วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The Iranian Hostage Crisis 1979

       ความรู้สึกบาดหมางของรุสเซียและสหรัฐอเมริกาทำให้การลงนมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้า สนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 1 มีการลงนามที่มอสโคว์ระหว่างประธานาธิบดีนิกสันกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ในปี่ 1972 กำหนดอายุสนธิสัญญา 5 ปี การเตรียมการกำหนดแนวทางข้อตกลงในสนะสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 เริ่มในวันที่ 1974 ระหว่างประธานาธิบดีฟอร์ดกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ที่วลาดิวอสต๊อก รุสเซีย เกิดข้อตกลงวลาติวอสต๊อก 1974 ความบาดหมางระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเร่มจากประธานาธ่บดีคาร์เตอร์ชูนโยบายสิทธิมนุษยชนและกว่างวิจารณ์รุสเซ๊ยว่ากดขี่ข่มเหงชาวยิวในรุสเซีย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอย่งเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ทั้งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสร้างจรวดขีปนาวุธเอ็มเอ็ก และจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2 ซึ่งล้วนมีประสิทธภาพเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ต้านการบุกโจมตีของรุสเซีย สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย ขณะเดียวกันรุสเซียจับกุม คุมขัง ทรมานและเนรเทศประชาชนที่ต่อต้านกล่าววิจารณ์โจมตีรัฐบาลรุสเซียรวมถึงยับยั้งปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซีย
ที่เรียกร้องอพยพจากรุสเซียสู่โลกเสรี ล้วนเป็นการกดขี่ข่มเหงแระชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง และรุสเซียจัดส่งคณะนายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนปฏิบัติการรและการใช้อาวุธมาคิวบาเป็นที่ปรึกษาแก่ฟิเดล คัสโตร เพื่อการวางแผนให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฎโค่นล้มรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ละตินอเมริกา ในขณะเดียวกันรุสเซียเร่งคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่คือจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 มีประสิทธิภาพทำลายล้างสูงเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธข้ามทวีป เช่นกัน สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐอเมริกา อันมีผลทำให้ตัวแทนขงอทั้งสองประเทศที่ร่วมร่างสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ทำงานได้ไม่คล่องตัว ข้อตกลงไม่เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี 1977 ต้องล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามการลงนามร่วมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979ระหว่างประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ มีขึ้นในปี 1979 ที่กรุงเวียนา ออสเตรีย กำหนดจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทระหว่างกันคือหนึ่งจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 1054 ลูกต่อ 1400 ลูก สองจรวดขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 656 ลูกต่อ 950 ลูก สามจรวดขีปนาวุธในสัดส่วนขีปนาวุธ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 350 ลูกต่อ 150 ลูก และสี่หัวรบนิวเคลียร์ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 9200 ลูกต่อ 5000 ลูก ไม่มีการกำหนดจำนวนจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 ของรุสเซีย หรือจำนวนจรวดชีปนาวุธเอ็ม เอ็ม และจำนวนจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2  ของสหรัฐอเมริกาในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 ซึ่งอาวุธร้ายแรงทั้งสมประเภทมีประสิทธิภาพเหนือกว่าอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 อันบ่งชี้ได้ถึงปัญหาและความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตรัฐสภายังไม่ทันให้การับรองในนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 2 ก็พอดีเกิดเหตุการณ์รุสเซียรุกรานอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979
    สหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่รุสเซียรุกรามอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979 อัฟกานิสถาน เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกสุดของตะวันออกกลาง อัฟกานิสถานทางตอนเหนือติดกับรุสเซีย ทางตะวันตกติดกับอิหร่าน ทางตะวันออกและทางตอนใต้ติดกับปากีสถาน ใรเดื่อนสิงหาคม 1919 อังกฤษปลดปล่อยอัฟกานิสถานจากการเป็นอาณานิคม เพราะภายในอัฟกานิสถานวุ่นวายเร่มกลางศตวรรษที่ 20 และรับความช่วยเหลือจากรุสเซียนำพาให้รุสเซียเข้ารุกรานอัฟกานิสถานใน เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน ที่ควรจดจำเริ่มจากกษํตริย์มูฮัมหมัด นาเดียร์ ข่าน ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี 1929-1933 นำการปฏิรูปในทุกด้าน กษัตริย์นาเดียร์ ข่าน ถูกลอบปลงพระชนม์มีผลให้ลูกชายคือมูฮัมหมัด ซาเฮอ ขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีมูฮัมหมัด เดา ข่าน เป็ฯนายกรัฐมนตรีอัฟการนิสถานวางตนเป็นกลางในสงครามเย็นและรับความช่วยเหลือทั้งจากรุสเว๊ยและสหรัฐอเมริกา ในปี 1973 เดา ข่าน พร้อมกองกำลังทหารก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจกษัตริย์ซาเฮอได้สำเร็จ คณะนายทหารเข้ากุมอำนาจการปกครองและประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐแห่งอัฟกานิสถาน มีเดา ข่าน ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและปรธานาธิบดี ในปี 1078 กองกำลังทหารนิยมลัทะคอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจและฆ่า เดา ข่าน หลังจากนั้นรัฐบาลทหารนำโดยบรรดานายทหารกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ากุมอำนาจทางการเมืองและยอมให้รุสเซียเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานโดยยอมรับความช่วยเหลือด้านการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์จากรุสเซีย ชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ต่อต้านรัฐบาลทหารเพราะเชื่อว่านโยบายการปกครองของรัฐบาลทหารที่ชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิจสต์ขึดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม และทั้งไม่พอใจรัฐบาลทหาที่ยอมให้รุสเซียเข้ามีอิทธิพลแทรกแซงการเมืองการปกครองของอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกานิสถานรวมตัวต่อต้านรัฐบาลทหารภายใต้ชื่อ มูจาฮีดดิน มูจาฮีดดีนปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยการสู้รบแบบกองโจร
   ธันวาคม 1979 กองกำลังรุสเซียเคลื่อนเข้าอัฟกานิสถานเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานปี 1979 โดยรุสเซียอ้างว่าเพราะรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานร้องของความช่วยเลหือเพ่อการปราบปรามมูจาฮีดดิน ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มองว่ารุสเซีย สั่งเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานเพื่อการเข้าควบคุมและมีอิทธิพลเหนือแหล่งน้ำมันโลกบริเวณอ่าวเปอร์เซีย นับเป็นปฏิบัติการทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และทั้งเป็ฯการเริ่มต้นการขยายอำนาจของรุสเซียเข้าสู่น่านน้ำและพื้นที่แถบทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตอบโต้วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานในปี 1979 ทันที่โดยหนึ่งหยุดการส่งข้าวสาลี และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูงแก่รุสเซีย และทั้งทั้งกล่าวประณามการเคลื่อนกองกำลังรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานว่าเป็นการก้าวร้าวรุกอธิปไตยของอัฟกานิสถานและทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากปี
1945 รุสเซียเพิกเฉยคำกล่าวประณามของสหรัฐอเมริกาและคงกองกำลังรุสเซียในอัฟกานิสาน สองประท้วง ไม่ส่งนักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สามเตรียมกำลังพล กำหนดให้เยาวชนอเมริกันทั้งชายและหยิงรายงานตัวขึ้นทะเบียนเพื่อรับการเกณฑ์กำลังพลในอนาคต ถ้าจำเป็นเพื่อปกป้องอ่าวเปอร์เซีย จากการอาจถูกกองกำลังรุสเซียเข้ารุกล้ำ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล้าพูดว่าประเมินรุสเซียผิดอย่างไม่คาดคิดดมาก่อน และดึงกลับสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 จากการพิจารณาของวุฒิสภาห้า ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลักการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกนำเป็นต้องเข้าขัดขวางแรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกัน ถ้าจำเป็นด้วยปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาด เพื่ปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่านเปอร์เซียด้วยกลักการคาร์เตอร์ เป็นการบ่งชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาต้องการให้กองกำลังรุสเซียหยุดอยู่ที่อัฟกานิสถาน และเป้นกาตัดสินใจอย่งเด่นชัดในการนำสหรัฐอมเริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเนื่องกับน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย

        จากการต่อสู้รบระหว่างกองกำลังรุสเวียและกองกำลังรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานฝ่ายหนึ่งกับกองกำลังมูจาฮีดดีนอีกฝ่ายหนึ่ง นับจากเดือนธันว่าคม ผลปรากฎว่าชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่หลบหนีการปะทะเข้าอาศัยบริเวณชายแดนปากีสถานและอิกร่าน กองกำลังรุสเซียเริ่มถ่อยออกจากอัพกานิสถาน และถอนหมดสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในอัฟการนิสถานคงมีสงครมลกางเมืองระหว่างกองกำลังมูจาฮีดดินกับกองกำลังรัฐบาลอัฟกานนิสถาน
      สหรัฐอเมริกามีกรณีพิพาทกับอิหน่าน เกิดวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกันหรือวิกฤติการณ์อิหร่าน ปี 1979 เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกกลาง ดินแดนทางเหนือติดทะเลแคสเปียน และรุสเซีย ทางตะวันออกติดอัฟกานิสถานและปากีสถานทางใต้ติดอ่าวเปอร์เซีย ทางตะวันตกติดอิรักและตุรกี ในศตวรรษที่ 19 ชาติตะวันตกที่เข้าแทรกแซงอิหร่านคือรุสเซียและอังกฤษ รุสเซียรุกรานอิหร่านเพราะต้องการขยายดินแดนและหาทางออกสู่อ่าวเปอร์เซีย อังกฟษแทรกแซงอิหร่านต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อทำธุรกิจน้ำมัน ในแหล่งน้ำมันในพื้นที่ทางตะวันตกเฉพียงใต้ของอิหร่าน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อิหร่านวางตนเป็นกลาง ในสปี 1925 เรซา ข่าน นายทหารแห่งกองทหารม้านำกองกำลังทหารโค่นอำนาจอษัตรยิ์หรือชาห์ ในราชวงศ์คาชร์ และสถาปนาตนเองเป็นชาห์แห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี ชาห์ เรชามุ่งพัฒนาอิหร่านให้ทันกับโลกสมัยใหม่ พร้อทั้งรับการเข้ามาของชาติตะวันตกเพื่มมากขึ้น อิหร่านประกาศวางตนเป็นกลางใสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษต้องการใช้เส้นทางรถไฟอิหร่าน ขนยุทธปัจจัยให้แก่รุสเซีย ชาห์ เรซา ปฏิเสธให้ความร่วมมือเป็นผลให้ในปี 1941 กองกำลังผสมอังกฤษ-รุสเซยบุกเข้า อิหร่าน บังคัยให้ชาห์ เรซา สละราชสมบัติ และให้โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวียอมลงนามให้อังกฟษและรุสเซียร่วมใช้เส้นทางรถไฟอิหร่านและให้คงกองกำลังทหารของทั้งสองชาติอยู่ในอิหร่านจนกว่าสงครามจะยุติ เพื่อ
ปกป้องธุรกิจนำมันและการขนส่งยุทะปัจจัย แรมีกองกำลังทหารต่างชาติในอิหร่านทำให้ชาวอิหร่านกลุ่มชาตินิยมไม่พอใจเกิดขบวนการชาตินิยม ภายใต้ชื่อเมลิส เรียกร้องยุติอิทธิพลอังกฤษในธุรกิจน้ำมันในอิหร่านสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่อังกฤษและอังกฤษโต้ตอง โดยหยุดดำเนินธุรกิจน้ำมันในอิหร่านพร้อมทั้งไม่นำน้ำมันอิหร่านออกสู่ตลาดโลกน้ำมันในตลาดโลก จึงไม่สามารถนำนำมัออกสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง ดิกร่านต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจการเงิน กลางปี 1953 ชาห์ เรซา ปาห์เลวีบังคับให้ขบวนการชาตินิยมเมลิสเลิการต่อต้านอังกฤษ ขบวนการชาตินิยมเมลิสจับกุมชาห์ เรซา ปาห์เลวีและบังคับให้ลี้ภัยออกนอกอิหร่านสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประนาะบดีไอเซนฮาวร์ สั่งให้หน่วยสืบราชการลับนอกประเทศ เข้าช่วยชาห์ เรซา ปาห์เวลี กลับขึ้นมีอำนาจอีกครั้งในปี 1953 หลังถูกจับกุมอยู่สามวันและชาห์ เรซา ปากห์เลวีสั่งปราบปรามสมาชิกขวบนการชาตินิยมเมลิสทันที่เมืองกลับมีอำนาจ
  
  ทศวรรษที่ 1960 การปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองประกฏเด่นชัน ขณะเดียวกันชาวอิหร่านเริ่มการเริ่มการต่อต้านชาห์ เพราะไม่พอใจการปฏิรูป ชาห์ เรซาปาห์เลวีนำการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ชื่อปฏิวัติขาวหรือการเปลี่รยแปลงโดยสิ้นเชิงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ปผนปฏิรูปที่ดินดวยการจัดสรรแจกจ่ายที่ดินแก่ชาวนาและเกษตรกร แผนส่งเสริมการศึกษา แผนส่งเสริมสวัสดิการและการให้บริการสังคม แผนให้สิทธิสตรีในการลงคะแนน แผนพัฒนาอตาสหกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจด้วเงิยรายได้ที่เพิ่มขึ้จจากการขายน้ำมัน ชาห์ เราซา ปาห์เลวีกุมอำนาจทางการเมืองปกครองด้วยการจับกุม คุมขัง ทรมาน และเนรเทศผู้ต่อต้านทุกคน ชาห์ เรซา ปาห์เลวีสังจับกุมและเนรเทศอะยาโทลลาห์ รูโฮลลาห์ โดไมนี ผุ้นำศาสนานิกายชีอะ จากอิหร่านต้องเข้าอาศํยในอิรัก 13 ปี อยู่ฝรั่งเศสหนึ่งปี ในเดื่อน กุมภาพันธ์ 1979 เดินทางกลับอิหร่าน ศัตรูของชาห์ เรซา ปาห์เลวีมีสองกลุ่ม ๆ แรกคือ นักศึกษาและนักวิชาการ กลุ่มที่สองคือผู้นำศาสนา กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการรวมตัวต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านการปกครองและเสรษฐกิจ ในประเด็นหนึ่งชาห์ เรซา ปาห์เลวี ปฏิเสธในสิทธิเสรีภาพของชาวอิหร่านกดขี่ข่มเหงลิดรอนสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์สองใช้เจ้าหน้าที่ลับซาวัค ปราบปรามบดขยี้กลุ่มต่อต้านซาห์อย่างทารุณโหดเหี้ยม สามรัฐบาลกระทำการทุจริตเอื้อประโยชน์แก่ต่างชาติอันเป็นการทำลายเศรษฐกิจอิหร่าน กลุ่มผู้นำศาสนารมถึงคนอิหน่านผุ้ยึดมั่นในขนบประเพณีดังเดิมหรือพวกคนหัวเก่า ต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านสังคมใน ประเด็นการปฏิรูปสังคมของชาห์เป็นไปอย่างรวดเร็วไปอย่างรวดเร็วให้ทักับโลกภายนอก เช่น เรื่องสิทธิสตรีและการแต่งกายของสตรีล้วนขัดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสบามและขัดต่อประเพณีดีงามของมุสลิม
      ช่วงทศวรรษ คนอิหร่านต่อต้านชาห์ เรซา ปาห์เลวี ทีความรุนแรง เริ่มโดยสหรัฐอเมริกาเพิ่มการสั่งซื้อนำมันจากอิหร่านเพื่อขจัดปัญหาวิกฤติพลังงานปี 1973 ขณะเดียวกันชาห์ เรซา ปาห์เลวี เพิ่มการสั่งซื้ออาวุธที่ประสิทธิภาพสู
เพื่อการปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาห์ที่เพ่มจำนวนขึ้นและคิดโค่นอำนาจชาห์ ปาห์เลวี ทั้งสหรัฐอเมริกาเองก็ยินดีขายอาวุธแก่อิหร่านในราคามิตภาพที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจน้ำมันอเมริกันในอ่าวเปอร์เซีย มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะในธุรกิจขายน้ำมันเพื่อซื่ออาวุธหรือขายอาธเพื่อซื้อนำมัน ว่าปิโครดอลล่าร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี 1972-1979 มีการซื้อขายน้ำมันและอาวุธระหว่างกันมีมุลค่าถึง ยี่สิบพันล้านดอลล่าร์ และประธานาธิบดีคาร์เตอร์เดินทางเยือนอิหร่านเพื่อกระชับความสัมพันะห้แน่นแฟ้นในปี 1977 การปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านชาห์ นับจากปี 1960 ได้รับการสั่งการมาโดยตลอดจาอะยาโทลลาห์รูโฮลลาห์ โคไมนี ทั้งขณะอยู่ใอหร่าย ถูกเนรเทศต้องเข้าอาศัยในอิรักและฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านชาห์ กล่าวโจมตีและวิจารณ์ชาห์ทั้งสร้างความโกลาหลวุ่นวายในอิหร่านด้วยการเดินขบวน นัดหยุดงาน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าและทำลายทรัพย์สินกลุ่มผู้สนับสนุนชาห์มีการปล้นสดมภสร้างความเดื่อร้อนอย่างมากแก่ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจเข้าช่วยเหลือได้ อิหร่านขาดวินัยในการปกครองและเศรษฐกิจหยุดชะงัก ด้วยสภาพดังกล่าวสร้างแรงบีบคั้นอย่างมากแก่ชาห์ เรซา ปาห์เลวี เป็นผลให้ในวันที่ 16 มกราคม ชาห์ เรชา ปาห์เลวีตัดสินใจลั้ภัยการเมืองจากอิหร่าน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979 โคไม่นีจากฝรั่งเศสเดินทางกลับอิหร่าน ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และใช้คำสอนในศาสนาอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศ
      ท่าทีประธานาธิบดีคาร์เตอร์ต่อวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกัน 1979 ประการแรกคือ ปฏิเสธการส่งตัวชาห์แห่งอิหร่านให้แก่รัฐบาลอิหร่าน ภายใต้การนำของโคไมนี สองสั่งตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยการหยุดขายและส่งอาวุธตลอดจนความช่วยเหลือใด ๆ แก่อิหร่าน สามสั่งควบคุมเงินและของมีค่าของชาวอิหร่านที่นำฝากในธนาคารอเมริกัน สี่จัดส่งนักเรียนนักศึกษาอิหร่านที่ศึกษาในสหรัฐอเมริกากลับอิหร่าน ห้าสหรัฐอเมริกและมวลประเทศสมาชิกโลกเสรีร่วมกันประณามการกระทำของอิหร่าน ว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวประกันอเมริกันทั้ง 52 คน หก ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งกองทัพเรื่ออเมริกันประจำน่านน้ำมหาสมุทรอินเดียเตรียมพร้อมปฏิบัติการ เพื่อเป็นการแสดงสัญญาณเตือนรัฐบาลอิหร่านถึงความพร้อมปฏิบัติการของกองกลังอเมริกันถ้าจำเป็น เจ็ดประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลัการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเข้าขัดขวางแทรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกันถ้าจำเป็นก้วยการปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาดเพื่อปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มุ่งใช้หลักการคาร์เตอร์ ปี 1980 กับทั้งอิหร่านและรุสเซีย รวมถึงกระตุ้นคนอเมริกันให้รับรู้ถ้าจำเป็นต้องการเกณฑ์ทหารเพื่อการปราบปราม และท้งเป็นการตัดสินใจอย่างเด่นชัดในการนำสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเดี่ยวเหนื่องกับน้ำมันบริเวณอ่านเปอร์เซีย แปด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในเดือนเมษายนปี 1980 และเก้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งชิงตัวประกันอเมริกันด้วยปฏิบัติการเฮลิคอบเตอร์แปดลำ ผลการปฏิบัติการล้มเหลวรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของโคไมนียึดตัวประกันอเมริกันที่ 52 คนไว้เพื่อใช้เป็นโล่ป้องกันมาตรการการโจมตีใดๆ ที่สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์อาจจะกระทำต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามตัวประกันทั้ง 52 คนได้รับการปล่อยตัวในปี 1981 ในวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโรแนล ดับเบิลยู เรแกน รวมเวลาการกักขังตัวประกันชาวอเมริกัน 444 วัน

