วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

King and Nation Security

           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชด้วยพระชนม์เพียง 15 ชรรษา ยึ่แนวทางที่สมเด็จพระราชบิดาทางวางไว้ ด้วยการออกเยี่ยมราษฎร และปฏิรูปการปกครองด้วยการเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานจาำประชาชน ใช้วธีการเก็บเงินราชการแทน ทรงตั้งกองทหารประจำการแทนเพื่อปฏิบัติการรบในยามสงคราม และทรงประกาศ เลิกทาส ทรงกระจายอำนาจไปสู่คณะเสนาบดี จัดระบบการปกครองให้เป็นระเบียบ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
         ขณะเดียวกันทรงเห็นว่า ชาติมหาอำนาจตะวันตกยึดครองดินแดนต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จนทั่ว และกำลังคุกคามดินแดนไทย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองในเมืองไทย เพื่อมิให้ต่างชาติถือเป็นข้ออ้างในการเข้ายึดอำนาจการปกครอง 
        เนื่องจากความเยาว์วัยของกษัตริย์และกอรปกับความมีอำนาจอย่างยิ่งของขุนนางผู้ใหญ่ พระองค์สึคงต้องแสวงหาฐานกำลังที่จะสนับสนุนให้ทรงสามารถคานอำนาจของอีกฝ่าย และทรงเห็นว่าขุนนางหัวใหม่และประชาชนจะเป็นฐานกำลังสำคัญอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงยึคดมั่นในการปกครองโดยธรรมและให้ความใกล้ชิดกับประชาชน
       พระราชกรณีกิจนี้เองที่ได้เปรียนทัศนะคติ และเพิ่มความจงรักภักดีของประชาชนต่อพระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังคงมีผลกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ คือ การทรงปลอดพระองค์เป็นสามัญชนออกเยี่ยมราษฎร ทรงคลุกคลีเสวยพระกระยาหาร ร่วมทำอาหารกับราษฎร ผลจากราชกรณียกิจนี้ทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น 
       ต่อมาทรงประกาศตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมาชิก 12 คน เพื่อเป็นที่ปรึกษาและ่วยกำหนดนโยบลายบริหารประเทศรวมทั้งคอยยับยั้งคัดค้านหากพระองค์มีนโยบายที่ผิดพลาด
      ทรงมีพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช ว่า 
      " พระมหากษัตริย์มิใช่ผู้มั่งคั่ง และมีอำนาจที่จะกดขี่ประชาชนได้ หากแต่เป็นนายผุ้น่าสงสารที่จะต้องทำงานหนักเพื่อความสุขของประชาชน และถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ได้ พระองค์ก็ไม่สามารถจะปกครองแผ่นดินได้เช่นกัน"
      ทรงตั้ง สภาองค์มนตรี จำนาน 49 คนเพื่อทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณ 
       สภาทั้งสองเป็นการเคลื่อนไหวการกระจายอำนาจการปกครองสู่สมาชิกสภาและฝึกฝนสมาชิกให้รู้จักออกเสียงแสดงความคิดเห็น เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ 
      แต่การปฏิรูปดังกล่าวต้องหยุดชะงักเมือขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยม(หัวเก่า)ขัดขวางอย่างรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งผู้นำฝ่ายอนุรักษ์ถึงแก่อนิจกรรม ฝ่ายค้ดค้านเสือมอำนาจลง 
      กระทั่ง ปี ร.ศ. 103 ( พ.ศ. 2428) เจ้านายและขุนนาง ที่ได้ไปศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ในยุโรป ทราบถึงนโยบายการล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งเป็นภัยจากตะวันตกที่กำลังคุกคามไทย จึงนำความกราบบังคมทูล รัชกาลที่ 5 ใจความว่า ประเทศไทยด้อยพัฒนา ประเทศทางตะวันตกจะเข้ามาปกครองเพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทย..เปรียบได้กับการจับจองไร่นา ถ้าเจ้าของไม่สามารถทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ ก็สมควรที่จะให้ผุ้อื่นเข้ามาทำประโยชน์ต่อไป.. การปกครองที่ชาวตะวันตกเห็นว่าล้าหลังคือการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่อำนาจในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ลำพังเพียงพระองค์เดียว ซึ่งเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะควบคุมบริหารทั้งปวงให้มีประสิทธิภาพได้ ...
    หนทางที่จะพ้นภัยคุกคามในครั้งนี้คอ ต้องจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธปิไตยตามแบบตะวันตก ซึ่งหากจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็จะเกิดความเชื่อถือในหมู่ชาวต่างชาต การคุกคามจะลอน้อยลงไป แต่ประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบ  แต่ก็เห็นสมควรที่จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบางส่วน เพื่อเตรียมการสำหรับที่จะเป็นประชธิปไตยในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น
          - ที่มาของอำนาจ โดยให้มีการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารงานไปสู่คณะเสนาบดี บทบามของกษัตริย์จจึงมิใช่ผู้อำนาจสิทธิขาดในการกำหนดนโยบายต่างๆ เพียงลำพัง 
          - ให้มีเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ โดยมิต้องให้คณะเณาบดีเป็นผู้พิจารณา อันเป็นหนทางให้คณะเสนาบดีใช้อิทธิพลและสร้างอำนาจให้ตนเองและเป็นปัญหาในการปกครองต่อไป
          - ป้องกันการใช้อำนาจทุจริตในวงรัฐบาล จัดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนอันสมควรแก่ภาระหน้าที่
          - ให้ความเสมอภาคแก่ประชาชนทั้งในด้านการเสียภาษี หรือการใช้แรงงาน
          - ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีอันใด ที่จะเป็นเครื่องกีดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
          - ให้ประชาชนและข้าราชการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง การแสดงความคิดเห็นให้ปรากฎแก่สาธารณะนี้กระทำได้โดยผ่านหนังสือบพิมพ์หรือในที่ประชุม แต่บุคลที่ใช้เสรีภาพในทางที่ผิด เช่น กล่าวร้ายป้ายสี ให้มีการลงโทษ
         - การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ให้คำนึงถึงที่ความสามารถและความประพฤติเป็นสำคัญ
          จากตรงนี้จะเห็นถึงประปรีชาสามารถในการปกครองและสร้างความมั่นคงให้เกิดในการปกครองบ้านเมือง กล่าวคือ ไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ประชาชนและข้าราชการปรับตัวไม่ทัน อาจเกิดการแข็งข้อขัดขืนจากผู้เสียอำนาจ เป็นต้น หรือไม่เรียนแปลงในลักษณะที่ช้าเกิดไป ซึ่งจะทำให้เกิดภัยคุกคามจากชาติตะวันตก

