วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ukain War The geopolitic significance...2

           "ผิดที่ไว้ใจ? รัสเซียกับสหภาพยุโรปในภมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง" โดย จิตติภัทร พูนขำ เมื่อ 29 มกราคม 2018 ซึ่งเผยแพก่ร่อนเกิดสงครามยูเครน  และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ แสดงให้เห็นถึงความการช่วงชิงอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่มีนัยยะสำคํญเรื่องก่อการร้าย..

          ยุคสงครามเย็นความสัมพันธ์ยุโรปกับรัสเซียพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง


ขบเคลื่อความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและยุดรป ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างทางด้านอุดมการณืและระบเศรษฐกิจการเมือง กระทั่ง "กอบาชอฟ" ำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในทศวรรษที่ 1980 ทำให้รัศเวียกับโลกตะวันตก รวมทั้งยุโรป เร่ิมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกคร้ง 

         ต่อมายุคหลังสงครามเย็น อัตลักษณ์ของรัสเซียในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรปนี้ได้กำหนดแนวนโยบายต่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัสเซียที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทสต่างๆ ในยุโรป รวมทั้งการรวมกลุ่มภูมิภาค ที่ต่อมาเรียกวา่เป้นสหภาพยุโรป หรือ EU อย่างน้อยในสมัยแรกของประธานาธิบดี "บอริส เยลซิน" รัสเซียเสนอว่าจะสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป 

          ต้นทศวรรษที่ 1990 รัสเซียกับ สหภาพยุโรปค่อยๆ พัฒนาขึ้นจาการพบปะเจรจาและการประชุมร่วมกันระหว่างผุ้นำรัสเซียและยุโรปอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือ ในปี 1994 ซึ่งมุ่งเน้นการพึงพาซึงกันและกันในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง เป็นต้น เยลซิน ได้กล่าวว่า "รัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนที่ซื่อสัตรย์เชื่อถือได้และไว้ใจได้"

           อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ระหว่างประเทศเช่น วิกฤตการณ์ภูมิภาคบอลข่าน โดยเฉพาะสงครามโคโซโว ปี 1999 ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่อนเดังเดิม คุณค่าและผลประดยน์ของทั้งสองมหาอำนาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ รัสเซีย มองเห็นถึงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของผุ้นำโลกตะวันตกทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเคยให้คำมันสัญญาว่าจะมีการปรึกษากับรัสเซีย ก่อนที่จะดำเนินปฏิบัติการทางทหารใดๆ ทั้งรัสเซียยังมองว่าการแทรกแซงทางการทหารแต่ฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีนิยมของโลกตะวััีนตก ไม่ได้รับอาณัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งยังมุ่งเปลี่ยนปลงระบอบการเมืองของรัฐอื่น

           ปี 2000 วลาดิมีร์ ปูติ ขึ้นเป็นประธานาธิดีรัสเซีย และยังคงมุ่งความสำคัญต่อยุโรปและสหภาพยุโรป ดังที่กล่าวว่า "รัสเซียนั้นเป็นมหาอำนาจตะวันตก ทีี่มีผลประโยชน์สำคัญร่วมกับประเทสต่างในยุโรป เช่น ด้านพลังงาน และการค้า

          ในปี 2003 รัสเวียและสหภาพยุโรปจัดตั้งสภาหุ้นส่วนภาวรเพื่อเป็นเวทีในการปรึกษาหารือระหวางประเทศ และกไนดแนวคิดเรื่อง "พื้นที่ร่วมกันสี่ด้าน".. ปูตินยังได้สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับผุ้นำยุโรปหลายคน ทั้งจาก เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส เป็นต้น โยเฉพาะ Schröder แห่งเยอรมัน ยังคงเป็นสหายสนิทของปูติน โดยมีบทบาทสำคัญในธุรกิจภาคพลังงานของรัสเซียอีกทังยังเป็นประธานบอร์ดบริหารบริษัทส่งออกพลังงานไปยังยุดรปผ่านท่อก๊าซใต้ทะเลบอลติกด้วย

          ทั้งนี้ในช่วงสมัยแรก ปูตินได้ร่วมมือกับยุโรปและสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย  War on Terror โดยสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของโลกตะวันตกในอัฟกานิสถาน และความร่่วมมือทางด้านการข่าวกรอง อย่างไรก็ตาม นิยามของการก่อการร้ายระหวางรัสเซียกับโลกตะวันตกก็มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ รัสเซีย การก่อการร้ายหมายถึงกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่ใช่รัฐ ไม่ได้รวมถึงรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย รัสเซียจึงไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง โดยรัฐภายนอกเข้าไแทรกแซงทางการทหารในอีกรัฐหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองภายในของรัฐนั้น หรือเปลี่ยนแปลงผุ้นำของรัฐดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงสงครามอิรัก ปี 2003 ซึ่งปูติดต่อต้านอย่างเด่นชัด และมองสงครามนี้ว่าเป็นการเลปี่ยนแปลงระอบอบการเมืองภายใน ไม่ใช่การตอการการก่อการร้ายโดยกลุ่มที่ไม่ใช้รัฐ

          ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวงก่อตัวขึ้น ความกังขาและการลดความไว้เนื่อเชื่อใจต่อดลกตะวัน


ตกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงการปฏิวัติสี ในบริเวณ "หลังบ้าน"ของรัสเซีย ได้แก่ จอร์เจีย ปี 2003. ยูเครน ปี 2004. และคีร์กีสถาน ปี 2005 ตามลำดับ รัสเซียมองว่า เป็นการแผ่ขยายอำนาจของโลกตะวันตกและการส่งออกประชาธิปไตยในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของตน หรือ บางท่านเรียกว่า เขตผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ของรัสเซีย

         แม้ความคลางแคลงใจของรัสเซียจะพุ่งเป้าไปที่สหรัฐฯ เป็นสำคัญแต่สหภาพยุโรปเองในฐานมหาอำนาจที่มุ่งสงเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรี ก็เร่ิมที่จะเผชิญหน้ากับความตึงเครียดกับรัสเซีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่ยังมุ่งเน้นการปกปห้องกอำนาจอธิปไตยของรัฐ และไม่สนับสนุนการแทรกแทซงทางการทหารเพื่อเปลี่ยนปแลงระบอบการเมืองของรัฐอื่น รวมทั้งต่อต้านการแทรกแทซงเพื่อมนุษยธรรมด้วย อาจกล่าวได้ว่ารัสเซียยังอยู่ในระเบยบโลกแบบเวสต์าเลีย แต่ยุโรปดูเหมือนจะเคลื่อตัวออกจากระเบียบดังกล่าวไปแล้ว

       ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันะืรัสเซีย และสหภาพยุโรป ตกต่ำ คือ "เพื่อนบ้านร่วมกัน" common neighborhood ซึ่งเป็นบริเวณที่อยุ่ะหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และเครือรัฐเอกราช ซึ่งถื่อเป็น "หลังบ้าน" ของรัสเซีย

     


 ด้านสหภาพยุโรป เร่ิมกระบวนการขยายสมาชิกภาพในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา สหภาพยุดรปประกาศนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านยุโรป 
European Neighborhood Policy: NEP ขึ้นมา เพื่อจะ "พัฒนาโซนแห่งความมั่นคงและความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" ซึงสหภาพยุโรปมี ไความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สันติ และร่วมมือ"...
       รัสเซียมองว่เป็นการขยายสมาชิกเป็นการแข่งขันเชิงอำนาจ/ภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็น "เขตอิทธิพล" ของตน ทั้งยังกังขาว่าไม่เป็นการส่งเสริมตลาดเสรี ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัสเซียมองการส่งออกประชาธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงระอบบการเมืองในหลายกรณี เช่น การปฏิวัติสีส้ม ในยูเครน ว่าเป็น "การสมคบคิดของโลกตะวันตก"

       รัสเซีย ต้องการสถาปนา "เขตอิทธิพลไในบริวเณอดีตสหภาพโซเวียต และมุ่งหมายให้สหภาพยุโรปรวมทังสหรัฐฯ ยอมรับสภานะดังกล่าวของรัสเซียด้วย 

       ปี 2005 ปูติน ได้กล่าวว่า "การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นเป็น "โศกนาฎกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์


แห่งศตวรรษที่ 20" แม้ัว่า ณ ขณะนี้ รัสเซียจะไม่มีเป้าหมายที่จะรื้อฟื้นจักรวรรดิแบบสหภาพโซเวียตขึ้นมา แต่รัสเซียต้องการเป็นมหาอำนาจในระดับภูมิภาคที่มีอำนาจและอิทธิพลเหนือเพื่อนบ้าน หรือ อย่่างน้อยก็ไม่ปรารถนาให้มหาอำนาจภายนอกเข้าแทรกแซง ในบริเวณ หลังบ้านรัสเซีย รัสเซียยังพยายามบูรรณาการรัฐต่างๆ ในเครือรัฐเอกราช เข้ามาอยุ่ภายใต้ดครงการที่ชื่อวหภาพเศรษบกิจยูเรเซีย ดดยมียูเครนเป็นหัวใจสำคัญในการบูรณาการเศรษฐกิจการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคยูเรเซีย เมือยุเครนเลือกที่จะหันไปหาโลกตะวันตก จึงสร้ืงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อรัสเซีย 

