วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

T- decision


                 การตัดสินใจ -                      การตัดสินใจคือการกระทำตามที่ตั้งใจเพื่อให้บรรลุผลที่ตั้งไว้-                      เป็นกระบวนการประเมินผลเกี่ยวกับทางเลือกหรือตัวเลือก หรือตัวเลือกที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและการคาดคะเนผลทีเกิดทางเลือกปฏิบัติที่จะส่งผลถึงการบรรลุเป้าหมายได้มากที่สุด-                      คือความสามาถรถในการทำงานหรือการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานหรือผู้บริหารก็คือ การตัดสินใจ การตัดสินใจเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติงานและบริหารงานทั้งนี้เพราะการตัดสินใจจะมีอยู่แทบทุกขั้นตอนและทุกขบวนการของการปฏิบัติงาน แม้แต่บุคคลทั่วไปก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อการตัดสินใจได้คือวิธีการเชิงวิเคราะห์ และเชิงระบบที่ใช้ในการแก้ปัญหาและช่วยทำให้ได้การตัดสินใจที่ดี การตัดสิน หมายถึง การตัใจที่ใช้หลัตรรกศาตร์ด้วยการพิจารณาข้อมูลและทางเลือก หรือกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด จากนั้นใช้วิธีการเชิงปริมาณที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ในบางครั้งอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจก็ตาม รวมทั้งบางครั้งการตัดสินใจที่ดีมีผลลพธ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้เกิดขึ้นได้แต่เรายังคงถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี  การตัด                                    ขั้นตอนของทฤษฎีการตัดสินใจ1 กำหนดปัญหาที่ม่ในมือให้ชัดเจน2 ระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด3 ระบุหาผลได้ที่เป็นไปได้ทั้งหมด4 กำหนดหาผลลัพธ์ตามเงื่อนไขแต่ละส่วนประสมของทางเลือกและผลได้5 คัดเลือกตัวแบบทฤษฎีการตัดสินใจเชิงคณิตศาสตร์หนึ่งตัวแบบมาใช้งาน6 ประยุกต์ใช้ตัวแบบนั้นแล้วทำการตัดสินใจ            รูปแบบการตัดสินใจ-                      การตัดสินใจภายใต้ความแน่นอน  สภาวการณ์ที่ผู้ตัดสินใจทราบผลที่แน่นอนของทุกๆ ทางเลือก ผู้ตัดดสินใจจะเลื่อกทางเลื่อกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด-                      การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง ผู้ตัดสินใจทราบโอกาสของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ทราบความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นของผลลัพธ์..ใช้วิธีการตัดสินใจโดยการหาค่าคาดหวังของผลตอบแทร-                      การตัดสินภายใต้ความไม่แน่นอน  ผู้ตัดสินใจไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ต่าง ๆ ..วิธีการเพื่อใช้ในกรณีภายใต้ความไม่แน่นอน
Maximax            To Maximaze the Maximums = Maximax เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุด ของทางเลือกที่มีค่าสูงสุดทั้งหลายที่เลือกได้ ในการลงทุนจะเลือกค่าตอบแทนตอบแทนที่สูงสุดของทางเลือกที่ดีที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ชอบใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ดี หรือด้านบวก            To Maximize The Maximums = Maximin เป็นวิธีการเลือกค่าสูงสุดของทางเลือกที่มีค่าต่ำสุด เลือกค่าสูงสุด(ดีที่สุด)จากทางเลือกที่เลวที่สุดของแต่ละทางเลือก คนที่ใช้หลักการนี้จะถูกเรียกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายหรือด้านลบ            Equally Likely ทางสายกลาง Equally Likely= Maximax+Maximin   เป็นแนวคิดที่ผสมกัน

                                                                                                           2

ระหว่าง Maximax กับ Maximin ผู้ที่ใช้แนวคิดนี้อาจถูกเรียกได้ว่าเป็นพวกสายกลาง หลักคิด คือ คิดจากแต่ละทางเลือกของ Maximax และ Maximin มิฉะนั้นจะไม่ได้คำตอบของทางเลือก
                                                                                                          


Prof nash


            ปี พ.ศ.2537 คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประกาศให้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์แก่ เจ ซี ฮารซานยี่ เจ.เอฟ.และ อาร์.เซลเทน ในฐานะที่ได้ร่วมกันคิดสร้างทฤษฎีเกม ซึ่งมีคุณประโยชน์อเนกอนันต์ ให้นักเศษฐศาสตร์ใช้ในการหาทางออกที่ดีเวลาที่ดีแก้วปัญหาการแข่งขั้นเชิงธุรกิจ เพราะปัญหาต่าง ๆ ทางเศรษฐศาสตร์นั้น สลับซับซ้อนอันเนื่องมาจากการมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย  การตัดสินใจดำเนินการของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีผลกระทบและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคลรอบข้าง และในขณะเดียวกัยรูปแบบการตัดสินใจของคนรอบข้ารง ก็เป็นตัวกำหนดตัวเลือกในการตัดสินใจของบุค
คลนั้นด้วย เมื่อคนทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กันเช่นนี้ ทฤษฏีเกมจะช่วยชี้นำรูปแบบการตัดสินใจที่เหมาะสมให้ทุกคนพอใจ
            นักคณิตศาสตร์ได้คิดสร้างทฤษฏีเกมขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์วิธีเล่นหมากรุก โปกเกอร์ และบริดจ์ เพราะในการเล่นเกมดังกล่าวนี้ การล่วงรู้ใจ ความสามารถและนแวคิดของคุ่ต้อสู้จะทำให้ได้เปรียบ และในเวลาต่อมานักเศรษฐศาสตร์ได้หันมาสนใจศึกษาทฤษฎีนี้บ้าง เพราะคิดจะนำทฤษีนี้ไปใช้ในการวิเคราห์สถานการณ์ทางเศษฐกิจ และต่อมานักวิชาการสาขาอื่นๆ ก็ได้พบว่าทฤษฎีเกมสามารถแก้ปัญหาและตอบคำถามต่าง ๆ ได้มากมาย จนะราอาจจะกล่าวได้ว่า ทฤษฏเกมมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น ในโลกวิทยาการในอนาคต
            ดังที่ได้ อ่านและชมภาพยนต์ ในชื่อเดียวกัน “A beautiful Mild” ชีวิตของแนชแสดงให้เห็นว่า คนบางคนได้รับพรสวรรค์พร้อมกับคำสาป โลกอัฉริยะของ “จอห์น แนช” แตกต่างจากอัจริยะคนอื่นๆ ตรงที่โลกอัจฉริยะและโลกความผิดปกติเป็นโลกใบเดียวกัน 4 ปีก่อนที่เขาจะได้รับการประกาศให้เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมพิชิตรางวัลโนเบล คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ถกเถียงกันว่า คน”โรคจิต”สมควรได้รับรางวัลโนเบลหรือไม่
            เมื่อ แนช มีอายุ 21 ปี และกำลังศึกษาเศรษฐศาตร์ระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลับ พริสตัน ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้นักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกตะลึง งานวิจัยเรื่องทฤษฎีเกมของเขาซึ่งมีความยาวเพียง 27 หน้า แสดงให้เห็นว่าในการเล่นเกมทุกชนิดจะมีคนบางคนได้เปรียบและคนบางคนจะเสียเปรียบ แต่ แนช ก็ได้พบการเล่นที่จะทำให้คนทุกคนที่เล่นเกมนั้นได้เปรียบ สมดุลของ แนช จึงเป็นหลักการที่ประเทศมหาอำนาจ(ซึ่งต่างมีอาวุธปรมาณู)ใช้ในการถ่วงอำนาจซึ่งกันแลลกัน และเป็นหลักการให้กองทัพเรื่อสหรัฐฯใช้ป้องกันการโจมตีโดยเรือดำน้ำรัสเซีย
            แนช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางคณิตศาตร์แห่ง แมสซาซูเสส อินติติวส์ ออฟ เทคโนโลยี(เอ็มไอที)ของสหรัฐฯเมื่ออายุเพียง 29 ปี และตั้งแต่นั้นมาโลกของศาสตรจารย์หนุ่มก็เริ่มพังทลาย เขาปวยเป็นโรคจิตเภท ที่มีอาการประสาทหลอน ดดยมักจะอ้างว่าได้สนทนากับพระเจ้าและกับมนุษย์ต่างดาวอยู่เนื่องๆ เมื่ออาการป่วยทวีความรุนแรง เขาถูกปลดจากตำแหน่งอาจารย์ของ เอ็มไอที และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

            ปัจจุบัน แนชมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีขึ้นมาก และได้ออกจากโรงพยาลาลมาใช้ชีวิตอยู่กบภรรยาและลูก 2 คน อย่างเงียบๆที่มหาวิทยาลัย พริสตันส์ บรรดานิสิต และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมักจะห็น แนช เขียนข้อความที่มีความหมายประหลาดๆ บนกระดานดำอยู่เนื่องๆ ชีวิตของ แนช จึงเป็นชีวิตที่นาสนใจ และน่าสงสาร วิถีชีวิตของเขาคงจะทำให้คนหลายคนอยากเดินตามเพื่ประสบความสำเร็จในชีวิตเช่นเขา แต่คงไม่มีใครที่อยากจะมีชีวิตในสภาพเช่นเขา

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

โคจร


ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ

ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ

ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง

เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ

ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ

ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ

วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน

ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม

ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ

มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง

เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน

ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี

สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม

ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ

เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง

เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร

ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้

ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม

ทั้งหลายประชุมลง”

คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร

ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น

“สุตตันตปิฎก ขฺทกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค”


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Russian Federation

     การล่มสลายของสหภาพโวเวียต เป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่างปี 1985-1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลที่มีฮาอิล กอบาชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียต เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียต ภายใต้นโยบายกลาสนอสต์-เปเรสทรอยกา ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็จเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล การปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต ต่อมาจึงส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 russia3
     มิฮาอิล เซร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ เป็นอดีตประธานาธิบดีและรัฐบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต รวมทังยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยิตุสงครามเย็น ด้วยเหตุนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
    กอร์บาชอฟได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้บิรหารสูงสุดของ “สหภาพสาะรณรัฐสังคมนิยมFederal_subjects_of_Russia_(by_number)โซเวียต”และเป็นสมาชิกกรรมการกลางของพรรคในปี 1971 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่างปี 1980-1985 เป็นสมาชิกโปลิตบูโร(คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง) และเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสค์ แทนเชร์เนนโกที่เสียชีวิต กระทั่งได้เป็นประธานคณะผู้บริหารโซเวียตสูงสุด ในปี 1990 ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนสุดท้ายของระบอบใหม่ก่อนการล่มสลายของสหภาพ
      ในระหว่างการดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค กอร์บาชอฟได้ริเริ่มโครงการปฏิรูปและปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ด้วยนโยบายที่รู้จักกนในชือ “เปเรสตรอยกา”เป็นการให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้นยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ และนโยบาย “กลาสนอสต์”ที่ยอมให้มีการประเมินและแก้ไขประวัติศาสตร์ของประเทศRussianFederalDistricts
     ด้านนโยบายการต่างประเทศและกลาโหม กอร์บาชอฟได้ตัดทอนลดงบประมาณด้านการทหาร นนโยบาย “การผ่อนคลายสงครามเย็น”กลับมาใช้ใหม่ ลดอาวุธนิวเคลียร์กับฝ่ายตะวันตก พร้อมทั้งถอนทหารออกจากระเทศอัฟกานิสถาน ในที่สุดฝ่ายอนุรักษนิยมในกองทัพยอมไม่ได้จึงกระทำรัฐประหารในเดือนสิงหาคม  ซึ่งกอร์บาชอฟรอดมาได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ จากการประท้วงของประชานนำโดยบอริส เยลต์ซิน แต่ในที่สุดถูกบังคับให้ลาออก หลังพรรคคิมมิวนิสต์ถูกยุบและสหภาพล่มสลายในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันRussia1
     บอริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง1991-1999 เดิมเป็นผู้สนับสนุนมิคาอิล กอร์บาชอฟ เยลต์ซินเกิดขึ้นภายใต้การปฏิรูปเปเรสตรอยกาเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการเมืองที่ทรางพลังที่สุดของกอร์บาชอฟ ในปี 1999 เขาได้รับเลื่อกด้วยเสียงประชาชนเป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นตำแหน่างที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ขณะนั้นเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญสหภาพโซเวียต เขาได้รับคะแนนเสียงชนะผู้เข้าชิงตำแหน่งอีก 5 คน และเป็นผู้นำที่ได้รับเลื่อกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยคนที่สองของรัสเซียในประวัติศาสตร์ หลังมิคาอิล กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่างและสหภาพโซเวียตยุบลงครั้งสุดท้าย เยลต์ซินยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัพนธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของสหภาพโซเวียต

