Capitalism

        ระบบทุนนิยมที่ปรากฎภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น มีลักาณะการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีจนเราไม่อาจจะเรียกว่าเป็นระบบทุนนิยมจริงๆไ ได้ เราอาจจะเรียกได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติเป็น "ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่ตลาด" ในที่นี้เราจะศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยจะถือว่าระบบเศรษฐกิจอเมริกาในทางปฏิบัติที่มีลัษณะแตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีเป็นปม่แบบ และระบบนิยมในอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบ
        ระบบทุนนิยมอเมริกา หลังจากการเผชิญหน้ากับปัฐหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 และภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบทุนนิยมอเมริกาจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมนทางทฤษฎี จนไม่อาจจะหันกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีก
        ลักษณะความแตกต่างของระบบทุนนิยมอเมริก
        1. บทบาทของรัฐบาล ก่อนเกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ความเชื่อที่ว่า ไระบบทุนนิยม" ในตัวของมันเองมีพลังโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่และสามารถทำให้เศรษฐกิจได้ดุลยภาพเสมอ และกำไกตลาดจะทำหน้าที่ให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ"ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในดลกเสรี
        ระบบเศรษฐกิจอเมริกาในศตวรรษที่ 20 ก็ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น เกษตรกรมีความลำบากยากแค้นภาคอุตสาหกรรม คนงานถูกแทนที่โดยเครื่องจักรทำให้คนงานจำนวนมากต้องมุ่งไปแสวงหางานทำในอุตสาหกรรมบริการที่มีรายได้ต่ำมแม้ว่าช่วงปลายทศตวรรษที่ 20 และต้นทศวาาษที่ 30 ผลผลิตทางการเกตราจะเพิ่มขึ้นแต่ระคาได้ตกต่ำลงจากดัชนี ผลทำให้เกษตรกรถูกยึดที่ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ขณะเดียวกันภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปคนว่างงานก็มีจำนวนเพ่ิมสูงขึ้นตลอดเวลา
        รัฐบาลอเมริกาโดยการนำของประธานธิบดี รูดเวลส์ ยังมีความเชื่ออย่างฝังใจในแนวความคิดของสำนักคลาสสิค โดยเฉพาะปรัชญาเสรีนิยมที่ว่า "รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐฏิจ มีหน้าที่เพียงแต่พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับเอกชนเท่านั้น" ประกอบลกับรัฐบาล รูดเวลส์และคณะที่ปรึกษาประเมินความนุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐฏิจต่ำเกินไป ผลก็คือรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพรียงแต่พยายามบรรเท่าความหวาดกลัว และป้องกันการตืนตกใจ ในวงการธุรกิจเท่านั้น นอกจานั้นยังมองว่า การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาประมาณคนว่างงานเพื่อทวีสูงขึ้นนั้นควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถ่ิน หรือองค์การการกุศลเท่านั้นการช่วยเหลือหรือแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลกลางควรจะหลีกเลี่ยงเท่านที่สามารถจะทำได้
          ปัญหาวิฏตกาณ์ทางเศรษฐฏิจดำเนินต่อมากระทั้งมีการเลื่อตั้งประธานาธิบดี รูดเวลส์ผุ้สมัครพรรคเดโมแครทได้เสนอนโยบายต่าง ๆ เช่นนโยบายงลประมาณสมดุลย์ โครงการว่วยคนว่างงานของรัฐบาล โครงการบรรเทารทุกข์แก่เกษตรกร การควบคุมธนาคาร การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การควบคุมกิจการสาธารณูปโภค โดยรัฐบาลกลางซึ่งผลปรากฎว่า รูดเวลส์และนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่"ของเขาได้รับการยอมรับจากประชานสูงมาก
           หลังจากรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดืนมีนาคม 1933 รูดเวลส์ก็เร่ิมนำนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่" ของเขาเข้ามาใช้ทันที โดยเน้นที่ "บทบาทของรัฐบาลกลางในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ" ซึงเนื้อหาของนโยบายดำเนินการแบบใหม่จะครอบคลุมถึงหลักการต่างๆ เช่น การบรรเทาทุกขช์แก่ผู้ทุกข์ยากและว่างาน การฟื้นฟูธุรกิจ การเกษตรการปฏิรูประบบธนาคาร การลงทุนและแรงงานสัมพันธ์ฯ เราอาจจะกล่าวได้ว่านับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลอเมริกา เข้ามาแทรกแซงและรับผิดชอบในกิจกรรมทางเศรษฐฏิจของชาติ
           นโยบาย New Deal ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีที่ว่า "เศณษฐกิจตกต่ำเพราะการบริโภคมีน้อยเกินไป" แนวทางกว้างๆ จึงกำหนดขึ้นเพื่อกระจายสินค้าและการบริโภคออกไปสู่ประชาชนให้กลว้างขวางซึ่ง รูดเวลส์เองก็ได้ยอมรับว่า "เศรษฐกิจตกต่ำจะผ่านพ้นไป เมื่ออำนาจซื้อในมือของผุ้บริโภคเพื่อขึ้น" ดังนั้น คณะกรรมการองค์การสถาบัน และกฎหมายต่างๆ จึงถูกจัดตั้งขึ้นมารเพื่อรองรับนโยบายนี้
        - องค์การบริหารเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วนตั้งโดยสภาคองเกรศมีเงินทุน ห้าร้อยล้านเหรียญสำหรับจ่ายแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อบรรเทาความทุกำข์ยากจากากรว่างงาน ทั้งในรูปการช่วยเลหือโดยตรง เช่น แจกอาหารเครื่องนุ่งห่มฯ และเพื่อสร้างงานให้ทำ
        - คณะกรรมการบริหารงานพลเรือนตั้เงโดยประธานาธิปดีในเดือนพฤศจิการยน เพื่อสร้างงานและหางานให้ประชาชนทำ ผลปรากฎว่าในเดือนมกราคม จ้างคนงานกว่าสีล้านสองแสนคน
        - คณะกรรมการสร้างงานเพื่อความก้าวหน้าตั้งขึ้นในปี 1935 เพื่อหางานให้หนุ่มสาวที่ออกมาสู่กำลังแรงงานประมาณ ปีละ 5-7 แสนคน
        - คณะกรรมการบริหารเยาวชนแห่งชาตคิ เพื่อจัดหางานนอกเวลาให้แก่นักเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย
         - พ.ร.บ. การธนาคารฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาการล้มละลายของธนาคารจำนวนเป็นร้อยแป่ง โดยกฎหมายให้สิทธิประธานาธิบดี ที่จะหยุดการดำเนินการของธนาคาร และสามารถออกธนบัตรของธนาคารกลางเพ่ิมขึ้นเพื่อบรรเทาการขาดแคลนเงินตรา
         - พ.ร.บ. จัดสรรเงินบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างงานและจัดสรรเงินล้านเหรียญสำหรับใช้บรรเทาทุกข์
         - พ.ร.บ.ฟื้นฟูเกษตรกรรมแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อขึ้นอันทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภค สูงขึ้น
         - พ.ร.บ. เพื่อแทรกแซงกลไกตลาดโดย ห้ามตั้งราคาลำเอียงห้ามการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เพื่อปกป้องธุรกิจเล็กๆ  ที่ไม่ขึ้นต่อกิจการการผลิตใหญ่ ที่เปิดสาขาแบบลูกโซ่
          ในการเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ทำให้บทบาทของรัีฐบาลกลางเด่นชัดมากในการเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจของชาติซึ่งเป็นการปฏิเสธความเชื่อของระบบเสรีนิยมที่ว่ารัฐไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องในอาณาจักเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง และนับแต่นี้ไปบทบาทของรัฐก็เพิ่มทวีขึ้นจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีกเลย
           2. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในทางปฏิัติระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยไม่ต้องมีค่าบริการ ไม่ต้องมีคนบริหาร และสถานประกอบการจะมีลักษณะที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เพราะสถาบันการแข่งขัน แลบะระบบราคาจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ปัญหาต่างๆ ของระบบทุนนิยมก็จะถูกแก้ไปโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน เช่นราคาตลาดจะทำหน้าที่ปันส่วนสินค้าไปยังผู้บริโภคและจูงใจให้มีการเพ่ิมหรือลดการลงทุนโดยอัตโนมัติ