       ทว่า รัสเซียก็แสงหาการธำรงรักษาสภานภาพเดิมของ "ความขัดแย้งแช่แข็งในภูมทิภาคนี้เอาไว้ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียเร่ิมดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวในบางกรณีที่อษศัย ไสงครามลูกผสม" hybrid war ในการรักษาสภานภาพเดิมในบริเวณ หลังบ้าน ของตน สงครามลูกผสม (สงครามลูกผสม นั้นเป็นสนธิกำลังของปัจจัยทางการทหาร กับปัจจัยที่มไ่ใช่ทางการทหาร เพื่อพบรรลุเป้าประสงค์ ทางยุทธศาสตร์บางประการ โดยวิธีการที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การใช้กองกำลังรบพิเศษ สงครามข่าวสาร สงครามไซเบอร์ การจารกรรมข่าวกรอง การขู่ว่าจะใช้ภัยคุกคามทางเศษฐกิจ (การตัดการส่งออกพลังงาน) การใช้อิทธิพลทางการเมือง รวมทั้งการแทรแซงทางการเมือง และแทรกแซงทางการทหารโดยตรง ที่ปรากฎให้เห็น ในสงครามระหว่างรัสเซียและจอร์เจีย ที่บางคนเรียกว่า "สงครามห้าวัน" ในปี 2008 หรือกรณี สงครามในยูเครนภาคตะวันออกตังแต่ปี 2014 เป็นต้นมา

           วิกฤตการณ์ยูเครน/ไครเมีย ในปี 2014 

          วิคเตอร์ ยานุโควิช ตกจากอำนาจ ในเดื่อนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน รัสเซียมองว่ารัฐบาล "ยานุโควิช" เป็นรัฐบาบลที่มาจาการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมทางการเมือง และมองกลุ่มชุมนุมประท้วง "ยูโรไมแดน" เป็นพวก "ฟาสต์ซิสม์" ที่ได้รับการสนับสนุนจากโลกตะวันตก รัสเซียวิพากษ์สหภาพยุโรปที่ให้การรับรองรัฐบาลใหม่อย่างทันทีทันใด ชนวนเหตุเป็นผลพวงจาก "เพื่อนบ้านร่วมกัน" กล่าวคือ การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่จัตุรัสเอกราชในกรุงเคียฟเร่ิมต้นจาการต่อต้านรัฐบาล ยานุโควิช ที่ไม่ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสหภาพยุโรป แต่กลับไปทำความตกลงกับรัสเซีย

         วิกฤจตการณ์ครั้งนี้ยิ่งทำให้ยูเครนตกอยุ่ภายใต้กับดักมหาเกมภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างดลกตะวันตกกับรัสเซียอย่างเต็มตัว

          ความตึงเครียดทวีมากขึ้น เมื่อรัสเซียเข้าไปแทรกแซงทางการทหารในยูเครนภาคตะวันออก รวมทังการลงประชามติแยกตัวของไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ดลกตะวันตกตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศราฐกิจต่อรัสเวีย และขับรัสเวียออกจากการเป้นสมาชิกของกลุ่ม  G-8 กระทังปัจจุบัน

           

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ukain War The geopolitic significance...

           ถอดความจากบทสรุป : "ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์สู่สงครามระหว่ารัสเซียกับยูเครน ค.ศ. 2020  : โดย Thasothon Tootongkarm

           ความขัดแย้งที่กลายเป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ใน ปี 2020 ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ จากแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ที่กำหนดการจัดวาางตำแหน่งของรัสเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบครองแผ่นดินที่เป็นหัวใจ ของโลก แต่กลับเผชิญความหลากหลายที่สำคัญจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อำนวนส่งผลให้รัสเซียด้านทวีปยุโรปมีความสำคัญกว่าด้านเอเซีย แต่กลักลายเป็นจุดอ่อนจากการรุกรานจะระทเศมหาอำนาจตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ยูเครนเป็นประเทศเอกราชที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อรัสเซีย เป็นพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่สำคัญของรัสเซีย การกำหนดดำเนินนโยบายของยุเครนที่ออกห่างจากรัศเซีย โน้มเอียงไปทางมหาอำนาจตะวันตกผ่านองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO และสหภาพยุโรป EU ทำให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน นปี 2022 ในที่สุด

           ความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เป็นไปอย่างใกล้ชิดแสดงถึงจุดอ่อนของ


รัสเซียด้านภมฺรัฐศาสตร์ทีมปัญหาและอุปสรรคนานัปการ ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นไม่เหมาะแก่การดำรงชีพของมนุษย์ ความสำคัญของพื้นที่จึงไปทางด้านที่ติดกับยุโรปแม้ด้านเอเซียจะมีพื้นที่ที่มากกว่าก็ตาม อย่างไรก็ตามทางด้านยุโรปรัสเซียเผชิญกับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยูเครนที่รัสเซียเปรียบเสมอืนหนึ่งเป็นแผ่นดินเดียวกันทั้งผุ้ปกครองและประชาชนจำนวนมากมีความโน้มเอียงไปทางตะวันตก จากการับค่านิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบเสรษฐกิจแบบเสรีนิยม และความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่เน้นสิทธิมนุษยชนความเปลี่ยนแปลงที่ถือกำเนิดในกลุ่มประเทศในยะโรปตะวันออกและประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึงของสหภาพโซเวียตอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับรัสเซียเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความคลางแคลงใจระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตก จนเมือยูเครนแสดงท่าทีปรับเปลี่ยนนโยบายสร้างความสัมพันธ์จนอาจกลายเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเหนือ หรือสหภาพยุโรปในอนาคต รัสเซียจึงยอมรับไม่ได้

  จากภูมิรัฐศาสตร์ของยูเครนที่มีรูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน มีที่ตั้งด้านทิศตะวันออกเแียงใต้ของทวีปยุโรป และมีที่ตั้งของพรมแดนด้านทิศเหนือที่ติดเบราลุสและรัสเซีย ทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทิศใต้ติดกับโรมาเนีย มอลโดวา ทะเลอาซอฟ และทะเลดำและทิศตะวันตกติดโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทำให้ยูเครนรับรู้ถึงความเปลียนแปลงของด้านตะวั้นออกที่มีรัสเซียเป็นแกนนำกับด้านตะวันตกที่มีอดีตกลุ่มประเทศประเทศมหาอำนาจยุโรปตะวันตกเป็นแกนนำ ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของประเทศจากความปรารภนาของประชาชนต่อการขับเคลื่อนประเทศ และส่งผลต่อการสร้างความแตกต่างทางความคิดของประชาชนภายในยูเครนที่แบ่งเป็นกลุ่มฝักใฝ่ตะวันตกและกลุ่มฝักใฝ่รัสเซีย แต่การเป็นประเทศที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่ประชิดพรมแดนระหว่างรัสเซียและกำหนดและดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระย่อมแทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึงจากประสบการณ์ของรัสเซีจากประวัติสาสตร์ของประเทศที่มีพรมแดนประชิดที่สำคญ คือ จุดยุทธศาสตร์หรือพื้นที่ด้านความมั่นคง รัสเซียต้องดำินินการหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          ความเปลี่ยนแปลงของยูเครนที่ส่วนหน่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ การขยายตัวขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ และสหภาย


ยุโรป ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของยูเครน จากการปฏิวัติสีส้ม ในปี 2004 ความเปลี่ยนแปลงทั้งมาลเป็นการเคลื่อนตัวจากด้านตะวันตกสู่ด้านตะวันออก ก่อให้เกิดการปะทะกันอย่างเข้มข้น ระหว่างแนวคิดและอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และทุนนิยมผ่านกลไกตลาด และสังคมสมัยใหม่หรือสังคมที่ทัีนสมัย จากประเทศตะวันตก ต่อเนืองถึงการจัดวางตำแหน่งขอวรัสเซียบนสมมติฐานควาเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ การเป็นมหาอาณาจักรนับตั้งแต่อดีตการเป็นอภอิมฟาอำนาจช่วงสงครามเย็น และการเป็นแกนนำของเครือรัฐเอกราชของรัสเซียภายหลังสงครามเย็น ของรัสเซียปัจจุบัน ที่เฝ้ามองติดตามความเปลี่ยนแปลงของประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาอาณาจักรและเป็รัฐกันชน อย่างใกล้ชิดแรงปะทะกันอย่างมหาศาลของกระแสความเปลี่ยนแปลงกดดันให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

           ความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง ที่สำคัญมาจากการขยายอำนาจและอิทธิพลผ่านการเป็นสมาชิก
ใหม่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO ที่เป็นกลุ่มความร่วมมือหรือองค์การระหว่างประเทศซึ่งถือกำเนิดภายหลังวิกฤตการณ์เบอร์ลินหรือการปิดล้อมเบอร์ลิน ของโซเวียต เป็นต้นเหตุแห่งความไม่ไว้วางใจ เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย นำไปสู่การรับสมาชิกใหม่ ได้แก่ เช็ค อังการี และโปแลนด์ ต่อด้วย บัลแกเรีย เอสโตเนีย แลตเวีย ลิทัีวเนีย สโลวาเกีย และโรมาเนีย นับเป็ช่วงเวลาของการก่อกำเนิดองค์การนาโต้สมัยใหม่ เพราะรับสมาชิกประเทศจากกลุ่มยุโรปตะวันออก หรือกลุ่มประเทศจากอดีตสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ขอบเขตด้านพรมแดนขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเนหือประชิดพรมแดนรัสเซีย..

           ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียทำให้รัสเซียนับตั้งแต่อดีตมุ่งเน้นความมั่นคงจาการพัฒนากำลังพลและไพร่พล การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ การพัฒนายุทธปัจจัยอย่างต่อเนืองจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และอภิมหาอำนาจช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเย็น กาล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังสงครามเย็น นำมาสู่การสิ้นสุดความเป็นอภิมหาอำนาจพร้อมกับการล่มาลายเหลือเพียงรัสเซีย ประทเศมหาอำนาจภายหลังสงครามเย็นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และค่อยฟื้นตัวนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และมีบทบาทอย่างมมีนัียสำคัญภายหลังการกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของวบลาดิเมียร์ ปูติน เมืองปี 2012 ที่เติบโตมากับความยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตและการล่มสลาย ซึ่งเท่ากับหายนะของภูมิรัฐศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งศตวรรษ ปูติน อาจจะให้ความหมายสหภาพโซเซียตมากกว่ารัสเซียในปัจจุบัน "ยูเครน" จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย จากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์รัสเซียจึงไม่ปลอยยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตกผ่านองค์การ นาโต้ หรือ สหภาพยุโรป ความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้อนจาการวยัดแคว้นไครเมียใน ปี 2014 นับเป็นสัญญาณของความรุนแรง และนำไปสู่สงครามในปัจจุบัน

          

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical concepts

           อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน 1840-1914 ทฤษฎีสมุทรานุภาพ อัลเฟรด เป็นนายทหารเรือ และนัก
ประวัติศาสตร์เขาเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์และุทธศาสตร์ทางเรือที่วิทยาลัยกองทัพเรือ มาอานให้ความสำคัญกับเรื่องของสมุทรานุภาพเป็นอย่างมาก โดยมาฮานได้เขียนหนังสือชื่อว่า "อิทธิพลของสมุทรานุภาพในประวัติศาสตร์" ออาเผยแพร่เมือปี 1890 โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอำนาจทางทะเลที่มีต่อกิจการทหาร

         มาฮาน มีความเห็นว่า ประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจได้นั้นจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลังอำนาจควบคุมทางทะเลและมหาสมุทร และเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามาราถเป็นมหาอำนาจทางบกและมหาอำนาจทางทะเลได้ในเวลเดียวกัน มาฮานยกตัวอยา่งประเทศอังกฤษ มีลักษณะเป็นเกาะจึงไม่ต้องกังวลกัการรุกรานทางบกจึงทำให้อังกฤษสามารถสร้างเสริมกำลังทางทะเลให้ยิ่งใหญ่ได้จนได้ขื่อว่ "เจ้าสมุทรฎ นอกจากนี้การที่อังกฤษสามารถที่จะเข้าควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล หรือด่านสมุทร ซึ่งเป็นชุมทางและทางผ่านของเส้นทางเดินสมุทรเอาไว้ได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ มาฮานเห็นว่าประเทศที่จะรับช่วงการเป็นเจ้าสมุทรต่อจากอังกฤษก็คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะแม้สหรัฐอเมริกาจะมีที่ตั้งอยู่บนทวีป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการรุำกรานจากทางบก เพราะประเทศเพื่อบ้าน คือ แคนาดานั้นเป็นประเทศที่ไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร นอกจากนี้อาณาเขตของอเมริกาังติต่อกับมหาสมุทรถึงสองแห่งด้วยกัน คือ แอตแลนติกและปแซิฟิก มาฮานจึงเสนอให้สหรัฐฯสร้างกำลังทางทะเลของตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...

           เซอร์เฮาฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1861-1947 ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ เป็นชาวอังกฤษ และทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์อยุ่มหาวิทยาลัยลอนดอน ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่ง


ลอนดอน ทฤษำีของเขามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการก่อสงคราม โดยบุกเข้าไปทางรัสเซียองเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 

        แมคคินเดอร์เห็นว่าพื้นที่ของทวีปเอเซีย ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา นั้นเป็นพื้นดินที่มีความต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว แมคคินเดอร์เรียกแผ่นดินผืนนี้ว่ "เกาะโลก" World Iland และเกาโลกนี้มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญย่ิง คือ บริเวณดินแดนในแถบยูเรเซีย โดยดินแดนนี้เร่ิมจากชายฝั่งทะเลยอลติกและทะดำในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรยในทางตะวันออก และทางเหนือเร่ิมจากมหาสุทรอาร์กติกลงมาจนจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ บริเวณนี้ได้รวมเอาส่วนใหญ่ของที่ราสูงอิหร่านททางตะวันตกเฉียงใต้ และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาไว้ด้วย แมคคินเดอร์ เรียกบริวเณนี้ว่า "ดินแดนหัวใจ" Hearrtland และเห็นว่ากำลังทาเรือนั้นจะเข้ามาในบริวเณดินแดนนี้ได้ยกมาก ยกเว้นแต่ทางด้านทะเลตะวันตก ซึ่งแมคคินเดอร์ก็เห็นว่าอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่น่่ากังวลนัก เพราะในยุทธนาววีระหว่างอังกฤษกับเยอรมันที่แถบคาบมหาสมุทรยุคแลนด์ในปี 1919 นั้น เรือรบของอังกฤษไม่สามารถที่จะข้ามช่องแคบดาร์ตะเนลส์ของตุรกีเข้าไปสู่ทะเลดำได้ ทั้งเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดของเยรอมันก็สามารถป้องกันไม่ให้อังกฤษสามารถเข้าไปในทะเลบอลติกได้ ส่วนทางบกนั้นดินแดนหัวใจถูกลัอมรอบไปด้วยภูเขา ทะเลทราย และน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก ดังนั้นการบุกรุกจากทางบกก็ทำได้ยากเช่นกัน นอกจากนีั้แมคคินเดอร์ยังเห็นว่า หากใครมาสามารถครบอครองดินแดนหัวใจได้แล้วก็จะสามารถบุกไปยังยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกได้โดยง่าย ซึ่งที่ตั้งของเยอรมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อดินแดนหัวใ เรพาะว่าถ้ารวมเยอมันเข้ากับดินแดนหัวใจแล้วก็จะสามารถขยายอิทธพลไปได้กระทั่งจรดชายฝั่งของยูเรเซีย

           ดินแดนหัวใจนั้นถูกล้อมรอบด้วยดินแดนของทวีปยุดรปและเอเชีย อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน จีน ฯลฯ ซึ่งแมคคินเดอร์เรียกบริเวณนี้ว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมใน Inner Marginal Crescent ส่วนดินแดนที่อยุ่ถัดออกมาจากบริเวณดินแดนครึ่งวงกลมริมใน ก็ได้แก่ ทวีปอัฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ แมคคินเดอร์เรียกบริวเณที่เหลื่อเหล่านี้ว่า "เนิแดนครึ่งวงกลมริมนอก"Outer Insular Creseent 

นิโคลัส จอห์น สปีกแมน 1893-1943 ทฤษฎีริมแลนด์ เป็นชาวอเมริกัน และเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันะ์ระหว่างประเทศอยุ่ในมหาลัยเยล สปีกแมนเห็นว่า ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะมากำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่มั่นคง ถาวร นอกจากนี้ สปีกแมนได้ให้นิยามของภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่นคงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่คงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์

          แนวคิดของสปีกแมนเป็นแนวคิดที่สือบเนื่องมาจากความคิดเรื่องดินแดนหัวใจของแมคคินเดอร์ และโดยที่สปีกแมนมองว่า ดินแดนหัวใจนั้นไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ แต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือ บริเวณที่อยุ่ถัดจากดินแดนหัวใจออกมา ซึ่งได้แก่ บริเวณที่อยุ่รอบของดินแดนยูเรเซีย หรือดินแดนที่แมคคินเดอร์เรียกว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมในนั่นเอง แต่ทั้งนี้ยกเว้นตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และเอเซียอาคแนย์ เพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริวเณกันชน Buffer Zone ระหว่างทำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยสปีกแมนเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์" Rimland

          โดนัล ดับเบิลยู ไมนิก เป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แต่งหนังสือเรือง "ดินแดนหัวและริมแลนด์ในประวัติศาสตร์ของยุโรปและเอเซีย" ขึ้นในปี 1956 ได้แบ่งริมแลนด์ออกเป็น 2 ปรเภทคือ ริมแลนด์
ภายในทวีป Continental Rimland และริมแลนด์ริมทะเล Maritine Rimland โดยืั้ก่ีแย้วีิทแบรดฺออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าวนี้ ไมนิกได้พิจารณาในแง่ของการมองข้าข้างใน(ทวีป) และการมองออกข้างนอก(ทะเล) ประเทศที่เป็นริมแลนด์ในทวีปจะมองเข้ามาข้างในทวีป เช่น จีน จีนต้องมองเข้าข้างในเพราะเกรงรัสเซียจะรุกราน เป็นต้น ส่วนประเทศที่เป็นริมแลนด์ริมทะเล จะมองออกทะเล เช่น ประเทศไทย เพราะในยุคหนึ่งศัตรูจะมาจากทางทะเล เป็นต้น ไมนิกได้พิจารณาปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความโน้มเอียงของนโยบาย และวัฒนธรรมของรัฐแถบริมแลนด์ว่าจะกำหนดอย่างไร ซึ่งก็เท่ากับได้กำหนดหน้าที่ของดินแดนหัวใจนั้นเอง

