Tai–Kadai languages

          ตระกูลภาษาไท-กะได หรือรู้จักกันในนาม กะได, ขร้าไท หรือ ขร้า-ไท เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเาียววรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีนในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผุึ้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะได นี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาาาออสโตนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก
           รอเจอร เบลนซ์ ได้กล่าวว่าถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช้ภาาที่เป้นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะได อาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซยนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำแล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากล่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่ดดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน
             โลร็อง ซาการ์ ได้เสนอว่าภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝังตะวันออกเแียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกุลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศสตร์และอื่นๆ ที่ยังไม่รุ้ นอกจากนันภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูภาาาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเร่ิมต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก
              ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้แต่คร้ังโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผุ้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียติก
               ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้วเนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยุ่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เีรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึงของตระกุลภาานี้
              ภาษาในตระกูลไท-กะไดประกอบ้ด้วยกลุ่มภาษาทีจัดแบ่งไว้ 5 สาขา คือ
              กลุ่มภาษาขร้า (อาจเรียกว่า กะได หรือ เก-ยัง), กลุ่มภาษากัม-สุย (จีนแผ่นดินใหญ่ อาจเรียกว่า ด้ง-สุย), กุล่มภาษาไหล (เกาะไหหลำ),  กลุ่มภาษาไท (จีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้), ภาษาอังเบ (เกาะไหหลำ อาจเรียกว่า ภาษาเบ).
              กลุ่มภาษาไหล ภาษาเจียมาว เจียมาว (ไหหลำ), ภาษาไหล (ไหหลำ),
              กลุ่มภาษาขร้า อาทิ เยอรอง (จีนแผ่นดินใหญ่), ภาษาเก้อหล่าว (เวียดนาม), ภาษาลาติ (เวียดนาม), ภาษาลาติขาว (เวียดนาม), ภาษาปู้ยัง (จีนแผ่นดินใหญ่), ภาษาจุน (ไหหลำ), ภาษาเอน (เวียดนาม), ภาษากวาเบียว (เวียดนาม), ภาษาลาคัว (เวียดนาม), ภาษาลาฮา (เวียดนาม),
              กลุ่มภาษาไท แบ่งออกเป็น กลุ่มภาษาไทเหนือ ภาษาแสก (ลาว), ภาษาเย (ไทย), ภาษาจ้วงเหนือ (จีน), ภาษาปูยี (จีน), ภาษาไทแมน (ลาว), ภาษาอี (จีน)
              กลุ่มภาษาไทกลาง อาทิ ภาษาจ้วงใต้ (จีน), ภาษามานเชาลาน (เวียดนาม), ภาษานุง (เวียดนาม), ภาษาคั่ย (เวียดนาม), ภาษาซึลาว (เวียดนาม), ภาษานาง (เวียดนาม)
              กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ อาทิ ภาษาไทหย่า (จีน), ภาษาพูโก (ลาว), ภาษาปาตี (จีน), ภาษาไททัญ (เวียดนาม), ภาษาดั่ยซาปา (เวียดนาม), ภาษาไทโหลง (ไทหลวง) (ลาว), ภาษาไทฮ้องจีน (จีน), ภาษาตุรุง (อินเดีย), ภาษายอง (ไทย), ภาษาไทยถิ่นใต้ (ปักต์ใต้) (ไทย),
              กลุ่มภาษาไทกลาง-ตะวันออก
              กลุ่มภาษาเชียงแสด อาทิ ภาษาไทดำ (เวียดนาม), ภาษาไทยถิ่นเหนือ (ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน) (ไทย, ลาว), ภาษาพวน (ไทย) ภาษาไทโซ่ง (ไทย), ภาษาไทย (ไทย), ภาษาไทฮ่างตง เซียดนาม) ภาษาไทขาว (ภาษาไทด่อน) เวียดนาม), ภาษาไทแดง (ภาษาไทโด) (เวียดนาม), ภาษาคั่ยเติ็ก (เวียดนาม), ภาษาตูลาว (เวียดนาม)
              กลุ่มภาษาลาว-ผู้ไท อาทิ ภาษาลาว (ลาว), ภาษาญ้อ (ไทย), ภาษาผู้ไท (ไทย), ภาษาอีสาน (ภาษาไทยถิ่นอีสาน) (ไทย, ลาว)
              กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) อาทิ ภาษาอาหม (รัฐอัสสัม เป็นภาษาสูญแล้ว, ภาษาอัสสัมซึ่งเป็นภษาที่ชาวอาหมใช้ในปัจจุบัน จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน), ภาษาอ่ายตน (รัฐอัสสัม), ภาษาล้อ (ภาษาไทลื้อ) (ีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว, พม่า), ภาษาคำดี (รัฐอัสสัม, พม่า), ภาษาเขิน (พม่า), ภาษาคำยัง (รัฐอัสสัม), ภาษาพาเก (รัฐอัสสัม), ภาษาไทใหญ่ (ภาษาฉาน) (พม่า), ภาษาไทใต้คง (ภาษาไทเหนือ) (จีน, เวียดนาม, ไททย, ลาว),
             กลุ่มภาษากัม-สุย ประกอบด้วย
             กลุ่มภาษาลักเกีย-เบียว (จีนแผ่นดินใหญ่) อาทิ ภาษาลักเกีย, ภาษาเบียว, ภาษากัม-สัย (จีแผ่นดินใหญ่) ภาษาอ้ายจาม, เชา เมียว, ภาษาต้งเหนือ, ภาษาต้งใต้, ภาษาคัง ภาษามาค, ภาษามู่หลาม, ภาษาเมาหนาน, ภาษาสุย, ภาษาทีเอน
             สาขากัม-สุย, เบ และไท มักถูกจัดให้อยู่รวมกันเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก (ดูเพ่ิมที่กลุ่ม ภาษากัม-ไท) ย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีความเห้ฯที่โต้แย้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เขไปในสาขาอ่น ความค้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับคำ-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหน่งแทนดังภาพ ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย
 th.wikipedia.org/wiki/ตระกูลภาษาไท-กะได
               นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าภาษาตระกูลไท-กะได มีความสัมพันธ์ทางเชื่อสายกับภาษาตระกุลจีน-ทิเบต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภาษาตระกูลไท-กะได เป็นตระกูลย่อยของภาษาจีน-ทิเบต เนื่องจากข้อค้รพบที่ว่าคำในภาษาไทยและคำในภาษาจีนมีความใกล้เคียงกันมาก จึงสันนิษฐานว่าภาษาไทยและภาษาจีนอาจมีต้นกำเนิดมาจากตระกูลภาาาเดียวกัย ดังนี้
แผนภาพแดสงความสัมพันะ์ว่่าภาษาตระกุลไท-กะได มีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายกับภาษาตระกูลจีน-ทิเบต

               นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าภาษาตระกูลไท-กะได มีความสัมพันธ์ทางเชื่อสายกับภาษาตระกุลออสโตรนีเซียน โดยนักภาษาศสตร์ที่ชื่อว่่า พอล เค เบเนดิกต์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ภาษาไทยและภาษาจีนไม่ได้มีความคล้ายคลึงเพราะมีเชื่อสายภาษาเดียวกันแต่ความคล้ายคลึงนั้นอาจเกิดมาจากการยืมภาษานั่นเอง
               อย่างไรก็ดี พอล เค เบเนดิกต์ เชื่อว่าภาษากะได ซึ่งเขาให้คำนิยามเป็นคนแรกว่า หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาลักกยา (พูดในอำเภอจิ่วซิ่ว มณฑลกว่างสี) ละควา/ละซา เก้อหล่าว ละจี็ และหลีฮไล) (พูดในเกาะไหหลำ) เป็นภาษาที่เป็ฯสะพานเชื่อมระหว่างภาษาตระกูลไทกับภาษาออสโตรนีเซียนเนื่องจากภาษากลุ่มกะไดเป็นภาษาคำโดดและใช้เสียงวรรยุกต์เหือนภาษาตระกูลไทย และมีบางอย่าง เหมื่อนภาษาตระกุลออสโตรนีเซียนน คือมีคำขวรยตามหลังคำหลัก ซึ่งภาษาจีนไม่มีระบบไวยากรณ์ดังกล่าวนี้
              การเชื่อมสัมพันธ์ทางเชื้อสายนี้จึงใช้เป็นหลักฐานมนการพิสูจน์สมมติฐานได้ว่าภาษาตระกูลไท-กะได สัมพันธ์กับภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน และแตกมาจากภาษาตระกุลออสโตร-ไท ร่วมกัน ดังนี้
               
