คน
              เดิมเกาะลอมบอกเป็นอาณาจักรอิสระประกอบด้วยอาณาจักรเล็กๆ หลายแห่ง โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุดคือาณาจักเซอลาปากรับ ที่นับถือศาสนาฮินดูต่มาชวาตะวันออกได้ยกทัพมาตีและรวมลอมบอกเข้ากับอาณาจักรมัชปาหิต โดยลอมบอกรับอิทธิพลจากชวาทั้งศษสนาฮินดุและศาสนาอิสลาม ต่อมาชาวบาหลีในสมัยอาณาจักคารังกาเซ้มเข้ามาปกครองลอมบอกจนถึง พ.ศ. 2437 ในปีนี้เองลอมลอกร่วมมือกับดัตช์ก่อกบฎต่อบาหลี ซึ่งทำให้บาหลีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามเมือดัตข์ชนะได้เข้ามาปกครองลอมบอกในฐานะอาณานิคมทั้นที จนญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมือ พ.ศ. 2485 ดัตช์เคลื่อนพลกลับมาอีกครั้งเมื่อสงครามสงบในพ.ศ. 2488 แต่เกิดการต่ต้อานจากชาวพื้นเมืองโดยทัี่วไป เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราช ลอมบอกจึงเป้นสวนหนึงของอินโดนีเซีย
           - เกาะสุมาตรา ในสมัยโบราณ เกาะแห่งนี้มีชื่อเรียกเป็ฯภาษาสันสกฤตว่าสุวรรณทวีป (เกาะทอง) และสุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) ทั้งนี้ก็เพราะมีการพบทองคำบนที่ราสุงของเกาะแห่งนี้ ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ เรียกเกาะนี้หลายชื่อ ได้แก่ ลามรี, ลามุรี, ลามบรีและรามนี ในคริสต์สตวรรษที่ 10-13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยุ่ใกล้กับเมืองปั่นดุงอาเจะฮ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาข้นฝั่ง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ชื่อสุมาตราเป็นที่นิยมเรียกกันมาก โดยหมายถึงอาณาจักซามูดรา(สมุทร) ซึ่งกำลังเรืองอำนาจ แต่นักเขียนชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 พบว่าชาวพื้นเมืองไใ่มีคำเรียกชื่อเกาแห่งนี้
          แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเแียงใต้ ดดยผ่านเส้นศูนย์สุตรตรงกลางพื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภุมิศาสตร์ใหญ่ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก ทางตะวันออกเฉียงใต้คือ เกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมลายู แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือ เกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาดา ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดียว สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบรีซัน ภูเขาไฟในภุมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบุรณ์และทัศนียภาพอันสวยงาม ..
           - เกาะซูลาเวซี หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส เป้นหนึ่งในเกาะซุนดใหญ่ 4 เกาะของปรเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมายังเกาะแ่ห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียวตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์ และเมื่อ พ.ศ. 2488 พื้นที่ทั้งเกาะกลายเ้นส่วนหนึ่งของนิคมาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498 เดิมนั้นชาวโปรตุเกสตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "เซเลบีส" ส่วนความหมายนั้นไม่ปรากฎชัด นตอนแรกไม่ได้ใช้คำนี้เรียกพื้นที่ท้งเกาะ เพราะชาวโปรตุเกสคิดว่าซุลาเวซีเป็นหมู่เกาะ ชื่อซูลาเวซีที่ใช้ในปจจุบันมาจากคำว่า "ซูลา" เกาะ และ "เบซี" เหล็ก โดยอาจหมายถึงการน้ำเข้าเหล็กในอดีตจากตะกอนเหล็กทีมีอยุ่มากในทะเลสาบมาตาโน..
          - เกาะกวมมีพื้นที่ 549 ตารางกิโลเมตร ส่วนเหนือองเกาะเป็นที่ราบหินปูนปะการังในขณะที่ทางส่วนใต้มียอดภูเขาไฟ และมีพืชหินปะการังล้อมรอบพื้นที่สวนใหญ่ของเกาะ
            กวมเป็นชื่อที่อยุ่ทางทิใต้สุดของแนวลูกโซ่มาเรียาและเป็นเาะที่ใหญ่ที่สุดในไมโครนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งเป็นเขตมุดตัวบริเวณชอบของแผ่นธรณีภาคแปซิฟิก แซลเลนเจอร์ดีป เป็นจุดที่ลึกที่สุดของโลก ตั้งอยุ่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกวม มีความลึก 10,911 เมตร เกาะกวมประสบกับภัยแผ่นดินไหวซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยุ่ใกล้กับเกาะมีระดับความสั่นสะเทือน ตั้งแต่ 7.0 ถึง 8.2 ริกเตอร์..
         
 กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกุลออสโตรีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมูเกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยุ่ห่างไกลที่สุดใช้พุดบนเกาะมากากัสในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหุพจน์ การออกเสียงเป้นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง
           หลายทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มภาษามาลาโย- โพลีเนเซียนถูกแบ่งเป็นหลุ่มตะวันตกและกลุ่มกลาง - ตะวันออก การแบ่งของกลุ่มตะวันตกเป็นการแบ่งของกลุ่มตะวันตำเป็นการแบ่งโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยไม่มีความเกี่ยวพันกับหน่วยทางภาษาศาสตร์ ในปัจจบุันกลุ่มตะวันตกนี้จึงแบ่งเป็นกลุ่มนอกและกลุ่มในที่กลายเปนสาขาย่อยของกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียนศุนย์กลาง กลุ่มในเรียกว่า กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ กลุ่นอกเรียกวา กลุ่มภาษาซุนดา-สุลาเวสี
            กลุ่มภาษามาเลย์อิก กลุ่มภาษามาเลย์อิก เป้นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาซุนดา-ซุลาเวซี มีสมาชิก 25 ภาษาแพร่กระจายในเขตสุมาตราตอนกลางรวมท้งภาษามาเลย์และภาษาอินโดนีเซีย ภาษามินังกาเบาในสุมาตากลาง ภาษาอาเจะห์ในอาเจะห ภาษาจามในเวียดนามและกัมพูชา ภษามอเกนในไทย และภาาอีปันในบอร์เนียวเหนือ
ภาษาบาหลี
           ภาษาชวา คือ ภาษาพุดของผุ้ที่อสัยอยุ่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดีเซียเป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75500,000 คน ภาาาชวาอยุ่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซีย จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย และภาษามาเลย์ ผุ้พูดภาษาชวา พุดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่นๆ มีชุมชนผุ้พุดภาษาชวาขนาดใหย่ในประเทมาเลเซีย โยเฉพาะรัฐเซอลาโงร์และยะโฮร์ (คีร์ โตโย รัฐมนตรีของเซอลาโงร เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามาเลย์ได้
          ภาษาบันติก เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใช้พุดในทางเหนือของเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซียเป็นภาษาของชาวบันติก ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ภาษามาเย์สำเนีงมานาโดแทน ทำให้ภาษาบันติก เหลือผุ้พุดน้อย เป็นภาษาที่ใช้พุดในหมุ่ผุ้ชายโดยที่ผุ้หญิงที่อายุน้อยหว่า 30 ปีมีน้อยมากที่รู้ภาษานี้ เป็นภาษารูปคำติดต่อ เรียงประดยคแบบประธาน-กริยา -กรรมและกริยา-กรรม-ประธาน
         ภาษาบาหลี เป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พุดในเกาะชวา เกาะบาหลีและเกาะลอมบอก มีผู้พูด 3.8 ล้านคน ิดเป็น 2.1 % ของประชากรอินโดนีเซียทั้งประเทศ โดยที่ชาวบาหลีส่วนใหญ่จะพุดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง เขียนด้วยอักษรบาหลีและอักษรละติน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาาาซาซักและภาษาอัมเบอราในเกาะซุมบาวา มีการแบ่งระดับขั้นภายในภาษา
          ภาษาบูกิส เป็นภาษาที่พุดโดยประชากรราว 4 ล้านคน ในภาคใต้ของเกาะซูลาเวซีประเทศอินโดนีเซีย คำว่า บูกิส มาจากภาษามาเลย์ ส่วนชาวบูกิสเรียกวภาษาของตนว่า บาซา อูกิ แปลว่ากษัตรยิ์องค์แรก ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ในอาณาจักรบุกิสโบราณ แต่เรื่องราวไม่ชัดเจนเพราะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐาลายลักษณ์อักษณครั้งแรกที่พบคือ อี ลากาลิโก ซึ่งเป็นภาพวงกลม เล่าถึงกำเนิดชีวิต พบในซูลาเวซีใต้
       
ภาษาบูกิส
ภาษากัมเบอรา หรือภาาซุมบา ภาษาซุมบาตะวันออก ภาษาฮุมบา ภษษาฮีลู ฮุมบา เป้ฯภาษากลุ่มาลโย-โพลีเนเซียน ใช้พุดในกมู่เกาะซุนดาน้อย ประเทศอินโดนีเซีย
           ภาษามากัสซาร์ หรือภาษามากาซาร์ เป็นทั้งชื่อของภาษาและระบบการเขียนในเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาบูกิส ในอดีตเขียนด้วยอักษรลนตารา/มากาซาร์ ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาบูกิสและภาษามัดาร์ด้วย ปัจจุบันนิยมเขียนด้วยอักษรละตินมากว่า หมวดหมู่ ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย
           บามาดูรา เป็นที่ใช้พุดบนเกาะมาดูรา ในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะอื่นๆ เช่นเกาะกาเงียน เกาะซาปูด และทางตะวันออกของชวาตะวันออก พบในสิงคดปร์ด้วย อยู่ในกลุ่มย่อยซุนดา ของภาษากลุ่มมาลาโยโพลีเนเซยตะวันตก ตระกูลออสโตรนีเซียน เคยเขียนด้วยอักษรชวา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน มีผุ้พูด กว่าสิบสามล้านคน ในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2543) ภาษานี้มีรากศัทพ์เหมือนกับภาษากาเวียน 75% และเข้าใจกันได้ยาก ภาษานี้มีหลายสำเนยง สำเนียงซูเมเนบ จัดเป็นสำเนียงมาตรฐาน สำเนียงบังกาลนที่พูดในสุราบายา เป็นสำเนียงที่ใช้ทางการต้ามากที่สุด เป็นสำเนยงที่ใช้ในเมืองและได้รับอิทธพลจากภาษาอินโดนีเซียมาก และผุ้พูดภาษานี้ใช้ภาษาอินโดนีเซยด้วย แปบไบเบิลเป็นภาษานนี้ใน พ.ศ. 2537
            ภาษาตูกังเบซี เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน ใช้พุดในกลุ่มเกาะดูกังเบซี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย มีผุ้พูดราวสองแสนคน มีพยัญชนะ 25 เสียง สระ 5 เสียง มีการเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 หรือพยางค์สุดท้าย ลักษณะฉพาะของภาษานี้คือ เสียงจากเส้นเสียง และเสียงเสียดแทรก /s/ เสียงนาสิกที่แยกเป้นกน่วยเสียงต่างหาก
            ภาษาซาซะก์ เป้ฯภาษาที่พุดโดยชาวซาซักซึ่งอยุ่ในเกาะบอมบอก ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้เคียงกับภาษาบาหลีและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวาแบ่งเป็น 5 ำเนียง
            ภาษาซุนดา เป้ฯภาษาที่ใช้พุดในหมุ่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียในเขตชวาตะวันตก อยู่ในตระกุลออโตรนีเซียน สาขามลาโย-โพลีนีเซียน สำเนียงปรีงาอันเป็นสำเนียงที่มีการสอนในระดับประถมศึกษา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน
           ภาษาเม็นตาไว เป็นภาษาตระกุลออสโตรนีเซียน พูดโดยชาวเม็นตาไวในเกาะเม็นตาไว สุมาตราตะวันตก มีหลายสำเนียง เช่น ซิมาเลอฆี ซากาลากัน ซีลาบู ตารการกุ ซัวมันฆันยา ซีเบอรุตเหนือ ซีเบอรุตใต้ ซีปูรา ปาไฆ เป็นต้น

            - http://th.unionpedia.org ค้นหา "กลุ่มภาษาซุนดา- ซุลาเวซี
            - th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Austronesian languages II (Borneo-Philippines languages)

             กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองในไต้หวันซึ่งมีจำนวน 2% ของประชากรบนเกาะไต้หวัน แต่มีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ยังพูดภาษาดั้งเดิมของตน จากภาษาพื้นเมืองทั้งหมด 26 ภาาา เป็นภาาาตายแล้ว 10 ภาษา ที่เหลืออีก 4-5 ภาษาเป็นภาษาที่ใกล้ตาย ที่เหลือจัดเป็นภาษาที่เสีย่ยงที่จะกลายเป็นภาษาตาย
             ภาษาพื้นเมืองของไต้หวันมีความสำคัญมากในทางภาษาศาสตร์ เพราะไต้หวันคล้ายจะเป้นจุดกำเนิดของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนทั้งหมด กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซามี 9 สาขาจากทั้งหมด 10 สาขขาของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอีกสาขาหนึ่งคือกลุ่มภาษามาลาโย- โพลีเนเซียราว 1,200 ภาษา ที่พบนอกเกาะไต้หวัน แม้ว่านักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับรายละเอียดทั้งหมด แต่ก็ยอมรับร่อมกันว่าตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนมีจุดกำเนิดในไต้หวัน และมีการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์มนุษย์ เพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมตริฐานนี้
            ปัจจุบัน กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดกำลังถูกแทนที่ด้วยภาษาจีนกลาง หลังจากที่ัฐบาลของสาธารณรัฐจีนเริ่มจัดการศึกษาให้ชาวพื้นเมืองในไต้หวัน
            การกำหนดขอบเขตของภาษาและสำเนียงโดยทั่วไปทำได้ยากและมักมีข้อโต้เย้งเสมอ ซึ่งพบได้เช่นกันในการศึกษาภาษาในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะภาษาของเผ่าที่คล้ายกัน
            กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ หรือกลุ่มภาษาเอสเปโรนีเซีย หรอืกลุ่มภษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกนอก เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่รวมภาษาของฟิลิปปินส์ เกาะบอร์เนียวคาบสมุทรทางเหนือของเกาะซูลาเวซี และเกาะมาดากัสการ์ ภายในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกแบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มนอก (บอร์เนียว-ฟิลิปปินส์) และกลุ่มใน (ซุนดา-ซูลาเวซี) การแบ่งแบบนี้เป็นการแบ่งตามภูมิศาสตร์
         ภูมิศาสตร์ (ผู้ที่ใช้กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์)
        ไต้หวัน เป็นเกาะในมหาสมุทราแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉรยงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาะารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาะารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไร้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอาเป็นอาณานิคม
       