           ไมนิกได้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายและความโน้มเอียงทางการเมืองของประเทศใดๆ ก็ตามที่อยู่ในดินแดนริมขอบ อาจจะสลับไปมาระหว่างมองเข้าข้างในและมองออกจากภายนอกได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความกดดันทางประวัติศาสตร์และาการเมือง ดัวอย่างของประเทศที่ไม่นิกยกตัวอย่างคือ ประเทศไทย ในยุคแรก ไทยทองเข้าไปในทวีปก็เพราะข้าศึกส่วนใหญ่รุกรานมาจากภายในทวีป เช่น พม่า เขมร เป็นต้น ในยุคอาณานิคม ไทยมองออกไปทางทะเล เพราะข้าศึกที่อาจจะรุกรานมาทางทะเล ในยุคสงครามเย็น ไทยก็มามองเข้าไปภายในทวีปอีก เพราะข้าศึกอาจจะรุกรานเข้ามาทางผืนแผ่นดินใหญ่ตอนเหนือ ได้แก่ จีนและโซเวียต

            ตามทฤษฎีของไมนิก ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครคุมดินแดนหัวใจได้ จะสามารถครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย แต่แม้กระนั้นก็กล่าวได้วาภายในสภาพบางประการ ผุ้ที่ครอบครองดินแดนหัวใจอยู่จะมีโอกาสครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย

           ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 งานเกี่ยกับอำนาจของประเทศยังคงมีอยุ่ แต่แนวโน้มมุ่งไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาภูมิศาสตร์การเมืองโดยเฉพาะเป็นเรื่องๆ มากกว่าอย่างอื่น ในปี 1920 หนังสือเกี่ยวกับวิชาและปัญหาของพรมแดน การประชุมระหว่างรัฐบุรุษของโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อาศัยความรู้ในวิชานี้ในการทำแผนที่ใหม่ของยุโรป เช่น วู้ดโรว์ วิลสัน Woodroll Wilson อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับคำแนะนำจากผุ้เชี่ยวชาญทางด้านวิชานี้ คือ 

 ดร.ไอไซอาร์ โบว์แมน Isaiah Bowman ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน ซึ่งเป็นความสำคัญต่อวิชาการเมืองระหว่างประเทศมากผลงานของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ โบว์แมนได้ศึกษาและจัดแบ่งเขตภูมิวทยาของสหรัฐฯ และจัดพิมเป็นหนังสือเรื่องภูมิวิทยาป่าไม่ Forest Physiography โบว์แมนได้ขยายสมาคมภุมิศาสตร์จนมีความสำคัญระดับโลก หนังสือที่มีชื่อเสียงอีกเล่นหนึ่ง คือ 

          โลกใหม่ : ปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมือง The New World : Problem in Political Geography ตีพิมพ์ในปี 1921 โบว์แมนได้อภิปรายปัญหาดินแดนทางภูมิศาสตร์ทางการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้วางแนวทางของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองไว้ 2 แนว

         แบบมีระบบ Systematic และแบบมีดินแดน บริเวณทางการเมือง Regional โบว์แมนนั้น นับว่าเป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ที่ปฏิบัติงานด้านรักษาความสงบและสันติภาพให้แก่โลก โดยการชยายการทำแผนที่ความร่วมมือระหว่างประเทศลงไปทางทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดการวางแผนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสำรวจและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จนทำให้วิชาภูมิศาสตร์มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา...


                 ที่มา : https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN/search_detail/result/192642 


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitics

             ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นวิชาที่บูรณาการจาก 3 วิชา คือ รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการทหาร เร่ิมการสอน
ในประเทศสวีเดน เมือปี 1916 และถูกนำไปเป็นวิชาหลักสำคัญของเยอรมนีและแพร่ไปทั่วโลก โดยพลเอกศาสตราจารย์คาล เฮาโซเฟอร์ ผุ้เสนอทฤษฎี เลเบนสเราม์ มีแนวคิดว่ รัฐเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพื้นที่ดินเพื่อขยายตัวอยุ่ตลอดเวลา จึงถูกระบอบนาซีอ้างเป็นเหตุในการขยายอาณาเขตกระทั่งกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเอง

           ภูมิรัฐศาสตร์ประกอบด้วย รัฐศาสตร์ ซึ่งภูมิรัฐศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ภูมิศาสตร์ ตั้งเิมจะเน้นเฉพาะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง สมุทรศาสตร์ ภูมิอากาศวิทยา หิน อุตุนิยม เป็นต้น เพื่อประกอบกับเรื่องการทหาร สำหรับฝ่ายการเมืองจะนำไปเป็นข้อพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นนโยบายการต่างประเทศต่อไป แต่ภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญต่อวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่น สาขา ภูมิรศาสตร์วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ภมฺิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์ศาสา เป็นต้น ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์การศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น

          อาทิ ปัญหาในตะวันออกกลางหากจะวิเคราะห์ในแง่ของภุมิรัฐศาสตร์โดยปราศจากความรู้ทางภมิศาสตร์ศาสนาจากสาขาภูมิศสตร์มนุษย์ก็ยากที่จะเขาใจได้ จึงกล่าวได้ว่า ภูมิรฐศาสตร์ยุคใหม่นี้เน้นความสำคัญของภูมิศาสตร์มนุษย์มากกว่าเดิมซึ่งให้ความสำคัญเฉพาะภูมิศาสตร์กายภาพเท่านั้น

          การทหาร ในวัชาภูมิรัฐศาสตร์นั้น กลักการที่สำคัญเป็นหัวใจของการทหารคือ War is mere continuation of policy by other means...a real political instrument...a continuation of political commerce... -สงครามเป็นเพียงความต่อเนื่องของนโยบายแบบหนึ่ง..เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างแท้จริง..เป็นส่วนต่อของพาณิชย์การเมือง" 

         เมื่อสงครามโลกครังที่ 2 ยุติลง โลกได้รู้จักกับนิวเคลียร์ เกิดการแข่งขันระหว่าง 2 มหาอำนาจ สหรัฐฯและรัฐเซีย ชีปนาวุธทีสามารถยิงได้ทัี่วทุกมุมโลก ทำให้ภูม้ิรัฐศาสตร์กลายเป็นวิชาที่บรรดามหาวิทยาลัยต่างๆเลิกสอน เลิกทำการวิจัยทางภูมิรั้ฐศาสตร์เกือบหมด

        เมื่อโลกเข้าสู่สงครามเย็น ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีว่าหากเกิดสงครามนิวเคลียร์จะได้รับผลเสียหายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครจะแพ้หรือชนะ ดังนั้น 2 มหาอำนาจต่างให้การสนับสนุนความขัดแย้งในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า สงครามตัวแทน ความขัดแย้งที่มีพื้นฐานมาจาการต่อสู้ทางอุดมการณ์และภูมิรัฐศาสตร์เพื่ออิทธิพลทั่วโลกโดยสองมหาอำนาจ 

        ดังนั้นการสงครามที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีใครนำอาวุธนิวเคลียร์ออกมาใช้ ยังคงใช้อาวุธนานาชนิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ การเมือ กองทัพทหารและต้องอาศัยภูมิศาสตร์เป็นหลักในการสงครามเหมือนในอดีต ภมฺรัฐศาสตร์ จึงกลับมาได้รับความสนใจ 

          ฟรีดริส รัทเซล เป้นนักภูมิศาสตร์และนักชาิตพันู์วิทยาที่มีชื่อเสียงที่ได้ให้คำอธิบายถึงศัพท์ "Lebensraum" หรือ "การขยายดินแดนเพื่อความอยุ่รอดของรัฐ" ความสำคัญของเขาที่มีต่อวิชาภฺมรัฐสษสตร์ก็คือ เขาเป็นผู้แผ้วทางแนวทางของภูมิรัฐศาสตร์โดยการนำความรู้ด้านภูมิศาสตร์ใสนเรื่องของระวางที่ เข้ามาผนวกเพื่อวิเคราะห์แนวทางทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความมั่นคง

          ในปี 1975 รัทเซลเดินทางกลับถคงเยอรมันและได้รับเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคนิคในเมืองมิวนิค และในปีถัดมาเขาได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญข้นมาซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการก่อตังสาขาวิชา "ภูมิรัฐศาสตร์วัฒนธรรม" ในปี 1880 เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ในระหว่างที่เขาเป็นอาจารย์อยุ่เมืองมิวนิคเาผลิดผลงานทางวิชาการและตำราขึ้จำนวนมาก ปี 1886 เขาได้รับแต่งตั้งให้ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยในเมืองไลพ์ซิก คำบรรยายของเขาได้รับความสนใจจากคนในแวดวงภูมิศาสตร์อย่างมาก และตัวของรัทเซลก็ยิ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเมือง เอลเลน ครูชิล ซิมเปิล นักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันได้นำคำสอนของเขาไปเผยแพร่..เขายังได้เป็นผู้วางรากฐานวิชา "ภูมิศาสตร์มนุษย์"ด้วยแต่ถูกนำไปตีความผิดๆ

