วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Comparative Economic System

            ข้อสมมติฐานว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองน่าจะมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน 
            ซึ่งดูจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมแล้วจะเกิดมีลัษณะต่างๆ ที่เหมือนๆ ดันทั้งในด้านโครงสร้าง การพัฒนาและการปรับตัวของโรงสร้างของระบบทั้งสอง ถ้ามองอย่างกว้างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกันดังต่อไปนี้
             - เมื่อทั้งสองระบบได้พัฒนามากขึ้น ซึ่งการพัฒนาในโลกสังคมนิยมพัฒนาช้ากว่าโลกทุนนิยมโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกเริ่มพัฒนาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีโครงสร้างทางเศรษฐฏิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกันมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและมีปัญหาหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน  ความเหมือนกันในด้านโครงสร้างอุตสหกรรม ปรากฎว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศทุนนิยมหรือสังคมนิยมเมื่อพัฒนาก้าวหน้าขึ้นจะมีลักาณะดังต่อไปนี้เช่นเดียวกันคือ บทบาทของภาคเกษตรกรรมจะมีแนวโน้มลดลง การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลง ส่วนแบ่งของผลผลิตทางเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง ความสำคัญของชนบทในแง่ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยลดลง ลักษณะดังกล่าวเหมือนกันทั้งสองค่าย ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวคล้ายๆ กันคือการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ส่วนแบ่งของผลผลิตทางอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ประชาชาติเพิ่มขึ้น การกำเนิดขึ้นของเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรมใหม่ๆ และใหญ่โตทำให้คนเข้ามาเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองเหล่านี้โดยอพยพมาจากชนบท นอกจากนั้นการจัดสรรทรัพยากรให้กับภาคอุตสาหกรรมการบริการต่างๆ เช่นการขนส่งก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งแนวโน้มอัตราการเกิดและการตายลดลง ลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งในประเทศทุนนิยมและประเทศสังคมนิยม
                ความเหมือนกันในเชิงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การเพ่ิมในผลิตภัฒฑ์ประชาชาติและอัตราการเพ่ิมผลิตภัณฑ์ประชาชาติของทั้งโลกทุนนิยมและสังคมนิยมคล้ายคลึงกันมาก
                ความเหมือนกันในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผลจากการเปลี่ยนโครงสร้างที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาความแออัดและเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอพยพมาจากชนบท ในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อากาศเสีย น้ำเสีย ก็เกิดขึ้นเหมือนๆ กันเพราะทั้งสองระบบพยาบามพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าและโดยการประหยัดของภาคอุตสาหกรรมแทรที่จะขจัดของเสียก็ปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับทั้งสองระบบ นอกจากนันปัญหาเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นในระบบเศรษฐฏิจทั้งสองเช่นกัน
               - ความเหมือนกันในลักษณะของการพัฒนาการ ของทั้งสองระบบมีทิศทางการพัฒนาไปในแนวเดียวกันคือในระยะแรกจะพัฒนาในด้านกว้าง หรือการเจิรญเติบโตในทางกว้าง คือ ในภาคเกษตรกรรมก็ทำการขยายพื้นที่การผลิต ในภาคอุตสาหกรรมก็พยายามขยายฐานการลงทุนมากมาย ขณธเดียวกันก็พยายามย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตณกรรมไปสู่อุตสาหกรรมให้มากขึ้น เมื่อพัฒนาด้านกว้างแล้วก็จะหันมาพัฒนาในทางลึก หรือารเจริญเติบโตทางลึก คือการเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิตให้สูงขึ้น ถ้ามองด้านแรงงาน เมื่อแรงงานได้โยกย้ายจากชนบทเข้าสู่เมืองแล้วก้ต้องฝึกฝนให้มีฝีมือดีขึ้น เรียนรู้เทคนิคการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงคิดค้น หรือวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการผลิตใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ วิธีการบริหารงานใหม่ๆ ซึ่งเป็ฯการพัฒนาหรือเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิต อันเป็นการเจิรญเติบโตในทางลึก เราจะเห็นได้ว่าถ้ามองในด้านการพัฒนาของระบบทั้งสองแล้วใช้แบบแผนอันเดียวกันคือเริ่มที่การพัฒนาด้านกว้างก่อนแฃล้วจึงหันมาพัฒนาด้านลึก เพียงแต่ช่วงเวลาของการพัฒรสในโลกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมเริ่มต้น แตกต่างกันคือ โลกทุนนิยมพัฒนามาก่อนโลกสังคมนิยม
              - ความเหมือนกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขของทั้งสองระบบซึ่งระยยเศรษฐกิจทุนนิยมก็นำข้อดีของระบบสังคมนิยมมาใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันระบบสังคมนิยมก็นำข้อดีของระบบทุนนิยมาใช้เช่นเดี่ยวกัน ซึ่งมีตัวอย่งที่มีการผสมผสานกันทั้งสองระบบที่เราเรียกว่ารัฐสวัสดิการ หมายความว่ารัฐจัดสินค้าสาธารณะให้ประชาชนใช้กันมากขึ้นโดยไม่ต้องซื้อหาเองจากตลาด ในประเทศทุนนิยม เพมือพูดถึงสวัสดิการที่รัฐจัดหาให้นั้นจะมีสองแบบด้วยกันคือ
                 แบบที่ 1 รัฐจะจัดบริการบางอย่างให้กับประชาชนโดยไม่คิดเงินหรือถ้าคิดเงินก็คิดในราคาต่ำกว่าต้นทุน เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาดูแลในเชิงสุขภาพ นอกจากนั้นก็มีเงินช่วยเหลือต่างๆ เช่นเงินช่วยค่าเลี้ยงดูบุตรเบี้ยบำนาญ ถ้ามองด้านสวัสดิการที่รับจัดให้กับประชาชนทั้งสองระบบมีัลักษณธคล้ายคลึงกันมาก
                แบบที่ 2 ทั้งสองระบบรัฐบาลมีหน้าที่คล้ายกันคือต้องรับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ถ้าในประเทศทุนนิยมรัฐต้องดูแลให้มีการจ้างงานเต็มที่มีอัตราการเจริญเติบโตพอมควร ในประเทศสังคมนิยมรัฐก็ต้องควบคุมดูแลให้มีการวิภาคกรรมรายได้ที่เป็นธรรม นอกจากนั้นต้องรับผิดชอบในด้านดุลการชำระเงิน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าหน้าที่พื้นฐานของทั้งสองค่ายนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิการและระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม
              - ความเหมือนกันประการที่สี่นี้ ถ้าเรามองนลักาณะของสื่อสารมวลชนและการติดต่อระหว่างประเทศที่สะดวกรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นผลของการค้นพบการวิจัยจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โชกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมมีหลายๆ อย่างท่คล้ายกัน เช่น โลกทุนนิยมมีสินค้าใหม่ๆ เช่นเครื่องบินไอพ่นใหม่ๆ โลกสังคมนิยมก็จะมีเช่นเดียวกันซึ่งในเรื่องนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการจารกรรมในทางอุตสหกรรมก็ได้ซึ่งมีการแอบขโมยแบบกันอยู่เสมอ
             ข้อสมมติฐานที่ว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองไม่อาจจะพัฒนาไปสู่จุดหมายเดียวกันได้
              - ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกทุนนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเพราะมีการวางแผนเศรษฐกิจคล้ายๆ กับโลกสังคมานิยมนั้นไม่เป็ฯความจริงเพราะการเจิรญเติบโตของโลกทุนนิยมเร็วขึ้นไม่ใช่เพราะการวางแผนเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะโลกตะวันตกได้มีการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพต่ำไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงกว่า โดยเฉพาะในยุโรปได้โยกย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีการนำวิธีการต่างๆ จากโลกสังคมนิยมมาใชแต่ก็เป็นการนำมาใช้ชั่วคราว เช่นโครงการสวัสดิการต่างๆ ทำนองเดียวกันโลกสังคมนิยมที่ว่านำเอาระบบตลาดไปใช้ในการวางแผนจากส่วนกลางก็เป็นการนำไปใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
              - ความเหมือนกันที่กล่าวในข้อ ก. นั้นเป็นการเหมือนกันในลักษณะผิวเผินมากกว่าและเป็ฯการเหมือนกันในเชิงเศรษฐกิจมากกว่า แต่ความแตกต่างพื้นฐานของระบบทั้งสองโดยเฉพาะความแตกต่างทางด้านการเมือง อุดมการณ์ทางสังคม บทบาทของบุคคลในสังคมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ดังนั้นเราจะมองที่ความคล้ายคลึงกันทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดี่ยวไม่เพียงพอต้องดูโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและอุดมการ์ทางสังคมซึ่งมีความแตกต่างกันมาก
               - ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจแคบๆ ก็มองปัญหาแตกต่างกัน เช่น แนวโน้มระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ถ้ามองในแง่ของผลของระบบเศรษฐกิจแล้ว ทั้งสองระบบมุ่งไปสู่การบริโภคที่สูงขึ้น หรือให้สังคมมีการบริโภคที่สูงขึ้น ความหายของการบริโภคที่สูงก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือ ในค่ายทุนนิยมนั้นการบริโภคที่สุงขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นการบริโภคส่วนบุคคล ส่วนในค่ายสังคมนิยมนั้น การบริโภคที่สูงขึ้นนั้นเป็ฯสิ่งที่รัฐจัดให้ซคึ่งเป็นคนละแนว

         
 