แผนภาพแดสงความสัมพันธ์ว่าภาษาตระกลูไท-กะไดสัมพันธ์กับภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน และแกตกมาจากภษาตระกุลออสโตร-ไท ร่วมกัน

           
นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าภาษาตระกูลไท-กะได มาจากภาษาตระกูลออสโตรไท ซึ่งรวมภาษาออสโตรนีเซียน และแม้ว-เย้า ในกลุ่มตระกูลภาษานี้ด้วย ดังนี้

แผนภาพแดสงความสัมพันธ์ว่าภาษาตระกูลไท-กะไดมาจากภาษาตระกูลออสโตร-ไท ซึ่งรวมภาษาออสโตรนีเซียน และแม้ว-เย้า

            จากสมมติฐานทั้ง 3 ฝ่ายนี้ จะเห็นได้ว่านักภาษาศาสตร์มีความเห็นว่า ภาาาตระกุลไท-กะไดน่าจะมีความสัมพันะ์ทางเชื้อสายกับภาษาตระกุลจีน-ทิเบต ภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนรวมไปถึงกภาษาตระกุลแม้ว-เย้า ด้วย อย่างไรก็ดีภาาาตะกูลไท-กะได ไม่มีความสัมพันะ์ทางเชื้อสายกับภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกเลย   ( ความเป็นมาของภาษาไทย, บทที่ 1, อาจารย์กฤติกา ชูผล)
            เชื่อกันว่า กลุ่มชาติพันธ์ุไท-กะได อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ต่อมาก็เชื่อว่าอพยพมาจากตอนกลางของประเทศจีน และก็เชื่อกันว่ากำเนิดในบริเวณจีนตอนใต้ เป้นอาณาจักรน่านเจ้า และอพยพลงมาทางตอนใต้สร้างเป็นอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อว่าอพยพมาจากทางใต้ จากชวา สุมาตรา และคาบสมทุรมลายู แต่นักมนุษยวิทยาในปัจจุบันเชื่อกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได อยู่ที่บริเวณจีนตอนใต้ เรื่อยมาจนถึงรัฐฉาน ประเทศไทยตอนบนและแอ่งที่ราบลุ่มภาคอีสาน เรื่อยไปยังเป็นประเทศลาว หลังจากนันจึงมีการอพยเพิ่ม เช่นกลุ่มชาวอาหม ที่อพยพข้ามช่องปาดไก่ ไปยังอัสสัมและชาวไทแดงที่อพยพไปตั้งถ่ินฐานบริเวณอาณาจักรสิบสองจุไท โดยทั้งหมด มีทฤษฎีอยุ่ดังนี้
          ทฤษฎีที่ 1 ชนชาติไท-กะได มาจากเทือกเขาอัลไต ทฤษฎีนี้ หลวงวิจิตรวาทาการ (ขณะดำรงบรรดาศักดิ์ ขุน) ห้การสนับสุน ว่าชนชาติไท-กะได มาจากเทือกเขาอัลไต แล้วมาสร้างอาณาจักน่านเจ้า แล้วจึงอพยพมาสร้างล้านนาและสุโขทัย ดดยเชื่อว่าคำว่าไต ท้ายคำว่า อัลไต(Altai) หมายถึงชนชาติไท-กะได แต่ทฤษฎีนี้ต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง อีกทั้ง อัลไต เป็นภาษาอัลไตอิก ไม่ใช่ภาษาไท-กะได และน่านเจ้าปัจจุบันได้รับการพิสูจน์ว่าเป้นอาณาจักรของชนชาติไป๋
