กลุ่มภาษาไท ประกอบด้วย
กลุ่มภาษาไทเหนือ
- กลุ่มภาษาแสก (ลาว) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ที่ใช้พูดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาวและจังหวัดนครพนม ประเทศไทย ผู้พูดภาษานี้เหลือน้อยเพราะคนรุ่นใหม่หันไปพูดภาาาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากขึ้น
ภาษาที่ใช้สือสารกันในเผ่าแสกคือ ภาษาแสก ปัจจุบันใช้ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยท้องหรือภาษาลาวพื้นเมือง ส่วนภาษาแสกจะใช้สื่สารกันภายในหมู่บ้าน และหมู่บ้านอื่นๆ ที่มีชาวไทแสกก็สามารถสื่อสารกันได้
ภาษาแสกจะมีัแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน ผุ้พุดภาษาแสกจะรวมตัวกันอยุ่ เป็นหมู่บ้าน การแต่างกายรุปร่าง ลักษระท่าทางกริยามารยาท และความเป็นอยู่ของชาวไทแสกในปัจจุบัน ไม่แตกต่างไปจากชาวไทยในท้องถ่ินอื่นๆ สิ่งเดียวที่ทำให้ชาวไทแสกแตกต่างไปจากชาวไทยอื่นๆ คือ ภาษาพิธีกรรม ความเชื่อชาวไทยแสกซึงมีการแสดงแสกเต้นสากร่วมด้วย ในจังหวัดนครพนม มีภาษาถิ่นไทยกลายกลุ่ม คือ ภาษาถิ่นลาวพื้นเมือง ภาษาถิ่นภูไทย ภาษาถิ่นญ้อ และภาษาถ่ินกะเลิง ภายษาถิ่นทั้ง 4 ภาษานี้ ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ผู้พุดภาษาทั้ง 4 ภาษา ก็สามารถติดต่อพูดจากันได้รู้เรื่อง โดยไม่มีปัญหาเลย ทั้งนี้เพราะภาษาถิ่นเหล่านี้ มีความแตกต่างกันในเรื่องเสียงไม่มาก คำศัพท์ก็มีบ้างเล็กน้อยแต่ในเรื่องการเรียงคำ หรือการสร้างประโยคแล้วไม่มีเลย ส่วนภาษาแสกนี้ถึงแม้จะจัดว่าเป็นภาษาไทยถิ่น แต่ความแตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่น ไม่อาจเข้าใจได้ทำให้มีคนจำนวนมากคิดว่าภาษาแสกเป็นภาษาเขมร ตามความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
1 สาขาเหนือประกอบไปด้วย ภาษาถิ่นที่อยุ่ทางใต้ของจีน ตัวอย่าง ชื่อภาษาถิ่น เหล่านีอวู, มิง, เทียน, เขา, โปอายและเชียนเชียง
2 สาขากลางอูย่ในเวียดนามเหนือ แถวพรมแดน ติดต่อกับประเทศจีนมีไตขาว โท นุง ลุงเชา เทียนเปา ยุงซุน
3 สาขาตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ภาษาในประเทศไทย ลาว พม่า อินเดีย เวียดนาม ทั้งหมดในประเทศไทยและลาวเท่านั้นที่ภษาไทยนับเป็นภาษาของชนกลุ่ใหฐ่ และใช่เป็นภาษาราชการ นอกจานี้ก็เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ รวมไปถึงภาษาถิ่นที่เป็นภาษาแสกด้วย ซึ่งภาษาชนกลุ่มน้อยนี้จะกระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ และจะค่อยๆ ถูกลืมหายไปที่ละน้อยๆ เรื่องนี้อาจารย์ บรรจบ พันธุเมธา ก็ได้แสดงความห่วงใยไว้ในหนังสือของท่านชื่อ "กาเลหม่านไต" (ไปเที่ยวบ้านไท) เอาไว้ว่า "ภาษาแสด ศาสตราจารย์ ฮวนดริครอท เคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่าควรจัดอยู่ในภาษาไทยแขนงภาคเหนือ โดยพิจารณาจากศัพท์ ศาสตรจารย์ วิลเลียม กรีดนี้ ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ซึ่งสนับสนุนวาควรจะจัด "ภาษาแสก" อยู่ในแขนงาคเหนือเช่นกัน โดยเพ่ิมหลักฐานทางศัพท์และเสียงท่านผู้นี้ ได้ศึกษาภาษาแสกในเรื่องเสียงว่ามีเสียงอะไรบ้าง และเคยพิมพ์บทความ เกี่ยวกับภาษาแสกในจังหวัดนครพนม ศาสตราจารย์ ฮวนดริครอทส์ ได้รวบรวมคำศัพม์ไปไม่มา ละยังไม่ได้ศึกษาถึงเรื่องเสียงวรรณยุกต์และริื่งอื่นๆ ของชาวไทแสก"
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้ศึกษาภาษาแสก ตามแนวภาษาศาสตร์โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ เสียงสระและเสียงพยัญชนะ ที่มีใช้อยู่ในภาษาแสก ยังได้บรรยายถึงลักษณะกลุ่มคำต่างๆ การประสมคำ การเรียงการเก็บบันทึกคำภาษาแสก ที่เกี่ยวกับคำและความหมาย วิธีอ่่านออกเสียงและความหมายของคำแสก โดยวิไลวรรณขนิษฐานันท์ ได้แสดงความเป็นห่วงภาษาแสกเอาไว้ว่า "ประเทศไทย ภาษาแสก เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยและแปลแตกต่างไปจากภาษาถิ่นอื่นๆ มาก คนไทยอื่นๆ ไม่สามารถเข้าใจภาษาแสกได้ ภาษาแสกจึงมีปัญหาเหมือนคนไทยที่เป้ฯชนกลุ่มน้อยในประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ภาษาแสกกำลังถุกกลืนหายไปปัจจุบันนี้บางหมุ่บ้าดดยเฉพาะหมุ่บ้าในตัวเมือง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะพูดภาษาแสกได้ เด็ๆ ชาวไทแสก จะไม่สามารถพูดภาษาแสกได้ เด็กๆ เหล่านี้ไม่ค่อยพูดภาษาแสกได้ เด็กๆ ชาวไทแสก จะไม่สามารถพูดภาษาแสกได้ เด็กๆ เหล่านี้ไม่ค่อยพูดภาษาแสก แต่พวกเขาก็ฟังและเข้าใจภาษาแสกได้อยู่บ้าง จากสภาพที่เป็นอยุ่ในปัจจุบันทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ภาษาแสก คงจะสูญสิ้นไปในไม่ช้าเพราะสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ
1 ภาษาแสกเป็นภาษาของคนกลุ่มน้อย ดังนั้นเด็รุ่นปัจจุบันในหมู่บ้านแสกจึงไม่นิยมใช้ข้อนี้เป้ฯเหตุผลทางธรรมชาติโดยทั่วไปแล้ว เด็กจะพยายามใช้ภาษาของชนหมุ่ใหญ่ คือ ภาษาที่เพื่อนๆ รอบตัวใช้ในดรงเรียนและภาษาที่ใช้สถานที่สาธารณะต่างๆ ถ้าภาษาที่ใช้ในครอบครัวไม่ใช่ภาษาของชนหมู่ใหญ่ เด็กก็มักจะไม่ใช้พูด ถึงแม้แต่พ่อแม่จะใช้ภานั้นพูดด้วยก็ตาม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วไป ดังจะเห็นว่าถ้าครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ถ้าเป้นครอบครัวซึ่งไปเติบโตที่นั่น จะเรียนรู้และพุดภาษานั้นและไม่ยอมใช้ภาษาของตัวเอง เด็กจะเรียนรู้ภาาของพ่อแม่ แต่ไม่ยอมใช้ภาษาเพราะเห็นว่าเป็ฯภาษาของชนกลุ่มนอย ดังนั้นในหมุ่บ้านชาวไทแสกในตัวเมืองทั่วๆ ไปก็เช่นกัน จะพบว่าเด็กที่อายุต่ำหว่า 15 ปี ลงมาไม่สามารถพูดภาษาแสกได้เพียงแต่ฟังเข้าใจ