Capitalism

        ระบบทุนนิยมที่ปรากฎภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น มีลักาณะการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีจนเราไม่อาจจะเรียกว่าเป็นระบบทุนนิยมจริงๆไ ได้ เราอาจจะเรียกได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติเป็น "ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่ตลาด" ในที่นี้เราจะศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยจะถือว่าระบบเศรษฐกิจอเมริกาในทางปฏิบัติที่มีลัษณะแตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีเป็นปม่แบบ และระบบนิยมในอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบ
        ระบบทุนนิยมอเมริกา หลังจากการเผชิญหน้ากับปัฐหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 และภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบทุนนิยมอเมริกาจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมนทางทฤษฎี จนไม่อาจจะหันกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีก
        ลักษณะความแตกต่างของระบบทุนนิยมอเมริก
        1. บทบาทของรัฐบาล ก่อนเกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ความเชื่อที่ว่า ไระบบทุนนิยม" ในตัวของมันเองมีพลังโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่และสามารถทำให้เศรษฐกิจได้ดุลยภาพเสมอ และกำไกตลาดจะทำหน้าที่ให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ"ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในดลกเสรี
        ระบบเศรษฐกิจอเมริกาในศตวรรษที่ 20 ก็ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น เกษตรกรมีความลำบากยากแค้นภาคอุตสาหกรรม คนงานถูกแทนที่โดยเครื่องจักรทำให้คนงานจำนวนมากต้องมุ่งไปแสวงหางานทำในอุตสาหกรรมบริการที่มีรายได้ต่ำมแม้ว่าช่วงปลายทศตวรรษที่ 20 และต้นทศวาาษที่ 30 ผลผลิตทางการเกตราจะเพิ่มขึ้นแต่ระคาได้ตกต่ำลงจากดัชนี ผลทำให้เกษตรกรถูกยึดที่ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ขณะเดียวกันภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปคนว่างงานก็มีจำนวนเพ่ิมสูงขึ้นตลอดเวลา
        รัฐบาลอเมริกาโดยการนำของประธานธิบดี รูดเวลส์ ยังมีความเชื่ออย่างฝังใจในแนวความคิดของสำนักคลาสสิค โดยเฉพาะปรัชญาเสรีนิยมที่ว่า "รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐฏิจ มีหน้าที่เพียงแต่พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับเอกชนเท่านั้น" ประกอบลกับรัฐบาล รูดเวลส์และคณะที่ปรึกษาประเมินความนุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐฏิจต่ำเกินไป ผลก็คือรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพรียงแต่พยายามบรรเท่าความหวาดกลัว และป้องกันการตืนตกใจ ในวงการธุรกิจเท่านั้น นอกจานั้นยังมองว่า การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาประมาณคนว่างงานเพื่อทวีสูงขึ้นนั้นควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถ่ิน หรือองค์การการกุศลเท่านั้นการช่วยเหลือหรือแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลกลางควรจะหลีกเลี่ยงเท่านที่สามารถจะทำได้
          ปัญหาวิฏตกาณ์ทางเศรษฐฏิจดำเนินต่อมากระทั้งมีการเลื่อตั้งประธานาธิบดี รูดเวลส์ผุ้สมัครพรรคเดโมแครทได้เสนอนโยบายต่าง ๆ เช่นนโยบายงลประมาณสมดุลย์ โครงการว่วยคนว่างงานของรัฐบาล โครงการบรรเทารทุกข์แก่เกษตรกร การควบคุมธนาคาร การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การควบคุมกิจการสาธารณูปโภค โดยรัฐบาลกลางซึ่งผลปรากฎว่า รูดเวลส์และนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่"ของเขาได้รับการยอมรับจากประชานสูงมาก
           หลังจากรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดืนมีนาคม 1933 รูดเวลส์ก็เร่ิมนำนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่" ของเขาเข้ามาใช้ทันที โดยเน้นที่ "บทบาทของรัฐบาลกลางในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ" ซึงเนื้อหาของนโยบายดำเนินการแบบใหม่จะครอบคลุมถึงหลักการต่างๆ เช่น การบรรเทาทุกขช์แก่ผู้ทุกข์ยากและว่างาน การฟื้นฟูธุรกิจ การเกษตรการปฏิรูประบบธนาคาร การลงทุนและแรงงานสัมพันธ์ฯ เราอาจจะกล่าวได้ว่านับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลอเมริกา เข้ามาแทรกแซงและรับผิดชอบในกิจกรรมทางเศรษฐฏิจของชาติ
           นโยบาย New Deal ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีที่ว่า "เศณษฐกิจตกต่ำเพราะการบริโภคมีน้อยเกินไป" แนวทางกว้างๆ จึงกำหนดขึ้นเพื่อกระจายสินค้าและการบริโภคออกไปสู่ประชาชนให้กลว้างขวางซึ่ง รูดเวลส์เองก็ได้ยอมรับว่า "เศรษฐกิจตกต่ำจะผ่านพ้นไป เมื่ออำนาจซื้อในมือของผุ้บริโภคเพื่อขึ้น" ดังนั้น คณะกรรมการองค์การสถาบัน และกฎหมายต่างๆ จึงถูกจัดตั้งขึ้นมารเพื่อรองรับนโยบายนี้
        - องค์การบริหารเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วนตั้งโดยสภาคองเกรศมีเงินทุน ห้าร้อยล้านเหรียญสำหรับจ่ายแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อบรรเทาความทุกำข์ยากจากากรว่างงาน ทั้งในรูปการช่วยเลหือโดยตรง เช่น แจกอาหารเครื่องนุ่งห่มฯ และเพื่อสร้างงานให้ทำ
        - คณะกรรมการบริหารงานพลเรือนตั้เงโดยประธานาธิปดีในเดือนพฤศจิการยน เพื่อสร้างงานและหางานให้ประชาชนทำ ผลปรากฎว่าในเดือนมกราคม จ้างคนงานกว่าสีล้านสองแสนคน
        - คณะกรรมการสร้างงานเพื่อความก้าวหน้าตั้งขึ้นในปี 1935 เพื่อหางานให้หนุ่มสาวที่ออกมาสู่กำลังแรงงานประมาณ ปีละ 5-7 แสนคน
        - คณะกรรมการบริหารเยาวชนแห่งชาตคิ เพื่อจัดหางานนอกเวลาให้แก่นักเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย
         - พ.ร.บ. การธนาคารฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาการล้มละลายของธนาคารจำนวนเป็นร้อยแป่ง โดยกฎหมายให้สิทธิประธานาธิบดี ที่จะหยุดการดำเนินการของธนาคาร และสามารถออกธนบัตรของธนาคารกลางเพ่ิมขึ้นเพื่อบรรเทาการขาดแคลนเงินตรา
         - พ.ร.บ. จัดสรรเงินบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างงานและจัดสรรเงินล้านเหรียญสำหรับใช้บรรเทาทุกข์
         - พ.ร.บ.ฟื้นฟูเกษตรกรรมแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อขึ้นอันทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภค สูงขึ้น
         - พ.ร.บ. เพื่อแทรกแซงกลไกตลาดโดย ห้ามตั้งราคาลำเอียงห้ามการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เพื่อปกป้องธุรกิจเล็กๆ  ที่ไม่ขึ้นต่อกิจการการผลิตใหญ่ ที่เปิดสาขาแบบลูกโซ่
          ในการเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ทำให้บทบาทของรัีฐบาลกลางเด่นชัดมากในการเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจของชาติซึ่งเป็นการปฏิเสธความเชื่อของระบบเสรีนิยมที่ว่ารัฐไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องในอาณาจักเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง และนับแต่นี้ไปบทบาทของรัฐก็เพิ่มทวีขึ้นจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีกเลย
           2. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในทางปฏิัติระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยไม่ต้องมีค่าบริการ ไม่ต้องมีคนบริหาร และสถานประกอบการจะมีลักษณะที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เพราะสถาบันการแข่งขัน แลบะระบบราคาจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ปัญหาต่างๆ ของระบบทุนนิยมก็จะถูกแก้ไปโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน เช่นราคาตลาดจะทำหน้าที่ปันส่วนสินค้าไปยังผู้บริโภคและจูงใจให้มีการเพ่ิมหรือลดการลงทุนโดยอัตโนมัติ
          เมื่อระบบทุนนิยมในอเมริกาได้พัฒนาก้าวหน้า การที่จะปล่อยให้กลำกของระบบทุนนิยมดำเนินไปเองนั้นไม่ได้รับการยอมรับ เพราะในทางปฏิบัติ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับกลไกต่างๆ ของระบบทุนนิยม เช่น ค่าใช้จ่าย ในการบริหารกิจการ ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาปัจจัยการผลิต ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดใหม่ๆ ค่าขนส่งินค้าจากผู้ผลิตไปยังผุ้บริโภค ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาสิทธิของบุคคล เช่นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายความเหรือที่ปรึกษากฎหมาย
         ค่าใช้จ่ายอีกประการหนึ่งที่จัดรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร คือค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยเฉพาะเมื่อการแข่งขันกันในตลาดมีความเข้มข้นมากค่าใช้จ่ายในด้านนี้จะมีอัตราสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความท้อแท้ได้ ในระบบตลาดการโฆษณา มีบทบาทสูงมาก เพราะนอกจากจะช่วยขยายตลาดสินค้าโดยการแนะนำต่อผู้บริโภคแล้ว ถ้าการโฆษณานั้นตรงตามความเป็นจริงหรือไม่บิดเบือนก็จะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายในการแสวงหาสินค้าที่ต้องการและช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจแลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้
         3. การประหยัดจากการผลิตมากๆ เรือเรียกการประหยัดตามขนาดของการผลิตขนาดใหญ่ ตามทฤษฎีของระบบทุนนิยมถ้ามองในเชิงสถาบันแล้ว สถาบันการแขช่งขันมีบทบาทสำคัญคือเป็นกำไกสำคัญที่สุดของระบบทุนนิยม ในกรณีที่การแขช่งขันจะบริสุทธิปราศจากการผูกขาดหน่วยการผลิต หรือสถานประกอบการ ที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันต้องมีจำนวนมากๆ และมีลัษณะเล็กมากจนไม่มีความหมาย ซึ่งผู้ผลิตจะนำสินค้าของตนมาเสนอขายในตลาดแล้วกลไกตลาดจะทำหน้าทีเองโดยอัตโนมัติ
         อีกประการหนึ่ง ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมอีกเช่นกันวิธีการประหยัดจากการผชิตหรือการลดต้นทุนสินค้านั้น จะเกิดขึ้นได้สถานประกอบการต้องดำเนินการผลิตสินค้ามากหน่วยหรือเรากล่าวได้ว่ายิ่งผลิตสินค้าจำนวนมากหน่วย ต้นทุนในการผลิตสินค้าก็จะยิ่งต่ำลง
         ในขณะที่หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดเล็กมากจนไม่มีความหมายการแข่งขันที่บริสูทธิก็ดำรงอยู่ แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้พัฒนาทำให้หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดใหญ่มากเพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือทำให้ราคาสินค้าของตนมีราคาต่ำสุดเพื่อนำไปแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในตลาดดังนั้นในปัจจุบันเราจะเห็นว่ากาณีที่จะให้มีการแข่งขันที่บริสุทธิและสถานประกอบการมีขนาดเล็กไปด้วยกันไม่ได้กับการประหยัดจากการผลิตมาก เพราะตามความเป็นจริงการประหยัดจากการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อสถานประกอบการต้องมีขนาดใหญ่พอและมีประสิทธิภาพการผลิต สูง เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องจักรสูง ผลิตได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ใช้คนงานจำนวนน้อย ประสิทธิภาพของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารที่สามารถทำให้คนงานมีกำลังใจในการผลิตมีสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและพิมพ์ครั้งละมากๆ ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำลงแต่ถ้าพิมพ์จำนวนน้อยต้นทุนต่อเล่มจะสูงมากเป็นต้น
         ในบางกรณีการประหยัดจากการผลิตจะขัดแย้งกับการให้มีการแข่งขันตามทฤษฎีเพราะจะทำให้สิ้นเปลื่องมาก เช่น บนถนนสายหนึ่งมีรถเมล์ของ 10 บริษัทวิ่งบริการรับผู้โดยสารตามความเป็นจริงรถจำนวนมากเช่นนี้อาจจะมีผุ้.ดดยสารเพียงไม่กี่คน หรือเช่นเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันขายบริการโทรศัพท์ แน่นอนจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจเพราะสามารถเลือกใช้ได้แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากจากการแข่งขัน นอกจากนั้นอุตสาหกรรมบางประเภทการแข่งขันอาจจะมีไม่ได้เพราะตลาดไม่กว้างพอ เช่น กาผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เรือรบเครื่องบินรบ อาวุธ ผู้ผลิตอาจจะเป็นผู้ผิตรายเดียวที่ทำการผูกขาดทั้งโลก เพราะถ้าไม่ผูกขาดแล้วตลาดก็ไม่ใหญ่พอที่จะให้มีการแข่งขันกัน สาเหตุของการประหยัดจากการผลิตมาก ๆ มีหลายประการคือ
         - เทคนิคในการผลิต การประกอบการบางประภท โดยสภาพของการผลิตถ้าจะทำให้เกิดการประหยัดจาการผลิต หรือ ทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำอุตสาหกรรมน้นต้องมีขนาดใหญ่มาก เพราะถ้าไม่ดำเนินการในรูปนี้ต้นทุนการผลิตจะสูงจนประชาชนไม่มีอำนาจซื้อสิค้าเหล่านั้นได้ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ ปูนซีเมนต์ เหล็กกลา และรถยนต์เป็นต้น
         - เกิดจากสาเหตุในด้ารการบริหาร ในการบริหารอุตสาหกรรมนั้นมีทั้งวิธีการกระจายอำนาจและรวมอำนานในขณะที่กิจการขยายตัวอย่างกว้างขวางการปล่อยให้หน่วยงานหรือสถานประกอบการสาขาบริหารตนเอง ทำให้เกิดปัญหาได้หลายประการตรงข้าม การจักหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานมาอยู่รวมกันทำให้การบริหารคล่องตัวมากกว่าวิธีการรวมหน่วยงานนี้ก็เป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดการประหยัดในการบริหารอย่างหนึ่ง
           การประหยัดด้วยวิธีการรวมศูนย์อำนาจการบริหารเช่นนี้ อเมริกาและญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะการประหยัดด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ธุรกิจกลายเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ในอเมริกาปัจจุบัน มีบิษัทใหญ่ๆ ประมาณ 500 บริษัท ทำการผลิตสินค้าได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตท้งประเทศ ซึ่งหมายถึงการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอเมริกาตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนจำนวนไม่มากทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เราเรียกว่า Concentration of Economic Power หรือการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ
           ผลในทางปฏิบัติของการมีการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจและกำารผลิตขนาดใหญ่คือทำให้กัตถอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางต้องเสื่อมและพังทะลายลงในที่สุดเพราะสินค้าที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงจะมีต้นทต่ำกว่าสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เมื่อนำมาแข่งขันกันในตลาดสินค้าของอุตสหกรรมขนาดเล็กและกลางก็สู้ไม่ได้ในที่สุดก็ต้องล้มละลายและเลิกกิจการไปซึ่งในที่สุดก็จะเหลือสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดอยู่ และนำไปสู่การผฦูกขาดในที่สุ ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลอเมริกันพยายามตามแก้มาตลอดเวลา โดยการออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดที่เรียว่า Anti3 Trust Law แต่ก็แก้ไม่ตก
             ผลอีกประการของการประหยัดจากการผลิตขนาดหใญ่ คือก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนงานในสถานประกอบการในรูปของ สไภาพแรงงานในขณะที่สถานประกอบการมีขนาดใหญ่ จำนวนคนงานก็มีจำนวนเพ่ิมขึ้นปัญหาในด้านการบริหารแรงงานก็ดี ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานก็ดี ในการแก้ไปัญหาดังกล่าวถ้านายจ้างต้องตามแก้ปัญหากับลูกจ้างที่ละคนๆ หรือที่ละกลุ่มๆ จะเกิดความยุ่งยากในการบริหารงานมาก จึงทำให้ฝ่ายลูกจ้างรวมตัวกันเป็น "สหภาพแรงงาน" และฝ่ายนายจ้างรวมตัวกันเป็นสมาคมนายจ้าง เพราะเมื่อมีความขัดแย้งทางด้านแรงงานนายจ้างเจรจากับสหภาพแรงงานจะก่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวมากอันเป็นผลดีในด้ากนการบริหารแรงงานในประเด็นนี้ ศ. ประชุม โฉมฉาย ได้กว่าวว่า "ถ้าลูกจ้างหลายๆ คนรวมกลุ่มกันต่อรองกับนายจ้างจะเป็นการประหยัดมากกว่าต่อรองที่ละคนๆ ซึ่งถือได้ว่าการมีสถานประกอบการหรือหน่วยการผลิตขนาดใหญ่ในปัจจุบันกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปารประหยัดจากการผลิตขนาดใหญ่ก็ว่าได้
           4. สินค้าสาธารณะ ลักษณะของสินค้าสาธารณะคือเป็นสินค้าที่ "บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าไปใช้แล้วไม่มีสิทธิที่จะห้ามหรือกีดกันไม่ให้คนอื่นใช้" หรือกล่าวได้ว่าเป็นสินค้าที่บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ร่วมกัน แต่การใช้ประดยชน์ในสินค้าสาธารณะจะต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาสมและอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย เช่น บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร หรือบุคคทุกๆ คนมีสิทธิเข้าไปพักผ่อนในสวนสาธารณะได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมารย ระเบียบต่างๆ เช่นกีดขวางการสัญจรไปมาบนท้องถนน หรือขัดขวางการใช้ประโยชน์ของบุคคลอื่น ไรือทิ้งขยะในสวนสาธารณะเป็นต้น
           สินค้าสาธารณะที่ปรากฎขึ้นในระบบทุนนิยมอเมริกา โดยสภาพเป็นสินค้าที่รัฐบาลเข้ามาีบทบามเป็นผู้จัดหาให้โดยตรง ในรูปสวัสดิการของรัฐ เป็นสินค้ที่มีบทบาทโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัจจุบันรัฐได้ให้ความสำคัญกับสินค้าประเภทนี้มาก การจัดให้มีสินค้าสาธารณะต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาการคลังของรัฐโดยรัฐต้องจัดสรรวบประมาณในการจัดทำ เพราะสินค้าประเภทนี้ จะปล่อยให้ระบบตลอดทำหน้าที่โดยรัฐไม่เข้าไปจัดให้แล้วคนก็จะไม่ยอมซื้อ เช่น ไปชักชวนให้ประชาชนซ้อการบริการทางทหารจะไม่มีใครยอมซื้อ
          การจัดหาสินค้าสาะารณะให้กับประชาชนโดยรัฐนี้เมื่อจัดให้แล้วรัฐจะไปเก็บเงินจากผู้ใช้ประโยช์หรือผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ยากลำบากและยุ่งยากมากนอกจากจะจัดการปย่างรัดกุม เล่นเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้ถนนบางสาย เนื่องจากสินค้าสธารณะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวติของประชาชนส่วนใหญ๋ และเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับประชาชนรายได้หรือวบประมาณที่รัฐนำมาจัดสรรเพื่อสร้างสินค้าเหล่านี้จะได้มา จากการเก็บจากผุ้บริโภคในทางอ้อม ในรูปของการเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมเพราะถ้าใช้กำไกตลาด ผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้อ ผลที่ตามมาจะทำให้รัฐมีรายได้น้อยแยและการจัดสร้างสินค้าประเภทนี้กจะน้อยในที่สุดจะมีผลกระทบต่อสวัสดิการของรัฐ ที่ให้กับประชานโดยส่วนรวมได้
          ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมแล้ว "สินค้าทุกยอ่างเป็นสินค้าส่วนบุคคล หรือสินค้าเอกชนที่ทุกคนมีสิทธิซื้อหามาบริโภค ได้โดยครเองตามความสามารถหรือดำนาจซื้อของแต่ละบุคคล" แต่ในทางปฏิบัติรเาจะเห็นได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติของอเมริกา มีสินค้าสาธารณะซึ่งรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดหาให้ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           5. กิจกรรมสาธารณูปโภค โดยสภาพแล้วจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่และเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของสังคม การประกอบกิจการต้องคำนึงถึงถึงปรโยชน์สุขของสังคมเป็นหลักไม่ใช่เพื่อหวังกำไร เช่น ไฟ้ฟ้า ประปา แก๊ซ โทรศัพท์ การขนส่ง
           กิจกรรมสาธารณูปโภคแตกต่างกับสินค้าสาธารณะเพราะสินค้าสาธารณะนั้นรัฐจัดหาให้โดยไม่เก็บค่าบริการโดยตรงและไม่ใช้ระบบตลาดแต่จัดเก็บในทางอ้อมในรูปค่าธรรมเนียมหรือภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำ แต่กิจการสาธารณูปโภครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาให้โดยตรงหรือรัฐจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานก็ได้  ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารตามมาดังนี้
           - ในทางปฏิบัต รัฐจะเข้าควบคุม ผู้ประกอบการที่ดำเนินงานเพื่อหวังผลกำไรจะพยายามดต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะหันไปใช้วิธีการผลิตที่ใช้ทุนมาก เครื่องจักรมาก อุปกรณ์มาก ใช้แรงงานน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกวิธีที่รัฐต้องเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ในกิจการสาธารณูปโภตเมือรัฐเ้าไปควบคุมทั้งคุณภาพและราคาโดยเคร่งครัดราคาของสินค้าจะไม่เป็นไปตามกลไกตลาดจึงทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           - เมื่อรัฐบาลเข้าควบุคมกิจการสาธาณณูปโภค ต้องควบคุมให้เหมือนกันหมดจะ จะปล่อยให้กิจการบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการจะย้ายทุนไปประกอบกิจกรรมที่อยู่เหนือการควบคุมหมด
           - เมื่อรัฐเข้าไปควบคุมกิจการสาธารณูปโภคโดยเคร่งครัด หรือในบางกิจการที่รัฐเขช้าไปถือหุ้นอยู่ด้วยจำนวนมากหรือรัฐเป็นผู้ประกอบการเองเราจะพบว่ารัฐจะส่งคนของรัฐเข้าไปควบคุมการประกอบการโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้คนบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากการควบคุม
          6. บทบาทของรัฐบาลในการเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจ ในทางทฤษฎีหรือหลักการของระบบทุนนิยม "รัฐมีหน้าที่เป็นเพียงคนกลาง คอยแก้ไปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทของเอกชนหรือ มีหน้าที่ในการรักษานิยมทางสังคม เช่น รักษาสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ส่งเสริมการแข่งขัน ควบคุมการผูกขาดควบคุมคุณภาพชีวิต ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม"แต่ในทางปฏิบัติ รัฐจะปล่อยให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปเองไม่ได้ต้องเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจซึ่งแสดงออกดังนี้
           - ควบคุมโดยตรง เช่นรัฐเข้าไปดำเนินกาปันส่วนสินค้าบางประเภทที่ใช้การบริโภคในช่วงที่สินค้าขาอแคลน ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ควบคุมการจัดโควต้าสินค้าเข้า สินค้าออกเป็นการควบุคมโดยตรงที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ
           - การควบุคมโดยอ้อม เป็นการควบคุมระบบเศรษฐกิจในระดับนโยบายกว้าง ๆ เช่นการควบคุมนโยบายการเงน นโยบายการคลัง และเงินช่วยเหลือ
          ลักษณะต่างๆ ของระบบทุนนิยมที่กล่าวมา ซึ่งเราถือว่าเป็นแม่แบบของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มีัลัษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ระบบทุนนิยมอเมริกาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเผชิญกับภัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทำให้ระบบทุนนิยมในอเมริกาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมตามทฤษฎีได้
       