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

Security


     "...  ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู                  เอาธงเปนหมอกหว้าย
            เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู                    แสนผีพึงยอมท้าวฯ
            เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู                         หันย้าวปู่สมิงพลาย
            เจ้าหลวงผากลายช่วยดูฯ
            ดีร้ายบอกคนจำ                                     ผีพรายผีชรหมื่นคำช่วยดู
            กำรูคลื่นเปนเปลว                                  บ่ซื่อน้ำตัดคอฯ
            ตัดคอเรวให้ขาด                                    บ่ซื่อล้าออเอาใส่เล้าฯ
            บ่ซื่อนำอยาดท้องเปนรุง                        บ่ซื่อหมาหมีหมูเข่นเขี้ยว
            เขี้ยวชาชแวงยายี                                  ยมราชเกี่้ยวตาตคาวช่วยดูฯ
            ชื่อทุณพีตัวโตรด                                   ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
            เคล้าเคลื่อกเปลวลาม                            สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
         พระรามพระลักษณชวักอร                     แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดูฯ..."  

                                                                                           บางส่วนจาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ"


          ความมั่นคงของมนุษย์ คือ การที่บุคคลแต่ละคนได้รับความเท่าเที่ยมกันใรเรื่อหลักประกัน สิทธิ ความปลอดภัยและโอกาสในการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีปราศจากความกลัวและความขาดแคลนอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกี่ยรติและมีศักดิ์ศรี
       องค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้
       - ความมั่นคงด้านสุขภาพ หมายถึง การที่มนุษย์มีความสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
       - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านอาหาร หมายถึงสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ เหมาะสม มีประโยชน์และปราศจากโทษ
       - ความมั่นคงด้านการศึกษา หมายถึง การเข้าถึงบริการด้านการศึกษาพื้นฐานของรัฐในทุกรูปแบบ (ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย) โดยครอบคลุมองค์กรความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มนุษย์จำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากการครอบงำ
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านศาสนาและความเชื่อ หมายถึง การดำรงชขีวิตของมนุษย์โดยมีหลักธรรม คำสอนที่มนุษย์ยึดถือศรัทธา
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัย หมายถึง การที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตส่วนตัวในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความมั่นคง และปลอดจากการไล่รื้อ ไล่ออก หรือการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของความสัมพันธ์ที่มนุษย์ต้องกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่แวดล้อม และเป็นผลต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และธรรมชาติส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ธรรมชาติที่แวดล้อมดังกล่าวต้องปลอดจากสิ่งปนเปื้อน และปลอดจากการถูกทำลาย
        - ความมั่นคงของบมนุษย์ส่วนบุคคล หมายถึง ความมั่นคงปลอดภัยจากความรุนแรงทางกายภาพ และภัยคุกคามจาปัจจัยทั้งปวงที่มีต่อบุคคล ได้แก่ การประทุษร้าย อาชญากรรม การทำงาน อุบัติเหตุ และภัยคุกคามจากตนเอง เช่น การทำร้ายเด็ก การข่มขืน การทรมานร่างกาย การใช้สารเสพติด และการฆ่าตัวตาย (ภัยคุกคามต่อตนเอง) เป็นต้น
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านครอบครัว หมายถึง การที่มนุษย์มีสิทธิและความชอบธรรมตามกฎหมายของบุคคลในการตัดสินใจเลือกคู่และเลือกมีทายาทด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ทั้งนี้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่อันเหมาะสมที่พึงปฏิบัติต่อกัน โดยมี การให้คำปรึกษาแนะนำทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการครองคู่ ในกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งกัน ย่อมมีสิทธิรับคำปรึกษา แนะนำ และความช่วยเหลือจาหน่วยงานที่เชียวชาญเฉพาะเพื่อให้เกิดความมั่นคงในครอบครัวในานะที่เป้นสภาบันพื้ฐ.านของสังคม และการปลอดจากการคุกคาม ครอบงำจากสมาชิกในครอบครัว
