วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical : Trade War

           


           สงคราามการค้า Trade War เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากลัทธิคุ้มครองขั้นรุนแรง

           ลัทธิคุ้มครอง Protectnism เป็นนโยบายเศรษฐกิจที่จำกัดการนำเข้าจากประเทศอื่นดดยใช้วิะีการ เช่น กาตั้งภาษีศุลกากร โควตานำเข้า เลแากรวางระเบยบของรัฐบาลอื่นๆ ผู้สนับสนุนอ้างว่่านโยบายลัทธิคุ้มครองจะช่วยป้องกันผู้ผลิต ธุรกิจและคนงานของภาคที่แข่งขันนำเข้าในประเทศจากผู้แข่งขันต่างประเทศ ทว่า นโยบายดังกล่าายังลดการต้าและมีผลเสียต่อผุ้บริโภคโดยรวม (เพราะทให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น)และมีผลเสียต่อผุ้ผลิตและคนงานในภาคส่งออกา ทั้งในประเทศที่ใช้นโยบายนำเข้าสุงขึ้นและมีผลเสียต่อผุ้ผลิตและคนงานในภาคส่งออก ทั้งในประเทศที่ใช้นโยบายลัทธิคุ้มครองและประเทศที่นดยบายลัทธิคุ้มครองมีผล 

           มีความเห็นเป็นสากลในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่า ลัทธิคุ้มครองมีผลเสียต่อการเติบดตทางเศราฐกิจและสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ส่วนการค้าเสรี การลดระเบยบ และการลดอุปสรรคการค้ามีผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทว่า การเปิดเสรีการค้าบางทีทำให้การเสียและได้ประโยชน์กระจายมากและไม่เสมอภาค และในระยะสั้นอาจทำให้มีการย้ายทางเศราฐกิจอย่างสำคัญของคนงานในภาคแข่งขันนำเข้า เหตุการที่เกี่ยวข้อง อาทิ าวึี่ทแอวโกล-ดัตช์ (1653-1784) สงครามฝิ่น (1839-1860) สงครามกล้วย (1898-1934). รัฐบัญญํติ Smoot-Hawley Tariff (1930), แองโกล-ไอริช สงครามการค้า (1932- 1938) สงครามการค้ากับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ( 2010-2011). ภาษีทรัมป์ฺ (2018) สงครามการค้าจีน - สหรัฐฯ ( 2018 -ปัจจุบัน), ข้อพิพาททางการค้า ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ (2019 - ปัจจุบัน) 

           สงครามการต้า จีน-สหรัฐ หมายความถึงการริเร่ิมภาษีศุลการกรกับสิค้าที่ค้าขายระหว่างปรเทจีนและสหรัฐ 6 กรกฎาคม 2018 สหรัฐตั้งภาษีศุลกากร 25% ต่อสินค้า จีนมูลค่า 34,000 ล้นดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งของนดยบายพิกัดอัตราใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐ อดนัลด์ รัมป์ฺ ซึ่งทำให้จีนตอบโต้ด้วยการตั้งภาษีศุลการกรขนาดเท่ากันต่อผลิตภัณฑ์ของสหรัฐ ไม่นานจากนั้นในวันที่ 10 กรกฎาคม สำนักงานผุ้แทนการค้าสหรัฐจัดพิมพ์รายการผลิดตภัฒฑ์จีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จะอยุ่ภายใต้พิกัอัตราที่เสนอใหม่ 10% ตามคำสั่งของประธานาธิบดี ทรัมป์ จีนตอบโต้ด้วยการประกาศประณามพิกัดอัตราที่เสนอใหม่ว่า "ไร้เหตุผล"และ "ยอมรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง" รุัฐบาลทรัมป์วาพิกัดอัตราดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อคุมครองความมั่นคงของชาติและ "ทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ และเพื่อลดการขาดุลการค้าของสหรัฐกับจีน  ทรัมป์เปิดการสอบสวนอย่างเป็นทางการในเรื่องการโจมตีทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐและพันธมิตร ซึ่งทำให้สหรัฐเสียหายเป็นมูลค่าประเมินไว้ ระหว่าง 225,000-600,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ/ปี

           รัฐบาลทรัมป์ อาศัยอำนาจบางส่วนตาม มาตรา 301 แห่งรัฐบัญญัติการค้า ปี 1974 เพื่อป้องกันสิ่งที่อ้างว่าเป็นวัตรการค้ามิชอบและการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา กำหมายให้อำนาจประธานาธิบดีกำหนดค่าปรับหรือบทลงโทษอื่นต่อคู่ค้าฝ่ายเดียวได้หากถือว่าทำร้ายผลประโยชน์ทางธุรกิจของสหรัฐโดยมิชอบ ในเดือน เมษา ปี 2018 สหรัฐกำหนดพิกัดอัตราต่อสินค้านำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมมจากจีนตลอดจนแคนาดาและประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป..ที่มา : วิกิพีเดีย

          "..หลักการสำคัญทางการทหารในหนังสือ "on war" ของคลอสเซวิส์ Karl von Clausewiyz ปรมาจารย์ทางการทหารของชาวเยอมรันใน สตวรรษที่ 19 ซึงหลักการดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนทหาร และนำมาใช้อ้างอิงกันอยุ่เสมอ แม้กระทั่งปัจจุบัน ที่อยู่ถึง 3 เล่มใหญ่ๆ ด้วยกัน พอจะสรุปได้ดังนี้

             - สงครามเป็นเพียงเครื่องมือที่ต้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อให้สำเร็จตามนโยบายของรัฐ เมื่อวิถีทางอื่นใช้ไม่ได้แล้ว สงครามเป็นเพรียงเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น

            - คำนิยามของสงคราม คือ "การกระทำที่รุนแรงทีปฏฺิบัติเพื่อบังคับให้ศัตรุยอมทำตามในส่ิ่งที่เราปรารถนา"

            - เมื่อทำสงครามแล้ว ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ขัยขนะ สงครามต้องไม่มีข้อจำกัด การได้ชัยชนะคือการทำลายกำลังของศัตรูอย่างยับเยินโดยเด็ดขาด ดังนั้น สงครามจึงต้องไม่เพืียงแต่อาศัยวัสดุสิ่งของทั้งปวง และการชำนาญทางการรบเท่านั้น  หากแต่จะต้องมีองค์ประกอบทางสังคม จิตวิทยา และความเชื่อมั่นว่าฝ่ายตนเป็นฝ่ายถูกทางด้าน ศีลธรรม ก็สำคัญพอๆ กัน ซึ่งอธิบายโดยย่นย่อก็คือ นอกจากจะต้องเตรียมการรบให้พร้อมสรรพทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงแล้ว ต้องคำนึงถึงขวัญและกำลังใจของทหารและประชานเป็นอย่างยิ่งพร้อมๆกันไปด้วย

            - การเมืองต้องนำการทหาร ผู้นำทางการทหารต้องรับคำสสั่งจากผุ้นำการเมือง..."

             "..อำนาจของประเทศ คือ ความสามารถของประเทศหนึ่งที่สามารถทำให้ประเทศอื่นกระทำตามที่ตนปรารถนา

               ประเทศมหาอำนาจต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป หรือจีน มีอำนาจมากก็เพราะสามารถที่จะทำให้ประเทศอืนทำตามที่ประเทศเหล่านี้ปรารถนาได้มากนั้นเอง

               หากพิจารณาดูหลายๆ ประเทศพร้อมกันก็อาจลำบากในการตัดสินว่าอำนาจของประเทศใดจะมีมากกว่ากัน แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบครังละ 2 ประเทศ ก็จะทำให้สามารถพิจารณาได้ง่ายมากขึ้น เช่น สหรัฐรบชนะญี่ปุ่นเมือปี 1945 ก็แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกามีอำนาจมากกวาประเทศญี่ปุ่น เพราะสามาารถที่จะเข้าไปยึดครองจัดการญี่ปุ่นได้ตามความพอใจ แต่หากพิจารณาประเทศไทยกับเวียดนาม ก็ยากที่จะตัดสินได้ว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถทำให้แต่ละประเทศทำตามที่ตนปรารถนาได้ ในกรณีที่เวียดนามสามารถขับไล่กองทัพสหรัฐฯออกจากเวียดนามได้ในสงครามเวียดนามนั้น มิได้หมายความว่า เวียดนามมีอำนาจเหนือสหรัฐฯ เป็นต้น

            อำนาจของประเทศมีความสำคัญมา เพราะฉะนั้นการขยายอำนาจของประเทศจึงเป็นนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศเมื่อมีโอกาส เพราะประเทศที่มีอำนาจมากๆ นั้น สามารถที่จะทำให้ประเทศที่มีอำนาจน้อยกวย่ากระทำการต่างๆ ได้ตามที่ตนปรารถนา ทั้งๆ ที่ประเทศที่ีมีอำนาจน้อยนั้นไม่อย่างจะทำ ในเวลาเดียวกันอำนาจของประเทศก็เป็นการประกันความปลอดภัยของประเทศ และของพลเมือง ตลอดจนช่วยในการกอบโกยผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประเทศที่มีอำนาจมากได้เป็นอย่างดี 

          การขยายอำนาจของประเทศในสมัยก่อนเป็นไปในรูปที่เรียกว่า จักรวรรดินิยม ซึ่งหมายความถึงการยึดครองอาณานิคม หรือ การขยายอำนาจทางการเมืองและ/หรือ การขยายยอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งเข้าครอบงำอีกประเทศหนึ่ง การขยายอำนาจแบบเข้ายึดครองประเทศอื่นเป็นอาณานิคมนั้น เป็นที่นิยมในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สำหรับปัจจุบันกลับกลายเป็นล้าสมัย ในปัจจุบันจักรวรรดินิยมมักจะมามนรูปของการครอบงำเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจทำให้ประเทศที่อยุ่ในอำนาจทำตามที่ตนปรารถนา เช่น การที่สหรัฐฯ จะปฏิบัติการโจมตีกลุ่มก่อการร้ายและรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถาน สหรัฐฯก็ขอเข้าไปต้้งฐานทัพในประเทศปากีสถาน โดยเสนอเงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่านระยะเวลาชำระหนี้ของปากีสถานให้ยาวขึ้น รวมทั้งยกหนี้บางส่วนให้กับปากีสถาน ดังนั้เน ทางปากรีสภานจึงยินยิมที่จะให้สหรัฐฯตั้งฐานทัพ.." ที่มา..KU0168010c.pdf

