วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Dunkirk

   

 กองกำลังผสม สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวฯรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือยังคงมุ่งหน้าต่อ โดยการยึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็ฯจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญทีสุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กองกลังเยอรมันสามารถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตรจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั่เศส-เบลเยี่ยม เมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมจึงแพ้ศึกในครั้งนี้
      ปัญหาที่ตามมาของสัมพันธมิตร คือจะอพยพทหารสัมพันธมิตรให้กลับไปยังเขตปลอดภัยในประเทศอังกฤษอย่างไรให้ได้หมดอ่อนฝรั่งเศสจะถูกยึดและทำลาย
     22 พฤษภา 1940 ปฏิบัตกการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น ภายใต้รหัส ยุทธการไดนาโม โดยมีพลเรือโทเอบร์แทรม แรมเซย์เป็นผู้สั่งการจากมเืองโดเวอร์  โดยจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยสั่งการเรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกันมุ่งหน้าไปยังเมืองดันเคิร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแผ่งเกาบริเตนใหญ่กลับมายังประเทศอังกฤษภายในสองวัน
      27 พฤษคม 1940 กองเรื่อสามารถนำกำลังกลับมาได้ 120,000 นาย รัฐบาลสหราชอาณาจักรทำการของความร่วมมือพลเรือที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ซึ่งมีความยาว 30-100ฟุต ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพครั้งนี้ ในคืนเดียวกันการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกจึงเริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึง เรือจับปลา,เรือเก่าที่ถูกซ่อมแซม,เรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวีรวมพลกันที่เมืองเชียร์เนสและมุ่งหน้าไปยังดันเคิร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตกลับแต่เนื่อจากการระดมยังด้วยปืนใหญ่อย่างหนัก มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาในครั้งนี้
   
      28 พฤษภาคม 1940 เรือพิฆาตอีกสิบลำถูกเรียกเข้าปฏิบัติการอพยพครั้งที่ 2 ในตอนเช้าแต่ไม่
สามารถเข้าประชิดขายฝั่งได้มากพอเนื่องจาน้ำตื้นเกิน อย่่างไรก็ตามทหารหลายพันนายได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กมีประโยชน์มากกว่าในบางสถานะการ อู่ต่อเรือเริ่มต้นหาเรือที่มีขนาดเหมาะสมและให้รวมกันที่เมือง เชียร์เนส แชทแฮม และโดเวอร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีเยียม พร้อมกลับทหารอี 16,000 นายที่กลับมาได้ แต่ยุทธการเพิ่มมาตรการทางอากาศของเยอรมันทำให้เรือหลายลำถูกอับปางและอีกหลายลำไ้ด้ีรับความเสียหาย
     29 พฤษภาคม 1940  กองกำลังยานเกราะของเยอรมันหยุดการบุกเมืองดันเคิร์กและให้ทหารราบและกองกำลังทางอากาศทำาการบุกต่อ ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ นำมาใช้และไ้ด้ผลดีในการบุกโปแลนด์ตแ่ต่กลับไร้ผลในการนำมาใช้ครั้งนี้( การที่กองยานเกราะของเยอรมันถูกฮิตเลอร์สั่งหยุดนั้นเน เนื่องจากฮิตเลอร์มีความต้องการที่จะปล่อยอังกฤษข้ามช่องแคบ คำสั่งนี้ถูกท้วงติงอย่างหนักจากนัการทหารระดับสูงของเยอรมัน เพราะทั้งๆ ที่สามารถทำลายหรือจับทหารพันธมิตรเป็นเชลยได้ทั้งหมด แต่เพราะฮิตเลอร์คิดว่า ชาวเยอรมันและอังกฤษนั้น มีความใกล้เคียงกันทางสายเลือดถือว่าเป็นเผ่าพันธ์ชั้นสูง และเพื่อหวังว่าอังกฤษจะยอมรับคำของสงบศึกและเป็นพันธมิตรกับตน แต่อังกฤษปฏิเสธโดยตบอดกระทั่งจนสงคราม) มีทหาร14,000 นายอพยพกลับอังกฤษในวันนี้
    30 พฤษภาคม 1940 เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย
    31 พฤษภาคม 1940 กองกำลังสัมพันธมิตรถูกต้อนเข้าสู่เมืองลาปานน์ และเบรย์-ดันย์ ซึ่งห่างจากเมืองดันเคิร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันนี้ทหารอพยพกลับ 68,000 นายและอีก 10,000 นายภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายทคือในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อยๆ นั้นคงดำเนินต่อไปกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน
 
   

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:La IIIe Republique

      สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิซี(รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองฝรั่งเศสโดยเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
     ในยุทธการฝรั่งเศส Battle of France นั้น ฝ่ายเยอรมันใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติที่นักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์การว่าเทือกเขานี้ไม่มียานยนต์หุ้มเกราะผ่านมาได้ แต่เป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด
      สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าสครามโดยการเตรียมตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีขัดแย้งกันเองในเรื่องการดำเนินงานในภาวะสงคราม ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของฝรั่งเศสเชื่อในแนวรบมายิโนต์ว่าจะทำให้ทหารเยอรมันอ่อนกำลังและถอยไปเอง จึงไม่เข้าช่วยโปแลนด์ ฝรั่งเศสสนใจที่ช่วยฟินแลนด์มากว่า และเมื่อฟินแลนด์ยอมสงบศึกทำให้เกิดกาต่อต้านดาลาดิเย่ร์และคณะรัฐมนตรีของเขาต้องสลายตัว ปอล เรย์โนลด์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีพรรคสังคมนิยมหัวรุนแรงอยู่เบื้องหลัง
   