ภูเขาไฟปินาตูโบ เป็นภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นที่มพลังอยู่ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ บริเวณเทือกเขาซัมบาเลซ เหนือกรุงมะนิลา ถูกค้นพบโดยทหารสเปนครั้งการล่าอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2099
          รัฐซาบะฮ์ เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย และยบังเป้ฯที่รุ้จักกันในชื่อเนอเกอรีดีบาวะฮ์บายู ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่อยุ่ใต้ลม ก่อนที่จะเข้าร่วมอยุ่กับสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น ซาบะฮ์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีชื่อว่านอร์ทบอร์เนียว ซาบะฮ์เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยุ้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะีขนาดเล็กกว่ารัฐซาราวะก์ ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะเรียกว่ากาลิมันตันเป้ฯของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหฃลวงของรัฐคือโกตากีนาบาลู เดิมมีชื่อว่า เจสเซลตัน
          ดาเบา นครดาเบา เป็นเมืองนมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ศูนยกลางของเมืองเรียกว่าเมโทรคาเบา ดาเบาเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองและเขตเมืองของดาเบาหรือเมโทรดาเบา เป็นเขตเมืองีี่ประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสาม ของประเทศเมืองที่ทำหน้าที่เป็นการต้าพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลางในมินดาเนาและศูนย์ภูมิภาคสำหรับเขตดาเบา เมืองดาเบาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ดูจากขนาดของพื้นที่
         ประเทศฟิลิปปินส์ หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยุ่นมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชี่ยแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเแียงใต้ประมาณ 1,000 กม. และมีลักษรพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน และสหรัฐอเมริกา ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป้นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ชาวอักกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริการที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่อนทะเลยักษ์
        ประเทศได้หวัน ไต้หวันในภาษาไต้หวัน หรือไถงวาน ในชื่อท้องถ่ิน หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะารณรัฐจีน เป็นรัฐในทวีปเอเชยตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วย เกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมอิน , ได้หวัน, เผิงหู, หมาจู่, และอูชิวกับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีน ด้านตะวันออกและตะวันออกเแียงเหนือติดกับญีปุ่น และด้านใต้ตคิดกับฟฺิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง สวนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่วชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉินกง ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเาะไต้หวันและเข้ารุกไล่ฝรั่งเออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจัรตกหนิง ขึ้นบนเกสะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" แต่ในปี 1683 ก่อนเสียไต้หวันคือให้แก่จีนหลังสงครามดลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรค
ชาตินิยม ได้เป็นใหญ่แต่ไม่นามก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยมพรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน และ้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรับประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลเนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืงหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศราฐกิจไต้หวันงอกงามอย่งรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ช่อว่าเป็นหนึงในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า เศราฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลกอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของำต้หวันมีบทบาทสำคัญมากในเศราฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการต้าโลกและความร่วมมือทางเศราฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศราฐกิจ การสาะารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยุ่ในอันดับสูงด้วย
            เกาะบอร์เนียว หรือกลีมนตัน เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ฺ และเกาะนิวกีนี มีประเทศ 3 ประเทศอยุ่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยุ่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทสอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเแียงต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเแียงใต้
            เกาะมาดากัสการ์ ตั้งอยุ่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย มีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกาห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิดลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขนาดเท่าๆ กับประเทศสเปน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทั้งเกาะเป็ฯอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า ไดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี้มีควมเชื่อว่า เมื่อตายไปแลววิญญาณของผู้ที่เสียขชีวิตจะยังควปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย เกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นมารั้งเมื่อติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับมหาทวีปกอนด์วานา ที่ถือกำเนิดเมื่อ 180 ล้านปีก่อน จนกระทั่ว 140 ล้านปีก่อน กอนด์วานาได้แกตตัวแกออกจากกัน เกาะมาดากัสการ์ได้แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 70 ล้านปีก่อน โดยเรเ่ิมแรกอยู่ติดกับส่วนที่เป็นอินเดียในปัจจุบัน จากนั้นเมื่อ 40 ล้านเปีก่อนอินเดียได้แยกตัวลอยขึ้นเหนือไปชนกับภูมิภาคเอเชียใต้ จนให้เกิดเป็นแนวเทือกเขหิมาลัย ในขณะที่เกาะมาดากัสการ์ได้อยู่ในแนวภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ทางตอนใต้ของเกาะมีสภาพที่แ้งแล้ง แต่ต่อมาได้ค่อย เคลื่อนที่อย่างช้าๆ จนกระทั่งอยู่ใน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหนำ่ชายฝั่งตะวันออกอีกของแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลทำให้เกาะมาดากัสการ์มีสภาพอากาศและ๓ิมประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในปัจจุบัน โดยมีฤดูแ้งนานถึงครึงปี และอีกครึ่งปีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมาเฉลี่ยวันละ 10 นิ้ว ส่งผลให้น้ำท่วมเอ่อล้นเกิดเป็นแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่ง และทุกวันนี้ตัวเกาะก็ยังคงเหลือนที่ต่อไปในทางเหนือเฉลี่ยีละ 3-4 น้ิงจึงทำให้เกาะมาดากัสการ์มีลักษณะของพืชพันธุ์และสัตว์ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของดลก จนได้รับสมญาว่า "ทวีปที่ 8 ของโลก" ในบางประเภทพบได้แต่เฉพราะบนเกาะนี้เท่านั้น จากการปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อศัย เช่น ลีเมอร์ ซึ่งสภาพความหลากหลายของพชและสัตว์บนเกาะถูกนำไปสร้าเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดบริษัท ดรีมเวิร์กสแอนิเมชั่น เรื่อง มาดากัสการ์ และ สารคดทางอนิมอลพลาเน็ต
               เกาะลูซอน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศราฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ(อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันแบละมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือและเกาะต่างๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันตัวเนส เกาะมารินตูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนแรากฎในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดซ้องน้อย" หรือ Lusong kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" หรือ "ลูซอน" ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16  ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา หรือ นิวคาสตีล อีกด้วย ต่อมาใช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ กากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยุ่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่วเกาะลูซอนและเกาะอื่นๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ.1946 ลูซอน
             เกาะซุลาเวซี หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส ซึ่งมาจากาษาโปรตุเกส เป็นหนึ่งในเกาะซุนดาใหญ่ 4 เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดิมทางมายังเกาะแห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์  และเมื่อ พ.ศ. 2448 พื้นที่ทั้เกาะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิคมชาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498
            ภาษาต่างๆ ที่ผุ้พูดในกลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์ หรือกลุ่มภาษาเอสเปโรนีเซีย หรือกลุ่มภษามาลาโย-โพลีเนเซียตะวันตกนอก อาทิ
            - ภาษาบูฮิด ภาษาบูฮิ เป็นภาษาที่พุดโดยชาวมังยันในจังหวัด มินโดโร ฟิลิปปินส์ แบ่งเป็นสำเรียงตะวันออกและตะวันตก มีตัวอักษรเป็นของตนเอง คืออักษรบูฮิด บูฮิด
            - ภาษาฟิลิปิโน เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480  สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถ่ินที่มีการใช้เป้นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2540 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปิโน เมื่อ พ.ศ. 2515
            - ภาษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พุดในประเทศฟิลิปปิน
            - ภาษากินาไรอา อยู่ในตระกูลงิซายัน มีผุ้พุดในจังหวัดอินติเกและอิโลอิโล ประเทศฟิลิปปินส์ จากอิทธิพลของสื่อและพื้นที่ที่ใกล้เคียงกน ผุ้พุดภาษากินาไรอา จะเข้าใจภาษาฮิลีไกนอนได้ แต่ภาษากินาไรอา ไม่ใช่สำเนียงของภาษาฮิลีไกนอน เป็นเพียงภาษาที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น
            - ภาษากินดาเนา เป็นภาษาตระกุลออสโตรนีเซียน ช้พุดเป็นส่วนใหญ่ในจังหวัดมากินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และมีกระจายอยู่ในส่วนอื่นๆ ของเกาะมินดาเนาเช่น ซัมโบวังกา ดาเวา และจังหวัดอื่นๆ เช่น จึงหวัดนอร์ทโกตานาโต จังหวัดเซาท์โกตาบาโต จังหวัดซารังกานี จังหวัดซัมโบอังการเดลซูร์ และจังหวัดซัมโบอังกาซิบูไก รวมทั้เงในมะนิลาด้วย หมวดหมุ่ ภาษาในประเทศฟิลิปปินส์
            - ภาษามาราเนา เป็นภาษาตระกุลออสโตรนีเซียน ใช้พุดในจังหวัดลาเนา เลล นอริเต และลาเนา เดล ซุรในฟิลิปปินส์ มาราเนา
            - ภาษามาลากาซี เป็นภาษาราชของประเทศมาดากัสการ
            - ภาษาวาไร-วาไร ซามาร์-เลย์เต หรือ ซาร์มานอน เป็นภาษาที่ใช้พุดในจังหวัดซามาร์, นอร์เทิร์นซามาร์ อีสเทิร์นซามาร์, เลย์เต และบิลิรันในฟิลิปปินส์ จัดอยูในภาษาตระกูลวิซายัน มีความเกี่ยวข้องกับภาษาเซบัวโนและใกล้เคียงกับภาษาฮ์ลิไกนอน
            - ภาษาอีบานัก มีผุ้พูด ห้าแสนคน ในฟิลิปปินส์ตะวันออกเแียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอีซาเบลา จากการยัน โซลานา จาบากัน และอีลากัน รวมทั้งผุ้อพยพไปอยู่ ตะวันออกกลางและสหรัฐ ผุ้พูดภาาานี้ ส่วนใหญ่จะพูดภาษาอีโลกาโน ที่เป็นภาษากลางของลูซอนภาคเหนือได้ด้วย คำว่า "อีบานัก" มาจาก "บันนัก" แปลว่าแม่น้ำ ใกล้เคียงกับภาษากัตตัง ภาษาอิตาวิส ภาษาอักตา ภาษาโยกัต และภาษามาลาเวก อีบานัก
             - ภาษาอีวาตัน หรืออีบาตัน เป็นภาษาตระกุลออสโตนีเซีย มีผุ้พุดบนเกาะบาดาเนส ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ เนื่องจากอยุ่ใกล้ไต้หวัน จึงมีลักษระใกล้เคียงกับภาษาพื้นเมืองในไต้หวัน มากกวาภาษาในฟิลิปปินส์อื่นๆ แต่ไม่จัดอยุ่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา อักษร "e" จะออกเสียงใกล้เคียงกับ "uh" ในภาษาอังกฤษ เช่น palek ออกเสียงเป็น pa3luhk อีวาตัน
            - ภาษาอีโลกาโน เป็นภาษาที่มีผุ้พุดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็ฯภาษาตระกูลออสดตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาซาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน
           - ภาษาฮานูโนโอ เป็นภาษาที่พูดโดยชาวมังยัน ในจังหวัดมินโคโร ฟิลิปปินส์ เขียนด้วยอักษรฮานูโนโอ ฮานูโนโอ
         