           ในอดีตภฺูมิรัฐศาสตร์ จะมุ่งเน้นไปในเชิงความสัมพันธ์ทางการทหาร ซึ่งภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง กระทั้งภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2บทบาทความสำคัญในเชิงการทหารของประเทศต่างๆ เช่นการล่าอาณานิคม ถูลดระดับความสำคัญลง พร้อมๆ กันกับการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอยางรวดเร็วทำให้มีการขยายความสัมพันะ์ระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก นิยามของ ภูมิรัฐศาสตร์จึงเปลี่ยนไป

         นิยามที่เปลี่ยนไปตามพลวัติของโลกที่เปลี่ยนแปลง จากบทควาามเรื่อง "ภูมิรัฐศาสตร์กับความสัมพันธ์ต่อการค้า" จากกองวิจัยเศรษบิกจการค้ามหภาพค สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ 

        ที่ผ่านมา มีต่ิดต่อซื้อขายและเปลี่ยนสินค้าและทรัพยากรระหว่างกัน เป็นความสัมพันะ์ในเชิงเศรษฐกิจ อาทิ แนวความคิดเศรษฐกิจเสรีนิยม นโยบายการค้าเสรี การรวมกลุ่มและความร่วมมือทางเศราฐกิจ เช่น องค์การการค้าโลก WTO ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ และการตัดตั้งบริษัทข้ามชาติ ขณะเดียวกัน ปรเทศต่างๆ ต้องการช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ อาทิ


       สหรัฐอเมริกา ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น เป็นผุ้กำหดระเบยียบดลกใหม่ในมุมมองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน และการต้าเสรี รวมถึงการใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินสากลในการกำหนดราคา และเปลี่ยนสินค้า วัดมูลค่าของการต้าขายระหว่างประเทศ และเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก

       จีน ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีบทบาททางเศรษฐกิจการค้าโลกมากขึ้นตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และกลายเป็นหนึ่งในผุ้ผลิตผุ้ส่งออกสินค้าและตลาดทีใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงมีการพัมนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างร่วดเร็ว

        อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการช่วงชิงความเป็นผุ้นำทางการทหาราได้กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครัี้งโดยมุ่งเป้าไปที่การเสริมความมั่นคงของประเทศ ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารและการครอบครองยุทโธปกรณืสะท้อนได้จากรายจ่ายทางการทหารทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึัน

        นอกจานี้การตอบโต้กันระหว่างประเทสคู่ขัดแย้งมีการผสมผสานกันระหว่างมาตรการทางการทหาร เช่น การโจมตีด้วยขีปนารวุธ ควบคู่ไปกับมาตรการมทางการค้าและทางเศรษฐกิจ เช่น มาตรการคว่ำบาตรการถอนการลงทุน ดังเช่นสถานการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน ที่เป็นการปฏิบัติทางการทหารครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ที่มา : https://www.salika.co/2023/01/28/geopolitic-and-world-trade/

         "มหาอำนาจขั้วเดียว"  ตั้งแต่อดีตนั้น มัีกจะมีประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะประเทศที่อยุ่ในทวีปยุโรป และก็จะมีการถ่วงดุลอำนาจระหวว่างกัน โดยจะไม่ยอมให้ประเทศใดประเทศหนึงในกลุมประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นามีอำนาจมากเกินไป ซึ่งระบบการเมืองระหวางประเทศอย่างนี้เราเรียกว่า "หลายขั้วอำนาจ" และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็นก็ปรากฎขึ้นมา การเมืองระหวางประเทศของโลกเป็นระบบที่เรียกว่าระบบ "สองขึ้นอำนาจ" และภายหนังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง พร้มการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองระหว่างประเทศก็ได้กลายเป็นระบบ "มหาอำนาจขั้วเดียว" ... ที่มา : KU0168010c.pdf

           "การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลก World Order Transformer" 1/8/2022 By Futurist NIDA

            ระเบียบโลกอาจอธิบายได้ว่า หมายถึง รูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการที่ตัวแสดงในการเมืองโลก จัดความสัมพันะ์ระหว่างกัน และจัดการกิจการร่วมกัน ซึงประกอบสร้างขึ้นจากดุลอำนาจระหว่างตัวแสดงเหล่านั้น การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลก จึงเป็นกระบวนการวิวัฒน์หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการดังกล่าว อันอาจเกิดจากการเปลี่ยนดุลอำนาจ และ/หรือดุลยภาพระหว่างชุดความรุ้ความคิด

            แนวโน้มในอนาคต 

            - สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขนาดเศราฐกิจใหญ่ที่สุดในดลก เศราฐฏิจจีนและประเทศตลอดเกิดใหม่จะมีสัดส่วนเป็นกึ่งหนึ่งของขนาดเศรษฐกิจโลกภายใน ปี 2030 ( HSBC,2018)

            - สหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นมหาอำนาจทางภูมิรัฐ-ศาสตร์และการทหารที่มีขีดควาามสามารถสูงสุดหลัง ปี 2030 แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขีดความสามารถใกล้เคยงสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น 

             - ดุลอำนาจจำจะวิวัฒน์ไปสู่รูปแบบสองหรือสามขั้น ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ สาะารณรัฐประชาชนจีน และอาจรวมถึงสหภาพยุโรปมากขึ้น

            - เมื่อสหรัฐฯสูยเสียสภานะมหาอำนาจนำหนึ่งเดียว แนวคิดแบบเสรีนิยมที่เป็นพื้นฐานของระเบียบระหวว่างประเทศอาจเสื่อมอิทธิพล

            - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำกับระดับและทิศทางการเปลี่ยนผ่านดุลอำนาจและความคิด

            - ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมภายใต้การนำของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปสุ่ระเบียบโฃกแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งแข่งขัดและภาวะโลกหลายระเบียบ

           - ความขัดแย้งแข่งขันปีนี้โอกาสต่ำที่จะนำไปสู่สงครามหรือการโดดเดี่ยวกันระหว่างสองขั่วอำนาจหลัก เพราะยังควต่างต้องพึงพา/ร่วมมือกัน...ที่มา : https://futurist.nida.ac.th/


       

          

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical : The Grandboard

           


ซิปบิ๊กนิว คาซิมีรซ์ เบรเซงสกี้ Zbigniew Kazimierz Brzezinski เกิดเมื่อ 28 มีนาคม 1928 ที่กรุง
วอร์ซอ ประเทศโปรแลนด์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวโปล-อเมริกัน เป็นนักยุทธศาสตร์และรัฐบุรุษ เขาทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ในสมัยของประธาาธิบดี จิมมี่คาร์เตอร ระหว่างปี 1977-1981 นโยบายต่างประเทศที่มีลักษณแบบสายเหยี่ยวของเขาเป้นที่รู้จักกันดีในยุคหนึ่ง เมื่อพรรคเดโมแครตพยายามใช้นโยบายสายพิราบมากขึน เชขาเป็นพวกที่กำหนดนโยบายต่างประเทศโดยอยู่ใจโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งเป็นการโต้แย้งกับแนวนโยบายของพรรคเดโมแครตภายมต้ควาสรับผิดชอบชองเฮนรี คิสซิงเจอร์ ผุ้รับผิดชอบด้านนโยบายตืางประเทศในสมัยของ ประธานาธิบิีนิกสัน นธยบายต่างผะเทศหลักในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งอยู่ ได้แก่ นโยบายการรักษาความสัมพันะ์ในระดับปกติกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การส่งสัญญาณให้มีการปกิบัติตามสนธิสัญญาควบคุมอาวุธ ขั้อตกลงแคมป์เดวิด การเปลี่ยนให้อิหร่านต่อต้านรัฐอิสลามตะวันตกสร้างกองกำลังนักรบมูจาฮีดนในอัฟากนิสถานเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตและรัฐบาล อัฟกันที่เอนเอียงเข้าข้างโซเวียต รวมทั้งเขาปะทะกับกองกำลังโซเวียตที่บุกเข้าไปในอัฟกานิสถานด้วย

             เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านยโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่สำนักการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศขึ้นสูง ที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้นส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการอีกหลายชุด เขามักจะประกฎตัวบ่อยๆ ในฐานะผุ้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญมาออกรายการร่่วมกับ จิม ลิททรีร์ ทางช่อง PBS

             เข้าสู่แวดวงการเมือง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมือปี 1960 เบเซงสกี้ ได้เป็นที่ปรึกษาในการหาเสียงเลือกตั้งให้ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ โดยให้มุ่งสนับบสนุนนโยบายไม่สร้างความเป็นปรกปักษ์ตอยุโรปตะวันออก และมองโซเวียตในฐานะคู่แข่งขันในยุคแห่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันทั้งในด้านเศรษบกิจและการเมือง เบรเซงสกี้ได้ทำนายไว้ว่าในที่สุดสหภาพโซเวียตจะต้องล่มสลาย ไปตามเชื้อชาติ

            เบรเซงสกี็ ไม่เห็นด้วยกับการสนับนุนให้เกิดความตึงเครียดต่อไปอีก 2-3 ปี โดยเขาได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "สันติภาพเชิงสร้างสรรค์ในยุโรปตะวันออก" และสนับสนุนนโยบายไม่สร้างความเป็นปฏิปักษ์ภายหลังวิกฤติคิวบา ดังนั้นเขาจึงเป็นว่าต้องแก้ไขความเข้าใจของชาติยุโรปตะวันออกซึ่งหวาดกลัวว่าจะโดนเยอรมันรุกราน และปลอบชาวยุโรปตะวันตกไม่ให้หวาดกลัวตว่าจะโดนเยอรมันรุกราน และปลอบชาวยุโรปตะวันตกไม่ให้หวาดกลัวต่อการเกิดขึ้นของอภิมหาอำนาจจาการประชุมที่ยัลต้า

           ปี 1964 เบรเซงสกี้ ให้การสนับสนุนนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาะิบดีของ นาย ลินดอน บี จอห์นสัน ในเรื่องการสร้างสังคมที่ยิ่งหใย่ และสิทธิพลเมือง ในอีกด้านหนึ่งเขาก็เห็นว่าผุ้นำของโซเวียตจะยังต้องกวาดล้างศัตรูที่พยายามจะโค่นนาย นิกิต้าร ครุซซอฟ อยู่ต่อไปอีก 

           เบรเซงสกี้ยังคงให้การสนับสนุนในการทำความเข้าใจและติดต่อกับยุโปตะวันออกอยุ่ต่อไปนอกจากนี้เขาก็ยังสนับสนุนในการเข้าแทรกแซงในเวียดนามเพื่อลบล้างคำสบประมาทของเหมา เจ๋อ ตุง ที่อ้างว่าสหรัฐเป็นเพียงเสือกระดาษ ในช่วงปี 1966-1968 เบรเซงสกี้ได้เป็นสามาชิกของสภาวางแผนทางนโยบาย กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐ

           ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 1968 เบรเซงสกี้ได้เป็นประธานคณะผู้จัดทำนโยบายต่างประเทศให้แก่ฮุเบิร์ท เขาแนนำให้หยุดนดยบายหลายอย่างงของ ประธานาธิบดี จอห์นสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับเวียดนาม ตะวันออกกลาง และการแข่งขันทงอำนาจกับสหภาพโซเวียต

            เบรเซงสกี้ได้รับการเรียกตัวเขามาช่วงในการจัดประชุมชาติยุโรป ซึ่งแนวความคิดนี้บรรลุผลสำเร็จในปี 1973 โดยเป็นการประชุมในเรื่องความมั่นคงและความร่วมมือกันในหมู่ชาติยุโรป แต่ในระหวางนั้นเองเขาได้กลายเป็นผุ้นำในการวิพากษ์วิจารณืนโยบาย "ผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างกัน" หมายถึงความตึงเครียดในยุคสงครามเย็นโดยเฉพาะระหวา่งสหรัฐกับสหภาพโซเวียต ของประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม นิกสันและนายเฮนรี คิสซิงเจรอ์ และนโยบายคลั่งสันติภาพของ จอร์ช แมคโกเวิร์น 

           ผลงานของเขาในปี 1970 เรื่อง "ระหว่างสองยุค : บทบาทของอเมริกาในสมัยแห่งการใช้วิทยาการเพื่ออการแก้ปัญหา" Between Two Ages : America's Role in the Technetronic Era ได้โต้แย้งข้อตกลงทางนโยบายในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้วที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นเข้าเผชิญกับความำร้เสถียรภาพของโลกอันเหนื่องมาจาการขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจ จากผลงานชิ้นนี้ เบรเซงสกี้ได้สร้างให้เกิดคณะกรรมาธิการโตรภาคีขึ้นมาโดยมี เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์ รับเป็นประธานกรรมาะิการตั้งแต่ปี 1973-1976 คณะกรรมาธิการไตรภาคีนี้เป็นกลุ่มของนัการเมืองคนสำคัญ ผุ้นำทางธุรกิจ และนักวิชาการชั้นนำจากสหรัฐ ยุดรปตะวันตก และญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ขององค์กรนี้ก็คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมสูงสุดของโลกเสรีทั้ง 3 ภูมิภาค ให้มีความแน่นแฟ้น ในการนี้เบรเซงสกี้ได้เลื่อกให้ จิมมี คาร์เตอร์ เข้าเป็นกรรมาธิการด้วย

           จิมมี่ คาร์เตอร์ ชนะการเลือกตั้งในปี 1976 เขาได้แต่งตั้งให้เบรเซงสกี้เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของเขา เป็นการก้าวสู่วงจรของอำนาจที่จะสามารถมีส่วนในการกำหนดนโยบายชองชาติอย่างเต็มตัว

            ปี 1978 เบรเซงสกี้ และวานซ์ แข่งขันกันอย่างมากที่จะเป็นผุ้นำเหนือการกำหนดนโยบายต่างประเทศของคาร์เตอร์ วาซ์พยายามที่จะคงลักษระของการผ่านคลายความตึงเครียดแบบนิกสัน โดยให้ความสำคัญไปที่การควบคุมกำลังทหาร ในขณะที่เบรเซงสกี้เชื่อว่าลักษณะแบบของการผ่านอคลายความตึงเครียดนี้ เป็นการเพิ่มกำลังทหารและการเน้นหลักสิทธิมนุษยชนอย่างสุดโต่ง ทั้งนี้ วานซ์ กระทรวงมหาดไทย และสื่อมวลชน ตางก็พากันวิพากษืวิจารณ์เบรเซงสกี้ว่า เป็นผุ้ต้องการให้สงครามเย็นคงอยู่ต่อไป

         
 เบรเซงสกี้ได้ให้การแนนำแก่คาร์เตอร์ถึงการสานสัมพันะ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือจีนแดง และความไปเยื่อนปักกิ่งเพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับที่จะได้ปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนแดงให้อยู่ในระดับปกติต่อไป และในปีเดียวกันนี้ พระคาดินัล คาดรล์ วอจ์ยลา ซึ่งเป็นชาวโปลได้เลือกให้พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขึ้นเป็นผุ้นำคริสตจักรดรมันคาทอลิก ซึ่งเรื่องนี้โซเวียตเชื่อว่าเป็นฝีมือของเบรเซงสกี้

           1979 เกิดเหตุการ์สำคัญ 2 เหตุการคือ การล้มล้างพระเจาชาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐ ซึ่งการปกิวัติอิหรานก่อให้เกิดเหตุกาณ์วิกฤการณ์จับตัวประกันในอิหร่านต่อมา และการบุกอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต ซึ่งเรื่องนี้เบรเซงสกี้ได้คาดการณ์ไว้ว่าโซเวียตจะบุก (บางคนเห็นว่าเาเป็นผุ้จัดแากเรื่องนี้ขึ้นมาเองโดยได้รับการสนับสนุนจาก ซาอุดิอาระเบีย ปากีสถาน และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะได้สร้างเป็นยุทธศาสตร์ในการเข้าปะทะกับโซเวียตในขั้นสูงต่อไป

           ในสภาวะแห่งความไม่มั่นคงนี้ เบรเซงสกี้ได้นำสหรัฐฯไปสุ่การสร้างกองกำลังแบบใหม่และการพัฒนากองกำลังเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งนดยบายทั้ง 2 ประการประธานาธิบดีเรแกนได็ได้นำไปใช้ต่อใน ปี 1980 เบรเซงสกี้ได้วางแผนปฏิบัติการ "กรงเล็บอินทรี" เพื่อเข้าช่วยเหลือตัวประกันในอิหร่าน โดยใช้กองกำลังเดลต้า ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ประกอบกับกองกำลังพิเศษหน่วยอื่นๆ  แต่ภารกิจนี้ไม่ประสบความสำเร็จและทำให้รัฐมนตรีวานซืลาออก เบรเซงสกี้ถูกวิจารณือย่างหนักในหน้าหนังสือพิมพ์และกลายเป็นผุ้ที่เกือบจะไม่มีความสำคัญอีกต่อไปในทีมงานของ คาร์เตอร์

           หลังจากออกจากแวดวงการเมือง เขาก็ยังคงสนใจการเมืองระหวางประเทศ และยุทธศสตร์ระหว่างประเทศอยุ่เช่นเดิม ในฐานะของนักวิจารณการเมืองระหว่างประเทศ โดยเขาจะให้ความเห็ต่อเหตุกาณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศอยางสม่ำเสมอจนกระทั่งปัจจุบัน

           1990 เขาได้กล่าวเตือนว่าอย่าหลงดีใจกับการสิ้นสุดของสงครามเย็น เขาได้นำเสนอทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามอ่าวเปอร์เซีย ดดยเขาโต้แย้งว่าสหรัฐใช้ความเชื่อถือไว้วางใจที่นานาประเทศมีให้มาตั้งแต่ที่สามารถพิชิตสหภาพโซเวียตได้ และสิ่งนี้จะเป็นชนวนที่สร้างเสริมให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกอาหรับ เขาได้ขยายทัศนะนี้ในผลงานของเขาที่ชื่อว่า "เหนือการควบคุม" Out of Contrl 

          1993 เบรเซงสกี้วิจารณืความลังเลของประธานาธิบดี คลินตันในการเข้าแทรกแซงต่อต้านเซอร์เบีย
ในวิกฤตการ์สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย เบรเซงสกี้เร่ิมกล่าวดจมตีรัสเซียเกี่ยวกับปฏิบัติกาในแชชเนีย เขาได้จับตาเฝ้าดูและกล่าวย้ำถึงเรื่องอำนาจของรัสนเซีย เบรเซงสกี้มีความเห็นในทางบลต่อการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบีของอดีตเจ้าหน้าที่ KGB วลาติเมียร์ ปูติน เขาจึงผู้สนับสนุนคนแรกๆในการขยายหน้าที่ขององค์การนาโต้

         
ภายหลังเหตุการ 9/11/2001 เบรเซงสกี้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักสำหรับบทบาทของเขาที่ได้มีส่วนในการสร้างเครือข่ายนักรบมุจาอิดีนชาวอัฟกันขึ้นมา เพราะคนกลุ่มนี้ให้การสนับสนุนกลุ่มตาลีบัีน และให้ที่พักพิงแก่อัลเคด้า

        เบรเซงสกี้ กลายเป็นผุ้นำในการวิพากษืวจารณ์การบริหารงานของประธานาธิบดีจอร์ซ ดับเบิลยู บุช ดดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง "สงครามการก่อการร้าย" ความคิดของเขาได้รับการทาสีว่าเป็นพวก "อนุรักนิยมใหม่" (พวกที่มีลักาณะความคิด ปฏิเสธความคิดแบบอุดคตี และมองว่าสหรัฐสามารถมีมาตรการในการรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงปลอดภัยของตนเองดดยไม่ต้องคำนึงวาจะผิดกฎเกณฑ์หรือจรรยาบรรณระหว่างประเทศหรือไม่ และสหรับต้องเตรียมความรบพร้อมอยุ่ตลอดเวลา ทั้งนี้ในบางครั้งสหรัฐอาจสร้างสภานการณ์เพื่อดจมตีคนอื่นก่อนที่คนอื่นจะมาโจมตีก็ได้ นอกจากนี้ก็มี การสนับสนุนการสร้างฐานทัพไว้ทั่วโลก และพยายามใช้องค์การระหว่างประเทศในการสร้างกฎที่เป็นประดยชน์กับสหรัฐ) ทั้งนี้ก็


เนื่องจากการที่เขาเกี่ยวข้องกับ พอล วูฟล์โฟวิตซ์ รัซมนตรีช่วยว่าการการะทรวงกลาโหมสมัยประธานาธิบดี จอร์ซ ดับเบิลยู บุช สมัยแรก และแนวความคิดของเขาในหนังสือ "กระดานหมากรุกที่ยิ่งหใหญ่ ซึ่งตีพิมพ์ใน ปี 1997 เขาได้เขียน "ทางเลือก" ในปี 2004 ซึ่งเป็นการขยายความจากหนังสือเรื่อง "กระดานหมากรุกที่ย่ิงใหญ่" ของเขา และเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์ที่แหลมคมต่อนโยบายต่างประเทสของประธานาธิบดีบุชเข้าไปด้วย ซึ่งเป็นการแก้ต่างกับรายงานของ "นักล๊อบบี้ชาวอิสราเอลกับนดยบายต่างประเทศของสหรัฐ" เขายังคงเป็นคนที่พูดจาวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาโดยเฉพาะในเรื่องการบุกอิรักในปี 2003 และการรักษาความสงบในพื้นที่ต่อมา

