วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Poet (โคลง…)

          ตีนงูงูไซร้หาก          เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ                  ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจร                    เห็นเลห์  กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้     ปราชญ์รู้  เชิงกัน…


           จระเข้คับน่านน้ำ          ไฉนหา  ภักษ์เฮย
รถใหญ่กว่ารัถยา                      ยากแท้
เสือใหญ่กว่าวนา                     ไฉนอยู่  ได้แฮ
เรือเขื่องคับชเลแล้                   แล่นโล้ไปไฉน
           ทณฑกทำเทียบท้าว      ราชสีห์
แมวว่ากูพยัคฆี                         แกว่นกล้า
นกจอกว่าฤทธี                         กูยิ่ง  ครุฑนา
คนประดากขุกมีข้า                   ยิ่งนั้นแสนทวี
           หิ่งห้อยส่องกันสู้           พระจันทร์
ปัดเทียบเทียมรัตนอัน               เอี่ยมข้า
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ               ธรรมชาติ
พาลว่าตนเองอ้า                      อาจล้ำเลยกวี
           เสือผอมกวางวิ่งเข้าหา  โจมขวิด
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ                        เลิศล้ำ
เล็บเสือดังคมกฤช                    เสือซ่อน  ไว้นา
ครั้นปาปามล้มคว่ำ                    จึงรู้จักเสือ….


          เสียสินสงวนศักดิ์ไว้        วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์                     สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง                            ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้                     ชีพม้วยมรณา…


         พระสมุทรสุดลึกล้น          คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดวา                      หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา                        กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้                         ยากแท้หยั่งถึง
        ไม้ล้มความข้ามได้            โดยหมาย
คนล้มจักข้ามกราย                    ห่อนได้
ทำชอบชอบห่อนหาย                ชอบกลับ สนองนา
ทำผิดผิดจักให้                         โทษแม้ถึงตน…


         รักกันอยู่ขอบฟ้า              เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว                ร่วมห้อง
ชังกนบ่แลเหลียว                     ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง               ป่าไม่มาบัง…


          นารายณ์วายเว้นจาก      อาภรณ์
อากาศขาดสุริยจร                    แจ่มหล้า
เมืองไดบ่มีวร                           นักปราชญ์
แม้ว่างามล้นฟ้า                        ห่อนได้งามเลย
          เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม          ดนตรี
อักขระห้าวันหนี                        เนิ่นช้า
สามวันจากนารี                         เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า                   อับเศร้าศรีหมอง…


        โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง           เมล็ดงา
ปองฉินนินทา                           ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา                       หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น                   เรื่องร้ายหายสูญ…


           อย่าเอื้มเด็ดดอกฟ้า        มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม                      อกไข้
เด็ดแต่ดอกพยอม                      ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้                        อาจเอื้อมเอาถึง
          ถึงจนทนสู้กัด                 กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ                  พวกพ้อง
อดอย่างเยี่ยงเสือ                      สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง                       จับเนื้อกินเอง…


         เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ    มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา                ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา                      กำกับ  กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน                   บาทสิ้นเสือตาย…


       เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้ว        แหนงหนี
หาง่ายหลายหมื่นปี                    มากได้
เพื่อนตายถ่ายแทนชี                  วาอาตม์
หายากฝากผีไข้                         ยากแท้จักหา…

                                             “บางส่วนจากโคลงโลกนิติ”          
    
    
     โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นาราชธานี นักปราชญืในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา รวามเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกล้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เล่าทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานกระทั้งถึงปัจจุบัน


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Political Philosophy


ปรัชญาคือ...
 
      วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยา นักปรัชญาชาวอเมริกา ให้อธิบายว่า หมายถึง"หลักการที่ใช้อธิายความเป็นมา ของสรรพสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้นสิ่งใด องค์ประกอบร่วมกันที่มีอยู่ในเทพเจ้า มนุษย์ สัตว์และดวงดาว จุดเริ่มต้น และจุดจบของความเป็นไปในจักรวาลทั้งหมด สภาวะการณ์แห่งความรู้ทั้งปวง และหลักเกณฑ์ทั่วไปของการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์"

     หรืออาจกล่าวได้ว่า เรื่องที่ศึกษา ทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์เพื่อให้ได้มซึ่งความรู้ หรือ ขอบเขตของความคิดที่อยู่เหนือปรากฎการณ์ของสภาวะทั้งหลายของชีวิต หรือ ขอบเขตของความคิดที่พยายามเพื่อจะทำความเข้าใจในสรรพสิ่งทั้งปวง
  
     คือเรื่องที่ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงทางการเมือง มีค่านิยม มาเกี่ยวข้องสิ่งที่นักปรัชญาศึกษา คือ การพยายามตอบคำถามว่า รัฐและผู้ปกครองที่ดี ความเป็นอย่างไร ซึ่งความคิดในเรื่องรัฐที่ดี หรือผู้ปกครองที่ดีในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างก็มีค่านิยมเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ๆ ซึ่งอาาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้ ดังแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละยุคสมัย หรือแนวทางการร่างรัฐธรตรมนูญของไทยแต่ละฉบับ เป็นต้น

           แนวคิดในเชิงปรัชญา ของนักทฤษฎีทางการเมือง ยุคเพลโต
     เพลโตเป็นลูกศิษย์ขอโสเครตีสเพลโตเป็นผู้ก่ตั้งสำนักอเค็ดเดมี่ ACADEMY ซึ่งเป็นวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ได้แก่
       - อุดมรัฐ THE REPUBLIC
       - กฎหมาย THE  LAWS
       - รัฐบุรุษ   THE  STATESMAN
       -ไครโต    CRITO