Glasnost&Perestroika

     นโยบายกาสนอสต์ คือ การ “เปิด”ประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็ประชาธิปไตยมากขึ้น ดดยให้ปรชาชนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตน
     นโยบายเปเรสตรอยกา คือ การ “ปรับ”สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีกว่าเดิม
      มิคคาอิล กอร์บาชอฟ ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายทั้ง 2 มาปฏิรูปการปกครองให้เป็น
ประชาธิปไตยมากขึ้น มีการจัดตั้งสมัชชาผู้แทนประชาชนขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก 2,250 คน ดดยรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสได้เลือกตั้งบุคคลที่ตนเชื่อมั่นและศรัทธาในความสามารถ ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องเป็นผู้ที่รัฐเป็นผู้กำหนดตัวไว้ มีการให้สิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการชุมนุมกัน และเลือกนับถือศาสนา ปล่อยนักโทษการเมือง ล่าสุดสมัชชาผู้แทนประชาชนได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้กอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีที่มีอำนาจลริหารอย่างหว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติต่าง ๆ ของประเทศ
     แต่กอร์บาชอฟประสบความล้มเหลวด้ารเศรษฐกิจและสังคม เพราะชาวโซเวียตยังคงดำรงชีวิตอย่างยากแค้นต่อไป อาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตยิ่งขาดแคลนมากขึ้นกว่าเดิม เงินเฟ้อ และราคาสินค้าแพงขึ้นมาก
      ชาวโลกจึงพากันตั้งคำถามว่า “ประธานาธิบดีอาร์บาชอฟจะไปรอดหรือไม่”ขณะดียวกันนโยบายกลาสนอสต์ก็ได้นำผลกระทบมาสู่โซเวียตโดยปริยาย โดยประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ ถือโอกาส “เปิด”และ “ปรับ”ตนเองเช่นกัน ทำให้ระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ในยุโรปต้องล่มสลายลงทั้งยังเกิดปัญหาเชื้อชาติในโซเวียตติดตามา 15 สาธารณรัฐอันประกอบเป็นสหภาพโซเวียตนั้น ประกอบด้วยประชาชนที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านเชือชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ที่ตลอดเวลาสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะกลไกการบริหารและควบคุมที่เคร่งครัดเฉียบขาดของพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้นเมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกได้ ความรู้สึกเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมจึงปะทุขึ้นอย่างเปิดเผย ดังจะเห็นได้จาการปะทะกันระหว่างชาวอาเซอร์ไบจาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม กับชาวอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อแย่งกันถือสิทธิครอบครองดินแดน นากอร์โน-การาบาฮ์ ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้จนทุกวันนี้
     นอกจากนี้ สาธารณรัฐต่าง ๆ บนชายฝั่งทะเลบอลติกยังพากันเคลื่อไหวเรียกร้องเอกราชและขอแยกตัวเป็นอิสระจากการปกครองของโซเวียต โดยเฉพาะลิทัวเนียได้ตัดสินใจประกาศเอกราช ทำให้ลัตเวีย เอสโตเนีย ประสงค์จะดำเนินรอยตา รวมทั้งรัฐยูเครน จอร์เจีย และมอลตาเวีย ด้วย  กอร์บาชอฟจึงตัดสินใจอย่างเฉียบขาดโดยส่งกำลังทหารไปยังเมืองหลวงของลิทัวเนีย ยึดสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานกรมอัยการ และตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ให้เกิดปัญหาร้ายแรงเกิดตามมา คือการล่มสลายของสหภาพโซเวียตถ้าสาธารณรัฐอื่นๆ พากันแยกตัวเป็นอิสระ
     นโยบาย “เปิด”และ “ปรับ” จึงเป็นเสมือนดาบสองคม ทำให้ประธานาธิบดีกอร์บอชอฟต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก ถ้าต้องยอมผ่อนตามข้อเรียกร้องของสาธารณรัฐต่าง ๆ สภาพโซเวียตคงเลหือแต่มอสโกและบิรเวณรอบ ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตไม่สามารถจะยอมได้  เมือเป็นเช่นนี้ชาวโลกจงพากนติดตามผลงานของประธานาธิบดีกอร์บาชอฟอย่างใจจดใจจ่อและเอาใจช่วยเพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผลแม้จะไม่แน่ใจว่าเขาจะสามารถอยู่ในอำนาจได้นานสักเพียงไร

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Soviet-Afganistan

     เป็นการต่สู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกันฯ และกองทัพโซเวียต สงครามเริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร ในปี 1978 โค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน คือ ซาร์ดาร์ เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้งในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน และตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี   

     การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก อเมริกา ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล จีน ปากีสถาน และกลุ่มอิสลามมู จาฮีดีน จากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งโลก ผ่านปากีสถาน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้ที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมือสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุน และที่ยึดได้รวมไปถึง อาวุธต่อต้านอากาศยานของอเมริกา ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรืองของอาวุธที่ทันสมัย คาร์มัล ลาออก และมูฮามัด นาจิบูลลาห์ ได้ลกายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสจ์ ประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟ ประกาศการถอนกองทัพโซเวียต ซึ่งเพราะประชาชนของโซเวียตนั้นเร่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยือเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ

       จากเอกสารจากหอจดหมายเหตุของโซเวียตเก่าและบันทึกช่วยจำของผู้นำทางการเมืองและกองทัพของโซเวียตได้นำเสนอภาพอันน่าเศร้าและซับซ้อนของการเข้าเกี่ยวข้องของกองทัพโซเวียตเป็นเวลสสิบปีในอัฟกานิสถาน ผู้สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดเห็นร่วมกันว่าสงครามครั้งสุดท้ายของโซเวียตได้ก่อให้เกิดากรเคลื่อไหวภายในซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของประเทศตัวเอง เอกสารซึ่งถูกนำเสนอในที่นี้จะให้ความกระจ่างแก่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน นั้นคือการร้องขอของรัฐบาลอัฟกัน.สำหรับความช่วยเหลือ และการปฏิเสธในช่วงแรก ๆ ของโซเวียตในการส่งกำลังทหาร การผกผันนโยบายนี้โดยคณะโปลิสบูโรกลุ่มเล็ก ๆ และการตัดสินใจของโซเวียตในการเข้ารุกราน และการขยายตัวของปฏิบัติการช่วงเริ่มต้นซึ่งรวมไปถึงการทำสงครามกับฝ่ายต่อต้านชาวอัฟกัน และการวิพากษ์ในช่วงต้น ๆ ต่อนโยบายของโซเวียตและรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน และการตัดสินใจการถอนกองกำลังทหาร เอกสารเหล่านั้นเมือนำมารวมกันแล้วก็ได้ให้บทเรียนบลางประการซึ่งอาจจะเกิดจากการประสบการณ์ของโซเวียตในการทำสงครามในอัฟกานนิสถาน
     การตัดสินใจในการส่งกองกำลังทหารเกิดขึ้นภายหลังการแสดงความตั้งใจอย่างยานานและการร้องขอซ้ำๆ ซาก ๆ จากผู้นำของพีดีพีเอนั้นคือประธานาธิบดีฮาฟิซูลลาห์ อามินและประธานาธิบดีนูร์ มุฮามัด ทารากิ การถกเถียงกันในคณะโปลิสบูโรแสดงให้เห็นบรรดาผู้นำโซเวียตนั้นลังเลใจอย่างมากในการส่งกองกำลังทหารและตอบสนองความต้องการของรัฐบาลอัฟกัน..โดยการส่งอุปกรณ์การทหารทาให้แต่ไม่ใช่กำลังทหารตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในปี 1979 อย่างไรก็ตามการโค่นล้มทารากิโดยอามินในเดือนกันยายนภายหลบงจากที่ทรารกิได้เดินทางกลับจากรุงมอสโคว์ได้ทำให้ความวิตกกังวลของโซเวียตว่าอามินอาจจะหันไปพังสหรัฐฯเพื่มสูงขึ้น การตัดสินใจที่แท้จิรงในการรุกรานนันมีขึ้นอย่งลับ ๆ โดยกลุ่มเล็ก ๆในคณะโปลิสบูโร ซึ่งต้องพบกับการต่อต้านอย่างเปิดเผยและแข็งขันของกองทัพและโดยสมาชิกคณะโปลิสคนอื่นๆ ผุ้นำของกองทัพคือจอมพล โอการ์คอฟและผุ้ช่วยของเขาคืออาค์โรมีฟแสดงความไม่เห็นด้วอย่างมากในการส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ซึ่งกองกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
     การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปตั้งบนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัน เนื่องจากอิทธิพลของประธานเคจีบีคือ ยูริ อันโดรปอฟผู้ซึ่งควบคุมข้อมูลที่ถูกส่งไปยังเลขาธิการพรรคคือเบรซเนฟผู้ซึ่งป่วยและเริ่มบกพร่องเรื่องความสามารถในการตัดสินใจ ตลอดปี 1979 รายงานของเคจีบีจากอัฟกานิสถานได้สร้างภาพของความจำเป็นอันเร่งด่วนและได้มุ่งเน้นอย่งมากต่อความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของอามินและซีไอเอและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของสหรัฐฯในภูมิภาคต่างๆ อัฟการนิสถานนั้นไม่ได้เข้ากับกรอบทางอุดมการณ์และแผนที่ความคิดของเหล่าผู้นำโวเวียตเลย พวกเขามองไม่เห็นความเป็นจริงของสังคมชนเผ่าซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณของประเทศนี้ พวกเขามองอัฟกันฯว่าเป็น “มองโกเลียแห่งที่สอง” นำมาสู่ความพยายามในการนำวิธีการปฏิบัติแบบต่างชาติมาสู่สังคมอัฟกันเช่นการปฏิรูปที่ดินเชิงบังคับ  และในส่วนของบทบาทความสำคัญของอิสลามชาวอัฟกันมองโซเวียตว่าเป็น “ผู้ทรยศ” รายงานจากอัฟกันฯแสะงให้เห็นถึงความตระหนักต่อ “ปัจจัยของศาสนาอิสลาม”ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของนายทหารและนักการเมืองของโซเวียต
     กองทัพโซเวียตตระหนักต่อการเตีรยมตัวและการวางแผนที่ไม่ดีของตนต่อภารกิจนอัฟกันฯ ภารกิจช่วงตนคือการป้องกันเมืองสำคัญ ๆ และการบูรณะประเทศในไม่ช้กายเป็นการต่อสู้ ซึ่งเพิ่มความรุนแรงอย่างรวดเร็ว กองหนุนในฐานะส่วนใหญ่ของกองทัพของโซเวียตในช่วงแรก ๆ ทีถูกส่งไปนั้นถูกดึงเข้าปสู่การสู้รบเต็มรูปแบบกับฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่กองทัพประจำของอัฟกันฯนั้นมักจะไม่ได้รับความไว้วามใจเพระมีแต่คนหนีทหารและขาดวินัย
     กองทัพโซเวียตไมได้รับการฝึกให้พบกับการสู้รบแบบกองโจร ในขณะที่ภารกิจแบบเป็นทางการ
ของกองทัพนั้นคือกาปกป้องพลเรือนจากพวกต่อต้านรัฐบาล ตามความเป็นจริงแล้ว ทหารดซเวียตมักจะพบว่าพวกตนต่อสู้กับพลเรือนที่เคยตั้งใจจะมาปกป้อง สิ่งที่หลายครั้งได้นำปสู่การฆ่าชาวบ้านแบบไม่เลือกหน้า  ปกิบัติการในการติกตามและจับกุมกลุ่มต่อต้านนั้นมักจะไร้ผลสำเร็จและต้องถูกทำซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดียวกันเพราะกองกำลังต่อต้านนั้นมัจะล่าถอยไปยงภูเขาและกลับไปยังปมู่บ้านของพวกตนทันที่ที่กองทัพโซเวียตกลับไปที่ค่ายทหาร อาวุธและอุทกรณ์ทางทหารของโซเวียตโดยเฉพาะรถและรถถังหุ้มเกราะนั้นเปราะบางอย่างมากต่อพื้นที่ของอัฟกานิสถาน
     กองทัพโซเวียตยังต้องสับสนในเป้าหมายของตัวเองนั้นคือภารกิจอย่งเป็นทางการในครั้งแรกคือการปกป้องรัฐบาลของพีดีพีเอ แต่เมือกองทัพเข้าถึงกรุงคาบูล คำสั่งที่พวกเขาได้รับคือการโค่นล้มรัฐบาลของอามิน และคำสั่งก็เปลี่ยนอีกครั้ง แต่บรรดาผุ้นำไม่ได้ตั้งใจที่จะยอมรับว่ากองทัพโซเวียตนั้นที่จริงแล้วต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของอัฟกานิสถานเพื่อพีดีเอ ความคิดว่า “หน้าที่ของวัรบุรุษแห่งโลก “ซึ่งกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดของโซเวียตกำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นอุดมการณ์แบบล้วน ๆ เกิดจากความคิดที่ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องการปฏิวัติของสังคมนิยมในอัฟกานิสถาน ในขณะที่ประสบการณ์ภาคพื้นดินก็ได้ทำลายเหตุผลเหล่านั้น…