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Economic System

         ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละระบบ จะมีการกำหนดจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด ผลิตให้กับใคตร การจัดระบบเศรษฐฏิจโดยพิจารณาจากลักษณะสำคัญของแต่ละระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ รูปแบบระบบเศรษฐกิจที่จะนำมาพิจารณาประกอบด้วย ระบบทุนนิยมหรือระบบธุรกิจเอกชน ระบบเศรษฐกิจเอกชนบังคับ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบบังคับ และระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
              ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี, สังคมนิยมประชาธิปไตย ลักษณะเฉพาะระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี ประกอบด้วย รัฐบาลเข้าควบคุมและเป้นเจ้าของปัจจัยการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน บทบาทของรัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจด้านกำหนดราคาสินค้า ส่งเสริมการลงทุน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพการตัดสินใจที่จะทำการผลิต ตลอดถึงการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง ผลกำไรอันเกิดจากกิจการผูกขาดในธุรกิจใหญ่โตจะต้องตกเป็ฯของรัฐทั้งสิ้นไม่เปิดโอกาสให้มีธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะไปมีบทบาทที่สำคัญด้านการให้เงินกู้ลงทุนเท่านั้นเอง รัฐบาลจะทำหน้าที่ด้านนี้เอง ภายใต้ระบบนี้ยังคงเปิดโอกาสผู้บิรโภคมีอำนาจอธิปไตยการบริโภค
            ระบบนี้ส่งเสริมให้มีอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค จึงทำให้เกิดความแตกต่างกับระบบสังคมนิยมแบบบังคับ การที่ระบบเศรษฐกิจใด ประชาชนภายใต้ระบบจะเกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบกลไกราคา เข้ามามีโอกาสการกำหนดราคามากน้อยเพียงใด ต้องมีสถาบันธุรกิจเอกชนเปิดโอกาสแข่งขันในหน่วยผลิตเป็นตัวส่งเสริมการแข่งขัน แต่สภาพที่ปรากฎรัฐเข้าควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ภายในระบบยังขาดสถาบันธุรกิจเอกชน อันได้แก่กรรมสิทธิในปัจจัยการผลิต กระบวนการแข่งขันการผลิต ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ใช้เป็นกำไกเพื่อส่งเสริมให้เกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค ทั้งสิ้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าระบบนี้สามารถบรรลุผลได้มากน้อยเพียงใด
              ระบบทุนนิยม ระบบธุรกิจเอกชน  ถ้าจะศึกษาจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม เริ่มเกิดปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดเร่ิมตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต ต่อจากนั้นได้เกิดมีการตื่นตัวที่จะมีความรู้สึกชาตินิยม จะมารวมตัวกันในรูป"รัฐชาติ" ขึ้นในแถุบประเทศยุโรป ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผลจากการปฏิวัติดุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบตลาด เท่าที่ผ่านมาระบบทุนนิยมมักจะประสบปัญหาด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัญหาคือ จะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครเดิมอาศัยกลไกราคามาเป้นตัวหลักในการแก้ไขต่อมารฐบาลมีบทบาทเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจ
               ลักษณะเด่นของระบบ ดำเนินกลไกเศรษฐกิจโดยอาศัย "กลไกราคา"เป็นตัวจักรสำคัญสร้าง "แรงจูงใจ" ให้เกิดขึ้นภายใรระบบเศรษฐกิจ ปราศจากการควบคุมจากส่วนกลาง การจะแจกจ่ายปัจจัยการผลิตสิ่งใดและประมาณเท่าใดอาศัยอุปสงค์และอุปานในตลาดเป็นตัวกำหนด การตัดสินใจการบริดโภคขึ้นอยู่กับความพึงพอใจสูงสุดเป็ฯหลัก โดยอาศัยอรรถประโยชน์เป็ฯเกณฑ์การตัดสินใจ ยินยอมให้มีการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว การให้มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินการตัดสินใจในการผลิต การออม การลงทุน เปิดโอกาศให้มีอิสรภาพในการทำงานระบบเศรษกิจดำเนินไปตามกลไกราคา โดยใช้แรงจูงใจด้วยกำไร มาเป็นตัวกำหนดการผลิต ระบบตลาดโดยมีอุปสงค์และอุปทานเข้ามาเป็นตัวกำหนด ยอมรับความสำคัญอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคผู้บริโภคมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าใดก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้การผลิตดำเนินในรูปแบบของการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ลักษณะการผลิตมุ่งประสิทธิภาพการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การปรับปรุงประสิทธฺภาพการผลิต ก่อให้เกิดการแจกจ่ายทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

               ระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับ ระบบทุนนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจแบบฟาสซิสม์  รูปแบบเศรษฐฏิจยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลการดำเนินกลไกเศรษฐกิจมิไ้เป็นไปตามกลไกราคา อาศัยการวางแผนส่วนกลางจากรัฐบาลเป็นตัวแทนการแจกจ่ายทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการผลิตตามแผนที่ได้วางไว้
                ลักษณะเด่นของระบบ รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้บรรลุผลสำเร็จในระยะสั้น เป็ฯรูปแบบเศรษฐกิจดำเนินในยามสงคราม ซึ่งเยอรมันและอิตาลีนำมาใบช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การดำเนินกลไกทางเศรษฐกิจตรงข้ามกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุนี้พวกนายทุนและชนชั้นกลางจึงให้การสนับสนุระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันการผลิต ลักษณะตลาดดำเนินในรูปแบบผูกขาด ดำเนินกิจการผูกขาดโดยนายทุนขนาดใหญ่ ลักษณะการผลิตเป็นการรวมกลุ่มแบบ "cartel" อำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค ถูกละเลย การดำเนินการผลิตควบคุมโดยหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลาง เสรีภาพการเลือกบริโภคถูกจำกัด เพราะรัฐบาลจะเข้าควบคุมวางแผนการใช้แรงงานในโรงานแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่การผลิตและการตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตยังคงควบคุมอย่างใกล้ขิดและคำสั่งจากรัฐโดยอาศัยคำสั่ง เรียกได้ว่าเป็นระบบเผด็จการทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ลัทธิชาตินิยมเป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจ
                 ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่มีการวางแผนส่วนกลาง เรียกว่าระบบสังคมนิยมบังคับ ประเทศแม่ปบบคือสหาภาพโซเวียต
                 ลักษณะเด่นของระบบ กลไกราคา มิได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ การวางเป้าหมายการผลิตถูกกำหนดทางปริมาณโดยตรง กระบวนการแจกจ่ายทรัพยากรเป็นไปตามการวางแผนส่วนกลาง กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นไปตามแผนส่วนกลาง เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม อำนาจอธิปไตยการบริโภค ถูกควบคุมมีโอกาสเพียงเลือกการบริโภค ภายใต้ระบบสังคมนิยมแบบบังคับ ไม่ส่งเสริมอำนาจอธิไตยผู้บริโภค กรณีที่อุปสงค์ส่วนรวมในสินค้าบริโภคเพิ่มสูงขึ้น รัฐจะเข้าควบคุมปริมาณการผลิตใหคงอยู่ ณ ระดับ O X คงเดิม ระดับราคาเพ่ิมขึ้นแต่เพียงด้านเดียวรัฐบาลจะใช้มตรการเพิ่มภาษีการเปลี่ยนมือในสินค้า ซึ่งความพอใจของผู้บริโภคจะลดลง รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด จุดมุ่งหมายการผลิตมิได้มุ่งกำรสูงสุด เน้นปริมาณการผลิตปริมาณมากที่สุด
                  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ประเทศที่ดำเนินระบบเศรษฐกิจปบบผสมมักเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญยังคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่รัฐบาลกลางจะเข้ามามีส่วนในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นับเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลที่เข้มายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศทุนนิยม
                 มูลเหตุแห่งการดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบผสม ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลไกราคามาเป็นตัวช่วย อีกประการหนึ่ง ประเทศเล่านี้ประสบปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านกระจายรายได้ บ่อยครั้เงที่การควบคุมจากฝ่ายรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาไม่สามารถดำเนินให้ลุล่วงไปได้ ราคาสินค้าในท้องตลาดไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายไปได้
                  ลักาณะเศรษฐกิจแบบผสม
                  - การจัดสรรปัจจัยการผลิต อาศัยกลไกราคา
                  - ราคาสินค้าถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - มีการวางแผนจากส่วนกลาง
                  - กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - รัฐบาลจะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในกิจกรรมต่่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีการเน้นบทบาทรัฐบาลมากกว่าทุนนิยมก้าวหน้า
                   กล่าวโดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบผสม เป้ฯการดำเนินเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐฏิจจากส่วนกลาง
                   ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ประกอบด้วยลักษะสำคัญดังนี้
                   - เอกชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการประกอบธุรกิจ
                   - ผู้บริโภคยังคงมีอำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค
                   - เอกชนยังคงมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล
                   - เอกชนภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ต่างจะมุ่งแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเอง
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็ฯการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็นการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีาส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดจัเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
                   - เกณฑ์ตัดสินผู้บริโภคจะยึดหลัก รสนิยม ราคาสินค้า อรรคประโยชน์ที่จะได้รับตลอดจนรายได้ของผู้บริโภคซึ่งถือว่ามีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดจากการบริโภค
                   - เกณฑ์ตัดสินของผุ้ผลิต สินค้าใดมีกำไรมากจะดึงดูดให้มีการผลิตมากขึ้น ผู้ประกอบการจะอาศัยกลไกราคาเป็นเกณฑ์ตัดสิน จะผลิตสินค้าใดเป็นปริมาณเท่าใด จะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะนำไปสู่เกณฑ์การตัดสินใจของระบบเศรษฐฏิจ จะทำการผลิตสินค้าอะไรเป็นปริมาณเท่าใด
                    ระบบเศรษฐฏิจแบบเสรีนิยม และแบบผสมกับบทบาทของรัฐบาลในการควบคุมเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐพึงจะปฏิบัติและรับผิดชอบเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้รัฐบาลเข้ามาก้าวก่ายหน่วยธุรกิจเอกชนมากเกินไป เหตุใดรัฐบาลจะต้องเช้ามาควบคุมการประกอบกิจการของเอกชน ทำไมจึงไม่ปล่อยให้เอกชนได้ประกอบกิจการอย่างเสรี บทบาทของรัฐที่เข้าไปแทรกแซงแลวนั้นเหมาะสมเพียงใด กิจการบางประเภทถ้าปล่อยให้เอกชนดำเนินการผลิตอย่างเสรีจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี หลักการใหญ๋ ๆ โดยส่วนรวมจะพิจารณาดูว่าถ้าเอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจจำเป็นอยางใดที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปแทรกแซงอีกต่อไป

                    ระบบเสรีนิยม โดยหลักการจะปล่อยให้เอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่รัฐบาลจะต้องเขาไปแทรกแซงอีกต่อไป แต่เท่าที่ผ่านมาพบว่า ระบบเสรีนิยมยังมีจุดอ่อนในตัวเองคือมีการลงทุนในรูปผแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เต็ฒที่ บ่อครั้งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมักจะลงทุนเน้นหนักด้านการบริโภค อาทิ ร้านอาหาร สถานเริ่งรมย์ต่างๆ การลงทุนในรูปแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวการลงทุนต่อเนื่องปบบลูกโซ่ต่อไป สาเหตุใหญ่มาจาก ความผิดพลาดของระบบเสรีนิยม ที่ยังคงปล่อยให้เอกชนมีโอกาสในการครอบครองกรรมสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล เมื่อเป็นเช่นนี้นำไปสู่ลักษณะการผูกขาดในตลาด แสดงว่าการเพ่ิมรายได้ในด้านเศรษฐกิจบริการ มิได้เป็ฯหลักประกันที่สำคัญว่าจะมีการเพ่มในประสิทธิภาพการผลิตในระบบเศรษฐกิจส่วนรวม จึงเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐที่จะเข้ามาเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมีหน้าที่จะต้องระดมทรัพยากรปัจจัยการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว เขาดำเนินการ ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการผูกขาดเศรษฐกิจและการเข้าครอบครองกรรมสิทธิในที่ดิน รวมทั้งปัญหาทางระบบเศรษฐกิจแบบ 2 ระดับที่สร้างปัญหาทั่วไปให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่จะผลักดันให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยจุดมุ่งหมายของรัฐที่เข้าทาแทรกแซง เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับราคาการจ้างงาน
                    โดยทั่วไปจึงเป็นที่ยอมรับสภาพความเป็นจริงระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมีจุดอ่อน จะต้องมีการแก้ไขบางประการและยอมรับถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกกิจการภาคเอกชน ทั้งๆ ที่ยอมรับว่าบทบาทเสรีภาพเอกชนเป็นสิ่งสำคัญ บงครั้งเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ภายใต้การผลิตที่มีการแข่งขัน รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างสะดวก โดยเข้าไปแทรกแซงธุรกิจเอกชน จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกลายเป็นระบบเศรษฐฏิจแบบผสม เพราะรัฐได้มองเห็ฯแล้วว่า ถ้ายังคงปล่อยให้การดำเนินเศรษฐกิจเป็นแบบเสรี ปล่อยให้เอกชนดำเนินการไปโดยลำพังย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม รัฐจำเป็นต้องเข้าดำเนินการเพื่อให้กิจการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ ซึ่งรัฐเห็ฯว่าเหมาะที่สุด วัตถุประสงค์อันสำคัญย่ิง รัฐต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะคงการแข่งขันอยย่างสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้กลุ่มใดครอบงำผูกขาดเศรษฐกิจ
                  ระบบเสรีนิยมมีจุอ่อน แม้จะประกันมาตรฐานการครองชีพของประชาชนไว้อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดือนเกิดขึ้นสำหรับประชาชนบางกลุ่มที่พิการ ด้อยกาศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำเนินกิจการ..ย่อมขาดโดอาสในการเข้าแข่งขันการผลิต ขณะใดขณะหนึ่งที่สภาวะเศรษฐกิจประสบธุรกิจประสบสภาวะขาดทุน สภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำ คนว่างาน ถ้าเป็นระบบสังคมนิยมเสรีจุต้องปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจเป็นผู้ปรับตัวเองในระยะยาว แต่ในสภาพแห่งความเป็นจริง รัฐบาลจะปล่อยให้เหตุการ์เช่นนี้เกิดขึ้นในระยะยยาวไม่ได้  จึงเป็นหน้าที่ของรัฐอันที่จะยื่นมือเข้าช่่วยเหลือแทรกแซงสภาวะเสณษฐกิจ ส่งเสริมการประกอบกิจกรรมส่วรวม โดยอาศัยกลไกราคาเพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับส่วนรวมมากว่าเอกชน รัฐบาลจำต้องเข้ามาแทรกมีบทบาทจัดระดับการผลิตและการบิรโภคให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นด้านระดับราคาสินค้า การเลือกใช้ทรัพยากรจะต้องให้เกิดเสถียรภาพ รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพนับเป็นจุดอ่อนอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้กลไกราคาดำเนินไปยางมีประสิทธิภาพ รัฐจำเป็นต้องออกฎหมายเพื่อให้ใช้บังคับและควบคุมกำหนดขอบเขตการครอบครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง
                 นี่คือที่มาของการนำระบบเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ทดแทนระบบเสรีนิยม เพื่อเป็นหลักการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคม เน้นถึงความมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมของเอกชน เพื่อให้ผลประโยชน์ตกเป็นของคนส่วนรวม องค์กรที่สำคัญจะเข้ามาดำเนินงานคือ หน่วยงานของ "รัฐบาล" นั่นเอง

