วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ukain War The geopolitic significance...

           ถอดความจากบทสรุป : "ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์สู่สงครามระหว่ารัสเซียกับยูเครน ค.ศ. 2020  : โดย Thasothon Tootongkarm

           ความขัดแย้งที่กลายเป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ใน ปี 2020 ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ จากแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ที่กำหนดการจัดวาางตำแหน่งของรัสเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบครองแผ่นดินที่เป็นหัวใจ ของโลก แต่กลับเผชิญความหลากหลายที่สำคัญจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อำนวนส่งผลให้รัสเซียด้านทวีปยุโรปมีความสำคัญกว่าด้านเอเซีย แต่กลักลายเป็นจุดอ่อนจากการรุกรานจะระทเศมหาอำนาจตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ยูเครนเป็นประเทศเอกราชที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อรัสเซีย เป็นพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่สำคัญของรัสเซีย การกำหนดดำเนินนโยบายของยุเครนที่ออกห่างจากรัศเซีย โน้มเอียงไปทางมหาอำนาจตะวันตกผ่านองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO และสหภาพยุโรป EU ทำให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน นปี 2022 ในที่สุด

           ความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เป็นไปอย่างใกล้ชิดแสดงถึงจุดอ่อนของ


รัสเซียด้านภมฺรัฐศาสตร์ทีมปัญหาและอุปสรรคนานัปการ ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นไม่เหมาะแก่การดำรงชีพของมนุษย์ ความสำคัญของพื้นที่จึงไปทางด้านที่ติดกับยุโรปแม้ด้านเอเซียจะมีพื้นที่ที่มากกว่าก็ตาม อย่างไรก็ตามทางด้านยุโรปรัสเซียเผชิญกับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยูเครนที่รัสเซียเปรียบเสมอืนหนึ่งเป็นแผ่นดินเดียวกันทั้งผุ้ปกครองและประชาชนจำนวนมากมีความโน้มเอียงไปทางตะวันตก จากการับค่านิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบเสรษฐกิจแบบเสรีนิยม และความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่เน้นสิทธิมนุษยชนความเปลี่ยนแปลงที่ถือกำเนิดในกลุ่มประเทศในยะโรปตะวันออกและประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึงของสหภาพโซเวียตอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับรัสเซียเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความคลางแคลงใจระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตก จนเมือยูเครนแสดงท่าทีปรับเปลี่ยนนโยบายสร้างความสัมพันธ์จนอาจกลายเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเหนือ หรือสหภาพยุโรปในอนาคต รัสเซียจึงยอมรับไม่ได้

  จากภูมิรัฐศาสตร์ของยูเครนที่มีรูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน มีที่ตั้งด้านทิศตะวันออกเแียงใต้ของทวีปยุโรป และมีที่ตั้งของพรมแดนด้านทิศเหนือที่ติดเบราลุสและรัสเซีย ทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทิศใต้ติดกับโรมาเนีย มอลโดวา ทะเลอาซอฟ และทะเลดำและทิศตะวันตกติดโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทำให้ยูเครนรับรู้ถึงความเปลียนแปลงของด้านตะวั้นออกที่มีรัสเซียเป็นแกนนำกับด้านตะวันตกที่มีอดีตกลุ่มประเทศประเทศมหาอำนาจยุโรปตะวันตกเป็นแกนนำ ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของประเทศจากความปรารภนาของประชาชนต่อการขับเคลื่อนประเทศ และส่งผลต่อการสร้างความแตกต่างทางความคิดของประชาชนภายในยูเครนที่แบ่งเป็นกลุ่มฝักใฝ่ตะวันตกและกลุ่มฝักใฝ่รัสเซีย แต่การเป็นประเทศที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่ประชิดพรมแดนระหว่างรัสเซียและกำหนดและดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระย่อมแทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึงจากประสบการณ์ของรัสเซีจากประวัติสาสตร์ของประเทศที่มีพรมแดนประชิดที่สำคญ คือ จุดยุทธศาสตร์หรือพื้นที่ด้านความมั่นคง รัสเซียต้องดำินินการหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          ความเปลี่ยนแปลงของยูเครนที่ส่วนหน่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ การขยายตัวขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ และสหภาย


