วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
Austronesian languages : Bahasa Indonesia
ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เร่ิมต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียมีส่วนใหญ่พูดภาษาอินดดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พุดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถ่ินของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส
ถาษาอินโดนีเซียเป็นทำเนียบภาษามาตรฐานของภาษามลายูเรียว ซึงแม้จะมชื่อเรียกเช่นนั้นแต่ก็ไม่ใช่ภาษามลายูที่เป็นสำเนียงท้องถ่ินของหมู่เกาะเรียว แต่หมายถึงภาาามลายุคลาสสิกที่าใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านมะละกา จาเดิมที่มีผู้ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ภาษามลายูได้กลายเป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันมาหลายร้อยปี จารึกเกอดูกันบูกิตเป็นหลัก,านที่เก่าที่สุดที่ใช้ภาษามลายูโบราณซึ่งเป็ฯภาษาราชการในสัยจักรวรรดิศรีวิชัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นจั้นมา ภษามลายูโบราณได้มีการใช้ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เห็นได้จากจารึกสมัยศรีวิชัยและจารึกอื่นๆ ตามบริเวณชายฝัง เช่นที่เกาะชวา การติดต่อค้าขายโดยชาวพื้นเมืองในเวลานั้นเป็นสื่อกลางในการแพร่กระจายของภาษามลายูโบราณในฐานะภาษาทางการต้า และกลายเป็นภาษากลางที่มีผู้ใช้อย่างแพรหลายในบริวเณหมู่เกาะ
ภาษาอินโดนีเซียได้พัฒนามาสู่สภานะของภาษาราชการเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 โดยเริ่มต้นจากการปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ภาษาอินโดนีเซียในรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษามาเลเซีย (ภาษามลายูมตรฐานในมาเลเซียและบรูไน) แต่มีความแตกต่างจากภาาามาเลเซียหลายประการเช่นการออกเสียงและคำศัพท์ ความแตกต่างนี้มาจากอิทธพิลของภาษาชวาและภาษาดัตช์ในภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซยยังได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปาซาร์ (ภาษามลายูตลาด) ที่เป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะในสมัยอาณานิคม มีากรอ้างว่าภาษามลายูในมาเลเซียใกล้เคียงกับภาษามลายูคลาสสิกมากกว่า แต่ภาษามาเลเว๊ยสมัยใหม่ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านรากศัพท์และประโยคจากภาษาอังกฤษด้วย ประเด็นที่ว่าภาษาอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดที่แท้จริงจากภาษามลายูระดับสูง(ภาษามลายูราชสำนัก) หรือจากภาษามลายูระดับล่าง (ภาษามลายูตลาด) กันแน่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกนอยู่ ภาาามลายูระดับสูงเคยเป็นภาษาที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสต่ายะโฮร์ และในเขตบริหารของเนเธอร์แลนด์ในรัฐยะโฮร์ ส่วนภาษามลายูระดับล่างเป็นภาษาที่ใช้กันในสถานที่ซื้อขายและตามท่าเรือในเกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มกล่าววาภาษามลายุระดับล่างนี้เป็นพื้นฐานของภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียมีผุ้พุดเป็นภาษาแม่หรือภาาาที่หนึ่งเพียงส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย(ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง เช่น จาการ์ตา เมดานบาลิก์ปาปัน) แต่มีคนถึง 200 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจภชาติโดยมีระดับความชำนาญตกต่างกันไป ในชาติที่มีภ-าษาพื้นเมืองมากกว่า 300 ภาษาและยังมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายเช่นนี้ ภาษาประจำชาติมีบทบาทสำคัญมากในการสร้้างความเป้นหนึ่งเดียวระหว่างผุ้คนจากเกาะต่างๆ ทั่วประเทศ การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติพบมากในสื่อหน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และในสถานการณ์ที่เป้ฯทางการ ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานและเป็นทางการมักใช้ในการเขียนหนังสือและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการประกาศข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตาม มีผุ้พุดภาษาอินโดนีเซียเป้ฯภาษาแม่เพียงจำนวนน้อยที่ใช้ภาษาระดับทางการในการสนทนาในชีวิตประจำวัน
ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซีย ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในด้านการศึกษา เอกสารทางราชการเขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย และเป็นภาาาในสื่อในอินโดนีเซีย เชน วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาษานี้ใช้อย่างแพร่หลายทั่วอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูยของสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาตรา 15 ซึ่งได้กำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติของอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติ ภาษานี้เป็นภาษาที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียงของกลุ่มชาติพันธ์ุที่แตกต่างกันในอินโดนีเซียและเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร
ภาษานี้ได้ประกาศให้เป็นภาษาเดียวของชาติในปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมือ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 โดยกำหนดให้ภาษามีพื้นฐานจากภาษามลายูสำเนียงเรียวแม้ว่านักภาษาศาสตร์จะหล่าว่านี้ไม่ช้สำเนียงท้องถ่ินของเรียวแต่เป็นสำเนียงมะละกาที่ใช้ในราชการสำนักของยะโอร์-เรียว ตั้งแต่ประกาศใน พ.ศ. 2471 และการกำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2488 ภาษานี้ได้ใช้ในอินโดนีเซียตลอดมา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาของกลุ่มชาติพันธ์ุอื่นๆ ในอินโดนีเซีย เช่น ภาษาชวา และภาษาดัตช์ในสมัยอาณานิคม ดังนั้ ภาษาอินโดนีเซียจึงมีคำยืมที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับภาษามลายู ในอีกมุมมองหนึ่ง ภาษาอินโดนีเซียจึงมีสถานะเหมือนเป็นภาษาประดิษฐ์ที่เป้ฯภาษาราชการใน พ.ศ. 2471 เนื่องจากเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางวิชาการมากว่าเกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ
การพัฒนาแยกกันระหว่างภาษามาเลเซียในมาเลเซียกับภาษาอนโดนีเซียทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุผลมาจากความละเอียดอ่อนทางการเมืองและประวัติการวางมาตฐานภาษามากว่าจะเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรม ในมาเลเซียจะถือว่าภาษาทั้งสองเป็นสำเนียงที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน แต่ในอินโดนีเซียมองว่าเป็นภาษาต่างหากจากกัน (แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน) ทัศนคติเช่นนี้มีผลให้ชาวอินโดนีเซียไม่ค่อยต้องการให้ภาษาของตนไปกลมกลืนกับภาษาของมาเลเซียและบรูไน ในขณะที่ชาวมาเลเซียต้องการแสดงให้เก็นว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในวิวัฒนการของภาษาร่วมกับชาวอินโดนีเซีย กระนั้นในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการเขียนภาษาอนโดนีเซียโดยเปลี่ยนการสะกดที่อิงแบบภาษาดัตช์มาเป็นแบบที่อิงภาษาอังกฤษอย่างภาษามาเลเซีย
ระบบการเขียน ภาษาอินโดนีเซียเชียนด้วยอักษรละติน การออกเสียงพยัญชนะใกล้เคียงกับภาษาอิตาลี การสะกดอาจสร้างความสับสนบ้างเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวสะกอดเมื่อินโดนีเซียได้รับเอกราช ได้แก่ การเปลี่ยนจาก oe เป็น u เมื่อ พ.ศ. 2490 และการเปลี่ยน tj เป็น c dj เป็น j, nj เป็น sy, ch เป็น kh เมื่อ พ.ศ. 2515 การสะกดแบบเก่าได้อิทธิพลจากภาษาดัตช์ และใช้กับชื่อเฉพาะที่สะกดมาก่อนหน้านั้น เช่นชื่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โต สะกดว่า Soehato (oe ในภาษาดัตช์ออกเสียง อู) และยอกยาการ์ตา ปัจจุบันเขียน Yogyakarta แต่บางครั้งเขียนว่า Jogjakarta (j ในภาษาดัตช์ออกเสียง ย)
