วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical : Trade War

           


           สงคราามการค้า Trade War เป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากลัทธิคุ้มครองขั้นรุนแรง

           ลัทธิคุ้มครอง Protectnism เป็นนโยบายเศรษฐกิจที่จำกัดการนำเข้าจากประเทศอื่นดดยใช้วิะีการ เช่น กาตั้งภาษีศุลกากร โควตานำเข้า เลแากรวางระเบยบของรัฐบาลอื่นๆ ผู้สนับสนุนอ้างว่่านโยบายลัทธิคุ้มครองจะช่วยป้องกันผู้ผลิต ธุรกิจและคนงานของภาคที่แข่งขันนำเข้าในประเทศจากผู้แข่งขันต่างประเทศ ทว่า นโยบายดังกล่าายังลดการต้าและมีผลเสียต่อผุ้บริโภคโดยรวม (เพราะทให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น)และมีผลเสียต่อผุ้ผลิตและคนงานในภาคส่งออกา ทั้งในประเทศที่ใช้นโยบายนำเข้าสุงขึ้นและมีผลเสียต่อผุ้ผลิตและคนงานในภาคส่งออก ทั้งในประเทศที่ใช้นโยบายลัทธิคุ้มครองและประเทศที่นดยบายลัทธิคุ้มครองมีผล 

           มีความเห็นเป็นสากลในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่า ลัทธิคุ้มครองมีผลเสียต่อการเติบดตทางเศราฐกิจและสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ส่วนการค้าเสรี การลดระเบยบ และการลดอุปสรรคการค้ามีผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทว่า การเปิดเสรีการค้าบางทีทำให้การเสียและได้ประโยชน์กระจายมากและไม่เสมอภาค และในระยะสั้นอาจทำให้มีการย้ายทางเศราฐกิจอย่างสำคัญของคนงานในภาคแข่งขันนำเข้า เหตุการที่เกี่ยวข้อง อาทิ าวึี่ทแอวโกล-ดัตช์ (1653-1784) สงครามฝิ่น (1839-1860) สงครามกล้วย (1898-1934). รัฐบัญญํติ Smoot-Hawley Tariff (1930), แองโกล-ไอริช สงครามการค้า (1932- 1938) สงครามการค้ากับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม ( 2010-2011). ภาษีทรัมป์ฺ (2018) สงครามการค้าจีน - สหรัฐฯ ( 2018 -ปัจจุบัน), ข้อพิพาททางการค้า ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ (2019 - ปัจจุบัน) 

           สงครามการต้า จีน-สหรัฐ หมายความถึงการริเร่ิมภาษีศุลการกรกับสิค้าที่ค้าขายระหว่างปรเทจีนและสหรัฐ 6 กรกฎาคม 2018 สหรัฐตั้งภาษีศุลกากร 25% ต่อสินค้า จีนมูลค่า 34,000 ล้นดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งของนดยบายพิกัดอัตราใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐ อดนัลด์ รัมป์ฺ ซึ่งทำให้จีนตอบโต้ด้วยการตั้งภาษีศุลการกรขนาดเท่ากันต่อผลิตภัณฑ์ของสหรัฐ ไม่นานจากนั้นในวันที่ 10 กรกฎาคม สำนักงานผุ้แทนการค้าสหรัฐจัดพิมพ์รายการผลิดตภัฒฑ์จีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จะอยุ่ภายใต้พิกัอัตราที่เสนอใหม่ 10% ตามคำสั่งของประธานาธิบดี ทรัมป์ จีนตอบโต้ด้วยการประกาศประณามพิกัดอัตราที่เสนอใหม่ว่า "ไร้เหตุผล"และ "ยอมรับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง" รุัฐบาลทรัมป์วาพิกัดอัตราดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อคุมครองความมั่นคงของชาติและ "ทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ และเพื่อลดการขาดุลการค้าของสหรัฐกับจีน  ทรัมป์เปิดการสอบสวนอย่างเป็นทางการในเรื่องการโจมตีทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐและพันธมิตร ซึ่งทำให้สหรัฐเสียหายเป็นมูลค่าประเมินไว้ ระหว่าง 225,000-600,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ/ปี

