"ผิดที่ไว้ใจ? รัสเซียกับสหภาพยุโรปในภมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง" โดย จิตติภัทร พูนขำ เมื่อ 29 มกราคม 2018 ซึ่งเผยแพก่ร่อนเกิดสงครามยูเครน และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ แสดงให้เห็นถึงความการช่วงชิงอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่มีนัยยะสำคํญเรื่องก่อการร้าย..
ยุคสงครามเย็นความสัมพันธ์ยุโรปกับรัสเซียพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง
ขบเคลื่อความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและยุดรป ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างทางด้านอุดมการณืและระบเศรษฐกิจการเมือง กระทั่ง "กอบาชอฟ" ำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในทศวรรษที่ 1980 ทำให้รัศเวียกับโลกตะวันตก รวมทั้งยุโรป เร่ิมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกคร้ง
ต่อมายุคหลังสงครามเย็น อัตลักษณ์ของรัสเซียในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรปนี้ได้กำหนดแนวนโยบายต่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัสเซียที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทสต่างๆ ในยุโรป รวมทั้งการรวมกลุ่มภูมิภาค ที่ต่อมาเรียกวา่เป้นสหภาพยุโรป หรือ EU อย่างน้อยในสมัยแรกของประธานาธิบดี "บอริส เยลซิน" รัสเซียเสนอว่าจะสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ต้นทศวรรษที่ 1990 รัสเซียกับ สหภาพยุโรปค่อยๆ พัฒนาขึ้นจาการพบปะเจรจาและการประชุมร่วมกันระหว่างผุ้นำรัสเซียและยุโรปอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือ ในปี 1994 ซึ่งมุ่งเน้นการพึงพาซึงกันและกันในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง เป็นต้น เยลซิน ได้กล่าวว่า "รัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนที่ซื่อสัตรย์เชื่อถือได้และไว้ใจได้"
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ระหว่างประเทศเช่น วิกฤตการณ์ภูมิภาคบอลข่าน โดยเฉพาะสงครามโคโซโว ปี 1999 ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่อนเดังเดิม คุณค่าและผลประดยน์ของทั้งสองมหาอำนาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ รัสเซีย มองเห็นถึงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของผุ้นำโลกตะวันตกทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเคยให้คำมันสัญญาว่าจะมีการปรึกษากับรัสเซีย ก่อนที่จะดำเนินปฏิบัติการทางทหารใดๆ ทั้งรัสเซียยังมองว่าการแทรกแซงทางการทหารแต่ฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีนิยมของโลกตะวััีนตก ไม่ได้รับอาณัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งยังมุ่งเปลี่ยนปลงระบอบการเมืองของรัฐอื่นปี 2000 วลาดิมีร์ ปูติ ขึ้นเป็นประธานาธิดีรัสเซีย และยังคงมุ่งความสำคัญต่อยุโรปและสหภาพยุโรป ดังที่กล่าวว่า "รัสเซียนั้นเป็นมหาอำนาจตะวันตก ทีี่มีผลประโยชน์สำคัญร่วมกับประเทสต่างในยุโรป เช่น ด้านพลังงาน และการค้า
ในปี 2003 รัสเวียและสหภาพยุโรปจัดตั้งสภาหุ้นส่วนภาวรเพื่อเป็นเวทีในการปรึกษาหารือระหวางประเทศ และกไนดแนวคิดเรื่อง "พื้นที่ร่วมกันสี่ด้าน".. ปูตินยังได้สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับผุ้นำยุโรปหลายคน ทั้งจาก เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส เป็นต้น โยเฉพาะ Schröder แห่งเยอรมัน ยังคงเป็นสหายสนิทของปูติน โดยมีบทบาทสำคัญในธุรกิจภาคพลังงานของรัสเซียอีกทังยังเป็นประธานบอร์ดบริหารบริษัทส่งออกพลังงานไปยังยุดรปผ่านท่อก๊าซใต้ทะเลบอลติกด้วย
