.... แนวคิดของสำนักโครงสร้างนิยมจากตะวันตกดังกล่าว มองข้ามความสำคัญเรื่องบทบาทความสำคัญของพลังฝ่ายก้านหน้าต่างๆ ในสังคมหรือเรื่องการยอมรับความสำเร็จของฝ่ายประชาชนทั่วไปในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายที่ปกป้องผลประดยชน์ของคนส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งกล่าวเ็นหลักการทั่วไปีกนัยหนึ่งก็คือ ประเด็นปัญหาพื้นฐาน เรื่องการยอมรับในประติการ ระหว่างรัฐและชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมนั้นเอง จากจุดนี้เราคงจะอนุมานได้ว่ายิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้นเพียงใดก็ดี เรื่องของเหตุผลหรือความชอบธรรมจะเข้ามาปรากฎในเนื้อหาของกฎหมายมากขึ้น กฎหมายมิอาจเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งอำนาจหยาบๆ ของผู้ปกครองอย่างง่ายๆ ตลอดไป ธรรมชาติแห่งเนื้อหาของกฎหมายจึงมีลักษณะพลวัตร ตามพลวัตรของสังคม และข้อสรุปถึงธรรมชาติกฎหมายท่วไปว่าเป็นเพียงเครื่องมือกดขี่ชนชั้นปกครอง จึงมิใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องชอบธรรมนัก แม้เมื่อพิคราะห์กันอย่างจริงจังจากทฤษฎีของมาร์กซิสต์เอง นอกจากนั้นการมองธรรมชาติของกฎหมายในแง่ลบตายตัว ดังกล่าวยังประกอบด้วยท่าทีแบบอภิปรัชญาซึ่งมีความเชื่อในลักาณะสัมบูรณภาพของธรรมชาติส่ิงหนึ่งๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องตรงกบความเป็นจริง
ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับอย่างเป็นทางการของรัฐสังคมนิยม ข้อสรุปดังกล่าวนับเป็นการสร้างทัศนคติ หรือท่าทีในแง่ลบต่อคุณค่าในตัวเองของกฎหมายอย่างมาก กฎหมายถูกมองว่าเป็นเพียงกลไกของการกดขี่หรือปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐ กฎหมายในรัฐสังคมนิยมช่วงต้นๆ จึงกลายเป็นกลไกอันน่าสะพรึงกลัวสำหรับการปราบปรามศัตรูทางชนชั้น สำหรับผู้ที่คิดเห็นตรงข้ามกับระบบหรือเพื่อป้องกันการฟื้นตัวของระบบทุนนิยมส่วนใหญ่ อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงทำลายล้าง มากกว่าในเชิงการสร้างสรรค์
อย่างไรก็ดี การพัฒนาสังคมภายใต้อุดมการณ์มาร์กซิสต์ ก็มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการของรัฐสังคมนิยม ปัญหาเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังจากยุคสตาลิน บรรยากาศแห่งการถกเถียง ทบทวนความผิดพลาดต่างๆ ก็เกิดขึ้น ผู้นำใหม่ของรัสเซียขณะนั้น คือ ครุสเชฟ ได้กล่าวประณามความผิดต่างวๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของสตาลิน และพยายามที่จะรื้อฟื้นการยกย่องเชิดชูความมีคุณค่าสูงสุดของกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ให้ถือว่ากฎหมายเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงอันเป็นเอกภาพของประชาชนทุกคน มิใช่เป็นเจตจำนงของชนชั้นหนึ่งที่มีอำนาจในสัคม แนวทรรศนะนี้ได้นำไปสู่การยอมรับความสำคัญหรือคุณค่ากฎหมายที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า เป็นหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยมในฐานะเป็นหลักหมายของการค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงสร้างสรรคซึงเน้นความสำคัญของระเบียบแบบแผนแห่งกฎเกณฑ์ ความถุกต้องของการปกครอง ความแน่นอนและคาดทำนายได้ของกฎหมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวทรรศนะดังกล่าวในช่วงแรกๆ ของการก่อตัวกลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีนซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค คือวิญญาณของกฎหายแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยคดอยู่กัีบข้อสรุปเดิมๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใดๆ ประหนึ่งทาสในสายตาของนายทาศที่มิใช่เป็นมนุษย์ซึ่งมีศักดิ์ศรีหรือคุณค่าในตัวเองโดยเฉพาะหลังจากที่มีการทำปฏิวัติวัฒนธรนรมครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นยุคมืดของพัฒนาการด้านกฎหมายในประเทศจีนเนื่องจากำม่มีการสอนวิชากฎหมายกันอีกต่อไปโดยกฎหมายถูกวิพาก์วิจารณ์จาพรรคคอมมิวนิสต์ว่าเป็นข้ออ้างของพวกฝ่ายขวาที่นำมาใช้ต่อต้านพรรคโดยมองข้ามธรรมชาติทางชนชั้นของกฎหมาย พร้อมกันนั้นก็มีการสรรเสริญภาวะการไม่มีกฎหมายกันอย่างเอิกเกริก กระทั่งในยุคสมัยของ เติ้ง เสี่ยว ผิง กฎหมายได้รับการรื้อฟื้น และหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง "ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน" โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยป้องกันมิให้เกิดเหตุอันน่าสะพรึงที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้รวมทั้งความเชื่อว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่จะช่วยประชาชนในการต่อสู้คัดค้านการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐซึ่งละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้คน เติ้ง เสี่ยว ผิง กล่าวไว้ชัดเจนว่า "นับเป็นความจำเป็นที่จะต้องวางหลักเกณฑ์ในระบบกฎหมาย กฤษฎีกาและระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบของระบบกฎหมาย และนับจากนั้นถึงปัจจุบันรัฐบาลจีนก็ได้ทำการสร้างประมวลกฎหมายและตรากฎหมายต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย..ซึ่งมีบทบัญญัติรับตองความศักดิ์สิทธิ์และความสำคัญสูงสุดของกฎหมายที่ไม่มีบุคคลใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นพรรคคอมมิวนิสต์หรือเอกชน) จะสามารถอยู่เหนือได้ การพัฒนาความคิดทางนิติศาสตร์ ของจีนมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนหันมาเหน้ความสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจตามนโยบายที่ทันสมัย แรงกดดันทางเศรษฐกิจนี้จึงทำให้ต้องมีการตรากฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมา ทั้งที่เกี่ยวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ควบคู่ไปกับการยืนบันความศํกดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในการปกป้องสิทธิด้านต่างๆ ของเอกขน อย่างน้อยก็เพื่อประกันความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายต่างๆ
ปรากฎการณ์เหล่านี้นับเป็นแนวโน้มใหม่ที่เพิ่งปรากฎขึ้นในรอบทศวรรษนี้เอง แม้กระนั้นเมื่อกล่าวโดยทั่วไปก็ยังถือว่า ในปัจจุบันศาสตร์ด้านกฎหมายของจีนยังจัดเป็นศาสตร์ทีล้าหลังที่สุดในบรรดาสังคมศาสตร์ทั้งหลายในดินแดนสังคมนิยมแห่งนี้
3. ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะทีเป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด เป็นเรื่องของการพยากรณ์อนาคต มิใช่เข้อสรุปทางทฤษฎีบนพื้นฐานของเงื่อนเวลาปัจจุบันซึ่งอาจพิสูจน์ความถูกได้ มองดโยทั่วไปแล้วข้อสรุปเชิงพยากรณ์นี้นับว่ามีสุ้มเสียงแบบอภิปรัชขญาในเชิงศษสนาอยู่มาก ๆ ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของมาร์กซ์ในอนาคตอันไกลโพ้นที่โลกจะยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภราดรภาพระหว่างมนุษ์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกำไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบ และไม่ต้องมีกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกำหนดกะเกณฑ์ให้คนต้องประพฤติตามกฎเกฑณ์ซึ่งวางไว้