           รัฐบาลทรัมป์ อาศัยอำนาจบางส่วนตาม มาตรา 301 แห่งรัฐบัญญัติการค้า ปี 1974 เพื่อป้องกันสิ่งที่อ้างว่าเป็นวัตรการค้ามิชอบและการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา กำหมายให้อำนาจประธานาธิบดีกำหนดค่าปรับหรือบทลงโทษอื่นต่อคู่ค้าฝ่ายเดียวได้หากถือว่าทำร้ายผลประโยชน์ทางธุรกิจของสหรัฐโดยมิชอบ ในเดือน เมษา ปี 2018 สหรัฐกำหนดพิกัดอัตราต่อสินค้านำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมมจากจีนตลอดจนแคนาดาและประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป..ที่มา : วิกิพีเดีย

          "..หลักการสำคัญทางการทหารในหนังสือ "on war" ของคลอสเซวิส์ Karl von Clausewiyz ปรมาจารย์ทางการทหารของชาวเยอมรันใน สตวรรษที่ 19 ซึงหลักการดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนทหาร และนำมาใช้อ้างอิงกันอยุ่เสมอ แม้กระทั่งปัจจุบัน ที่อยู่ถึง 3 เล่มใหญ่ๆ ด้วยกัน พอจะสรุปได้ดังนี้

             - สงครามเป็นเพียงเครื่องมือที่ต้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อให้สำเร็จตามนโยบายของรัฐ เมื่อวิถีทางอื่นใช้ไม่ได้แล้ว สงครามเป็นเพรียงเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น

            - คำนิยามของสงคราม คือ "การกระทำที่รุนแรงทีปฏฺิบัติเพื่อบังคับให้ศัตรุยอมทำตามในส่ิ่งที่เราปรารถนา"

            - เมื่อทำสงครามแล้ว ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ขัยขนะ สงครามต้องไม่มีข้อจำกัด การได้ชัยชนะคือการทำลายกำลังของศัตรูอย่างยับเยินโดยเด็ดขาด ดังนั้น สงครามจึงต้องไม่เพืียงแต่อาศัยวัสดุสิ่งของทั้งปวง และการชำนาญทางการรบเท่านั้น  หากแต่จะต้องมีองค์ประกอบทางสังคม จิตวิทยา และความเชื่อมั่นว่าฝ่ายตนเป็นฝ่ายถูกทางด้าน ศีลธรรม ก็สำคัญพอๆ กัน ซึ่งอธิบายโดยย่นย่อก็คือ นอกจากจะต้องเตรียมการรบให้พร้อมสรรพทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงแล้ว ต้องคำนึงถึงขวัญและกำลังใจของทหารและประชานเป็นอย่างยิ่งพร้อมๆกันไปด้วย

            - การเมืองต้องนำการทหาร ผู้นำทางการทหารต้องรับคำสสั่งจากผุ้นำการเมือง..."

             "..อำนาจของประเทศ คือ ความสามารถของประเทศหนึ่งที่สามารถทำให้ประเทศอื่นกระทำตามที่ตนปรารถนา

               ประเทศมหาอำนาจต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป หรือจีน มีอำนาจมากก็เพราะสามารถที่จะทำให้ประเทศอืนทำตามที่ประเทศเหล่านี้ปรารถนาได้มากนั้นเอง

               หากพิจารณาดูหลายๆ ประเทศพร้อมกันก็อาจลำบากในการตัดสินว่าอำนาจของประเทศใดจะมีมากกว่ากัน แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบครังละ 2 ประเทศ ก็จะทำให้สามารถพิจารณาได้ง่ายมากขึ้น เช่น สหรัฐรบชนะญี่ปุ่นเมือปี 1945 ก็แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกามีอำนาจมากกวาประเทศญี่ปุ่น เพราะสามาารถที่จะเข้าไปยึดครองจัดการญี่ปุ่นได้ตามความพอใจ แต่หากพิจารณาประเทศไทยกับเวียดนาม ก็ยากที่จะตัดสินได้ว่าใครมีอำนาจมากกว่ากัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถทำให้แต่ละประเทศทำตามที่ตนปรารถนาได้ ในกรณีที่เวียดนามสามารถขับไล่กองทัพสหรัฐฯออกจากเวียดนามได้ในสงครามเวียดนามนั้น มิได้หมายความว่า เวียดนามมีอำนาจเหนือสหรัฐฯ เป็นต้น