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

KGB Komitet gosudarstvennoi bezopasnost'i

     คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ หรือ เคจีบีเป็นอดีตหน่วยงานกลาง ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตั้งแต่ปี 1954-1991 โดย เคจีบีถูกยุบไปหลังจากหัวหน้าเคจีบีได้ร่วมก่อกบฏรัฐบาลประธานาธิบดี กอร์บาชอฟแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกแทนที่โดยสำนักงานความมั่นคงกลางFederalnaya sluzhba bezopasnosti, FSB แทน
     มีนาคม ปี 1954 องค์การมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ได้แยกเป็นกองอิสระเรียกว่า “KGB” มีหน้าที่ควบคุมตำรวจลับ ตำรวจตระเวณชายแดน และกองทหารรักษาความปลอดภัยภายในให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกพรรคในระดับสูง ทำการจารกรรมในต่างประเทศ ตำรวลับประเทสและในประเทศควบคุมการติดต่อในต่างประเทศ ควบคุมแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาล
     เคจีบีมีสัญลักษณ์ ดาบและโล่ คอยพิทักษ์สังคมโซเวียต มีอำนาจและอิทธิพลมาก พรรคคอมมิวนิสต์จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิดอีกต่อหนึ่ง เพราะอาสเป็นอันตรายต่อพรรคได้ หลังจากสตาลินถึงแก่รรม อำนาจความทะเยอทะยานของแบเวีย  หัวหน้าเคจีบี  ทำให้คณะกรรมการ โปลิสบูโร หวาดกลัวมาก จึงตั้งข้อหาเขาว่ามีความผิดฐานทรยศและฝ่าฝืนกฎหมายแห่งรัฐ จนถูกัดสินประหารชีวิตในที่สุด ตั้งแต่นั้นมา ภายใต้การนำของแอนโตรปอฟ เคจีบี จึงคำนึงถึงเรื่องความจรงรักภักดีต่อพรรค รัฐบาล และความถูกต้องของสังคมนิยม แอนโดรปอฟ ได้เป็นหัวหน้าเคจีบีในเดื่อนพฤษภาคม ปี 1967 ทำให้เคจีบี เป็นหน่วยสืบราชการลับที่ทันสมัย กระตือรือร้นและเด็ดขาด และฉับไว มีชื่อเสียงเป็นที่น่าเกรงขามมาก
     เคจีบี เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับซีไอเอและเอฟบีไอ ผสมกัน โดยเฉพาะในหน่วย โบเดอร์ การ์ด ที่ทำหน้าที่ปกป้องผู้นำคนสำคัญ ๆ และคอยรักษาความปลดภัย หน่วยงานของรัฐ ยิ่งกว่านั้นเคจีบียังมีหน้าที่ ให้การอบรมและควบคุมงานราชการลับของประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ด้วยที่ สำคัญ คือ หน่วยสตาซี่ ของประเทศเยอรมันตะวันออกและของประเทศคิวบา แอนโดรบอฟ ได้ทำการปฏิรูปเคจีบี ใหม่ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น คัดเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าเป็นสายลับ มีรายได้เป็น 3 เท่า ของศลยแพทย์ผ่าตัดสมองและเป็น 5 เท่าของวัศวกร มีอพาร์ตเม้นท์ให้อยู่ฟรี มีรถยนต์ให้ใช้ มีอภิสิทธิ์จองตั้งดูกีฬาหรือการแสดงต่าง ๆ ก่อนผู้อื่น เขาได้บริหารองค์การได้เป็นอย่างดียิ่ง ปรับปรุงโครงสร้าง และทิศทางของหน่วยงานนี้จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งสถาบันหนึ่งของโซเวียต
      ในช่วงสมัยของ เบรนเนฟ เคจีบี กลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ต่อต้านการคอร์รัปชั่น ต่อต้านอาชญากรรมด้านเศรษฐกิจ คุ้มครองผู้นำ รักษาความสงบบริเวณชายแดน สร้างสายลับ เคจีบีในยุคนี้จึวมีอนาจมาก และหัวหน้า KGB ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้คือ Yuri Andropov ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้นำประเทศต่อจาก เบรสเนฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1983-1984 เป็นปรธานาธิบดีคนที่ 9 แห่งสหภาพโซเวียต เป็นประธานเคจีบีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งปี 1967-1982

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Ronald Wilson Regan

     การเลื่อกตั้งในปี 1980 พรรครรีพับลิกันส่งโรนัล เรแกน ได้รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี และจอห์น เอ็ช.ดับเบิลยู.บุช George Herbert Walker Bush ได้รับเลือกใรตำแหน่างรองประธานาธิบดี โรนัล เริแกน กล่าววิจร์ผลงานภายในประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ คือภาวะเงินฟ้อยังสูงและอัตราคนว่างงานสุง โรนัล เรแกน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือลดการเก็บภาษีรายได้คนอเมริกัน ลดการใข้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นของรัฐบาลกลางอันรวมถึงหยุดการรับเจ้าหน้าที่ใหม่ในหน่วยงานของรัฐ สร้างความสมดุลย์ในงบประมาณรายรับรายจ่าย ลดการแทรกแซงของรัฐบาลกลางในธุรกิจ มอบงานสวัสดิการให้อยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น ลดค่าจ้างแรงงานต่ำสุดลงอีกเพื่อลดอัตรคนว่างงานลงและสร้างงานที่จำเป็นเพิ่ม และทั้งจะปฏิรูปการทำงานของกระทรวงพลังงานและกระทรวงศึกษาธิการ โรนับ เรแกนกล่าววิจารณ์ผลงานต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าทำให้สหรัฐอเมริกาแสนยานุภาพด้านกองกำลังและอาวุธด้อยกว่ารุสเซียและทั้งลดบทบาทสหรัฐอเมริกาในเวที่การเมืองโลก โดยอิหร่านกล้าจับคนอเมริกันในสถานทูตอเมริกันที่กรุงเตหะรานในอิหร่างเป็นตัวประกันในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1979 และรุสเซียกล้ารุกรานอัฟกานิสถานในวันที่ 27 ธัมวาคม 1979 โรนัล เรแกนเสอนแนวทางแก้ไขคือ จะเพิ่มงบประมาณด้านการทหารเพื่อเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้แข็งแกร่งประสิทธิภาพสูง จะยืนหยัดต่อต้านรุสเซยและอิหร่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะดำเนินการให้อิหร่านปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันให้เร็วที่สุดและจะนำสหรัฐอเมริกาก้าวสู่การเป็นชาติผู้นำในเวทีการเมืองโลก พรรคเดโมเครติกส่งประธานาธิบดี เจมส์ อี. คาร์เตอร์ รับเลือกในตำแหน่างประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัย และวอลเตอร์ เอฟ.มอนเดล รับเลือกในตำแหน่งรองประธานาธิบดีเช่นกัน คะแนนนิยมที่คนอเมริกันจะให้แก่พรรคเดโมเครตลดลงอย่างมาก ประนาธิบดีคาร์เตอร์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และไม่สามารถปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันได้ ผลการนับคะแนนโรนัล เรแกนได้ชัยชนะ 489 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้เพียง 49 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี อันหมายความว่าในวันที่ 20 มกราคม 1981 โรนับ เรแกนจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 40
     ปัญญาชนต่างกังขาเกี่ยวกับความสามารถในการเป็นผู้นำของเขาเนืองจากเขาเขาไม่มีความเฉลียวฉลาดเท่าใดนัก ขณะเดียวกันนายเรแกนก็มีรูปแบบการทำงานแตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อน ๆ เป็นอย่างมากโดยคนก่อน ๆ ต้องประชุมอย่างเคร่งครัดกันทั้งวันเพื่อหารือในเรื่องปวดหัวต่างๆ มากมาย แต่นายเรแกนกลับทำงานเปรียบเสมือนกับเป็นปรธานกรรมการบริษัท โดยมอบอำนาจให้บรรดาซีอีโอของบริษทัทไปดำเนินการแทนตนเอง
     เขาทำงานแบบสบาย ๆ แบบ 9 โมง-5 โมงเย็น ทั้งนี้ นอกจากนอนเต็มอิ่มในเวลากลางคืนแล้วในเวลาบ่ายก็งีบหลับด้วยตามแต่โอกาสจะอำนวย ปล่อยให้ลูกน้องดำเนินการอย่างค่อนข้างอิสระ ดังนั้นภาพลักษณ์การเป็นผู้นำประเทศที่ทำงานหนักและยากลำบากจึงไม่ปรากฎให้เห็น แต่กลับดูเสมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ และสนุกสนานด้วยซ้ำเดิมทิสทางการดำเนินนดยลายเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ จะเน้นดำเนินการเก็บภาษีมาก ๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ โดยมีปรัชญาในการบริการรัฐกิจ คือยิ่งรัฐเก็บภาษีและนำมาใช้จ่ายมากเท่าไร เศรษฐกิกจของประเทศก็ยิ่งพัฒนารวดเร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อภาษีมีอัตราสูง ขณะเดียวกันรัฐบาลใช้จ่ายเงินในด้านสวัสดิการสังคมจำนวนมาก ประชาชนก็มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพลอน้อยลง ต่างหันมาแบมือของเงินจากรัฐบาล
     สำหรับทิศทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับการกล่าวขานกันว่า “เรแกนโนมิกส์”โดยเป็นการรวม 2 คำเข้าด้วยกัน คือ “เรแกน”และอีโคโนมิกส์ ซึ่งมีความหมายวา “เศรษฐศาสตร์” โดยเปลี่ยนจากนโยบายแบบที่เน้นด้าน “อุปสงค์”กล่าวคื อการเก็บภาษีและการใช้จ่ายงบประมาณมาก ๆ ก็เปลี่ยนมาเน้นในด้าน “อุปทาน”หรือที่เรียกว่า โดยพยายามกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นมีมาตรการต่าง ๆ เช่น ลดอัตรภาษีอากรลง ฯ ขณะเดียวกันเมื่อมีอุปทานมากขึ้นสินค้าและบิรการก็จะมีราคาถูกลง ส่งผลดีทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
      สาระสำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจ คือ ลดบทบาทของรัฐบาลลงโดยนายเรแกนได้กล่าวอุปมาอุปไมยว่าประชาชนเปรียบเสมือนกับคนขับ ขณะที่รัฐบาลเปรียบเสมือนกับเป็นรถยนต์เท่านั้น ประชาชนเป็นผู้ขับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชาชนดำเนินการเป็นผู้ชับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชานดำเนินการ
     ในระยะแรกเศรษฐศาสตร์ของ เร แกน ได้รับการวิพากวิจารณ์มาก โดย จอร์จ บุช จูเนียร์ ซึ่งกำลังแย่งชิงเพื่อเป็นตัวแทนพรรครีพลับลิกันในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้กล่วถากถางว่าเป็น “นโยบายเศรษฐศาสตร์ของพ่อมดหมดผี”
      เมื่อนายเรแกนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯยิ่งตกต่ำลงไปอีก คนตกงานจำนวนมาก จึงมีการเรียกขานสถานการณ์ช่วงนั้นว่า “ภาวะเศรษฐกิจถอถอยของเรแกน” ดดยเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นแทนที่จะเป็นผลเสียกลับเป็นผลดี กล่าวคือ สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เดิมสูง เมื่อเขารับตำแหน่งให้ลดลงเหลือเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จากนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยได้เติบโตในอัตราสูงมาก ทำให้คะแนนนิยมของนายเรแกนพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
     เมื่อประเมินนโยบายเรแกนโนมิกส์จะพบว่าประสบผลสำเร็จคอ่นข้างมาก โดยทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อยู่ในภาวะตำต่ำกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งมีการสร้างงานเป็นจำนวนมาก แม้ในช่วงนั้นจะมีนักเศรษฐกศาสตร์จำนวนมากตั้งข้อกังขาว่านโยบายเศษรฐกิจซึ่งเน้นตลาดเสรีของสหรัฐฯอเมริกาเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นตีตลาดสหรัฐฯอเมริกา ส่งงผลให้บริษัทสหรัฐฯเป็นจำนวนมากย่ำแย่ ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไปกว้านซื้อกิจการในสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลเรแกนได้พยายามต่อต้านกระแสเรียกร้องให้คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันกาลเวลาก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นทิศทางที่ถุกต้อง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯใช้วิกฤตการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นโอกาส มีการปรับโครงสร้างการดำเนินการเพื่อเพเมความสามารถในการแข่งขัน ทำให้สหรัฐฯแข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้งในเวลาต่อมา…