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law...III

.... แนวคิดของสำนักโครงสร้างนิยมจากตะวันตกดังกล่าว มองข้ามความสำคัญเรื่องบทบาทความสำคัญของพลังฝ่ายก้านหน้าต่างๆ ในสังคมหรือเรื่องการยอมรับความสำเร็จของฝ่ายประชาชนทั่วไปในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายที่ปกป้องผลประดยชน์ของคนส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งกล่าวเ็นหลักการทั่วไปีกนัยหนึ่งก็คือ ประเด็นปัญหาพื้นฐาน เรื่องการยอมรับในประติการ ระหว่างรัฐและชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมนั้นเอง จากจุดนี้เราคงจะอนุมานได้ว่ายิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้นเพียงใดก็ดี เรื่องของเหตุผลหรือความชอบธรรมจะเข้ามาปรากฎในเนื้อหาของกฎหมายมากขึ้น กฎหมายมิอาจเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งอำนาจหยาบๆ ของผู้ปกครองอย่างง่ายๆ ตลอดไป ธรรมชาติแห่งเนื้อหาของกฎหมายจึงมีลักษณะพลวัตร ตามพลวัตรของสังคม และข้อสรุปถึงธรรมชาติกฎหมายท่วไปว่าเป็นเพียงเครื่องมือกดขี่ชนชั้นปกครอง จึงมิใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องชอบธรรมนัก แม้เมื่อพิคราะห์กันอย่างจริงจังจากทฤษฎีของมาร์กซิสต์เอง นอกจากนั้นการมองธรรมชาติของกฎหมายในแง่ลบตายตัว ดังกล่าวยังประกอบด้วยท่าทีแบบอภิปรัชญาซึ่งมีความเชื่อในลักาณะสัมบูรณภาพของธรรมชาติส่ิงหนึ่งๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องตรงกบความเป็นจริง
            ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับอย่างเป็นทางการของรัฐสังคมนิยม ข้อสรุปดังกล่าวนับเป็นการสร้างทัศนคติ หรือท่าทีในแง่ลบต่อคุณค่าในตัวเองของกฎหมายอย่างมาก กฎหมายถูกมองว่าเป็นเพียงกลไกของการกดขี่หรือปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐ กฎหมายในรัฐสังคมนิยมช่วงต้นๆ จึงกลายเป็นกลไกอันน่าสะพรึงกลัวสำหรับการปราบปรามศัตรูทางชนชั้น สำหรับผู้ที่คิดเห็นตรงข้ามกับระบบหรือเพื่อป้องกันการฟื้นตัวของระบบทุนนิยมส่วนใหญ่ อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงทำลายล้าง มากกว่าในเชิงการสร้างสรรค์
              อย่างไรก็ดี การพัฒนาสังคมภายใต้อุดมการณ์มาร์กซิสต์ ก็มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการของรัฐสังคมนิยม ปัญหาเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังจากยุคสตาลิน บรรยากาศแห่งการถกเถียง ทบทวนความผิดพลาดต่างๆ ก็เกิดขึ้น ผู้นำใหม่ของรัสเซียขณะนั้น คือ ครุสเชฟ ได้กล่าวประณามความผิดต่างวๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของสตาลิน และพยายามที่จะรื้อฟื้นการยกย่องเชิดชูความมีคุณค่าสูงสุดของกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ให้ถือว่ากฎหมายเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงอันเป็นเอกภาพของประชาชนทุกคน มิใช่เป็นเจตจำนงของชนชั้นหนึ่งที่มีอำนาจในสัคม แนวทรรศนะนี้ได้นำไปสู่การยอมรับความสำคัญหรือคุณค่ากฎหมายที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า เป็นหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยมในฐานะเป็นหลักหมายของการค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงสร้างสรรคซึงเน้นความสำคัญของระเบียบแบบแผนแห่งกฎเกณฑ์ ความถุกต้องของการปกครอง ความแน่นอนและคาดทำนายได้ของกฎหมาย
           เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวทรรศนะดังกล่าวในช่วงแรกๆ ของการก่อตัวกลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีนซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค คือวิญญาณของกฎหายแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยคดอยู่กัีบข้อสรุปเดิมๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใดๆ ประหนึ่งทาสในสายตาของนายทาศที่มิใช่เป็นมนุษย์ซึ่งมีศักดิ์ศรีหรือคุณค่าในตัวเองโดยเฉพาะหลังจากที่มีการทำปฏิวัติวัฒนธรนรมครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นยุคมืดของพัฒนาการด้านกฎหมายในประเทศจีนเนื่องจากำม่มีการสอนวิชากฎหมายกันอีกต่อไปโดยกฎหมายถูกวิพาก์วิจารณ์จาพรรคคอมมิวนิสต์ว่าเป็นข้ออ้างของพวกฝ่ายขวาที่นำมาใช้ต่อต้านพรรคโดยมองข้ามธรรมชาติทางชนชั้นของกฎหมาย พร้อมกันนั้นก็มีการสรรเสริญภาวะการไม่มีกฎหมายกันอย่างเอิกเกริก กระทั่งในยุคสมัยของ เติ้ง เสี่ยว ผิง กฎหมายได้รับการรื้อฟื้น และหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง "ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน" โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยป้องกันมิให้เกิดเหตุอันน่าสะพรึงที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้รวมทั้งความเชื่อว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่จะช่วยประชาชนในการต่อสู้คัดค้านการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐซึ่งละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้คน เติ้ง เสี่ยว ผิง กล่าวไว้ชัดเจนว่า "นับเป็นความจำเป็นที่จะต้องวางหลักเกณฑ์ในระบบกฎหมาย กฤษฎีกาและระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบของระบบกฎหมาย และนับจากนั้นถึงปัจจุบันรัฐบาลจีนก็ได้ทำการสร้างประมวลกฎหมายและตรากฎหมายต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย..ซึ่งมีบทบัญญัติรับตองความศักดิ์สิทธิ์และความสำคัญสูงสุดของกฎหมายที่ไม่มีบุคคลใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นพรรคคอมมิวนิสต์หรือเอกชน) จะสามารถอยู่เหนือได้ การพัฒนาความคิดทางนิติศาสตร์ ของจีนมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนหันมาเหน้ความสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจตามนโยบายที่ทันสมัย แรงกดดันทางเศรษฐกิจนี้จึงทำให้ต้องมีการตรากฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมา ทั้งที่เกี่ยวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ควบคู่ไปกับการยืนบันความศํกดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในการปกป้องสิทธิด้านต่างๆ ของเอกขน อย่างน้อยก็เพื่อประกันความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายต่างๆ
          ปรากฎการณ์เหล่านี้นับเป็นแนวโน้มใหม่ที่เพิ่งปรากฎขึ้นในรอบทศวรรษนี้เอง แม้กระนั้นเมื่อกล่าวโดยทั่วไปก็ยังถือว่า ในปัจจุบันศาสตร์ด้านกฎหมายของจีนยังจัดเป็นศาสตร์ทีล้าหลังที่สุดในบรรดาสังคมศาสตร์ทั้งหลายในดินแดนสังคมนิยมแห่งนี้
           3. ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะทีเป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด เป็นเรื่องของการพยากรณ์อนาคต มิใช่เข้อสรุปทางทฤษฎีบนพื้นฐานของเงื่อนเวลาปัจจุบันซึ่งอาจพิสูจน์ความถูกได้ มองดโยทั่วไปแล้วข้อสรุปเชิงพยากรณ์นี้นับว่ามีสุ้มเสียงแบบอภิปรัชขญาในเชิงศษสนาอยู่มาก ๆ ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของมาร์กซ์ในอนาคตอันไกลโพ้นที่โลกจะยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภราดรภาพระหว่างมนุษ์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกำไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบ และไม่ต้องมีกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกำหนดกะเกณฑ์ให้คนต้องประพฤติตามกฎเกฑณ์ซึ่งวางไว้
             ประเด็นเรื่องการเหือดหายหรือการสบลายตัวอย่างช้าๆ ของรัฐและกฎหมายนี้แท้จริงเป็ฯเรื่องที่โต้แย้งกันอย่างมากๆ ในหมู่นักทฤษฎีของมาร์กซิสต์ ทั้งฝ่ายที่เห็ฯด้วยและไม่เห็นด้วยและถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กับข้อสรุปสองข้อที่ฝ่านมาเกี่ยกับธรรมชาติและบทบาทของกฎหมาย แล่าวคือเป็นข้อสรุปที่เกิดจาการตีความภายหลังของบยรรดาเหล่าสาวกของมาร์กซ์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเหือดหายของกฎหมายในสังคมคอมมิวนิสต์ขั้นสุดท้ายซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานสนับสนุนที่แน่นอนใดๆ ในงานเขียนของมาร์กซ์และเองเกลส์ มีเพียงข้อเขียนของเองเกลส์ ซึ่งกล่าวในเชิงพยากรณ์ว่า สังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคตรัฐหรือรัฐบาลของบุคคล จะเหือดหายไร้ความจำเป็นในการดำรงอยู่อีกต่อไป แต่ข้อเขียนชิ้นเดี่ยวนี้ ก็เป็นการพูดถึงการเหือดหายของรัฐเท่านั้น มิได้รวมถึงบกฎหมายหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นงดครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมด แม้ว่าจะเป็นไปได้โดยการสันนิษฐานว่าเองเกลส์มองรัฐและกฎหมายในลักษณะที่เป็นสถาบันซึ่งเป็นคู่แผดกันอันจะมีการเคลื่อนไหวหรือพัฒนาการที่คล้ายคลึงกัน ข้อสันนิษฐานเช่นนี้ก็ไม่เคยมีการพูดไว้อย่างจะแจ้งใดๆ โดยเองเกลส์และแม้จะสันนิษฐษนกันเอาเองข้อสันนิษฐานนี้ในที่สุดก็จะพบว่าเป็นเรื่องของความเพ้อฝัน  เป้ฯที่น่าสังเกตว่าข้อสรุปเรื่องการเหือดหายของกฎหมายนี้เป็นข้อสรุปที่ได้รับการป่าวประกาศโฆษณาโดยบรรดานักทฤษฎีกฎหมายของโซเวียตในช่วงต้นๆ หลังการปฏิวัติโดยเฉพาะจากนักทฤษฎี หรือนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญในยุคนั้น ซึ่งต่างยืนยันถึงการสิ้นสุดภาพกิจหรือความเป็นทางกฎหมายในเมื่องปราศจกสังคมชนชั้นอีกต่อไป ท่าทีและข้อสรุปเชนนี้ต่อมากลับถูกเปลี่ยนแปลงในยุคของสตาลิน ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมืองในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติ กฎหมายในยุคสมัยนี้จึงเป็นเครื่องมือกลไกทางการเมือง มากกว่าบทบาทเชิงสร้างสรรค์หรือค้ำจุนสิทธิเสรีภาพ และเริ่มเสื่อมการยอมรับเมื่อรัฐบาลโซเวียตในยุคสมัยครุสเซฟได้เปลี่ยนนโยบายหันมาฟื้นฟูความสำคัญของกฎหมายอีกครั้ง และหันมาเน้นถึงสาระประโยชน์ของสิ่งที่เรียกว่า "ความถูกต้องตามกฎหมายของสังคมนิยม" ซึ่งอาจตีความว่า "หลักนิติตธรรมแบบสังคมนิยม" ดังที่กล่าวมาแล้ว..
           แนวทางตีความในยุคหลังจึงมองว่า แม้สังคมจะพัฒนาสู่จุดหมายอุดมคติได้สูงเพียงใดก็ตามสังคมก็ยังต้องมีกฎหมายบังคับใช้อยู่เพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ให้พ้นจากการแทรกแซงจาปัจเจกบุคคลด้วยกัน กับความเป็นไปได้ว่ายิ่งสังคมพัฒนาสู่ภาวะอุดมคติที่เต็มไปด้วยความรักสามัคคี สังคมจะมีกฎหมายน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะกฎหมายที่มีลักษณะหยาบๆ ข่มขู่กดขี่กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงหรือกฎหมายที่แทรกแซงการใช้สิทธิบางประการของบุคคลดังคำกล่าวในทำนองว่า สัีงคมยิ่งดีขึ้นมากเพียงใด กฎหมายก็ยิ่งปรากฎน้อยลงเพียงนั้นอันเป็นภาวะที่คล้ายย้อนกลับสู่ยุคสมัยที่มนุษย์รวมอยู่กันเป็นชุมชนและแก้ไปข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอมมากกว่าการใช้กลไกทางกฎหมาย แต่ตราบเท่าที่ปัจเจกภาพของบุคคแตะละคนยังดำรงอยู่และเป็นที่หวงแหน พร้อมกับความจำเป็นที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่ในรูปสังคมสมัยใหม่ที่ความสัมพันธ์ของชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้นกฎเกณฑ์ทางสังคมในรูปกฎหมายก็คงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องพึ่งพิงการดำรงอยู่ของมันตลอดไป เพียงแต่ความเปลี่ยนแปลงอันอาจคาดหมายน่าจะอยู่ที่การเพิ่มขึ้นในลักษณะความเที่ยงธรรมของการบังคับใช้และเป้าหมายอันเป็นไปเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงของกฎหมาย
         

The Marxist Theory of Law...II

            ความคิดทางกฎหมายของมาร์กซและการตีความความคิดของเขาภายหลัง..ถึงแม้ว่าข้อสรุปเบื้องต้นที่เพิ่งกล่าวผ่านมาจะแสดงให้เห็นท่าทีของมาร์กซในเชิงเย้ยหยันต่อบทบาทของกฎหมายในระบบทุนนิยม เป็นเรื่องน่าสนใจว่าท่าทีความคิดดังกล่าวแตกต่างจากทรรศนะในวัยหนุ่มของเขาซึ่งเชื่อถือศรัทธาในกฎหมายธรรมชาติด้วยซ้ำไป 
            มาร์กซสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางด้านปรัชญาจามหาวิทยาลัยเจนา โดยเียนงานวิทยานิพนธ์เรื่อง " ความแตกต่างระหว่างปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติของเตโมเครตุสกับอีปีคิวรุส" หลังจากสำรเ็จการศึกษาแล้วมาร์กซตั้งใจจะใช้ชีวิตเป็ฯอาจารย์ สอนหนังสือในมหาวิทยาลย แต่ต้องประสพความผิดหวังเนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยขณะนั้น ไม่ชอบแนวความคิดในักษณะก้าวหน้าซึ่งต่อต้านคัดค้านศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องพระเจ้า จนในที่สุดเขาต้องเปลี่ยนเข็มไปทำอาชีพเป็นบรรณาธการหนังสือพิมพ์ซึ่งทำให้เขาต้องขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ข่าวของรัฐบาลเป็นประจำ อาชีพนักหนังสือพิมพ์ในวัยหนุ่มของเขา จึงนับเป็นประสบการณ์ช่วงแรกๆ ของเขาที่ต้องต่อสู้กับการกดขี่บีบคั้นจากเจาหน้าที่รัฐบาลปรัสเซีย  และจากประสบการนี้เองเขาจึงมีงานเขียนชื่อ "ข้อคิดเห็นต่อคำสั่งเซ็นเซอร์ล่าสุดของของปรัสเซีย" ปรากฎต่อสาธารณชน และงานเขียนนี้เองได้สะท้อนแนวคิดกฎหมายธรรมชาติภายในตัวเขาออกมา ดังความบางตอนที่ว่า 
          "... กฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้น, กฎหมายซึ่งไรบรรทัดฐาน อันเป็นภววิสัยเป็นกฎหมายของลัทธิก่อการร้าย เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ Robespierre ประกาศใช้ในภาวะฉุกเฉินขงรัฐหรือที่จักรพรรดิโรมันประกาศใช้เพราะเหตุความระส่ำระสายของบรรทัดฐาน กฎหมายดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องว่างเปล่าแต่เป็นบทลงโทษของสิ่งซึ่งหาใช่กฎหมาย... กฎหมายในลักษณะเช่นนี้หาใช้เป็นกฎหมายของรัต่อประชาชน แต่เป็นกฎหมายของพรรคๆ หนึ่งต่อพรรคอื่นกฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้นดังกล่าวเป็น การปิดกั้นความเสมอภาคของบุคคลต่อกฎหมาย...มันมิใช่เป็นกฎหมายแต่หากเป็นเรื่องอำนาจหรือสิทธิพิเศษ.."
          กล่าวโดยสรุป งานเขีนยของมาร์กซในช่วงวัยหนุ่ม  สัมพันธ์กับความเชื่อถือศรัทธาในแนวคิดมนุษย์นิยม และธรรมชาตินิยม อันทำให้เขามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบ และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ของซาวิญยี่ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคามคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย ดดยที่เขาเห็นแย้งกับซาวิญยี่ว่า แท้จริงแล้วกฎหมายไ่มีประวัติศาสต์ซึ่งเป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองในชนิดที่ตัดขาดจาก เศรษฐกิจ, การเมือง, และวัฒนธรรม ในทางตรงกันข้ามมาร์กซ กลับเน้นความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็นบรรทัดฐานเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า กฎหมายอันแท้จริงจะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสังคมของมนุษย์และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริงจะต้องมีลักษณธสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสงคมของมนุษย์ และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริง อย่างไรก็ตามจากประสบกาณ์ชีวิต และพัฒนาการทางปัญญาที่เพ่ิมมากขึ้นตามวัยของเขา ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจตลอดจนการได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป้นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวความคิดทางปรัชญา และการเมืองของเขาในระยะหลังจึงบ่ายสู่ลักษณะควมคิดแบบสสารธรรม โดยเน้สนการเข้าสู่ปัญหาในแง่รูปธรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าการวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญาแบบเดิมและปฏิเสธความสำคัญของเรื่องหลักการนามธรรมต่างๆ โดยเฉพาะหลักคุณค่านามธรรมที่แน่นอนเด็ดขาดหรือเป็นนิรันดร์ และในระยะหลังๆ ปรากฎทรรศนะกระจัดกระจายในงานเขียน บางชิ้นของเขาที่แสดงออกถึงท่าที่วิพากษ์วิจารณ์ความสำคัญของกฎหมาย
            และจากข้อเขียนต่างๆ ที่ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งสรุปความเกี่ยวกับธรรมชขาติหรอบทบาทของกฎหมายออกเป็นข้อสรุปสำคัญหลายประการ กล่าวคือ
            - กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
            - กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจขชองตน
            - ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของกาควบคุมสังคจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด

             ตรรกะแห่งข้อสรุปและข้อถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมของข้อสรุป 
             บทสรุปได้รับความเชื่อถื่อจากปัญญาชนในช่วงหลักเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ฝ่ายหนึ่งโดยขาดการศึกษาวิเคราะห์ถึงเหตุผล, ความเป็นมาอย่างจริงจัง หายคราวบทสรุปนี้จึงกลายเป็นประหนึ่งบทสวดมนต์ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ ที่มีแต่ศรัทธาให้กับถ้อยคำในบทสวดนั้น แต่ไม่มีความเข้าใจหรือากรเข้าถึงคำแปลบทสวดดังกล่าวและเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผลบ่อยคร้งที่มีค่าเท่ากับความงมงายหรืออวิชชาที่อาจนำมาซึ่งความผิดพลาดต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้เสมอ
          1. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ   ข้อสรุปเช่นนี้เป็นมองว่ารูปแบบและนื้อหาของกฎหมายนั้น แท้จริงเป็นเพียงผลิตผลของโครงสร้างหรือระบบเศรษฐกิจ โดยเหตุนี้รูปแบบและเนื้อหาของกฎหมายจึงแปรเปลี่ยนไปเรื่อยตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคมนั้นๆ  การตีความทฤษฎีสสารธรรมประวัิศาสตร์ของมาร์กซและเองเกลส์ ฝดดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นจิตสำนึกของมนุษย์ในเรืื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจขิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน "ใครงสร้างส่วนบนของสังคม" ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ "โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม" ขณะเดี่ยวกันก็ถือว่า กฎหมายเป้นส่วนหนึ่งขอดครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมาย จะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
             ในที่นี้ ขอให้สังเกตที่มาของข้อสรุปเช่นนี้จากงานเขียนของมาร์กซเองในหนังสือ "บทนำบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมือง"
              "ในการผิตทางสังคมเพื่อการดำรงอยู่ มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อการก้าวเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนหนึ่งซึ่งเป็นอิสระจากเจตจำนงของเขาเองกล่าวคื ความสัมพนธ์ของการผลิตซึ่งสอดคล้องกับขั้นตอนที่แนนอนหนึ่งในพัฒนาการของพลังทางวัตถุของการผลิตของมันส่วนรวมทั้งหมดของความสัมพันธ์ใการผลิตดังกล่าวได้ประกอบขึ้นมาเป้ฯโครงสร้างทางเศรษฐกิจทางสังคมอันเป็นพื้นฐานที่แท้จริง ซึ่งโครงสร้างส่วนบนทางการเมืองและกฎหมายได้ก่อตั้งอยุ่ และซึค่งสอดคล้องกับรูปแบบอันแน่นอนของจิตสำนึกทางสังคมวิถีการผลิตในชีวิตทางวัตถุเป็ฯตัวกำหนดเงื่อนไขโดยทั่วไปของสังคม การเมือง และกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ มันมิใช่จิตสำนึกของมมนุษย์ซึ่งเป็นผู้กำหนดความเป็นอยู่ของเขา แต่หากตรงข้ามกันควรามเป็นอยู่ของเขาที่กำหนดจิตสำนึก"
              "ความสัมพันธ์ทางกฎหมายและบรรดารูปแบบของรัฐ ไม่อาจถูกเข้าใจได้โดยตัวของมันเองหรือไม่อาจอธิบายได้โดยสิ่งที่เรียกว่า ความก้าวหน้าพัฒนาของจิตใใจมนุษย์ทว่ามันเป็นสิ่งซึ่งหยั่งรากอยู่ในเงื่อนไขทางวตถุของชวิต พร้อมกักบการเปลี่ยนแปลงรากฐานทางเศรษฐกิจโครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมดก็จะถูกเปลี่ยนรูปไปด้วยไม่เร็วก็ข้า"
              ตามข้อสรุปดังกล่าว หากจะอธิบายให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในเชิงวิจารณ์ หรือตีความกฎหมายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ก็คงจะได้ว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมเนื้อหาและรูปแบบของกฎหมายโดยส่วนรวมย่อมสอดคล้องกันกับปรัชญาหรือเป้าหมายด้วย เราอาจแสดงความสัมพันธ์ได้ง่ายๆ ดังนี้ 
               ธรรมชาติของระบบทุนนิยม - ธรรมชขาติเนื้อหาของกฎหมายโดยทั่วไป,  การปรับเหลี่ยนธรรมชาติของระบบทุนนิยม - การปรับเปลี่ยนธรรมชาติของกฎหมาย
              อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปังกล่าวที่มองว่ากฎหมายเป็นผลผลิต หรือผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจ โครงสรางทางเศรษฐกิจ ก็สร้างข้อกังขาหรือข้อโต้แยงขึ้นในภายหลังเนื่องจากข้อสรุปดังกล่าวมองว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อย่างเดียว ศีลธรรมหรือหลักความยุติธรรมต่างๆ ล้วนถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญใดๆ เลยต่อความเป็นของกฎหมาย กฎหมายในทรรศนะเช่นนั้นจึงมิได้มีอะไรเลย นอกจากเป็นการทำงานหรือผลสะท้อนของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจซึ่งปราศจากการดำรงอยู่ที่เป็นอิสระใดๆ       
              กล่าวโดยส่วนรวมข้อสรุปดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญาแบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ หรือ "เศรษฐกิจกำหนด" อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง
            หากพิจารณากันโดยละเอียดจากงานเขียนของมาร์กซซึ่งเป็นผุ้ให้กำเนิดลัทธินี้ จะพบว่าตัวมาร์กซเองไม่เคยปฏิเสธไว้ที่ใดเลยถึงความเป็นไปได้ ที่โครงสร้างส่วนฐานถูกกำหนดหรือถูกกระทำโดยโครงสร้างส่วนบนในทางตรงกันข้ามกัน งานเขียนหลายๆ ชิ้นของมาร์กซดังเช่น "Grundrisse" "Communal Refome and the Kolnische Zeitung" หรือ "Poverty of Philosophy" ต่างก็ปรากฎข้อความซึ่งแสดงนัยของการยอมรับในผลกระทบซึ่งกันและกัน ของโครงสร้างส่วนบลนหรือกฎหมายที่อาจมีต่อเศรษฐกิจ เริ่มต้นจากจุดนี้เองที่เราไม่อาจยอมรับได้กับข้อสรุปที่มีลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด โดยเศรษฐกิจ เพราะแม้พิจารณาที่เนื้อหาแห่งทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์ ก็อาจแปลความได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างฐานและโครงสร้างส่วนบนของสังคมเ็นไปในเลิงประติการรซึ่งต่างฝ่ายต่างกระทำต่อกัน มิใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอันมิใช่เรื่องเศรษฐกิจ เป็นเพียงผลผลิตโดยตรงหรือโดยทันทีของเหตุปัจจัยของเศรษฐกิจ เป็นไปได้ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด อาจเป็นตัวเงื่อนไขพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง แต่รูปการณ์ของจิตสำนึกอื่นๆ ในโครงสร้างส่วนบนของสังคม ก็อาจส่งผลสะท้อนกลับต่อเศรษฐกิจได้...
           แท้จิรงแล้วแม้พิจารณาจากแกนกลางของทฤษฎีหรือปรัชญาสสารธรรมประวัติศาสตร์ของมาร์กซิสต์เอง กฎหมายก็มิใช่เป็นเพียงผลสะท้อนที่เชื่องๆ ของเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจในทุกกรณี ถึงแม้วว่าเราอาจยอมรับในความสำคัญของเศรษฐกิจในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญหลักอันหนึ่งที่กำหนดรูปแบบและเนื้อหาของกฎหมาย
         ประเด็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนฐานและโครงสร้างส่วนบน ในปัจจุบันจึงดูเหมือนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยมีมาร์กซิสต์บางกลุ่ม หันมาเพ่งจุดสนใจใหม่สู่แนวคิดเรื่อง "ตัวสื่อกลาง"ในระหว่างโครงสร้างทั้งสองส่วน ซึ่งดำรงอยู่มากมายในนกระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคม
        2. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นเสมือนมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน/กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง  ข้อสรุปที่ค่อนข้างแข็งกร้าวเชนนี้  ความจริงมิใช้่เป็นสิ่งใหม่ที่นักลัทธิมาร์กซเพิ่งประดิดษฐ์ขึ้น คงอาจจำได้บ้างว่าเมื่อคราวที่กล่าวถึงเรื่องปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ได้เคยเสนอทรรศนะของพวกโซฟิสท์ บางกลุ่มที่คัดค้านกฎหมายธรรมชาติ และมองกฎหมายว่าเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสร้างขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยมีการเปียบเปรยกฎหมายว่าเป็นเสมือนใยแมงมุมที่มีไว้เพื่อดักสัตว์เล็กๆ เท่านั้น ทรรศนะที่มองกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือของบุคคลหรือชนชั้นที่ครองความเป็นใหญ่ในสังคม แท้จริงจึงมีปรากฎอยู่ในภูมิปัญญาของกรีกโบราณมานานนับพันๆ ปีแล้ว หาใช่เรื่องใหม่เลย แต่ทว่าอิทธิพลความคิดหรือข้อสรุปความคิดเช่นนั้นอาจมีน้ำหนึกแตกต่างกัน เนื่องจากการปรากฎตัวของความคิดนี้ในยุคใหม่เป็นไปโดยผ่านลัทธิการเมืองที่มากด้วยอิทธิพลความสำคัญระดับหนึ่งในสังคมโลกปัจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่แม้ในบ้านเรา ข้อสรุปความคิดนี้ก็เป็นที่เชื่อถืยอมรับในหมู่พวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม บทกวีวรรคสำคัญ ของ "นายภูติ" ที่ว่า "...ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร็เพื่อชั้นนั้น" จึงเป็นบทกวีที่ค่อนข้างคุ้นหูต่อบุคคลหรือนักฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยมและน่เชื่อว่ามีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจังในขึ้นสรุปหรือบทหวีดังกบ่าวโดยมิได้มีการสืบค้นความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง.. ที่มาของข้อสรุปข้างต้นอาจสืบร่องรอยไปยังข้อเขียนของมาร์กซ และเองเกลส์ใน "คำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์" อันเป็นงานเขียนสั้นๆ ชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อความบางตอนที่กล่าวเสียดสีกฎหมายของชนชั้นเจ้าสมบัติ "..ปรัชญาความคิดทางกฎหมายของพวกเจ้าเป็นเพียงเจตจำนงของชนชั้นพวกเจ้าเองที่ถูกนำมาตราบัญญัติเป็นกฎหมายใช้บังคับสำหรับคนทั้งปวง โดยที่ลักษณะสำคัญและทิศทางของเจตจำนงนั้นได้ถูกกำหนดโดยเหล่าเงื่อนไขการดำรงอยู่ทางเศรษฐกิจของชนชั้นพวกเจ้า"
        จริงหรือที่ "โดยความหายทั่วไป" แล้วกฎหมายคือเครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง ข้อเขียนหรือคภแถลงดังกล่าวของมาร์กซน่าจะเป็ฯเพียงการแสดงออกให้เห็น ลักษณะของกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมหสึ่งที่มีควมบกพร่องในตัวเอง ทว่าข้อเขียนนี้มิได้เป็นข้อสรุปหรือคำตัดสินเกี่ยวกับธรรมชาติทั่วไปของกฎหมาย เป็นเพียงแต่คำวิจารณ์กฎหมายในสังคมทุนนิยมเท่านั้น ในขณะเดียวกันข้อเขียนสั้นๆ ดังกล่าวก็มิได้พูดวิจารณ์กล่าวหาไว้โดยตรงว่า ชนชั้นเจ้าสมบัติ(ุ้มีอนจะกินทั้งหลายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในสังคมทุนนิยมจะใช้กฎไกทางกฎหมายที่ตนยึดครอง หรือมีอิทธิพลในลักษณะที่เป็นการกดขี่ หรือทำลายผลประโยชน์ของชนชั้นระดับล่างที่ไม่มีอิทธิพลในสังคมเสมอไป ความข้อนี้ เองเกลส์ได้กล่าวในเชิงรับรองไว้เช่นกัน "..มีเพียงนานๆ ครั้งที่ประมวลกฎหมายจะเป็นการแสดงออกโดยตรงหรืออย่างบริสุทธิ์ ถึงการครอบงำของชนชันหนึ่งๆ"..
         ข้อบกพร่องที่เกิดจากข้อสรุปทางทฤษฎีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งในหมู่มาร์กซิสต์ตะวันตก และนำไปสู่การเกิดขึ้นของคำอธิบายใหม่จากสำนักโครงสร้างนิยม โดยที่สำนักโครงสร้างนิยมนี้พยายามอธิบายถึงปรเด็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งในระหว่างชนชั้นปกครองด้วยกัน อันเนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในระดับความเข้มข้นทางอุดมการณ์แบบทุนนิยม ข้อนี้จึงนับเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนไม่อาจผสมกลมกลืนกันได้เสมอไป อย่างไรก็ตามแม้จะเชื่อในเรื่องความขัดแย้งซึ่งผลประโยชน์ในกลุ่มทุนสำนักโครงสร้างนิยมก็ยังยืนยันถึงบทบาทของรัฐในการสืบต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน "ในระยะยาว" อยู่โดยเห็นว่าความสัมพันธ์ที่เป็นภววิสัยเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและทุนนิยมจะเป็นตัวประกันว่า ภายใต้ข้อจำกัดอันเป็นผลจากความขัดแยงภายใน และการต่อสู้ทางชนชั้นรัฐจะคงบทบาทระยยะยาวเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอิสระจากการแทรกแซงโดยตรงของทุนคนใดคนหนึ่ง และในการปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวเช่นนี้ทำให้รัฐหลีกเลี่ยงมิได้ในการบัญญัติกฎหมาย หรือใช้กลไกทางกฎหมายที่มีนัยก้าวหน้าเพื่อยุติความขัดแย้งในสังคม เพื่อรักษาไว้ึ่งการอยู่รอดของระบบ หรือเพี่อดำรงความชอบธรรมของระบบในสายตาประชาชน....
            