            อำนาจของประเทศมีความสำคัญมา เพราะฉะนั้นการขยายอำนาจของประเทศจึงเป็นนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศเมื่อมีโอกาส เพราะประเทศที่มีอำนาจมากๆ นั้น สามารถที่จะทำให้ประเทศที่มีอำนาจน้อยกวย่ากระทำการต่างๆ ได้ตามที่ตนปรารถนา ทั้งๆ ที่ประเทศที่ีมีอำนาจน้อยนั้นไม่อย่างจะทำ ในเวลาเดียวกันอำนาจของประเทศก็เป็นการประกันความปลอดภัยของประเทศ และของพลเมือง ตลอดจนช่วยในการกอบโกยผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประเทศที่มีอำนาจมากได้เป็นอย่างดี 

          การขยายอำนาจของประเทศในสมัยก่อนเป็นไปในรูปที่เรียกว่า จักรวรรดินิยม ซึ่งหมายความถึงการยึดครองอาณานิคม หรือ การขยายอำนาจทางการเมืองและ/หรือ การขยายยอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งเข้าครอบงำอีกประเทศหนึ่ง การขยายอำนาจแบบเข้ายึดครองประเทศอื่นเป็นอาณานิคมนั้น เป็นที่นิยมในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สำหรับปัจจุบันกลับกลายเป็นล้าสมัย ในปัจจุบันจักรวรรดินิยมมักจะมามนรูปของการครอบงำเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจทำให้ประเทศที่อยุ่ในอำนาจทำตามที่ตนปรารถนา เช่น การที่สหรัฐฯ จะปฏิบัติการโจมตีกลุ่มก่อการร้ายและรัฐบาลตาลีบันในอัฟกานิสถาน สหรัฐฯก็ขอเข้าไปต้้งฐานทัพในประเทศปากีสถาน โดยเสนอเงื่อนไขเกี่ยวกับการผ่านระยะเวลาชำระหนี้ของปากีสถานให้ยาวขึ้น รวมทั้งยกหนี้บางส่วนให้กับปากีสถาน ดังนั้เน ทางปากรีสภานจึงยินยิมที่จะให้สหรัฐฯตั้งฐานทัพ.." ที่มา..KU0168010c.pdf

           ในอดีตภฺูมิรัฐศาสตร์ จะมุ่งเน้นไปในเชิงความสัมพันธ์ทางการทหาร ซึ่งภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง กระทั้งภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2บทบาทความสำคัญในเชิงการทหารของประเทศต่างๆ เช่นการล่าอาณานิคม ถูลดระดับความสำคัญลง พร้อมๆ กันกับการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอยางรวดเร็วทำให้มีการขยายความสัมพันะ์ระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก นิยามของ ภูมิรัฐศาสตร์จึงเปลี่ยนไป

         นิยามที่เปลี่ยนไปตามพลวัติของโลกที่เปลี่ยนแปลง จากบทควาามเรื่อง "ภูมิรัฐศาสตร์กับความสัมพันธ์ต่อการค้า" จากกองวิจัยเศรษบิกจการค้ามหภาพค สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ 

        ที่ผ่านมา มีต่ิดต่อซื้อขายและเปลี่ยนสินค้าและทรัพยากรระหว่างกัน เป็นความสัมพันะ์ในเชิงเศรษฐกิจ อาทิ แนวความคิดเศรษฐกิจเสรีนิยม นโยบายการค้าเสรี การรวมกลุ่มและความร่วมมือทางเศราฐกิจ เช่น องค์การการค้าโลก WTO ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ และการตัดตั้งบริษัทข้ามชาติ ขณะเดียวกัน ปรเทศต่างๆ ต้องการช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ อาทิ


       สหรัฐอเมริกา ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น เป็นผุ้กำหดระเบยียบดลกใหม่ในมุมมองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน และการต้าเสรี รวมถึงการใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินสากลในการกำหนดราคา และเปลี่ยนสินค้า วัดมูลค่าของการต้าขายระหว่างประเทศ และเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก

       จีน ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีบทบาททางเศรษฐกิจการค้าโลกมากขึ้นตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และกลายเป็นหนึ่งในผุ้ผลิตผุ้ส่งออกสินค้าและตลาดทีใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงมีการพัมนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างร่วดเร็ว

        อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการช่วงชิงความเป็นผุ้นำทางการทหาราได้กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครัี้งโดยมุ่งเป้าไปที่การเสริมความมั่นคงของประเทศ ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารและการครอบครองยุทโธปกรณืสะท้อนได้จากรายจ่ายทางการทหารทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึัน

        นอกจานี้การตอบโต้กันระหว่างประเทสคู่ขัดแย้งมีการผสมผสานกันระหว่างมาตรการทางการทหาร เช่น การโจมตีด้วยขีปนารวุธ ควบคู่ไปกับมาตรการมทางการค้าและทางเศรษฐกิจ เช่น มาตรการคว่ำบาตรการถอนการลงทุน ดังเช่นสถานการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครน ที่เป็นการปฏิบัติทางการทหารครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ที่มา : https://www.salika.co/2023/01/28/geopolitic-and-world-trade/

         "มหาอำนาจขั้วเดียว"  ตั้งแต่อดีตนั้น มัีกจะมีประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะประเทศที่อยุ่ในทวีปยุโรป และก็จะมีการถ่วงดุลอำนาจระหวว่างกัน โดยจะไม่ยอมให้ประเทศใดประเทศหนึงในกลุมประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นามีอำนาจมากเกินไป ซึ่งระบบการเมืองระหวางประเทศอย่างนี้เราเรียกว่า "หลายขั้วอำนาจ" และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็นก็ปรากฎขึ้นมา การเมืองระหวางประเทศของโลกเป็นระบบที่เรียกว่าระบบ "สองขึ้นอำนาจ" และภายหนังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง พร้มการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ระบบการเมืองระหว่างประเทศก็ได้กลายเป็นระบบ "มหาอำนาจขั้วเดียว" ... ที่มา : KU0168010c.pdf

           "การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลก World Order Transformer" 1/8/2022 By Futurist NIDA

            ระเบียบโลกอาจอธิบายได้ว่า หมายถึง รูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการที่ตัวแสดงในการเมืองโลก จัดความสัมพันะ์ระหว่างกัน และจัดการกิจการร่วมกัน ซึงประกอบสร้างขึ้นจากดุลอำนาจระหว่างตัวแสดงเหล่านั้น การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลก จึงเป็นกระบวนการวิวัฒน์หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการดังกล่าว อันอาจเกิดจากการเปลี่ยนดุลอำนาจ และ/หรือดุลยภาพระหว่างชุดความรุ้ความคิด

            แนวโน้มในอนาคต 

            - สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขนาดเศราฐกิจใหญ่ที่สุดในดลก เศราฐฏิจจีนและประเทศตลอดเกิดใหม่จะมีสัดส่วนเป็นกึ่งหนึ่งของขนาดเศรษฐกิจโลกภายใน ปี 2030 ( HSBC,2018)

            - สหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นมหาอำนาจทางภูมิรัฐ-ศาสตร์และการทหารที่มีขีดควาามสามารถสูงสุดหลัง ปี 2030 แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขีดความสามารถใกล้เคยงสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น 

             - ดุลอำนาจจำจะวิวัฒน์ไปสู่รูปแบบสองหรือสามขั้น ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ สาะารณรัฐประชาชนจีน และอาจรวมถึงสหภาพยุโรปมากขึ้น

            - เมื่อสหรัฐฯสูยเสียสภานะมหาอำนาจนำหนึ่งเดียว แนวคิดแบบเสรีนิยมที่เป็นพื้นฐานของระเบียบระหวว่างประเทศอาจเสื่อมอิทธิพล

            - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำกับระดับและทิศทางการเปลี่ยนผ่านดุลอำนาจและความคิด

            - ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมภายใต้การนำของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปสุ่ระเบียบโฃกแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งแข่งขัดและภาวะโลกหลายระเบียบ

           - ความขัดแย้งแข่งขันปีนี้โอกาสต่ำที่จะนำไปสู่สงครามหรือการโดดเดี่ยวกันระหว่างสองขั่วอำนาจหลัก เพราะยังควต่างต้องพึงพา/ร่วมมือกัน...ที่มา : https://futurist.nida.ac.th/


       

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...