ยุโรป ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของยูเครน จากการปฏิวัติสีส้ม ในปี 2004 ความเปลี่ยนแปลงทั้งมาลเป็นการเคลื่อนตัวจากด้านตะวันตกสู่ด้านตะวันออก ก่อให้เกิดการปะทะกันอย่างเข้มข้น ระหว่างแนวคิดและอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และทุนนิยมผ่านกลไกตลาด และสังคมสมัยใหม่หรือสังคมที่ทัีนสมัย จากประเทศตะวันตก ต่อเนืองถึงการจัดวางตำแหน่งขอวรัสเซียบนสมมติฐานควาเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ การเป็นมหาอาณาจักรนับตั้งแต่อดีตการเป็นอภอิมฟาอำนาจช่วงสงครามเย็น และการเป็นแกนนำของเครือรัฐเอกราชของรัสเซียภายหลังสงครามเย็น ของรัสเซียปัจจุบัน ที่เฝ้ามองติดตามความเปลี่ยนแปลงของประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาอาณาจักรและเป็รัฐกันชน อย่างใกล้ชิดแรงปะทะกันอย่างมหาศาลของกระแสความเปลี่ยนแปลงกดดันให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

           ความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง ที่สำคัญมาจากการขยายอำนาจและอิทธิพลผ่านการเป็นสมาชิก
ใหม่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO ที่เป็นกลุ่มความร่วมมือหรือองค์การระหว่างประเทศซึ่งถือกำเนิดภายหลังวิกฤตการณ์เบอร์ลินหรือการปิดล้อมเบอร์ลิน ของโซเวียต เป็นต้นเหตุแห่งความไม่ไว้วางใจ เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย นำไปสู่การรับสมาชิกใหม่ ได้แก่ เช็ค อังการี และโปแลนด์ ต่อด้วย บัลแกเรีย เอสโตเนีย แลตเวีย ลิทัีวเนีย สโลวาเกีย และโรมาเนีย นับเป็ช่วงเวลาของการก่อกำเนิดองค์การนาโต้สมัยใหม่ เพราะรับสมาชิกประเทศจากกลุ่มยุโรปตะวันออก หรือกลุ่มประเทศจากอดีตสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ขอบเขตด้านพรมแดนขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเนหือประชิดพรมแดนรัสเซีย..

           ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียทำให้รัสเซียนับตั้งแต่อดีตมุ่งเน้นความมั่นคงจาการพัฒนากำลังพลและไพร่พล การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ การพัฒนายุทธปัจจัยอย่างต่อเนืองจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และอภิมหาอำนาจช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเย็น กาล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังสงครามเย็น นำมาสู่การสิ้นสุดความเป็นอภิมหาอำนาจพร้อมกับการล่มาลายเหลือเพียงรัสเซีย ประทเศมหาอำนาจภายหลังสงครามเย็นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และค่อยฟื้นตัวนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และมีบทบาทอย่างมมีนัียสำคัญภายหลังการกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของวบลาดิเมียร์ ปูติน เมืองปี 2012 ที่เติบโตมากับความยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตและการล่มสลาย ซึ่งเท่ากับหายนะของภูมิรัฐศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งศตวรรษ ปูติน อาจจะให้ความหมายสหภาพโซเซียตมากกว่ารัสเซียในปัจจุบัน "ยูเครน" จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย จากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์รัสเซียจึงไม่ปลอยยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตกผ่านองค์การ นาโต้ หรือ สหภาพยุโรป ความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้อนจาการวยัดแคว้นไครเมียใน ปี 2014 นับเป็นสัญญาณของความรุนแรง และนำไปสู่สงครามในปัจจุบัน

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Midwest

            "มิดเวสต์" เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคสำมะโนประชากรของสำนักงานสำมะโนประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเรียก ภุมิภาคนี้ว่า ภุมิภาคตอนกลา...