ภูเขาไฟพินาตุโบ
- ภาษาฮิลิไกนอน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียใช้พูดในชิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอิโลอิโล แนะเนโกรส และจังหวัดอื่นๆ ในเกาะปาไน เช่น กาปิซ, อันติเก, อักลัน และกิมารัส มีผุ้พูด 7 ล้านคน ใช้เป็นภาษาแม่ และใช้เป็นภาษาที่สองอีก 4 ล้านคน
          - ภาษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาะารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกุลภาษาออสโตนีเซียน มีความสัมพนธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีติ ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกุลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็ฯภาษากลางภายในประเทศ มีผุ้พุดราว 85 ล้านคนในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากววา
          - ภาษาซัมบัส เป็ฯภาษากลุ่มซัมบาลิกมีผู้พูดส่วนใหญ่ในจังหวัดซัมบาเลส ฟิลิปปินส์มี 2 สำเนียง คือตีนาและโปโตลัน มีผุ้พุดราว 70,000 คน และ 32,867 คน ตามลำดับ ผุ้พูดสำเนียงตีนาพบในซานตาครูซ จันดีลาเรีย มาซินลอก และอีบา และยังพบในเกซอน เกาะปาลาวันด้วย ผุ้พุสำเนียงโบโตลัน พบในโบโตลัน และจาบางัน มีพยัญชนะ 16 เสียง สระ 4 เสียง โครงสร้างพยางค์เป็นแบบ ง.
         - ภาษาปางาซินัน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน สาขามาลาดย-โพลีเนเซีย มีผุ้พุดราว 1.5 ล้านคนในจังหวัดปางาซินัน ทางภาคตะวันตกของเกาะลูซอน คำว่าปางาซินันแปลว่าแผ่นดินเกลือหรือแหล่งบรรจุเกลือ เรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม
       
ภูเขาไฟพินาตุโบในปัจจุบัน
  - ภาษาโบลิเนา เป็นภาษาที่ใช้พุดในเทศบาลปางาซิเนนเซ ของอันดาและเมืองโบลิเนา มีผุ้พุดราว 50,000 คน มากเป็นอันดับสองในภาษากลุ่มซัมบาลิก มีพยัญชนะ 16 เสียง สระ 5 เสียง โครงสร้างพยางค์เป็นแบบ ง.
          - ภาษาเตา หรือภาษายามิเปนภาษากลุ่มบาตานิกพูดโดยชาวเตาในไต้หวัน เป็นภาษาเดียวในไต้หวันที่ไม่อยู่ในภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซา แต่มลักษณะทางภาษาศาสตร์ร่วมกับภาษาอีวาตันที่พุดในเกาะบาตาเนสทางตอนเหนือของฟิลิปปิน
          - ภาษาเตาซูก อยู่ในตระกูลวิซายัน มีผู้พูดในจังหวัดซูลู ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้พูดในมาเลเซีและอินโดนีเซียด้วย
           - ภาษาเซบัวโน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปินส์ 18 ล้านคน ชื่อของภาษามาจากเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึงเชื้อชาด

                   
          - th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา
           http://th.unionpedia.org ค้นหา กลุ่มภาษาบอร์เนียว-ฟิลิปปินส์

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Austronesian languages : Bahasa Melayu

            ภาษามลายู เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผุ้พุดประมาณ 200-250 ล้านคน ดดยเป็นภาษาแม่ของผุ้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะงันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเหาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการต้าในภคใต้ของฟิลิปปินส ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองตาราซาและลบาลาบัก (ซึงมใีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
            ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลาู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
           ภาษามลายูมาตรฐาน(หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่อื่นๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบักน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมุลของเอ็ทนอล็อก วิธภาษามลายูต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก(รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก)มีความสัมพนธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถ่ินของภาษาเดีวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการต้าและภาษาครีโอล จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิมเช่นเดียวกับภาาามลายูมากัสซาร์ ซึ่งประากฎว่าเป็นภาษาผสม
           ไวยากรณ์ ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ
            หน่วยคำเติม รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ท้งคำนามและคำกริยา ดังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memmasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu(กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)
            หน่วยคำเติมที่ 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย apitan และอาคม sisipan หน่วยคำเติมเหล่นนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์..ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น mahajuru-pasca-eka-ati-pro
         
  คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยคคำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรงหรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วกันตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ เป็นต้น
             การซ้ำคำ ในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย
             ลักษณนาม ภาษามลายูมีการใช้ลักษณะนามเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในเอชเีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม  และภาษาเบงการลี
            คำนำหน้าที่ มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวการณ์ในประดยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่นๆ
            คำปฎิเสธ คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายู มี 2 คำ คือ bukan และ tikan bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบทส่วน tidak  ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
            เพศทางไวยกรณ์ โดยทั่วไปมีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามะรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ "brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศเช่น puteri (เจ้าหญิง) และ putera (เจ้าชาย)
           การทำให้เป็นพหูพจน์ โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan - cawan แต่ลดรูปเ้หลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang  แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang, คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพนูพจน์
           นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับ แต่ hati-hati หมายถึงระวัง..
           คำกริยาไม่มีการันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งการ แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยเกว้นไม่ใช้ในการสนทนา
           การเรียงลำดับคำ โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย
            ภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนาป ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีน บางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษโดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค ...

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Austronesian languages : Bahasa Indonesia