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Deng Xiaoping

เหมา เชตุงประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประธานหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค  ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจและประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปี 1950 นานาชาติเริ่มาให้การยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องหยุดชะงักคือเหตุการณ์สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกคามต่อดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งเรียกตัวเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไปเกาหลี่เหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ใหญ่ ๆ 2 ประเทศคือจีนแผ่นดินใหญ่และสหภาพโซเวียต เข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยเหมาเจอตุง เป็นผู้ให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือ
      ผลงานและความผิดพลาดของเหมาเจอตุง ที่ประเมินโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ข้อรุปว่า แม้ในบั้นปลายชีวิต เหมาจะได้ทำความผิดร้ายแรง ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรมที่มีประชาชนล้มต่ายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับผลงานอันใหญ่หลวง และยาวนานที่ท่านสร้างให้แผ่นดินและประชาชนจีน คุณความดีของท่านมีมากกว่าความผิดพลาด ประธานเหมา ยังคงเป็นผู้นไท่ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักของประชาชนจีน
     โจวเอิน ไหล  จุดเริ่มต้นนักปฏิวัติของโจวเอินไหล คือเมื่อเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหนันไค ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดกว้างทางความคิด  โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านประธานาธิบดีหยวน ซือ ข่าย และเมื่อจบการศึกษาจึงไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเหตุการณ์เคลื่นอไหว 4 พฤษภาคม 1919 โจวเอินไหลได้เป็นบรรณษธิการหนังสือสมาพันธ์นักเรียนเทีนยจิน แต่ถูกปิดไปพร้อมกับการจับกุมตัว โจว เอิน ไหล เขาถูกจำคุกเป็นเวลาครึ่งปี  เมื่อถูกปล่อยตัวเขาเดินทางไปฝรั่งเศส ในช่วงนั้นโจว..มีแนวความคิดด้าน
สังคมนิยมหลังจากได้อ่านประกาศพรรคคอมมิวนิสต์และหลักการแนวคิดคอมมิวนิสต์ ร่วมถึงหนังสื่อ “สงครามชนชั้น” ซึ่งในระหว่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสเขาได้มีส่วนร่วมทางการเมื่องอย่างต่อเนื่อง
    การช่วงชิงแผ่นดินหลายต่อหลายครั้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋ง ซึ่งในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์สามารถมีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งที่ต้องถอยร่นไปอยู่ไต้หวัน และประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น โดยเหมาเจ๋อตุง เป็นประธานาธิบดี และโจวเอินไหลเป็นนายกรัฐมนตรี
     เติ้งเสี่วยผิง เป็นผู้นำสุงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทศวรรษที่ 80s ถึงปี 2000 เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประชาชนจีน เป็นชนชั้นผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของเติ้ง เสียวผิง ประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก
     เติ้ง เสี่ยวผิง จบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าเรียนโครงการสำหรับนักเรียนจีนซึ่งมีนักปกครอง-นักปฏิวัติหลายคนของเอเซียเคยเรียน เช่น โฮจิมินห์ และโจว เอินไหล
     เติ้งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของเหมา เจอ ตุง และได้รับตำแหน่งสำคัญของพรรคหลายตำแหน่ง แต่ในภายหลังด้วยนโยบายที่ขัดแย้งกัน เติ้งเสียวจึงถูกขับจากตำแหน่ง และไปเป็นกรรมกรอยู่ที่โรงงานใน มณฑลเสฉวน เมื่อนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ไหลขึ้นครองอำนาจและพบว่าตนเองป่วยด้วยโรคมะเร็ง โจวเอินไหลจึงเรียกเรียกเติ้งกลับมาอีกครั้งเพื่อเป็นทายาททางการเมืองรับหน้าที่ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายที่เกิดจการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม กอปรกับความร่วมมือของประชาชน ทำให้ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แต่ต่อมาก็ถูกแก๊ง 4 คน ใส่ร้ายป้ายสี จนต้องออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่ง เป็นครั้งที่ 2
   
หลังจากแก๊ง 4 คนถูกล้มล้าง ในปีเดียวกันนั้นเอง พร้อมกับการสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ประชุมคณะกรรมการพรรคคอมิวนิสต์จีนชุดที่ 10 เต็มคณะครั้งที่ 3 มีมติให้เติ้งเสียยวผิงกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลอีกครั้ง เติ่งเสี่ยวผิง ได้รับการแต่งตั้งในที่ประชุมผู้แทรพรรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 11 สิงหาคม 1977 เป็นรองประธานพรรคคอมมิวนสต์ เรื่อนมีนาคม 1978 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาพที่ปรึกษาทางการเมือง โดย เติ้ง..เสนอให้มีการทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และให้พรรคหันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็ฯหลัก
    ธันวาคม 1978 ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 3 เป็นการเปิดศักราชใหม่ของประเทศ ทั้งในด้าน
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมพิเศษหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจำเพาะของจีน ภายใต้การนำของคณะกรรมการบริหารพรรครุ่นที่สองโดยมีเติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นแกนนำ
    กลางปี 1981 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 6 ได้มีการทบทวนแนวคิดของเหมาเจ๋อ ตุง ตามหลักและเหตุผล ได้มีมติคงไว้ซึ่งความสำคัญของอดีตผุ้นำเหมาในทางประวัติศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้น เติ้งเสียวผิงได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการกลางการทหาร(ผู้นำประเทศ)
      ทฤษฎีว่าด้วย “แมว” ที่เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมาก แม้ว่าในปัจจุบัน
“ไม่ว่าจะเป็นแมวดำแมวขาวขอให้จับหนูได้ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี”
     ชนบทที่กว้างใหญ่ของจีนได้ดำเนินวิธี”รับเหมาการผลิตถึงครัวเรือน”ขณะนั้นคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมณฑลอานฮุยได้ให้การสนับสนุนและชี้นำโดยดำเนินการตามระบบ “กำหนดการผลิตถึงที่นากำหนดความรับผิดชอบถึงคน” ระบบที่ว่านี้ นับว่าเป็นจุดทะลวงที่สำคัญภายใต้ระบบคอมมูนในขณะนั้น เรื่องนี้ก็ได้เกิดการโต้แย้งกันค่อนข้างรุนแรง กลุ่มผุ้นำจีนในยุคนั้น เต่งเสียวผิง แสดงความเห็นชอบวิธีการดังกล่าวในการประชุมสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคฯ ที่พิจารณาปัญหาดังกล่าว เติ้งเสียวผิงก็ได้แสดงข้อคิดว่า “รูปแบบการผลิตไหนเป็นการง่ายและเร็วต่อการฟื้นฟูและการพัฒนาการผลิตในภาคการเกษตรก็จะได้ใช้รูปแบบนั้น ขอแต่มวลชนยอมรับที่จะใช้รูปแบบไหน แม้จะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถทำให้ชอบด้วยกฎหมายได้ เขาได้ยกสุภาษิตชาวบ้านของมณฑลอานฮุยว่า “ไม่ว่าจะเป็นแมวเหลื่อง แมวดำจับหนูได้ก็ถือเป็นแมวดี” ต่อมาจึงเกิดทฤษฎว่าด้วย “แมว” ที่โด่งดังขึ้น ต่อมาก็ได้ถือเป็นทัศนะทางลัทธิอัตถะประโยชน์ที่ไร้แนวทางจุดยืน เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในช่วง “ปฏิวัติวัฒนธรรม”เหมาเจ๋อตงเวลาวิพากษ์เติ่ง..จึงใช้คำว่า “ยังเป็นแมวดำแมวขาวอีก” คำนี้จึงกลายเป็น “ไม่ว่าจะเป็นแมวดำ แมวขาว..” ถึงแม้เติ้งจะขึ้นๆ ลงๆ ทางการเมือง แต่ “ทฤษฎีว่าด้วยแมวดี” รับการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราไม่เพียงไม่ล้มเลิก นับวันกลับทรงอิทธิพลกว้างใหญ่ และมีบทบาทสำคัญต่อการปลดปล่อยความคิดของผู้คนในช่วงต้นของการปฏิรูปเปิดประเทศ
     “ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศแรกที่ต้องดำเนินนโยบาย “การปฏิรูปภายใน ภายนอกเปิดประเทศ”ของค่ายชนชั้นกรรมชีพสากล มาตรฐานในข้อนี้กลายเป็นความลำบากอันยิ่งใหญ่และมีลักษณะไม่แน่นอนสูง เพราะว่าการดำนเนินการปฏิรูปเปิดประเทศของจีนหลังปี 1978 เป็นการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ทางทฏษฎีและการปฎิบัติทางสังคม จำเป็นต้องดูดซับผลทางอารยธรรมของมนุษย์บนพื้นฐานการสรุปบทเรียนจากการปฏิวัติของจีนและขบวนการลัทะคิมมิวนิสต์สากลต้องละทิ้งการกระทำข้อผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา ประดิษฐ์คิดค้นนโยบายใหม่บางอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนเพื่อนำไปปฏิบัติซึ่งเป็นขบวนการการเปลี่ยนแปลงตัวเองของตัวผู้นำ มันเป็ฯการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่หาคำตอบที่สำเร็จรูปได้จากคัมภีร์ของมาร์ก เลนิน ฯ บรรดาปรมาจารย์ทั้งหลายหรือคำตอบที่ถูกต้อง หากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวก็ง่ายต่อทำให้ผู้คนเกิดความยุ่งเหยิงทางความคิด และเป็นไปได้ง่ายที่ผู้นำการปฏิรูปต้องตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบในเชิงทฤษฎีโดยถูกตราหน้าว่า “ไม่ใช่ผู้ศรัทธาลัทธิมาร์กซ์ที่แท้จริง”หรือไม่ก็ตกอยู่ในฐานะเสียบเปรียบทางคุณธรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน คือ “ไม่มีความจงรักภักดี ความกตัญญู เมตตาธรรมและคุณธรรม”

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Jame Earl Carter

      เจมส์ อี. คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 39 จาพรรคเดโมเครติกนำการบริหารประทเศระหว่างปี 1977-1981 โดยมี Walter F. Mondal เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า จิมมี่ คาร์เตอร์

     จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกันที่จบจากโรงเรียนนายเรือ เป็นจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด เป็นคนแรกที่ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบิเลือกเดินบนถนนเพนซิลวาเนียพร้อมภรรยาจากอาคารพิธีกลับทำเนียบขาวเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของความเป็นสามัญชนของประธานาธิบดี
     นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เน้นในเรื่องการเคารพในสิทธิมนุยชน อันหมายถึรัฐบาลต้องยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศสนา การเดินทาง แรลงคะแนนรวมถึงได้รับการพิพากษาที่ยุติธรรมเมืองกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรือยกเลิกการให้ความช่วยเหลือและหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตามที่ประธานาธิบดีคาร์เตกรอืเชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิมธิของประชาชนอันกได้แก่บางประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้มีนโยบายมุ่งลดจำนวนกองกำลังทหารอเมริกันที่ประจำอยูนอกสหรัฐอเมริกา และละการขายอาวุธแก่ต่างชาติ รวมถึงลดการแข่งขันเพื่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
     สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็ฯทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 1979 จีนแผ่นดินใหญ่หลังการเสียชีวิตของเมา เซตุงและ จู เอนไล ในปี 1976 อยู่ภายใต้การนำขอกลุ่มจีนหัวใหม่ ไม่นิยมความรุนแรงและมุ่งพัฒนาประเทศเร่มด้วยหัว กกฟง ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคคิมมิวนิสต์ในปีเดียวกันนั้นเอง โดยมีเติง เสี่ยวผิง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหร้าพรรคอมมิวนิสต์ เติง เสี่ยวผิงให้ความสนใจอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มบทบาทและความสำคัญของจีนในเวที่การเมืองโลก อันเป็นในช่วงเวลาเดียวกันกับประธานาธิบดีคาเตอร์เองต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่นำสู่การพบกันของตัวแทนทั้งสองชาติเพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการและในปี 1978 รัฐบาลอเมริกันนที่วอชิงตันและรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ประกาศให้โลกรู้ในแถลงการณ์ร่วมกน กำหนดสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอยางเป็นทางการ เติง เสีย่ยวผิง เพีมความกระชับสัพันธ์ด้วยการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกามีการลงนาในข้อตกลงระหว่างเติง เสี่ยวผิงกับประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ทำเนียบขาว เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านการค้า ด้านวัฒนธรรม และด้านวิชาการวิทยาศาสตณืและเทคโนโลยี ปี่1980 หัว กกฝง หมดอำนาจ เติง เสียงผิง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดของจีนและคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา
    ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ลอโอนิค ไอ.เบรสเนฟ ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำรุสเซียมุ่งหวังใช้นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์หรือสร้างความสัมพันะอันดีกับโลกเสรี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการเทคโนโลยีพทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ จากโลกเสรีความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1963-1977 เป็นไปด้วยดี แต่ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตดรอ์ความสัมพันะระหว่างรุสเซียกับอเมริกาเลวร้ายลง เพราะลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ เลิกยึดมั่นในนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรี และผู้นำทั้งสองต่างไม่พอใจในท่าที่และการกำหนดนโยบายต่างประเทศระหว่างกัน
     รุสเซียไม่พอใจที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นโยบายสิทธิมนุษยชน หมายถึงรัฐบาลต้องเคารพและยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศาสนา การเดินทาง การลงคะแนนตลอดจนการได้รบคำพิพากษาที่ยุติธรรมเมื่อกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรอยกเลิกการให้ความช่วยเหลือหรือหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตาทที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิทธิประชาชน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเท็จจริงคือหนึ่งประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารแก่อาร์เจนตินา อุรุกวัย นิคารากัวและเอธิโอเปีย เพราะเชื่อแน่ว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สองประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล่าววิจารณ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลรุสเซียที่ระงับและปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซียที่เรียกร้องเพื่อการอพยพออกจารัสเซียสู่โลกเสรีว่าการกระทำเช่นนี้บ่งชี้ชัดว่ารัฐบาลกดขี่ประชาชน ไม่เคารพในสทิธิเสรีภาพประชาชน และละเมิดสิทธิมนุษยชน สามประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารเพียงช่วงสั้น ๆ แก่ ฟิลิปินส์ อิหร่านและเกาหลีใต้เพราะทั้งสามชาติมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องลงโทษเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวโจมตีของรุสเซยในประเด็นสหรัฐอเมริกาเลือกปฏิบัติ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงความช่วยเหลือแก่ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ เพราะรัฐบาลเป็นคนผิวขาว ปกครองคมผิวดำ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลผิวขาวกดขี่ข่มเหงประชาชนผิวดำ สหรัฐอเมริกาก็ยังคงความช่วยเหลือเพราะแอนดรู ยัง ทูตสหรัฐอเมริกาประจำองค์การสหประชาชาติเป็นหลักให้การคุ้มครองรัฐบาลผิวขาวและปรธานาธิบดีคาร์เตอร์คล้อยตามทุกประการ ห้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและอูกานดาเพราะรัฐบาลในสงอประเทศเป็นรฐบาลเผด็จการเต็มรูปแบบ
    รุสเซียหวาดระแวงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญเพราะสหรัฐอเมริกาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในวันที่ 1 มกราคม 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ราบรื่นและหยุดชะงักในปี 1960 เมื่อรุสเซียภายมใต้การนำของ นิกิต้า ครุซอฟ นำการบริหารรุสเซียประกาศใช้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คือเสียงการทำสงครามกับโลกเสีร ขณะเดียวกันเพื่อการแข่งขันระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและโครงการอวกาศจีนคอมมิวนิสต์คิดว่าการแข่งขันกับโลกเสรีคือความรุนแรงอันหมายถึงสงครามเท่านั้น และโจมตีรุสเซียว่าทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รุสเซียตอบโต้ทันที่ในปี 1960 ด้วยการเลิกให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่จีน  ในปี 1962 รุสเซยปฉิเสธให้การสนันสนุนจีนคอมมิวนิสต์เมื่อมีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับอินเดีย รุสเซียยอมลงนามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในสนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ อวกาศภายนอกและในมหาสมุทร เมื่อกองกำลังทหารผสมรุสเซีย เอยรมันตะวันออก บัลกาเรีย โปแลนด์ และฮังการี เคลื่อนเข้าบดขยี้ชาวเชคโกสโลวาเกียกลุ่มปฏิรูป จีนคอมมิวนิสต์ประณามการกระทำของรุสเซียและกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างกัน ทังรุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนด้านเสบียงและยุทธปัจจัยแก่เวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันและดร.เฮนรี่ เอ. คิสซิงเกอร์ เห็นควรเยือนจีนคอมมิวนิสต์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้การยอมรับในความเป็นชาของจีนคอมมิวนิสต์และเพื่อการเจรจาให้จีนคอมมิวนิสต์หรือเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม การเยือนจีนคอมมิวนิสต์มีชึ้นในปี 1972 ผลของการเยือนนำสู่การค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนดลยีและการท้องเที่ยวระหว่างกันรวมถึงการจัดตั้งสำนักงานของรัฐบาลบทั้งสองประเทศ ที่กรุงปักกิ่งและวอชิงตัน ดี.ซี.การเยือรุสเซียเพื่อกระชับความสัมพันะ ร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ และเจรจาให้รุสเซียลดหรือเลิกสนับสนุนเวียนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันเยือนรุสเซียในปี เดียวกันผลของการเยื่อนนำสู่การค้า และเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนโลยี และความร่วมมือในโครงการอวกาศระหวางกันรวมถึงลดความตึงเครียดทางการเมืองด้วยการร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 1 และที่สำคัญยิ่งคือสหรัฐอเมริกาสามารถออกจากสงครามเวียดนามด้เป็นที่เรียบร้อยในปี 1973 ประธานาธิบดีฟอร์ดสานต่อความสัมพันะกับจีนคอมมิวนิสต์ด้วยการเยือนจีนในปี 1975 เมา เช ตุง และจู เอน ไล เสียชีวิตในปี 1976 ในป 1977 จีนคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้การนำของกลุ่มคนหัวใหม่ ผู้นำคนใหม่ไม่นิยมความรุนแรง มุ่งพัฒนาประเทศ มุ่งนำจีนเพ่มการมีบทบาทในเวทีการเมืองโลก และมุ่งกระชับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ก็ต้องการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน นำสหรัฐอเมริกาสู่การตัดความสัมพันะทางการทูตกับจีนไต้หวัน และเปิดความสัมพันะทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งรุสเซียเฝ้าติดตามการพัฒนาความสัพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่ตลอดเวลา และเกิดความหวาดระแวงเกรงอันตรายที่อาจจะเกิดแก่รุสเซียได้ในอนาคต…

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

international relations (Cold War)