   ธรรมชาติของคนและรัฐ
คนเป็นสัตว์สังคมไม่สามารถจะมีสภาพเป็นที่สมบูรณ์ได้หากใช้ชีวิตโดดเดี่ยวภายนอกสังคม คนเราเกิดมาเพื่อที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์นั้น จะกระทำเฉพาะอยูภายในรัฐเท่านนั้น การมีชีวิตที่ดีและการเป็นพลเมืองที่ดีมีความหมายคลายคลึงกันมากที่สุด เพลโตเชื่อว่าการที่จะมีชีวิตที่ดีนั้น ในเบื้องต้นต้องเป็นพลเมืองที่ดีก่อน รัฐเกิดจากความจำเป็นของคนและรัฐจะต้องประกอบด้วยคนอยางน้อย 4 หรือ 5 คนขึ้นไป เพลโตกล่าวว่าสังคมได้สร้าง "กฎหมาย" ขึ้นเป็นัฐธรรมนูญการปกครองกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สอนให้คนในรัฐได้เรียยรู้ถึงระเบียบ กติกาการอยู่ร่วมกัน และการที่จะดำรงชีวิตที่ดี นอกจากนี้กฎหมายังเป็นสิ่งที่ทำให้โครงสร้างทางสังคมและการเมืองของรัฐคงอยู่ได้ มนุษย์จะโต้แย้งหรือฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้ ในด้านจริยธรรม เพลโตมีทรรศนะว่า คนโดยปกติแล้วมักจะแสวงหาสิ่งที่ดีเลือกประพฤติแต่สิ่งดี จิตใจของคนสำคัญกว่าร่างกาย ความชัวนั้นเบยกว่าความตายและความไม่ยุตธรรมเลวกว่าการทุกข์ทรมาน....
 
      รัฐในอุดมคติ เพลโต เชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุด คือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตญืเป็นหลักของรัฐ นั้นคือชนในรัฐทุกคนทำหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจำจิตของตนกำหนดให้ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกันโดยเขากำหนดให้ราชปราชญ์ ผู้ทรงปัญญาสามารถรู้ซึ้งถึงความจริงเป็นผู้ปกครอง

   รูปแบบการปกครอง เพลโตได้นเชียนรูปแบบการปกครองในหนังสือ Republic ดังนี้
- รูปแบบการปกครองอื่นๆ ไม่อาจเทียบได้กับรูปการปกครองในรัฐอุดมคติที่ปกครอง โดยราชาปราชญ์
- ในหนังสือ The Stateman เพลโตได้บอกถึงรูปแบบการปกครองว่า เป็นการเกี่ยวกับกฎหมาย แบ่งเป็น การปกครองในรัฐที่มีกฎหมาย และการปกครองในรัฐที่ไม่มีกฎหมาย


                        ยุคอริสโตเติ้ล
       อริสโตเติ้ล เป็นบุตรนายแพทย์ประจำราชสำนักมาเซโดเนีย เป็นศิษย์เอกของเพลโต เป็นนักรัฐศาสตร์คนแรกของโลก ได้ก่อตั้งสำนักศึกษาที่ชื่อว่า ลิเซียนม มีผลงานที่สำคัญดังนี้
- รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ The Constitution of  Ahens ถือเป็นรากฐานของการศึกษาแบบรัฐศาสตร์เปรียบเทียบ
- การเมือง Politice

         ธรรมชาติของคนกับรัฐ
  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีธรรมชาติที่ต้องการอยู่ในเมืองหรือในรัฐ มีสัญชาตญาณที่จะแสวงหาอำนาจและสิ่งที่จะสนองความปรารถนาของเขา รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจำเป็น คนสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตที่แท้จริงได้ภายในรัฐเท่านั้น คนเป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล หากปราศจากรัฐ มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับสัตย์ป่า...
       รูปแบบการปกครอง จะเป็นรูปการรปกครองปสมระหว่าคณาธิปไตย กับประชาธิปไตย ซึ่งจะหลายเป็ฯรูปการปกครอง คือมัชฌิมวิถีอ
ธิปไตย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นประชาธิไตยสายกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปการปกครองที่ให้ความสำคัญแก่ทุกๆคน โดยการมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงแลืกผู้ปกครองได้ทุกๆชนชั้น แต่ผู้ปกครองนั้นมาจากชนชั้นสูงเพียงชนชั้นเดียว นอกจากนั้นเขาให้ความสำคัญแก่คนรวยมีสิทธิเป็นผู้ปกครองได้ชนชั้นเดียว คือ ชนชั้นสูง



วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Dark Age

           อนารยชน เป็นคำที่ชาวโรมันเรียกคนป่าเถื่อนหรือคนต่างด้าว ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าอารยธรรมกรีกและโรมัน พูดภาษาละตินไม่ได้ และเข้ามาอาศํยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นดินแดนของจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ การเขามารุกรานและตั้งถ่นฐานใหมีในดินแดนของจักรวรรดิโรมันโบราณในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดยุคโบราณและเริ่มต้นยุคกลาง
        พวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนไหวกและย้ายถิ่นฐานเข้าไปในดินแดนของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และมีผลต่อการขนายการปกครองของพวกโรมัน ไปยังยุโรปภาคกลางด้วย
        ทัศนะของพวกโรมันที่มีต่อการเข้ามาของพวกอนารยชน กล่าวโดยทั่งไป คือชาวโรมันไม่พอใจดูถูกพวกฮั่นและพวกอนารยชนเยอรมันเป็นพวกป่าเถื่อน ที่ไม่สามารถพูดภาษาละตินได้ มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเป็ฯอยู่ที่ด้อยกว่าพวกโรมัน อ่านและเขียนหนนังสือไม่ได้ มีความโหดร้ายทารุณ แต่อยางไรก็ตาม ชาวโรมันอาจจะให้การสนับสนุนพวกอนารยชนเยอรมนอยู่บ้างในระยะแรก เพราะในปลาจักรวรรดิโรมันตะวันตก ชาวโรมันระดับล้างถูกเรียเก็บภาษีสูงมาก จึงคิดว่าถ้าให้พวกเยอรมันเข้ามาอาศัยอยู่ พวกตนอาจจะไม่ต้องเสียภาษีสูงมากก็ได้
         ส่วนสันตะปาปา และศาสนจักร ก็มีความยินดีอย่างลับๆ ที่มีพวกเยอรมันเข้ามาทำลายอำนาจของจัรวรรดิโรมันตะวันตก เพราะศาสนจักรจะได้มีอิสระทางการเมือง แต่ในทัศนะทางศาสนาสันตะปาปา พอใจจักรพรรดิโรมันตะวันตกที่เป็นคาทอลิก มากว่าอนารยชนเยอรมันที่เป็นพวกนอกศาสนา
         อาณาจักรแฟรงค์
อารยชนเผ่าแฟรงค์มี 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เมโรวิงเจียน และราชวงศ์คาโรลิงเจียน ซึ่งแต่ละราชวงศ์มีผู้นำที่ความสามารถมาก อาณาจักรถูกแบ่งหลายครั้ง แต่ที่สำคัญคือตามสนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมาดินแดนเหล่านี้ได้พัฒนามาเป็น ประเทศผรังเศส อิตาลี และเยอรมัน
 330px-843-870_Europe
      พวกแฟรงค์เป็นอนารยชนเผ่าที่มีความสำคัญมาเผ่าหนึ่ง พวกแฟรงค์มีรูปรางสูงใหญ่ ผิวขาว ตาสีฟ้า หรือสีเทา ผมสีทอง มีภูมิลำเนาอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ ไรน์และแม่น้ำมอแซลส์ ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวัออกให้เข้ามรตั้งถิ่นฐานในแค้วนกอล
           กษัตริย์โคลวิส เป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถมาก เสริ่มสร้างอำนาจอาณาจักรแฟรงค์จนเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งในแคว้นกอล และทำให้ชนชาติแฟรงค์มีความสำคัญมากในยุโรปตะวันตก ได้สถาปนาราชวงศ์เมโรวิงเจียนขึ้น ปกครองพวกแฟรงค์ได้สำเร็จ อาณาจักรแฟรงค์เป็นปึกแผ่นมากกว่าดินแดนของพวกอนารยชนเยอรมันอื่นๆ
         ในค.ศ.486 กษัตริย์โคลวิสมีชัยชนะเหนือกองทัพโรมันที่ปกครองบริเวณแม่น้ำเซนถึงแม่นำลัวร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแค้วนกอล กษัติย์โคลวิสได้ครอบครองดินแดนกว่างใหญ่บริเวฯนี้ ได้ตั้งเมืองปารีสซึ่งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเซนให้เป็นเมืองหลวง ในการทำสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งได้ทรงสาบานกับพระผู้เป็นเจ้าของมเหสีพระนางโคลทิลดา ที่นับถือศาสนคริสต์ว่า ถ้าพระองค์ชนะศึกนี้พระองค์จะหันมานับถือศาสนคริสต์ด้วย
         เมื่อกษัตริย์โคลวิชชนะศึก จึงหันมานับถือศาสนาคริสต์ และประชาชนในอาณาจักรแฟรงค์กลายเป็นคริสต์ศาสนิกชนด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้มีผลทางการเมือง คือ ได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปา และพระในคริสต์ศาสนาตามดินแดนตางๆ ในยุโรป เหตุการณ์การครั้งนี้มีความสำคัญต่ออาณาจักรแฟรงค์ซึ่งเป็นดินแดนของพวกอนารชนมาก
         นอกจากนี้กษัตริย์โคลวิสยังได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิอนาสตาซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมตะวันออก ให้อยู่ในตำแหน่างกงสุล ดังนั้นพวกแฟรงค์จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของจัรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งมีผลดี คือ ทำให้ง่ายต่อการเป็นไม่ตรีกับพวกกัลโล-โรมัน ซึ่งเป็นคนพื้นเพ ทำให้ภาษาละตินเข้ามาแทนที่ภาษาเยอรมันเดิม ต่มาได้พัฒนาเป็นภาษฝรั่งเศษในที่สุด
        กษัริย์โคลวิสสิ้นพระชน อาณาจักรแฟรงค์ที่มีความเป็นปึกแผ่น และมีฐานะเป็นรัฐนำในยุโรปตะวันตก ถูแบ่งตามกฎและประเพณีของชนเผ่าแฟรงค์ อาณาจักรจึงถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนตามจำนวนวโอรส 4 พระองค์ ซึ่งต่อมาทำการสู้รบกันเหลือโอรสองค์เดียวมีผลให้อาณาจักรแฟรงค์กลับมารวมกันอีกครั้ง
       ในระหว่าง ค.ศ.613-629กษัตริย์โลธาร์ที่ 2 ซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายได้รวบรวมอาณาจักรทั้งสองและแค้วนเบอร์กันดีเข้าด้วยกัน ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ในฐานะกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เมื่อสิ้นพระชนม์ ราชสมบัติตกเป็นของกษัตริย์เมโรวิงเจียนผู้สามารถองค์สุดท้าย คือ กษัติย์แดโกเบิร์ต ได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์ตามลำพัง พระองค์เป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีผู้ช่วยที่สามารถ คือ บิชอปอานูฟ แห่ง เมทซ์ และเปแปงแห่งแลนเดน ซึ่งอยู่ในตำแหน่างสมุหราชสำนัก
        ในตอนปลายศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ราชวงศ์เมโรวิงเจียนไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดมีความสามารถ ทรงเป็นประมุขแต่ในนาม(Do-Nothing King) อำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ข้าราชการชั้นสูง คือ สมุหราชสำนัก ซึ่งเป็นงานที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชสำนัก
         กล่าวกันตามเหตุการณ์ กษัตริย์ไม่มีอำนาจที่แท้จริงประกอบกับการได้รับชัยชนะจากพวกมัวร์ ทำให้มีกษัตริย์แต่ในนาม ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะยกสมุหราชสำนักเป็นกษัตริย์นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่ายในยุคเปแปงที่สองทางศาสนจักรได้ขอความช่วยเหลือ มายังอาณาจักแฟรงค์ ให้ปราบพวกลอมบาร์ดที่คุคามโรม แต่เนื่องจากความมิตรที่ดีเมืองครั้งปราบพวกมัวร์ จึงปฏิเสธคำของต่อศาสนาจักร ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรแฟรงค์กับศาสนจักรเมื่อสิ้นสมัยชาร์ลส์ มาร์เดล จึงไม่กระชับนัก
         เปแปงที่ 3 สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คาดรลิงเจียนสำเร็จน ค.ศ. 751 เนื่องจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมุหราชสำนักสกุลคาโรลิงเจียนกับสถาบันศาสนจักรที่โรมผลประโยชน์ผูกพันที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้เปแปงที่ 3 สามารถสร้างสิทธิธรรมของสกุลคาโรลิงเจียนในการยกฐานะจากสมุหราชสำนักมาเป็ฯกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่โดยอาศัยความเห็นชอบของราชอาณาจักร…
          อาณาจักรและศาสนจักร
          อาณาจักร เปแปงที่ 3 ได้รับความนิยมจากประชาชนน้อยมาก เปแปงที่สามเป็นสามัญชน ถ้าจะสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงคิดให้สันตะปาปา และศาสนจักรสนับสนุน
          ในค.ศ. 750 ศาสนจักรที่โรมถูกคุกคามจากพวกลอมบาร์ด สันตะปาปาซาคาเรียสได้ของความช่วยเหลือมายังเปแปงที่ 3  เปแปงที่ 3 ทูลถามปัญกาสันตะปาปาว่า “ในระหว่างบุคคลสองคน คือ ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกษัตริย์กับผู้ที่มีอำนาจในการปกครองแท้จริงใครสมควรจะได้ปกครองแผ่นดิน”สันตะปาปา ตอบสนับสนุนเปแปงที่ 3 ให้ยึดอำนาจและสถาปนาเป็นกษัติย์องค์แรกของราชวงศ์คาโรลิงเจียน
         ศาสนจักร สันตะปาปาตกอยู่ในสภาวะไม่ต่างกัน ในเรื่องความเหลือ่มล้ำระหว่าตำแหน่างกัอำนาจที่แท้จริง กล่าวคือ สันตะปาปา ถึงแม้ว่าจะทำหน้าที่เป็ฯผู้นำของคริสต์ศาสนิกชนในยุโรปตะวันตก แต่โดยนิตินัย สันตะปาปา ทรงมีตำแหน่งเป็นเพียงตัวแทนของจักรพรรดิแห่วคอนสแตนติโนเปิเท่านั้น จักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ยังคง่ำรงตำแหน่างเป็น “จัรพรรดิของชาวโรมัน”
         ต่อมาในศตวรรษที่ 8 ข้าหลวงซึ่งทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของจักรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิล ต้องประสบภัยคุกคามจากพวกลอมบาร์ค ประกอบกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลก็ถูกโจมตีจากพวกมุสลิม ทำให้การติดต่อระหว่างกรุงคอนสแตนติโนเปิลกับยุโรปตะวันตกเป็นไปได้ยาก อำนาจการปกครองดินแดนจึงค่อยๆ ตกอยู่ในมือสันตะปาปา