          เมื่อระบบทุนนิยมในอเมริกาได้พัฒนาก้าวหน้า การที่จะปล่อยให้กลำกของระบบทุนนิยมดำเนินไปเองนั้นไม่ได้รับการยอมรับ เพราะในทางปฏิบัติ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับกลไกต่างๆ ของระบบทุนนิยม เช่น ค่าใช้จ่าย ในการบริหารกิจการ ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาปัจจัยการผลิต ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดใหม่ๆ ค่าขนส่งินค้าจากผู้ผลิตไปยังผุ้บริโภค ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาสิทธิของบุคคล เช่นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายความเหรือที่ปรึกษากฎหมาย
         ค่าใช้จ่ายอีกประการหนึ่งที่จัดรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร คือค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยเฉพาะเมื่อการแข่งขันกันในตลาดมีความเข้มข้นมากค่าใช้จ่ายในด้านนี้จะมีอัตราสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความท้อแท้ได้ ในระบบตลาดการโฆษณา มีบทบาทสูงมาก เพราะนอกจากจะช่วยขยายตลาดสินค้าโดยการแนะนำต่อผู้บริโภคแล้ว ถ้าการโฆษณานั้นตรงตามความเป็นจริงหรือไม่บิดเบือนก็จะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายในการแสวงหาสินค้าที่ต้องการและช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจแลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้
         3. การประหยัดจากการผลิตมากๆ เรือเรียกการประหยัดตามขนาดของการผลิตขนาดใหญ่ ตามทฤษฎีของระบบทุนนิยมถ้ามองในเชิงสถาบันแล้ว สถาบันการแขช่งขันมีบทบาทสำคัญคือเป็นกำไกสำคัญที่สุดของระบบทุนนิยม ในกรณีที่การแขช่งขันจะบริสุทธิปราศจากการผูกขาดหน่วยการผลิต หรือสถานประกอบการ ที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันต้องมีจำนวนมากๆ และมีลัษณะเล็กมากจนไม่มีความหมาย ซึ่งผู้ผลิตจะนำสินค้าของตนมาเสนอขายในตลาดแล้วกลไกตลาดจะทำหน้าทีเองโดยอัตโนมัติ
         อีกประการหนึ่ง ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมอีกเช่นกันวิธีการประหยัดจากการผชิตหรือการลดต้นทุนสินค้านั้น จะเกิดขึ้นได้สถานประกอบการต้องดำเนินการผลิตสินค้ามากหน่วยหรือเรากล่าวได้ว่ายิ่งผลิตสินค้าจำนวนมากหน่วย ต้นทุนในการผลิตสินค้าก็จะยิ่งต่ำลง
         ในขณะที่หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดเล็กมากจนไม่มีความหมายการแข่งขันที่บริสูทธิก็ดำรงอยู่ แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้พัฒนาทำให้หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดใหญ่มากเพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือทำให้ราคาสินค้าของตนมีราคาต่ำสุดเพื่อนำไปแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในตลาดดังนั้นในปัจจุบันเราจะเห็นว่ากาณีที่จะให้มีการแข่งขันที่บริสุทธิและสถานประกอบการมีขนาดเล็กไปด้วยกันไม่ได้กับการประหยัดจากการผลิตมาก เพราะตามความเป็นจริงการประหยัดจากการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อสถานประกอบการต้องมีขนาดใหญ่พอและมีประสิทธิภาพการผลิต สูง เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องจักรสูง ผลิตได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ใช้คนงานจำนวนน้อย ประสิทธิภาพของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารที่สามารถทำให้คนงานมีกำลังใจในการผลิตมีสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและพิมพ์ครั้งละมากๆ ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำลงแต่ถ้าพิมพ์จำนวนน้อยต้นทุนต่อเล่มจะสูงมากเป็นต้น