สัทวิทยา
สระ หน่วยเสียงสะกดเดียวภาษาอินโดนีเซีย ประเภท สระลิ้นยกสูง(ปิด) สระหน้า i, สระกลางลิ้น-, สระหลัง u, สระลิ้นระดับกลาง e, สระกลางลิ้น ə, สระหลัง o , สระลิ้นลดต่ำ สระหน้า-, สระกลางลิ้น a, สระหลัง-,
พยัญชนะ หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาอินโดนีเซีย ประกอบด้วย
- เสียงนาสิก m ริมฝีปาก, n ปุ่มเหงือก, ɲ เพดานอ่อน, ŋ เพดานแข็ง
- เสียงกัก เสียงแทรก t͡ʃ d͡ʒ หลังปุ่มเหลือก
- เสียงเสียด เสียงแทรก (f) ริมฝีปากกับฟัน , s (z) ปุ่มเหงือก, (ʃ) หลังปุ่มเหงือก, h เส้นเสียง,
- เสียงเปิด w ริมฝีปาก, j เพดานแข็ง
- เสียงลิ้นสะบัด/เสียงรัว r ปุ่มเหงือก, j เพดานเเข็ง
- เสียงข้างลิ้น l ปุ่มเหงือก
ไวยากรณ์
คำคุณศัพท์ ในภาษาอินโดนีเซียตามหลังคำนาม อาทิ
Ini buku merah นี้ หนังสือ สีแดง ภาษาไทย นีคือหนังสือสีแดง ภาษาอังกฤษ This is a red book.
ปัจจัย ภาษาอินโดนีเซียมีระบปัจจัยที่ซับซ้อน วิะีสร้างคำทำได้หลายแบบ ได้แก่
- ปัจจัย Ber + ajar (สอน) = BeLajar (ลบ 'L') = เรียน
- ปัจจัย Me + ajar + -kan = meNGajarKan (เติม 'NG') = สอน (สกรรมกริยา)
- ปัจจัย Ber + judi (พนัน) = Berjudi (Ber- ไม่เปลี่ยนรูป) = เล่นการพนัน
- ปัจจัย Me + judi + -kan = meNjudikan (เติม 'N') = เสียการพนัน
คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้ เช่น me + makan (memakan) หมายถึงกิน (ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที่ ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปลี่ยนความหมายของคำ เช่น duduk หมายถึง นั่งลง mendududuk หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง เป็ฯต้น
ปัจจัยในภาษาอินโดนีเซียที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาสันกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha-, juru-, pasca-, eka-, anti-,pro-...
เพศทางไวยากรณ์ ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย คำจำนวนมากที่อ้างถึงุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่าง เช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง "คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าต้องการระบุเพศคำคุณศัพท์เข้ามา ไม่มีคำที่มีความทหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man"
คำบางคำมีการแบ่งเพศบาง ชเ่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หท่นถุวบูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น เช่น ตัวอย่างข้างต้นเป็นคำยือมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตา และบางพื้นที่ abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย klakak (พี่ที่สืบสายดลหิตเดียวกัน) หมายถึงพี่สาว
คำประสม ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำหใาด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ruman หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น ruman makan หมายถึง ภัตตาคาร ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึงการแตะบอล..
ลักษณะนาม ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณะนามเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษระนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต lembar ใช้กับกระดาษ เป็นต้น
คำปฏิเสธ ภาษาอินโดนีเซียมีรุปคำปฏิเสธสามคำคือ tidak bukan และ belam
- Tidak บางครั้งลดรุปเหลือ tak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและคุณศัพท์ เช่น Saya tidak tahu (ฉันไม่รู้)
- Bukan ใช้ปฏิเสธคำนาม เช่น Itu bukan seekoranjing (นั่นไม่ใช้หมา)
- Belum ใข้ปฏิเสธประโยคหรือวลีที่บางอย่างยังไม่สมบุรณ์ และใช้ตอบปฏิเสธคำถาม เช่น Anda sudan pernah ke Indonesia (Belum?) = คุนเคยอยู่อินโดนีเซียมาก่อน(หรือไม่)..
คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาาาอินโดนีเซีย คือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ Jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน
พหูพจน์ การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำซ้ำบางคำก็ไม่แสดงพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับริบท ในขณะที่ hati-hati หมายถึง ระมัดระวัง ..
สรรพนาม แทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ kita (รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่ saya เป็นทางการมากว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรษที่ 2 มีสามคำคือ kamu anda และ kalain anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้ ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆ อีก ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถ่ิน คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น
สรรพนามชี้เฉพาะ มีสองคำคือ ini ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดและ itu (โน่น) ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์
การเรียงลำดับคำ รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม แต่จะใช้รูปถูกกระทำ กรรม-กริย- (ประธาน) ได้ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย
กริยา ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาาาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถุกกระทำ การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ
การเน้น ในการพูด การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูุปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขึยน ตัวอย่าง เช่น
saya pergi ke pasar kemarin = ฉันไปตลาดเมือวานนี้ (รูปปกติหรือเน้นประธาน)
Kemarin saya pergi ke pasar = เมื่อว่านนี้ไปตลาด (เน้นที่เมือวาน)
Ke pasar saya pergi, kemarin = ที่ตลาด, ฉันไปเมื่อวานนี้ (เน้นสถานที่ที่ไป)
Pergi ke pasar , saya, kemarin = ไปตลาด, ฉัน, เมื่อวานนี้ (เน้นที่การเดินทาง)
คำศัพท์ ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษามลายูสมัยใหม่ มีคำยืมจากภาาต่างๆ มากมาย เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ(รวมภาษาเปอร์เซียและภาษาฮิบรู) ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาตระกุลออสโตเซียน
คำที่ยืมมาจากภาาาสันสกฤตได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูมัทั้งที่ยืมจากภาาาสันสกฤตโดยตรงและยืมผ่านภาษาชวา คำจากภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่เข้ามาเป็นพื้นฐานของศัพท์ภาษาอินโดนีเซียจนไม่รู้สึกว่าเป็นศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนคำยืมจากภาษาอาหรับนั้น ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม การแปลคัมภีร์ไบเบิลยุคแรกๆ จะใช้คำจากภาษาอาหรับแทนที่คำเฉพาะที่เป็นภาษาฮีบรู แต่ปัจจุบันเร่ิมหันไปใช้คำจากภาษากรีกหรือคำจากภาษาฮีบรูมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่าพระเยซู เดิมใช้ว่า Isa แบบอาหรับ ปัจจุบันใช้ว่า Yesus
คำยืมจากภาษาโปรตุเกสเป็นคำทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ คำยืมจากภาษาจีน มักเป็นศัพท์เกี่ยวกับการต้าหรือสิ่งของหรือสิ่งของที่มาจากจีน คำยืมจากภาษาดัตช์เป็นผลจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์มาก่อน คำยืมกลุ่มนี้มักมีลำดับพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียง ซึ่งแก้ปัญหาโดยการแทรกเสียงสระเข้าไป เช่น schroef (สครุฟ) จากภาษาดัตช์ เป็น sekrup (เซอกรุป) ในภาษาอินโดนีเซีย
เนื่องจากมีคำยืมใจากหลายภาษาจึงมีคำที่มีความหมายเหมือนกันมาก เช่นคำว่า "หนังสือ" มีถึง 3 คำคือ pustaka จากภาษาสันสกฤต kitab จากภาษาอาหรับ และ buku จากภาษาดัตช์ ความหมายของทั้ง 3 คำนี้ต่างกันเล็กน้อย pustaka ใช้กับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวโบราณ หรือความรู้ในวงจำกัด ถ้าอยู่ในรูป perpustakaan หมายถึงห้องสมุด kitap ใช้กับหนังสือทางศาสนา เช่น alkitab หมายถึงคัมภีร์ไบเบิล buku ใช้เรียกหนังสือทั่วไปth.wikipedia.org/wiki/ภาษาอินโดนีเซีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น