         สันตะปาปาแห่งโรมต้องการจะผูกมิตรกับผู้ทรงอำนาจของอาณาจักรแฟรงค์ กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจัรพรรดิแห่งคอนสแตนติโนเปิลในปัญหาศาสนา
       การกระทำของสันตะปาปา ครั้งนี้ได้รับผลคุถ้มค่า กษัตริย์เปแปงที่ 3 ได้ทำสัญญาวิต้าฉาเดรียนี กับสันตะปาปาในการช่วนเหลือให้พ้นจากการคุกคามของพวกลอมบาร์ด กษัตริย์ตีดินแดนของพวกลอมบาร์ดและราเวนนาได้ ทรงมอบกุญแจเมืองในอิตาลีภาคเหนือ บริเวฯไต้ภูเขาแอลป์และแม่น้ำโป ให้แก่สันตะปาปา ต่อมาเรียกว่า “การบริจาคของเปแปง”ซึงเป็นการทำตามสัญญาวิต้า ฉาเดรียนี
       “การบริจาคของเปแปง”
-เป็นการแสดงว่าอาณษจักรไม่มีเจตนาจะรวมศาสนจักรเข้ามาไว้ในอำนาจ
-กษัตริย์เปแปงที่ 3 อาจจะมีความรู้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์อิตาลี จึงไม่เห็นความสำคัญของอิตาลีภาคเหนือ เพราะพวกแฟรงค์พยายามเอาอิตาลีมาขึ้นกับอาณาจักรแฟรงค์ในเวลาต่อมา
-เป็นรัฐภายใต้อำนาจสันตะปาปามีผลทำให้สันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขทางศาสนาได้เป็นประมุขของรัฐสันตะปาปาด้วย สันตะปาปามีอำนาจทั้งทางศาสนาและการเมืองการปกครอง
-ในสมัยกลางกฎกหมายคือ จารีตประเพณีที่เชื่อถือกันมา แล้วนำมาปฏิบัติ หรือเขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร”การบริจาคของคอนสแตนติน”และ”การบริจาคของเปแปง”มีผลทำให้สันตะปาปา ที่โรมมีอำนาจสูงสุดเหนือกว่าบิชอบอื่นๆ มีอำนาจเหนืออิตาลีและเหนือศาสนิกชนทุกคนรวมทั้งกษัตริย์ด้วย
-“การบริจาคของเปแปง”ยังเป็นที่มาของปัญหาสำคัญในการรวมอิตาลีในสมัยต่อมา เพราะสันตะปาปาต้องการมีอำนาจเหนืออิตาลี