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The Iranian Hostage Crisis 1979

       ความรู้สึกบาดหมางของรุสเซียและสหรัฐอเมริกาทำให้การลงนมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้า สนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 1 มีการลงนามที่มอสโคว์ระหว่างประธานาธิบดีนิกสันกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ในปี่ 1972 กำหนดอายุสนธิสัญญา 5 ปี การเตรียมการกำหนดแนวทางข้อตกลงในสนะสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 เริ่มในวันที่ 1974 ระหว่างประธานาธิบดีฟอร์ดกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ที่วลาดิวอสต๊อก รุสเซีย เกิดข้อตกลงวลาติวอสต๊อก 1974 ความบาดหมางระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเร่มจากประธานาธ่บดีคาร์เตอร์ชูนโยบายสิทธิมนุษยชนและกว่างวิจารณ์รุสเซ๊ยว่ากดขี่ข่มเหงชาวยิวในรุสเซีย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอย่งเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ทั้งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสร้างจรวดขีปนาวุธเอ็มเอ็ก และจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2 ซึ่งล้วนมีประสิทธภาพเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ต้านการบุกโจมตีของรุสเซีย สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย ขณะเดียวกันรุสเซียจับกุม คุมขัง ทรมานและเนรเทศประชาชนที่ต่อต้านกล่าววิจารณ์โจมตีรัฐบาลรุสเซียรวมถึงยับยั้งปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซีย
ที่เรียกร้องอพยพจากรุสเซียสู่โลกเสรี ล้วนเป็นการกดขี่ข่มเหงแระชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง และรุสเซียจัดส่งคณะนายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนปฏิบัติการรและการใช้อาวุธมาคิวบาเป็นที่ปรึกษาแก่ฟิเดล คัสโตร เพื่อการวางแผนให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฎโค่นล้มรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ละตินอเมริกา ในขณะเดียวกันรุสเซียเร่งคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่คือจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 มีประสิทธิภาพทำลายล้างสูงเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธข้ามทวีป เช่นกัน สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐอเมริกา อันมีผลทำให้ตัวแทนขงอทั้งสองประเทศที่ร่วมร่างสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ทำงานได้ไม่คล่องตัว ข้อตกลงไม่เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี 1977 ต้องล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามการลงนามร่วมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979ระหว่างประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ มีขึ้นในปี 1979 ที่กรุงเวียนา ออสเตรีย กำหนดจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทระหว่างกันคือหนึ่งจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 1054 ลูกต่อ 1400 ลูก สองจรวดขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 656 ลูกต่อ 950 ลูก สามจรวดขีปนาวุธในสัดส่วนขีปนาวุธ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 350 ลูกต่อ 150 ลูก และสี่หัวรบนิวเคลียร์ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 9200 ลูกต่อ 5000 ลูก ไม่มีการกำหนดจำนวนจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 ของรุสเซีย หรือจำนวนจรวดชีปนาวุธเอ็ม เอ็ม และจำนวนจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2  ของสหรัฐอเมริกาในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 ซึ่งอาวุธร้ายแรงทั้งสมประเภทมีประสิทธิภาพเหนือกว่าอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 อันบ่งชี้ได้ถึงปัญหาและความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตรัฐสภายังไม่ทันให้การับรองในนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 2 ก็พอดีเกิดเหตุการณ์รุสเซียรุกรานอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979
    สหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่รุสเซียรุกรามอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979 อัฟกานิสถาน เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกสุดของตะวันออกกลาง อัฟกานิสถานทางตอนเหนือติดกับรุสเซีย ทางตะวันตกติดกับอิหร่าน ทางตะวันออกและทางตอนใต้ติดกับปากีสถาน ใรเดื่อนสิงหาคม 1919 อังกฤษปลดปล่อยอัฟกานิสถานจากการเป็นอาณานิคม เพราะภายในอัฟกานิสถานวุ่นวายเร่มกลางศตวรรษที่ 20 และรับความช่วยเหลือจากรุสเซียนำพาให้รุสเซียเข้ารุกรานอัฟกานิสถานใน เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน ที่ควรจดจำเริ่มจากกษํตริย์มูฮัมหมัด นาเดียร์ ข่าน ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี 1929-1933 นำการปฏิรูปในทุกด้าน กษัตริย์นาเดียร์ ข่าน ถูกลอบปลงพระชนม์มีผลให้ลูกชายคือมูฮัมหมัด ซาเฮอ ขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีมูฮัมหมัด เดา ข่าน เป็ฯนายกรัฐมนตรีอัฟการนิสถานวางตนเป็นกลางในสงครามเย็นและรับความช่วยเหลือทั้งจากรุสเว๊ยและสหรัฐอเมริกา ในปี 1973 เดา ข่าน พร้อมกองกำลังทหารก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจกษัตริย์ซาเฮอได้สำเร็จ คณะนายทหารเข้ากุมอำนาจการปกครองและประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐแห่งอัฟกานิสถาน มีเดา ข่าน ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและปรธานาธิบดี ในปี 1078 กองกำลังทหารนิยมลัทะคอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจและฆ่า เดา ข่าน หลังจากนั้นรัฐบาลทหารนำโดยบรรดานายทหารกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ากุมอำนาจทางการเมืองและยอมให้รุสเซียเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานโดยยอมรับความช่วยเหลือด้านการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์จากรุสเซีย ชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ต่อต้านรัฐบาลทหารเพราะเชื่อว่านโยบายการปกครองของรัฐบาลทหารที่ชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิจสต์ขึดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม และทั้งไม่พอใจรัฐบาลทหาที่ยอมให้รุสเซียเข้ามีอิทธิพลแทรกแซงการเมืองการปกครองของอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกานิสถานรวมตัวต่อต้านรัฐบาลทหารภายใต้ชื่อ มูจาฮีดดิน มูจาฮีดดีนปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยการสู้รบแบบกองโจร
   ธันวาคม 1979 กองกำลังรุสเซียเคลื่อนเข้าอัฟกานิสถานเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานปี 1979 โดยรุสเซียอ้างว่าเพราะรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานร้องของความช่วยเลหือเพ่อการปราบปรามมูจาฮีดดิน ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มองว่ารุสเซีย สั่งเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานเพื่อการเข้าควบคุมและมีอิทธิพลเหนือแหล่งน้ำมันโลกบริเวณอ่าวเปอร์เซีย นับเป็นปฏิบัติการทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และทั้งเป็ฯการเริ่มต้นการขยายอำนาจของรุสเซียเข้าสู่น่านน้ำและพื้นที่แถบทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตอบโต้วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานในปี 1979 ทันที่โดยหนึ่งหยุดการส่งข้าวสาลี และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูงแก่รุสเซีย และทั้งทั้งกล่าวประณามการเคลื่อนกองกำลังรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานว่าเป็นการก้าวร้าวรุกอธิปไตยของอัฟกานิสถานและทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากปี
1945 รุสเซียเพิกเฉยคำกล่าวประณามของสหรัฐอเมริกาและคงกองกำลังรุสเซียในอัฟกานิสาน สองประท้วง ไม่ส่งนักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สามเตรียมกำลังพล กำหนดให้เยาวชนอเมริกันทั้งชายและหยิงรายงานตัวขึ้นทะเบียนเพื่อรับการเกณฑ์กำลังพลในอนาคต ถ้าจำเป็นเพื่อปกป้องอ่าวเปอร์เซีย จากการอาจถูกกองกำลังรุสเซียเข้ารุกล้ำ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล้าพูดว่าประเมินรุสเซียผิดอย่างไม่คาดคิดดมาก่อน และดึงกลับสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 จากการพิจารณาของวุฒิสภาห้า ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลักการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกนำเป็นต้องเข้าขัดขวางแรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกัน ถ้าจำเป็นด้วยปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาด เพื่ปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่านเปอร์เซียด้วยกลักการคาร์เตอร์ เป็นการบ่งชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาต้องการให้กองกำลังรุสเซียหยุดอยู่ที่อัฟกานิสถาน และเป้นกาตัดสินใจอย่งเด่นชัดในการนำสหรัฐอมเริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเนื่องกับน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย

        จากการต่อสู้รบระหว่างกองกำลังรุสเวียและกองกำลังรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานฝ่ายหนึ่งกับกองกำลังมูจาฮีดดีนอีกฝ่ายหนึ่ง นับจากเดือนธันว่าคม ผลปรากฎว่าชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่หลบหนีการปะทะเข้าอาศัยบริเวณชายแดนปากีสถานและอิกร่าน กองกำลังรุสเซียเริ่มถ่อยออกจากอัพกานิสถาน และถอนหมดสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในอัฟการนิสถานคงมีสงครมลกางเมืองระหว่างกองกำลังมูจาฮีดดินกับกองกำลังรัฐบาลอัฟกานนิสถาน
      สหรัฐอเมริกามีกรณีพิพาทกับอิหน่าน เกิดวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกันหรือวิกฤติการณ์อิหร่าน ปี 1979 เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกกลาง ดินแดนทางเหนือติดทะเลแคสเปียน และรุสเซีย ทางตะวันออกติดอัฟกานิสถานและปากีสถานทางใต้ติดอ่าวเปอร์เซีย ทางตะวันตกติดอิรักและตุรกี ในศตวรรษที่ 19 ชาติตะวันตกที่เข้าแทรกแซงอิหร่านคือรุสเซียและอังกฤษ รุสเซียรุกรานอิหร่านเพราะต้องการขยายดินแดนและหาทางออกสู่อ่าวเปอร์เซีย อังกฟษแทรกแซงอิหร่านต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อทำธุรกิจน้ำมัน ในแหล่งน้ำมันในพื้นที่ทางตะวันตกเฉพียงใต้ของอิหร่าน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อิหร่านวางตนเป็นกลาง ในสปี 1925 เรซา ข่าน นายทหารแห่งกองทหารม้านำกองกำลังทหารโค่นอำนาจอษัตรยิ์หรือชาห์ ในราชวงศ์คาชร์ และสถาปนาตนเองเป็นชาห์แห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี ชาห์ เรชามุ่งพัฒนาอิหร่านให้ทันกับโลกสมัยใหม่ พร้อทั้งรับการเข้ามาของชาติตะวันตกเพื่มมากขึ้น อิหร่านประกาศวางตนเป็นกลางใสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษต้องการใช้เส้นทางรถไฟอิหร่าน ขนยุทธปัจจัยให้แก่รุสเซีย ชาห์ เรซา ปฏิเสธให้ความร่วมมือเป็นผลให้ในปี 1941 กองกำลังผสมอังกฤษ-รุสเซยบุกเข้า อิหร่าน บังคัยให้ชาห์ เรซา สละราชสมบัติ และให้โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวียอมลงนามให้อังกฟษและรุสเซียร่วมใช้เส้นทางรถไฟอิหร่านและให้คงกองกำลังทหารของทั้งสองชาติอยู่ในอิหร่านจนกว่าสงครามจะยุติ เพื่อ
ปกป้องธุรกิจนำมันและการขนส่งยุทะปัจจัย แรมีกองกำลังทหารต่างชาติในอิหร่านทำให้ชาวอิหร่านกลุ่มชาตินิยมไม่พอใจเกิดขบวนการชาตินิยม ภายใต้ชื่อเมลิส เรียกร้องยุติอิทธิพลอังกฤษในธุรกิจน้ำมันในอิหร่านสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่อังกฤษและอังกฤษโต้ตอง โดยหยุดดำเนินธุรกิจน้ำมันในอิหร่านพร้อมทั้งไม่นำน้ำมันอิหร่านออกสู่ตลาดโลกน้ำมันในตลาดโลก จึงไม่สามารถนำนำมัออกสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง ดิกร่านต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจการเงิน กลางปี 1953 ชาห์ เรซา ปาห์เลวีบังคับให้ขบวนการชาตินิยมเมลิสเลิการต่อต้านอังกฤษ ขบวนการชาตินิยมเมลิสจับกุมชาห์ เรซา ปาห์เลวีและบังคับให้ลี้ภัยออกนอกอิหร่านสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประนาะบดีไอเซนฮาวร์ สั่งให้หน่วยสืบราชการลับนอกประเทศ เข้าช่วยชาห์ เรซา ปาห์เวลี กลับขึ้นมีอำนาจอีกครั้งในปี 1953 หลังถูกจับกุมอยู่สามวันและชาห์ เรซา ปากห์เลวีสั่งปราบปรามสมาชิกขวบนการชาตินิยมเมลิสทันที่เมืองกลับมีอำนาจ
  
  ทศวรรษที่ 1960 การปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองประกฏเด่นชัน ขณะเดียวกันชาวอิหร่านเริ่มการเริ่มการต่อต้านชาห์ เพราะไม่พอใจการปฏิรูป ชาห์ เรซาปาห์เลวีนำการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ชื่อปฏิวัติขาวหรือการเปลี่รยแปลงโดยสิ้นเชิงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ปผนปฏิรูปที่ดินดวยการจัดสรรแจกจ่ายที่ดินแก่ชาวนาและเกษตรกร แผนส่งเสริมการศึกษา แผนส่งเสริมสวัสดิการและการให้บริการสังคม แผนให้สิทธิสตรีในการลงคะแนน แผนพัฒนาอตาสหกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจด้วเงิยรายได้ที่เพิ่มขึ้จจากการขายน้ำมัน ชาห์ เราซา ปาห์เลวีกุมอำนาจทางการเมืองปกครองด้วยการจับกุม คุมขัง ทรมาน และเนรเทศผู้ต่อต้านทุกคน ชาห์ เรซา ปาห์เลวีสังจับกุมและเนรเทศอะยาโทลลาห์ รูโฮลลาห์ โดไมนี ผุ้นำศาสนานิกายชีอะ จากอิหร่านต้องเข้าอาศํยในอิรัก 13 ปี อยู่ฝรั่งเศสหนึ่งปี ในเดื่อน กุมภาพันธ์ 1979 เดินทางกลับอิหร่าน ศัตรูของชาห์ เรซา ปาห์เลวีมีสองกลุ่ม ๆ แรกคือ นักศึกษาและนักวิชาการ กลุ่มที่สองคือผู้นำศาสนา กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการรวมตัวต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านการปกครองและเสรษฐกิจ ในประเด็นหนึ่งชาห์ เรซา ปาห์เลวี ปฏิเสธในสิทธิเสรีภาพของชาวอิหร่านกดขี่ข่มเหงลิดรอนสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์สองใช้เจ้าหน้าที่ลับซาวัค ปราบปรามบดขยี้กลุ่มต่อต้านซาห์อย่างทารุณโหดเหี้ยม สามรัฐบาลกระทำการทุจริตเอื้อประโยชน์แก่ต่างชาติอันเป็นการทำลายเศรษฐกิจอิหร่าน กลุ่มผู้นำศาสนารมถึงคนอิหน่านผุ้ยึดมั่นในขนบประเพณีดังเดิมหรือพวกคนหัวเก่า ต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านสังคมใน ประเด็นการปฏิรูปสังคมของชาห์เป็นไปอย่างรวดเร็วไปอย่างรวดเร็วให้ทักับโลกภายนอก เช่น เรื่องสิทธิสตรีและการแต่งกายของสตรีล้วนขัดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสบามและขัดต่อประเพณีดีงามของมุสลิม
      ช่วงทศวรรษ คนอิหร่านต่อต้านชาห์ เรซา ปาห์เลวี ทีความรุนแรง เริ่มโดยสหรัฐอเมริกาเพิ่มการสั่งซื้อนำมันจากอิหร่านเพื่อขจัดปัญหาวิกฤติพลังงานปี 1973 ขณะเดียวกันชาห์ เรซา ปาห์เลวี เพิ่มการสั่งซื้ออาวุธที่ประสิทธิภาพสู
เพื่อการปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาห์ที่เพ่มจำนวนขึ้นและคิดโค่นอำนาจชาห์ ปาห์เลวี ทั้งสหรัฐอเมริกาเองก็ยินดีขายอาวุธแก่อิหร่านในราคามิตภาพที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจน้ำมันอเมริกันในอ่าวเปอร์เซีย มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะในธุรกิจขายน้ำมันเพื่อซื่ออาวุธหรือขายอาธเพื่อซื้อนำมัน ว่าปิโครดอลล่าร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี 1972-1979 มีการซื้อขายน้ำมันและอาวุธระหว่างกันมีมุลค่าถึง ยี่สิบพันล้านดอลล่าร์ และประธานาธิบดีคาร์เตอร์เดินทางเยือนอิหร่านเพื่อกระชับความสัมพันะห้แน่นแฟ้นในปี 1977 การปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านชาห์ นับจากปี 1960 ได้รับการสั่งการมาโดยตลอดจาอะยาโทลลาห์รูโฮลลาห์ โคไมนี ทั้งขณะอยู่ใอหร่าย ถูกเนรเทศต้องเข้าอาศัยในอิรักและฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านชาห์ กล่าวโจมตีและวิจารณ์ชาห์ทั้งสร้างความโกลาหลวุ่นวายในอิหร่านด้วยการเดินขบวน นัดหยุดงาน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าและทำลายทรัพย์สินกลุ่มผู้สนับสนุนชาห์มีการปล้นสดมภสร้างความเดื่อร้อนอย่างมากแก่ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจเข้าช่วยเหลือได้ อิหร่านขาดวินัยในการปกครองและเศรษฐกิจหยุดชะงัก ด้วยสภาพดังกล่าวสร้างแรงบีบคั้นอย่างมากแก่ชาห์ เรซา ปาห์เลวี เป็นผลให้ในวันที่ 16 มกราคม ชาห์ เรชา ปาห์เลวีตัดสินใจลั้ภัยการเมืองจากอิหร่าน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979 โคไม่นีจากฝรั่งเศสเดินทางกลับอิหร่าน ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และใช้คำสอนในศาสนาอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศ
      ท่าทีประธานาธิบดีคาร์เตอร์ต่อวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกัน 1979 ประการแรกคือ ปฏิเสธการส่งตัวชาห์แห่งอิหร่านให้แก่รัฐบาลอิหร่าน ภายใต้การนำของโคไมนี สองสั่งตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยการหยุดขายและส่งอาวุธตลอดจนความช่วยเหลือใด ๆ แก่อิหร่าน สามสั่งควบคุมเงินและของมีค่าของชาวอิหร่านที่นำฝากในธนาคารอเมริกัน สี่จัดส่งนักเรียนนักศึกษาอิหร่านที่ศึกษาในสหรัฐอเมริกากลับอิหร่าน ห้าสหรัฐอเมริกและมวลประเทศสมาชิกโลกเสรีร่วมกันประณามการกระทำของอิหร่าน ว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวประกันอเมริกันทั้ง 52 คน หก ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งกองทัพเรื่ออเมริกันประจำน่านน้ำมหาสมุทรอินเดียเตรียมพร้อมปฏิบัติการ เพื่อเป็นการแสดงสัญญาณเตือนรัฐบาลอิหร่านถึงความพร้อมปฏิบัติการของกองกลังอเมริกันถ้าจำเป็น เจ็ดประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลัการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเข้าขัดขวางแทรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกันถ้าจำเป็นก้วยการปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาดเพื่อปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มุ่งใช้หลักการคาร์เตอร์ ปี 1980 กับทั้งอิหร่านและรุสเซีย รวมถึงกระตุ้นคนอเมริกันให้รับรู้ถ้าจำเป็นต้องการเกณฑ์ทหารเพื่อการปราบปราม และท้งเป็นการตัดสินใจอย่างเด่นชัดในการนำสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเดี่ยวเหนื่องกับน้ำมันบริเวณอ่านเปอร์เซีย แปด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในเดือนเมษายนปี 1980 และเก้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งชิงตัวประกันอเมริกันด้วยปฏิบัติการเฮลิคอบเตอร์แปดลำ ผลการปฏิบัติการล้มเหลวรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของโคไมนียึดตัวประกันอเมริกันที่ 52 คนไว้เพื่อใช้เป็นโล่ป้องกันมาตรการการโจมตีใดๆ ที่สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์อาจจะกระทำต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามตัวประกันทั้ง 52 คนได้รับการปล่อยตัวในปี 1981 ในวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโรแนล ดับเบิลยู เรแกน รวมเวลาการกักขังตัวประกันชาวอเมริกัน 444 วัน

