โยชิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน เป็นผู้นำ สหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920-1953 เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพซึ่งเป็นตำแหน่างที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค
สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงคือ “โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี”
“โซซ่า” คือชื่อเรียกของเขาในวัยเด็ก พ่อของเขาเป็นช่างทำรองเท้าชอบทุบตีคนในครอบครัวยามเมาสุราเสมอ เมื่อพ่อเขาย้ายไปเมืองอื่น เขาต้องอยู่กับมารดาเพียงลำพังในสภาพแวดล้อมของเมืองที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม การเอารัดเอาเปรียบ ความรุนแรงตามท้องถนน สภาพแวดล้อมทางสังคมและความรุนแรงในครอบครัวบ่มนิสัยสตาลินให้เป็ฯก้าวร้าว เขาเกลียดชังชาวยิวที่อยู่ในเมืองทั้งๆ ที่เมืองที่เขาอยู่ไม่มีใครต่อต้านชาวยิวเลย ชาวยิวนิยมประกอบอาชีพนายทุนเงินกู้ มารดาของเขาต้องกู้เงินจากนายทุนชาวยิวซึ่งเรียกดอกเบี้ยราคาแพง และยึดสิ่งของในล้านเป็นค่าปรับ ทำให้เขาเกลียดแค้นชาวยิว
มารดาสตาบินเป็นผู้เคร่งในศีลธรรม เธอตัดสินใจให้สตาลินบวชเป็ฯพระและเข้าเรียนในโรงเรียนสามเณรกอรีซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง ด้วยความอุปการะจากเศรษฐีชาวจอร์เจียชื่อยาคอฟที่มารดาเขาทำงานเป็นแม่บ้าน ซึ่งสตาลินเป้ฯคนที่สำนึกในบุญคุฯคน เมือเขามีบุตรชายคนแรก เขาได้ตั้งชื่อว่ายาคอฟ ตามชื่อผู้ที่อุปการะเขา
สตาลินเป็นคนขยัน ความจำดีและหัวไว ได้รับทุนการศึกษาของโรงเรียน และได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนตัวอย่าง สตาลินสอบได้ลำดับที่ 1 ทุกครั้ง สตาลินมีพรสวรรค์ด้านการร้องเพลง เขามักถูกจ้างไปร้องเพลงในงานแต่งงานเสมอ ความชื่นชอบในการละเล่นและกีฬา สตาลินชื่นชอบการตะลุมบอน เป็นการละเล่นและกีฬาพื้นเมือง ที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกไป 2 ฝั่ง จากนั้นก็จะเขาตะลุมบอนกันแบบไม่มีความปราณี
ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงแล้ว สตาลินได้รับตำแหน่าง คอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่าง ๆ เมือเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและเป็นเลขาธิการพรรค
กระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี 1924 เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างสตาลินกับ ลีออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินเป็นฝ่ายชนะ จึงได้เป็นประธานาธิปดีต่อจากเลนิน ทรอตสกีต้องลั้ภัยการเมือไปอยู่เม็กซิโก และถูกลอบสังหารในที่สุด
ระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผุ้นำสหภาพโซเวียตเขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมือศาสนาเป็นสิ่งผิดกฏหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน..
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 มีการจัดตั้งความตกลงร่วมืออักษะโรม-เบอร์ลิน เยอรมนีลงนามในสัญญาเพื่อการต่อต้านโคมินเทอร์นกับญี่ปุ่น และอิตาลีได้เข้าร่วมในปี 1937 สามประเทศตกลงร่วมมือกันต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ทั่วไปโดยเฉพาะรุสเซีย
ขณะที่ฮิตเลอร์เป็นภัยคุกคามต่อสหภาพโซเวียต สตาลินได้พยายามผ่อนคลายความตึงเครียดกับญี่ปุ่นโดยขายหุ้นทางรถไฟสายตะวันออกให้แก่รัฐบาลแมนจูกัวในปี 1935 และฟื้นฟูสัมพันธภาพกับรัฐบาลจีน เจียง ไค เชค เพื่อป้องกันจีนและญี่ปุ่นร่วมมือต่อต้านโซเวียต..