ทั้งนี้ในช่วงสมัยแรก ปูตินได้ร่วมมือกับยุโรปและสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย War on Terror โดยสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของโลกตะวันตกในอัฟกานิสถาน และความร่่วมมือทางด้านการข่าวกรอง อย่างไรก็ตาม นิยามของการก่อการร้ายระหวางรัสเซียกับโลกตะวันตกก็มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ รัสเซีย การก่อการร้ายหมายถึงกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่ใช่รัฐ ไม่ได้รวมถึงรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย รัสเซียจึงไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง โดยรัฐภายนอกเข้าไแทรกแซงทางการทหารในอีกรัฐหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองภายในของรัฐนั้น หรือเปลี่ยนแปลงผุ้นำของรัฐดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงสงครามอิรัก ปี 2003 ซึ่งปูติดต่อต้านอย่างเด่นชัด และมองสงครามนี้ว่าเป็นการเลปี่ยนแปลงระอบอบการเมืองภายใน ไม่ใช่การตอการการก่อการร้ายโดยกลุ่มที่ไม่ใช้รัฐ
ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวงก่อตัวขึ้น ความกังขาและการลดความไว้เนื่อเชื่อใจต่อดลกตะวัน
ตกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงการปฏิวัติสี ในบริเวณ "หลังบ้าน"ของรัสเซีย ได้แก่ จอร์เจีย ปี 2003. ยูเครน ปี 2004. และคีร์กีสถาน ปี 2005 ตามลำดับ รัสเซียมองว่า เป็นการแผ่ขยายอำนาจของโลกตะวันตกและการส่งออกประชาธิปไตยในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของตน หรือ บางท่านเรียกว่า เขตผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ของรัสเซีย
แม้ความคลางแคลงใจของรัสเซียจะพุ่งเป้าไปที่สหรัฐฯ เป็นสำคัญแต่สหภาพยุโรปเองในฐานมหาอำนาจที่มุ่งสงเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรี ก็เร่ิมที่จะเผชิญหน้ากับความตึงเครียดกับรัสเซีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่ยังมุ่งเน้นการปกปห้องกอำนาจอธิปไตยของรัฐ และไม่สนับสนุนการแทรกแทซงทางการทหารเพื่อเปลี่ยนปแลงระบอบการเมืองของรัฐอื่น รวมทั้งต่อต้านการแทรกแทซงเพื่อมนุษยธรรมด้วย อาจกล่าวได้ว่ารัสเซียยังอยู่ในระเบยบโลกแบบเวสต์าเลีย แต่ยุโรปดูเหมือนจะเคลื่อตัวออกจากระเบียบดังกล่าวไปแล้ว
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันะืรัสเซีย และสหภาพยุโรป ตกต่ำ คือ "เพื่อนบ้านร่วมกัน" common neighborhood ซึ่งเป็นบริเวณที่อยุ่ะหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และเครือรัฐเอกราช ซึ่งถื่อเป็น "หลังบ้าน" ของรัสเซีย
ด้านสหภาพยุโรป เร่ิมกระบวนการขยายสมาชิกภาพในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา สหภาพยุดรปประกาศนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านยุโรป European Neighborhood Policy: NEP ขึ้นมา เพื่อจะ "พัฒนาโซนแห่งความมั่นคงและความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" ซึงสหภาพยุโรปมี ไความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สันติ และร่วมมือ"...