          รัทเซล เกี่ยวข้องกับวิชาภูมิรัฐศาสตร์ในปี 1897 เป็ปีที่เขาตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อว่า"ภูมิศาสตร์การเมือง" ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะเมือแปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นการผนวกเรื่องระวางที่ กับเรื่องทางกเมืองเข้าด้วยกัน เป็นจุดเร่ิมต้นขแงอนวคิดแบบ "ชีวรัฐ" โดยเขามทองว่ารัฐเปรียบเสมือนสิงมีชีวิต ดังนั้น รัฐจึงต้องมีการเจริญเติบโต และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่รัฐต้องชยายดินแดนจึงเป็นเรื่องปกติเพราะการขยายดินแดนของรับก็เพื่อความอยุ่รอดของชาตินั่นเอง และยังเป็นแนวคิดทางสังคมแบบดาร์วินอีกด้วยซึ่งหลัการสำคัญของทฤษำีวิวัฒนาการของดาร์วินก็คือการคัดสรรโดยธรรมชาิตที่อธิบายว่่าสิงมีชีวิตที่มีสภาพและลักาณะเหมาะสมในการดำรงชีวติมากกว่าจึงจะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ เมื่อนำแนวคิดอย่างนี้มาใช้กับสังคมโดยเฉฑาะสังคมรัฐก็หมายถึงว่่ารัฐที่เข้มแข็งหรือเหมาะสมกว่าก็ควรทีจะอยู่ต่อไปส่วนรัฐที่อ่อนแอ่ไม่เหมาะสมก็ควรต้องสูญไป ผลงานที่เป็นรากฐานต่อมาของวิชาภูมิรัฐศาสตร์ก็เช่น  ความเรียงว่าด้วยการขยายดินแดนเพื่อความอยู่อดของรัฐ ตีพิมพ์ปี 1901 ผลงานต่างๆ ของรัทเซลเป็นรากฐานของวิชาภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยอรมันและทำให้วิชาภูมิรัฐศาสตร์ต่อไปของเยอรมันมัลักษณะพิเศษจากที่อื่น

           ผลงานของรัทเซลในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมศาสตร์การเมืองนั้นได้รับการผลิตออกมาในช่วงเดียวกันกับที่ลัทธิอุตสาหกรรมมนิยมในเยอรมันกำลังเจริญเติบโตภายหลังจากสงครามฟรานโก-ปรัสเซีย และเป็นช่วงหลังจาการแข่งขันในการค้นหาตลาดเพื่อระบายสินค้ากับอังกฤษ ทำให้แนวคิดของเขาตรงกับความต้องการในการแผ่ขยายจักรวรรดิของเยอรมัน....

 

                   ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_4573267

                            https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/192659

                             


          

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Hezbollah...

          อิซบุลลอฮ์ "พรรคแห่งพระเจ้า" เป็นพรรคการเมืองของชาวมุสลิมชีอะฮ์ในเลบานอน ซึ่งมีกองทัพของตนเอง ก่อตั้งในปีปีที่อิสราเอลบุกเลบานอน 1982 โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองกำลังป้องกันอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่กองทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ในปี 2000



 

         เลบานอน หรือ สาธารณรัฐเลบานอน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉัยงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเป็น 1 ใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษชาติ"

         แหล่งกำเนินมนุษยชาติ Cradle of Humankind... เป็นสภานที่ทางโบราณคดีในแอฟริการใต้ ซึ่ง อาจหมายถึง ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติยุคก่อนประวัติศาสตร์, วิวัฒนาการของมนุษย์ต้นกำเนิดทางชีวภาพของเผ่าพันธ์มนุษย์, ตำนานการสร้างมุมองทางเทววิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเผ่าพันธ์มนุษย์, https://genius.com/Flogging-molly-the-cradle-of-humankind-lyrics,)

        เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรยแลอิสราเอล พรมแกนที่ติดกับอิสราเอล ได้รับการรับรอง
จากองค์การสหประชาชาติ แต่พื้นที่บางส่วน เรียกวใ่า "ซีบารหามส์ ตั้งอยุ่ในที่ราบสูงโกลัีน

           ที่ราบสูงโกอัน เป็นภูมิภาคในลิแวนต์ทีมีเนื้อที่ 1,800 ตารางกิโลเมตร (ุ690 ตารางไมล์) ซึ่งมี
ความหมายแตกต่างไปตามาความหายของทางธรณีวิทยาและชีวภูมิศาตร์ ที่ราบสูงโกลันหมายถึงที่ราบสุงหินมะซอลต์ ที่มีอาณาบริเวณ แาม่น้ำยาร์มุกทางใต้ ทะเลกาลิลีและหุบเขาฮุลาทางตะวันตกเทือกเขาแอนติเลบานอนและภูเขาฮอร์มอนทางเหนือ และ Ruqqad ทางตะวันวันออก ขณะที่ในทางภูมิศาสตร์จะหมายถึงพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครองในสงคราม 6 วัน เมือปี 1967 และปกครองโดยอิสราเอลตั้งแต่ปี 1981 

       หลักฐานชิ้นแรกสุดที่มนุษย์ตั้งถ่ินฐาในบริเวณนี้นั้นอยุ่ในช่วงปลายยุคหิน ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นส่วนหนึี่งของเบซัน อาราจักรของชาวอามูร์ที่ถูกวงศืงานอิสราเอลพิชิต ในคัมภีร์โทราห์ระบุว่าที่ราบสูงนี้เป็น"ศูนย์กลางของการแย่งชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์แหงอิสราเอลกับชาวแอราเมียน ที่มีฐานอยุ่ใกล้อามัสกัสในปัจจุบัน หลังอัสซีเรียและบาลิโลเนียเสื่อมอำนาจ เปอร์เซียได้เข้ามามีอำนาจและอนุญาตให้ชาวยิวกลับมาอาศัยยังที่ราบสูงนี้หลังถูกกวาดต้อนมาจากเยรูซาเลมที่ อาณาจักรบาบิโลนเข้าครอบครอง ต่อมาในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ชาวอิทูเรียรตั้้งรกรากในที่ราบสูงและอาศัยเรื่อยมาจนสิ้นยุคไบแซนไทน์ หลังจากนั้นมีชนหลายกลุ่มอาศัยในที่ราบสูงโกลัน เช่น เมดูอิน ครูซ เติรกเมน และเซอร์คัสเซียน

        นับแต่สงคราม 6 วัน พื้นที่ทางตะวันตก 2/3 ถูกยึดและปกครองโดยอิสราเอล ขณะที่พื้นที่ทางตะวันออกอยู่ใต้การปกครองของซีเรีย ซีเรียปฏิเสธที่ะเจรจากับอิสราเอลตามข้อมติคาร์ทูมหลังสงคราม ในปี 1974 มีการจัดตั้งพื้นที่กันชนที่ดูแลโดยกองกำลังสังเกตการณ์การถอนกำลังแห่งสหประชาชาติ UNDOF ระหวา่ง อิสราเอล-ซีเรีย 

       อิสราเอลปกครองส่วนที่ยึดได้ด้วยกำลังทหารกระทั้งมีการผ่านกฎหมายปกครอง ปี 1981 ซึ่งบางฝ่ายมองวาเป็นการผนวกดินแดน ฝ่ายคณมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการผ่านกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่า "การตัดสินใจของอิสราเอลในการบังคับใช้กฎหมาย เขตอำนาจ และการจัดการการปกครองที่ราบสูงโกลันที่ยึดครองจากซีเรยถือเป็นโมฆะ และไม่มีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ  แต่อิสราเอลก็อ้างสิทธิตามข้อมติเดียวกัน 242 ที่เรียกร้องให้มี "เขตแดนที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ ปลอดจากภัยคุกคามและกำลังทหาร" .. ในปี 2019 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศยอมรับที่ราบสูงโกลันเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล ทำให้สหรัฐกลายเป็นชาติแรกที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเนหือที่ราบสุงโกรัน ส่วนสหภาพยุโรปประกาศไม่ยอมรับอำนาจอธิปไจยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงนี้ ขณะที่ เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "สภานภาพของที่ราบสูงดกลันนั้นไม่เปลี่ยนแปลง"

"ซีบาฟามส์" ตั้งอยุ่ในที่ทราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่่าเป็นพืท้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ซีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน ซีเรียยังคงกำลังทหารกว่า 14,000 นายในเลยานนอ ชาวเลบานนอที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยุ่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมือปี 1975 ผุ้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยุ่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึคครองโดยอำนาจต่างชาติ

           เลบานอนอยุนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในปี 1943 หลังจากนั้น เลยานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็น


ศูนย์กลางด้านการค้าการเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ แต่ช่วงสงครามกลางเมือง ปี 1975-1991 ความขัดแย้งระหว่างอาหรับและกลุ่มคริสเตรียนในเลบานอน ซึ่งร่วมกันหาขอ้ยุติได้และฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

          ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบยานอนมากที่สุด ดดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยุ่ในเลยานอนประมานสามหมื่นนาย และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างซีเรย เลยานอน กับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า