         ทฤษฎีที่ 2 ชนชาติไท-กะได มาจากหมูเกาะทะเลใต้ เบเนดิกส์ เสนอว่า ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากหมู่เกาะทะเลใต้ แถบเส้นศูนย์สูตร ขึ้นมาตั้งถ่ินฐานในอินแดนอุษาคเนย์ และหมุ่เกาะฟิลิปปินส์ เบเนดิกส์ ยกเรื่องความเหมือนของภาษาสนับสนุน เช่นคำว่าปะตาย ในภาษาตากาล็อก แปลว่า ตากย อากู แปลว่า กู คาราบาง แปลวา กระบือ เป็นต้น ประเด็นนี้นักภาษาศาสตร์ และนักนิรุกติศาสตร์สวนใหญ่ไม่ยอมรับวิธีการของเบเนดิกส์เพราะเป็นการนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเที่ยบกับไทย แทนที่จะย้อนกลับไปเมื่อ 12000 ปีที่แล้ว ว่า คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้ นอกจากนี้ ผุ้ที่เชื่อมทฤษฎีนี้ ยังใช้เหตุผลทางกายวิภาค เนื่องจากคนไทยและฟิลิปปินส์มีลักษณะทางกายวิภาค คล้ายคลึงกัน
          ทฤษฎีที่ 3 ชนชาติไท-กะได อาศัยอยู่ในบริเวณสุวรณภูมิอยู่แล้ว นักวิชาการท่าหนึ่งเสนอว่าชนชาติไท-กะได อาจจจะอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดดยอ้างตามหบักฐานโครงกระดูก ที่บ้ายเชียงและบ้านเก่า แต่หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างความเห้นของกอร์แมนว่าดครงกระดูกคนบ้านเชียง มีลักษณะคล้ายกับกระดูกมนุษย์ที่อยุ่ตามหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก อีกประการหนึ่ง ทรงอ้างถึงจากรึกในดินแดนสุวรรณภูมิ ว่า เป็นจารึกที่ทมำให้ภาษามอญมาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1730 ไม่เคยมีจารึกภาาาไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเลย
          ทฤษฎีที่ 4 ชนชาติไท-กะได อาศัยอยู่บริเวณจีนตอนใต้ และขตวัฒนธรรมไท-กะได ทฤษฎีนี้เป็ฯที่ยอมรับของนักภาษาศาสตร์ นิรุกศาสตร์ และประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมากที่สุด โดยศาสตราจารย์ เกิดนีย์ เจ้าของทฤษฎีให้เหตุผลประกอบด้วยทฤษฎีทางภาษาว่า ภาษาเกิดที่ใด จะมีภาษาท้องถ่ินมากหลายชนิดเกิดขึ้นแถบบริเวณนั้น เพราะอยู่มานานจนแตกต่างกันออกไปแต่ในดินแดนทีใหม่กว่าภาษาจะไม่ต่างกันมาก โดยยกตัวอย่างภาษาอังกฤษบนเกาะอังกฤษ มีสำเนียงถิ่นมากและบางถ่ินอาจฟังไม่เข้าใจกัน แต่ขณะที่ภาษาอังกฤษในสหรัฐอเมริกา มีสำเนีียงถิ่นน้อยมากและพูดฟังเข้าใจกันได้ดดยตลอด เปรียบเทียบกับชาวจ้วงในมณฑลกวางสี แม้มีระยะห่างกันเพียง 20 กิโลเมตร แต่ก็แยกสำเนียงถิ่นอกเป็นจ้วงเหนือ และจ้วงใต้ ซึ่งสำเนียงบางคำต่างกันมากและฟังกันไม่รู้เรื่องทั้งหมด ขณะที่ภาษาถ่ินในไทย (ภาษาไทยกลาง) และภาษาถิ่นในลาว (ภาษาลาว) กลับฟังเข้าใจกันได้ตลอมากกว่า...th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได
           
     



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)