         
ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เร่ิมต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียมีส่วนใหญ่พูดภาษาอินดดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พุดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถ่ินของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส
           ถาษาอินโดนีเซียเป็นทำเนียบภาษามาตรฐานของภาษามลายูเรียว ซึงแม้จะมชื่อเรียกเช่นนั้นแต่ก็ไม่ใช่ภาษามลายูที่เป็นสำเนียงท้องถ่ินของหมู่เกาะเรียว แต่หมายถึงภาาามลายุคลาสสิกที่าใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านมะละกา จาเดิมที่มีผู้ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ภาษามลายูได้กลายเป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันมาหลายร้อยปี จารึกเกอดูกันบูกิตเป็นหลัก,านที่เก่าที่สุดที่ใช้ภาษามลายูโบราณซึ่งเป็ฯภาษาราชการในสัยจักรวรรดิศรีวิชัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นจั้นมา ภษามลายูโบราณได้มีการใช้ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เห็นได้จากจารึกสมัยศรีวิชัยและจารึกอื่นๆ ตามบริเวณชายฝัง เช่นที่เกาะชวา การติดต่อค้าขายโดยชาวพื้นเมืองในเวลานั้นเป็นสื่อกลางในการแพร่กระจายของภาษามลายูโบราณในฐานะภาษาทางการต้า และกลายเป็นภาษากลางที่มีผู้ใช้อย่างแพรหลายในบริวเณหมู่เกาะ
          ภาษาอินโดนีเซียได้พัฒนามาสู่สภานะของภาษาราชการเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 โดยเริ่มต้นจากการปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ภาษาอินโดนีเซียในรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษามาเลเซีย (ภาษามลายูมตรฐานในมาเลเซียและบรูไน) แต่มีความแตกต่างจากภาาามาเลเซียหลายประการเช่นการออกเสียงและคำศัพท์ ความแตกต่างนี้มาจากอิทธพิลของภาษาชวาและภาษาดัตช์ในภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซยยังได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปาซาร์ (ภาษามลายูตลาด) ที่เป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะในสมัยอาณานิคม มีากรอ้างว่าภาษามลายูในมาเลเซียใกล้เคียงกับภาษามลายูคลาสสิกมากกว่า แต่ภาษามาเลเว๊ยสมัยใหม่ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านรากศัพท์และประโยคจากภาษาอังกฤษด้วย ประเด็นที่ว่าภาษาอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดที่แท้จริงจากภาษามลายูระดับสูง(ภาษามลายูราชสำนัก) หรือจากภาษามลายูระดับล่าง (ภาษามลายูตลาด) กันแน่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกนอยู่ ภาาามลายูระดับสูงเคยเป็นภาษาที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสต่ายะโฮร์ และในเขตบริหารของเนเธอร์แลนด์ในรัฐยะโฮร์ ส่วนภาษามลายูระดับล่างเป็นภาษาที่ใช้กันในสถานที่ซื้อขายและตามท่าเรือในเกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มกล่าววาภาษามลายุระดับล่างนี้เป็นพื้นฐานของภาษาอินโดนีเซีย
         
ภาษาอินโดนีเซียมีผุ้พุดเป็นภาษาแม่หรือภาาาที่หนึ่งเพียงส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย(ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง เช่น จาการ์ตา เมดานบาลิก์ปาปัน) แต่มีคนถึง 200 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจภชาติโดยมีระดับความชำนาญตกต่างกันไป ในชาติที่มีภ-าษาพื้นเมืองมากกว่า 300 ภาษาและยังมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายเช่นนี้ ภาษาประจำชาติมีบทบาทสำคัญมากในการสร้้างความเป้นหนึ่งเดียวระหว่างผุ้คนจากเกาะต่างๆ ทั่วประเทศ การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติพบมากในสื่อหน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และในสถานการณ์ที่เป้ฯทางการ ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานและเป็นทางการมักใช้ในการเขียนหนังสือและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการประกาศข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตาม มีผุ้พุดภาษาอินโดนีเซียเป้ฯภาษาแม่เพียงจำนวนน้อยที่ใช้ภาษาระดับทางการในการสนทนาในชีวิตประจำวัน
           ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซีย ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในด้านการศึกษา เอกสารทางราชการเขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย และเป็นภาาาในสื่อในอินโดนีเซีย เชน วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาษานี้ใช้อย่างแพร่หลายทั่วอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูยของสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาตรา 15 ซึ่งได้กำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติของอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติ ภาษานี้เป็นภาษาที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียงของกลุ่มชาติพันธ์ุที่แตกต่างกันในอินโดนีเซียและเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร
          ภาษานี้ได้ประกาศให้เป็นภาษาเดียวของชาติในปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมือ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 โดยกำหนดให้ภาษามีพื้นฐานจากภาษามลายูสำเนียงเรียวแม้ว่านักภาษาศาสตร์จะหล่าว่านี้ไม่ช้สำเนียงท้องถ่ินของเรียวแต่เป็นสำเนียงมะละกาที่ใช้ในราชการสำนักของยะโอร์-เรียว ตั้งแต่ประกาศใน พ.ศ. 2471 และการกำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2488 ภาษานี้ได้ใช้ในอินโดนีเซียตลอดมา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาของกลุ่มชาติพันธ์ุอื่นๆ ในอินโดนีเซีย เช่น ภาษาชวา และภาษาดัตช์ในสมัยอาณานิคม ดังนั้ ภาษาอินโดนีเซียจึงมีคำยืมที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับภาษามลายู ในอีกมุมมองหนึ่ง ภาษาอินโดนีเซียจึงมีสถานะเหมือนเป็นภาษาประดิษฐ์ที่เป้ฯภาษาราชการใน พ.ศ. 2471 เนื่องจากเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางวิชาการมากว่าเกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ
           การพัฒนาแยกกันระหว่างภาษามาเลเซียในมาเลเซียกับภาษาอนโดนีเซียทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุผลมาจากความละเอียดอ่อนทางการเมืองและประวัติการวางมาตฐานภาษามากว่าจะเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรม ในมาเลเซียจะถือว่าภาษาทั้งสองเป็นสำเนียงที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน แต่ในอินโดนีเซียมองว่าเป็นภาษาต่างหากจากกัน (แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน) ทัศนคติเช่นนี้มีผลให้ชาวอินโดนีเซียไม่ค่อยต้องการให้ภาษาของตนไปกลมกลืนกับภาษาของมาเลเซียและบรูไน ในขณะที่ชาวมาเลเซียต้องการแสดงให้เก็นว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในวิวัฒนการของภาษาร่วมกับชาวอินโดนีเซีย กระนั้นในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการเขียนภาษาอนโดนีเซียโดยเปลี่ยนการสะกดที่อิงแบบภาษาดัตช์มาเป็นแบบที่อิงภาษาอังกฤษอย่างภาษามาเลเซีย
           ระบบการเขียน ภาษาอินโดนีเซียเชียนด้วยอักษรละติน การออกเสียงพยัญชนะใกล้เคียงกับภาษาอิตาลี การสะกดอาจสร้างความสับสนบ้างเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวสะกอดเมื่อินโดนีเซียได้รับเอกราช ได้แก่ การเปลี่ยนจาก oe เป็น u เมื่อ พ.ศ. 2490 และการเปลี่ยน tj เป็น c dj เป็น j, nj เป็น sy, ch เป็น kh เมื่อ พ.ศ. 2515 การสะกดแบบเก่าได้อิทธิพลจากภาษาดัตช์ และใช้กับชื่อเฉพาะที่สะกดมาก่อนหน้านั้น เช่นชื่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โต สะกดว่า Soehato (oe ในภาษาดัตช์ออกเสียง อู) และยอกยาการ์ตา ปัจจุบันเขียน Yogyakarta แต่บางครั้งเขียนว่า Jogjakarta (j ในภาษาดัตช์ออกเสียง ย)
           สัทวิทยา
           สระ หน่วยเสียงสะกดเดียวภาษาอินโดนีเซีย ประเภท สระลิ้นยกสูง(ปิด) สระหน้า i, สระกลางลิ้น-, สระหลัง u, สระลิ้นระดับกลาง e, สระกลางลิ้น ə, สระหลัง o , สระลิ้นลดต่ำ สระหน้า-, สระกลางลิ้น a, สระหลัง-,
           พยัญชนะ หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาอินโดนีเซีย ประกอบด้วย
           - เสียงนาสิก m ริมฝีปาก, n ปุ่มเหงือก, ɲ เพดานอ่อน, ŋ เพดานแข็ง
           - เสียงกัก เสียงแทรก t͡ʃ  d͡ʒ หลังปุ่มเหลือก
           - เสียงเสียด เสียงแทรก (f) ริมฝีปากกับฟัน , (z) ปุ่มเหงือก, (ʃ) หลังปุ่มเหงือก, เส้นเสียง,
           - เสียงเปิด w ริมฝีปาก, j เพดานแข็ง
           - เสียงลิ้นสะบัด/เสียงรัว r ปุ่มเหงือก, j เพดานเเข็ง
           - เสียงข้างลิ้น l ปุ่มเหงือก
            ไวยากรณ์
             คำคุณศัพท์ ในภาษาอินโดนีเซียตามหลังคำนาม อาทิ
             Ini buku merah นี้ หนังสือ สีแดง ภาษาไทย นีคือหนังสือสีแดง ภาษาอังกฤษ This is a red book.
             ปัจจัย ภาษาอินโดนีเซียมีระบปัจจัยที่ซับซ้อน วิะีสร้างคำทำได้หลายแบบ ได้แก่
              - ปัจจัย Ber + ajar (สอน) = BeLajar (ลบ 'L') = เรียน
              - ปัจจัย Me + ajar + -kan = meNGajarKan (เติม 'NG') = สอน (สกรรมกริยา)
              - ปัจจัย Ber + judi (พนัน) = Berjudi (Ber- ไม่เปลี่ยนรูป) = เล่นการพนัน
         