           
            
     
         

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law..I

         ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยแผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องและพัฒนาแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคมนั้น อีกด้านหนึ่ง พัฒนาการทางด้านวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีก็เจริญและพันาไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 อังกฤษได้มีความเนิญด้านอุตสาหกรรมทอผ้าอย่างมาก ต่อมา เจมส์วัติ ได้คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำทำให้พัฒนาการด้านอุตสาหกรรมเจริญอย่างรวดเร็ซ และเมือสามารถนำถ่านหินมาใช้เป็ฯเชื่อเพลิงได้ก็ทำให้เกิดอุตสาหกรรมถลุงเหล็กตามมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปประสบผลสำเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1830 ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรม และมีความต้องการในการใช้แรงงานสูงทำให้เกิดการอพยพของประชาชนเข้าเมืองหลวงเกิดชุมชนแออัด เกิดการใช้แรงงาหญิงและเด็ก เกิดปัญหาแรงงานที่เป็ฯปัญหาสำคัญคือปัญหาระหว่านายทุนกับำรรมกร คาลมาร์ค เป็นชาวเยอรมันจบลปริญญาเอกทางปรัชญา เป็ฯหนักหนังสอพิมพ์ทั้งในผรั่งเศาและอังกฤษได้เข้าร่วมกับกลุ่มกรรมกรและเขียนหนังสือเสนอแนวความคิดว่าถ้ากรรมกรจะต่อสู้เอาชนะนายทุนได้จะต้อรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิของตน ผลกำไรที่นายทุนได้รับนั้นเป็นหยาดเหลื่อแรงงานของกรรมกร แนวคิดดังกล่าวได้นำไปใช้รวมตัวกันเป็ฯสหภาพเรียกร้องผลประโยชน์ที่ควรจะได้จากนายทุนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้บงที่ 1 และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกประเทศ จากสถานการดังกล่าว เลนนิน ได้นำกรรมกรรัสเซียเดินขบวนเรียกร้องและทำการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของรัสเซียจนสำเร็จและนำหลักการตามแรวความคิดของคาลมาร์ที่เรียกว่าระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไปใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ หลักการสำคัญคือรัฐเข้าไปดูแลกิจการต่างๆ ทั้งหมดทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งด้านอื่นๆ ด้วย และควบคุมดูแลโดยพรรคอมมิวนิสต์เพียงพรรคการเมืองเดียว เป้าหมายของการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าถ้าปล่อยให้นายทุนยึดครองที่ดินและเป็นเจ้าของกิจการจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมขณะนั้นได้
            หลักการของระบอบสังคมคอมมิวนิสต์แตกต่างไปจากเป้าหมายหลักของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น หลักในการปกครองที่ของอำนาจการปกครอง การใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งการควบคุมการใช้อำนาจและองค์กรต่างๆ ในการปกครองจึงแตกต่างไปจากระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐธรรมนูญของรัสเว๊ยที่ประกาศช้ฉบับแรกจึงไม่ยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตบ เป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปกครองแก่ผู้ปกครองอย่างล้นเหลือขชาดองค์กรในการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบเป็นหลักการของเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์


           เลนิน นำพรรค Bolshevick เข้าบริหารประเทศตั้งแต่นั้นมา อุดมการของพรรคที่นำแนวคิดของคาลมาร์มาใช้นั้นผสมผสานกับแนวความคิดของ เลนิน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวรัสเซียขณะนั้น ซึ่งต่อมานิยมเรียกว่าลัทธิมาร์ค - เลนิน แนวความคิดของคาร์ลมาร์ต เชื่อว่าใสระบบทุนนิยมทำให้เกิดปัญหาการกดขี่และเอาเปรียบจากนายทุนและผู้ปกครอง วิธการแก้ไขโดยที่กรรมกรและชนชั้นกรรมาชีพต้องรวมตัวกันเข้ายึดอำนาจรัฐล้มล้างระบอบการปกครองที่เอาเปรียบและแบ่งชนชั้นนั้เน และเมื่อชนชั้นกรรมาชีพสามารถปฏิวัติสำเร็จต่อไปสังคมจะไม่มีชนชั้น  ในสัีงคมคอมมิวนิสต์รัฐจะเป็ฯผุ้ควบคุมกิจการทุกอย่างไม่มีที่ดินหรือทรัพย์สินของเอกชนโดยรัฐเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีนายทุนเพราะรัฐเป็นเจ้าของ ทั้งหมด ประชาชนเสมอกันในแง่ของไม่มีสมบัติเป็นของตนเอง ก่อนที่สังคมคอมมิวนิสต์จะประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าวคือสังคมไม่มีชนชั้นนั้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพในการดำเนินการ ดังนั้นพรรคจึงเข้ามาใช้อำนาจเบ็ดเสร็จไปสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์.... จากหลักการของวคอมมิวนิสต์ดังกล่าวเป็นการต่อต้านระบบทุนนิยม และในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย..ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า รัศเซียกับระบบทุนนิยมต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายดชนะในที่สุด
            ในการศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีกฎหมายอขงมาร์กซิสต์หรือพวกสังคมนิยม ในชั้นแรกน่าจะเริ่มจากการทำความเข้าใจถ้อยคำสำคัญบางคำของฝ่ายมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานความคิดหรือความเชื่อ กล่าวคือ
             สสารธรรม : เป็นแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญาของลัทธิมาร์ก ซึ่งเชื่อว่าสสารเหรือวัตถุทั้งหลายเป็นประธานของความเคลื่อนไหวที่เป็นจริงทัเงหลาย สสารเป็นปฐมธาตุของสิ่งทั้งหลาย จิตเป็นสิ่งที่โดยทั่วไปถูกกำหนดโดยสสาร หรือกล่าวอีกนั้ยหนึ่งคือสสารเป็นประธานเหนือจิต ในแง่ลัทธิมาร์กซจึงถือว่าโดยทั่วไปสสาสรหรือเงื่อนไขทางวัตถุและธรรมชาติเป็นตัวกำหนดหลักในแง่สาเหตุ ซึ่งใช้อธิบายพัฒนาการของสังคมและความคิดต่างๆ
             ประติการหรือวิภาษวิธี : หมายถึงกฎแห่งปฏิพัฒนาของสรรพสิ่ง เป็นกฎที่อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฒนาต่างๆ ซึ่งกระทำฝ่านกระบวนการของความขัดแย้งภายในล้วนเป็นสิ่งสากล ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในสิ่งที่ำร้ชขีวิตและในธรรมชาติที่มีชีวิตเช่นเดียวกับพฒนาการของสังคมและในกระบวนการความคิดของมนุษย์ ประติมาการจึงเป็นกฎที่ว่าด้วยความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เชื่อว่ามีลักษณะเคลื่อนไหว พัฒนาและเปลี่ยนแปลง โดยวิถีทาง หรือโดยกระบวนการของความขัดแย้งภายในสิ่งนั้นๆ
             สสารธรรมประติการ โลกทรรศน์ทางปรัชญาของมาร์กซและเองเกล ซึ่งเชื่อว่าสสสารเป็นตัวกำนหดหลักของความเป็นไปต่างๆ โดยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามกฎประติการข้างต้น
             สสารธรรมประวิัติศาสตร์ หมายถึงการปรับใช้หลักสสาสรธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคม หรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่าความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่างๆ ในสังคม เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคมที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือเศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม คือการต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรกปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
            หากพิจารณากันในแง่ตัวอักษรแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีทฤษฎี หรือแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ถูกสร้างขขึ้นอย่างเป็น "ระบบ" ในงานเขียนดั้งเดิมของ มาร์กแปละเองเกลส์ซึ่งเป็ฯให้กำเนิดลัทธินี้ ข้อเขียนของมาร์กซและเองเกลส์ที่เกี่ยวกับกฎหมายล้วนมีลักษณะเป็นเพียงการวิจารณ์หรือเสียดสีกฎหมายหรือปรัชญากฎหมายของฝ่ายทุนนิยม ซึ่งเขียนขึ้นอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีความต่อเนื่องเป็นระบบและเป็นข้อความสั้นๆ ทั้งสิ้น.. แม้เองเกลส์เองก็ยืนยันในภายหลัว่า จริงๆ แล้วไม่มีอุดมการณ์กฎหมายแบบสังคมนิยมหรือแบบชนชั้นกรรมาชีพ เช่นเดียวกับที่ไม่มีปรัญากฎหมายแบบสังคมนิยม หากมีแต่ข้อิรียกร้องกฎหมายแบบสังคมนิยมหรือกรรมาชีพ ซึ่งเป็นความจำเป็ฯอันขาดไม่ได้ในการต่อสู้ทางชนชั้นทางการเมืองโดยที่ข้อเรียกร้องนี้ต้องสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่จริง มิใช่บนพื้นฐานของปรัชญานามธรรมทางกฎหมาย

            ทฤษฎีหรือข้อสรุปทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายหรือธรรมชาติของกฎหมายโดยนักทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ ล้วนมีลักษณะของการสังเคราะห์สร้างหรือตีความขึ้นเองบนพื้นฐานของแนวความคิดหรือข้อเขียนที่กระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบของทั้งมาร์กและเองเกลส์ข้างต้น
             นอกเหนือจากการสร้างหรือตีความธรรมชาติของกฎหมาย บนพืนฐานของแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ไม่เป็ฯระบบดังกล่าว ทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ช่วงต้นๆ ยังวางอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการตีความกันสับสนว่าคือ แกนความคิดสำคัญของมาร์กซิสต์ น่าสังเกตว่าข้อสังเกตประการนี้สะท้อนให้เห็นความบกพร่องหรือความจำกัดในตัวลัทธินี้เองที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และมีประเด็นทางความคิดสำคัญ ๆ หลายอันที่ยังเคลื่อบคลุมไม่หนักแน่นเป็นจุดโหว่ในการแปลความต่างๆ
             จากท่าที่เชิงเสียดสีทั้งของมาร์กและเองเกลส์ต่อบทบาท หรือคุณค่าทางกฎหมายของสังคมทุนนิยม บวกกับการตีความทฤษฎีกฎหมายของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ซึ่งค่อนข้างหยาบกระด้างหรือบกพร่องข้างต้นทำให้เกิดหรือนำไปสู่การสร้างเท่าที่เหยีดหยัดคุณค่าของกฎหมายทั่วไป นำไปสู่ทรรศนะที่มุ่งทำลายหรือจงเกลียดจงชังกฎหมายในหมู่นักทฤษฎีกฎหมายมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ
              ความผิดพลาดหรือบกพร่องล้มเหลวในทางการเมืองของการจัดการการปกครองของสังคมสังคมนิยมซึ่งประกฎเด่นชัดจากลักษณะความเป็นเผด็จการ จำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพในสังคมใหม่หลังการปฏิวัติ..นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวตีความธรรมชาติ หรือคุณค่าของกฎหมายใหม่ในทิศทางที่ยอมรับความสำคัญ ความจำเป็นของกฎหมายหรือความเป็นไปได้ของบทบาทที่สร้างสรรค์ของกฎหมายในการปกครองสังคมสังคมนิยมหรือการคุ้มครองสิธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐหรือพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็วิพากษ์โจมตีทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ ว่าได้สร้างทฤษฎีกฏหมายมาร์กซิสต์ขึ้นมาอย่างบิดเบือน ท่าทีใหม่ทางความคิดร่วมสมัยจึงเห็ฯโน้มเอียงว่าในความเป็นจริงแล้ว บทวิจารณ์อุดมการณ์กฎหมายของลัทธิมาร์กซหาได้ระงับลัทธิมาร์กซในการสร้างทฤษฎีกฏหมายซึ่งสัมพันธ์กับปรากฎการณ์ทางสังคมที่สำคัญอื่นๆ... คงมิใช่เรื่องหลักการทางกฎหมายแตหากเป็นการวิจารณ์ต่อความผิดพลาดทางความคิดที่เน้นหลักการทางกฎหมายอย่างเกินเลยไม่ได้สัดส่วนกับองค์ประกอบทางสังคมอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเข้าใจกระบวนความเป็นไปของชีวิตทางสังคม

