ข้อสมมติฐานว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองน่าจะมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน
ซึ่งดูจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมแล้วจะเกิดมีลัษณะต่างๆ ที่เหมือนๆ ดันทั้งในด้านโครงสร้าง การพัฒนาและการปรับตัวของโรงสร้างของระบบทั้งสอง ถ้ามองอย่างกว้างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกันดังต่อไปนี้
- เมื่อทั้งสองระบบได้พัฒนามากขึ้น ซึ่งการพัฒนาในโลกสังคมนิยมพัฒนาช้ากว่าโลกทุนนิยมโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกเริ่มพัฒนาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีโครงสร้างทางเศรษฐฏิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกันมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและมีปัญหาหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน ความเหมือนกันในด้านโครงสร้างอุตสหกรรม ปรากฎว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศทุนนิยมหรือสังคมนิยมเมื่อพัฒนาก้าวหน้าขึ้นจะมีลักาณะดังต่อไปนี้เช่นเดียวกันคือ บทบาทของภาคเกษตรกรรมจะมีแนวโน้มลดลง การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลง ส่วนแบ่งของผลผลิตทางเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง ความสำคัญของชนบทในแง่ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยลดลง ลักษณะดังกล่าวเหมือนกันทั้งสองค่าย ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวคล้ายๆ กันคือการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ส่วนแบ่งของผลผลิตทางอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ประชาชาติเพิ่มขึ้น การกำเนิดขึ้นของเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรมใหม่ๆ และใหญ่โตทำให้คนเข้ามาเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองเหล่านี้โดยอพยพมาจากชนบท นอกจากนั้นการจัดสรรทรัพยากรให้กับภาคอุตสาหกรรมการบริการต่างๆ เช่นการขนส่งก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งแนวโน้มอัตราการเกิดและการตายลดลง ลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งในประเทศทุนนิยมและประเทศสังคมนิยม
ความเหมือนกันในเชิงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การเพ่ิมในผลิตภัฒฑ์ประชาชาติและอัตราการเพ่ิมผลิตภัณฑ์ประชาชาติของทั้งโลกทุนนิยมและสังคมนิยมคล้ายคลึงกันมาก
ความเหมือนกันในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผลจากการเปลี่ยนโครงสร้างที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาความแออัดและเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอพยพมาจากชนบท ในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อากาศเสีย น้ำเสีย ก็เกิดขึ้นเหมือนๆ กันเพราะทั้งสองระบบพยาบามพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าและโดยการประหยัดของภาคอุตสาหกรรมแทรที่จะขจัดของเสียก็ปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับทั้งสองระบบ นอกจากนันปัญหาเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นในระบบเศรษฐฏิจทั้งสองเช่นกัน
- ความเหมือนกันในลักษณะของการพัฒนาการ ของทั้งสองระบบมีทิศทางการพัฒนาไปในแนวเดียวกันคือในระยะแรกจะพัฒนาในด้านกว้าง หรือการเจิรญเติบโตในทางกว้าง คือ ในภาคเกษตรกรรมก็ทำการขยายพื้นที่การผลิต ในภาคอุตสาหกรรมก็พยายามขยายฐานการลงทุนมากมาย ขณธเดียวกันก็พยายามย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตณกรรมไปสู่อุตสาหกรรมให้มากขึ้น เมื่อพัฒนาด้านกว้างแล้วก็จะหันมาพัฒนาในทางลึก หรือารเจริญเติบโตทางลึก คือการเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิตให้สูงขึ้น ถ้ามองด้านแรงงาน เมื่อแรงงานได้โยกย้ายจากชนบทเข้าสู่เมืองแล้วก้ต้องฝึกฝนให้มีฝีมือดีขึ้น เรียนรู้เทคนิคการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงคิดค้น หรือวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการผลิตใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ วิธีการบริหารงานใหม่ๆ ซึ่งเป็ฯการพัฒนาหรือเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิต อันเป็นการเจิรญเติบโตในทางลึก เราจะเห็นได้ว่าถ้ามองในด้านการพัฒนาของระบบทั้งสองแล้วใช้แบบแผนอันเดียวกันคือเริ่มที่การพัฒนาด้านกว้างก่อนแฃล้วจึงหันมาพัฒนาด้านลึก เพียงแต่ช่วงเวลาของการพัฒรสในโลกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมเริ่มต้น แตกต่างกันคือ โลกทุนนิยมพัฒนามาก่อนโลกสังคมนิยม
- ความเหมือนกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขของทั้งสองระบบซึ่งระยยเศรษฐกิจทุนนิยมก็นำข้อดีของระบบสังคมนิยมมาใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันระบบสังคมนิยมก็นำข้อดีของระบบทุนนิยมาใช้เช่นเดี่ยวกัน ซึ่งมีตัวอย่งที่มีการผสมผสานกันทั้งสองระบบที่เราเรียกว่ารัฐสวัสดิการ หมายความว่ารัฐจัดสินค้าสาธารณะให้ประชาชนใช้กันมากขึ้นโดยไม่ต้องซื้อหาเองจากตลาด ในประเทศทุนนิยม เพมือพูดถึงสวัสดิการที่รัฐจัดหาให้นั้นจะมีสองแบบด้วยกันคือ
แบบที่ 1 รัฐจะจัดบริการบางอย่างให้กับประชาชนโดยไม่คิดเงินหรือถ้าคิดเงินก็คิดในราคาต่ำกว่าต้นทุน เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาดูแลในเชิงสุขภาพ นอกจากนั้นก็มีเงินช่วยเหลือต่างๆ เช่นเงินช่วยค่าเลี้ยงดูบุตรเบี้ยบำนาญ ถ้ามองด้านสวัสดิการที่รับจัดให้กับประชาชนทั้งสองระบบมีัลักษณธคล้ายคลึงกันมาก
แบบที่ 2 ทั้งสองระบบรัฐบาลมีหน้าที่คล้ายกันคือต้องรับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ถ้าในประเทศทุนนิยมรัฐต้องดูแลให้มีการจ้างงานเต็มที่มีอัตราการเจริญเติบโตพอมควร ในประเทศสังคมนิยมรัฐก็ต้องควบคุมดูแลให้มีการวิภาคกรรมรายได้ที่เป็นธรรม นอกจากนั้นต้องรับผิดชอบในด้านดุลการชำระเงิน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าหน้าที่พื้นฐานของทั้งสองค่ายนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิการและระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม
- ความเหมือนกันประการที่สี่นี้ ถ้าเรามองนลักาณะของสื่อสารมวลชนและการติดต่อระหว่างประเทศที่สะดวกรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นผลของการค้นพบการวิจัยจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โชกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมมีหลายๆ อย่างท่คล้ายกัน เช่น โลกทุนนิยมมีสินค้าใหม่ๆ เช่นเครื่องบินไอพ่นใหม่ๆ โลกสังคมนิยมก็จะมีเช่นเดียวกันซึ่งในเรื่องนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการจารกรรมในทางอุตสหกรรมก็ได้ซึ่งมีการแอบขโมยแบบกันอยู่เสมอ
ข้อสมมติฐานที่ว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองไม่อาจจะพัฒนาไปสู่จุดหมายเดียวกันได้
- ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกทุนนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเพราะมีการวางแผนเศรษฐกิจคล้ายๆ กับโลกสังคมานิยมนั้นไม่เป็ฯความจริงเพราะการเจิรญเติบโตของโลกทุนนิยมเร็วขึ้นไม่ใช่เพราะการวางแผนเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะโลกตะวันตกได้มีการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพต่ำไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงกว่า โดยเฉพาะในยุโรปได้โยกย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีการนำวิธีการต่างๆ จากโลกสังคมนิยมมาใชแต่ก็เป็นการนำมาใช้ชั่วคราว เช่นโครงการสวัสดิการต่างๆ ทำนองเดียวกันโลกสังคมนิยมที่ว่านำเอาระบบตลาดไปใช้ในการวางแผนจากส่วนกลางก็เป็นการนำไปใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
- ความเหมือนกันที่กล่าวในข้อ ก. นั้นเป็นการเหมือนกันในลักษณะผิวเผินมากกว่าและเป็ฯการเหมือนกันในเชิงเศรษฐกิจมากกว่า แต่ความแตกต่างพื้นฐานของระบบทั้งสองโดยเฉพาะความแตกต่างทางด้านการเมือง อุดมการณ์ทางสังคม บทบาทของบุคคลในสังคมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ดังนั้นเราจะมองที่ความคล้ายคลึงกันทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดี่ยวไม่เพียงพอต้องดูโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและอุดมการ์ทางสังคมซึ่งมีความแตกต่างกันมาก
- ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจแคบๆ ก็มองปัญหาแตกต่างกัน เช่น แนวโน้มระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ถ้ามองในแง่ของผลของระบบเศรษฐกิจแล้ว ทั้งสองระบบมุ่งไปสู่การบริโภคที่สูงขึ้น หรือให้สังคมมีการบริโภคที่สูงขึ้น ความหายของการบริโภคที่สูงก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือ ในค่ายทุนนิยมนั้นการบริโภคที่สุงขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นการบริโภคส่วนบุคคล ส่วนในค่ายสังคมนิยมนั้น การบริโภคที่สูงขึ้นนั้นเป็ฯสิ่งที่รัฐจัดให้ซคึ่งเป็นคนละแนว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น