           การก่อตั้งอิซบุลลอฮ์ได้รับแรงบันดาลจจากความสำเร็จในการปฏิวัติอิสลามของ อายะดุลลอห์ โคไม่นี ผุ้นำอิหร่านในสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอนาธิไตยของมุสลิม และปกป้องมาตุภูมิเลบานอนให้พ้นจาการรุกรานของชาวอิสราเอล อิซบุลลอฮ์ก่อตั้งโดยกลุ่มอุละมาฮ์ในพรรค อัลอะมัล ที่ได้แยกตัวออกมาตั้งพรรคการเมืองต่างหาก พรรอะมัลเป็นการเมืองของมุสลิมชีอะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซีเรีย เมือพรรคอิซบุลลอฮ์มีสมาชิกและฐานเสียงมากขึ้น ซีเรียก็ให้การสนับสนุนเที่ยบเท่ากับพรรคอัลอะมัล

          อิซบุลลอฮ์เน้นนโยบายอิสลามที่สนับสนุนความปรองดองระหว่างชาวเลบานอน เคารพสิทธิเสรีภาพของทุกศาสนาและลัทธิ และต่อสู้การรุกรานอิสราเอล อิซบุลลอฮ์จึงเป็ที่ยอมรับของชาวเลยานอน 



สหรัฐฯและอิสราเอลระบุว่า กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินและการเมือง ร่วมทั้งอาวุธและการฝึกฝนจากอิหรานและซีเรีย ซึ่งทางซีเรียเองก็ยอมรับว่าให้การสนับสนุนจริง แต่ปฏิเสธเรื่องการส่งอาวุธ

         ฮิซบุลลอฮ์ได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิมในเลบานอนเป็๋นอย่างดี ในปัจจบันมีเก้่าอี้ในรัฐสภาเลบานอน 2- ที่นั่ง จาก 128 ที่นั่ง ฮิซบุลลอฮ์มีนโยบายสาธารณะหลักๆ คือการสร้างโรงพยาบาล สถานศึกษา และให้บริการด้านสังคมอื่นๆ 


         8 ตุลาคม 2023 ตามเวลาท้องถ่ิน มีกระสุนปืนใหญ่ยิงมาจากตอนใต้ของเลบานอน ตกใส่บริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งซีบา" Shebaa Farms ทางเหนือของอิสราเอล โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ต่อมา กองทัพอิสราเอลรายวานว่า ได้ดำเนินการยิงตอบโต้ไปยังจุดที่มีการยิงมา จากนัน กลุ่ม "ฮิซบุลลอฮ์"ออกแถลงการยอมรับว่าการโจมตีพื้นที่อิสราเอลทางตอนเหนือเป็นฝีมือของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ 

        23 ตุลาคม 2023 สงครามอิสราเอล-ฮามาส ผ่านมากว่า 2 สัปดาห์ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 6,000 คน หลายฝา่ยประเมินว่าสงครามจะไม่ยุติในเร็ววัน เมื่อเบนจามิน เนทันยาฮฺ นายกรัฐมนตรี อิสราเอล ประกาศกร้าว "ถอนรากถอนโคน ฮามาส" ซึ่งฮามาสเองได้รับการสนับสนุนจากลุ่มประเทศอาหรับ อิหร่าน ซีเรีย และการประกาศร่วมรบกับอิสราเอลของ "กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ที่มีเป้าหมาย คือ "ทำลายล้างอิสราเอล" เช่นกัน

          

             ที่มา : วิกิพีเดีย

                      https://www.thaipbs.or.th/news/content/333101

                      https://www.pptvhd36.com/news..A8/207551

          






วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ansar Allah... ( Houthi )

           อับศอรอัลลอฮ์ "ผู้สนับสนุนพระเป็นเจ้า" หรือที่รุ้จักกันในชื่อ ฮูษี หรือ ฮูตี เป็นกลุ่มลุอะฮ์ซัยดียะฮ์ ซึ่งปฏิบัติการในประเทศเยเมน กลุ่นี้เอาชือมาจากฮุซัยน์ บัตร์อัดดีน อัลฮูษี ซึ่งเปิดฉาการก่อในปี 2004 และมีรายงานว่าถูกกองทัพเยเมรสังหารเมืองกันยายนปีนั้น กลุ่มนี้นำโดย อับดุลมะลิก อัลฮูฏี ซึ่งประสบความสำเร็จในรัฐประหารปี 2014/2015 และปัจจุบันยังควบคุมกรุงซานา เมืองหลางของประเทศเยเมน และรัฐสภา

            ในอดีตเยเมนถูกแบ่งออกเป็นเยเมนเหนือกับเยเมนใต้ กว่า 200 ปี

            เยเมนเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรล่มสลายเยเมนเหนือจึงได้รับเอกราช เมือปี 1918 และกลับสู่การปกครองโดยระบออบกษัตริย์ กระทั้งเกิดการรัฐประหารโค่มล้มอิหม่าามโดยหัวหร้าทหารราชองครักษ์ เป็นแกนนำ จากนั้นจึงมีการประกาศให้เยเมนเหนือปกครองโดยระบอบสาะารณรัฐ การก่อรัฐประหารดังกล่าวนำไปสู่สงครามแลางเมืองในเยเมนเหนือระหว่างกลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย กับรัฐบาลใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิยิปต์ กระทั่งมีการเจรจาข้อตกลงสันติภาพระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอียิปต์ ซึ่งต่างเปนมหาอำนาจในภูมิภาคที่เข้าแทรกแซงสถานการณ์ในเยเมนเหนือ สงครามยุติในปี 1970 โดยมีข้อตกลวสำคํย คอ การคงระบอบการปกครองเยเมนเหนือด้วยระบอบสาธารณรัฐ และการเปิดทางให้กลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามสามารถกลับมาแข่งขันตามกลไกการเมืองปกติ

          เยเมนใต้ เดิมอยู่ภายใต้การปกครองโดยสุลด่าน ก่อนตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้แต่ปี 1839 ต่อมาเกิดกลุ่มแนร่วมปลดปล่อยแห่งชาติในเยเมนใต้เมื่อปี 1960 เคลื่อไหวต่อต้านการยึดครองของอักฤษ กระทั่งเยเมนใต้ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมือ พฤศจิกายน 1967 เยเมนใต้ขณะนัันได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียต จึงนำแนวคิดมาร์กซิสต์และระบอบสังคมนิยมมาใช้ปกครองประเทศ ดดยสถาปนาเยเมนต้เป็นสาธารณรัฐประชาชนเยเมน และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมนเมืองปี 1970 ทั้งนี้ ความแตกต่างทากงรเมือง การปกครอง และภาวะสงครามเย็น เป็นชนวนเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเยเมนเหนือและเยเมนใต้ และนำไปสู้การสู้รบตั้งแต่ปี 1969-1990 รัฐบาลเยเมนได้อยู่ในภาวะอ่อนแอ ประธานธิบดี อะลี อับดุลลอฮ์ ศอลิห์ ของเยเมนเหนือ ใช้โอกาสดังกล่าว่ดำเนินนโยบายสร้างความปรองดองกับเยเมนใต้ นำไปสู่การผนวกดินแดนเป็นสาธารณรัฐ เมือ 22 พฤษภาคม 1990 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก

           "กลุ่มกบฎฮูตี" 

             กว่า 30 ปีที่แล้ว ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์หลุ่มหนึ่งได้่กอตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า "ซะบาบอัลมุอ์มิน Ansarallah" ขึ้นมาเพือรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนในนิการบีอะห์เกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนในประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี การก่อตั้งดังกล่าวสืบเนืองจากผูปกครองประเทศในขณะนั้นเป็นนิกายซุนนีย์ มีความพยายามที่จะลบประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของเยเมนที่เคยถุกปกครองโดยผุ้นำที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์มาเป็นเวลาหลายร้อยปีให้หมดไปจากควาททางจำของเด็กและเยาชนชาเยเมนรุ่นใหม่

 กลุ่มฮูตีตั้งขั้นในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดย ฮุสเซน อัล-ฮูตี "กลุ่มผู้ศรัทธา" ซึ่งเป็นขบวนการฟื้นฟูศสนาสำหรับลัทธิไซอิด Zaiism นิกายย่อยอายุหลายร้อยปีของศสนอิสลามนิยายชีอะห์ ซึ่งปกครองเยเมนมาหลายศตวรรษ แต่ถุกละเลยภายใต้ระบอบการปกครองของมุสลิมนิกายซุนนีย์ ที่เข้ามามีอำนาจหลังสงครามกล่างเมืองเมือปี 1962 ขบวนการของ อัล-ฮุตี ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนลัทะิไซอิด และต่อต้านแนวคิดของมุสลิมซุนนี่หัวรุนแรงโดยเฉพาะ Wahhabi จากซาอุดิอาระเบีย

             หลังการรวมชาติ อาลั อับดุลเลาะห์ ประธานาธิบีคนแรกของเยเมน ได้ให้การสนับสนุนเยาชนผุ้ศรัทธาในช่วงแรกๆ แต่ต่อมาความนิยมของกลุ่ม"ผู้ศรัทธา"เพือมมากขึ้นและเร่ิมมีวาทกรรมต่อต้านรัฐบาลรุนแรงขึ้น จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของซาเลห์ กระทั้งปี 2003 เมื่อซาเลห์สนับสนุนการรุกรานอิรักโดยสหรัฐฯ จึงถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนในประทศ อัล-ฮูตี จึงใช้โอกาสนี้ จัดการเดินขบวนประท้วง โดยเหตุการปะทุนานหลายเดือน ก่อนที่ซาเลห์จะออกหมายจับเขา และถูกสังหาร ในเดือน กันยายน 2004 โดยกองทัพเยเมน แต่การเคลื่อนไหวของเขายังคงอยู่ ฝ่ายทหารฮูตีขยายตัวเมือมีนักรบเข้าร่วมมากขึน ประกอบกับแรงหนุนจากกระแสประท้วงอาหรับในช่วงต้นปี 2001 Arab Spring ทำให้กลุ่มฮูตีสามารถยึดครองจังหวัดซาดาทางตอนเนหือ และเรียกร้องให้ยุติอำนาจการปกครองของ "ซาเลห์"