  
  ภาวะ “สงครามเย็น”กับการดำเนินนโยบายของอภิมหาอำนาจสองประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีดังนี้
     การเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานับจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แบ่งศึกษาได้เป็น 2 ระยะได้แก่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และหลัง
     - แนวนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 –1980 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 6 คน แต่แนวนโยบายต่างประเทศทีเป็นหลักมีเพียงเเนวทางเดียว คือ “การสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งความแตกต่างในแต่ละสมัยจะเป็นเรื่องวิธีปฏิบัติ และความเข้มของนโยบาย
แฮรี เอส ทรูแมน ในสมัยนี้นโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเข้มสูง ทั้งนี้เพราะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของในหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์และฮังการี ในปี 1956 และเชโกสโลวะเกียในปี 1968 นอกจานั้น ตุรกี ยังถูกคุกคาม และดินแดนบางส่วนของอิหร่านถูกยึดครองโดยกองทัพของสหภาพโซเวียตผุ้นำของสหัฐอเมริกาจึงเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าสหภาพโซเวียตจะขยายลัทะคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก เพื่อทำลายระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการหยุดยั้งการดำเนินงานของสหภาพโซเวียต
     ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยและด้วยความรู้สึกต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงเป็นผุ้นำในการดำเนินการสร้างระบบพันธมิตรที่มีกษณะเป็นแนวปิดล้อมคอมมิวนิสต์ขึ้น กล่าวคือ ภูมิภาคยุโรปจะมีองค์การนาโต เป็นฐานดำเนินการ ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีองค์การเซ็นโตเป็นฐานดำเนินการ ส่วนเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้จะมีองค์การซ๊โต เป็นฐานดำเนินการและนอกจากนั้น ยังมีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งเป็นหน่วยร่วมปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริ่มพลังในการสกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ สหรัฐอเมริกาใช้หน่วยงานสืบราชการลับหรือ ซีไอเอ.CIA เป็นเครื่องมือในการเข้าแทรกแซงฝ่ายตรงกันข้าม และรักษาความมั่นคงของกลุ่มประเทศสรีประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียนร์เพิ่มมากขขึ้น เพื่อจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกดดันด้านนดยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์
จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ในระยะนี้มีการเพิ่มขีดความสามารถที่จะรักษาเสถียรภาพในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกที่คาดว่าจะถูกคุกคามจากการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ อาทิ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารเข้าตรึงในประเทศลา เขมร และเวียดนาม การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตระหว่างปี 1961-1963 ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์เบอร์ลิน จนนำไปสู่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน วิกฤตการณ์คิวบาเป็นต้น
ลินคอม บี. จอห์สัน นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง สหรัฐอเมริกาจึงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายที่ทำการต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ เช่น ให้การสนับสนุนทงทหารอย่างเต็มที่ในสงครามแวเยดนามในสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตา นธยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วยนี้จะไมเสี่ยงต่อการทำสงครามโลก เพราะการทำสงครามโลกหมายถึงการทำสงครามนิวเคลียร์สหรัอฐอเมริกาหันมสใช้วิธีรณรงค์ทางการทูตควบคู่ไปกับการผ่อนคลายความกดดันทางทหารลงนับตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา
ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน และเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เป็นช่วงที่ยุทธศาสตร์ทางการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบ 2 ขั้วอำนาจอันได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มาเป็นรูปแบบ 3 ขั้วอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาจึงมีการปรับตัวตามยุทธศาสต์การเมืองโลกไปด้วย อย่างไรก็ตาม นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงเดิม แต่ในระดับปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าพัวพันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองเต็มรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากการประกาศหลักการนิกสัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้มีการลดบทบาททางทหารของสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอเมริกาจะจัดหาทั้งอาวุธและกำลังทหารให้แก่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิต์ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนประเทศเกาหลีและเวียดนาม มาบัดนี้ สหรัฐอเมริกาจะให้ความ่วยเลหือเฉพาะด้านอาวุธและการเงินเท่านั้น และจะให้กับประเทศที่พร้อมจะหากำลังพลของตนเอง จึงกล่าวโดยทั่วไปได้ว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะหว่าง เป็นนโยบายลดความตึงเครียด เหตุกาณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ประธานาะบดีนกิสันเดินทางไปเยื่อนจีนคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาถอยทัพออกจากเวียดนามในลักษณะของการพ่ายปพ้ และปล่อยให้สามประเทศอินโดจีนอันได้แก่ประเทศลาว เขมร และเวียดนาม ตกอยู่ในความยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวีย นับจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2-1980 แนวนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเพียงประการเดียว คือ “การสร้างความมั่นคงให้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งภายในประเทศสหภาพโซเวียตและในหมู่ ประเทศบริวาร” ทั้งนี้โดยใช้นโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำค่ายเสรีประชาธิปไตย ทำให้เห็นลักษณะของการแข่ขันระหว่าง 2 ค่ายอย่างแท้จริง
โจเซฟ สตาลิน ดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยใช้กลยุทธต่าง ๆ เช่น การเพิ่มกำลังทหา การสะสมอาวุธ การเร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ การสร้างค่ายของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ขึ้นอย่งมั่นคง เป็นต้น
สมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ ในช่วงเวลานี้สหภาพโซเวียตใช้วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยวิธีลดการเผชิญหน้าลงบ้าง และยอมรับหลักการอยู่ร่วมกัน โดยสันติ แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งคิดค้นและสร้างอาวุธยุทธศาสตร์ขึ้นมาอีก จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจน
สมัยนิกิตา ครุสซอฟ มีวิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สำคัญยังคงสืบต่อจากสมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ คือ ใช้นโยบายเผชิญหน้าควบคู่กับการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกัยอย่างสันติ
สมัยผู้นำร่วมเบรซเนฟ-โคชิกิน ยุคนี้การเมืองโลกเปลียนเป็น 3 ขั้วอำนาจ ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีปัญหากับจีนคอมมิวนิสต์วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อสหรัฐอเมริกาจึงปรับกระบวนการไปบ้าง กล่าวคือ จะไม่นิยมเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า แต่จะถือหลักการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกันอย่างสันติ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน
แนวนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนนับจากปี 1949 เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ได้เปลี่ยนระบบการเมืองการปกครองเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ จนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะคลอยตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศและผกผันตามการดำเนินนโยบายต่างประเทศจีนคอมมิวนิสต์จึงพอแบ่งได้เป็นช่วงเวลาดังนี้
    ค.ศ. 1949-1954 เป็นระยะเริ่มสร้างอำนาจของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินนโยบายกระชับมิตรกับสหภาพโซเวียต กล่าวคื อประธานเมา เจอตุง เดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตพร้อมกับมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพสามสิบปี สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้จีนคอมมิวนิต์ต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวเพราะ “รัฐบาลคอมมิวนิสต์”ยังไม่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ กล่าวคือทางด้านการเมืองระยะดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามกลางเมืองกับฝ่ายจีนคณะชาติ กลุ่มผู้นิยมจีนคณะชาติอาจยังมีอยู่ นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังสแดงจุดยืนที่จะสนับสนุนรัฐบาลประชาะไตยของนายเจียนไคเช็คหรือฝ่ายจีนคณะชาติ ความหวาดเกรงว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์จะถูกคุกคามจึงเกิดขึ้น ส่วนทางด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสภาพทรุดโทรมทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถช่วเหลือตังเองได้อันเป็นผลมาจากภาวะสงครามกลางเมืองและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สหภาพโซเวียตได้ให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลจีนอมมิวนิสต์เป็นอย่างมากอาทิ การให้เงินกู้ระยะยาวและมีระยะปลอดหนี้ ตลอดจนได้ส่งผู้เชียวชาญสาขาต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาทางการทหารจำนวนหนึ่งมาให้รัฐบาลจีน ความผูกพันระหว่างจีนคอมมิวินสต์กับสหภาพโซเวียตจึงมีอย่างแน่นแฟ้นในช่วงนี้
     เริ่มสร้างอำนาจ 1949-1954 เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศด้วยการเร่งกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือที่เรียก ว่า “ผู้ไม่ภักดี” ส่วนด้านความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ จะเป็นการเร่งแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในเขตประเทศใกล้เคียงตามหลักการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในปะเทศเกาหลีและเขตอินโดจีน
     1955-1961 ในช่วงเวลานี้จีนคอมมิวนิสต์ มีความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสำคัญ
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไม่เป็นแนวทางเดียวกันตลอดระยะ 6 ปี กล่าวคือ ในช่วง 2 ปีแรก รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ใช้นโยบายขยายความร่วมมือ อาทิ ยอมรับความเป็นกลางของประเทศโลกที่สาม ผู้นำโจวเอินไหลเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการประชุมที่บันดุงประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1956 เป็นต้นจึงจัดได้ว่าเป็นระยะที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายประนีประนอม ในปี 1957-1961 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้นโยบายแข็งกร้าวอีกครั้งหนึ่งกลับมาให้ความสำคัญการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ จึงให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ต่าง ๆ ระยะนี้เองทำให้จีนมีปัญหากับประเทศเพื่อบ้าน ได้แก่ ธิเบต และอินเดีย กล่าวคือรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหาเข้าปราบกบฎในธิเบตอย่างรุนแรง องค์ดาไลลามะ ผุ้นำทางศาสนาและการเมืองของธิเบตลี้ภัยไปพำนักที่ประเทศอินเดียย การที่รัฐบาลอินเดียให้ที่พักพิงกับองค์ดาไลลามะครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เป็ฯอย่งมาก ซึ่งความไม่พอใจของจีนคอมมิวนิสต์ที่มีต่อการที่อินเดียให้ความช่วยเลหือธิเบตจึงได้พัฒนากลายเป็นกรณีพิพาทพรมแดนในปี 1962 และต่อมาถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการทหารจะยุติลงแต่กรณีครั้งนั้นก็ได้มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนคอมมิวนิสต์และอินเดียเสื่อมทรามลงเป็นอย่างมาก
     1961-1965 เป็นช่วงเวลาที่ลักษณะการเมืองระหว่างประเทศเป็น 3 รูปแบบ 3 ขั้วอำนาจอย่างเด่นชัด จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต และนอกจากนั้นยังพร้อมที่จะแข่งขันด้วย ในการเสริมนโยบายดังกล่าวนี้ จีนคอมมิวนิสต์ใช้วิธีการหาความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายในเอเซีย แฟริกา และลาตินอเมริกา ทั้งนี้โดยสร้างกระแสความรู้สึกต่อต้านลัทะจักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กับการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ อาทิ ปากีสภาน อัฟกานิสถาน พม่า ศรีลักา และให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามเหนือ
     นโยบายการแสวงหาแนวร่วมของจีนคอมมิวนิต์มีเป้าหมายไปสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมด้วย วิธีการที่ใช้กับกลุ่มปรเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมดังกล่าวจะขายอุปกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมให้แก่จีน การดำเนินนโยบายนสร้างมิตรประเทศเช่นนี้ นอกจากทำให้จีนคอมมิวนิสต์มีมิตรเพิ่มขึ้นแล้วยังได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี 1965 โดยในที่ประชุมมีประเทศให้เสียงสนับสนุนถึง 47 เสียงคัดค้าน 49 เสียง และงดออกเสียง 3 ประเทศ
     ในการปฏิวัติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในปะเทศสาธารณรัฐประชาชนจันกระแสทางสังคมเกิดความกดดันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อันได้เเก่ เรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง และการใช้ความรุนแรง ระยะยนี้เองเมา เจอ ตุง และผู้สนับสนุนที่สำคัญ ได้ปลุกระดมนิสิตนักศึกษา ทำการก่อตั้งขบวนการเรดการ์ด ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการปฏิวัติสังคมจีน มีการรณรงค์ต่อต้านและประณามผุ้ที่เมา เจอ ตุง เห็นว่ากำลังมุ่งแนวทางทุนนิยมและลัทธิแก้
     การดำเนินนโยบายในช่วงนี้ มีความแข็งกร้าว มีการเข้าแทรกแซง ให้ความช่วยเหลือขบวนการปฏิวัติในประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการใช้สงครามกองโจร ในช่วงนี้เองที่สงครามเวียดนาม ตลอดจนการสู้รบในพื้นที่อินโดจีนเพิ่มความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนคอมมิวนิสต์จะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในช่วงนี้ แต่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ก็มิได้ให้ความช่วยเลหือในด้านอาวุธแก่ประเทศที่จีนคอมมิวนิสต์สนับสนุนมากนัก
     1965-1976 นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลเสียหายต่อประเทศจีนคอมมิวนิต์เองหลายประการทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศการถดถอยทางเศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศในสายตาของชาวโลกก็ไม่ดีนัก นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมจึงถูกละไป ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้พยายามสร้างความสงบเรียบร้อย และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่เสียหายในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมให้กลับคืนดีขึ้น
     เหตุกาณณ์หลายอย่างมีผลต่อการปรับนโยบายทางการเมืองและการต่างประเทศของจีนคอมมิวนิสต์ กล่าวคือ ในส่วนของค่ายคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนกับสหภาพโซเวียต การใช้นโยบายหลักการเบรสเนฟ ที่กล่าวถึงการมีสิทธิแทรกแซงของสหภาพโซเวียตต่อประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงในค่ายเสรีประชาธิปไตย ได้แก่การเพ่มบทบาทของญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศได้ปลเยนจาก รุปแบบ 2 ขั้วอำนาจมาเป็นหลายขั้ยอำนาจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้จีนคอมมิวนิสต์ปรับนโยบายต่างประเทศของตนเอง นโยบายต่างประเทศแบบแข็งกร้าวจึงถูกเลิกไปในที่สุด ดังนั้น ระยะต้นของทศวรรษที่ 1970 จีนคอมมิวนิสต์ได้กลับมาใช้นโยบายสร้างมิตรประเทศอีกครั้ง ได้เริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับแคนาดา ในปี 1970 ได้เชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนจีน เป็นการเร่ม “การทูตปิงปอง” จนนำไปสู่การเจรจาลับกับนายคิสวิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ  และการเดินทางเยื่อนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีนิกสัน “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้”ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ของสองประเทศ จีนคอมมิวนิสต์และสหรัฐอเมริกา ให้กลับคือสู่ระดับปกตอในเวลาต่อมา
    ปี 1971  จีนคอมมิวนิสต์ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้เปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ส่วนประเทศไทยได้เปิดความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ ในปี 1975
     1976-1979 เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศครั้งใหญ่ กล่าวคือ นายโจวเอินไหล และเมา เจอ ตุง ได้สิ้นชีวิตในปี 1976 การสูญเสียผุ้นำระดับสูงลงในเวลาไล่เลี่ยกันได้นำไปสู่การแย่งชิงอำนาจกันเองในพรรคคอมมิวนิสตื กลุ่มอำนาจที่ต่อสู้กันคือกลุ่มของนางเจียงชิง ภริยาหม้ายของ เมา เจอ ตุง กับพวก ที่ชื่อเรียกว่า “แก็งสี่คน” กับกลุ่มของนายหว่าโก๊ะฟง และเติ้งเสี่ยวฝิง
      กลุ่มนายหว่าโก๊ะฟงและเติ้งเสี่ยวผิงเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้ทางกาเมืองครั้งนี้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ในยคุ “หว่า-เติ้ง” ได้ใช้นโยบายพัฒนาประเทศที่มีชื่อเรียกว่า “สี่ทันสมัยFour Modernzation” มุ่งพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการสนับสนุนนโยบายที่ทันสมัยให้บรรลุผล ผุ้นำยุค “หว่า-เติ้ง”ได้ดำนินการปฏิวัติโครงสร้างทางการปกครองของรัฐบาลกลางและองค์การจัดตั้งต่างๆ ของพรรค โดยมีเจตนาลดประมาณข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงลง 1 ใน 3 สร้างระบบเกษรียณอายุเพื่อให้คนรุ่นใหม่ให้ได้ขึ้นมารับช่วงงานาต่อไป ทำการปราบปรามคอรับชั่นอย่งจริงจัง ที่สำคัญได้ประกาศยกเลิกระบบคอมมูน และได้นำระบบสหกร์เข้ามาใช้แทน
       ด้านการเมืองต่างประเทศของยุคเปลี่ยนผู้นำจะเป็นไปในแนวความคิดของเติ้งเสี่ยงผิงกล่าวคือดดยภาพรวม จีนคอมมิวนิสต์ ดำเนินนโยบายผูกมิตรกับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ก็ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เป็ฯผลจากความเชื่อในทฤษฎีสามโลก กล่าวคือ ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์มีแนวความคิดว่า ประเทศในโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหรอือาจเรียกได้ว่า “สามโลก”

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The Helsinki Accord off 1975

    เจอรัล อาร์.ฟอร์ด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 38 จากพรรครีพับลิกัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกและคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งประธาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี โดยเข้ารับตำแหน่างรองประธานาธิบดีได้เพราะอดีตรองประธานาธิบี สปิโร ที. แอกนิว หลังการถูกสอบสวนให้การยอมรับการถูกกล่าวหาว่าโกงภาษีเงินได้และรับสินบนขณะเป็นผู้ว่าการรัฐแมรี่แลนด์ และยอมลงนามลาออกจากการเป็นรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีนิกสันเลือกเจอรัล อาร์. ผอร์ด เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งได้รับรองจากวุฒิสภาด้วยคะแนนสนับสนุน 387 เสียง คัดค้าน 35 เสียง มีผลให้เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่างรองประธานาธิบดีลำดับที่ 40 เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง

     เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นรองประธานาธิบดีได้แปดเดือน ก็เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีนิกสันประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีเนื่องจากมีส่วสนพัวพันในคดีวอเตอร์เกท ด้วยเหตุดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าเจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการับเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งรองประธานาธิบดี และตำแหน่งประธานาธิบดี
     ประธานาธิบดี เจอรัล อาร์ ฟอร์ด คงคณะรัฐมนตรีสมัยปรธานาธิบดีนิกสันร่วมบริหารสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีฟอร์ด โดยประกาศเลือกเนลสัน เอ.รอคกีเฟลเฟอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คเป็นรองปรธานาธิบดี หลังจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้การยอมับเนลสัน เอ.รอคกีเฟลเลอร์ในตำแหน่างรองประธานาธิบดี มีผลให้ รอคกีเฟลเลอร์เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่างรองประธานาธิบดี และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกาที่ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง
     ประธานาธิบดีฟอร์ดประกาศอภัยโทษอดีตประธานาธิบดีนิกสัน และการกระทำผิดอื่นๆ ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รวมั้งอนุญาตให้อดคตประธานาธิบดีนิกสันเก็บรักษาม้วนเทปและเอกสารที่มีส่วนเกี่ยวพันในคดีวอเตอร์เกท ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่คนอเมริกันด้วยเหตุผลประการแรกคือไม่เป็นธรรม แก่ผู้กระทำความผิดอี่ก 20 คนที่ต้องคำพิพากษารับโทษจำคุก หรือทั้งจำคุกและปรับเงินหรือถูกสั่งพักงาน ประการที่สองควรนำอดีตประธานาธิบดีนิกสันมาดำเนินคดีเพราะมีหลักฐานบ่งชี้ชัดว่าอดคตประธานาธิบดีนิกสันร่วมกระทำผิดในคดีวอเตอร์เกทปี 1972 ประการที่สี่มีคนอเมริกันบางกลุ่มมองว่าการประกาศอภัยโทษปี 1974 เกิดขึ้นได้เพราะมีการทำข้อตกลงลับแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่งประธานาธิบดีฟอร์ดและอดีตประธานาธิบดีนกสัน ประการที่ห้า มีคนอเมริกันจำนวนไม่น้อยคิดว่าหน่วนงานของรัฐบาลกลางในสมัยประธานาธิบดีนิกสันและการดำเนินงานของพรรครับพับลิกันมีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และมีกาแอบแฝงบางสิ่งบางอย่างไม่ให้คนอเมริกันรู้ คนอเมริกันเหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการหันมาให้การสนับสนุนพรรคเดโมเครติกในการเลือกตั้งปี 1976 โดยคาร์เตอร์กล่าวประโยคสั้น ๆ ว่า “ข้าพเจ้าจะไม่โกหกท่าน I will never lie to you”มีผลให้คาร์เตอร์ชนะการเลือกตั้งในครั้งสมัยนั้น
     ข้อตกลงเฮลซินกิปี 1975 เป็นผลของการประชุมเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในยุโรป ในเดือนกรกฎาคม ที่เฮลซินกิ เมืองหลวงของฟินแลนด์มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 34 ประเทศ ผลของการประชุมคือเกิดข้อตกลงเฮลซินกิปี 1975 กำหนดให้
      - รุสเซียและกลุ่มชาติยุโรปตกลงยอมรับให้เส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศของทุกประเทศที่มี่กำหนดไว้นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
    - รุสเซียให้การยอมรับในเสรีภาพด้านข่าวสรข้อมูลและเสรีภาพในการอพยพโยกย้ายของพลเมืองระหว่างโลกเสรี และธลกคอมมิวนิสต์ รวมถึงจะให้การปกป้องสิทธิมนุษยชน หมายถึงลดเลิกการกดขี่ข่มเหงประชาชนในรุสเซีย รุสเซียให้การยอมรับในข้อตกลงที่สอง เพราะต้องการตอบแทนกลุ่มชาติยุโรปที่ให้การยอมรับในเส้นกั้นพรมแดนระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์ในยุโรปและต้องการลดความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ
     ด้วยนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรีภายใต้การนำของ ลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ รุสเซียมุ่งใช้นโยบายนี้เพือให้ได้มาซึงผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคโนโลยีจากโลกเสรี ผลปรากฎว่าอกจากจะมีสินค้าและทเคโนโลนีหลั่งไหลเข้าสู่รุสเซียแล้ว อุดการณ์ในระบอบประชาธิปไตยยังหลั่งไหลเข้าสู่โลกคอมมิวนิสต์อีกด้วย ผลคือกลุ่มผู้นำของรัฐในคาบสมุทรบอลข่านตลอดจนยูเครน และจอร์เจีย เรียกร้องการมีบทบาทเพ่มในเศรษฐกิจในพื้นที่ของตน คนเชื้อสายยิวและเยอรมันภายใต้การปกครองของรุสเซียเรียกร้องสิทธิในกาอพยพออกจากรุสเซีย นักเขียนและผู้มีการศึกษาชาวรุสเซียเขียนบทความโจมตีต่อต้านรัฐบาลรุสเซียเข้าจับกุมกลุ่มต่อต้าน การพิจารณาลงโทษที่ทั้งสั่งจำคุกหรือทำทารุณกรรมจนต้องส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิตหรือส่งไปอยู่ไซบีเรียซึ่งเป็นดินแดนที่เย็นเยือก หรือเนรเทศ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Communist and The Third World