           เบรเซงสกี้ได้วางหลักการที่สำคัญที่สุดของเขาไว้สำหรับเป็นปนวทางให้สหรัฐดำเนินการในยุคหลังสงครามเย็น เรียกว่า "ภูมิยุทธศาสตร์" ซึ่งแนวคิดนี้ปรากฎในหนังสือของเขา เรื่อง "กระดานหมากรุกที่ยิ่งใหญ่" ดดยเขาได้ให้คำอธิบายถึงภูมิภาคทั้ง 4 ของดินแดนยูเรเซีย ซึ่งสหรัฐฯ ควรจะต้องออกแบบนโยบายที่เหมาะสมสำหรับแต่ละภูมิภาคแต่ให้มั่นใจได้ว่าสหรัฐฯจะยังควเป็นอภิมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกต่อไป สำหรับภูมิภาคที่ 4 ได้แก่ 

           - ยุโรป กองหน้าของฝ่ายประชาธิปไตย

           - รัสเซีย เป็นเสมือนหลุ่มดำที่อยุ่กลางดินแดนยูเรเซีย

           - เขตคอเคซัสและเอเซียกลาง เป็นดินแดนบอลข่านแห่งยูเรเซีย

           - ตะวันออก เป็นเครื่องยึดเหยี่ยวตะวันออกไกล

           นอกจากนี้เขายังได้วางยุทธศาสตร์ในการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาไว้ 2 ประการ คือ 

            - ปัจจุบัน การเมืองระหว่างประเทศที่มีเพียงขั้วเดียว ดดยที่สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจเพียงประเทศเดียว

            - สหรัฐฯไม่สามารถที่จะเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้ตลอดกาล ดังนั้น จึงต้องเตรียมการรองรับเมือวันที่จะต้องลงจากบัลลังก์


             ที่มา :KU0168010c.pdf


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical : Sea Power

         


 สมุททานุภาพ Sea Power เกิดจากแนวคิดของ พลเรือตรี อัลเฟรด เธเยอร์ มาฮาน นำเสนอผ่านหนังสือ "The influence of Sea Power upon History 1660-1973" ซึ่งมาฮาน เป็นนักยุทธศาสตร์ทางเรือผู้มีชื่อเสียง ดดยเขาศึกษาและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์การก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางทะเลของประเทศอังกฤษ สรุปเป็นทฤษำีสทุททานุภาพ แล้วเปรียบเทียบกับขีดความสามารถของสหรัฐฯ

ในการเป็นชาติมาหอำนาจทางทะเล ด้วยปัจจัยสทุทานุภาพหลายๆ ปัจจัยซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ความสำคัญของสมุททานุภาพ ถือหลักสำคัญว่า มหาอำนาจทางทะเลจะเหนือกว่ามหาอำนาจทางบกในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในทฤษฎีนี้ได้รับการพิศุจนื แล้วจากสงครามโลกทั้งสองครั้งว่าเป็นความจริง 

        หากพิจารณความหมายของสมุททานุภาพ อันเป็นผลจาการปสมคำระหวาง สมุทร(ทะเล) กับ อานุภาพ (กำลังอำนาจ) ความหมายดดยรวมของสมุททานุภาพ มีบริบทเช่นเดียวกับที่มาฮานได้กล่าวำว้คือ "อำนาจ กำลังอำนาจ หรือ ศักยภาพของชาติ จาการใช้ทะเลให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ" จากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้ง จึงพิสูจน์ได้ว่า ทฤษฎีสมุททานุภาพกำเนิดมากว่า 100 ปีแล้ว และยังสามารถนำมาปรับใช้ได้จนถึงปัจจุบัน (ที่มา : https://thaiseafarer.com/naval-cencept/sea-power/)



       ภฺมิรัฐศาสตร์ คือ วิชา สาขาวิชา ที่เป็นการพรรณนา อธิบาย วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ผ่านการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่่างภูมิศาสตร์กับรัฐศาตร์ หรือความสัมพันธ์ระหวางภูมิประเทศและสภาพทางกายภาพกับการเมืองการปคกรอง ขอบเขตการศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ครอบคลุม (ณรงค สินสวัสดิ์, 2524 : 20 อัางใน สมบัติ จันทรวงศ์, 2541 : 632-634. ; สมชาย เดชะพรหมพันธุ์, 2535 : 21- 104.) (1) ทีตั้งของประเทศหรือรัฐ ที่สำคัญ คือ การเป็นประเทศภาคพื้นทวีป หรื อภาคพื้นสมุทร การเป็นประเทศที่มีอาณาเขตไม่ติดต่อทางทะเล หรือติดต่อทางทะเลการเป็นประเทศที่มีพรมแดนประชิดมหาอำนาจหรือประเทศที่มีอำนาจที่เนหือว่าหรือห่างไกลจากประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่มีอำนาจเหนือกว่า และการมีที่ตั้งที่มีพรมแดนประชิดกับเพื่อบ้านที่มีความเมหือนกันหรือแตกต่างกันทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ขนาดของประเทศหรือรัฐ ตัวอย่างที่สำคัญ คือ รัฐที่มีพื้นที่ อาณาเขต พรมแดน ดินแดน นาดกว้างใวหญ่ไพศาล ย่อมมีความได้เรียบจาการมีทรัพยากรจำนวนมาก ทำให้รับผิดชอบต่อสาธารณชนหรือประชากรได้มาก สร้างปัจจัยแห่งอำนาจและขีดความสามารถของประเทศได้มากความเได้เปรียบด้านการสงครามจากการมีพื้นที่ให้เลือกสรรหรือใช้ประโยชน์ได้เป็นจำนวนมาก มีจุดยุทธศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ด้านการสงครามเป็นจำนวนมาก...ส่วนแนวคิดสมุททานุภาพ นับเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดอำนาจของชาติที่คาบเกี่ยวเฉพาะส่วนที่เป็นภาคพื้นสมุทรหรือทะเลเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของรัฐจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกื้อหนุนจนก่อให้เกิดปัจจัยแห่งอำนาจทางทะเล  (นรพัชร เสาธงทอง อภิญญา ฉัตรช้อฟัา และสุรพล สุยะพรหม, 2564) สภาพที่ตั้งของพื้นที เมือง หรือประเทศ จึงนับเป็นรากฐานที่สำคัญของปัจจัยแห่งอำนาจตามแนวคิดสมุททานุภาพเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ฺทางรัฐศาสตร์

            รัสเซ๊ย การแสวงหาทางออกทะเลมีความต่อเนืองจาประวัติศาสตร์บนเงื่อนไขทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยลักษณะที่ตั้งที่รัสเซียเป็นที่มีพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่ไพศาล แต่มีข้อจำกัดกับทางออกทะเลที่ติดต่อกบภาพยนอก สภาชายฝังทางทะเลด้านเหนือมีอากาศหนาวจัด ซึ่่งเป็น้อจำกัด ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างเมืองท่าได้ และความห่างไกลจากศุนย์กลางของตะวันตกส่งผลให้รัสเซียอยุ่อย่างโดดเดี่ยว นับเป็นปัญหาอุปสรรคที่ขวางกั้นความเจริญของรัสเซีย และกีดกันรัสเซียออกจากเวทีการเมืองของยุโรปช่วงเวลานั้นเกรือบจะโดยสิ้นเชิง การแสวงหาทางออกทางทะเลนับเป็นหนทางที่สำคัญหนทางหนึ่งที่จะทำให้รัสเวียติดต่อค้าขายและรับวิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม และศิลปวิทยาการ จากตะวันตก ซึ่งเป็นปัจจัยและเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับการสภาปนาตัวตนเพื่อากรเป็นประเทศมหาอำนาจของรัสเซียตามที่คาดหวัง ...(Langer, 1975 : 24 อ้างใน จันทร์ฉาย ภัคอธิคม, 2540 : 22) 

 จุดยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดอ่อนที่สำคัญมาจากภูมิรัฐศาสตร์ภาคพื้นสมุทรหรือพื้นน้ำซึ่งรัสเซียมีความเสียเปรียบอยางมาก เพราะแม้ว่ารัสเซียจะมีพรมแดนติดต่อกับพื้นน้ำจากมหาสุมทรจำนวน สามแห่ง ประกอบด้วย มหาสมุทร แปซิฟิก มหาสุมทรอาร์กติก และมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เสมือนหนึ่งได้เปรียบเชิงปริมาณ แต่กลับมีปัญหาในเชิงคุณภาพเพราะพื้นน้ำหรือภาคพื้นสมุทรของรัสเซียกลายเป็นพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อนหรือพื้นที่อ่อนไหวของรัสเซียอย่างมาก ดังนั้น เป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซีย ประการแรก การสถาปนารัฐกันชนเพื่อป้องกันประเทศจาการรุกรานจากภายนอก ประการที่สอง การแสวงหาทางออกทางทะเลด้วยเลืื่อนไขและข้อจำกัดที่รัสเซียเผชิญกับปัญหาทะเลภายในที่มีทาสงออกสู่ภายนอกจำกัด ปัญหาทะเลปิดที่ไม่มีทางออกสุ่พื้นน้ำภายนอก ตัวอย่างที่สำคัญ คือ ทะเลสาบแคสเปียน และทะเลสาบไบคาล และปัญหาทะเลที่เป็นน้ำแข็ง.. 

           จากแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์สุ่แนวีคิดสมุททานุภาพที่แสดงถึงความสำคัญของภาคพื้นสมุทรองรัสเซีย ด้านความมั่นคงที่เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ และด้านเศรษบกิจที่เป็นผลประโยชน์จาการค้าภายนอก ทำให้รัสเวียมุ่งเน้นการแสวงหาทางออกทะเลมานับตั้งแต่อดีต พื้นที่ตอนล่างหรือด้านความมั่นคงที่เป็นที่ตังทาง

ยุทธศาสตร์ และด้านเศรษบกิจที่เป็นผลประโยชน์จาการคี้าภายนอก ทำให้รัสเวียมุ่งเน้นการแสวงหา
ทางออกทางทะเลมานับตั้งแต่อดีต พื้นที่ตอนล่างหรือด้านใต้ของรัสเซียนับเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับความสัมพันะ์กับภายนอกประเทศ ส่งผลให้รัสเซียนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาพยายามแสวงหาทางออกลงสู่ทะเลดำ จาการขยายอาณาจักรรัสเซียภาคพื้นทวีปเป็นหลักภายหลังการสภาปนาอาณาจักรมัสโควี อาณาจักรที่สำคัญของรัสเซียช่วงแรก ต่อนเื่องจนถึงการสภาปนาจักรวรรดิรัสเวียของราชวงศ์โรมานอฟ นำไปสู่การขยายอำนาจสู่ด้านล่างจนถึงทะเลดำเสมัยพรเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชและพระนางแคทเอทลีนมหาราชินี แต่การเผลิญกับปัญหาทางการเมืองภายในทำให้การแสวงหาพื้นที่เพิ่มเติมสำคัญลำดับรอง และรัสเซียพยายามรักษาอำนาจที่มีเหนือายฝั่งและทะเลดำอย่างต่อเนื่องจนสหภาพโซเวียล่มสลาย

           ไครเมียนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างสำคัญจาการขยายอำนาจของรัสเซียสุ่พื้ที่อนล่างหรือทะเลอาวอฟ และทะเลดำ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวที่สำคํญจากความพยายามขยายอำนาจของมหาอำนาจนับตั้งแต่อดีต ที่สำคัญ คือมองโกล และ ออตโตมาน การช่วงชิงการขยายอำนาจของรัสเซียในไครเมียก่อให้เกิดสงครามไครเมียกับจักรวรรดิออตโตมาน ทำให้ไครเมียเป็นเอกราชและกลายเป้นส่วนหนึ่งของรัสเซียและต่อมา หลังสงครามไึเทันีะหส่วีะาเศันกะยออคโตมานทำให้อังกฤษกับฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้อง การปราชัยของรัสเซียส่งผลให้ผุ้ปกครองต้องปฏิรูปประเทศอย่างรอบด้าน การเปลี่ยนแปลงการปกครองของสหภาพโซเวียตใน ปี 1917 ทำให้ไครเมียแยกตัวเป็นเอกราชและภายหลังได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต จนถึงสมัยนาย นิกิต้า ครุสซอฟ ที่มีการมอบไครเมียให้เป็นของขวัญแก่ยูเครนใน ปี 1954 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของยู่เครนต่อเนื่องแม้ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายใน ปี 1991 แล้วก็ตาม การที่ยูเครนเป็นประเทสที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดหรือมากที่สุดเป็นอันดับ2 รองจากรัสเซีย และเป็นประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลดำ ทำให้เสมอนหนึ่งปิดกั้นจนทำให้เป็นปัญหากับรัสเซียในการผ่านทะเลดำ นำไปสู่ความพยายามยึดครองไครเมียซึ่งประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายรัสเซียและเคยอยู่ในการปกครองของรัสเซียมาก่อน จนประสบความสำเร็จใน ปี 2014 นับเป็นจุดเร่ิมต้นอย่างมีนัยสำคัญสำหรับยการรุกคืบจนกลายเป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับยู่เครนใน ปี 2022 (ที่มา : TRDM_4_1_5_ธโสธร+ตู้ทองคำ.pdf )


วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ukain War The geopolitic significance...2

           "ผิดที่ไว้ใจ? รัสเซียกับสหภาพยุโรปในภมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง" โดย จิตติภัทร พูนขำ เมื่อ 29 มกราคม 2018 ซึ่งเผยแพก่ร่อนเกิดสงครามยูเครน  และสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ แสดงให้เห็นถึงความการช่วงชิงอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่มีนัยยะสำคํญเรื่องก่อการร้าย..

          ยุคสงครามเย็นความสัมพันธ์ยุโรปกับรัสเซียพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง


ขบเคลื่อความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและยุดรป ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างทางด้านอุดมการณืและระบเศรษฐกิจการเมือง กระทั่ง "กอบาชอฟ" ำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในทศวรรษที่ 1980 ทำให้รัศเวียกับโลกตะวันตก รวมทั้งยุโรป เร่ิมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันอีกคร้ง 

         ต่อมายุคหลังสงครามเย็น อัตลักษณ์ของรัสเซียในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรปนี้ได้กำหนดแนวนโยบายต่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัสเซียที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทสต่างๆ ในยุโรป รวมทั้งการรวมกลุ่มภูมิภาค ที่ต่อมาเรียกวา่เป้นสหภาพยุโรป หรือ EU อย่างน้อยในสมัยแรกของประธานาธิบดี "บอริส เยลซิน" รัสเซียเสนอว่าจะสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป 

          ต้นทศวรรษที่ 1990 รัสเซียกับ สหภาพยุโรปค่อยๆ พัฒนาขึ้นจาการพบปะเจรจาและการประชุมร่วมกันระหว่างผุ้นำรัสเซียและยุโรปอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งบรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือ ในปี 1994 ซึ่งมุ่งเน้นการพึงพาซึงกันและกันในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง เป็นต้น เยลซิน ได้กล่าวว่า "รัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนที่ซื่อสัตรย์เชื่อถือได้และไว้ใจได้"

           อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ระหว่างประเทศเช่น วิกฤตการณ์ภูมิภาคบอลข่าน โดยเฉพาะสงครามโคโซโว ปี 1999 ทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่อนเดังเดิม คุณค่าและผลประดยน์ของทั้งสองมหาอำนาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ รัสเซีย มองเห็นถึงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาของผุ้นำโลกตะวันตกทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเคยให้คำมันสัญญาว่าจะมีการปรึกษากับรัสเซีย ก่อนที่จะดำเนินปฏิบัติการทางทหารใดๆ ทั้งรัสเซียยังมองว่าการแทรกแซงทางการทหารแต่ฝ่ายเดียวหรือเอกภาคีนิยมของโลกตะวััีนตก ไม่ได้รับอาณัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้งยังมุ่งเปลี่ยนปลงระบอบการเมืองของรัฐอื่น

           ปี 2000 วลาดิมีร์ ปูติ ขึ้นเป็นประธานาธิดีรัสเซีย และยังคงมุ่งความสำคัญต่อยุโรปและสหภาพยุโรป ดังที่กล่าวว่า "รัสเซียนั้นเป็นมหาอำนาจตะวันตก ทีี่มีผลประโยชน์สำคัญร่วมกับประเทสต่างในยุโรป เช่น ด้านพลังงาน และการค้า

          ในปี 2003 รัสเวียและสหภาพยุโรปจัดตั้งสภาหุ้นส่วนภาวรเพื่อเป็นเวทีในการปรึกษาหารือระหวางประเทศ และกไนดแนวคิดเรื่อง "พื้นที่ร่วมกันสี่ด้าน".. ปูตินยังได้สร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกับผุ้นำยุโรปหลายคน ทั้งจาก เยอรมัน อิตาลี และฝรั่งเศส เป็นต้น โยเฉพาะ Schröder แห่งเยอรมัน ยังคงเป็นสหายสนิทของปูติน โดยมีบทบาทสำคัญในธุรกิจภาคพลังงานของรัสเซียอีกทังยังเป็นประธานบอร์ดบริหารบริษัทส่งออกพลังงานไปยังยุดรปผ่านท่อก๊าซใต้ทะเลบอลติกด้วย

          ทั้งนี้ในช่วงสมัยแรก ปูตินได้ร่วมมือกับยุโรปและสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย  War on Terror โดยสนับสนุนปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายของโลกตะวันตกในอัฟกานิสถาน และความร่่วมมือทางด้านการข่าวกรอง อย่างไรก็ตาม นิยามของการก่อการร้ายระหวางรัสเซียกับโลกตะวันตกก็มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ รัสเซีย การก่อการร้ายหมายถึงกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่ใช่รัฐ ไม่ได้รวมถึงรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย รัสเซียจึงไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง โดยรัฐภายนอกเข้าไแทรกแซงทางการทหารในอีกรัฐหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองภายในของรัฐนั้น หรือเปลี่ยนแปลงผุ้นำของรัฐดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงสงครามอิรัก ปี 2003 ซึ่งปูติดต่อต้านอย่างเด่นชัด และมองสงครามนี้ว่าเป็นการเลปี่ยนแปลงระอบอบการเมืองภายใน ไม่ใช่การตอการการก่อการร้ายโดยกลุ่มที่ไม่ใช้รัฐ

          ภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวงก่อตัวขึ้น ความกังขาและการลดความไว้เนื่อเชื่อใจต่อดลกตะวัน


ตกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงการปฏิวัติสี ในบริเวณ "หลังบ้าน"ของรัสเซีย ได้แก่ จอร์เจีย ปี 2003. ยูเครน ปี 2004. และคีร์กีสถาน ปี 2005 ตามลำดับ รัสเซียมองว่า เป็นการแผ่ขยายอำนาจของโลกตะวันตกและการส่งออกประชาธิปไตยในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของตน หรือ บางท่านเรียกว่า เขตผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ของรัสเซีย

         แม้ความคลางแคลงใจของรัสเซียจะพุ่งเป้าไปที่สหรัฐฯ เป็นสำคัญแต่สหภาพยุโรปเองในฐานมหาอำนาจที่มุ่งสงเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและตลาดเสรี ก็เร่ิมที่จะเผชิญหน้ากับความตึงเครียดกับรัสเซีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่ยังมุ่งเน้นการปกปห้องกอำนาจอธิปไตยของรัฐ และไม่สนับสนุนการแทรกแทซงทางการทหารเพื่อเปลี่ยนปแลงระบอบการเมืองของรัฐอื่น รวมทั้งต่อต้านการแทรกแทซงเพื่อมนุษยธรรมด้วย อาจกล่าวได้ว่ารัสเซียยังอยู่ในระเบยบโลกแบบเวสต์าเลีย แต่ยุโรปดูเหมือนจะเคลื่อตัวออกจากระเบียบดังกล่าวไปแล้ว

       ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันะืรัสเซีย และสหภาพยุโรป ตกต่ำ คือ "เพื่อนบ้านร่วมกัน" common neighborhood ซึ่งเป็นบริเวณที่อยุ่ะหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และเครือรัฐเอกราช ซึ่งถื่อเป็น "หลังบ้าน" ของรัสเซีย

     


 ด้านสหภาพยุโรป เร่ิมกระบวนการขยายสมาชิกภาพในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา สหภาพยุดรปประกาศนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านยุโรป 
European Neighborhood Policy: NEP ขึ้นมา เพื่อจะ "พัฒนาโซนแห่งความมั่นคงและความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" ซึงสหภาพยุโรปมี ไความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สันติ และร่วมมือ"...
       รัสเซียมองว่เป็นการขยายสมาชิกเป็นการแข่งขันเชิงอำนาจ/ภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็น "เขตอิทธิพล" ของตน ทั้งยังกังขาว่าไม่เป็นการส่งเสริมตลาดเสรี ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัสเซียมองการส่งออกประชาธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงระอบบการเมืองในหลายกรณี เช่น การปฏิวัติสีส้ม ในยูเครน ว่าเป็น "การสมคบคิดของโลกตะวันตก"

       รัสเซีย ต้องการสถาปนา "เขตอิทธิพลไในบริวเณอดีตสหภาพโซเวียต และมุ่งหมายให้สหภาพยุโรปรวมทังสหรัฐฯ ยอมรับสภานะดังกล่าวของรัสเซียด้วย 

