ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ New Industrialized Countries : NIC เป็นประเภทการจำแนกประเทศโดยนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ เป็นประเทศทีมีสถานะทางเศรษฐกิจยังไม่เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ถือว่มีสถานะดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศาษฐศาสตร์มหภาค และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรกเร่ิมและมีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ในบางประเทศมีการอพยพของประชากรจากชนบทหรือภาคเกษตรกรรมเข้าสู่เมืองใหญ่
ลักษณะประเทศอุตสาหกรรมใหม่ จะมีลักษณะคือประชากรมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปเป็นภาคอุตสา โดยเฉพาะภาคการผลิต เศรษฐกิจตลาดเสรีเพิ่มมากขึ้น มีการค้าเสรีกับชาติอื่นๆ มีองค์กรขนาดใหญ่ของชาติดำเนินงานอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก มีการลงทุนจากต่างประเทศมาก มีความเป็นผู้นำทางการเมืองภายในภูมิภาค ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ส่วนสิงคโปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจระบบเปิดมีการค้าติดต่อกันกับต่างประเทศมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย..มีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับประเทศในเอเซียด้วยกันคือ สิ่งคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศต้องนำเข้สินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ และสินค้าประเภทกึ่งวัตถุดิบ และวัตถุดิบ อาทิ โลหะ เคมีภัณฑ์ กระดาษและเยื้อกระดาษ สินค้าออกของไทย ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาสินค้าอกของไทยมีมูบค่าเพ่ิมขึ้น 60 เท่าตัว เมื่อเริ่มแผนพัฒนาฉบับที่ 1 สินค้าออำประเภทผลิตผลเกษตรกรรมจะมีสัดส่วนค่อยช้องสูงในช่วงต้นๆ ของแผนพัฒนาฯ แต่ภายหลังรัฐบาลได้ส่งเสริมสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมทีสัดส่วนการส่งออกสูงกว่าสินค้าเกษตรกรรม
แม้ประเทศไทยจะประสบปัญหาการขาดดุลการค้ากับต่างประเทศติดต่อกันโดยตลอด แต่ในด้านความเชื่อถือทางการเงินระหว่างประเทศ เงินบาทของประเทศไทยก็ได้ชื่อว่มีความมั่นคง เนื่องจากดุลการชำระเงินของไทยเกินดุลทุกปี สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดุลชำระเงินของประเทศไทยเกินดุลคือมีการเคลื่อนย้ายเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยจึงผูกพันเข้ากับระบบการค้าโลกอย่างเหนียวแน่น ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นประเทศสมาชิกในช้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มคล้ายกับการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคอื่นๆ คือ การยกเลิกกำแพงภาษีที่มีระหว่างประเทศสามชิก และกำหนดมาตรการทางเศรษฐกิจอื่น ร่วมกัน ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและสินค้า GATT ซึ่งเป็นองค์กรที่เีก่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการค้าของโลก ซึ่งประเทไทยมีพันธะสัญญาที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเหล่านนั้น แต่ละประเทศต่างรวมตัวกันเป็นเขตเศาษฐกิจในลักษณะต่าง กันประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะดำเนเนการเฉพาะภายในกลุ่มในขณะเดียวกันก็มีนโยบายกีดกันสินค้าจากภายนอกกลุ่ม ทำให้เป็นการยากที่ประเทศไทยจะหาตลาดทางการค้า ประเทศไทยจึงต้องดำเนินนโยบายทางการค้าโดยการเจรจาทางการค้ากับประเทศคู่ค้าดดยตรงเพื่อรักษาตลาดทางการค้า ในขณะเดียวกันก็พยายามหาทางขยายตลาดไปสู่ภูมิภาคที่ยังมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยแข้มแข็งนัก
ประเด็นปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
ปัญหาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในการยึดอำนาจครั้งนี้พื้นฐานขแงวิธีคิดและการใช้วิธีการเป็นการขัดแย้งกับประชาธิปไตย ที่เกิดจาัฒนธรรมอำนาจนิยม ทั้งนี้ทั้งผู้ยึดอำนาจและผู้ถูกยึดอำนาจในครั้งนี้จึงมีทั้งด้านที่ถูกและด้านที่ผิดประชาธิปไตยที่ได้มาโดยการกำลังหรือโดยการซื้อมาล้วนสร้างปัญหาต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยทั้งส้ิน แม้ว่าอาจจะมีมิติของปัญหาแตกต่างกัน ก็ตาม