         ในบางกรณีการประหยัดจากการผลิตจะขัดแย้งกับการให้มีการแข่งขันตามทฤษฎีเพราะจะทำให้สิ้นเปลื่องมาก เช่น บนถนนสายหนึ่งมีรถเมล์ของ 10 บริษัทวิ่งบริการรับผู้โดยสารตามความเป็นจริงรถจำนวนมากเช่นนี้อาจจะมีผุ้.ดดยสารเพียงไม่กี่คน หรือเช่นเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันขายบริการโทรศัพท์ แน่นอนจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจเพราะสามารถเลือกใช้ได้แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากจากการแข่งขัน นอกจากนั้นอุตสาหกรรมบางประเภทการแข่งขันอาจจะมีไม่ได้เพราะตลาดไม่กว้างพอ เช่น กาผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เรือรบเครื่องบินรบ อาวุธ ผู้ผลิตอาจจะเป็นผู้ผิตรายเดียวที่ทำการผูกขาดทั้งโลก เพราะถ้าไม่ผูกขาดแล้วตลาดก็ไม่ใหญ่พอที่จะให้มีการแข่งขันกัน สาเหตุของการประหยัดจากการผลิตมาก ๆ มีหลายประการคือ
         - เทคนิคในการผลิต การประกอบการบางประภท โดยสภาพของการผลิตถ้าจะทำให้เกิดการประหยัดจาการผลิต หรือ ทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำอุตสาหกรรมน้นต้องมีขนาดใหญ่มาก เพราะถ้าไม่ดำเนินการในรูปนี้ต้นทุนการผลิตจะสูงจนประชาชนไม่มีอำนาจซื้อสิค้าเหล่านั้นได้ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ ปูนซีเมนต์ เหล็กกลา และรถยนต์เป็นต้น
         - เกิดจากสาเหตุในด้ารการบริหาร ในการบริหารอุตสาหกรรมนั้นมีทั้งวิธีการกระจายอำนาจและรวมอำนานในขณะที่กิจการขยายตัวอย่างกว้างขวางการปล่อยให้หน่วยงานหรือสถานประกอบการสาขาบริหารตนเอง ทำให้เกิดปัญหาได้หลายประการตรงข้าม การจักหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานมาอยู่รวมกันทำให้การบริหารคล่องตัวมากกว่าวิธีการรวมหน่วยงานนี้ก็เป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดการประหยัดในการบริหารอย่างหนึ่ง
           การประหยัดด้วยวิธีการรวมศูนย์อำนาจการบริหารเช่นนี้ อเมริกาและญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะการประหยัดด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ธุรกิจกลายเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ในอเมริกาปัจจุบัน มีบิษัทใหญ่ๆ ประมาณ 500 บริษัท ทำการผลิตสินค้าได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตท้งประเทศ ซึ่งหมายถึงการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอเมริกาตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนจำนวนไม่มากทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เราเรียกว่า Concentration of Economic Power หรือการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ
           ผลในทางปฏิบัติของการมีการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจและกำารผลิตขนาดใหญ่คือทำให้กัตถอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางต้องเสื่อมและพังทะลายลงในที่สุดเพราะสินค้าที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงจะมีต้นทต่ำกว่าสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เมื่อนำมาแข่งขันกันในตลาดสินค้าของอุตสหกรรมขนาดเล็กและกลางก็สู้ไม่ได้ในที่สุดก็ต้องล้มละลายและเลิกกิจการไปซึ่งในที่สุดก็จะเหลือสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดอยู่ และนำไปสู่การผฦูกขาดในที่สุ ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลอเมริกันพยายามตามแก้มาตลอดเวลา โดยการออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดที่เรียว่า Anti3 Trust Law แต่ก็แก้ไม่ตก