       ปี 2005 ปูติน ได้กล่าวว่า "การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นเป็น "โศกนาฎกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์


แห่งศตวรรษที่ 20" แม้ัว่า ณ ขณะนี้ รัสเซียจะไม่มีเป้าหมายที่จะรื้อฟื้นจักรวรรดิแบบสหภาพโซเวียตขึ้นมา แต่รัสเซียต้องการเป็นมหาอำนาจในระดับภูมิภาคที่มีอำนาจและอิทธิพลเหนือเพื่อนบ้าน หรือ อย่่างน้อยก็ไม่ปรารถนาให้มหาอำนาจภายนอกเข้าแทรกแซง ในบริเวณ หลังบ้านรัสเซีย รัสเซียยังพยายามบูรรณาการรัฐต่างๆ ในเครือรัฐเอกราช เข้ามาอยุ่ภายใต้ดครงการที่ชื่อวหภาพเศรษบกิจยูเรเซีย ดดยมียูเครนเป็นหัวใจสำคัญในการบูรณาการเศรษฐกิจการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคยูเรเซีย เมือยุเครนเลือกที่จะหันไปหาโลกตะวันตก จึงสร้ืงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อรัสเซีย 

       ทว่า รัสเซียก็แสงหาการธำรงรักษาสภานภาพเดิมของ "ความขัดแย้งแช่แข็งในภูมทิภาคนี้เอาไว้ แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียเร่ิมดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวในบางกรณีที่อษศัย ไสงครามลูกผสม" hybrid war ในการรักษาสภานภาพเดิมในบริเวณ หลังบ้าน ของตน สงครามลูกผสม (สงครามลูกผสม นั้นเป็นสนธิกำลังของปัจจัยทางการทหาร กับปัจจัยที่มไ่ใช่ทางการทหาร เพื่อพบรรลุเป้าประสงค์ ทางยุทธศาสตร์บางประการ โดยวิธีการที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การใช้กองกำลังรบพิเศษ สงครามข่าวสาร สงครามไซเบอร์ การจารกรรมข่าวกรอง การขู่ว่าจะใช้ภัยคุกคามทางเศษฐกิจ (การตัดการส่งออกพลังงาน) การใช้อิทธิพลทางการเมือง รวมทั้งการแทรแซงทางการเมือง และแทรกแซงทางการทหารโดยตรง ที่ปรากฎให้เห็น ในสงครามระหว่างรัสเซียและจอร์เจีย ที่บางคนเรียกว่า "สงครามห้าวัน" ในปี 2008 หรือกรณี สงครามในยูเครนภาคตะวันออกตังแต่ปี 2014 เป็นต้นมา

           วิกฤตการณ์ยูเครน/ไครเมีย ในปี 2014 

          วิคเตอร์ ยานุโควิช ตกจากอำนาจ ในเดื่อนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน รัสเซียมองว่ารัฐบาล "ยานุโควิช" เป็นรัฐบาบลที่มาจาการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมทางการเมือง และมองกลุ่มชุมนุมประท้วง "ยูโรไมแดน" เป็นพวก "ฟาสต์ซิสม์" ที่ได้รับการสนับสนุนจากโลกตะวันตก รัสเซียวิพากษ์สหภาพยุโรปที่ให้การรับรองรัฐบาลใหม่อย่างทันทีทันใด ชนวนเหตุเป็นผลพวงจาก "เพื่อนบ้านร่วมกัน" กล่าวคือ การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ที่จัตุรัสเอกราชในกรุงเคียฟเร่ิมต้นจาการต่อต้านรัฐบาล ยานุโควิช ที่ไม่ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับสหภาพยุโรป แต่กลับไปทำความตกลงกับรัสเซีย

         วิกฤจตการณ์ครั้งนี้ยิ่งทำให้ยูเครนตกอยุ่ภายใต้กับดักมหาเกมภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างดลกตะวันตกกับรัสเซียอย่างเต็มตัว

          ความตึงเครียดทวีมากขึ้น เมื่อรัสเซียเข้าไปแทรกแซงทางการทหารในยูเครนภาคตะวันออก รวมทังการลงประชามติแยกตัวของไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ดลกตะวันตกตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศราฐกิจต่อรัสเวีย และขับรัสเวียออกจากการเป้นสมาชิกของกลุ่ม  G-8 กระทังปัจจุบัน

           

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ukain War The geopolitic significance...

           ถอดความจากบทสรุป : "ความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์สู่สงครามระหว่ารัสเซียกับยูเครน ค.ศ. 2020  : โดย Thasothon Tootongkarm

           ความขัดแย้งที่กลายเป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ใน ปี 2020 ส่วนสำคัญมาจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ จากแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ที่กำหนดการจัดวาางตำแหน่งของรัสเซีย ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบครองแผ่นดินที่เป็นหัวใจ ของโลก แต่กลับเผชิญความหลากหลายที่สำคัญจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้อำนวนส่งผลให้รัสเซียด้านทวีปยุโรปมีความสำคัญกว่าด้านเอเซีย แต่กลักลายเป็นจุดอ่อนจากการรุกรานจะระทเศมหาอำนาจตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ยูเครนเป็นประเทศเอกราชที่มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อรัสเซีย เป็นพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่สำคัญของรัสเซีย การกำหนดดำเนินนโยบายของยุเครนที่ออกห่างจากรัศเซีย โน้มเอียงไปทางมหาอำนาจตะวันตกผ่านองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ NATO และสหภาพยุโรป EU ทำให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน นปี 2022 ในที่สุด

           ความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เป็นไปอย่างใกล้ชิดแสดงถึงจุดอ่อนของ


รัสเซียด้านภมฺรัฐศาสตร์ทีมปัญหาและอุปสรรคนานัปการ ประกอบกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นไม่เหมาะแก่การดำรงชีพของมนุษย์ ความสำคัญของพื้นที่จึงไปทางด้านที่ติดกับยุโรปแม้ด้านเอเซียจะมีพื้นที่ที่มากกว่าก็ตาม อย่างไรก็ตามทางด้านยุโรปรัสเซียเผชิญกับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจตะวันตกจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยูเครนที่รัสเซียเปรียบเสมอืนหนึ่งเป็นแผ่นดินเดียวกันทั้งผุ้ปกครองและประชาชนจำนวนมากมีความโน้มเอียงไปทางตะวันตก จากการับค่านิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบเสรษฐกิจแบบเสรีนิยม และความเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่เน้นสิทธิมนุษยชนความเปลี่ยนแปลงที่ถือกำเนิดในกลุ่มประเทศในยะโรปตะวันออกและประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึงของสหภาพโซเวียตอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับรัสเซียเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความคลางแคลงใจระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตก จนเมือยูเครนแสดงท่าทีปรับเปลี่ยนนโยบายสร้างความสัมพันธ์จนอาจกลายเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเหนือ หรือสหภาพยุโรปในอนาคต รัสเซียจึงยอมรับไม่ได้

  จากภูมิรัฐศาสตร์ของยูเครนที่มีรูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน มีที่ตั้งด้านทิศตะวันออกเแียงใต้ของทวีปยุโรป และมีที่ตั้งของพรมแดนด้านทิศเหนือที่ติดเบราลุสและรัสเซีย ทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทิศใต้ติดกับโรมาเนีย มอลโดวา ทะเลอาซอฟ และทะเลดำและทิศตะวันตกติดโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทำให้ยูเครนรับรู้ถึงความเปลียนแปลงของด้านตะวั้นออกที่มีรัสเซียเป็นแกนนำกับด้านตะวันตกที่มีอดีตกลุ่มประเทศประเทศมหาอำนาจยุโรปตะวันตกเป็นแกนนำ ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของประเทศจากความปรารภนาของประชาชนต่อการขับเคลื่อนประเทศ และส่งผลต่อการสร้างความแตกต่างทางความคิดของประชาชนภายในยูเครนที่แบ่งเป็นกลุ่มฝักใฝ่ตะวันตกและกลุ่มฝักใฝ่รัสเซีย แต่การเป็นประเทศที่มีภูมิรัฐศาสตร์ที่ประชิดพรมแดนระหว่างรัสเซียและกำหนดและดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระย่อมแทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึงจากประสบการณ์ของรัสเซีจากประวัติสาสตร์ของประเทศที่มีพรมแดนประชิดที่สำคญ คือ จุดยุทธศาสตร์หรือพื้นที่ด้านความมั่นคง รัสเซียต้องดำินินการหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          ความเปลี่ยนแปลงของยูเครนที่ส่วนหน่งสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือ การขยายตัวขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ และสหภาย


ยุโรป ปัจจัยภายใน ที่สำคัญ คือ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของยูเครน จากการปฏิวัติสีส้ม ในปี 2004 ความเปลี่ยนแปลงทั้งมาลเป็นการเคลื่อนตัวจากด้านตะวันตกสู่ด้านตะวันออก ก่อให้เกิดการปะทะกันอย่างเข้มข้น ระหว่างแนวคิดและอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และทุนนิยมผ่านกลไกตลาด และสังคมสมัยใหม่หรือสังคมที่ทัีนสมัย จากประเทศตะวันตก ต่อเนืองถึงการจัดวางตำแหน่งขอวรัสเซียบนสมมติฐานควาเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ การเป็นมหาอาณาจักรนับตั้งแต่อดีตการเป็นอภอิมฟาอำนาจช่วงสงครามเย็น และการเป็นแกนนำของเครือรัฐเอกราชของรัสเซียภายหลังสงครามเย็น ของรัสเซียปัจจุบัน ที่เฝ้ามองติดตามความเปลี่ยนแปลงของประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาอาณาจักรและเป็รัฐกันชน อย่างใกล้ชิดแรงปะทะกันอย่างมหาศาลของกระแสความเปลี่ยนแปลงกดดันให้รัสเซียต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

           ความเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง ที่สำคัญมาจากการขยายอำนาจและอิทธิพลผ่านการเป็นสมาชิก
ใหม่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO ที่เป็นกลุ่มความร่วมมือหรือองค์การระหว่างประเทศซึ่งถือกำเนิดภายหลังวิกฤตการณ์เบอร์ลินหรือการปิดล้อมเบอร์ลิน ของโซเวียต เป็นต้นเหตุแห่งความไม่ไว้วางใจ เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย นำไปสู่การรับสมาชิกใหม่ ได้แก่ เช็ค อังการี และโปแลนด์ ต่อด้วย บัลแกเรีย เอสโตเนีย แลตเวีย ลิทัีวเนีย สโลวาเกีย และโรมาเนีย นับเป็ช่วงเวลาของการก่อกำเนิดองค์การนาโต้สมัยใหม่ เพราะรับสมาชิกประเทศจากกลุ่มยุโรปตะวันออก หรือกลุ่มประเทศจากอดีตสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ขอบเขตด้านพรมแดนขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเนหือประชิดพรมแดนรัสเซีย..

           ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียทำให้รัสเซียนับตั้งแต่อดีตมุ่งเน้นความมั่นคงจาการพัฒนากำลังพลและไพร่พล การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ การพัฒนายุทธปัจจัยอย่างต่อเนืองจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และอภิมหาอำนาจช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเย็น กาล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังสงครามเย็น นำมาสู่การสิ้นสุดความเป็นอภิมหาอำนาจพร้อมกับการล่มาลายเหลือเพียงรัสเซีย ประทเศมหาอำนาจภายหลังสงครามเย็นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และค่อยฟื้นตัวนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และมีบทบาทอย่างมมีนัียสำคัญภายหลังการกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของวบลาดิเมียร์ ปูติน เมืองปี 2012 ที่เติบโตมากับความยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตและการล่มสลาย ซึ่งเท่ากับหายนะของภูมิรัฐศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งศตวรรษ ปูติน อาจจะให้ความหมายสหภาพโซเซียตมากกว่ารัสเซียในปัจจุบัน "ยูเครน" จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย จากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์รัสเซียจึงไม่ปลอยยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของตะวันตกผ่านองค์การ นาโต้ หรือ สหภาพยุโรป ความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้อนจาการวยัดแคว้นไครเมียใน ปี 2014 นับเป็นสัญญาณของความรุนแรง และนำไปสู่สงครามในปัจจุบัน

          

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical concepts

           อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน 1840-1914 ทฤษฎีสมุทรานุภาพ อัลเฟรด เป็นนายทหารเรือ และนัก
ประวัติศาสตร์เขาเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์และุทธศาสตร์ทางเรือที่วิทยาลัยกองทัพเรือ มาอานให้ความสำคัญกับเรื่องของสมุทรานุภาพเป็นอย่างมาก โดยมาฮานได้เขียนหนังสือชื่อว่า "อิทธิพลของสมุทรานุภาพในประวัติศาสตร์" ออาเผยแพร่เมือปี 1890 โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอำนาจทางทะเลที่มีต่อกิจการทหาร

         มาฮาน มีความเห็นว่า ประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจได้นั้นจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลังอำนาจควบคุมทางทะเลและมหาสมุทร และเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามาราถเป็นมหาอำนาจทางบกและมหาอำนาจทางทะเลได้ในเวลเดียวกัน มาฮานยกตัวอยา่งประเทศอังกฤษ มีลักษณะเป็นเกาะจึงไม่ต้องกังวลกัการรุกรานทางบกจึงทำให้อังกฤษสามารถสร้างเสริมกำลังทางทะเลให้ยิ่งใหญ่ได้จนได้ขื่อว่ "เจ้าสมุทรฎ นอกจากนี้การที่อังกฤษสามารถที่จะเข้าควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล หรือด่านสมุทร ซึ่งเป็นชุมทางและทางผ่านของเส้นทางเดินสมุทรเอาไว้ได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ มาฮานเห็นว่าประเทศที่จะรับช่วงการเป็นเจ้าสมุทรต่อจากอังกฤษก็คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะแม้สหรัฐอเมริกาจะมีที่ตั้งอยู่บนทวีป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการรุำกรานจากทางบก เพราะประเทศเพื่อบ้าน คือ แคนาดานั้นเป็นประเทศที่ไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร นอกจากนี้อาณาเขตของอเมริกาังติต่อกับมหาสมุทรถึงสองแห่งด้วยกัน คือ แอตแลนติกและปแซิฟิก มาฮานจึงเสนอให้สหรัฐฯสร้างกำลังทางทะเลของตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...

           เซอร์เฮาฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1861-1947 ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ เป็นชาวอังกฤษ และทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์อยุ่มหาวิทยาลัยลอนดอน ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่ง


ลอนดอน ทฤษำีของเขามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการก่อสงคราม โดยบุกเข้าไปทางรัสเซียองเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 

        แมคคินเดอร์เห็นว่าพื้นที่ของทวีปเอเซีย ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา นั้นเป็นพื้นดินที่มีความต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว แมคคินเดอร์เรียกแผ่นดินผืนนี้ว่ "เกาะโลก" World Iland และเกาโลกนี้มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญย่ิง คือ บริเวณดินแดนในแถบยูเรเซีย โดยดินแดนนี้เร่ิมจากชายฝั่งทะเลยอลติกและทะดำในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรยในทางตะวันออก และทางเหนือเร่ิมจากมหาสุทรอาร์กติกลงมาจนจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ บริเวณนี้ได้รวมเอาส่วนใหญ่ของที่ราสูงอิหร่านททางตะวันตกเฉียงใต้ และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาไว้ด้วย แมคคินเดอร์ เรียกบริวเณนี้ว่า "ดินแดนหัวใจ" Hearrtland และเห็นว่ากำลังทาเรือนั้นจะเข้ามาในบริวเณดินแดนนี้ได้ยกมาก ยกเว้นแต่ทางด้านทะเลตะวันตก ซึ่งแมคคินเดอร์ก็เห็นว่าอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่น่่ากังวลนัก เพราะในยุทธนาววีระหว่างอังกฤษกับเยอรมันที่แถบคาบมหาสมุทรยุคแลนด์ในปี 1919 นั้น เรือรบของอังกฤษไม่สามารถที่จะข้ามช่องแคบดาร์ตะเนลส์ของตุรกีเข้าไปสู่ทะเลดำได้ ทั้งเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดของเยรอมันก็สามารถป้องกันไม่ให้อังกฤษสามารถเข้าไปในทะเลบอลติกได้ ส่วนทางบกนั้นดินแดนหัวใจถูกลัอมรอบไปด้วยภูเขา ทะเลทราย และน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก ดังนั้นการบุกรุกจากทางบกก็ทำได้ยากเช่นกัน นอกจากนีั้แมคคินเดอร์ยังเห็นว่า หากใครมาสามารถครบอครองดินแดนหัวใจได้แล้วก็จะสามารถบุกไปยังยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกได้โดยง่าย ซึ่งที่ตั้งของเยอรมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อดินแดนหัวใ เรพาะว่าถ้ารวมเยอมันเข้ากับดินแดนหัวใจแล้วก็จะสามารถขยายอิทธพลไปได้กระทั่งจรดชายฝั่งของยูเรเซีย

           ดินแดนหัวใจนั้นถูกล้อมรอบด้วยดินแดนของทวีปยุดรปและเอเชีย อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน จีน ฯลฯ ซึ่งแมคคินเดอร์เรียกบริเวณนี้ว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมใน Inner Marginal Crescent ส่วนดินแดนที่อยุ่ถัดออกมาจากบริเวณดินแดนครึ่งวงกลมริมใน ก็ได้แก่ ทวีปอัฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ แมคคินเดอร์เรียกบริวเณที่เหลื่อเหล่านี้ว่า "เนิแดนครึ่งวงกลมริมนอก"Outer Insular Creseent 

นิโคลัส จอห์น สปีกแมน 1893-1943 ทฤษฎีริมแลนด์ เป็นชาวอเมริกัน และเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันะ์ระหว่างประเทศอยุ่ในมหาลัยเยล สปีกแมนเห็นว่า ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะมากำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่มั่นคง ถาวร นอกจากนี้ สปีกแมนได้ให้นิยามของภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่นคงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่คงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์

          แนวคิดของสปีกแมนเป็นแนวคิดที่สือบเนื่องมาจากความคิดเรื่องดินแดนหัวใจของแมคคินเดอร์ และโดยที่สปีกแมนมองว่า ดินแดนหัวใจนั้นไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ แต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือ บริเวณที่อยุ่ถัดจากดินแดนหัวใจออกมา ซึ่งได้แก่ บริเวณที่อยุ่รอบของดินแดนยูเรเซีย หรือดินแดนที่แมคคินเดอร์เรียกว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมในนั่นเอง แต่ทั้งนี้ยกเว้นตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และเอเซียอาคแนย์ เพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริวเณกันชน Buffer Zone ระหว่างทำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยสปีกแมนเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์" Rimland

          โดนัล ดับเบิลยู ไมนิก เป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แต่งหนังสือเรือง "ดินแดนหัวและริมแลนด์ในประวัติศาสตร์ของยุโรปและเอเซีย" ขึ้นในปี 1956 ได้แบ่งริมแลนด์ออกเป็น 2 ปรเภทคือ ริมแลนด์
ภายในทวีป Continental Rimland และริมแลนด์ริมทะเล Maritine Rimland โดยืั้ก่ีแย้วีิทแบรดฺออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าวนี้ ไมนิกได้พิจารณาในแง่ของการมองข้าข้างใน(ทวีป) และการมองออกข้างนอก(ทะเล) ประเทศที่เป็นริมแลนด์ในทวีปจะมองเข้ามาข้างในทวีป เช่น จีน จีนต้องมองเข้าข้างในเพราะเกรงรัสเซียจะรุกราน เป็นต้น ส่วนประเทศที่เป็นริมแลนด์ริมทะเล จะมองออกทะเล เช่น ประเทศไทย เพราะในยุคหนึ่งศัตรูจะมาจากทางทะเล เป็นต้น ไมนิกได้พิจารณาปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความโน้มเอียงของนโยบาย และวัฒนธรรมของรัฐแถบริมแลนด์ว่าจะกำหนดอย่างไร ซึ่งก็เท่ากับได้กำหนดหน้าที่ของดินแดนหัวใจนั้นเอง

           ไมนิกได้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายและความโน้มเอียงทางการเมืองของประเทศใดๆ ก็ตามที่อยู่ในดินแดนริมขอบ อาจจะสลับไปมาระหว่างมองเข้าข้างในและมองออกจากภายนอกได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความกดดันทางประวัติศาสตร์และาการเมือง ดัวอย่างของประเทศที่ไม่นิกยกตัวอย่างคือ ประเทศไทย ในยุคแรก ไทยทองเข้าไปในทวีปก็เพราะข้าศึกส่วนใหญ่รุกรานมาจากภายในทวีป เช่น พม่า เขมร เป็นต้น ในยุคอาณานิคม ไทยมองออกไปทางทะเล เพราะข้าศึกที่อาจจะรุกรานมาทางทะเล ในยุคสงครามเย็น ไทยก็มามองเข้าไปภายในทวีปอีก เพราะข้าศึกอาจจะรุกรานเข้ามาทางผืนแผ่นดินใหญ่ตอนเหนือ ได้แก่ จีนและโซเวียต

