The Helsinki Accord off 1975

    เจอรัล อาร์.ฟอร์ด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 38 จากพรรครีพับลิกัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกและคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งประธาธิบดีหรือรองประธานาธิบดี โดยเข้ารับตำแหน่างรองประธานาธิบดีได้เพราะอดีตรองประธานาธิบี สปิโร ที. แอกนิว หลังการถูกสอบสวนให้การยอมรับการถูกกล่าวหาว่าโกงภาษีเงินได้และรับสินบนขณะเป็นผู้ว่าการรัฐแมรี่แลนด์ และยอมลงนามลาออกจากการเป็นรองประธานาธิบดี ประธานาธิบดีนิกสันเลือกเจอรัล อาร์. ผอร์ด เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งได้รับรองจากวุฒิสภาด้วยคะแนนสนับสนุน 387 เสียง คัดค้าน 35 เสียง มีผลให้เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่างรองประธานาธิบดีลำดับที่ 40 เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง

     เจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นรองประธานาธิบดีได้แปดเดือน ก็เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีนิกสันประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีเนื่องจากมีส่วสนพัวพันในคดีวอเตอร์เกท ด้วยเหตุดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าเจอรัล อาร์. ฟอร์ด เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการับเลือกตั้งทั้งในตำแหน่งรองประธานาธิบดี และตำแหน่งประธานาธิบดี
     ประธานาธิบดี เจอรัล อาร์ ฟอร์ด คงคณะรัฐมนตรีสมัยปรธานาธิบดีนิกสันร่วมบริหารสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีฟอร์ด โดยประกาศเลือกเนลสัน เอ.รอคกีเฟลเฟอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คเป็นรองปรธานาธิบดี หลังจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้การยอมับเนลสัน เอ.รอคกีเฟลเลอร์ในตำแหน่างรองประธานาธิบดี มีผลให้ รอคกีเฟลเลอร์เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่างรองประธานาธิบดี และนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกาที่ทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง
     ประธานาธิบดีฟอร์ดประกาศอภัยโทษอดีตประธานาธิบดีนิกสัน และการกระทำผิดอื่นๆ ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รวมั้งอนุญาตให้อดคตประธานาธิบดีนิกสันเก็บรักษาม้วนเทปและเอกสารที่มีส่วนเกี่ยวพันในคดีวอเตอร์เกท ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่คนอเมริกันด้วยเหตุผลประการแรกคือไม่เป็นธรรม แก่ผู้กระทำความผิดอี่ก 20 คนที่ต้องคำพิพากษารับโทษจำคุก หรือทั้งจำคุกและปรับเงินหรือถูกสั่งพักงาน ประการที่สองควรนำอดีตประธานาธิบดีนิกสันมาดำเนินคดีเพราะมีหลักฐานบ่งชี้ชัดว่าอดคตประธานาธิบดีนิกสันร่วมกระทำผิดในคดีวอเตอร์เกทปี 1972 ประการที่สี่มีคนอเมริกันบางกลุ่มมองว่าการประกาศอภัยโทษปี 1974 เกิดขึ้นได้เพราะมีการทำข้อตกลงลับแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่งประธานาธิบดีฟอร์ดและอดีตประธานาธิบดีนกสัน ประการที่ห้า มีคนอเมริกันจำนวนไม่น้อยคิดว่าหน่วนงานของรัฐบาลกลางในสมัยประธานาธิบดีนิกสันและการดำเนินงานของพรรครับพับลิกันมีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และมีกาแอบแฝงบางสิ่งบางอย่างไม่ให้คนอเมริกันรู้ คนอเมริกันเหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการหันมาให้การสนับสนุนพรรคเดโมเครติกในการเลือกตั้งปี 1976 โดยคาร์เตอร์กล่าวประโยคสั้น ๆ ว่า “ข้าพเจ้าจะไม่โกหกท่าน I will never lie to you”มีผลให้คาร์เตอร์ชนะการเลือกตั้งในครั้งสมัยนั้น
     ข้อตกลงเฮลซินกิปี 1975 เป็นผลของการประชุมเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในยุโรป ในเดือนกรกฎาคม ที่เฮลซินกิ เมืองหลวงของฟินแลนด์มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 34 ประเทศ ผลของการประชุมคือเกิดข้อตกลงเฮลซินกิปี 1975 กำหนดให้
      - รุสเซียและกลุ่มชาติยุโรปตกลงยอมรับให้เส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศของทุกประเทศที่มี่กำหนดไว้นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
    - รุสเซียให้การยอมรับในเสรีภาพด้านข่าวสรข้อมูลและเสรีภาพในการอพยพโยกย้ายของพลเมืองระหว่างโลกเสรี และธลกคอมมิวนิสต์ รวมถึงจะให้การปกป้องสิทธิมนุษยชน หมายถึงลดเลิกการกดขี่ข่มเหงประชาชนในรุสเซีย รุสเซียให้การยอมรับในข้อตกลงที่สอง เพราะต้องการตอบแทนกลุ่มชาติยุโรปที่ให้การยอมรับในเส้นกั้นพรมแดนระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์ในยุโรปและต้องการลดความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ
     ด้วยนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรีภายใต้การนำของ ลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ รุสเซียมุ่งใช้นโยบายนี้เพือให้ได้มาซึงผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคโนโลยีจากโลกเสรี ผลปรากฎว่าอกจากจะมีสินค้าและทเคโนโลนีหลั่งไหลเข้าสู่รุสเซียแล้ว อุดการณ์ในระบอบประชาธิปไตยยังหลั่งไหลเข้าสู่โลกคอมมิวนิสต์อีกด้วย ผลคือกลุ่มผู้นำของรัฐในคาบสมุทรบอลข่านตลอดจนยูเครน และจอร์เจีย เรียกร้องการมีบทบาทเพ่มในเศรษฐกิจในพื้นที่ของตน คนเชื้อสายยิวและเยอรมันภายใต้การปกครองของรุสเซียเรียกร้องสิทธิในกาอพยพออกจากรุสเซีย นักเขียนและผู้มีการศึกษาชาวรุสเซียเขียนบทความโจมตีต่อต้านรัฐบาลรุสเซียเข้าจับกุมกลุ่มต่อต้าน การพิจารณาลงโทษที่ทั้งสั่งจำคุกหรือทำทารุณกรรมจนต้องส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิตหรือส่งไปอยู่ไซบีเรียซึ่งเป็นดินแดนที่เย็นเยือก หรือเนรเทศ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)