  10 พฤษภา 1940 เยอรมันบุกเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ฝรั่งเศสและอังกฤษก็เคลื่อนพลเข้าสู่เบลเยี่ยม การโจมตีแบบสายฟ้าแลบของเยอรมันมีประสิทธิภาพ เยอรมันรุกฝรั่งเศสหนักขึ้นในทางตอนใต้ของเซตัง
     15 พฤษภา 1940 กองทัพฝรั่งเศสคุมกำลังไม่ติดที่แม่น้ำเมอร์สจึงต้องถอย การป้องกันของฝรั่งเศสล้มเหลว
     กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยกายึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศสทำให้กองกำลังเยอมันสามรถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั้งเศส-เบลเยียมเมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมุก็เท่รกับแพ้ศึกในครั้งนี้ การอพยพทหารกว่า500,000นายจึงเกิดขึ้น
     ความหายนะทำให้เรย์โนต์ต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี คาลาติเยร์ต้องไปอยู่กระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่เรย์โนลด์เป็นรัฐมนตรีกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง นายพลเวย์กังด์ ถูกเรียกตัวจากซีเรียให้มาจัดการเรื่องสงคราม เปแตงถูกเรียกตัวจากสเปนให้มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าที่ปรึกษาทางทหารของเรย์โนลด์ แต่สถานการณ์ทางทหารของฝรั่งเศสยุ่งยากเกินความสามารถทีนายพลคนใดจะควบคุมได้
      อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ไว้ใจกันในการอพยพที่ดันเคิร์ก ฝรั่งเศสไม่พอใจที่พวกอังกฤษอพยพเป็นพวกแรกและทิ้งกองทหารฝรัี่งเศสเป็นพวกสุดท้าย
   
9 มิถุนายน 1940 คณะรัฐมนตรีย้ายจากปารีสไปอยู่ที่แคว้นคูรส์
      14 มิถุนายน 1940 กองทัพเยอรมันเข้ายึดปารีส ผู้นำรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความแตกแยกทางความคิด ฝ่ายเปแตงและวย์กังด์ เห็นว่าไม่ควรทิ้งฝรั่งเศสและยอมทำสัญญาสงบศึกกับเยอรมัน ในขณะที่เรย์โนลด์และพรรคพวกเตรียพร้อมที่จะย้ายรัฐบาลไปแอฟริกาและดำเนินการต่อสู้ต่อไป ในวันเดียวกัน รัฐบาลย้รยไปอยู่ที่บอร์โดซ์ รัฐมนตรีกลุ่มที่อยู่ข้างโซตองเรียกร้องให้ทำสัญญาสงบศึก ส่วนนักการเมืองนอกคณะรัฐมนตรี มีลาวาลและพรรคพวกก็สนับสนุนการสงบศึก เรย์โนลด์ยอมแพ้ต่อการกดดันและลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน 1940 เปแตงดำรงตำแหน่งต่อจากเขา
     17 มิถุนายน 1940 เปแตงก็ออกประกาศยุติความเป็นศัตรูและมุ่งทำสันติภาพกับเยอรมันอย่ามีเกียรติ
     22 มิถุนายน 1940 สัญญาสงบศึกกับเยอรมันก็ได้รับการลงนามที่ตำบลคอมเบียน บนตู้รถไฟเดียวกันกับที่จอมพลฟอซได้เสนอสัญญาของเขาต่อผู้แทนเยอรมันในปี 1918
       จากสัญญาสงบศึก ฝรั่งเศสต้องถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เขตที่ถูกครอบครอง และไม่ถูกครอบครอง ่วนที่ถูกครอบครองนั้น กินอาณาเขตทั้งหมดของฝั่งแอตแลนติคและแถบช่องแคบรวทั้งดินแดนทางตะวันตก ตะวันออก และทางเหนือของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสต้องปลดอาวุธและห้ามการเคลื่อพล กองทัพเรือก็ต้องอยู่ใต้การตรวจตราของเยอรมัน ซึ่งการตรวจตรานั้นทำให้อังกฤษสงสัยว่าเยอรมันจะยึดกองทัพเรือฝรั่งเศส อังกฤษจึงโจมตีทัพเรือฝรั่งเศสที่ทะเล แดล เกปีร์ ในวันที่ 3 กรกฎา 1940
       นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังต้องจ่ายเงินอย่างไม่จำกัดต่อการครอบครองของเยอรมนีและฝ่ยเเยอรมันจะควบคุมเชลยสงครามไว้จนกว่าจะมีสันติภาพโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นดูเหมือนจะมีความเชื่อว่าสงครามจสิ้นสุดในเร็ววัน

WWII:Blitkrieg:Blitz

      10 พฤษภาคม 1940 เยอรมันบุกฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนอเธอร์แลนและลักเซมเบิรก เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมพ่ายด้วยยุทธวิธีบลิทซครีก Blitzkrieg ซึ่งเป็นการโจมตีอย่างรวดเร็วซึ่งพัฒนาขึ้นโดยชาติต่างๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และนำมาใช้หลายปีกลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเยอรมนีใช้วิธีการนี้มากที่สุด บลิทซครีกที่โดเด่นในประวัติศาสตร์การทหารคือช่วงเวลาเริ่มต้นของสงคาโลกครั้งที่สอง บริซครีกของเยอรมันมีประสทิธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขากการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเยอรมัน
   รูปแบบบลิทซคลิก โดยทั่วไป คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและยังเป็นการใช้รูปแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบประสทิธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
     เยอรมันพยายามหลีกเลี่ยการรบซึ่งหน้าเพื่อที่จะทำลายขวัญกำลังใจ การติดต่อสื่อสารและประสทิธิภาพการตัดสินใจของข้าศึก การใช้ความสามารถในการโจมตีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพผสมกับความไม่ทันระวังของศัตรูทำให้ศูน์บัญชาการของศัตรูปั่นป่วน
      หัวใจสำคัญของกลยุทธ์คือ กองกำลังรถถังและความสามารถด้านทัพอากาศหากศัตรูได้ระวังตัวก่อนทำให้บลิทซคลรีกล้มเหลว
  
  เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนพ่านแพ้ในเวลาเพียงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ตามลำดับ
      บลิทซครีก เป็นการโจมตีกย่างรดวเร็วประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยามเกราะบุกเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วและสร้าคงามประหลาดใจให้แก่ฝ่ายข้าศึกทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะตรียมการป้องกันใด ๆ แนววคิดบลิทซครีกนั้นถูกพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีกลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำการศึกยืดเยื้อ บลิททซครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงเวลาเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
      บลิทซครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี
       รุปแบบ โดยทั่วไปของบลิทซครีก คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและเป็นการใช้รูปแบบการรบแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบปืนใหญ่และกำลังสนับสนุนทางอากาศ ยุทธวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการโจมตีประสิทธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพหัวใจกลักของบลิซครีกคือการักษาความเร็วของรถถังหุ้มเกราะวึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว
       การจู่โจมโดยปฏิบัติการบลิทซ์คลีกนั้น จะต้องสร้างความหวาดกลัวใหกับฝ่ายตรงข้าม เยอรมันใช้
เสี้เสียงไซเรนเพื่อความหวาดผวาในหมู่ศัตรูด้วย ปฏิบัติการบลิทซ์ครี ต้องกการให้ศัตรูลนลานจนเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองลดลง เนื่องจากตกอยูใีความหวาดกลัวและสับสนฝ่ายเยอรมันใช้ประทโยชน์จากวิธีนี้ครั้งเข้ารุกราน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์
       บลิทซ์ครีก หรือสงครามสายฟ้าแลบเป็นแนวคิดจากนักทฤษฎีทางการทหารชาวอังกฤษช่อ ลิดเดลล์ ฮาร์ต ทีเน้นยุทธวิธีรุกแบบสายน้ำเชี่ยวซึ่งเขาพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนยุทธวิธีแบบสงครามโลกครั้งที่ 1 กล่าวคือ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยที่สงครามในช่วงนั้นคือการตั้งรับในหลุ่มเพลาะอย่างเดียวทั้ง 2 ฝั่งโดยแต่ละฝ่าย มีจุดกวาดล้างคือตรงกลางระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง มีทั้งลวดหนามที่กั้นไม่ให้มีฝ่ายใดทะลวงที่มั่นได้แต่ฝ่ายอังกฤษได้นำเสนอรถถังบุกทะลงที่ไร้เทียมทานต่อปืนกลและไรเฟิล ได้ข้ามลวดหนามและหลุมเพลาะแต่ทว่า ในช่วงนั้นรถถังอังกฤษผลิตไม่ได้มากพอก่อนสงครามจะยุติในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมติรได้ศึกษารถถังมานานปีจึงได้รู้ประสบการณ์ของ "ความเปลี่ยนแปลง"หลังจากนันเยอรมันได้พยายามศึกษารถถังและใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้ดีที่สุด
       ไฮนซ์ กูเดรีอัน ได้พัฒนาแนวความคิดโดยเขียนหนังสื่อชื่อ Achtung Panzer ที่เปรียบเสมือนคำทำนายการสงครามในอนาคต
      เขากล่าวถึงยุทธวิธีแบบสงครามสายฟ้าว่า ได้แก่ การใช้ขบวนยานเกราะบุกทะลวงโจมตีเป็นแนวลึกแต่แคบ ติดตามด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วซึ่งประกอบด้วยขบวนพาหนะบรรทุกทหารที่ใช้อาวุธทันสมัยแลมียุทธภัณฑ์ชั้นเยียม กองกำลังนี้จะขยายแนวโอบล้อมฝ่ายข้าศึก และกองทัพซึ่ง
ติดตามกองกำลังเคลื่อที่เร็วนี้ก็จะทำลายกำลังของฝ่ายศัตรูในที่สุด การปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกำลังทางอากาศ โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดจำนวนมากปฏิบัติการครอบคลุมอาณาบริเวณ การรบแบบสงครามสายฟ้าแลบจะทำให้กองทัพของฝ่ายช้าศึกตระหนกและขวัญเสียจนแตกพ่ายไป เนื่องจากไม่สามารถต่อต้านการโจมตีรวดเร็วและอาวุธที่ทันสมัยและร้ายแรงได้
      เยอรมันทดลองยุทธวิธีแบบสงครามกลางเมืองสเปน โดยใช้ปฏิบัติการทางอากาศควบคู่กับกำลังทางพื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่ากลัว เพราะนอกจากจะทำให้ฝ่ายกบฎสามารถยึดเมืองต่าง ๆ มาจากรัฐบาลสเปนได้แล้วยังทำให้ชาวสเปนจำนวนมากต้องล้มตายและบาดเจ็บ
      เมื่อเกิดสงครามโลครั้งที่ 2 เยอรมนีนำยุทธวิธีนี้มาใช้ในการบุกโจมตีโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างมากทั้งในแง่การวางแผนทางการทหารและการประสานงานของยุทธวิธีแบบนี้ ในการโจมตีฝรั่งเศสในยุทธการที่ฝรั่งเศส Battle of France และในการทำสงครามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือในระยะหลังของสงคราม นายพลอเมริกาก็นำเอายุทธวิธีแบบนี้มาใช้ในการรบที่ยุโรป
       คำว่า บลิทซืครีก ในภาษาเยอรมันนี้ ต่อมาหนังสือพิมพ์อังกฤษได้ใช้ในความหมายที่ผิดไปจากเดิม คือย่อเป็นคำสั้นๆ ว่า "บลิทซ์" Blitzหมายถึงสายฟ้า คือ การที่เครื่องบินรบของฝ่ายเยอรมนีระดมท้องระเบิดเพื่อโจมตีนครลอนดอนและเมืองใหญ่ๆ ของอังกฤษอย่างรุนแรง

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Navik,Norway

     นอร์เวย์ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เป็นประทเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์และรัสเซีย มีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร
      การต่อสู้ในนอร์เวย์ใช้เวลาเพียง 2-3 วันก่อนที่นอร์เวย์จะยอมจำนน กษัตริย์และรัฐบาลหนีไปประเทศอังกฤษและยังคงต่อสู้เพื่อให้นอร์เวย์เป็นอิสระ ณ ที่นั้น ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ฝิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และอีำหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีไปยังประเทศอื่น
      นอร์เวย์มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ คือ ความสำคัญของเมือง่านนาร์วิกซึ่งสมารถขนส่งเหล็กและโลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมันต้องการมากเส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเป็นเส้นทางสำคํยมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอลติกนั้นกลายเป็นน้ำแข็ง นาร์วิกมีความสำคัญต่อดังกฤษเช่นเดียวกันเมื่ออังกฤษทราบว่าโครงการแคทเธิรียของอังกฤษที่จะครอบครองทะเลบอลติกนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้
       อย่างที่สองเมืองท่าของนอร์เวย์เป็นช่องว่างของการปิดลิ้มเยอรมนี เรื่อรบเยอรมันสามารถแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้ นอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนินของชนชาตินอร์ติก-อารยันตามคำกล่าวของฮิตเลอร์การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร

      โดยเฉพาะฝ่ายอังกฤษ เมื่อนอร์เวย์วางตนเป็นกลาง ไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความอ่อนแดในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์นั้นนายพลเรือรีดเดอร์ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ หารอังกฤษฉวยโอกาสรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมือท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตราย
       ครั้งเกิดสงครามฤดูหนาวรุสเซียรุกรานฟินแลนด์ฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมือกับเดนมาร์กและสวีเดน ซึ่งเปิดโอกาสให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบความเห็นใจอย่างจริงใจต่อฟินแลนด์และอ้างที่จะส่งกองกำลังเขายึยดครองแหล่งแร่และเมืองท่าในนอร์เวย์การเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่เยอรมนี
     สนธิสัญญาเมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟทไให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต เยอรมนีวางตัวเป็ฯกลางต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ความกลัวเยอรมันนั้นทำให้นายทหารระดับสูงของเยอรมนีทำนายว่านอร์เวย์และสวีเดนอาจรับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรแต่เหตุการณ์ก็ำไม่เป็นดังคาด นอร์เวย์และสวีเดนเพิ่มความระมัดระวัลและเฝ้าจับตามอง "การทรยศโดยชาติตะวันตก"ของโปแลนด์เมือโปแลนด์ถูกรุกราน ทั้งสองประเทศไม่ต้องการที่จะทำลายความเป็นกลางของตนและเข้าพัวพันกับสงครามโลกทหารต่างชาติเดินผ่านเข้าตามแนวชายแดนด้วยสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก แผนการต่าง ๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงล้มเิลิกไป
      นายทหารระดับสูงของเยอรมนีให้ความสนใจความเป็นกลางของนอร์เวย์มากตราบเท่านที่เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่น่านน้ำของทะเลนอร์เวย์เรือขนส่งสืนค้าของเยรมนีก็ยังคงปลอดภัยที่จะเข้าสู่ชายฝั่งนอร์เวย์ จอมพลเรืออิริช เรอเดอร์ โต้แย้งแผนการโจมตี เขาเชื่อว่าเมืองท่าของนอร์เวย์นั้นเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่เรืออูของเยอรมันใช้สำหรับปิดล้อมอมู่เกาะอังกฤษ และยังคงมีความเป็นไปได้ที่กองทัพสัมพันธมิตรอาจจะยกพลขึ้นบกที่สแกนดิเนเวีย มีการทาบทามจากฮิตเลอรและเรดเดิร์กับวิคดัน ควิสลิง(ต่อมาเขาได้รับฉายาว่าเป็น "ผู้ทรยศระหว่างโลก")รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีแต่ไม่เป็นผล
   
เหตุการณ์อัลท์มาร์ค ซึ่งเป็นเรือบรรทุกของเยอรมัน บรรทุกเชลยสงครามชาวอังกฤษจำนวน 303 คนได้ับปนุญาตให้แล่นผ่านน่านน้ำนอร์เวย์ได้ ตามกฎหมายนานาชาติอนุญตให้เรือพลเรือจากประเทศสงครามสามารถจอดพักได้เป็นบางครั้งในน่านน้ำประเทศที่เป็นกลางหากได้รับอนุญาตจาประเทศนั้น ๆ กลุ่มเรือรบอังกฤษปรากฎตัวขึ้น และฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติและความเป็นกลางของนอร์เวย์ เรือ HMS คอแซ็ก ทำการโจมตีเรืออัลท์มาร์ค สังหารทหารเยอรมัน 7 นายและปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด การละเมิดความเป็นกลางได้ก่อให้เกิดความโกรธแค้นในความรู้สึกของชาวนอร์เวย์
     ฝ่ายสัมพันธมิตรมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้นอร์เวย์ตัดขากการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรแผ่นการจึงถูกเลื่อนออกไป
     เยอรมนีเห็นว่าเหตุการณ์การดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านอร์เวย์ไม่มีมีความสามารถที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้และอังกฤษก็มิได้ยินยอมต่อการวางตัวเป็นกลางของนอร์เวย์ ฮิตเลอร์จึงออกคำสั่งให้เร่งแผนการรุกรานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

      แผนการของฝ่ายสัมพันธมิตร
ปฏิบัติการวิลเฟรด คือการว่างทุนระเบิดตามน่านน้ำระหว่างนอร์เวย์ไปจนถึงเกาะอังกฟษเืพื่อป้องกันกองเรือขนส่งสินค้าเยอรมันขนเหล็กอย่างดีจาสวีเดน และหากได้รับการโต้ตอบจากฝ่่ายเยอรมนีโดยการเข้ายึดเนอร์เวย์และเมื่อถึงเวลานั้นฝ่ายสัมพันธมิตจะใช้แผนอาร์ 4 และยึดครองนอร์เวย์ เชอร์ชิลล์พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะโจมตีและยึดครองนอร์เวย์ เนื่องจากเขามีความต้องการที่จะย้ายการสู้รบไปจากแผ่นดินอังกฤษและฝรั่งเศษเพื่อป้องกันการถูกทำลาย
     แผนการของเยอรมนี(ปฏิบัติการเวแซร์รึบุง)
เยอรมันเตรียมการสกหรับการรุกรานนอร์เวย์ไว้แล้ว เป้าหมายหลักของการรุกราน คือ รักษาเมืองท่าและแหล่งโลหะในนอร์เวย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เมือท่านาร์วิกและจากนั้นก็เข้ายึดนอร์เวย์
       เยอรมันโต้เถียงกันว่า มีความจำเป็นมากพอรึไม่ที่จะเ้ข้ายึดครองเดนมาร์ก เดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขั้นต่อไป เดนมาร์กเป็นทำเลที่จะสามารถครอบครองทั้งน่านน้ำแลน่านฟ้าได้ย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่บางส่วนแย้งว่าไม่มีความคำเป็นต้องทำเช่นนั้น และให้นิ่งเฉพย แต่จะเป็นการง่ายขึ้นสำหรับแผนการถ้าหากเดนมาร์กถูกยึดครองโดยกองกำลัง
      การปรับเปลี่ยแผนยังเกิดจากอีกสาเหตุคือ การเตรียมบุกฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศผแ่นดินตำ่ ซึ่งอาจต้องใช้ทหารเป็นจำนวนมาก เยอรมันต้องรบสองด้าน การรุกรานนอร์เวย์ไม่อาจเกิดขึ้พร้อมกับการรุกฝรั่งเศส

       ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นชัยชนะขั้นเด็ดขาดของเยอรมนี ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ถูกยึดครองโดยเกิดความสูญเสียเพียงเล็กน้อย การรบในทะเลประสบความล้มเหลว กองทัพเรือเยอรมันสูยเสียอย่างมากถึงขั้นเป็นอัมพาต แม้กองทัพเรืออังกฤษจะได้รับความสูญเสียไม่ต่างกันแต่ด้วยควายขนาดของกองทัพเรือทัพเรืออังกฤษมีขนาดใหญ่กว่าความสูญเสียเมื่อเทียบกับเยอมนีแล้ว เยอรมนีมีความสูญเสียกนักกว่า อังกฤษได้การควบคุมกองเรือขนส่งนอร์เวย์ ซึ่งเป็นกองเรือหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
       กองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือประจัญบานตอร์ปิโดขนาดใหญ่ไปหน่งลำ กองทัพเรือนอร์เวย์ก็สูญเสียรือพิฆาตตอร์ปิโดไปหนึ่งลำ เรื่อป้องกันชายฝั่ง 2 ลำ รเรือดำน้ำอีก 3ลำ
     การยึดครองนอร์เวย์สร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากสนามบินระยะไกลในนอร์เวย์ ฝูงบินอังกฤษจำนวนมากต้องถูกเก็บรักษาไว้ทางตอนเหนือของอังกฤษระหว่างยุทธภูมิบิรเตนและเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันสามารถใช้นอร์เวย์เป็นฐานและบินออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัยหลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฐานบินในนอร์เวย์ถูกใช้เพื่อให้เครื่องบินไปจมขบวนเรือพาณิชยืของฝ่ายสัมพันธมิตร และก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล
      การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์เหมาะแก่การจู่โจมของหน่วนคอมมานโด การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องใช้กองกำลังขนาดใหญ่ มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นายและม่สามรถย้าไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิวัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือการสู้ในแนวรบตะวันออกซึ่งในขณะที่เยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Twilight War(สงครามลวง)

     สงครามลวง เป็นช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกันยา ปี 1939 หลังจากการรุกำโปแลนด์ -เดือนเดือนพฤษภาคม ปี 1940 ก่อนยุทธการฝรั่งเศส  ซึ่งไม่มีการปฏิบัติการทางการทหารในยุโรปภาคพื้นทวีป อังกฤษและฝรั่ืงเศสไม่มีปฏิบัติการทางการทหาร ทั้ง ๆ ทีผูกมัดตามเงือนไขของพันธมติรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์และพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ ซึ่งผูกมัดทั้งสองประเทศ

        เนื่องจากการไม่พร้อมและไม่คิดว่าจะเกิดสงครามขึ้นอีก จึงไม่มีการเตรียมตัวทางการทหารมากนักประกอบกับการเมืองในประเทศทั้งสองประเทศที่วุ่นว่าย
       ขณะที่กองทัพเยอรมันส่วนใหญ่ทำการรบอยู่ในโปแลนด์ เยอรมันก็ส่งกองทัพไปขัดตราทัพฝรั่งเศสตามแนวชายแดนด้านตะวันตก กองทัพสัมพันธมิตรตั้งเผลิญหน้า แต่มีการรบเพียงประปราย กองทัพอากาศอังกฤษโปรยใบปลิวโฆษณาเหนือน่านฟ้าเยอรมัน และกองทัพแคนาดาชุดแรกก็เตรียมเสริมกำลังอังกฤษบนเกาะบริเตน แนวรบตะวันตกสงบเป็นเวลากว่าเจ็เดอืน แต่ทว่าเยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนจำนวนมากของยุโรปได้แล้ว กองทัพสัมพันธมิตร(เดิม)รีบเสร้ิมกัลัง โดยการซื้ออาวุธจากสหรัฐอเมริกา และวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสูโรงานอุตาสหกรรม อเมริกให้สิทธพิเศษแก่อังกฤษและฝัร่างเศสซื้อสินค้าในราคาถูก และให้เช่า-ยืมในเวลาต่อมา บริษัทเอกชนบางแห่งทั้งอเมริกและอังกฤษเองยังคงสนับสนุนฝ่ายเยอรมนี ในเอมริกาบริษัทเอกชนยังคงขายวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมแก่เยอรมนี
      การรบในแคว้นซาร์แลนด์ ทหารฝรั่งเศสล้ำพื้นที่แคว้นซาร์เข้าไปลึกกว่า 3 ไมล์ก่อนจะถอนตัวออกมาซึ่งทั่งที่กองทัพฝรั่งเศสมีกำลังพลมากกว่า
      สงครามฤดูหนาว เป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งในสงครามลวง โดยเริ่มตั้งแต่โซเวียตโจมตีฟินแลนด์ ประชาชนส่วนใหญ่ของอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าช่วยเหลือฟินน์แลนด์และสามารถยันทัพโซเวียตได้ แผนการส่งทหารของอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าไปช่วยฟินน์แลนด์ถูกคัดค้านอย่างหนัก กองทัพอังกฤษประชุมก่อนที่จะส่งทหารไปช่วย ทว่าก็มิได้ส่งไปกระทั่งสงครามฤดูหนาวสิ้นสุดลง ฟินแลนด์ยอมเจรจารสงบศึกกับโซเวียต อังกฤษกลับส่งทหารไปช่วยนอร์เวย์
     หลังสงครามฤดูหนาวยุติ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสขอลาออก เนื่องจากความล้มเหลวในการให้ความช่วยเหลือฟินแลนด์
     การทัพที่นอเวย์ มีการประชุมฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะส่งกองทัพไปยังสแกนดิเนเวียตอนเหนือ แต่ยังไม่ได้รับการยินยอมจาประเทศที่เป็นกลาง เยรมนีต้องการแหล่งโลหะและสินแร่ และสามารถยึดครองพื้นที่แถบชายฝั่งนอร์เวย์ กองทัพสัมพันธ์มิตรขึ้นบกที่นอร์เวย์ แต่ภายในสองสัปกาหน์นอร์เวย์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ในมือของเยอรมัน กองทัพสัมพันธมิตรที่เหลือได้ถอนตัวจากนอร์เวย์
       ความล้มเหลวในการทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรที่นอร์เวย์ นั้นเป็นผลจากแผนการที่เพ้อฝันที่จะช่วยฟินแลนด์ได้ก่อใไ้เกิดการโต้เถี่ยง ในสภาสามัญ เนวิลล์  เชมเบอร์แลนด์ ถูกโจมตีอย่างหนัก การลงมติไว้วาใจในคณะรัฐบาลของเขาชนะด้วยเสียง 200ต่อ281 เสียงแต่ผุ้สีับสนุนเขาจำนวนมากได้ลงมติไม่ไว้วางใจเขา  เชมเบอร์เลนลาออกจากตำแน่างนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม พระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงเลือกนาย วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้มีแนวคิดขึดแย้งกับนโยบายเอาใจเยอรมนี ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
   