      แนวคิดนี้ถือกำเนิดระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่อธิบาถึงประเทศที่เข้าฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังยุคสงครามเย็นความหมายของ “โลกที่หนึ่ง”ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า “โลกที่หนั้ง”ได้มามีความหมายในทำนองเดยวกับประทเศพัฒนาแล้ว
      หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว โลกแบ่งออกเป็นองขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์ อันนำมาสู่สงครามเย็น ในระหว่างสงครามเย็นมีการใช้คำว่า “โลกที่หนึ่ง”โดยองค์การสหประชาชาติ”


     คำว่า “โลกที่หนึ่ง” “โลกที่สอง” โลกที่สามถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อแบ่งประเทศนโลกออกเป็นสามหมวดหมู่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ของฐานะเดิมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่รู้จักกันว่าสงครามเย็นซึ่งประเทศสองอภิมหาอำนาจแข่งขันกันเพื่อความยิ่งใหญ่ในระดับโลกท้ายที่สุดด ทั้งสองประเทศได้สร้างกลุ่มประเทศสองกลุ่ม โดยพื้นฐานความคิดของโลกที่หนึ่ง และโลกที่สอง
     อัลเฟรอ โซวี นักประชากรศาสตร์ได้ประดิษฐ์คำว่าโลกที่สามเพื่อใช้อ้างอิงถึงญานันดรทั้งสมในฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ ฐานันดรสองอย่างแรกคือ ชนชั้นสูงและพรสอนศาสนา ส่วนฐานันดรที่สามประกอบด้วยประชากรอื่นๆ ทั้งบหมดนอกเหนือจากสองฐานันดรแรก เขาได้เปรียบเทียบโลกทุนนิมกับชนชั้นสูง และโลกคอมมิวนิสต์กับพระสอนศาสนา โซวีเรียกประเทศที่เหลือซึ่งไม่รวมอยู่ในการแบ่งแบบสงครามเย็นังนี้ว่าโลกที่สาม ซึ่งก็คือ ประเทศซึ่งไม่เข้ากับฝ่ายใดแลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน “ความขัดแย้งตะวันออก-ตะวันตก” ด้วยกาประดิษฐ์คำว่า “โลกที่สาม”โดยตรง ทำให้สองกลุ่มแรกกลายเป็น “โลกที่หนึ่ง”และ “โลกที่สอง”ตามลำดับ
   “โคฟี่ อันนัน” อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ให้คำจำกัดความกับประเทศพัฒนาแล้ว “ประเทศพัฒนาแล้ว คือ ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิทสระเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และยังมองค์กรอื่น ๆ พยายามให้คำจำกัดความสำหรับความหมายของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ดังนี้
      การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนานั้น เพื่อประโยชน์ในทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใสถานะของประเทศ หรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา
      สหประชาชาติ ให้ความเห็นดังนี้
“จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป คือ ประเทศญี่ปุ่นใน เอเชีย แคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในโอเซียเนีย และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป กลุ่มประเทศเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในเชิงสถิติทางกาต้า สหภาพศุลกากร แอฟริการใต้ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และปรเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มปรเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจกประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออก และกลุ่มที่เป็นประเทศเครือรัฐเอกราช ในยุโรป จึงไม่ถูกเรียกรวมอยู่ในกลุ่มใด ๆ ของพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา”

  การแสวงหารมิตรและความนิยมในโลกที่สาม ย่อมทำให้จีนกับรุสเซียยามที่จะมีความสัมพันธ์ต่อกันดีขึ้นได้ ผลประโยชน์ในโลกที่สามมีแต่จะทำให้เกิดความตรึงเครียดขึ้นอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      ความตึงเครียดได้บังเกิดขึ้นอีกเนื่องจากผู้นำของรุสเซียเองมิได้มีทีท่ายินยอมปรองดองกับจีนแต่อย่างใด ต่างแข่งขันกันแสวงหาอำนาจอิทธพลทั้งในเอเวียและแอฟริกาทั้ง ๆ ที่แต่เดิมรุสเซียเองมิได้ให้ความสนใจแก่เอเชียเท่าใดนักนองเหนือจากอินโดนิเซียและอินเดีย ครั้งครุสเชอฟหมดอำนาจแล้ว โลกที่สามเร่มเคลื่อนไกวคึกคักจะมีการประชุมดังที่เคยประชุม ณ บันดุง ท่ามกลางสปิริตบันุงครั้งที่สองนี้ จีนมุ่งโจมตีลัทธิจักวรรดินิยมแบบอเมริก และส่งเสริมบทบาทของตนในการนำโลกที่สามโดยตั้งแนวร่วมต่อต้านสหรัฐอเมริกา จีนเมแผ่ขยายอำนาจอิทธพลเข้าไปในโลกที่สามโดยผ่านที่ประชุมนั้นเต็มที่ ครั้งนั้นการประชุมกำหนดสถานที่คื อเมืองแอลเจียร์ ในเดื่อนมิถนายนก่อนหน้านั้นนายผงเจิน นายกเทศมนตรีปักก่งไปเยื่อนอินโดนีเซียแล้วกล่าวสุนทรพจน์โจมตีรุสเซียอย่างหน้าตาเฉย และถือความแตกต่างเรื่องผิวเป็นเครื่องแยกรุสเซียออกจากกลุ่มโลกที่สาม เผงเจินได้กล่าวเกริ่นถึงนโยบายกีดกันผิว ต่อต้านรุสเซียไว้ว่า “โดยถือตนเหนือกว่าทางด้านเผ่าพันธุ์ เคียงข้างพวกอเมริกาชั้นกลางและบรรดาจัรวรรดินิยม บรรดานักแก้ไขปรับปรุงลัทธิแบบครุสเชฟ ร้องตะโกนพร้อมกับพวกจัรวรรดินิยมด้วยเรื่องพวกผิวอื่น ๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อพวกผิวขาวจีนเรียกร้องให้กลุ่มประเทศในโลกที่สามงดรับความช่วยเหลือจากรัฐใดก็ตามที่มิได้เป็นรัฐในทวีปแอฟริกาและเอเซียในที่นี้ ย่อมหมายถึง สหรัฐอเมริกาและรุสเซีย รุสเซียตอบโต้โดยแสดงความปรารถนาอย่างเปิดเผยว่าต้องการร่วมประชุมที่แอลเนียร์ด้วย นับเป็นคร้งแรกที่รุสเซียได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อโลกที่สามในแนวที่ต้องกการร่วมกิจการทุกประเภทถ้าเป็นไปได้กับโลกที่สาม โดยที่ฐานะที่เป็นผู้นำหรือมีบทบาทสำคัญเช่นจีนได้ก็ยิ่งดี การประชุมที่แอลเนียร์จึงจัดเป็นเวทีการเมือง ที่ประคารมของสองฝ่ายนอกขอบเขตโลกคอมมิวนิสต์อย่างชนิดตัวต่อตัวเลยที่เดียว และเป็นเวทีสำหรับจีนและรุสเซียในการแสวงหาอำนาจอิทธพลและแรงสนับสนุนจากโลกที่สาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การประชุมครั้งนั้นต้องล้มเลิกเพราะเกิดรัฐประหารในแอลจีเรีย ก่อนการประชุม 10 วัน
     ในการแข่งขันการสร้างอำนาจอิทธพลในโลกที่สาม จีนนับว่าเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำทางการทูตมากและผุ้ที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แทนจีนคือ รุสเซีย ในทุกหนแห่ง จีได้ประกาศนโยบายปฏิวัติโลกแนวใหฒ่จากการใช้กำลังควารรุนแรงมาเป็นการปฏิวัติตามแบบอย่างของเมา จีนได้ทดลองวิธีปฏิวัตินั้นในกรณีเวียดนาม และในโลกที่สาม แต่ประสบความล้มเหลว เพราะจีนส่งสริมการปฏิวัติและเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลประเทศนั้นด้วย แหล่งล้มเหลวมากคือใน อังโกลา โมซัมบิก โรดีเซีย แอฟริกาใต้ คองโก ในเอเชียเอง จีนทุ่มเทให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียมาก แต่การปฏิวัติล้มเหลวในเดือนสิงหาคม ผลร้ายแรงที่จีได้รับจากการส่งเสริมการปฏิวัติโลกแบบเมาทุกหนแห่งดังกล่าวคื อการที่ประเทศเหล่สน้นตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและมีความสัมพันะอันดีงามกับรุสเซีย ที่นับว่า เป็นสงครามที่ทั่วโลกสนใจคือ สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถานด้วยเกตุกรณีพิพาทดินแดนแคชเมียร์ในเดื่อสิงหารคม มหาอำนาจผู้เกี่ยงวขช้อง คือ สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถานและอินเดีย จีน และรุสเซีย ได้ประท้วงอย่างแข็งขัน จนสหรัฐอเมริกาต้องงดให้ความช่วยเหลือแก่อินเดีย ภาวการณ์ส่อชัดว่า อินเดียเป็นฝ่ายที่ชัยในการรบ ปากีสถานขอร้องให้สหรัฐอเมริกาไกล่เหลี่ยยุติสงคราม แต่นีนยังคงส่งเสริมให้ปากีสถาน ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงและรุสเซียไกล่เกลี่ยให้เปิดการเจรจาเรื่องความขัดแย้งนั้น จีนพอจะกู้ชื่อได้บ้าง แม้จะไม่ใหญ่หลวงนักถ้าเทียบกับรุสเซียผู้มีบทบาทสำคัญในการยุติความขัดแย้ง
     นอกจากจะแสดงความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์พ้นเมืองก่อการร้ายแล้ว โรคระบาดปฏิวัติแบบจีนโดยสื่อการทูตเรดการ์ดยังแผ่ขายลุกลามไปสู่ประเทศเพื่อบ้านด้วยก่อเกิดความไม่สงบทำให้ประเทศเพื่อบ้านมิใคร่พอใจจีนเท่าใดนัก กล่าวโดยสรุปแล้ว พฤติกรรมของจีนได้สร้างศัตรูมากกว่ามิตรในโลกเพิ่มขึ้น โลกที่สามหมดความเลื่อใสศรัทธาจีนความเป็นผู้นำที่จีนปรารถนาค่อย  ๆจางหายไป สัมพันธภาพกับรัฐต่าง ๆ เสื่อมทรามลง บทบาทจีนตั้งแต่ 1966 จึงเป็นไปในด้านที่จีนแยกตัวเองอยู่โดดเดี่ยวสมความปรารถนาของรุสเซีย
      ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ดึงทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาให้ต้องเกี่ยวข้องด้วยนั้นรุสเซียได้ประเมินสถานการณ์และทบทวนนโยบายต่างประเทศ และได้กำหนดแบบอย่างนโยบายต่างประเทศโดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
- วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสืบต่อเนื่อง
- เอกภาพในโลกคอมมิวนิสต์
- พัฒนาการของประเทศรุสเซียเอง สังคมอุตสาหกรรมบีบบังคับให้รุสเซียต้องใช้วิธีการกระจายอำนาจในการปกครอง นโยบายต่างประเทศย่อมจะถูกแปรเปลี่ยนรูปโดยยังคงลักษณะเดิม
     ความวิตกกังวลของรุสเซียนั้นอยู่ที่การธำรงไว้ซึ่งเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์และความเป็นผุ้นำบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก การสร้างเขตอิทธิพลให้สำเร็จผลในตะวันออกกลางและปัญหาการอยู่ร่วมกันโดยสันติกับสหรัฐอเมริกาโดยมิให้ผิดพ้องหมองใจกับจีนสถานการณ์โลกมีส่วนเสริมสร้างรุสเซียให้ดูโดดเด่นว่าเป็นอภิมหาอำนาจฝ่ายเดียวที่ใฝ่สันติโอกาสที่รุสเซียจะแสวงหามิตรไมตรีกับโลกตะวันตกนับว่าสูงมากนับแต่ ปี 1965 เป็นต้นมา