             ผลอีกประการของการประหยัดจากการผลิตขนาดหใญ่ คือก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนงานในสถานประกอบการในรูปของ สไภาพแรงงานในขณะที่สถานประกอบการมีขนาดใหญ่ จำนวนคนงานก็มีจำนวนเพ่ิมขึ้นปัญหาในด้านการบริหารแรงงานก็ดี ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานก็ดี ในการแก้ไปัญหาดังกล่าวถ้านายจ้างต้องตามแก้ปัญหากับลูกจ้างที่ละคนๆ หรือที่ละกลุ่มๆ จะเกิดความยุ่งยากในการบริหารงานมาก จึงทำให้ฝ่ายลูกจ้างรวมตัวกันเป็น "สหภาพแรงงาน" และฝ่ายนายจ้างรวมตัวกันเป็นสมาคมนายจ้าง เพราะเมื่อมีความขัดแย้งทางด้านแรงงานนายจ้างเจรจากับสหภาพแรงงานจะก่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวมากอันเป็นผลดีในด้ากนการบริหารแรงงานในประเด็นนี้ ศ. ประชุม โฉมฉาย ได้กว่าวว่า "ถ้าลูกจ้างหลายๆ คนรวมกลุ่มกันต่อรองกับนายจ้างจะเป็นการประหยัดมากกว่าต่อรองที่ละคนๆ ซึ่งถือได้ว่าการมีสถานประกอบการหรือหน่วยการผลิตขนาดใหญ่ในปัจจุบันกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปารประหยัดจากการผลิตขนาดใหญ่ก็ว่าได้
           4. สินค้าสาธารณะ ลักษณะของสินค้าสาธารณะคือเป็นสินค้าที่ "บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าไปใช้แล้วไม่มีสิทธิที่จะห้ามหรือกีดกันไม่ให้คนอื่นใช้" หรือกล่าวได้ว่าเป็นสินค้าที่บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ร่วมกัน แต่การใช้ประดยชน์ในสินค้าสาธารณะจะต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาสมและอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย เช่น บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร หรือบุคคทุกๆ คนมีสิทธิเข้าไปพักผ่อนในสวนสาธารณะได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมารย ระเบียบต่างๆ เช่นกีดขวางการสัญจรไปมาบนท้องถนน หรือขัดขวางการใช้ประโยชน์ของบุคคลอื่น ไรือทิ้งขยะในสวนสาธารณะเป็นต้น
           สินค้าสาธารณะที่ปรากฎขึ้นในระบบทุนนิยมอเมริกา โดยสภาพเป็นสินค้าที่รัฐบาลเข้ามาีบทบามเป็นผู้จัดหาให้โดยตรง ในรูปสวัสดิการของรัฐ เป็นสินค้ที่มีบทบาทโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัจจุบันรัฐได้ให้ความสำคัญกับสินค้าประเภทนี้มาก การจัดให้มีสินค้าสาธารณะต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาการคลังของรัฐโดยรัฐต้องจัดสรรวบประมาณในการจัดทำ เพราะสินค้าประเภทนี้ จะปล่อยให้ระบบตลอดทำหน้าที่โดยรัฐไม่เข้าไปจัดให้แล้วคนก็จะไม่ยอมซื้อ เช่น ไปชักชวนให้ประชาชนซ้อการบริการทางทหารจะไม่มีใครยอมซื้อ
          การจัดหาสินค้าสาะารณะให้กับประชาชนโดยรัฐนี้เมื่อจัดให้แล้วรัฐจะไปเก็บเงินจากผู้ใช้ประโยช์หรือผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ยากลำบากและยุ่งยากมากนอกจากจะจัดการปย่างรัดกุม เล่นเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้ถนนบางสาย เนื่องจากสินค้าสธารณะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวติของประชาชนส่วนใหญ๋ และเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับประชาชนรายได้หรือวบประมาณที่รัฐนำมาจัดสรรเพื่อสร้างสินค้าเหล่านี้จะได้มา จากการเก็บจากผุ้บริโภคในทางอ้อม ในรูปของการเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมเพราะถ้าใช้กำไกตลาด ผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้อ ผลที่ตามมาจะทำให้รัฐมีรายได้น้อยแยและการจัดสร้างสินค้าประเภทนี้กจะน้อยในที่สุดจะมีผลกระทบต่อสวัสดิการของรัฐ ที่ให้กับประชานโดยส่วนรวมได้
          ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมแล้ว "สินค้าทุกยอ่างเป็นสินค้าส่วนบุคคล หรือสินค้าเอกชนที่ทุกคนมีสิทธิซื้อหามาบริโภค ได้โดยครเองตามความสามารถหรือดำนาจซื้อของแต่ละบุคคล" แต่ในทางปฏิบัติรเาจะเห็นได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติของอเมริกา มีสินค้าสาธารณะซึ่งรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดหาให้ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           5. กิจกรรมสาธารณูปโภค โดยสภาพแล้วจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่และเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของสังคม การประกอบกิจการต้องคำนึงถึงถึงปรโยชน์สุขของสังคมเป็นหลักไม่ใช่เพื่อหวังกำไร เช่น ไฟ้ฟ้า ประปา แก๊ซ โทรศัพท์ การขนส่ง
           กิจกรรมสาธารณูปโภคแตกต่างกับสินค้าสาธารณะเพราะสินค้าสาธารณะนั้นรัฐจัดหาให้โดยไม่เก็บค่าบริการโดยตรงและไม่ใช้ระบบตลาดแต่จัดเก็บในทางอ้อมในรูปค่าธรรมเนียมหรือภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำ แต่กิจการสาธารณูปโภครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาให้โดยตรงหรือรัฐจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานก็ได้  ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารตามมาดังนี้
           - ในทางปฏิบัต รัฐจะเข้าควบคุม ผู้ประกอบการที่ดำเนินงานเพื่อหวังผลกำไรจะพยายามดต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะหันไปใช้วิธีการผลิตที่ใช้ทุนมาก เครื่องจักรมาก อุปกรณ์มาก ใช้แรงงานน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกวิธีที่รัฐต้องเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ในกิจการสาธารณูปโภตเมือรัฐเ้าไปควบคุมทั้งคุณภาพและราคาโดยเคร่งครัดราคาของสินค้าจะไม่เป็นไปตามกลไกตลาดจึงทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           - เมื่อรัฐบาลเข้าควบุคมกิจการสาธาณณูปโภค ต้องควบคุมให้เหมือนกันหมดจะ จะปล่อยให้กิจการบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการจะย้ายทุนไปประกอบกิจกรรมที่อยู่เหนือการควบคุมหมด
           - เมื่อรัฐเข้าไปควบคุมกิจการสาธารณูปโภคโดยเคร่งครัด หรือในบางกิจการที่รัฐเขช้าไปถือหุ้นอยู่ด้วยจำนวนมากหรือรัฐเป็นผู้ประกอบการเองเราจะพบว่ารัฐจะส่งคนของรัฐเข้าไปควบคุมการประกอบการโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้คนบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากการควบคุม
          6. บทบาทของรัฐบาลในการเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจ ในทางทฤษฎีหรือหลักการของระบบทุนนิยม "รัฐมีหน้าที่เป็นเพียงคนกลาง คอยแก้ไปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทของเอกชนหรือ มีหน้าที่ในการรักษานิยมทางสังคม เช่น รักษาสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ส่งเสริมการแข่งขัน ควบคุมการผูกขาดควบคุมคุณภาพชีวิต ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม"แต่ในทางปฏิบัติ รัฐจะปล่อยให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปเองไม่ได้ต้องเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจซึ่งแสดงออกดังนี้
           - ควบคุมโดยตรง เช่นรัฐเข้าไปดำเนินกาปันส่วนสินค้าบางประเภทที่ใช้การบริโภคในช่วงที่สินค้าขาอแคลน ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ควบคุมการจัดโควต้าสินค้าเข้า สินค้าออกเป็นการควบุคมโดยตรงที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ
           - การควบุคมโดยอ้อม เป็นการควบคุมระบบเศรษฐกิจในระดับนโยบายกว้าง ๆ เช่นการควบคุมนโยบายการเงน นโยบายการคลัง และเงินช่วยเหลือ
          ลักษณะต่างๆ ของระบบทุนนิยมที่กล่าวมา ซึ่งเราถือว่าเป็นแม่แบบของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มีัลัษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ระบบทุนนิยมอเมริกาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเผชิญกับภัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทำให้ระบบทุนนิยมในอเมริกาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมตามทฤษฎีได้
       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)