   

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Joseph Stalin(winter war)

      โยชิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน เป็นผู้นำ สหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่  1920-1953 เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพซึ่งเป็นตำแหน่างที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค
     สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงคือ “โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี”      
      “โซซ่า” คือชื่อเรียกของเขาในวัยเด็ก พ่อของเขาเป็นช่างทำรองเท้าชอบทุบตีคนในครอบครัวยามเมาสุราเสมอ เมื่อพ่อเขาย้ายไปเมืองอื่น เขาต้องอยู่กับมารดาเพียงลำพังในสภาพแวดล้อมของเมืองที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม การเอารัดเอาเปรียบ ความรุนแรงตามท้องถนน สภาพแวดล้อมทางสังคมและความรุนแรงในครอบครัวบ่มนิสัยสตาลินให้เป็ฯก้าวร้าว เขาเกลียดชังชาวยิวที่อยู่ในเมืองทั้งๆ ที่เมืองที่เขาอยู่ไม่มีใครต่อต้านชาวยิวเลย ชาวยิวนิยมประกอบอาชีพนายทุนเงินกู้ มารดาของเขาต้องกู้เงินจากนายทุนชาวยิวซึ่งเรียกดอกเบี้ยราคาแพง และยึดสิ่งของในล้านเป็นค่าปรับ ทำให้เขาเกลียดแค้นชาวยิว
        มารดาสตาบินเป็นผู้เคร่งในศีลธรรม เธอตัดสินใจให้สตาลินบวชเป็ฯพระและเข้าเรียนในโรงเรียนสามเณรกอรีซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง ด้วยความอุปการะจากเศรษฐีชาวจอร์เจียชื่อยาคอฟที่มารดาเขาทำงานเป็นแม่บ้าน ซึ่งสตาลินเป้ฯคนที่สำนึกในบุญคุฯคน เมือเขามีบุตรชายคนแรก เขาได้ตั้งชื่อว่ายาคอฟ ตามชื่อผู้ที่อุปการะเขา
        สตาลินเป็นคนขยัน ความจำดีและหัวไว ได้รับทุนการศึกษาของโรงเรียน และได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนตัวอย่าง สตาลินสอบได้ลำดับที่ 1 ทุกครั้ง สตาลินมีพรสวรรค์ด้านการร้องเพลง เขามักถูกจ้างไปร้องเพลงในงานแต่งงานเสมอ ความชื่นชอบในการละเล่นและกีฬา สตาลินชื่นชอบการตะลุมบอน  เป็นการละเล่นและกีฬาพื้นเมือง ที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกไป 2 ฝั่ง จากนั้นก็จะเขาตะลุมบอนกันแบบไม่มีความปราณี
     ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงแล้ว สตาลินได้รับตำแหน่าง คอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่าง ๆ เมือเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและเป็นเลขาธิการพรรค
      กระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี 1924 เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างสตาลินกับ ลีออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เป็นประธานาธิปดีต่อจากเลนิน ทรอตสกีต้องลั้ภัยการเมือไปอยู่เม็กซิโก และถูกลอบสังหารในที่สุด
       ระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผุ้นำสหภาพโซเวียตเขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมือศาสนาเป็นสิ่งผิดกฏหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน..
    ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 มีการจัดตั้งความตกลงร่วมืออักษะโรม-เบอร์ลิน เยอรมนีลงนามในสัญญาเพื่อการต่อต้านโคมินเทอร์นกับญี่ปุ่น และอิตาลีได้เข้าร่วมในปี 1937 สามประเทศตกลงร่วมมือกันต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ทั่วไปโดยเฉพาะรุสเซีย
       ขณะที่ฮิตเลอร์เป็นภัยคุกคามต่อสหภาพโซเวียต สตาลินได้พยายามผ่อนคลายความตึงเครียดกับญี่ปุ่นโดยขายหุ้นทางรถไฟสายตะวันออกให้แก่รัฐบาลแมนจูกัวในปี 1935 และฟื้นฟูสัมพันธภาพกับรัฐบาลจีน เจียง ไค เชค เพื่อป้องกันจีนและญี่ปุ่นร่วมมือต่อต้านโซเวียต..