Source de Droit

             " มนุษย์จะดำเนินการตามความพอใจของตนทุกอย่างนั้นหาได้ไม่" กฎหมายซึ่งมนุษย์ใช้บังคับนั้นต้องอนุโลมตามธรรมชาติ คือ ต้องบัญญํติขึ้นตามแต่เหตุการ์สภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และอยู่ในสภาพที่บุคคลสามารถทีจะปฏิบัติตามได้ด้วย"  มองเตสกิเออ (Montesquieu)
             ที่มาของกฎหมาย
             กฎหมายเกิดจากวิวัฒน์นาการของมนุษย์ สังคมมนุษย์เป็นตัวผลักดันให้เกิดมีกฎหมายบังคับใช้กันเอง เมื่อเกิดชุมชนขึ้น สังคมในชุมชนก็เกิดขึ้พร้อมกัน แต่ละชุมชนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด มีความเชื่อถือโชคลาง เทพเจ้า วิญญาณต่าง ๆ เป็นของแต่ละชุมชนโดยเฉพาะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมามีชุมชน คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือจารีตประเพณีของแต่ละชุมชน ซึ่งต่อมาจึงกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีไป เมื่อชุมชนขยายขึน มนุษย์ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรือในเผ่านั้นก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามประเพณีของเผ่าของตนที่ยึดถือปฏิบัติกันมา ผู้ใดขัดขืน หรือไม่ชอบปฏิบัติตาม ก็จะถูกสังคมในเผ่า ร่วมกันลงโทษผู้นั้น อาจเป็นในรูปการฆ่าหรือกำจัดออกไปจากสังคมนั้น หรือทรมาน หรือขับไล่ไม่ให้อยู่ในกลุ่มของตน ในช่วงนี้จารีตประเพณีมีความสำคัญสำหรับเผ่าหรือชุมชน เปรียบได้เสมือนว่าเป็นกฎหมายที่มีอำนาจบังคับให้คนในกลุ่มในเผ่านั้นๆ ต้องประพฤติปฏิบัติตามได้เลยที่เดียว หากขัดขืนก็จะได้รับผลร้ายติดตามมา ซึ่งถ้าจะเปรียบเป็นกฎหมายแล้ว ในยุคของสังคมระยะเริ่มแรกในช่วงนี้ก็คือ "จารีตประเพณีที่บังคับให้มนุษย์ในชุมชนนั้นต้องประพฤติปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่เชื่อฟังก็จะต้องได้รับผลร้ายติดตามา" นั้นเอง ต่อมากลุ่มหรือเผ่าขยายขึ้น มีประชาชนเพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆ ก็เกิดตามขึ้นมา ทั้งในด้านการควบคุมกลุ่ม เผ่าของตนให้อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนไม่กระจัดกระจายทั้งใรด้านป้องกันความปลอดภัยของคนในหมู่เผ่าของตนที่จะถูกทำร้ายจากคนกลุ่มอื่น ทั้งในด้านควบคุมความสงบเรียบร้อย การลักขโมย ทะเลาะ ทำร้ายกันภายในกลุ่มของตนเงอ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้ควบคุมกลุ่ม เป่า หรือชุมชนของตนขึ้น ผุ้ที่ถูกแต่ตั้งเรียกว่าเป็นหัวหน้านั้นมักจะมาจากคนที่มีความเก่งกล้าในการต่อสู้ มีความแข็งแรงกว่าคนอื่นๆ ในชุมชนนั้นจนได้รับความไว้วางใจจากคนในกลุ่มเป็นผู้คุ้มครองตน หรือไม่ห้วหน้าเผ่า ชุมชนนันๆ อาจมาจากคนที่มีความเก่งกล้าในการักษาโรคหรือขจัดผีภัยต่างๆ สร้างความสงบ ความอยู่ดีกินดีให้กับคนในเผ่า ซึ่งเรียกสั้น ๆ สรุปได้ก็คือหมอผีนั้นเอง อาจได้รับแตงตั้งขึ้นเป็นหัวหน้าเผ่าแต่ละเผ่าเช่นกัน
                หัวหน้าเผ่านี้ก็จะทำหน้าที่ควบคุมความอู่ดีกินดีและความสงบสุขให้เกิดแก่เผ่าของตนรวมไปถึงทำหน้าที่ตัีดสินข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเผ่าของตนด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้คนในเผ่าเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ซึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ตนตั้งขึ้น ก็อ้ารงเอาคำสังของวิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งของเทพเจ้าที่หมู่เผ่านั้นนับถือให้มีบัญชาให้คนนำมาใช้กับคนในหมู่เผ่าของตน ซึ่งทำให้คนในหมู่ในเผ่านั้นเกิดความเกรงกลัวและยอมปฏิบัติตามด้วยดี ซึ่งถ้าจะพิจารณากันให้เดีแล้วจะเห็นได้ว่า คำสั่งของเทพเจ้าก็ดีหรือวิยญาณบรรพบุรุษก็ดี เป็นต้นตอของลัทธิหรือศาสนาของชุมชนในเผ่าใหหมู่นั้นนั่นเอง

           
          ดังนั้น ถาจะเปรียบเป็นกฎหมายในยุคสมัยที่กล่าวมานี้ ก็ถือได้ว่าเป็น "คำสั่่ง หรือคำบัญชาของเทพเจ้า หรือของวิญญาณบรรพบุรุษที่ประสงค์จะให้คนในเผ่าของตนนั้นประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนก็จะได้รับผลร้ายติดตามมา" เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยแรกๆ นั้นมิใช่ว่าจะมีคนประพฤติปฏิบัติตามด้วยดีตลอดมาทุกคน การฝ่าฝืนกฎข้อบังคับอันเกิดจากประเพณีก็ดี หรือเกิดจากเทพเจ้า พระเจ้าหรือวิญญาณบรรพบุรุษต่างๆ ก็ดี ย่อมเกิดมีขึ้นได้เพราะในหมู่ในเผ่าแต่ละเผ่านั้นย่อมมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับธรรมเนียมประเพณีหรือความเชื่อในเทพเจ้าหรือวิญญาณต่างๆ จึงไม่เชื่อถือและไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้น หัวหน้าเผ่าจึงต้องกำหนดบทลงโทษเอาไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการลงโทษในสมัยนันค่อยข้างจะรุนแรง เช่น ตัดคอ ตัดแขน ตัดข เฆี่ยน โบย หรือขับไฃล่ออกไปจากเผ่าของตน แล้วแต่ฐานะของความผิดของคนๆ นั้นจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด อันเป็นตัวอย่างให้คนในหมู่หัวหน้าลงโทษแบบเดียวกัน จึงทำให้คำสั่งหรือข้อบังคับของหัวหน้าเผ่ามีความศักดิ์สิทธิ์และง่ายแก่การปกครองคนในเผ่ายิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง คำสั่งหรือข้อบังคับของหัวหน้าเผ่าจึงกลายเป็นหลักบังคับความประพฤติของคนในเผ่าตนขึ้นมาโดยปริยาย จนเป็นความเกี่ยวพันระหว่างกันขึ้นหรือเกิดเป็นกฎหมายขึ้นมานั่นเอง
                ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น ชุมชนเผ่าต่างๆ แผ่ขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นรัฐหรือเป็นประเทศในทุกวันนี้ คำสั่งหรือข้อบังคับทั้งหลายก็ถูกปรับปรุงแก้ไขตลอดมาโดยอาศัยพื้นฐานของจารีตประเพณี ลัทธิศาสนา และสภาวะความเป็ฯอยู่ของคนในรัฐหรือในประเทศนั้นๆ เป็นส่วนประกอบในการสร้างกฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับกับคนในรัฐตนให้ประพฤติปฏิบัติตาม โดยถือหลักเพื่อรักษาความสงบ ความอยู่ดีกินดี และความเป็นปึกแผ่นของรัฐหรือประเทศนั้นให้ดำรงอยู่ตลอดไป การลงดทษที่รุนแรงในสมัยก่อนๆ ก็ค่อยๆ ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของมนุษย์ คือ แทนที่จะลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ก็เปลี่ยนเป็นจำคุกหรือกักขัง หรือปรับเป็นเงิน หรือเป็นค่าสินไหมทดแทนในการทำละเมิด คือ ปรับเป็นค่าเสียหายชดใช้ให้กับผู้ที่ถูกละเมิดนั่นเอง ดังนั้นในยุคปัจจุบันนี้ กฎหมายก็คือ "คำสั่งหรือข้อบังคับของผู้ปกครองรัฐ แระเทศที่บัญญัติออกมาใช้ควบคุมความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศของตน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ" หรือจะกล่าวว่า "กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลอันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครผ่าผืนไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผดและถูกลงโทษ"
             กฎหมายอาจกำเนิดจาก จารีตประเพณีและมาจากตัวบทกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร
             กฎหมายจากจารีตประเพณี จารีตประเพณีเกิดมาจากการประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างของมนุษย์ที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมาเป็ฯเวลาช้านาน โดยมุ่งถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกของมนุษย์ เช่น การพู การแต่งตัว ตลอดถึงวัฒนธรรมต่างๆ จารีตประเพณีจึงคลุมถึงการดำรงชีพของมนุษย์ทั้งหมดในกลุ่มหรือในสังคมแต่ละสังคมของมนุษย์ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติ ปฏิบัติตาม ก็จะได้รับการตำหนิ อย่างวรุนแรงจากสังคมนันๆ หรือบางครั้งอาจถูกขับไล่ไม่ให้อยู่ร่วมในสังคมนั้น ๆ เลยก็ได้
             ดังนั้น วิธีการตัดสินคดีความต่าง ๆในสมัยโบราณได้มีการยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยแปลงเป็นบางครั้งตามสถาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปจนกระทั่งกลายเป็นหลักบงคัยใช้กับประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งต่อมาในภายหลังเรียกหลักนี้ว่า ฝไกฎหมายจารีตประเพณี" เพราะถ้าใครฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษเช่นเดียวกับหลักของกฎหมายอาญา
           กฎหมายจารีตประเพณีเป็นกฎหมายที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เวลามีคดีเกิดขึ้นจึงไม่อาจจะหยิบหรือจับมาเปิดดูเปรียบเทียบกับคดีต่าง ๆ เหมือนเช่นตัวบทกฎหมายซึ่งเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ฉะนั้น จึงต้องอาศัยค้นคว้าหาดูจากคำพิพากษาของศาลจากคำเบิกความของพยาน หรือจากสุภาษิตกฎหมายในปัจจุบันนี้ จึงทำให้จารีตประเพณีลดความสำคัญลงไปมาก และไม่อาจจะเรียกว่าเป็นกฎหมายได้อีกต่อไป ยกเว้นแต่ที่กำหมดปัจจุบันรับรองให้นำมาใช้ได้
           แม้ว่าจารีตประเพณีจะมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายที่่มีความสำคัญต่อประเทศหรือรัฐก็ตาม แต่จารีตพระเพณีย่อมมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกัน เพราะแม้แต่ในประเทศเดียวกันก็ยังมีประเพณีแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถ่ิน ฉะนั้นปัฐญหาจึงเกิดมีว่า ถ้าบุคคลในท้องถ่ินต่างกันก็จำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมายของท้องถ่ินต่างกัน ดังนั้น กฎหมายจารีตนั้นจะเหมาะกับยุคสมัยที่มนุษย์อยู่แต่เฉพาะในถิ่นของตน ซึ่งผิดกับมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน
           อีกประการ คือ กฎหมายประเพณีนั้นยากแก่การพิสูจน์เมื่อมีคดีเข้าสูศาลเพราะศาลย่อมจะไม่รู้ประเพณีของท้องถิ่นอื่นหรือของประเทศอื่นได้ทั้งหมด บางครั้งจารีตประเพณีก็เป็นสิ่งไม่เหมาะสม อาทิ ประเพณี ประเพณีในหมู่โจรเป็นต้น จารีตประเพณีที่ควรนำมาปรับกับคดี จึงต้อง เป้ฯประเพณีซึ่งมีและปฏิบัติกันและเป็นเวลาช้านานแล้ว อาทิการต่อสู้ที่ถูกต้องตามกติกาแมคู้ต่อสู้ถึงแก่ความตายก็ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายตามกฎหมาย ต้องเป็นประเพณีอันควร มีเหตุมีผล และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยทั่วไป  ต้องเป็นประเพณีที่ไม่ขัดต่อตัวบทกฎหมายที่มีอยู่
          จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ถ้าประเพณีเกิดไปขัดกับตัวบทกฎหมายแล้ว แม้ไม่มีบทบัญญํติกฎหมายนั้นๆ ห้ามไว้ก็ต้องถือว่าประเพณีนั้นถูกยกเลิก
           กฏหมายกำเนิดจาก ตัวบทกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร เมื่อกฎหมายได้ตราออกมาแล้วย่อมใช้ไปตลอดจะลบล้างไม่ได้ จนกว่าจะถูกยกเลิกไปโดยกฎหมายใหม่กำหนดให้ยกเลิก หรือกฎหมายใหม่ที่ออกมาตีความบทกฎหมายเก่าให้ชัดเจนขึ้น แต่ข้อขัดข้องก็มี คือ เมื่อไดจัดทำเป็นลายลักาณ์อักษรแล้วย่อมตายตัวและแก้ไขได้ยาก ไม่สะดวกในการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนไปของประเทศเหมือนอย่างเช่นจารีตประเพณี แต่ก็อาจแก้ไขได้โดยการออกกฎหมายใหม่ลบล้างอันเก่าไปเรื่อยๆ
          การตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ เป็นหลัก เพราะต้องคำนึงถึงคงามเป็นอยู่ ภาวะสังคมของประชาชน และต้องออกกฎหมายมาให้ตรงกับความต้องการของประชาชนด้วย ถ้ารัฐบัญญัติกฎหมายออกมาตามใจชอบของตนฝ่ายเดียว กฎหมายนั้นก็อยู่ไม่ยึด

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...