 ประธานาธิบดีซาเลห์ ตกลงส่งมอบอำนาจแก่รองประธานาธิดบีอันด์ รับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ในปี 2011 แต่รัฐบาลที่มีรากฐานจากตัวเขาไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป ขณะที่กลุ่มฮูตีรุกคืบขยายอำนาจในปี 2014 และเริ่มยึดครองพื้นที่บางส่วนของกรุงซานา ก่อนจะบุกยึดทำเนียบประธานาธิบดีในปีต่อมา ส่งผลให้ฮาดีต้องหนีไปซาอุดิอาระเบีย และเปิดฉากสงครามกลางเมืองต่อต้านกลุ่มฮุูตีจากนอกประเทศในปี 2015 การสู้รบระหว่างกองกำลังรัฐบาลเยเมนชุดเก่ากับกลุ่มฮูตียืดเยื้กระทั้งมีการลงนามข้อตกลงอยุดยิงในปี 2022 แต่เพียงแค่ 6 เดือนการสู้รบก็ปะทุขึ้นอีก แม้จะไม่เป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเช่นเดิม

          ความรุนแรงของสงครามกลางเมืองเยเมนครั้งนั้น UN ระบุว่าเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้อยที่สุ โดยมีประชาชนเสียชีวิตเกือบ 5 แสนคน และนับจากหยุดยิง กลุ่มฮูตีได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของเยเมน  ขณะเดียวกันยังพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงกับซาอุดิอาระเบียเพื่อยุติสงครามอย่างถาวรและคงบทบาทของพวกเขาในฐานะผู้ปกครองประเทศ

           กลุ่มฮูตีได้การสนับสนุนจากอีหร่าน ซึ่งเร่ิมต้นให้ความช่วยเลหือ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองในปี 2014  ท่ามกลางความพยายวามขยายอำนาจในภูมิภาคของคู่แข่งอย่างซาอุดิอาระเบีย

           ฮูตียังเป็นส่วสนหนึ่งของกลุ่มที่เรียกว่า "อักษะแห่งการต่อต้าน " Axis of Resistance " ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรต่อต้านอิสราเอลและชาติตะวันตก และเป็นหนึ่งในสามกองกำลังติดอาวุธที่โดดเด่นและได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เช่นเดียวกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา และกลุ่มอิซบอลเลาะห์ในเลบานอน


          สหรัฐฯ มีการติดตามการปรับปรุงขีปนาวุธของอกลุ่มฮูตีที่ผลิตเอง ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนืองในด้านพิสัยโจมตี ความแม่นยำ และความรุนแรง ในช่วงแรกอาวุธส่วนใหย่ใช้ส่วนประกอบจากอิหร่านที่ลักลอบนำเข้าเยเมน ก่อนจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาอยา่งรวดเร็วแบบก้าวกระโดด แม้อิสราเอลจะสามารถสกัดอาวุธของกลุ่มฮูตีได้ แต่ขีปนาวุธของฮูตีสามารถสร้างความเสียหายและวิกฤตให้กับทะเลแดง         

          พฤศจิกายน 2023 ฮูตีอ้างว่าได้ยึดเรือสินค้าของอิสราเอลได้ลำหนึ่ง และหลังจากนั้นก็เริ่มใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีเรือสินค้า ที่แล่นผ่านทะเลแดงหลายลำ โดยมีสถิตกการโจมตีบ่อยถี่ขึ้น 500% ในเดือน พฤศจิกายนและ ธันวาคม 2023 ภัยคุกคามดังกล่าวทำให้บริษัทขนส่งสินค้าทางทะเลรายใหญ่ ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการประกันภัยพุ่งสูงกว่าเดิมถึง 10 เท่า นับแต่ต้นเดือน ธันวาคมเป็นต้นมา  โดยบริษัทขนส่งทางทะเลชั้นนำต่างก็ประกาศว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือใหม่ สภาพการเช่นนี้ทำให้เกรงกันว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้นและห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้าจะได้รับการเสียหาย เนืองจากการค้าทางทะเลเกือบ 15% ของโลก อาศัยเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง  ซึ่งเชื่อมต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านคลองสุเอซ อันเป็นทางลัดทีสั้นที่สุดของการขนส่งสินค้าระหว่างทวีปยุโรปกับเอเซีย 

           

                         ที่มา : วิกิพีเดีย

                                   https://www.bbc.com/thai/articles/c4nyyj1p2eno

                                   https://thestandard.co/get-to-know-the-houthi/

                                   https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01/99_2565_UbNFGtW.pdf

                                  SSC Focus ฉบับที่ 13-58 จุดกำเนิดของกลุ่มกบฎฮูติในเยเมน.pdf

                                   

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Hamas...

            ฮามาส ย่อมาจากเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ แปลว่า "ขบวนการอิสลามเพื่อการยื่นหยัดต่อสู้"เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถืออิสาลามและมีกองกำลังติดอาวุธ เป็นขบวนการที่เป็นผลพงจากการต่อต้านอิสราเอลในปี 1987 เป็นกุ่มเคร่งศาสนาสายซุนนี่ สืบทอดอุดมการณืจากขบวนการภารดรภาพมุลสลิม อียิปต์  ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่นับถือยิกายชีอะห์ โดยขบวนการเป็นที่ทำการในอิหร่านเมือ ปี1995 อย่างไรก็ตามขบวนการนี้ตกต่ำในช่งปี 2001-2002 โดยถูกขับจากจอร์แดนในปี 2001 และแบ่งกลุ่มออกเป็นสองส่วนในเขต เวสต์แบงก์และดามัสกัส

          ฮามาสก่อตั้งเมือปี 1987 โดยเป็นเครือข่ายของกระบวนการเคลื่อนไหว ขบวนการภราดรภาพมุสลิม (เป็นขบวนการขับเคลื่อนทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจตามแนวทางของอิสลาม คาดว่ามีสมารชิก 2-2.5 ล้านคน ก่อตั้งโดยฮะซัน อัลบันนา ชาวอียิปต์ เมื่อปี 1985 กลุ่นนี้ขยายไปยังประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่มีองค์การใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะถูกรัฐบาลปราบปรามเรื่อยมา ขบวนการภราดรภาพมุสลิมอียิปต์ หรือ อิควานุลมุสลิม ได้สนับสนุนปาเลสไตน์โดยในปี 1948 ได้ส่งอาสาสมัครไปยับยั้งการก่อสร้างรัฐอิสราเอลทำให้ถูกประธานาธิบดี นัสเซอร์ปราบปรามอย่างรุนแรง) ฮามมาสได้รับความนิยอย่างมากทั่วปาเลสไตน์ โดยไดรับชัยชนะ ในการเลือกตั้งเข้าสู่สภาพของปาเลสไตในปี 2006 

        ฮามาสก่อตั้งดย เชคอะห์มัด อิสมาอีล ฮะซัน ยาซีน ซึ่งเป็นผุ้นำทางศาสนา ในการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลครั้งแรก มีจุดประสงค์หลักเพื่อยุติการยึดครองทางทหารของอิสราเอล ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญมไ่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ การสรา้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้งกนึ่ง บนแผ่นดินเดิมก่อนที่จะเป็รัฐอิสราเอลเมื่อปี 1948 ฮามาสสร้างความนิยมในหมู่ปาเลสไตนน์ที่ยากจน ด้วยการจัดหหาความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ สร้างโรงเรีย โรงพยาบาล และศุนย์ทางศาสนา และทีแตกี่างจากกระบวนการทางการเมืองปาเลสไตน์อื่นๆ คือ ฮามาสไม่เข้าร่วมสมาชิกองค์กรปลอปล่อยปาเลสไตน์ PLO  และต่อต้านการเซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล แม้จะเคยทำสัญญาหยุดยิงกับอิสราเอลหลายครัง และนอกประเทศ นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนจากประเทศอหาหรับอื่นๆ และรัฐบาลอิหร่านอีกด้วย

         ฮามาส มีหน่วนรบอซซุดดีน อัลกอสซาม ซึ่งเชื่อกันว่ามีสมาขชิกหลายพันคน  และเคยสู้รบกับอิสราเอลหลายครัง ทั้งยังตอบโต้อิสราเอลโดยการยิงจรวดเข้าไปในเขตตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อโต้ตอบการที่อิสราเอลโจมตีในอนวนกาซา

       