  - ปัจจัย Me + judi + -kan = meNjudikan (เติม 'N') = เสียการพนัน
             คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้ เช่น me + makan (memakan) หมายถึงกิน (ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที่ ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปลี่ยนความหมายของคำ เช่น duduk หมายถึง นั่งลง mendududuk หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง เป็ฯต้น
              ปัจจัยในภาษาอินโดนีเซียที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาสันกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha-, juru-, pasca-, eka-, anti-,pro-...
               เพศทางไวยากรณ์ ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย คำจำนวนมากที่อ้างถึงุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่าง เช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง "คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าต้องการระบุเพศคำคุณศัพท์เข้ามา ไม่มีคำที่มีความทหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man"
               คำบางคำมีการแบ่งเพศบาง ชเ่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หท่นถุวบูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น เช่น ตัวอย่างข้างต้นเป็นคำยือมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตา และบางพื้นที่ abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย klakak (พี่ที่สืบสายดลหิตเดียวกัน) หมายถึงพี่สาว
              คำประสม ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำหใาด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ruman หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น ruman makan หมายถึง ภัตตาคาร ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึงการแตะบอล..
             ลักษณะนาม ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณะนามเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษระนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต lembar ใช้กับกระดาษ เป็นต้น
             คำปฏิเสธ ภาษาอินโดนีเซียมีรุปคำปฏิเสธสามคำคือ tidak bukan และ belam
             - Tidak บางครั้งลดรุปเหลือ tak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและคุณศัพท์ เช่น  Saya tidak tahu (ฉันไม่รู้)
             - Bukan ใช้ปฏิเสธคำนาม เช่น Itu bukan seekoranjing (นั่นไม่ใช้หมา)
             - Belum ใข้ปฏิเสธประโยคหรือวลีที่บางอย่างยังไม่สมบุรณ์ และใช้ตอบปฏิเสธคำถาม เช่น Anda sudan pernah ke Indonesia (Belum?) = คุนเคยอยู่อินโดนีเซียมาก่อน(หรือไม่)..
              คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาาาอินโดนีเซีย คือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ Jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน
               พหูพจน์ การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำซ้ำบางคำก็ไม่แสดงพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับริบท ในขณะที่ hati-hati  หมายถึง ระมัดระวัง ..
              สรรพนาม แทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ kita (รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่ saya เป็นทางการมากว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรษที่ 2 มีสามคำคือ kamu anda และ kalain anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้ ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆ อีก ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถ่ิน คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น
           
 สรรพนามชี้เฉพาะ มีสองคำคือ ini ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดและ itu (โน่น) ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์
             การเรียงลำดับคำ รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม แต่จะใช้รูปถูกกระทำ กรรม-กริย- (ประธาน) ได้ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย
             กริยา ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาาาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถุกกระทำ การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ
            การเน้น ในการพูด การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูุปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขึยน ตัวอย่าง เช่น
            saya pergi ke pasar kemarin = ฉันไปตลาดเมือวานนี้ (รูปปกติหรือเน้นประธาน)
            Kemarin saya pergi ke pasar = เมื่อว่านนี้ไปตลาด (เน้นที่เมือวาน)
            Ke pasar saya pergi, kemarin = ที่ตลาด, ฉันไปเมื่อวานนี้ (เน้นสถานที่ที่ไป)
            Pergi ke pasar , saya, kemarin = ไปตลาด, ฉัน, เมื่อวานนี้ (เน้นที่การเดินทาง)
            คำศัพท์ ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษามลายูสมัยใหม่ มีคำยืมจากภาาต่างๆ มากมาย เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ(รวมภาษาเปอร์เซียและภาษาฮิบรู) ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาตระกุลออสโตเซียน
           คำที่ยืมมาจากภาาาสันสกฤตได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูมัทั้งที่ยืมจากภาาาสันสกฤตโดยตรงและยืมผ่านภาษาชวา คำจากภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่เข้ามาเป็นพื้นฐานของศัพท์ภาษาอินโดนีเซียจนไม่รู้สึกว่าเป็นศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนคำยืมจากภาษาอาหรับนั้น ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม การแปลคัมภีร์ไบเบิลยุคแรกๆ จะใช้คำจากภาษาอาหรับแทนที่คำเฉพาะที่เป็นภาษาฮีบรู แต่ปัจจุบันเร่ิมหันไปใช้คำจากภาษากรีกหรือคำจากภาษาฮีบรูมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่าพระเยซู เดิมใช้ว่า Isa แบบอาหรับ ปัจจุบันใช้ว่า Yesus
         คำยืมจากภาษาโปรตุเกสเป็นคำทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ คำยืมจากภาษาจีน มักเป็นศัพท์เกี่ยวกับการต้าหรือสิ่งของหรือสิ่งของที่มาจากจีน คำยืมจากภาษาดัตช์เป็นผลจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์มาก่อน คำยืมกลุ่มนี้มักมีลำดับพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียง ซึ่งแก้ปัญหาโดยการแทรกเสียงสระเข้าไป เช่น schroef (สครุฟ) จากภาษาดัตช์ เป็น sekrup (เซอกรุป) ในภาษาอินโดนีเซีย
           เนื่องจากมีคำยืมใจากหลายภาษาจึงมีคำที่มีความหมายเหมือนกันมาก เช่นคำว่า "หนังสือ" มีถึง 3 คำคือ pustaka จากภาษาสันสกฤต kitab จากภาษาอาหรับ และ buku จากภาษาดัตช์ ความหมายของทั้ง 3 คำนี้ต่างกันเล็กน้อย pustaka ใช้กับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวโบราณ หรือความรู้ในวงจำกัด ถ้าอยู่ในรูป perpustakaan หมายถึงห้องสมุด kitap ใช้กับหนังสือทางศาสนา เช่น alkitab หมายถึงคัมภีร์ไบเบิล buku ใช้เรียกหนังสือทั่วไปth.wikipedia.org/wiki/ภาษาอินโดนีเซีย

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Austronesian languages : Tagalog

            Kumasta Ako si Phitsanu natutuwa na alamno.  ภาษาตากาล็อกเป็นหนึ่งในภษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษ
าอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาอาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาาาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาประจำชาติและภาษาราชการคุ่กับภาษาอักฤษในประเทศฟิลิปปินส ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผุ้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า
            ภาษาตากการล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ16 เสียง เสียงสระ 5 เสียงก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตาการล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/,/i/,/u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพ่มสระอีก 2 เสียง คือ /e/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพ่ิมอีก 4 เสียงคือ /aI/,/oI/,/aU/ และ/iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย
            ไวยากรณ์ ภาษาตากการล็อกเรียงประดยคแบบกริยาภ-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกรยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน
           
 คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถ่ินของและ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้งหมายถึงผู้อาศัยอยุ่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตาการล็อำ ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตงวรรษที่ 21 เหลืออยุ่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยุ่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลาุงจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก
             หลังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากกาล็อกคือ Doctina Cristina ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังือเล่มนี้เขึยนด้วยภาษาสเปน และภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยุ่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน
            ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันแห่งชาติโดยใช้ภาาาตากาล็อกเป็ฯพื้ฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ)ดดยประธานาธิบดี มานูแอล เอเล, เกซอน เมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยชื่อเป็นภาษาปิลิปีโนใน พ.ศ. 2520  แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ไ้รับการยอมรับจากผุ้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อกโดยเฉพาะผุ้พุดภาษาเซบัวโน
             ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาาาประจำชาติจากภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาฟิลิปีโน โดยภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาที่ปสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน
             การจัดจำแนก ภาษาตากกาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่นๆ เช่น ภาาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีติ ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาาาที่พุดในบิกอล และวิซายา เช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบัวโน ภาษาที่มีอิทธิพบต่อาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามลายูโลราณ และภาษาทมิฆ