           กษัตริย์เปแปงที่ 3 สิ้นพระชนม์ อาณาจักรแฟรงค์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในที่สุด ชาร์ลเลอมาญได้ปกครองอาณาจักรแฟรงค์แต่เพียงผู้เดียวและได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแฟรงค์ของราชวงศื คาโรลิงเจียน กระทั้งกลายเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปตะวันตก

          สันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้รับตำแหน่งต่อจากสันตะปาปาเอเดรียและต้องประสบกับความวุ่นวายในสำนักสันตะปาปา ซึ่งไม่อาจจะขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิซีโน แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้ จึงหันมาขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ซึ่งได้เสด็จมาอิตาลี สันตะปาปาถือเป็นโอกาสดี ด้วยการสวมมงกุฎให้กับจักรพรรดิชาร์ลเลอมาญ ขณะที่พระองค์คุกเข่ากับพื้นและสวดมนต์อยู่ในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ในขระเดียวกันเจ้าขุนนางที่เข้ามาร่วมประชุมได้เปล่งเสียงถวายพระพร สันตะปาปาบังได้ทำพิธีราชาภิเษกทางศาสนา แบบที่เคยปฏิบัติต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกในอดีต เท่านกับว่าเป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ทางตะวันตก
western-and-eastern-roman-empire600px-Raphael_Charlemagne
         เหตุการณ์ครั้งนี้มีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านอาณาจักรและศาสนจักร เพราะต่อไปสถาบันสันตะปาปา จะอ้างอำนาจสิทธิขาดในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้นำของดินแดนต่าง ๆ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสถาบันสันตะปาปา กับสถาบันกษัตริย์ และแตกแยกกันในที่สุด
        จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้เสนอมอบสิทธิเหนือดินแดนเวนีเทีย และดาลเมเทีย คืนให้แก่จักรพรรดิบิแซนไทน์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะรับรองตำแหน่งจักรพรรดิโรมันของพระองค์ ซึ่งประสบผลสำเร็จใน ค.ศ. 812 พระองค์ได้จัดตั้งเมืองหลวงและสร้างพระราชวังถาวรขึ้นที่เมืองอาเคน หรือเมือง เอกซ์ ลา ซาเปล และกลายเป็น “กรุงโรมใหม่”ที่อยู่ในดินแดนเยอรมัน
        การที่สันตะปาปา สวมมุงกุฏจักรพรรดิให้แก่จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญทำให้มีปัญหาภายหบังว่า อำนาจอาณาจักรกับอำนาจศาสนจักร ใครจะใหญ่เหนือกว่าใคร เพราะการกระทำเช่นนี้ของสัจตะปาปาเหมือนว่า ตำแหน่างจัรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้มาโดยากรมอบให้ของสันตะปาปา ซึ่งทำให้จักรพรรดิโรมันตะวันตกได้กลายเป็นจัรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของทฤษฎีการเมืองแบบใหม่ ที่ถูกยึดถือมาตลอดสมัยกลาง คือ ทฤษฎีดาบ 2 เล่ม กล่าวถึง อำนาจอาณาจักรและอำนาจศาสนจักร เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรคริสเตียน รวมกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า จักพรรดิชาร์ลเลอมาญเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอีกครั้งหนึ่งทำให้แนวความคิดของยุโรปถูกแบ่งเป็นละตินโรมันซึ่งเป็นยุโรป และ กรีกไบแซนไทน์ซึ่งไม่ใช่ยุโรป