            ตามทฤษฎีของไมนิก ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครคุมดินแดนหัวใจได้ จะสามารถครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย แต่แม้กระนั้นก็กล่าวได้วาภายในสภาพบางประการ ผุ้ที่ครอบครองดินแดนหัวใจอยู่จะมีโอกาสครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย

           ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 งานเกี่ยกับอำนาจของประเทศยังคงมีอยุ่ แต่แนวโน้มมุ่งไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาภูมิศาสตร์การเมืองโดยเฉพาะเป็นเรื่องๆ มากกว่าอย่างอื่น ในปี 1920 หนังสือเกี่ยวกับวิชาและปัญหาของพรมแดน การประชุมระหว่างรัฐบุรุษของโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อาศัยความรู้ในวิชานี้ในการทำแผนที่ใหม่ของยุโรป เช่น วู้ดโรว์ วิลสัน Woodroll Wilson อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับคำแนะนำจากผุ้เชี่ยวชาญทางด้านวิชานี้ คือ 

 ดร.ไอไซอาร์ โบว์แมน Isaiah Bowman ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน ซึ่งเป็นความสำคัญต่อวิชาการเมืองระหว่างประเทศมากผลงานของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ โบว์แมนได้ศึกษาและจัดแบ่งเขตภูมิวทยาของสหรัฐฯ และจัดพิมเป็นหนังสือเรื่องภูมิวิทยาป่าไม่ Forest Physiography โบว์แมนได้ขยายสมาคมภุมิศาสตร์จนมีความสำคัญระดับโลก หนังสือที่มีชื่อเสียงอีกเล่นหนึ่ง คือ 

          โลกใหม่ : ปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมือง The New World : Problem in Political Geography ตีพิมพ์ในปี 1921 โบว์แมนได้อภิปรายปัญหาดินแดนทางภูมิศาสตร์ทางการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้วางแนวทางของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองไว้ 2 แนว

         แบบมีระบบ Systematic และแบบมีดินแดน บริเวณทางการเมือง Regional โบว์แมนนั้น นับว่าเป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ที่ปฏิบัติงานด้านรักษาความสงบและสันติภาพให้แก่โลก โดยการชยายการทำแผนที่ความร่วมมือระหว่างประเทศลงไปทางทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดการวางแผนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสำรวจและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จนทำให้วิชาภูมิศาสตร์มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา...


                 ที่มา : https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN/search_detail/result/192642 


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitics

             ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นวิชาที่บูรณาการจาก 3 วิชา คือ รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการทหาร เร่ิมการสอน
ในประเทศสวีเดน เมือปี 1916 และถูกนำไปเป็นวิชาหลักสำคัญของเยอรมนีและแพร่ไปทั่วโลก โดยพลเอกศาสตราจารย์คาล เฮาโซเฟอร์ ผุ้เสนอทฤษฎี เลเบนสเราม์ มีแนวคิดว่ รัฐเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพื้นที่ดินเพื่อขยายตัวอยุ่ตลอดเวลา จึงถูกระบอบนาซีอ้างเป็นเหตุในการขยายอาณาเขตกระทั่งกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเอง

           ภูมิรัฐศาสตร์ประกอบด้วย รัฐศาสตร์ ซึ่งภูมิรัฐศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ภูมิศาสตร์ ตั้งเิมจะเน้นเฉพาะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง สมุทรศาสตร์ ภูมิอากาศวิทยา หิน อุตุนิยม เป็นต้น เพื่อประกอบกับเรื่องการทหาร สำหรับฝ่ายการเมืองจะนำไปเป็นข้อพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นนโยบายการต่างประเทศต่อไป แต่ภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญต่อวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่น สาขา ภูมิรศาสตร์วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ภมฺิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์ศาสา เป็นต้น ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์การศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น

          อาทิ ปัญหาในตะวันออกกลางหากจะวิเคราะห์ในแง่ของภุมิรัฐศาสตร์โดยปราศจากความรู้ทางภมิศาสตร์ศาสนาจากสาขาภูมิศสตร์มนุษย์ก็ยากที่จะเขาใจได้ จึงกล่าวได้ว่า ภูมิรฐศาสตร์ยุคใหม่นี้เน้นความสำคัญของภูมิศาสตร์มนุษย์มากกว่าเดิมซึ่งให้ความสำคัญเฉพาะภูมิศาสตร์กายภาพเท่านั้น

          การทหาร ในวัชาภูมิรัฐศาสตร์นั้น กลักการที่สำคัญเป็นหัวใจของการทหารคือ War is mere continuation of policy by other means...a real political instrument...a continuation of political commerce... -สงครามเป็นเพียงความต่อเนื่องของนโยบายแบบหนึ่ง..เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างแท้จริง..เป็นส่วนต่อของพาณิชย์การเมือง" 

         เมื่อสงครามโลกครังที่ 2 ยุติลง โลกได้รู้จักกับนิวเคลียร์ เกิดการแข่งขันระหว่าง 2 มหาอำนาจ สหรัฐฯและรัฐเซีย ชีปนาวุธทีสามารถยิงได้ทัี่วทุกมุมโลก ทำให้ภูม้ิรัฐศาสตร์กลายเป็นวิชาที่บรรดามหาวิทยาลัยต่างๆเลิกสอน เลิกทำการวิจัยทางภูมิรั้ฐศาสตร์เกือบหมด

        เมื่อโลกเข้าสู่สงครามเย็น ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีว่าหากเกิดสงครามนิวเคลียร์จะได้รับผลเสียหายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครจะแพ้หรือชนะ ดังนั้น 2 มหาอำนาจต่างให้การสนับสนุนความขัดแย้งในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า สงครามตัวแทน ความขัดแย้งที่มีพื้นฐานมาจาการต่อสู้ทางอุดมการณ์และภูมิรัฐศาสตร์เพื่ออิทธิพลทั่วโลกโดยสองมหาอำนาจ 

        ดังนั้นการสงครามที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีใครนำอาวุธนิวเคลียร์ออกมาใช้ ยังคงใช้อาวุธนานาชนิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ การเมือ กองทัพทหารและต้องอาศัยภูมิศาสตร์เป็นหลักในการสงครามเหมือนในอดีต ภมฺรัฐศาสตร์ จึงกลับมาได้รับความสนใจ 

          ฟรีดริส รัทเซล เป้นนักภูมิศาสตร์และนักชาิตพันู์วิทยาที่มีชื่อเสียงที่ได้ให้คำอธิบายถึงศัพท์ "Lebensraum" หรือ "การขยายดินแดนเพื่อความอยุ่รอดของรัฐ" ความสำคัญของเขาที่มีต่อวิชาภฺมรัฐสษสตร์ก็คือ เขาเป็นผู้แผ้วทางแนวทางของภูมิรัฐศาสตร์โดยการนำความรู้ด้านภูมิศาสตร์ใสนเรื่องของระวางที่ เข้ามาผนวกเพื่อวิเคราะห์แนวทางทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความมั่นคง

          ในปี 1975 รัทเซลเดินทางกลับถคงเยอรมันและได้รับเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคนิคในเมืองมิวนิค และในปีถัดมาเขาได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญข้นมาซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการก่อตังสาขาวิชา "ภูมิรัฐศาสตร์วัฒนธรรม" ในปี 1880 เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ในระหว่างที่เขาเป็นอาจารย์อยุ่เมืองมิวนิคเาผลิดผลงานทางวิชาการและตำราขึ้จำนวนมาก ปี 1886 เขาได้รับแต่งตั้งให้ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยในเมืองไลพ์ซิก คำบรรยายของเขาได้รับความสนใจจากคนในแวดวงภูมิศาสตร์อย่างมาก และตัวของรัทเซลก็ยิ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเมือง เอลเลน ครูชิล ซิมเปิล นักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันได้นำคำสอนของเขาไปเผยแพร่..เขายังได้เป็นผู้วางรากฐานวิชา "ภูมิศาสตร์มนุษย์"ด้วยแต่ถูกนำไปตีความผิดๆ

          รัทเซล เกี่ยวข้องกับวิชาภูมิรัฐศาสตร์ในปี 1897 เป็ปีที่เขาตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อว่า"ภูมิศาสตร์การเมือง" ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะเมือแปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นการผนวกเรื่องระวางที่ กับเรื่องทางกเมืองเข้าด้วยกัน เป็นจุดเร่ิมต้นขแงอนวคิดแบบ "ชีวรัฐ" โดยเขามทองว่ารัฐเปรียบเสมือนสิงมีชีวิต ดังนั้น รัฐจึงต้องมีการเจริญเติบโต และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่รัฐต้องชยายดินแดนจึงเป็นเรื่องปกติเพราะการขยายดินแดนของรับก็เพื่อความอยุ่รอดของชาตินั่นเอง และยังเป็นแนวคิดทางสังคมแบบดาร์วินอีกด้วยซึ่งหลัการสำคัญของทฤษำีวิวัฒนาการของดาร์วินก็คือการคัดสรรโดยธรรมชาิตที่อธิบายว่่าสิงมีชีวิตที่มีสภาพและลักาณะเหมาะสมในการดำรงชีวติมากกว่าจึงจะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ เมื่อนำแนวคิดอย่างนี้มาใช้กับสังคมโดยเฉฑาะสังคมรัฐก็หมายถึงว่่ารัฐที่เข้มแข็งหรือเหมาะสมกว่าก็ควรทีจะอยู่ต่อไปส่วนรัฐที่อ่อนแอ่ไม่เหมาะสมก็ควรต้องสูญไป ผลงานที่เป็นรากฐานต่อมาของวิชาภูมิรัฐศาสตร์ก็เช่น  ความเรียงว่าด้วยการขยายดินแดนเพื่อความอยู่อดของรัฐ ตีพิมพ์ปี 1901 ผลงานต่างๆ ของรัทเซลเป็นรากฐานของวิชาภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยอรมันและทำให้วิชาภูมิรัฐศาสตร์ต่อไปของเยอรมันมัลักษณะพิเศษจากที่อื่น

           ผลงานของรัทเซลในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมศาสตร์การเมืองนั้นได้รับการผลิตออกมาในช่วงเดียวกันกับที่ลัทธิอุตสาหกรรมมนิยมในเยอรมันกำลังเจริญเติบโตภายหลังจากสงครามฟรานโก-ปรัสเซีย และเป็นช่วงหลังจาการแข่งขันในการค้นหาตลาดเพื่อระบายสินค้ากับอังกฤษ ทำให้แนวคิดของเขาตรงกับความต้องการในการแผ่ขยายจักรวรรดิของเยอรมัน....

 

                   ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_4573267

                            https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/192659

                             


          

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...