       
 การแพร่กระจายทางภูมิศาสสตร์ ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในอาโรรา บาตายัน บาตังกัส บูลาจัน ลามารียเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภษาตากการล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผุ้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือแบะทางตะวันตกของมินโดโร มีผุ้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พูดาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยงบริเวณอืนๆ ทั่วโลก แตามีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
           ระบบการเขียน ภษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายิน ก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัวและพยัญชนะ 14 ตัวเมื่อเที่ยบกับตระกูลอักษรพราหมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่า สืบทอดมาจากอักษรบูกิส ในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไปเพราะนิยมใช้อักษรละติน ที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของเปน อักษรบายบายินถูกกำหนดด้วยยูนิโคด รุ่น 3.2 ในช่วง 1700-1701F ด้วยชื่อ "Tagalog"
           ในช่วงศตวรรษที่ 20  ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากกาล็อก โลป เค. ซานโตส ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว.. เครื่องหมายng และรูปพหูพจน์ mng เป็นตัวย่อ ออกเสียวว่า นัง และมางา ตามลำดับหมายถึง ของ เมื่อ
            ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440 ใน พ.ศ. 2578 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่างๆ ของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตาการล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ในพ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาาาฟิลีปีโน ในปีเดียวกัน
         
ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภษาปิลิปิโนเป้นภาาาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาาาประจำชาติขึ้นใหม่ซึ่งเป็ฯที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปิโน
             ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปีโนกับภาษาตากาล็อก คำว่าฟิลิปิโนและตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใหกล้เคยงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ภษาฟิลิปีโนเป็นภาษาประจภชาติของฟิลิปปินส์ มีผุ้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็ฯภาษาที่สองของประชกรอีกราว 80% ส่วนภาษาตากกาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พุดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปิโน เพราะผุ้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตาการล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผุ้ที่พุดภาษาฟิลิปีโนเป็นภาาาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตาการล็อกเป็นภาษามี่สอง แต่มักถือว่าเป็นผุ้พุดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า
             ภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่างๆ แต่มีความสำคัญนอยกว่าภาษาอังกษ รวมทั้งในการเรยนการสอนด้านวิทยาศสาตร์แต่ถือว่าคู่คีกับภาษาอังกฤษในด้านการต้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปิโนใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตาการล็อก
              ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศุนย์กลางอยุ่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปิโนมีประวัติย้อนหลัง ความแตกต่างเร่ิมชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาาาราชการเมือ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปิโนมีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรมี่มาจากภาษาสเปน n ) และมีระบบของเสียงและคำยืมที่เปิดหว้างสำหรับคำยืมจากภาาาต่างชติและภาษาพื้นเมืองอื่นๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว และระบบของหน่วยสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาาาละตินของวาติกัน
            เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปีโนเป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากขื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปิโนมีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่นๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภษาเซบัวโนเป้ฯภาาากลางแฃละเมืองบากุยโอที่เขยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษรจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปิโน ห่างไกลกันยิ่งขึ้น...th.wikipedia.org/wiki/ภาษาตากาล็อก

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Austronesian languages : Sunda (Basa Sunda)

            ซุนดาหมายถึง บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะซูลาเวซี เกาะลอมบอก เกาะซุมบาวา เกาะฟลอเรส เกาะซุมบา เกาะติมอร์
             ชาวซุนดา คือกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่งในประเทศอินโดนีเซียอาศัยอู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะชวา มีจำนวนประมาณ 31 ล้านคนชาวซุนดาใช้ภาษาหลักคือภาษาซุนดาและนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ เดิมนั้นชาวซุนดามักจะอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดชวาตะวันตกฐ บันเดิน และจากการ์ตา รวมทั้งพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดชวากลาง สำหรับชวากลางและ ชวาตะวันออกนั้น เป็นถ่ิ่นฐานเดิมอขชงชาว ชวา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
             วัฒนธรรมของชาวซุนดานั้นส่วนใหญ่ยืมมาจากวัฒนธรรมชวา แต่มีความแตกต่างออกไปเนื่องจากการนับถือศาสนาอิสลาม และมีลำดับชั้นทางสังคมที่แข้.แกร่งน้อยกว่ามากth.wikipedia.org/wiki/ชาวซุนดา
              ภาษาซุนดา เป็นภาษาที่ใช้พุดในหมู่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียน ในเขตชวาตะวันตก อยู่ในตระกูลออโตรนีเซียน สาขามลาโย-โพลีนีเซียน สำเนียงปรีงาอันเป็นสำเนียงที่มีการสอนในระดับประถมศึกษา ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละติน สระเดียวมี 7 เสียงคือ  a e' i o u e eu พยัญชนะได้แก่  p b t d k c j h ng ny m n s w l r y พยัญชนะอื่นที่ปรากฎในคำยืมจากภาษาอินโดนีเซียน ออกเสียงดังนี้ f ออกเสียงเป็น p v ออกเสียงเป็น p sy ออก เสียงเป็น s sh ออกเสียงเป็น s z ออกเสียงเป็น j kh ออกเสียงเป็น h th.wikipedia.org/wiki/ภาษาซุนดา

             หมู่เกาะซุนดา คือหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมุ่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะบอร์เนียว เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะซูลาเวซี หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วย บาหลี หมู่เกาะลอมบอก หมู่เกาะซุมบาวา หมู่เกาะฟลอเรส หมู่เกาะซุมบา หมู่เกาะติมอร์ ปัจจุบันอาณาบริเวณของหมุ่เกาะนี้ถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ของประเทศบรูไน ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย และมเซียth.wikipedia.org/wiki/หมู่เกาะซุนดา
               ไหล่ทวีปซุนดา เป็นแลนด์ลริดจ์ต่อกับซาฮุลตรงช่องแคบวอลเลซที่บรรพบุรุษคนอเบอริจิ้นใช้ข้ามอพยพไปอยู่บนทวีปออสเตรเลียเนื่องจากเคยเป็นแผนดิน ทำให้ หลักฐานการตั้งหลักแหล่งจมอยุ่ใต้น้ำ เพราะคาบสมุทรมาลายาที่เราเห็น แท้จริงคือเขตสันภูเขา และอ่าวไทยไม่ลึกนัก นัดเดินเรือน้ำลึกลำบาก  ชีวมวลทั้งหลายจมน้ำแลโดนบีบอัดเป็นปิโตเลียม โดยจะเห็นได้จาก ถ้าเวียดนามและพม่ามีปิโตรเลียม ทะเลระหว่างญี่ป่นุ-จีน-เกาหลีก็มีปิโตเลียม ปรเทศไทยเราก็มีเช่นกันhttp://konthaigupandin.blogspot.com
                เขตชีวภาพซุนดาแล้นด์ เป็นชื่อเรียกการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ทางชีวภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกบริเวณตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไปถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะบอร์เนียว, เหาะสุมาตร, เกาะชวาและเกาะบาหลี
                 โดยสภาพอากาศของซุนดาแลนด์นั้น มีความชื้นสูง ในบางพื้นที่ฝนอาจตกติดต่อกันหลายวันจนะเป็นสัปดาห์ ความแตกต่างของแต่ละฤดูกาลมีไม่มากนัก พรรณพืชที่ขึ้นนั้นโดยมากเ็นพืชที่ไม่ต้องใช้แสงอาทิตย์ในการเติบโต ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้นมีต้นไใ้ขนาดใหญ่ขึ้นหนาแน่น สัตว์ป่าที่อยุ่อาศัย มักเป็นสัตว์ที่หากินตามพื้นหรือสามารถอาศัยหากินได้บนต้นไม่สูง th.wikipedia.org/wiki/ซุนดาแลนด์
                 ชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนน้อยที่สุดในอินโดนีเซีย  "บาดุย" รวมทั้งหมดแล้วอาจไม่เกิน หนึ่งพันคน เรื่องราวของพวกเขามีคนรู้น้อยมาก รวมทั้งนักวิชาการที่พยายามเข้าไปศึกษามาเกือบ 200 ปีแล้ว ก็แทบจะหาข้อมูลอะไรเกี่ยวกับพวกเขาได้ยาก เพราะบาดุยปิดตัวเอง ไม่อยากคบหาสมาคมกับใครเพราะเกรงว่าจะทำให้ตัวต้อง "แปดเปื้อน" ด้วยสิ่งที่เรียกว่าอารยธรรมในปัจจุบัน
             
