วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Austronesian languages : Bahasa Melayu

            ภาษามลายู เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผุ้พุดประมาณ 200-250 ล้านคน ดดยเป็นภาษาแม่ของผุ้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะงันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเหาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการต้าในภคใต้ของฟิลิปปินส ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองตาราซาและลบาลาบัก (ซึงมใีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน
            ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลาู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
           ภาษามลายูมาตรฐาน(หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่อื่นๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบักน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมุลของเอ็ทนอล็อก วิธภาษามลายูต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก(รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก)มีความสัมพนธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถ่ินของภาษาเดีวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการต้าและภาษาครีโอล จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิมเช่นเดียวกับภาาามลายูมากัสซาร์ ซึ่งประากฎว่าเป็นภาษาผสม
           ไวยากรณ์ ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ
            หน่วยคำเติม รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ท้งคำนามและคำกริยา ดังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memmasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu(กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)
            หน่วยคำเติมที่ 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย apitan และอาคม sisipan หน่วยคำเติมเหล่นนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์..ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น mahajuru-pasca-eka-ati-pro
         
  คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยคคำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรงหรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วกันตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ เป็นต้น
             การซ้ำคำ ในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย
             ลักษณนาม ภาษามลายูมีการใช้ลักษณะนามเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในเอชเีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม  และภาษาเบงการลี
            คำนำหน้าที่ มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวการณ์ในประดยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่นๆ
            คำปฎิเสธ คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายู มี 2 คำ คือ bukan และ tikan bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบทส่วน tidak  ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
            เพศทางไวยกรณ์ โดยทั่วไปมีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามะรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ "brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศเช่น puteri (เจ้าหญิง) และ putera (เจ้าชาย)
           การทำให้เป็นพหูพจน์ โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan - cawan แต่ลดรูปเ้หลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang  แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang, คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพนูพจน์
           นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับ แต่ hati-hati หมายถึงระวัง..
           คำกริยาไม่มีการันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งการ แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยเกว้นไม่ใช้ในการสนทนา
           การเรียงลำดับคำ โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย
            ภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนาป ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีน บางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษโดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...