ฮามาสออกแถลงการ เมื่อเดอืนสิงหาคม ปี 1994 ประกาศจุดยืนของตนว่าจะขัดขืนและตอบโต้ขบวนการไซออนนิสต์เป็นหลัก กลุ่มนี้มองว่าข้อตกลงสันติภาพออสโลระหว่างยิวและอาหรับเป็นการยอมแพ้ต่อเงื่อนไขของไซออนนิสต์ และองค์กรปลกอปล่อยปาเลสไตน์ไม่ได้เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์อีกต่อไป จุดหมายระยะยาวของฮามาสที่ประกาศในเดือนเมษา ปี เดียวกันนั้น คือ ให้อิสราเอลถอนตัวออกจากอินแดนยึดครองทั้งหมด ปลดอาวุธผู้เข้ามาตั้งรกรากและยกเลิกการตั้งถ่ินฐนใข้กองกำลังนานาชาติบนเส้นทางสีเขียวที่สร้างขึ้นในเขตยึดครองระหว่างสงครามปี 1948 และ 1967 ให้มีการเลือกตั้งเสรีในปาเลสไตน์เพื่อเลือกตัวแทนทีแท้จริงในปาเลสไตน์ และจัดตั้งสภาที่เป็นตัวแทนของปาเลสไตน์อย่างแท้จริง

        ผุ้นำคนสำคัญหลายคนถูกลอบสังหารโดยอิสราเอล เชคยาซีนถูกลอบสังหารในปี 2004 เชคยาซีนเป็นที่เคารพนับถือของชาวปาเลบสไตน์เป็นอย่างมาก ดดยเขาเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์จับอาวุธขึ้นต่อส้กับอิสราเอล โดยไม่มีการประนีประนอม เขาถูกสังหารทั้งๆที่อยู่ในสภาพต้องนั่งรถเข็น และไม่กี่สัปดาห์  อับดุล อะซีซ อัรรอนดีซี ซึ่งเป้นผุ้นำฮามาก็ยึดครองกาซาได้อย่างเหนียวแน่น และถูกลอบสังหารไปอีกคน 

        ในปี 1990 อามาสสร้างความน่านับถือโดยการแก้ปัญหาต่างในแนวนกาซาได้เป็นผลสำเร็จ จึงได้รับการสนับสนุนจากผุ้ที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับอามารสมาก่อน เช่น กลุ่มคริสเตียนปาเลสไตน อามาสเริ่มปฏิบัติการพลีชีพกับอิสราเอล ในปี 1994 ในปี 2000 การเจรจาสันติภาพระหวา่งอิสราเอลกับปาเลสไตน์ล้มเหลวลงอีกครั้ง ฮามาสได้เข้ร่วมกับกลุ่มการเมืองและกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ของปาเลสไตน์ ทำการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลเป็นครั้งที่สอง  โดยมีการรณรงค์ต่อต้านจากพลเรือนปาเลสไตน์ในเขตยึดครอง และการเพ่ิมขึ้นของปฏิบัติการระเบิดพลีชีพในอิสราเอล เพื่อแสดงการต่อต้านการที่อิสราเอลโจมตี เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสต่อต้านการประชุมสันติภาพที่กรุงออสโล ในปี 1993 และควำบาตรการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ เพราะเห็นว่าเป็นผลมาจาการประชุมสันติภาพครั้งนั้น

        ฮามาสได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาปาเลสไตน์ในปี 2006 และได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ โดยสามารถชนะกลุ่มฟาตาห์ ด้วยคำมั่นที่จะต่อต้านการคอรัปชั้นและการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งทำให้อานิยาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น ฮามาสได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่กลุ่มหาตาห์ที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าไม่ต้องการเสียอำนาจจึงเกิดการปะทะกัน สหรัฐและอิสราเอลต้องการให้ฟาตะห์มีอำนาจต่อไปจึงสนับสนุนเงินกับกลุ่มฟาตาห์ ฮามาสเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

       สหรัฐ ประเทศสหภาพยุโรป และอิสราเอล ปรามาสว่าฮามาสเป้นกลุ่มก่อการร้าย และไม่ยอรับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้หลังจากนันเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ถูกลงโทษทางเศราฐกิจอย่างหนัก กลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกบังคับให้ฮามาสรับรองรัฐอิสราเอล ละท้ิงอุดมการณืต่อสุ้ด้วยอาวุธ และยอมรับการตกลงสันติภาพอื่นๆ ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล 

         จากความขัดแย้งกับกลุ่มฟาตาห์และการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกทำให้ผุ้นำปาเลสไตน์ที่ได้รับรองเป็นทางการ ต้องตกที่นั่งลำบาก สมาชิกที่สนับสนุนฮามาสและฟาตาห์ต่อสู้กันอยู่เนืองๆ ทังในเวสต์แบงก์ และในแนวนกาซา เพื่อช่วงชิงการปกครอง ต้นปี 2007 ทั้งสองกลุ่มตกลงประนีประนอมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม เพื่อต้องการรับความช่วยเหลือจานานาประเทศ นายกรัฐมนตรี อิสมาอีล ฮะนีเยะห์ ผุ้นำอาวุโสฮามาสในฉนวนกาซา ซึ่งถูกปลดออกจาการเป็นนายกรัฐมนตรี สามารถหลุดรอดจากการตามล่าสังหารของอิสราเอลได้ 

       มิถุนายน 2007 ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาล และกลุ่มฟาตาห์ ร่วมมือกันยึดอำนาจในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้การการจะเป็นผุ้ปกครองตินแดนปาเลสไตน์ของฮามาสต้องยุติลง รัฐบาลในเวสต์แบงก์มีความอ่อนแอแต่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ฮามาสจึงยึดฉนวนกาซา แต่ถูกปิดล้อมโดยอิสราเอลมากขึ้น ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักศึกษาไม่สามารถศึกษาต่อในระดัีบสูง ขึ้นในต่างประเทศได้ การส่งออกถูกระงับ โรงงานต้องปิดตัว อิสราเอลเข้มงวดกับฉนวนกาซาโดยเพิ่มกำลังทหารและมาตการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมท้ั้งการตัดไฟฟ้า และเริ่มปฏิบัติการทางทหาร

       2017 อามาสบรรลุ "ข้อตกลงปองดอง"กับกลุ่มฟาตาห์

       ฟาตาห์ฺได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกสุญเสียการควบคุมกาซาให้กับฮามาสที่ถุกตะวันตกและอิสราเอลมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในการสู้รบเมืองปี 2007 ได้ตกลงที่จะยกอำนาจในกาซาให้รัฐบาลของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ที่กลุ่มฟาตาห์สนับสนุน อิยิปต์ช่วยเป็นคนกลางหลายครังในความพยายามทีั้จะทำให้สองกลุ่มนี้ปรองดองกันและก่อตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แบ่งปันอำนาจในกาซาและเวสต์แบงก์ ฟาตาห์และฮามาสเห็นพ้องกันในปี 2014 ว่าจะก่อตั้งรัฐบาลสมาฉันท์แห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่าจะมีขอ้ตกลงนี้ รัฐบาลเงาของฮามสก็จะยังคงปกครองฉนวนกาซาต่อไป

 "เราขอแสดงความยินดีกับชาวปาเลสไตน์เกี่ยวกับข้อตกลงสมานแันท์ที่ได้รับการบรรลุในไคโร เราพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้ข้อตกลงนี้เกิดผลเพื่อที่จะเริ่มบทใหม่ของประวัติศาสตร์ของประชาชนของเรา" ฮาเซ็ม กัสเซ็มโฆษก ฮามาส กล่าวกับรอยเตอร์

         อามาสตกลงที่จะมอบอำนาจบริหารในกาซาให้กับรัฐบาลที่กลุ่มฟาตาห์หนุนเมืองเดือนที่แล้ว เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากการถูกโดดเดี่ยวทางการเงินและการเมืองของฮามาส ภายหลังผู้บริจาครายใหญ่อย่างกาตาร์เผชิญกับวิกฤตใหญ่ทางการทูตกับเหล่าพันธมิตรสำคัญ

          คณะผู้แทนจากทังสองฝ่ายอยุ่ระหว่างการเจรจาในไคโรในสัปดาห์นี้เพื่อกำหนดรายละเอียดของการส่งมอบการบริหารรวมถึงการักษาความปลอดภัยในกาซาและจุดข้ามชายแดน

           ภายใต้ข้อตกลงนี้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงฟาตาห์ 3,000 คนจะเข้าร่วมกองกำลังตำรวจกาซา แต่ฮามาสจะยังคงมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์ที่เข้มแข็งมากที่สุด กองกำลังทีมีนักรบติดอาวุธครบครันราว 25,000 นี้เคยทำสงครามกับอิสราเอลสามครั้งนับตั้งแต่ปี 2008 

          คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายหวังวาแผนการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจากรัฐบาลปาเลสไตน์ไปยังชายแดนกาซาจะช่วยให้อิยิปต์และอิสราเอลยกเลิกการควบคุมอย่างเช้มงวดที่จุดข้ามชายแดน ขึ้นตอนสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการช่วยกาซาฟื้นฟูเศรษฐกิจ



         7 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวธชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฮะมาส และญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อากรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้เปิดฉากการโจมตีครั้งหใญ่ต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอล โดยกลุ่มฮามาสได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า "ปฏิบัติการน้ำท่วมอัล-อักศอ" ถือเป็นความขัดแย้งที่มีการเผชิญหน้ากันตรงๆ ภายในดินแดนของประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 194...

             ที่มา : วิกิพีเดีย

                      https://mgronline.com/around/detail/9600000104290



Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...