  ชาติพันธ์กลุ่มนี้ตั้งภูมิลำเนาอยุ่ในซุนดา ไม่ไกลจากเทือกเขาต่างๆ แถบเมืองโบกอร์นัก คือบนทิวเขาบาดุย ซึงมีแม่น้ำชื่อเดียวกันในหุบ ชื่อของชนเผ่าจึงมาจากชื่อสถานที่ซึ่งพวกเขาเห็นว่าเป้นคำที่ออกจะเหยียดๆ เพราะพวกเขาเรียกตัวเองว่าคน "ราวาจัน" จะว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่สูงส่งก็ไม่เชิงที่เดียว เพราะป็นชื่อของปมุ่บ้านที่เขาอาศยอยุ่เท่านั้นเอง บาดุยเป็นชื่อภูเขา คงทำให้รู้สึกว่าตัวเป็นชาวป่าชาวเขา ในขณะที่อย่างน้อยราวาจันก็เป็นชื่อบ้าน ฟังดูะป็นชาวบ้านกว่าเท่านั้นเอง
                พวกเขาเป็นใครมาจากไหนแน่ ไม่มีใครรู้ชัด แต่มีตำนานที่เล่ากันมาในปมุ่พวกเขาเองว่ เมื่อตอนเมอืงทางตอนเหนือของซุนดาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ผุ้ปกครองมุสลิมขยายอำนาจเข้าไปส่วนในของเกาะชวา อาณาจักรฮินดู-พุทธของซุนดาขณะนั้นคือปะจาจะรัน ถูกมุสลิมโจมตีแตกสลาย ประชาชนและผู้ปกครองถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา คนกลุ่มหนึ่งไม่ยอมเปลี่ยนจึงต้องหลบหนีไปอยุ่ตามป่าเขา เลือกทำเลได้ที่ภูเขาบาดุยนี้ อันเป็นที่ห่างไกลแต่อุดาสมบูรณ์ และอยุ่กันมาดดยไม่ถูกรบกวนจนถึงทุกวันนี้...
               นักวิชาการสามารถพิสุจน์ตำนานนี้ได้เพียงว่า พวกบาดุยน่าจะเป็นชาวซุนดาอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะภาษาของเขาเป็นภาษาซุนดาเก่าแน่ ส่วนเรื่องการหนีมุสลิมนันไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ แต่จนถึงทุกวันนี้พวกเขาก็เป็นชาวพื้นเมืองจำนวนน้อยนิดบนเกาะชวา ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม
               ศาสนาที่พวกเขานับถือคือศาสนาที่อาจเรียกกว้างๆ ว่า ศาสนาพื้นเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มีร่องรอยว่าผสมปนเปด้วยศาสนาจากภายนอกคือฮินดูและพุทธด้วยแน่ แม้แต่ศาสนาอิสลามเองก็อาจมีอิทธิพลในความเชื่อของเขาด้วย เพราะเขาเรียกพระเจ้าสูงสุดของเขาว่า Batara Badui Dalam แปลวว่า บาดุยส่วนใน ประกอบด้วยหมุ่บ้านสามหมุ่บ้าน แต่ละหมุ่บ้านมีหัวหน้าเรียกว่า ปุอุน ซึ่วมีบริวารคอยช่วยเหลือในการปกครองดูแลลูกบ้าน ชาวย้านเชื่อว่าปูอุนแต่ละคนล้วนสืบเชื่อสายมาจากาบาตาราตุงกั ฉะนั้น จึงมีอิทธิฤทธิ์บางอย่าง เช่น เรียกฝนหรือหยุดฝนได้ ตลอดจนมีญาณทิพย์อาจล่วงรุ้อะไรต่อมิอะไรได้หมด ทั้งความรุ้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่วฝรั่งเพ่ิงมารู้ในภายหัง และใครล่วงละเมิดข้อห้ามต่างๆ ของชนเผ่า
           
   ในสามาหมู้บ้านของบาดุยส่วนในนี้ จะมีครัวเรือนรวมกันเกิน 40 ครัวเรือนไม่ได้ เพราะฉะนั้น หากมีครัวเรือนเพ่ิมขึ้น บาดุยก็จะตัดสินว่าครัวเรือนใดจะต้องย้ายออกไป
                การเพาะปลูกไม่มีการทดน้ำ ซ่ำยังค่อยข้าต่อต้านการทดน้ำด้วย เพราะเชื่อว่าปูอนมีอิทธิฤทธิ์เรียกวฝนหรือห้ามฝนได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีการชลประทาน บาดุยมองการชลประทานว่าผิดธรรมชาติ และไม่ยอมให้นายอำเภอในเขตใกล้เคยงพัฒนาชลประทาน หากต้องมาละเมิดน้ำส่วยที่ผ่านหมู่บ้าของบาดุย การเลี้ยงสัตว์เป็นการละเมิดข้อห้ามของบาดุย มีสัตว์เล้ยงอยุ่เพียงสุนัข เป็นและไก่ เท่านั้น และด้วยเหตุดัง จึงไม่ค่อยได้ใช้เครืองมือในกาเรพาะปลูก และคงแทบไม่ได้เตรียมดิน เพราะจะใช้แม้แต่จอบก็ถือว่าละเมิดข้อห้ามเหมือนกัน
               เมื่อดูจากข้อกำหนดมิให้สมหาู่บ้านในบาดุยส่วนในมีมากกว่า 40 ครัวเรือน บวกกับข้อห้ามต่างๆ แล้วก็พอจะเห็นได้ว่า ชีวิตของเขาคงอยู่กันอย่าง "พอเพียง" จริงๆ คืออาศัยทรัพยากรจากธรรมชาติดดยตรงเป็นส่วนใหญ่ และด้วยเหตุดังนี้นจึงไม่สามารถรองรับคนได้เกิน 40 ครัวเรือน เพราะต้องจำกัดคนให้พอดีกับทรัพยากรที่มีอยุ่...
                ข้อห้ามในชีวิตของบาดุนั้นมีหลายอย่าง จะแตะต้องเงินตราไม่ได้เป็นอันขาด ไม่รับของขวัญจากใครไม่ขึ้นพาหนะใดๆ ทั้งสิ้น ห้ามดื่มเหล้าและสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด ไม่มองผู้หญิงด้วยตัฯหา ไม่นอนบนสิ่งใดนอกจากเสื่อซึ่งต้องลาดบนพื้นดินเท่านั้น ไม่กินอาหารเย็นก่อนค่ำ ไม่นุ่งผ้าสีดื่อนใดจอกจากขาว น้ำเงิน และดำ นอกจากข้อห้ามในการดำเนินชีวิตแล้ว ยังมีข้อห้ามหรือศีลในศาสนาซึ่งคล้ายฟ กับศีลในพุทธศาสนา เช่น ห้ามฆ่า ห้ามขโมย ห้ามผิดลูกเมีย และห้าใช้ความรุนแรง เป็นต้น
               ข้อห้ามสำคัญอีกอย่างของบดุย คือห้ามการอ่านเขียนหนังสือ เพราะเชื่อว่าการศึกษาที่ต้องอ่านเขียนได้ย่อมนำความเสื่อมาให้ การศึกษาที่ประเสริฐต้องเรยนรุ้จากะรรมชาติและวัฒนธรรมที่ตกทอดมากจากบรรพบุรุษ..
                ความพยายามที่จะอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเผ้าระวังรักษาจิจใจตนเองด้วยการทำสมาธิและถือศีลเคร่งครัด ทำความลำบากใจแก่รัฐบาลอินโดนีเซียพอสมควร อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเคยของพบปูอุนทั้งสามโดยเดินทงมาเจรจากันในบาดุยส่วนนอก ปรธานาธิบดีเสนอดครงการพัฒนามากมายหลายอย่างแต่ชาวบาดุยขออยุ่อย่างเดิม ซูฮาร์โตต้องกลับไปโดยไม่สามารถเปิดดินแดนบาดุยให้แก่การพัฒนาตามดรงการของรัฐได้ ซูฮาร์โตปล่อยให้บาดุยดำเนินชีวิตตามอุดคติของเขาืบมาจนทุกวันนี้..http://serichon.org/board/index.php?topic=42278.0;wap2

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...