พฤษภาคม 1939 สตาลินกล่าวในที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ โดยกล่าวหาประเทศตะวันตกว่าพยายามยุยงให้เยอรมนีกับโซเวียตต้องขัดแย้งกัน..ประเทศตะวันตกส่งคณะผุ้แทนทหารไปยยังรุสเซีย แต่ฮิตเลอร์มุ่งเข้าตีโปแลนด์และเข้าเจรจากับสหภาพโซเวียตก่อนแล้ว และทั่งโลกก็ต้องตะลึงเมื่อศัตรูทางอุดมการณ์สองฝ่ายลงนามในความตกลงร่วมกันระหว่างริบเบนทรอปและโมโลดอฟ เรียกว่า nazi-soviet pact กติกาสัญญานาซี-โซเวียต ณ มอสโก สัญญานี้เป็นสัญญาพาณิชย์และตกลงไม่รุกรานกันนานสิบปี เยอรมนีให้โซเวียตได้เชื่อสินค้าจักรกลเพื่อแลกกับวัตถุดิบและรับประกันว่าต่างฝ่ายจะเป็นกลางหากอีฝายถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม สองประเทศตกลงสัญญาลับแบ่งเขตแดน การแบ่งโปแลนด์ ทั้งสองประเทศเจรจาต่อรองทางการทูตเหมือนสมัยนโปลียนกับซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ในสนธิสัญญาทิลสิต สัญญานี้ทำให้เยอรมันเบาใจว่าจะได้ทำสงครามโดยไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง สตาลินคิดว่าได้ประสบความสำเร็จทางการทูตและป้องกันรุสเซียไม่ให้ถูกโจมตี และใช้แดนกันกระทบกันโลกทุนนิยมให้หันไปสู้กันเอง และรุสเซียจะตัดสินให้ยุโรป..
เยอรมนีใช้ยุทธการสายฟ้าฟาด โจมตีโปแลนด์สตลินเป็นกังวลและเกรงว่าเยอรมนีอจาจัดสินใจบุดโซเวียต ฝรั่งเศสยังนิ่งเฉยและสตาลินเผชิญทางสองแพร่ง คือบุกโปแลนด์และวเสี่ยงให้ประเทศตะวันตกประกาศสงครามหรือยู่เฉยๆ
ในที่สุดจึงตัดสินใจบุกโปแลนด์ โดยทำการต่อรองกับเยอรมนีแลกส่นที่ชาวลิธัวเนียอาศัยกับชาวโปแลนด์อาศัยซึ่งโซเวียตครองอยู่ ฟินแลนด์อยู่ในเขตที่รุสเซียจำเป็นต้องมีอิทธิพลคบลคุมได้เพื่อป้องกันตนเอง สตาลินต้องการให้พรมแดนฟินน์เขยิบออกไปห่างจากเลนินกราดมากขึ้น จึงเสนอของแลกดินแดนฟินน์ที่อยู่ใกล้เลนินกราดกับส่วนหนึ่งของโซเวียตคาเรเลีย ชาวฟินน์ยอมให้บางประการ แต่ปฏิเสธไม่ให้โซเวียตตั้งฐานทัพเรือในดินแดนของตน โซเวียตจึงเพิกถอนกติกสัญญาไม่รุกรานและโจมตีฟินแลนด์ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 1939
ขณะที่ทหารเยอรมันกำลังรุกคืบเข้าในโปแลนด์ ทหารรุสเซียได้บุกเข้าทางตะวันออกของโปแลนด์ โดยอ้างว่าทหารรุสเซียจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองแก่ชาวอูเครนและรุสเซียขาว
ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในโปแลนด์ เมื่อทหารเยอรมันยึดครองกรุงวอร์ซอเมืองหลวงของโปแลนด์ได้แล้ว ในวันต่อมาเยอรมันและรุสเซียก็ตกลงที่จะแบ่งประเทศโปแลนด์เป็นเขตยึดครองของเยอรมันและรุสเซียตามข้อตกลงลับ ฮิตเลอร์ประกาศในรัฐสภาเยอรมันว่า เยอรมันพร้อมที่จะสงบศึกและเป็นมิตรกับมหาอำนาจตะวันตก แชมเบอร์ เลน ประกาศในรัฐสภาอังกฤษปฏิเสธข้อเสนอของฮิตเลอร์ อังกฤษส่งทหารของตนเข้าเสริมแนวรบตามชายแดนของประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมที่ติดกับแนวชายแดนประเทศเยอรมัน วันที่ 30 พฤศจิกายน ปี 1939 ทหารรุสเซียบุกประเทศฟินแลนด์กองทัพฟินน์ต้านทานกำงโซเวียตอย่างเต็มที่ ฝ่ายรุสเซียบาดเจ็บล้มตายเป็ฯอันมาก เนื่องจากทัพรุสเซียอ่อนแดจาการกวาดล้าง แต่สตาลินได้แก้ไขและสามารถทะลายแนวป้องกันของฟินน์ได้ ประเทศตะวันตกตำหนิรุสเซีย และขับออกจากสันนิบาตชาติ รัฐบาลฟินแลนด์เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจาประเทศใดๆ จึงต้องยอมเซ็นสัญญาสงลศึกกับรุสเซีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น