       ระบบฟิวดัล ระบบแมนเนอร์ และระบบวีรคติ
       ระบบฟิวดัล หมายถึง ระบบที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้า Lord หรือ ผู้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินกับข้า Vassal หรือผุรับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมีที่ดิน เป็นพื้นฐานของความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกัน
       คำว่า ระบบฟิวดัล เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า Feudum ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า  Fief แปลว่า ที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมต่อมาได้พัฒรากลายเป็นระบบการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญมากของยุโรปยุคกลาง
       ระบบฟิวดัล เกิดขึ้นในครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ 9 พร้อมๆ กับความเสื่อมของอาณาจักรแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียน
       ระบบฟิวดับเน้นการปกครองที่กระจายอำนาจจากศูนย์กลางออกไปยังส่วนภูมิภาคจากกณัติย์ไปยังขุนนางตามแค้วนต่างๆ เพราะเมือได้รับมอบกรรมสิทธิ์ที่ดอนแล้ว มักจะได้รับมอบหมายอำนาจในการปกครองด้วย  เนื่องจากความผูกพันระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้รับมอบหมายในกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้กำหนดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน ทั้งสองฝ่ายมีสิทะและหน้าทีทีจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การปกครองที่กระจายอำนาจลดหลั่นกันตามลำดับขั้น จึงเป็นการปกครองที่มีระเบียบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในดินแดนที่กว้างใหญ่จนเกินกำลังการปกครองของส่วนกลาง

       ระบบแมนเนอร์ หมายถึง ระบบเศรษซกิจแบบพึงตนเองในยุคกลางที่มีการเกษรตกรรมเป็นหลักสำคัญ ในแต่ละแมนเนอร์ ประกอบด้วย
       คฤหาสน์แมนเนอร์ หรือปราสาท เป็นที่อยู่ของขุนนางเจ้าของแนเนอร์และครอบครัว ส่วนใหญ่คฤหาสน์แมนเนอร์แต่ละแห่งจะใหญ่มาก มีห้องจำนวนมากแต่ละห้องจะตกแต่งประดับประดาด้วยอุปกรณืเครื่องใช้ที่สวยงามหรูหราทำเลที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีเหมาะสม ในสมัยต่อมาสร้างด้วยหินดย่างแข็งแรง เพื่อเป็นป้อมปราการ มีคูน้ำล้อมรอบปราสาท เมือมีการเดินทางเข้าออกจะมี สะพานชัก ในยามสงคราม ผู้คนจะเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณรอบปราสาทอันมีคูน้ำล้อมรอบ
      หมู่บ้าน ประกอบด้วย วัด โบสถ์ บ้านเรื่อน ร้านช่างฝีมือ และอื่นๆ ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกคูน้ำ …
     420px-Edmund_blair_leighton_accolade_0
     ระบบวีรคติ หมายถึง คุณธรรมหรือธรรมะของอัศวิน การที่จะเป็นอัศวิน หรือนักรบที่ดีของยุคกลางนั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการอาทิ ความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า และขุนนางเจ้านาย ให้ความช่วยเหลือพิทักษ์คุ้มครองผู้อ่อนแด รักษาความยุติธรรม ป้องกันศาสนา …
    อัศวิน ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Chivalry ในภาษาฝรั่งเศษ หมายถึง นัรบในยุคกลางที่ได้รับการเลี้ยงดูอบรม เพื่อเตรียมตัวเป็นนักรบที่ดี และอาจจะได้เป็นขุนนางในวันข้างหน้า
   ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน ซึ่งจะกระทำพิธีการเป็นอัศวินในโบสถ์ ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินจะเข้าไปคุกเข่าต่อหน้ากษัตริย์หรือขุนนางผู้ที่จะใช้ดาบแตะบนบ่าของอัศวินใหม่ทั้งสองข้าง พร้อมกับกล่าวว่า
    “ในนามของพระเป็นเจ้า เซ็นต์ ไม่เคิล และเซ็นต์ ยอร์ช เราขอแต่งตั้งเจ้าให้เป็นอัศวินเจ้าจงเป็นคนกล้าหาญ จงรักภกดีต่อเจ้านาย และสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน”
         อัศวินจะสวมเสื้อกราะ …และมีดาบแขวนไว้ที่เอว ดาบเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นอัศวิน และถือว่าเป็นสมบัติที่มีค่าสูงสุด