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Deng Xiaoping

เหมา เชตุงประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประธานหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค  ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจและประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปี 1950 นานาชาติเริ่มาให้การยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องหยุดชะงักคือเหตุการณ์สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกคามต่อดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งเรียกตัวเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไปเกาหลี่เหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ใหญ่ ๆ 2 ประเทศคือจีนแผ่นดินใหญ่และสหภาพโซเวียต เข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยเหมาเจอตุง เป็นผู้ให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือ
      ผลงานและความผิดพลาดของเหมาเจอตุง ที่ประเมินโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ข้อรุปว่า แม้ในบั้นปลายชีวิต เหมาจะได้ทำความผิดร้ายแรง ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรมที่มีประชาชนล้มต่ายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับผลงานอันใหญ่หลวง และยาวนานที่ท่านสร้างให้แผ่นดินและประชาชนจีน คุณความดีของท่านมีมากกว่าความผิดพลาด ประธานเหมา ยังคงเป็นผู้นไท่ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักของประชาชนจีน
     โจวเอิน ไหล  จุดเริ่มต้นนักปฏิวัติของโจวเอินไหล คือเมื่อเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหนันไค ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดกว้างทางความคิด  โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านประธานาธิบดีหยวน ซือ ข่าย และเมื่อจบการศึกษาจึงไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเหตุการณ์เคลื่นอไหว 4 พฤษภาคม 1919 โจวเอินไหลได้เป็นบรรณษธิการหนังสือสมาพันธ์นักเรียนเทีนยจิน แต่ถูกปิดไปพร้อมกับการจับกุมตัว โจว เอิน ไหล เขาถูกจำคุกเป็นเวลาครึ่งปี  เมื่อถูกปล่อยตัวเขาเดินทางไปฝรั่งเศส ในช่วงนั้นโจว..มีแนวความคิดด้าน
สังคมนิยมหลังจากได้อ่านประกาศพรรคคอมมิวนิสต์และหลักการแนวคิดคอมมิวนิสต์ ร่วมถึงหนังสื่อ “สงครามชนชั้น” ซึ่งในระหว่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสเขาได้มีส่วนร่วมทางการเมื่องอย่างต่อเนื่อง
    การช่วงชิงแผ่นดินหลายต่อหลายครั้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋ง ซึ่งในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์สามารถมีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งที่ต้องถอยร่นไปอยู่ไต้หวัน และประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น โดยเหมาเจ๋อตุง เป็นประธานาธิบดี และโจวเอินไหลเป็นนายกรัฐมนตรี
     เติ้งเสี่วยผิง เป็นผู้นำสุงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทศวรรษที่ 80s ถึงปี 2000 เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประชาชนจีน เป็นชนชั้นผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของเติ้ง เสียวผิง ประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก
     เติ้ง เสี่ยวผิง จบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าเรียนโครงการสำหรับนักเรียนจีนซึ่งมีนักปกครอง-นักปฏิวัติหลายคนของเอเซียเคยเรียน เช่น โฮจิมินห์ และโจว เอินไหล
     เติ้งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของเหมา เจอ ตุง และได้รับตำแหน่งสำคัญของพรรคหลายตำแหน่ง แต่ในภายหลังด้วยนโยบายที่ขัดแย้งกัน เติ้งเสียวจึงถูกขับจากตำแหน่ง และไปเป็นกรรมกรอยู่ที่โรงงานใน มณฑลเสฉวน เมื่อนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ไหลขึ้นครองอำนาจและพบว่าตนเองป่วยด้วยโรคมะเร็ง โจวเอินไหลจึงเรียกเรียกเติ้งกลับมาอีกครั้งเพื่อเป็นทายาททางการเมืองรับหน้าที่ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายที่เกิดจการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม กอปรกับความร่วมมือของประชาชน ทำให้ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แต่ต่อมาก็ถูกแก๊ง 4 คน ใส่ร้ายป้ายสี จนต้องออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่ง เป็นครั้งที่ 2
   
หลังจากแก๊ง 4 คนถูกล้มล้าง ในปีเดียวกันนั้นเอง พร้อมกับการสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ประชุมคณะกรรมการพรรคคอมิวนิสต์จีนชุดที่ 10 เต็มคณะครั้งที่ 3 มีมติให้เติ้งเสียยวผิงกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลอีกครั้ง เติ่งเสี่ยวผิง ได้รับการแต่งตั้งในที่ประชุมผู้แทรพรรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 11 สิงหาคม 1977 เป็นรองประธานพรรคคอมมิวนสต์ เรื่อนมีนาคม 1978 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาพที่ปรึกษาทางการเมือง โดย เติ้ง..เสนอให้มีการทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และให้พรรคหันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็ฯหลัก
    ธันวาคม 1978 ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 3 เป็นการเปิดศักราชใหม่ของประเทศ ทั้งในด้าน
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมพิเศษหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจำเพาะของจีน ภายใต้การนำของคณะกรรมการบริหารพรรครุ่นที่สองโดยมีเติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นแกนนำ
    กลางปี 1981 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 6 ได้มีการทบทวนแนวคิดของเหมาเจ๋อ ตุง ตามหลักและเหตุผล ได้มีมติคงไว้ซึ่งความสำคัญของอดีตผุ้นำเหมาในทางประวัติศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้น เติ้งเสียวผิงได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการกลางการทหาร(ผู้นำประเทศ)
      ทฤษฎีว่าด้วย “แมว” ที่เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมาก แม้ว่าในปัจจุบัน
“ไม่ว่าจะเป็นแมวดำแมวขาวขอให้จับหนูได้ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี”
     ชนบทที่กว้างใหญ่ของจีนได้ดำเนินวิธี”รับเหมาการผลิตถึงครัวเรือน”ขณะนั้นคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมณฑลอานฮุยได้ให้การสนับสนุนและชี้นำโดยดำเนินการตามระบบ “กำหนดการผลิตถึงที่นากำหนดความรับผิดชอบถึงคน” ระบบที่ว่านี้ นับว่าเป็นจุดทะลวงที่สำคัญภายใต้ระบบคอมมูนในขณะนั้น เรื่องนี้ก็ได้เกิดการโต้แย้งกันค่อนข้างรุนแรง กลุ่มผุ้นำจีนในยุคนั้น เต่งเสียวผิง แสดงความเห็นชอบวิธีการดังกล่าวในการประชุมสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคฯ ที่พิจารณาปัญหาดังกล่าว เติ้งเสียวผิงก็ได้แสดงข้อคิดว่า “รูปแบบการผลิตไหนเป็นการง่ายและเร็วต่อการฟื้นฟูและการพัฒนาการผลิตในภาคการเกษตรก็จะได้ใช้รูปแบบนั้น ขอแต่มวลชนยอมรับที่จะใช้รูปแบบไหน แม้จะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถทำให้ชอบด้วยกฎหมายได้ เขาได้ยกสุภาษิตชาวบ้านของมณฑลอานฮุยว่า “ไม่ว่าจะเป็นแมวเหลื่อง แมวดำจับหนูได้ก็ถือเป็นแมวดี” ต่อมาจึงเกิดทฤษฎว่าด้วย “แมว” ที่โด่งดังขึ้น ต่อมาก็ได้ถือเป็นทัศนะทางลัทธิอัตถะประโยชน์ที่ไร้แนวทางจุดยืน เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในช่วง “ปฏิวัติวัฒนธรรม”เหมาเจ๋อตงเวลาวิพากษ์เติ่ง..จึงใช้คำว่า “ยังเป็นแมวดำแมวขาวอีก” คำนี้จึงกลายเป็น “ไม่ว่าจะเป็นแมวดำ แมวขาว..” ถึงแม้เติ้งจะขึ้นๆ ลงๆ ทางการเมือง แต่ “ทฤษฎีว่าด้วยแมวดี” รับการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราไม่เพียงไม่ล้มเลิก นับวันกลับทรงอิทธิพลกว้างใหญ่ และมีบทบาทสำคัญต่อการปลดปล่อยความคิดของผู้คนในช่วงต้นของการปฏิรูปเปิดประเทศ
     “ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศแรกที่ต้องดำเนินนโยบาย “การปฏิรูปภายใน ภายนอกเปิดประเทศ”ของค่ายชนชั้นกรรมชีพสากล มาตรฐานในข้อนี้กลายเป็นความลำบากอันยิ่งใหญ่และมีลักษณะไม่แน่นอนสูง เพราะว่าการดำนเนินการปฏิรูปเปิดประเทศของจีนหลังปี 1978 เป็นการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ทางทฏษฎีและการปฎิบัติทางสังคม จำเป็นต้องดูดซับผลทางอารยธรรมของมนุษย์บนพื้นฐานการสรุปบทเรียนจากการปฏิวัติของจีนและขบวนการลัทะคิมมิวนิสต์สากลต้องละทิ้งการกระทำข้อผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา ประดิษฐ์คิดค้นนโยบายใหม่บางอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนเพื่อนำไปปฏิบัติซึ่งเป็นขบวนการการเปลี่ยนแปลงตัวเองของตัวผู้นำ มันเป็ฯการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่หาคำตอบที่สำเร็จรูปได้จากคัมภีร์ของมาร์ก เลนิน ฯ บรรดาปรมาจารย์ทั้งหลายหรือคำตอบที่ถูกต้อง หากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวก็ง่ายต่อทำให้ผู้คนเกิดความยุ่งเหยิงทางความคิด และเป็นไปได้ง่ายที่ผู้นำการปฏิรูปต้องตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบในเชิงทฤษฎีโดยถูกตราหน้าว่า “ไม่ใช่ผู้ศรัทธาลัทธิมาร์กซ์ที่แท้จริง”หรือไม่ก็ตกอยู่ในฐานะเสียบเปรียบทางคุณธรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน คือ “ไม่มีความจงรักภักดี ความกตัญญู เมตตาธรรมและคุณธรรม”

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Jame Earl Carter

      เจมส์ อี. คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 39 จาพรรคเดโมเครติกนำการบริหารประทเศระหว่างปี 1977-1981 โดยมี Walter F. Mondal เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า จิมมี่ คาร์เตอร์

     จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกันที่จบจากโรงเรียนนายเรือ เป็นจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด เป็นคนแรกที่ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบิเลือกเดินบนถนนเพนซิลวาเนียพร้อมภรรยาจากอาคารพิธีกลับทำเนียบขาวเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของความเป็นสามัญชนของประธานาธิบดี
     นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เน้นในเรื่องการเคารพในสิทธิมนุยชน อันหมายถึรัฐบาลต้องยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศสนา การเดินทาง แรลงคะแนนรวมถึงได้รับการพิพากษาที่ยุติธรรมเมืองกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรือยกเลิกการให้ความช่วยเหลือและหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตามที่ประธานาธิบดีคาร์เตกรอืเชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิมธิของประชาชนอันกได้แก่บางประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้มีนโยบายมุ่งลดจำนวนกองกำลังทหารอเมริกันที่ประจำอยูนอกสหรัฐอเมริกา และละการขายอาวุธแก่ต่างชาติ รวมถึงลดการแข่งขันเพื่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
     สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็ฯทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 1979 จีนแผ่นดินใหญ่หลังการเสียชีวิตของเมา เซตุงและ จู เอนไล ในปี 1976 อยู่ภายใต้การนำขอกลุ่มจีนหัวใหม่ ไม่นิยมความรุนแรงและมุ่งพัฒนาประเทศเร่มด้วยหัว กกฟง ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคคิมมิวนิสต์ในปีเดียวกันนั้นเอง โดยมีเติง เสี่ยวผิง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหร้าพรรคอมมิวนิสต์ เติง เสี่ยวผิงให้ความสนใจอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มบทบาทและความสำคัญของจีนในเวที่การเมืองโลก อันเป็นในช่วงเวลาเดียวกันกับประธานาธิบดีคาเตอร์เองต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่นำสู่การพบกันของตัวแทนทั้งสองชาติเพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการและในปี 1978 รัฐบาลอเมริกันนที่วอชิงตันและรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ประกาศให้โลกรู้ในแถลงการณ์ร่วมกน กำหนดสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอยางเป็นทางการ เติง เสีย่ยวผิง เพีมความกระชับสัพันธ์ด้วยการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกามีการลงนาในข้อตกลงระหว่างเติง เสี่ยวผิงกับประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ทำเนียบขาว เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านการค้า ด้านวัฒนธรรม และด้านวิชาการวิทยาศาสตณืและเทคโนโลยี ปี่1980 หัว กกฝง หมดอำนาจ เติง เสียงผิง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดของจีนและคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา
    ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ลอโอนิค ไอ.เบรสเนฟ ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำรุสเซียมุ่งหวังใช้นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์หรือสร้างความสัมพันะอันดีกับโลกเสรี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการเทคโนโลยีพทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ จากโลกเสรีความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1963-1977 เป็นไปด้วยดี แต่ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตดรอ์ความสัมพันะระหว่างรุสเซียกับอเมริกาเลวร้ายลง เพราะลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ เลิกยึดมั่นในนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรี และผู้นำทั้งสองต่างไม่พอใจในท่าที่และการกำหนดนโยบายต่างประเทศระหว่างกัน
     รุสเซียไม่พอใจที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นโยบายสิทธิมนุษยชน หมายถึงรัฐบาลต้องเคารพและยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศาสนา การเดินทาง การลงคะแนนตลอดจนการได้รบคำพิพากษาที่ยุติธรรมเมื่อกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรอยกเลิกการให้ความช่วยเหลือหรือหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตาทที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิทธิประชาชน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเท็จจริงคือหนึ่งประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารแก่อาร์เจนตินา อุรุกวัย นิคารากัวและเอธิโอเปีย เพราะเชื่อแน่ว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สองประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล่าววิจารณ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลรุสเซียที่ระงับและปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซียที่เรียกร้องเพื่อการอพยพออกจารัสเซียสู่โลกเสรีว่าการกระทำเช่นนี้บ่งชี้ชัดว่ารัฐบาลกดขี่ประชาชน ไม่เคารพในสทิธิเสรีภาพประชาชน และละเมิดสิทธิมนุษยชน สามประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารเพียงช่วงสั้น ๆ แก่ ฟิลิปินส์ อิหร่านและเกาหลีใต้เพราะทั้งสามชาติมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องลงโทษเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวโจมตีของรุสเซยในประเด็นสหรัฐอเมริกาเลือกปฏิบัติ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงความช่วยเหลือแก่ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ เพราะรัฐบาลเป็นคนผิวขาว ปกครองคมผิวดำ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลผิวขาวกดขี่ข่มเหงประชาชนผิวดำ สหรัฐอเมริกาก็ยังคงความช่วยเหลือเพราะแอนดรู ยัง ทูตสหรัฐอเมริกาประจำองค์การสหประชาชาติเป็นหลักให้การคุ้มครองรัฐบาลผิวขาวและปรธานาธิบดีคาร์เตอร์คล้อยตามทุกประการ ห้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและอูกานดาเพราะรัฐบาลในสงอประเทศเป็นรฐบาลเผด็จการเต็มรูปแบบ
    รุสเซียหวาดระแวงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญเพราะสหรัฐอเมริกาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในวันที่ 1 มกราคม 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ราบรื่นและหยุดชะงักในปี 1960 เมื่อรุสเซียภายมใต้การนำของ นิกิต้า ครุซอฟ นำการบริหารรุสเซียประกาศใช้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คือเสียงการทำสงครามกับโลกเสีร ขณะเดียวกันเพื่อการแข่งขันระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและโครงการอวกาศจีนคอมมิวนิสต์คิดว่าการแข่งขันกับโลกเสรีคือความรุนแรงอันหมายถึงสงครามเท่านั้น และโจมตีรุสเซียว่าทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รุสเซียตอบโต้ทันที่ในปี 1960 ด้วยการเลิกให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่จีน  ในปี 1962 รุสเซยปฉิเสธให้การสนันสนุนจีนคอมมิวนิสต์เมื่อมีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับอินเดีย รุสเซียยอมลงนามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในสนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ อวกาศภายนอกและในมหาสมุทร เมื่อกองกำลังทหารผสมรุสเซีย เอยรมันตะวันออก บัลกาเรีย โปแลนด์ และฮังการี เคลื่อนเข้าบดขยี้ชาวเชคโกสโลวาเกียกลุ่มปฏิรูป จีนคอมมิวนิสต์ประณามการกระทำของรุสเซียและกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างกัน ทังรุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนด้านเสบียงและยุทธปัจจัยแก่เวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันและดร.เฮนรี่ เอ. คิสซิงเกอร์ เห็นควรเยือนจีนคอมมิวนิสต์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้การยอมรับในความเป็นชาของจีนคอมมิวนิสต์และเพื่อการเจรจาให้จีนคอมมิวนิสต์หรือเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม การเยือนจีนคอมมิวนิสต์มีชึ้นในปี 1972 ผลของการเยือนนำสู่การค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนดลยีและการท้องเที่ยวระหว่างกันรวมถึงการจัดตั้งสำนักงานของรัฐบาลบทั้งสองประเทศ ที่กรุงปักกิ่งและวอชิงตัน ดี.ซี.การเยือรุสเซียเพื่อกระชับความสัมพันะ ร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ และเจรจาให้รุสเซียลดหรือเลิกสนับสนุนเวียนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันเยือนรุสเซียในปี เดียวกันผลของการเยื่อนนำสู่การค้า และเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนโลยี และความร่วมมือในโครงการอวกาศระหวางกันรวมถึงลดความตึงเครียดทางการเมืองด้วยการร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 1 และที่สำคัญยิ่งคือสหรัฐอเมริกาสามารถออกจากสงครามเวียดนามด้เป็นที่เรียบร้อยในปี 1973 ประธานาธิบดีฟอร์ดสานต่อความสัมพันะกับจีนคอมมิวนิสต์ด้วยการเยือนจีนในปี 1975 เมา เช ตุง และจู เอน ไล เสียชีวิตในปี 1976 ในป 1977 จีนคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้การนำของกลุ่มคนหัวใหม่ ผู้นำคนใหม่ไม่นิยมความรุนแรง มุ่งพัฒนาประเทศ มุ่งนำจีนเพ่มการมีบทบาทในเวทีการเมืองโลก และมุ่งกระชับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ก็ต้องการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน นำสหรัฐอเมริกาสู่การตัดความสัมพันะทางการทูตกับจีนไต้หวัน และเปิดความสัมพันะทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งรุสเซียเฝ้าติดตามการพัฒนาความสัพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่ตลอดเวลา และเกิดความหวาดระแวงเกรงอันตรายที่อาจจะเกิดแก่รุสเซียได้ในอนาคต…

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

international relations (Cold War)