รัสเซียมองว่เป็นการขยายสมาชิกเป็นการแข่งขันเชิงอำนาจ/ภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็น "เขตอิทธิพล" ของตน ทั้งยังกังขาว่าไม่เป็นการส่งเสริมตลาดเสรี ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัสเซียมองการส่งออกประชาธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงระอบบการเมืองในหลายกรณี เช่น การปฏิวัติสีส้ม ในยูเครน ว่าเป็น "การสมคบคิดของโลกตะวันตก"
รัสเซีย ต้องการสถาปนา "เขตอิทธิพลไในบริวเณอดีตสหภาพโซเวียต และมุ่งหมายให้สหภาพยุโรปรวมทังสหรัฐฯ ยอมรับสภานะดังกล่าวของรัสเซียด้วย
ปี 2005 ปูติน ได้กล่าวว่า "การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นเป็น "โศกนาฎกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์
แห่งศตวรรษที่ 20" แม้ัว่า ณ ขณะนี้ รัสเซียจะไม่มีเป้าหมายที่จะรื้อฟื้นจักรวรรดิแบบสหภาพโซเวียตขึ้นมา แต่รัสเซียต้องการเป็นมหาอำนาจในระดับภูมิภาคที่มีอำนาจและอิทธิพลเหนือเพื่อนบ้าน หรือ อย่่างน้อยก็ไม่ปรารถนาให้มหาอำนาจภายนอกเข้าแทรกแซง ในบริเวณ หลังบ้านรัสเซีย รัสเซียยังพยายามบูรรณาการรัฐต่างๆ ในเครือรัฐเอกราช เข้ามาอยุ่ภายใต้ดครงการที่ชื่อวหภาพเศรษบกิจยูเรเซีย ดดยมียูเครนเป็นหัวใจสำคัญในการบูรณาการเศรษฐกิจการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคยูเรเซีย เมือยุเครนเลือกที่จะหันไปหาโลกตะวันตก จึงสร้ืงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อรัสเซีย
ทว่า รัสเซียก็แสงหาการธำรงรักษาสภานภาพเดิมของ "ความขัดแย้งแช่แข็งในภูมทิภาคนี้เอาไว้ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียเร่ิมดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวในบางกรณีที่อษศัย ไสงครามลูกผสม" hybrid war ในการรักษาสภานภาพเดิมในบริเวณ หลังบ้าน ของตน สงครามลูกผสม (สงครามลูกผสม นั้นเป็นสนธิกำลังของปัจจัยทางการทหาร กับปัจจัยที่มไ่ใช่ทางการทหาร เพื่อพบรรลุเป้าประสงค์ ทางยุทธศาสตร์บางประการ โดยวิธีการที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การใช้กองกำลังรบพิเศษ สงครามข่าวสาร สงครามไซเบอร์ การจารกรรมข่าวกรอง การขู่ว่าจะใช้ภัยคุกคามทางเศษฐกิจ (การตัดการส่งออกพลังงาน) การใช้อิทธิพลทางการเมือง รวมทั้งการแทรแซงทางการเมือง และแทรกแซงทางการทหารโดยตรง ที่ปรากฎให้เห็น ในสงครามระหว่างรัสเซียและจอร์เจีย ที่บางคนเรียกว่า "สงครามห้าวัน" ในปี 2008 หรือกรณี สงครามในยูเครนภาคตะวันออกตังแต่ปี 2014 เป็นต้นมา
วิกฤตการณ์ยูเครน/ไครเมีย ในปี 2014
วิคเตอร์ ยานุโควิช ตกจากอำนาจ ในเดื่อนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน รัสเซียมองว่ารัฐบาล "ยานุโควิช" เป็นรัฐบาบลที่มาจาการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมทางการเมือง และมองกลุ่มชุมนุมประท้วง "ยูโรไมแดน" เป็นพวก "ฟาสต์ซิสม์" ที่ได้รับการสนับสนุนจากโลกตะวันตก รัสเซียวิพากษ์สหภาพยุโรปที่ให้การรับรองรัฐบาลใหม่อย่างทันทีทันใด ชนวนเหตุเป็นผลพวงจาก "เพื่อนบ้านร่วมกัน" กล่าวคือ การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่จัตุรัสเอกราชในกรุงเคียฟเร่ิมต้นจาการต่อต้านรัฐบาล ยานุโควิช ที่ไม่ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสหภาพยุโรป แต่กลับไปทำความตกลงกับรัสเซียวิกฤจตการณ์ครั้งนี้ยิ่งทำให้ยูเครนตกอยุ่ภายใต้กับดักมหาเกมภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างดลกตะวันตกกับรัสเซียอย่างเต็มตัว
ความตึงเครียดทวีมากขึ้น เมื่อรัสเซียเข้าไปแทรกแซงทางการทหารในยูเครนภาคตะวันออก รวมทังการลงประชามติแยกตัวของไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ดลกตะวันตกตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศราฐกิจต่อรัสเวีย และขับรัสเวียออกจากการเป้นสมาชิกของกลุ่ม G-8 กระทังปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น