วงจรอุบาทว์ วงจรความขัดแย้งทางอำนาจ อิทธิพล และผลประโยชน์ระหว่งชนชั้นนำทางการเมืองสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่กำลังอำนาจและควบคุมบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มธุรกิจนายทุนที่ถือเงินทุน และฐานรากกลุ่มการเมืองใต้อุปถัมภ์ โดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา จากพื้นฐานความอ่อนแอของวัฒนธรรมประชาธิปไตยของสังคม ประกอบกับการให้คุณค่ากับการเมืองของ "เจ้านาย" หรือชนชั้นนำ ตามพื้นฐานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมศักดินาและระบบอุปถัมภ์ คนไทยจำนวนไม่น้อยจึงพอใจเพียงการเลือกฝ่ายทางการเมืองหรือกลุ่มชนชั้นนำ โดยไม่ได้ยึดถอืความศรัทธาหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ปัญหาการขาดดุลยภาพระหว่างแนวคิดและสถาบันทางการเมืองแบบเก่ากับใหม่ กล่าวคือ ระหว่างแนวคิดและสถาบันอำมาตยาธิปไตยกับสถาบันการเมืองประชาธิปไตย ที่พยายามสร้างขึ้นมาตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งหากหาดุลภาพทีเหมาะสมของสองแนวคิดนี้จะเป็นการสะสางปัญหาการขาดการพัฒนาและปัญหาการเมืองในไทยได้เป็นอย่างดี
AEC Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ อันประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วกัน รูปแบบคล้าย กลุ่ม Euro Zone
การเปรียนแปลงที่จะตามมา คือ การลงทุนจะเสรีอย่างมาก ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบิน เพราะเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาค การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย ยี่สิบห้าเปอร์เซนต์ ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างมาก...หากไม่มีการวางแผนที่ดีปัญหาสังคมจะรุนแรงมาก
ระบบการขนส่งใน AEC จะส่งผลดีต่อประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลางของอาเซียน
ความพร้อมของภาคเอกชนไทยที่กำลังก้าวสู่การแข่งขันบนเวทีโลกเพื่อรับโอกาสและศักยภาพที่กลุ่มอาเซียนมีอยู่ เพราะประเทศไทยมีความคุ้นเคยและพอใจกับคำว่าแค่นี้ แต่ในเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่สามารถให้ธุรกิจไปโตในต่างประเทศได้ อย่างที่สิงโปร์และญี่ปุ่นเป็น และมาเลเซียกำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่นแปลงครั้งนี้ เห็นได้จากการลงทุนของกลุ่มซีไอเอ็บี จากมาเลเซียที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเซียมากขึ้น
ผลกระทบจาก เออีซีต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือ sme ของไทยประกอบด้วย
เชิงบวก ขยายช่องทางและโอกาสของสินค้าไทยในการเข้าถึงตลาด อาเซียนซึ่งประกอบด้วยประชากรกว่า หกร้อยล้านคน รวมถึงการใช้อาเซียนเป็นฐานในการส่งออกไปยัง อาเซียน + สาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) และอาเซียน + หก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย)
โอกาสในการเพ่อมพูนการค้าระหวางประเทศสามาชิกอาเซีนเนื่องจากประเทศสมาชิกต้องยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี
ลดต้นทุนการผลิตจากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตได้ในระาคาต่ำลง และเพ่มทางเลือกให้ผู้ผลิต สามารถนำเข้าได้จากหลายแหล่งมากขึ้น
ผู้บริโภคได้รับประโยชน์
เชิงลบ คู่แข่งและสภาพการแข่งในตลาดเพิ่มสูงขึ้น
สินค้าที่ไม่ได้มาตฐาน คุณภาพต่ำเข้ามาขายในประเทศมากขึ้นหากไม่มีมาตรการป้องกัน
จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหย๋คาดการณ์ว่า เออีซี จะส่งผลกระทบทางบวกต่อกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างแลเครื่องใช้ในบ้าน กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็ทรอนิกส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและยา นกอจานี้น ยังส่งผลกระทบทางบวกต่อกิจการขนาดใหญ่และกิจการที่มีการส่งออกและการนำเข้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น