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Constantine

   จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนที่อยู่ได้การปกครองมากมาย อาทิ อังกฤษ เวลส์ ยุโนรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตก แม่น้ำไนล์ และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่ง แอฟริกาเหนือ บริเวฯมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกศ สเปน อังกฤษ ผรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมัน ทางใต้อาณาจักรรวบรวมตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบันได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน ภาคตะวันตกเฉียงใต้รวบรวมอียิปต์โบราณทั้งหมด และทำการยึดครอง ไปถึง บิเบีย ตูนีเซีย อแลจีเรีย และโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิรอลตาร์ ประชาชนนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรอิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน อิทธพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองจนถึงปัจจุบัน
โรมันมีจักรพรรดิ์ปกครองพระองค์เดียวรวมเก้าพระองค์กระทั้ง จักรพรรดิ์คอนสแตนตินที่ 1 “ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก” คอนสแตนตินมหาราชหรือนักบัญคอนสแตนติน “ในบรรดาผู้นับถือนิกายอิสเติร์นออร์โธดอกซ์”
     ก่อนขึ้นครองราชย์มีฐานะเป็น “ออกัสติ”และได้ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิต่อจากพระบิดา ซึ่งในขณะนั้นมีคู่แข่งถึง 5 พระองค์ คอนสแตนตินทรงกำจัดคู่แข่งเหล่านั้นและได้เป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกเพียงพระองค์เดียว จากนั้นทรงแผ่อำนาจเข้าสู่โรมันตะวันออก และเป็นพระจักรพรรดิของทั้งสองจักรวรรดิ พระองค์ทรงได้รับการยอย่องว่าเป็นมหาราช
    ทรงย้ายเมืองหลวงจากโรมไป ไบแซนไทม์ เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “คอนสแตนติโนเปิล”ตามพระนามของพระองค์(ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูล)โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดจทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี สเปน ยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล และเอเชียไมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก
    ทรงประกาศ “กฎษฎีกาแห่งมิลาน” เป็นจดหมายเวียนลงชื่อโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรริดลิซินิอุส ซึ่งประกาศให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่อประชาชนในจักรวรรดิโรมัน จดหมายฉบับนี้ออกหลังจากสมัยของการปราบปรามผู้นับถือ ศาสนาคริสต์โดยจัรกพรรดิไดโอคลีเชียน
  เป็นจดหมายที่ลงชื่อโดยจักรพรรดิสองพระองค์เป็นจดหมายเวียนในกลุ่มเจ้าเมืองทางจักรวรรดิโรมันตะวันออกซึ่งประกาศว่าจักรวรรดิจะทำตัวเป็นกลางในการนับถือศาสนาของประชาชน ซึ่งเป็นการยกเลิกอุปสรรคต่าง ๆ ในการนับถือคริสต์ศาสนาและศาสนาอื่น ๆ จดหมาย”ประกาศอย่างจะแจ้งว่าผู้ลงชื่อของกฎนี้ไม่มีความประสงค์จะลงโทษผู้นับถือลัทธินิยมที่ไม่ใช่คริสต์สาสนา”

ฮั่น

     ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปัง หรือ จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีน ที่สามารถรวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนี่ง ราชวงศ์ฮั่น แบ่งเป็น 2 ช่วง คือตอนต้นเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอัน จึงได้รับการขนามนามว่า ฮั่นตะวันตก เมือถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลายได้ย้ายเมืองหลวงมายังนครลั่วหยังเรียกว่าฮั่นตะวันออก
     หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสือหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ลงอำนาจของราชวงฉินเริ่มสั่นคลอน หลิวปังได้กรีฑาทัพเข้าเสียงหยางปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉิน และส่งมอบนครเสียนหยางให้กบเซี่ยงอี่ว์หรือฌ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง  หลังจากสะสมกำลังกล้าแข็งขึ้น จังเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับเซี่ยงหวี่
     ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักพรรดิ สถาปนาราชวงศ์ฮั่น
     ในสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้(หลิวเช่อ)ฮ่องเต้องค์ที่ 5 ได้มีการบุกเบิก ทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งเป็นทางสู่ตะวันตกของจีน การค้าขายต่าง ๆ ได้นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม และความงมงายต่างๆ การท่องเที่ยวอย่างสิ้นเปลือง..กระทั้งเกิดกบฎชาวนา  พุทธศาสนาเข้าสู่จีนในราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าหมิงตี้ทรงส่งคาราวานไปอัญเชญพระคัมภีร์ต่างๆ มาประดิษฐาน และยังทรงเป็ฯพุทธมามกะด้วย ราชวงศ์นี้มีความเจริญมากในสาขาต่าง ๆ มีการทำกระดาษ พิมพ์หนังสือได้แล้ว
    หลังสมัยเหอตี้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นสูงต่างก็มีอำนาจที่เข้มแข็งมากขึ้น มักปรากฎว่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางผลัดกันหรือร่วมมือกันเข้ากุมอำนาจในระหว่างการผลัดแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง…  ภายหลังยุคกลางของฮั่นตะวันออก กลุ่มครอบครัวตระกูลใหญ๋เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพเป็นขั้วการเมืองแบบผูกขาด
     ยุคปลายของฮั่นตะวันออก ได้เกิดกระแสวิพากษ์การเมืองจากกลุ่มปัญญาชนและขุนนางผุ้น้อยส่วนหนึ่ง ที่ต้องการแสดงวามไม่พอใจต่อระบบการเมืองการปกครองในสมัยนั้น จนเกิดวิกฤตการทางการเมือง
     เมื่อสิ้นสมัยเหิงตี้ เหล่าขุนนางก็ยิ่งฮักเหิมในอำนาจถึงกับมีการซื้อขายตำแหน่งทางการเมืองกับอย่างเปิดเผย อำนาจบ้านเมืองล้มสลาย เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเมือถึงรัชสมัยหลิงตี้ เกิดกบฎโพกผ้าเหลืองทางภาคเหนือนำโดยเตียวก๊ก  เข้าล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บรรดาเจ้าที่ดินที่กำลังกล้าแข็งต่างก็ฉวยโอกาสนี้พากันตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ จนท้ายสุดหลงเหลือเพียง 3 กลุ่มอำนาจใหญ่นั้นคือ วุ่ย สู และอู๋ หรือที่รู้จักกันในนาม “สามก๊ก”นั้นเอง

ธรรม

 พระพุทธองค์ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งแทนพระองค์พระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่าในปัจฉิมโอวาทว่า "...อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นองค์ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว..."