ประเด็นเรื่องการเหือดหายหรือการสบลายตัวอย่างช้าๆ ของรัฐและกฎหมายนี้แท้จริงเป็ฯเรื่องที่โต้แย้งกันอย่างมากๆ ในหมู่นักทฤษฎีของมาร์กซิสต์ ทั้งฝ่ายที่เห็ฯด้วยและไม่เห็นด้วยและถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กับข้อสรุปสองข้อที่ฝ่านมาเกี่ยกับธรรมชาติและบทบาทของกฎหมาย แล่าวคือเป็นข้อสรุปที่เกิดจาการตีความภายหลังของบยรรดาเหล่าสาวกของมาร์กซ์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเหือดหายของกฎหมายในสังคมคอมมิวนิสต์ขั้นสุดท้ายซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานสนับสนุนที่แน่นอนใดๆ ในงานเขียนของมาร์กซ์และเองเกลส์ มีเพียงข้อเขียนของเองเกลส์ ซึ่งกล่าวในเชิงพยากรณ์ว่า สังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคตรัฐหรือรัฐบาลของบุคคล จะเหือดหายไร้ความจำเป็นในการดำรงอยู่อีกต่อไป แต่ข้อเขียนชิ้นเดี่ยวนี้ ก็เป็นการพูดถึงการเหือดหายของรัฐเท่านั้น มิได้รวมถึงบกฎหมายหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นงดครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมด แม้ว่าจะเป็นไปได้โดยการสันนิษฐานว่าเองเกลส์มองรัฐและกฎหมายในลักษณะที่เป็นสถาบันซึ่งเป็นคู่แผดกันอันจะมีการเคลื่อนไหวหรือพัฒนาการที่คล้ายคลึงกัน ข้อสันนิษฐานเช่นนี้ก็ไม่เคยมีการพูดไว้อย่างจะแจ้งใดๆ โดยเองเกลส์และแม้จะสันนิษฐษนกันเอาเองข้อสันนิษฐานนี้ในที่สุดก็จะพบว่าเป็นเรื่องของความเพ้อฝัน เป้ฯที่น่าสังเกตว่าข้อสรุปเรื่องการเหือดหายของกฎหมายนี้เป็นข้อสรุปที่ได้รับการป่าวประกาศโฆษณาโดยบรรดานักทฤษฎีกฎหมายของโซเวียตในช่วงต้นๆ หลังการปฏิวัติโดยเฉพาะจากนักทฤษฎี หรือนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญในยุคนั้น ซึ่งต่างยืนยันถึงการสิ้นสุดภาพกิจหรือความเป็นทางกฎหมายในเมื่องปราศจกสังคมชนชั้นอีกต่อไป ท่าทีและข้อสรุปเชนนี้ต่อมากลับถูกเปลี่ยนแปลงในยุคของสตาลิน ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมืองในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติ กฎหมายในยุคสมัยนี้จึงเป็นเครื่องมือกลไกทางการเมือง มากกว่าบทบาทเชิงสร้างสรรค์หรือค้ำจุนสิทธิเสรีภาพ และเริ่มเสื่อมการยอมรับเมื่อรัฐบาลโซเวียตในยุคสมัยครุสเซฟได้เปลี่ยนนโยบายหันมาฟื้นฟูความสำคัญของกฎหมายอีกครั้ง และหันมาเน้นถึงสาระประโยชน์ของสิ่งที่เรียกว่า "ความถูกต้องตามกฎหมายของสังคมนิยม" ซึ่งอาจตีความว่า "หลักนิติตธรรมแบบสังคมนิยม" ดังที่กล่าวมาแล้ว..
แนวทางตีความในยุคหลังจึงมองว่า แม้สังคมจะพัฒนาสู่จุดหมายอุดมคติได้สูงเพียงใดก็ตามสังคมก็ยังต้องมีกฎหมายบังคับใช้อยู่เพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ให้พ้นจากการแทรกแซงจาปัจเจกบุคคลด้วยกัน กับความเป็นไปได้ว่ายิ่งสังคมพัฒนาสู่ภาวะอุดมคติที่เต็มไปด้วยความรักสามัคคี สังคมจะมีกฎหมายน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะกฎหมายที่มีลักษณะหยาบๆ ข่มขู่กดขี่กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงหรือกฎหมายที่แทรกแซงการใช้สิทธิบางประการของบุคคลดังคำกล่าวในทำนองว่า สัีงคมยิ่งดีขึ้นมากเพียงใด กฎหมายก็ยิ่งปรากฎน้อยลงเพียงนั้นอันเป็นภาวะที่คล้ายย้อนกลับสู่ยุคสมัยที่มนุษย์รวมอยู่กันเป็นชุมชนและแก้ไปข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอมมากกว่าการใช้กลไกทางกฎหมาย แต่ตราบเท่าที่ปัจเจกภาพของบุคคแตะละคนยังดำรงอยู่และเป็นที่หวงแหน พร้อมกับความจำเป็นที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่ในรูปสังคมสมัยใหม่ที่ความสัมพันธ์ของชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้นกฎเกณฑ์ทางสังคมในรูปกฎหมายก็คงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องพึ่งพิงการดำรงอยู่ของมันตลอดไป เพียงแต่ความเปลี่ยนแปลงอันอาจคาดหมายน่าจะอยู่ที่การเพิ่มขึ้นในลักษณะความเที่ยงธรรมของการบังคับใช้และเป้าหมายอันเป็นไปเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงของกฎหมาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น