  
  ภาวะ “สงครามเย็น”กับการดำเนินนโยบายของอภิมหาอำนาจสองประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีดังนี้
     การเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานับจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แบ่งศึกษาได้เป็น 2 ระยะได้แก่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และหลัง
     - แนวนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 –1980 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 6 คน แต่แนวนโยบายต่างประเทศทีเป็นหลักมีเพียงเเนวทางเดียว คือ “การสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งความแตกต่างในแต่ละสมัยจะเป็นเรื่องวิธีปฏิบัติ และความเข้มของนโยบาย
แฮรี เอส ทรูแมน ในสมัยนี้นโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเข้มสูง ทั้งนี้เพราะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของในหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์และฮังการี ในปี 1956 และเชโกสโลวะเกียในปี 1968 นอกจานั้น ตุรกี ยังถูกคุกคาม และดินแดนบางส่วนของอิหร่านถูกยึดครองโดยกองทัพของสหภาพโซเวียตผุ้นำของสหัฐอเมริกาจึงเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าสหภาพโซเวียตจะขยายลัทะคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก เพื่อทำลายระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการหยุดยั้งการดำเนินงานของสหภาพโซเวียต
     ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยและด้วยความรู้สึกต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงเป็นผุ้นำในการดำเนินการสร้างระบบพันธมิตรที่มีกษณะเป็นแนวปิดล้อมคอมมิวนิสต์ขึ้น กล่าวคือ ภูมิภาคยุโรปจะมีองค์การนาโต เป็นฐานดำเนินการ ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีองค์การเซ็นโตเป็นฐานดำเนินการ ส่วนเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้จะมีองค์การซ๊โต เป็นฐานดำเนินการและนอกจากนั้น ยังมีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งเป็นหน่วยร่วมปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริ่มพลังในการสกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ สหรัฐอเมริกาใช้หน่วยงานสืบราชการลับหรือ ซีไอเอ.CIA เป็นเครื่องมือในการเข้าแทรกแซงฝ่ายตรงกันข้าม และรักษาความมั่นคงของกลุ่มประเทศสรีประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียนร์เพิ่มมากขขึ้น เพื่อจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกดดันด้านนดยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์
จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ในระยะนี้มีการเพิ่มขีดความสามารถที่จะรักษาเสถียรภาพในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกที่คาดว่าจะถูกคุกคามจากการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ อาทิ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารเข้าตรึงในประเทศลา เขมร และเวียดนาม การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตระหว่างปี 1961-1963 ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์เบอร์ลิน จนนำไปสู่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน วิกฤตการณ์คิวบาเป็นต้น
ลินคอม บี. จอห์สัน นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง สหรัฐอเมริกาจึงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายที่ทำการต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ เช่น ให้การสนับสนุนทงทหารอย่างเต็มที่ในสงครามแวเยดนามในสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตา นธยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วยนี้จะไมเสี่ยงต่อการทำสงครามโลก เพราะการทำสงครามโลกหมายถึงการทำสงครามนิวเคลียร์สหรัอฐอเมริกาหันมสใช้วิธีรณรงค์ทางการทูตควบคู่ไปกับการผ่อนคลายความกดดันทางทหารลงนับตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา
ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน และเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เป็นช่วงที่ยุทธศาสตร์ทางการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบ 2 ขั้วอำนาจอันได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มาเป็นรูปแบบ 3 ขั้วอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาจึงมีการปรับตัวตามยุทธศาสต์การเมืองโลกไปด้วย อย่างไรก็ตาม นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงเดิม แต่ในระดับปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าพัวพันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองเต็มรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากการประกาศหลักการนิกสัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้มีการลดบทบาททางทหารของสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอเมริกาจะจัดหาทั้งอาวุธและกำลังทหารให้แก่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิต์ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนประเทศเกาหลีและเวียดนาม มาบัดนี้ สหรัฐอเมริกาจะให้ความ่วยเลหือเฉพาะด้านอาวุธและการเงินเท่านั้น และจะให้กับประเทศที่พร้อมจะหากำลังพลของตนเอง จึงกล่าวโดยทั่วไปได้ว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะหว่าง เป็นนโยบายลดความตึงเครียด เหตุกาณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ประธานาะบดีนกิสันเดินทางไปเยื่อนจีนคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาถอยทัพออกจากเวียดนามในลักษณะของการพ่ายปพ้ และปล่อยให้สามประเทศอินโดจีนอันได้แก่ประเทศลาว เขมร และเวียดนาม ตกอยู่ในความยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวีย นับจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2-1980 แนวนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเพียงประการเดียว คือ “การสร้างความมั่นคงให้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งภายในประเทศสหภาพโซเวียตและในหมู่ ประเทศบริวาร” ทั้งนี้โดยใช้นโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำค่ายเสรีประชาธิปไตย ทำให้เห็นลักษณะของการแข่ขันระหว่าง 2 ค่ายอย่างแท้จริง
โจเซฟ สตาลิน ดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยใช้กลยุทธต่าง ๆ เช่น การเพิ่มกำลังทหา การสะสมอาวุธ การเร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ การสร้างค่ายของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ขึ้นอย่งมั่นคง เป็นต้น
สมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ ในช่วงเวลานี้สหภาพโซเวียตใช้วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยวิธีลดการเผชิญหน้าลงบ้าง และยอมรับหลักการอยู่ร่วมกัน โดยสันติ แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งคิดค้นและสร้างอาวุธยุทธศาสตร์ขึ้นมาอีก จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจน
สมัยนิกิตา ครุสซอฟ มีวิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สำคัญยังคงสืบต่อจากสมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ คือ ใช้นโยบายเผชิญหน้าควบคู่กับการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกัยอย่างสันติ
สมัยผู้นำร่วมเบรซเนฟ-โคชิกิน ยุคนี้การเมืองโลกเปลียนเป็น 3 ขั้วอำนาจ ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีปัญหากับจีนคอมมิวนิสต์วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อสหรัฐอเมริกาจึงปรับกระบวนการไปบ้าง กล่าวคือ จะไม่นิยมเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า แต่จะถือหลักการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกันอย่างสันติ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน
แนวนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนนับจากปี 1949 เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ได้เปลี่ยนระบบการเมืองการปกครองเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ จนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะคลอยตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศและผกผันตามการดำเนินนโยบายต่างประเทศจีนคอมมิวนิสต์จึงพอแบ่งได้เป็นช่วงเวลาดังนี้
    ค.ศ. 1949-1954 เป็นระยะเริ่มสร้างอำนาจของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินนโยบายกระชับมิตรกับสหภาพโซเวียต กล่าวคื อประธานเมา เจอตุง เดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตพร้อมกับมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพสามสิบปี สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้จีนคอมมิวนิต์ต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวเพราะ “รัฐบาลคอมมิวนิสต์”ยังไม่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ กล่าวคือทางด้านการเมืองระยะดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามกลางเมืองกับฝ่ายจีนคณะชาติ กลุ่มผู้นิยมจีนคณะชาติอาจยังมีอยู่ นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังสแดงจุดยืนที่จะสนับสนุนรัฐบาลประชาะไตยของนายเจียนไคเช็คหรือฝ่ายจีนคณะชาติ ความหวาดเกรงว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์จะถูกคุกคามจึงเกิดขึ้น ส่วนทางด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสภาพทรุดโทรมทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถช่วเหลือตังเองได้อันเป็นผลมาจากภาวะสงครามกลางเมืองและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สหภาพโซเวียตได้ให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลจีนอมมิวนิสต์เป็นอย่างมากอาทิ การให้เงินกู้ระยะยาวและมีระยะปลอดหนี้ ตลอดจนได้ส่งผู้เชียวชาญสาขาต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาทางการทหารจำนวนหนึ่งมาให้รัฐบาลจีน ความผูกพันระหว่างจีนคอมมิวินสต์กับสหภาพโซเวียตจึงมีอย่างแน่นแฟ้นในช่วงนี้
     เริ่มสร้างอำนาจ 1949-1954 เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศด้วยการเร่งกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือที่เรียก ว่า “ผู้ไม่ภักดี” ส่วนด้านความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ จะเป็นการเร่งแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในเขตประเทศใกล้เคียงตามหลักการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในปะเทศเกาหลีและเขตอินโดจีน
     1955-1961 ในช่วงเวลานี้จีนคอมมิวนิสต์ มีความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสำคัญ
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไม่เป็นแนวทางเดียวกันตลอดระยะ 6 ปี กล่าวคือ ในช่วง 2 ปีแรก รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ใช้นโยบายขยายความร่วมมือ อาทิ ยอมรับความเป็นกลางของประเทศโลกที่สาม ผู้นำโจวเอินไหลเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการประชุมที่บันดุงประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1956 เป็นต้นจึงจัดได้ว่าเป็นระยะที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายประนีประนอม ในปี 1957-1961 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้นโยบายแข็งกร้าวอีกครั้งหนึ่งกลับมาให้ความสำคัญการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ จึงให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ต่าง ๆ ระยะนี้เองทำให้จีนมีปัญหากับประเทศเพื่อบ้าน ได้แก่ ธิเบต และอินเดีย กล่าวคือรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหาเข้าปราบกบฎในธิเบตอย่างรุนแรง องค์ดาไลลามะ ผุ้นำทางศาสนาและการเมืองของธิเบตลี้ภัยไปพำนักที่ประเทศอินเดียย การที่รัฐบาลอินเดียให้ที่พักพิงกับองค์ดาไลลามะครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เป็ฯอย่งมาก ซึ่งความไม่พอใจของจีนคอมมิวนิสต์ที่มีต่อการที่อินเดียให้ความช่วยเลหือธิเบตจึงได้พัฒนากลายเป็นกรณีพิพาทพรมแดนในปี 1962 และต่อมาถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการทหารจะยุติลงแต่กรณีครั้งนั้นก็ได้มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนคอมมิวนิสต์และอินเดียเสื่อมทรามลงเป็นอย่างมาก
     1961-1965 เป็นช่วงเวลาที่ลักษณะการเมืองระหว่างประเทศเป็น 3 รูปแบบ 3 ขั้วอำนาจอย่างเด่นชัด จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต และนอกจากนั้นยังพร้อมที่จะแข่งขันด้วย ในการเสริมนโยบายดังกล่าวนี้ จีนคอมมิวนิสต์ใช้วิธีการหาความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายในเอเซีย แฟริกา และลาตินอเมริกา ทั้งนี้โดยสร้างกระแสความรู้สึกต่อต้านลัทะจักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กับการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ อาทิ ปากีสภาน อัฟกานิสถาน พม่า ศรีลักา และให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามเหนือ
     นโยบายการแสวงหาแนวร่วมของจีนคอมมิวนิต์มีเป้าหมายไปสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมด้วย วิธีการที่ใช้กับกลุ่มปรเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมดังกล่าวจะขายอุปกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมให้แก่จีน การดำเนินนโยบายนสร้างมิตรประเทศเช่นนี้ นอกจากทำให้จีนคอมมิวนิสต์มีมิตรเพิ่มขึ้นแล้วยังได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี 1965 โดยในที่ประชุมมีประเทศให้เสียงสนับสนุนถึง 47 เสียงคัดค้าน 49 เสียง และงดออกเสียง 3 ประเทศ
     ในการปฏิวัติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในปะเทศสาธารณรัฐประชาชนจันกระแสทางสังคมเกิดความกดดันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อันได้เเก่ เรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง และการใช้ความรุนแรง ระยะยนี้เองเมา เจอ ตุง และผู้สนับสนุนที่สำคัญ ได้ปลุกระดมนิสิตนักศึกษา ทำการก่อตั้งขบวนการเรดการ์ด ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการปฏิวัติสังคมจีน มีการรณรงค์ต่อต้านและประณามผุ้ที่เมา เจอ ตุง เห็นว่ากำลังมุ่งแนวทางทุนนิยมและลัทธิแก้
     การดำเนินนโยบายในช่วงนี้ มีความแข็งกร้าว มีการเข้าแทรกแซง ให้ความช่วยเหลือขบวนการปฏิวัติในประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการใช้สงครามกองโจร ในช่วงนี้เองที่สงครามเวียดนาม ตลอดจนการสู้รบในพื้นที่อินโดจีนเพิ่มความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนคอมมิวนิสต์จะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในช่วงนี้ แต่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ก็มิได้ให้ความช่วยเลหือในด้านอาวุธแก่ประเทศที่จีนคอมมิวนิสต์สนับสนุนมากนัก
     1965-1976 นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลเสียหายต่อประเทศจีนคอมมิวนิต์เองหลายประการทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศการถดถอยทางเศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศในสายตาของชาวโลกก็ไม่ดีนัก นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมจึงถูกละไป ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้พยายามสร้างความสงบเรียบร้อย และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่เสียหายในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมให้กลับคืนดีขึ้น
     เหตุกาณณ์หลายอย่างมีผลต่อการปรับนโยบายทางการเมืองและการต่างประเทศของจีนคอมมิวนิสต์ กล่าวคือ ในส่วนของค่ายคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนกับสหภาพโซเวียต การใช้นโยบายหลักการเบรสเนฟ ที่กล่าวถึงการมีสิทธิแทรกแซงของสหภาพโซเวียตต่อประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงในค่ายเสรีประชาธิปไตย ได้แก่การเพ่มบทบาทของญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศได้ปลเยนจาก รุปแบบ 2 ขั้วอำนาจมาเป็นหลายขั้ยอำนาจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้จีนคอมมิวนิสต์ปรับนโยบายต่างประเทศของตนเอง นโยบายต่างประเทศแบบแข็งกร้าวจึงถูกเลิกไปในที่สุด ดังนั้น ระยะต้นของทศวรรษที่ 1970 จีนคอมมิวนิสต์ได้กลับมาใช้นโยบายสร้างมิตรประเทศอีกครั้ง ได้เริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับแคนาดา ในปี 1970 ได้เชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนจีน เป็นการเร่ม “การทูตปิงปอง” จนนำไปสู่การเจรจาลับกับนายคิสวิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ  และการเดินทางเยื่อนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีนิกสัน “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้”ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ของสองประเทศ จีนคอมมิวนิสต์และสหรัฐอเมริกา ให้กลับคือสู่ระดับปกตอในเวลาต่อมา
    ปี 1971  จีนคอมมิวนิสต์ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้เปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ส่วนประเทศไทยได้เปิดความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ ในปี 1975
     1976-1979 เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศครั้งใหญ่ กล่าวคือ นายโจวเอินไหล และเมา เจอ ตุง ได้สิ้นชีวิตในปี 1976 การสูญเสียผุ้นำระดับสูงลงในเวลาไล่เลี่ยกันได้นำไปสู่การแย่งชิงอำนาจกันเองในพรรคคอมมิวนิสตื กลุ่มอำนาจที่ต่อสู้กันคือกลุ่มของนางเจียงชิง ภริยาหม้ายของ เมา เจอ ตุง กับพวก ที่ชื่อเรียกว่า “แก็งสี่คน” กับกลุ่มของนายหว่าโก๊ะฟง และเติ้งเสี่ยวฝิง
      กลุ่มนายหว่าโก๊ะฟงและเติ้งเสี่ยวผิงเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้ทางกาเมืองครั้งนี้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ในยคุ “หว่า-เติ้ง” ได้ใช้นโยบายพัฒนาประเทศที่มีชื่อเรียกว่า “สี่ทันสมัยFour Modernzation” มุ่งพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการสนับสนุนนโยบายที่ทันสมัยให้บรรลุผล ผุ้นำยุค “หว่า-เติ้ง”ได้ดำนินการปฏิวัติโครงสร้างทางการปกครองของรัฐบาลกลางและองค์การจัดตั้งต่างๆ ของพรรค โดยมีเจตนาลดประมาณข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงลง 1 ใน 3 สร้างระบบเกษรียณอายุเพื่อให้คนรุ่นใหม่ให้ได้ขึ้นมารับช่วงงานาต่อไป ทำการปราบปรามคอรับชั่นอย่งจริงจัง ที่สำคัญได้ประกาศยกเลิกระบบคอมมูน และได้นำระบบสหกร์เข้ามาใช้แทน
       ด้านการเมืองต่างประเทศของยุคเปลี่ยนผู้นำจะเป็นไปในแนวความคิดของเติ้งเสี่ยงผิงกล่าวคือดดยภาพรวม จีนคอมมิวนิสต์ ดำเนินนโยบายผูกมิตรกับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ก็ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เป็ฯผลจากความเชื่อในทฤษฎีสามโลก กล่าวคือ ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์มีแนวความคิดว่า ประเทศในโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหรอือาจเรียกได้ว่า “สามโลก”

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...