      พฤษภาคม 1939 สตาลินกล่าวในที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ โดยกล่าวหาประเทศตะวันตกว่าพยายามยุยงให้เยอรมนีกับโซเวียตต้องขัดแย้งกัน..ประเทศตะวันตกส่งคณะผุ้แทนทหารไปยยังรุสเซีย แต่ฮิตเลอร์มุ่งเข้าตีโปแลนด์และเข้าเจรจากับสหภาพโซเวียตก่อนแล้ว และทั่งโลกก็ต้องตะลึงเมื่อศัตรูทางอุดมการณ์สองฝ่ายลงนามในความตกลงร่วมกันระหว่างริบเบนทรอปและโมโลดอฟ เรียกว่า nazi-soviet pact กติกาสัญญานาซี-โซเวียต ณ มอสโก สัญญานี้เป็นสัญญาพาณิชย์และตกลงไม่รุกรานกันนานสิบปี เยอรมนีให้โซเวียตได้เชื่อสินค้าจักรกลเพื่อแลกกับวัตถุดิบและรับประกันว่าต่างฝ่ายจะเป็นกลางหากอีฝายถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม สองประเทศตกลงสัญญาลับแบ่งเขตแดน การแบ่งโปแลนด์ ทั้งสองประเทศเจรจาต่อรองทางการทูตเหมือนสมัยนโปลียนกับซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ในสนธิสัญญาทิลสิต  สัญญานี้ทำให้เยอรมันเบาใจว่าจะได้ทำสงครามโดยไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง สตาลินคิดว่าได้ประสบความสำเร็จทางการทูตและป้องกันรุสเซียไม่ให้ถูกโจมตี และใช้แดนกันกระทบกันโลกทุนนิยมให้หันไปสู้กันเอง และรุสเซียจะตัดสินให้ยุโรป..

     เยอรมนีใช้ยุทธการสายฟ้าฟาด โจมตีโปแลนด์สตลินเป็นกังวลและเกรงว่าเยอรมนีอจาจัดสินใจบุดโซเวียต ฝรั่งเศสยังนิ่งเฉยและสตาลินเผชิญทางสองแพร่ง คือบุกโปแลนด์และวเสี่ยงให้ประเทศตะวันตกประกาศสงครามหรือยู่เฉยๆ

     ในที่สุดจึงตัดสินใจบุกโปแลนด์ โดยทำการต่อรองกับเยอรมนีแลกส่นที่ชาวลิธัวเนียอาศัยกับชาวโปแลนด์อาศัยซึ่งโซเวียตครองอยู่ ฟินแลนด์อยู่ในเขตที่รุสเซียจำเป็นต้องมีอิทธิพลคบลคุมได้เพื่อป้องกันตนเอง  สตาลินต้องการให้พรมแดนฟินน์เขยิบออกไปห่างจากเลนินกราดมากขึ้น จึงเสนอของแลกดินแดนฟินน์ที่อยู่ใกล้เลนินกราดกับส่วนหนึ่งของโซเวียตคาเรเลีย ชาวฟินน์ยอมให้บางประการ แต่ปฏิเสธไม่ให้โซเวียตตั้งฐานทัพเรือในดินแดนของตน โซเวียตจึงเพิกถอนกติกสัญญาไม่รุกรานและโจมตีฟินแลนด์ในวันที่ 30 พฤศจิกายน  1939

      ขณะที่ทหารเยอรมันกำลังรุกคืบเข้าในโปแลนด์ ทหารรุสเซียได้บุกเข้าทางตะวันออกของโปแลนด์ โดยอ้างว่าทหารรุสเซียจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองแก่ชาวอูเครนและรุสเซียขาว
ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในโปแลนด์ เมื่อทหารเยอรมันยึดครองกรุงวอร์ซอเมืองหลวงของโปแลนด์ได้แล้ว ในวันต่อมาเยอรมันและรุสเซียก็ตกลงที่จะแบ่งประเทศโปแลนด์เป็นเขตยึดครองของเยอรมันและรุสเซียตามข้อตกลงลับ ฮิตเลอร์ประกาศในรัฐสภาเยอรมันว่า เยอรมันพร้อมที่จะสงบศึกและเป็นมิตรกับมหาอำนาจตะวันตก แชมเบอร์ เลน ประกาศในรัฐสภาอังกฤษปฏิเสธข้อเสนอของฮิตเลอร์ อังกฤษส่งทหารของตนเข้าเสริมแนวรบตามชายแดนของประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมที่ติดกับแนวชายแดนประเทศเยอรมัน วันที่ 30 พฤศจิกายน ปี 1939 ทหารรุสเซียบุกประเทศฟินแลนด์กองทัพฟินน์ต้านทานกำงโซเวียตอย่างเต็มที่ ฝ่ายรุสเซียบาดเจ็บล้มตายเป็ฯอันมาก เนื่องจากทัพรุสเซียอ่อนแดจาการกวาดล้าง แต่สตาลินได้แก้ไขและสามารถทะลายแนวป้องกันของฟินน์ได้ ประเทศตะวันตกตำหนิรุสเซีย และขับออกจากสันนิบาตชาติ  รัฐบาลฟินแลนด์เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจาประเทศใดๆ จึงต้องยอมเซ็นสัญญาสงลศึกกับรุสเซีย

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Second World War(ปะทุ)

      การดำเนินนโยบายของประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตยซึ่งเป็นผลดีต่อฝ่ายอักษะ และด้วยความไม่พอใจในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และด้วยนโยบายของทางเยอรมันเองที่ไม่ยอมรับสนธิสัญญาแวร์ซายดังกล่าว และเรียกร้องดินแดนที่เคยเป็นของเยอรมันคืน
     ฮิตเลอร์ประชุมรัฐมนตรีและนายพลทหารที่สำคัญๆ โดยพูดถึงแผนการณ์ที่จะทำการรวมประเทศออสเตรียกับประเทศเยอรมนี และจะใช้กำลังบุกยึดครองประเทศเชคโกสโลวาเหีย แต่แผนการถูกคัดค้าน ผู้คัดค้านถูกปลดจากตำแหน่ง ฮิตเลอร์จึงดำเนินนโยบายต่อไป
      ฮิตเลอร์ยืนคำขาดออสเตรีย ให้มอบตำแนห่งในแก่ เส อินควร์ท ซึ่งเป็นผู้นำชั้นแนวหน้าของพรรคนาซีออสเตรีย กองทัพเยอรมนีเดินทัพเข้าออสเตรียโดยไม่มีการต่อต้านใดๆ  ฮิตเลอร์ประกาศว่าออสเตียรวมเข้าเป็ฯมณฑลหนึ่งของเยอรมนีแล้ว
    ชาวเยอรมันซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในคแล้วซือเดเทนพรมแดนเชคโกสโลวัคเกียติดกับเยอรมนีเรียกร้องให้รัฐบาลเชคฯเพื่อขอสิทธิในการปกครองตนเอง มหาอำนาจในยุโรปเกรงจะเกิดสงครามจากเหตุนี้จึงประชุมกันและมีมติให้ยกแค้วนนี้ให้กับเยอรมนีโดยทางฝ่ายเชคฯไม่รู้ในการตัดสินใจดังกล่าว แต่แล้วเยรมนีก็ยาตราทัพเข้าสู่เชคฯและยึดครองประเทศเชคโกสโลวาเกียทั้งหมด ฮิตเลอร์ประกาศให้เชคโกสโลวาเกียเป็นมณฑลหนึ่งของเยอรมนี อังกฤษรู้สึกวุ่นวายใจกับการกระทำของเยอรมนีครั้งนี้ และนายก แชมเบอร์ เลน ประกาศในรัฐสภาอังกฤษว่า เขารู้สึกเป็นห่วงและหนักใจต่อสถานการณ์ของโลกในภายหน้าเป็นอย่างมาก เพราะไม่ทราบว่าจะมีเหตุการ์อะไรเกิดขึ้นอีก..
นับตั้งแต่เยรอมันบุกยิดดินแดนแถบลุ่มน้ำไรน์ รวมประเทศออสเตรียแค้วนซ์อเดเทน โดยเยอมันอ้างว่าเป้ฯการรวมชนชาติเยอรมันในดินแดนต่างให้กลับมาอยู่รวมกัน การกระทำของเยอรมันสร้างสถานการณ์โลกให้ปั่นป่วนและไม่น่าไว้วางใจ แต่การรวมเชคโกฯเป็นดินแดนภายใต้อารักขาของเยอรมัน ทำให้นานาประเทศตั้งคำถามขึ้นมาว่า นี่เป็นการสิ้นสุดการผจญภัยของเยอรมันหรือเป็นเพียงการเริ่มต้นของการผจญภัยของโลกกันแน่
      แต่แล้ว 21 มีนา 1939 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้โปแลนด์คือฉนวนโปแลนด์ และเมืองดานชิก เพื่อเป็นการแลกกับการประกันความปลอดภัยแห่งเอกราชของโปแลนด์ โปแลนด์ปฏิเสธที่จะคืนเมืองดานซิกและฉนวนโปแลนด์ให้กับเยอรมัน ฮิตเลอร์จึงสังให้หนังสือพิมพ์ในประเทศทำการ
ประโคมข่าวว่าชาวเยอรมันในโปแลนด์ถูกข่มเหงต่าง ๆนาๆ และยั่วยุให้ชาวเยอรมันในโปแลนด์ก่อความไม่สงบขึ้น เพื่อจะได้เข้าแทรกแซงทางการทหาร ..เชมเบอเลน กรงว่าเยอรมันจะทำการรุกแรงต่อโปแลนด์ จงประกาศว่าอังกฤษและฝรั่งเศสพร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่โปแลนด์ ถ้าเอกราช
ของโปแลนด์ถูกคุกคาม  ประธานาธิปดี รุสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ส่งสาส์นถึงฮิตเลอร์ขอร้องให้ฮิตเลอร์เห็นแก่ความสงบสุขของยุโรปและขอให้ฮิตเลอร์สัญญาว่า เยอรมันจะไม่ทำการคุกคามดินแดนของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก
     ฮิตเลอร์ประกาศตอบรุสเวลท์ทางวิทยุกระจายเสียงของเยอรมันว่า “เขาทราบซึ้งและตระหนักถึงคำว่าเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและความสงบสุขของโลเป็นอย่างดี เขายืนยันว่าเขาไม่เห็นคุนค่าของสงครามและไม่ทราบว่า เยอรมันจะก่อสงครามเพื่อประโยชน์ใด อย่างไรก็ตาม เขาไม่พอใจที่อังกฤษแสดงบทบาทที่ไม่เป็นมิตรต่อประเทศเยอรมนี โดยการทำสัญญามิตรภาพและช่วยเหลือทางทหารกับโปแลนด์ เพื่อเป็นการต่อต้านการกระทำของอังกฤษและโปแลนด์ เขาจึงขอเพิกถอนข้อตกลงทางนาวีที่ทำกับอังฏฤษ และขอเพิกถอนสัญญาไม่รุกรานที่ทำไว้กับโปแลนด์ด้วย”
     31 สิงหาคม 1939 รัฐบาลเยอรมันประกาศทางวิทยุเรียกร้องให้รัฐบาลโปแลนด์ส่งผู้แทนที่มีอำนาจเต็ม ไปเจรจากับรัฐบาลเยอรมันภายใน24 ชั่วโมง เพื่อตกลงปัญหาต่าง  ๆ แต่ก็ไม่เป็นผลประการใด มีการยิงถล่มด่านตรวจตามชายแดนต่าง ๆ ของเยอรมนี  ฮิตเลอรเซ้นคำสั่งให้ทหารเยอมันบุกประเทศโปแลนด์ในวันต่อมา

     1 กันยายน 1939 กองทัพเยอมันทุกหน่วยทำการโจมตีโปแลนด์ เรื่อรบของเยอรมันระดมยิงปืนเรือเข้าใส่เมืองต่าง ๆ ของโปแลนด์ที่อยู่ติดกับทะเลบอลติก เครื่องบินเยอรมันเป็นจำนวนมากทิ้ระเบิดตามเมืองต่าง ๆ กองทัพเยอรมันภายใต้การบัญชาการของ นายพล วัลเตอร์ ฟอน เบราชิทช์ บุกทะลวงเข้าไปในประเทศโปแลนด์ อังกฤษและฝรั้งเศสได้ทำการประท้วงและเรียกร้องให้เยอรมันถอนทหารกลับ เมื่อเยอรมันไม่ปฏิบัตตาม วันที่ 3 กัยนายน เวลา 11.00 อังกฤษจึงประกาศสงครามกับเยอรมัน และ เวลา 17.00 ฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมัน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...