2 การได้รับอิทธิพล จากภาษาไทยกลางเนื่องจากชาวไทแสก ส่วนมากหรือเกือบทุกๆ คน ต้องเรียนหนังสือ ซึงต้องใช้ภาษากลางเป็นสื่อในการเรียนการสอนอีทั้งสื่อสารมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วๆ ไป ก็ใช้ภาษากลางจึงทำให้ชาวไทแสกได้รับอิทธิพลไปจากภาษาไทยกลางมาก
3 การได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยท้องถ่ิน หรือภาษลาวพื้นเมืองนครพนม ในชีวิตประจำ "ชาวไทแสก" จะต้องติดต่อพบปะใกล้ชิดกับชาวนครพนม baanjomyut.com/library_2/part_of_thai_culture/11.html
- ภาษาปู้อี มีผู้พูดทั้งหมด กว่า สองล้านหกเเสนคน พบในจีน สองล้านหกแสนคน ในบริเวณที่ราบกุ้ยโจว-ยูนนาน ในมณฑลยูนานและเสฉวน พบในเวียดนามเกือบห้าหมื่นคน มีบางสวนในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาดัม-ไท สขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ส่วนใหญ่ใช้ในเขตปกครองตนเองของชาวปูยี มีการออกหนังสือพิมพ์ในภาษนี้ เขียนด้วยอักษรละติน ในจีนจะพูดภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เรียงประโยคแบบประธาน-กระยา-กรรม สวนใหญ่เป็ฯพยางค์เดียว มีวรรณยุกต์ 6 เสียงสำหรับคำเป็น และ 4 เสียงสำหรับคำตาย
ปูยี คือชนกลุ่มน้อยสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ชื่อชนร้อยเผ่า ภาษาจีนเรียกว่า "ไปเยว"อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองเฉียนหนาน เฉียนซีหนาน เขตปกครองตนเองเผ่าปูยีและเผ่าแม้ว ในเขตเมืองอันซุ่น และเมืองกุ้ยหยางยังมีบางส่วนกระจัดกระจายอาศยอยุ่ในบริเวณเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยของมณฑลยูนนานและมณพลเสฉวน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น กว่าสามล้านคน และทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามที่มักเรียกตนเองว่าปู้อี ไม่เรียกตนเองวาจ้วง พูดภาษาในตะกูล ไท-กะไดและ จีน-ทิเบต นับถือลัทธิดั้งเดิม และบางส่วนก็หันไปนับถือคริสต์ศาสนา th.wikipedia.org/wiki/ภาษาปู้อี
- กลุ่มภาษาไทแมน หรือภาษาไตแมน ภาษาไตเมียน ภาษาไตมัน มีผุ้พูดในประเทศลาว 7,200 คน (พ.ศ. 2538) ที่แขวงบอลิคำไซ ผุ้พุดเหล่านี้กล่าวว่าพวกเขาอพยพมาจากเวียดนามภาษานี้จัดอยู่ในตระกุลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาไทกัม สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ใกล้เคียงภาษาแสก
กลุ่มภาษากัม-ไท หรือกลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่างๆ ในจีนตอนใต้และในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว
กลุ่มภาษากัม-สุย, เบและไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได)มักถูกจัดอยุ่ร่วมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบงเช่นนี้มีผุ้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" ซึงอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นหลุ่มกะไดเหนือทางกนึ่งและสาขาไหลกับไท เป้ฯกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทแมน