Economic System

         ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละระบบ จะมีการกำหนดจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด ผลิตให้กับใคตร การจัดระบบเศรษฐฏิจโดยพิจารณาจากลักษณะสำคัญของแต่ละระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ รูปแบบระบบเศรษฐกิจที่จะนำมาพิจารณาประกอบด้วย ระบบทุนนิยมหรือระบบธุรกิจเอกชน ระบบเศรษฐกิจเอกชนบังคับ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบบังคับ และระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
              ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี, สังคมนิยมประชาธิปไตย ลักษณะเฉพาะระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี ประกอบด้วย รัฐบาลเข้าควบคุมและเป้นเจ้าของปัจจัยการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน บทบาทของรัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจด้านกำหนดราคาสินค้า ส่งเสริมการลงทุน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพการตัดสินใจที่จะทำการผลิต ตลอดถึงการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง ผลกำไรอันเกิดจากกิจการผูกขาดในธุรกิจใหญ่โตจะต้องตกเป็ฯของรัฐทั้งสิ้นไม่เปิดโอกาสให้มีธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะไปมีบทบาทที่สำคัญด้านการให้เงินกู้ลงทุนเท่านั้นเอง รัฐบาลจะทำหน้าที่ด้านนี้เอง ภายใต้ระบบนี้ยังคงเปิดโอกาสผู้บิรโภคมีอำนาจอธิปไตยการบริโภค
            ระบบนี้ส่งเสริมให้มีอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค จึงทำให้เกิดความแตกต่างกับระบบสังคมนิยมแบบบังคับ การที่ระบบเศรษฐกิจใด ประชาชนภายใต้ระบบจะเกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบกลไกราคา เข้ามามีโอกาสการกำหนดราคามากน้อยเพียงใด ต้องมีสถาบันธุรกิจเอกชนเปิดโอกาสแข่งขันในหน่วยผลิตเป็นตัวส่งเสริมการแข่งขัน แต่สภาพที่ปรากฎรัฐเข้าควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ภายในระบบยังขาดสถาบันธุรกิจเอกชน อันได้แก่กรรมสิทธิในปัจจัยการผลิต กระบวนการแข่งขันการผลิต ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ใช้เป็นกำไกเพื่อส่งเสริมให้เกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค ทั้งสิ้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าระบบนี้สามารถบรรลุผลได้มากน้อยเพียงใด
              ระบบทุนนิยม ระบบธุรกิจเอกชน  ถ้าจะศึกษาจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม เริ่มเกิดปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดเร่ิมตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต ต่อจากนั้นได้เกิดมีการตื่นตัวที่จะมีความรู้สึกชาตินิยม จะมารวมตัวกันในรูป"รัฐชาติ" ขึ้นในแถุบประเทศยุโรป ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผลจากการปฏิวัติดุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบตลาด เท่าที่ผ่านมาระบบทุนนิยมมักจะประสบปัญหาด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัญหาคือ จะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครเดิมอาศัยกลไกราคามาเป้นตัวหลักในการแก้ไขต่อมารฐบาลมีบทบาทเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจ
               ลักษณะเด่นของระบบ ดำเนินกลไกเศรษฐกิจโดยอาศัย "กลไกราคา"เป็นตัวจักรสำคัญสร้าง "แรงจูงใจ" ให้เกิดขึ้นภายใรระบบเศรษฐกิจ ปราศจากการควบคุมจากส่วนกลาง การจะแจกจ่ายปัจจัยการผลิตสิ่งใดและประมาณเท่าใดอาศัยอุปสงค์และอุปานในตลาดเป็นตัวกำหนด การตัดสินใจการบริดโภคขึ้นอยู่กับความพึงพอใจสูงสุดเป็ฯหลัก โดยอาศัยอรรถประโยชน์เป็ฯเกณฑ์การตัดสินใจ ยินยอมให้มีการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว การให้มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินการตัดสินใจในการผลิต การออม การลงทุน เปิดโอกาศให้มีอิสรภาพในการทำงานระบบเศรษกิจดำเนินไปตามกลไกราคา โดยใช้แรงจูงใจด้วยกำไร มาเป็นตัวกำหนดการผลิต ระบบตลาดโดยมีอุปสงค์และอุปทานเข้ามาเป็นตัวกำหนด ยอมรับความสำคัญอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคผู้บริโภคมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าใดก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้การผลิตดำเนินในรูปแบบของการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ลักษณะการผลิตมุ่งประสิทธิภาพการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การปรับปรุงประสิทธฺภาพการผลิต ก่อให้เกิดการแจกจ่ายทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

               ระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับ ระบบทุนนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจแบบฟาสซิสม์  รูปแบบเศรษฐฏิจยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลการดำเนินกลไกเศรษฐกิจมิไ้เป็นไปตามกลไกราคา อาศัยการวางแผนส่วนกลางจากรัฐบาลเป็นตัวแทนการแจกจ่ายทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการผลิตตามแผนที่ได้วางไว้
                ลักษณะเด่นของระบบ รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้บรรลุผลสำเร็จในระยะสั้น เป็ฯรูปแบบเศรษฐกิจดำเนินในยามสงคราม ซึ่งเยอรมันและอิตาลีนำมาใบช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การดำเนินกลไกทางเศรษฐกิจตรงข้ามกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุนี้พวกนายทุนและชนชั้นกลางจึงให้การสนับสนุระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันการผลิต ลักษณะตลาดดำเนินในรูปแบบผูกขาด ดำเนินกิจการผูกขาดโดยนายทุนขนาดใหญ่ ลักษณะการผลิตเป็นการรวมกลุ่มแบบ "cartel" อำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค ถูกละเลย การดำเนินการผลิตควบคุมโดยหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลาง เสรีภาพการเลือกบริโภคถูกจำกัด เพราะรัฐบาลจะเข้าควบคุมวางแผนการใช้แรงงานในโรงานแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่การผลิตและการตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตยังคงควบคุมอย่างใกล้ขิดและคำสั่งจากรัฐโดยอาศัยคำสั่ง เรียกได้ว่าเป็นระบบเผด็จการทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ลัทธิชาตินิยมเป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจ
                 ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่มีการวางแผนส่วนกลาง เรียกว่าระบบสังคมนิยมบังคับ ประเทศแม่ปบบคือสหาภาพโซเวียต
                 ลักษณะเด่นของระบบ กลไกราคา มิได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ การวางเป้าหมายการผลิตถูกกำหนดทางปริมาณโดยตรง กระบวนการแจกจ่ายทรัพยากรเป็นไปตามการวางแผนส่วนกลาง กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นไปตามแผนส่วนกลาง เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม อำนาจอธิปไตยการบริโภค ถูกควบคุมมีโอกาสเพียงเลือกการบริโภค ภายใต้ระบบสังคมนิยมแบบบังคับ ไม่ส่งเสริมอำนาจอธิไตยผู้บริโภค กรณีที่อุปสงค์ส่วนรวมในสินค้าบริโภคเพิ่มสูงขึ้น รัฐจะเข้าควบคุมปริมาณการผลิตใหคงอยู่ ณ ระดับ O X คงเดิม ระดับราคาเพ่ิมขึ้นแต่เพียงด้านเดียวรัฐบาลจะใช้มตรการเพิ่มภาษีการเปลี่ยนมือในสินค้า ซึ่งความพอใจของผู้บริโภคจะลดลง รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด จุดมุ่งหมายการผลิตมิได้มุ่งกำรสูงสุด เน้นปริมาณการผลิตปริมาณมากที่สุด
                  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ประเทศที่ดำเนินระบบเศรษฐกิจปบบผสมมักเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญยังคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่รัฐบาลกลางจะเข้ามามีส่วนในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นับเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลที่เข้มายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศทุนนิยม
                 มูลเหตุแห่งการดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบผสม ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลไกราคามาเป็นตัวช่วย อีกประการหนึ่ง ประเทศเล่านี้ประสบปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านกระจายรายได้ บ่อยครั้เงที่การควบคุมจากฝ่ายรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาไม่สามารถดำเนินให้ลุล่วงไปได้ ราคาสินค้าในท้องตลาดไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายไปได้
                  ลักาณะเศรษฐกิจแบบผสม
                  - การจัดสรรปัจจัยการผลิต อาศัยกลไกราคา
                  - ราคาสินค้าถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - มีการวางแผนจากส่วนกลาง
                  - กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - รัฐบาลจะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในกิจกรรมต่่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีการเน้นบทบาทรัฐบาลมากกว่าทุนนิยมก้าวหน้า
                   กล่าวโดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบผสม เป้ฯการดำเนินเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐฏิจจากส่วนกลาง
                   ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ประกอบด้วยลักษะสำคัญดังนี้
                   - เอกชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการประกอบธุรกิจ
                   - ผู้บริโภคยังคงมีอำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค
                   - เอกชนยังคงมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล
                   - เอกชนภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ต่างจะมุ่งแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเอง
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็ฯการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็นการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีาส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดจัเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
                   - เกณฑ์ตัดสินผู้บริโภคจะยึดหลัก รสนิยม ราคาสินค้า อรรคประโยชน์ที่จะได้รับตลอดจนรายได้ของผู้บริโภคซึ่งถือว่ามีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดจากการบริโภค
                   - เกณฑ์ตัดสินของผุ้ผลิต สินค้าใดมีกำไรมากจะดึงดูดให้มีการผลิตมากขึ้น ผู้ประกอบการจะอาศัยกลไกราคาเป็นเกณฑ์ตัดสิน จะผลิตสินค้าใดเป็นปริมาณเท่าใด จะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะนำไปสู่เกณฑ์การตัดสินใจของระบบเศรษฐฏิจ จะทำการผลิตสินค้าอะไรเป็นปริมาณเท่าใด
                    ระบบเศรษฐฏิจแบบเสรีนิยม และแบบผสมกับบทบาทของรัฐบาลในการควบคุมเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐพึงจะปฏิบัติและรับผิดชอบเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้รัฐบาลเข้ามาก้าวก่ายหน่วยธุรกิจเอกชนมากเกินไป เหตุใดรัฐบาลจะต้องเช้ามาควบคุมการประกอบกิจการของเอกชน ทำไมจึงไม่ปล่อยให้เอกชนได้ประกอบกิจการอย่างเสรี บทบาทของรัฐที่เข้าไปแทรกแซงแลวนั้นเหมาะสมเพียงใด กิจการบางประเภทถ้าปล่อยให้เอกชนดำเนินการผลิตอย่างเสรีจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี หลักการใหญ๋ ๆ โดยส่วนรวมจะพิจารณาดูว่าถ้าเอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจจำเป็นอยางใดที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปแทรกแซงอีกต่อไป

                    ระบบเสรีนิยม โดยหลักการจะปล่อยให้เอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่รัฐบาลจะต้องเขาไปแทรกแซงอีกต่อไป แต่เท่าที่ผ่านมาพบว่า ระบบเสรีนิยมยังมีจุดอ่อนในตัวเองคือมีการลงทุนในรูปผแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เต็ฒที่ บ่อครั้งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมักจะลงทุนเน้นหนักด้านการบริโภค อาทิ ร้านอาหาร สถานเริ่งรมย์ต่างๆ การลงทุนในรูปแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวการลงทุนต่อเนื่องปบบลูกโซ่ต่อไป สาเหตุใหญ่มาจาก ความผิดพลาดของระบบเสรีนิยม ที่ยังคงปล่อยให้เอกชนมีโอกาสในการครอบครองกรรมสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล เมื่อเป็นเช่นนี้นำไปสู่ลักษณะการผูกขาดในตลาด แสดงว่าการเพ่ิมรายได้ในด้านเศรษฐกิจบริการ มิได้เป็ฯหลักประกันที่สำคัญว่าจะมีการเพ่มในประสิทธิภาพการผลิตในระบบเศรษฐกิจส่วนรวม จึงเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐที่จะเข้ามาเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมีหน้าที่จะต้องระดมทรัพยากรปัจจัยการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว เขาดำเนินการ ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการผูกขาดเศรษฐกิจและการเข้าครอบครองกรรมสิทธิในที่ดิน รวมทั้งปัญหาทางระบบเศรษฐกิจแบบ 2 ระดับที่สร้างปัญหาทั่วไปให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่จะผลักดันให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยจุดมุ่งหมายของรัฐที่เข้าทาแทรกแซง เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับราคาการจ้างงาน
                    โดยทั่วไปจึงเป็นที่ยอมรับสภาพความเป็นจริงระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมีจุดอ่อน จะต้องมีการแก้ไขบางประการและยอมรับถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกกิจการภาคเอกชน ทั้งๆ ที่ยอมรับว่าบทบาทเสรีภาพเอกชนเป็นสิ่งสำคัญ บงครั้งเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ภายใต้การผลิตที่มีการแข่งขัน รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างสะดวก โดยเข้าไปแทรกแซงธุรกิจเอกชน จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกลายเป็นระบบเศรษฐฏิจแบบผสม เพราะรัฐได้มองเห็ฯแล้วว่า ถ้ายังคงปล่อยให้การดำเนินเศรษฐกิจเป็นแบบเสรี ปล่อยให้เอกชนดำเนินการไปโดยลำพังย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม รัฐจำเป็นต้องเข้าดำเนินการเพื่อให้กิจการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ ซึ่งรัฐเห็ฯว่าเหมาะที่สุด วัตถุประสงค์อันสำคัญย่ิง รัฐต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะคงการแข่งขันอยย่างสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้กลุ่มใดครอบงำผูกขาดเศรษฐกิจ
                  ระบบเสรีนิยมมีจุอ่อน แม้จะประกันมาตรฐานการครองชีพของประชาชนไว้อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดือนเกิดขึ้นสำหรับประชาชนบางกลุ่มที่พิการ ด้อยกาศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำเนินกิจการ..ย่อมขาดโดอาสในการเข้าแข่งขันการผลิต ขณะใดขณะหนึ่งที่สภาวะเศรษฐกิจประสบธุรกิจประสบสภาวะขาดทุน สภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำ คนว่างาน ถ้าเป็นระบบสังคมนิยมเสรีจุต้องปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจเป็นผู้ปรับตัวเองในระยะยาว แต่ในสภาพแห่งความเป็นจริง รัฐบาลจะปล่อยให้เหตุการ์เช่นนี้เกิดขึ้นในระยะยยาวไม่ได้  จึงเป็นหน้าที่ของรัฐอันที่จะยื่นมือเข้าช่่วยเหลือแทรกแซงสภาวะเสณษฐกิจ ส่งเสริมการประกอบกิจกรรมส่วรวม โดยอาศัยกลไกราคาเพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับส่วนรวมมากว่าเอกชน รัฐบาลจำต้องเข้ามาแทรกมีบทบาทจัดระดับการผลิตและการบิรโภคให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นด้านระดับราคาสินค้า การเลือกใช้ทรัพยากรจะต้องให้เกิดเสถียรภาพ รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพนับเป็นจุดอ่อนอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้กลไกราคาดำเนินไปยางมีประสิทธิภาพ รัฐจำเป็นต้องออกฎหมายเพื่อให้ใช้บังคับและควบคุมกำหนดขอบเขตการครอบครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง
                 นี่คือที่มาของการนำระบบเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ทดแทนระบบเสรีนิยม เพื่อเป็นหลักการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคม เน้นถึงความมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมของเอกชน เพื่อให้ผลประโยชน์ตกเป็นของคนส่วนรวม องค์กรที่สำคัญจะเข้ามาดำเนินงานคือ หน่วยงานของ "รัฐบาล" นั่นเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)