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Yom Kippur 1973 War

สงครามยิว-อาหรัฐในสงครามหกวันเป็นครั้งที่ 3 การรบกัน โดยฝ่ายิสราเอลได้รับชัยชนะพร้อมทั้งเข้ายึดพื้นที่บริเวณปาเลสไตน์ไว้อีกเป็นจำนวนหลายพันตารางกิโลเมตร รุสเซียได้แสดงตัวเคียงข้าอาหรับ โดยคาดว่าโลกเสรีและอิสราเอลจะยับยั้งชั่งใจ รุสเซียมีความเชื่อว่า อำนาจอิทธพลตลอดจนกำลังทางทะเลของตนในเมดิเตอร์เรเนียนมีกำลังอำนาจมากพอที่จะทำให้
โลกเสรีต้องยินยิมถอนตัวหลีกเลี่ยงเข้าสู่สงครามกับอียิปต์ที่มีรุสเว๊ยอยู่เบื่องหลัง วิกฤติการณ์จะสลายตัวโดยรุสเซียจะมีหน้ามีตา มีอิทธิพลมากขึ้นในตะวันออกกลาง อีกทั้งสามารถแสดงให้โลกเห็นว่า สันติภาพโลกขึ้นอยู่ที่รุสเซียว่าต้องการหรือไม่ต้องการมากกว่าอน ไม่มีอภิมหาอำนาจใดจะมัฐานะอำนาจเช่นรุสเซีย แม้แต่สหรัฐอเมริกายังต้องยอมถอยออกห่างเพื่อเลี่ยงสงครามเผชิญหน้ารุสเซีย รุสเซียคาดว่าจะใช้เชิงการทูตเช่นนั้นบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมจำนน ถ้าแนวคิดคาการณ์ของรุสเซียนี้เปรียบเสมือนเกมพนัน ก็เท่ากับว่ารุสเซียได้เอาเกียรติยศเงินทองมาวางเป็นเดิมพันกมดสิ้นโดยคาดว่าจะเป็นฝ่ายชนะเต็มประตู แต่เกมการเมืองมิได้เดินไปในแนวที่รุสเซียหวัง นโยบายขู่คุกคามโดยแสดงกำลังไม่อาจทำให้อิสราเอลยอมงิมืองอเท้าให้ถูกปิดล้อม
     เมื่อถูกปิดล้อม อิสราเอลได้เป็นฝ่ายปฏิบัติการโจมตีอียิปต์อย่างรวดเร็ว รุสเซียคาดไม่ถึง สถานการณ์ตะวันออกกลางมิได้ถูกจำกัดขอบเขตความตึงเครียด หากแต่ได้ลุกลามขยายตัวเป็นสงครามล่อแหลมต่อการที่รุสเซียต้องแสดงพลังเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึงการเผชิญหน้าโลกเสี ผิดความคาดหมายของรุสเซียโดยสิ้นเชิง รุสเซียจึงเดินแต้มดูเชิงการทูตใหม่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายคู่กรณีสงครามสงบศึกและต่างฝ่ายต่างคืนสูสถานะเดิมทางพรมแดนในยามยาก รุสเซียได้แสดลตนให้โลกอาหรับได้ประจักษ์ว่า รุสเซียไม่เต็มใจที่จะทุ่มตัวเสี่ยงช่วยอาหรับดังที่ค่ดกัน รุสเซียจะช่วยอาหรับได้อย่างมากที่สุดไม่เกินขีดขั้นการให้ขวัญกำลังใจและใช้เชิงการทูตเจรจายุติศึกสงครามและโจมตีอิสราเอลว่าเป็นฝ่ายก้าวร้าวรุกราน
     ทั้งสหรัฐอเมริกา และรุสเซียแสดงตนไม่เข้าเกี่ยวข้องแทรกแซงทางทหารในสงครามครั้งนั้น ต่างเผ้าจับตาดูผลของสงคราม สงครามสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วภายใน 6 วัน ตามมาด้วยความปราชัยอย่างย่อยยับของฝ่ายโลกอาหรับ รุสเซียผู้ให้ความช่วยเหลือทางทหารต้องพลอยได้รับความอัปยสด้วย รุสเซียต้องเสียหน้าและเกียรติภูมิ ความช่วยเหลือที่ได้ทุ่มเทแก่อาหรับไร้คว่มหมาย เป็นทหารลงทุนที่สูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
     สงครามยิว-อาหรับครั้งที่ 4 ปี 1973 ฝ่ายอาหรับเป็นฝ่ายเปิดฉากการรบก่อน สากเหตุของสงครามเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การพ่ายแพ้สงคราในครั้งก่อน ๆ กลับคืน มา,ต้องการได้เปรียบในโตะประชุมเมือมีการเจรจากัน,ด้วยความกลัวอิสราเอลจะแก้แค้น เช่น กรณีของซีเรียทำการสนับสนุนให้กองโจรปาเลสไตน์ทำการจับชาวยิวเป็นตัวประกัน เป็นต้น,ความต้องการล้างอายที่ทำสงครามประสบกับความพ่ายปแพ้เสมอมา สงครามครั้งใหม่จึงเสมือนเป็ฯสงครามกอบกู้ชื่อเสียง
    ในสงครามครั้งนี้ อิสราเอลเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ แต่มีสิ่งที่ต่างไปจากการสงครามในครั้งก่อนๆ สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่างส่งอาวุธทันสมัยทุกรูปแบบเข้าช่วยในการสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยสหรัฐอเมริกาช่วยฝ่ายยิว ส่วนสหภาพโซเวียตช่วยฝ่ายอาหรับสงครามได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะถึงขีดที่ประเทศอภิมหาอำนาจเองเกรงสงครามจะหลายสภาพเป็นสงครามนิวเคลียร์ ดังนั้นจึงมีการดำเนินการเพื่อให้สงครามครั้งนี้ยุติลงในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1973 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้เสนอญัตติร่วมกันต่อองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงภายใน 12 ชั่วโมง
     ถึงแม้ว่าสหประชาชาติจะมีมติให้หยุดยิง แต่ปรากฎว่า ไม่ใคร่มีใครปฏิบัติตามมติดังกล่าว เพราะต่างกังวลกับเรื่องเชลยศึกของฝ่ายตน ในที่สุดประธานาธิบดีซาดัตของอียิปต์จึงเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสภานการ์ การประจันหน้ากันจึงเกิดขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ สหประชาชาติ จึงมีการเรียกประชุมด่วน และได้ลงมติจัดส่งทหารขององค์การสหประชาชาติเข้าไประงับเหตุการณ์
      วันที่ 12 พฤศจิกายน 1973 อียิปต์และอิสราเอลทำการลงนามในข้อตกลงมีดังนี้ คือ
- จะยอมปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเรื่องการหยุดยิง
- จะเริ่มการเจรจาเรื่องกลับเช้าตั้งในแนวหยุดยิง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1967
- เมืองสุเอชจะได้รับอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องอุปโภคต่าง ๆ และชาวเมืองที่บาดเจ็บจากการต่อสู้ของสงครามจะได้รับอนุญาต ให้ออกจากเมืองได้
- อียิปต์มีสิทธิจะส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ยกเว้นยุทธโธปกรณ์ไปให้แก่กองทัพที่ 3 ที่ถูกกองทัพอิสราเอลปิดล้อมอยู่บนฝั่งตะวันออกของคลองสุเอชได้
- เจ้าหน้าที่สหประชาชาติจะเข้าแทนที่ทหารของอิสราเอลตามด่านต่าง ๆ ระหว่างถนนสายไคโร-สุเอช
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
ถึงแม้จะมีการเจรจาสงบศึก ตลอดจนมีข้อตกลงเพื่อใช้ปฏิบัติหลายประการดังกล่าว แต่ยังคงมีปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการที่จะต้องเจรจากัน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...