   พระธรรมและพระวินัย ในสมัยแรกเริ่มทรงท่องจำโดยวิธีมุขปาฐะ เรื่อยมากระทั่งหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน การสังคยนาก็ยังคงใช้วิธีมุขปาฐะ กระทั่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็นการบันทึกเป็นอังษรเนื่องจากเพื่อความถูกต้องและไม่เลือนไปตามกาลเวลา

 พระธรรมพระวินัย จากพระโอษฐ์พระพุทธองค์ เมื่อครั้งตั้งแต่สมัยพุทธกาล ที่รวบรวมและรักษากันได้ทั้งหมด แบ่งเป็น  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก  ทั้งหมด 45 พระคัมภีร์(ในทางฝ่ายหินยาน)




   ในการทำสังคยนาแต่ละครั้งจะต้องมีประธานและคณะสงฆ์ผู้ทรงคุณ เป็นจำนวนมากน้อยไม่กำหนดในแต่ละครั้ง เพื่อจะไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนไปจากคำสอนของพระพุทธองค์ ในการทำสังคยนาในครั้งที่1-3 นั้นเป็นการทำกันที่ชมพูทวีป โดยเหตุแห่งการสังคยนาแต่ละครั้งแตกต่างกันไป อาทิ เมื่อสังคยนาครั้งที่นั้น เหตุเกิดจากการกล่าวจาบจ้วงพระผู้มีพระภาค ครั้งที่สองอันเป็นเหตุแห่งการแตกเป็นนิกายนั้นเกิดจากเรื่องศีลในข้อเล็กน้อย กล่าวคือ พวกหนึ่ง ในถือปฏิบัติย่อหย่อนจากคำที่พระพุทธองค์ตรัสเพราะไม่เห็นว่าเป็นความผิดที่ทำใ้ห้เกิดการเสียหายแก่หมู่สงฆ์ ทั้งพระพุทธองค์ทรงไม่กำชับในข้อศีลเล็กน้อยเหล่านี้ ที่รู้จักกันในนาม วัตถุ 10 อันมีเรื่องการจับเงิน การสะสมเกลือ เป็นต้น และอีกพวกหนึ่งถือเคร่งครัดในคำสอนของพระพุทธองค์  ในครั้งที่ 3 ทำในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เนื่องจากพวกอลัชชีปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  โดยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นประธานในฝ่ายคฤหัสถ์ ในครั้งนั้นมีการฆ่าพวกอลัชชีเป็นจำนวนมาก




วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Caliphate

    เคาะลีฟะฮ์ มาจากคำว่า “เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล”
คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เมื่อกาหลิฟที่ 3 ถูกลอบสังหารอาลีบุตรเขยของท่านนบีได้เป็นกาหลิฟที่ 4 แต่อีก 6 ปีต่อมาก็ถูกปลงชีพ และได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง
   ฝ่ายหนึ่งระบุว่า ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยซูระ ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าอิมามผู้สนืบเชื่อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺตั้งแต่สมัยมุฮัมมัด อิสลามจึงแตกออกเป็นสองนิกายคือชีอะฮ์ และซุนนีย์
  ซีอะฮ์ เป็นนิกายซึ่งมีความแตกต่างกับซุนนีย์
การปกครองในระบบเคาะลีฟะฮ์(กาหลิฟ)นั้นเป็นระบบเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากเทววิทยาอิสลามและเป็นปรัชญาการปกครองหลักของ “ซุนนีย์”ในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด ว่าจะต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์ และนบีมุฮัมมัดเท่านนั้น นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานอีก 11 คน

   ซุนนีย์ เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่นับถือ ซึ่งยึดถืออัลลอ-กุรอาน จริยวัตรของท่านศาสดามุฮัมมัด และแบบอย่างของสาวกเป็นหลัก แนวความคิดของนิกายซุนีย์ คือ เชื่อว่าท่านศาสดาฮัมมัอมิได้แต่งตั้งตัวแทนไว้ก่อนที่ท่านจะจากไป ดังนน หลังจากท่านจากไปแล้วตำแหน่งผู้ปกครองหรือผู้นำสืบต่อจากท่านจึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม ต้องเลือกสรรกันเองตามความเหมาะสม

   หลังจากท่านอาลี เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูน คนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน บุตรของท่านอาลีได้รับเลือต้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่างเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุดาวียะฮั อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลีย่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกัน
  ท่านมุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื่อสายจากตระกูบ อุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ราชวงศ์อมัยยะฮ์”ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อมัยยะฮ์  ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรับเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่างเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่างกษัตริย์โดยการสืบสันติวงค์ ท่านได้ทรางแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตรย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฉัมาตลอดราชวงค์อุมัยยะฮ์ ทั้งราชวงศ์อับบสียะฮ์และอื่นๆ อีกด้วย  การปกครองแบบประชาฑิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อนๆก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช

  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์มีเคาะลีฟะฮ์ทั้งหมด 14 องค์ ซึ่งปกครองค.ศ.661-750 มีอาณาเขตการปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ
- ทวีปเอเซียถึงเมืองจีน และเมืองกาบูล
-ทวิปยุโรป ถึงเมืองอัดาลุส ประเทศสเปนในปัจจุบัน
- ทวีปแอฟริกา ถึงประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก
โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชาม หรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน
ซีเรีย

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...