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านชุมชน หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ในกลุ่มคนแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีการติดต่อสัมพันะ์กันในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องโดยการดำรงอยู่นั้นสามารถคงความเป็นอัตลักษณ์ของตน มีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรี ตลอดจนปลอดจากภาวะคุกคามและครอบงำจากสมาชิกชุมชน กรณีมีความขัดแย้งใช้การแก้ปัญหาอย่างสันติ
        - ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการเมือง หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงชีวิตในสังคมโดยมีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรีในการเข้าถึงอำนาจการตัดสินใจ และากรรับผลประโยชน์สาธารณะ โดยปลอดจากกรคุกคาม ครอบงำจากผู้มีอำนาจและอิทธิพลอื่นๆ
         นักวิชาการกล่าวว่า ความมั่นคงของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีมาตรการและกลไกดูแลคุ้มครองดังนี้
           การพัฒนาสังคม เป็นการพัฒนาทุกส่วนของสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ
           สวัสดิการสังคม เพื่อช่วยเหลือให้ทุกคนในสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ได้มาตรฐาน
           ป้องกัน คนในสังคมอาจจะมีปัญหา/ความยากลำบากต้องป้องกัน เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ
           คุ้มครอง มองว่า คนจะเจอภัยพิบัติอะไรบ้าง จะต้องมีการคุ้มครองเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ
           รองรับ เป็นที่มาของแนวคิดโครงข่างความคุ้มครองทางสังคมว่าแม้จะมีมาตรการทั้ง 4 อย่างข้างต้นแล้วก็อาจมีคนตกหลุมทางสังคม เช่น ปรับโครงสร้างการผลิต การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ จึงต้องมีการรองรับทางสังคม นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการและกลไกเพิ่มเติมอีก ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งต้องมีความมั่นคงทางสังคม ในความหมายใหม่จะเชื่อมโยงกับความมั่นคงของคน
          อาจกล่าวได้ว่าความมั่นคงของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประการ คือความปลอดภัยจากสภาพปัญหาเรื้อรัง เช่นความหิวโหยโรคภัยการปิดกั้นสิทธิ เป็นต้น และ ประการที่สอง การได้รับการปกป้องจากากรที่แบบแผนการดำเนินชีวิตต้องถูกทำให้ยุติโดยฉับพลัน และสภาพขอวสิ่งรบกวนหรือความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน และทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงานตลอดจนชุมชน
         ภาวะการเสูญเสียความมั่นคงของมนุษย์นั้น อาจเกิดจากแรงบีบคั้นจากภัยธรรมชาติหรือการดำเนินนโยบายที่ผิดในการบริหารประเทศ หรืออาจเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตามพึงตระหนักว่า เรื่องความมัี่นคงของมนุษย์นั้น ไม่สามารถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือมีความเทียบเท่ากันกับเรื่องการพัฒนามนุษย์ ทั้งนี้เพราะในขณะที่เรื่องการพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องของการให้มนุษย์นั้นมีชีวิตอยู่ในวันนี้ มีสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้และมีความมั่นใจว่าจะไม่สูญเสียสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตัวเชื่อมโยงระหว่างสองเรื่องนี้ คือการยะกระดับทางโอกาสของมนุษย์ แต่ความล้มเหลวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นได้ อาทิ หากการพัฒนามนุษย์ที่ล้มเหลวนำมาซึ่งความยากจน โรคภัย ความหิวโหยของชุมชน ความขัดแย้งทางเชื่อชาติซึ่งจะร้างให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงของมุษย์ตามมาอีกด้วย
        การสร้างความมั่นใจในความมั่นคงของมนุษย์นั้น จึงไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะรับผิดชอบในการสร้างโอกาสและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่หมายถึงการที่ประชาขชนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับแบกภาระอันเหนื่องมาจากการกดขี่และความไม่เป็นธรรมนั้นด้วย เพื่อช่วยกันสร้างให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์อีกประการหนึ่ง จึงให้น้ำหนักในเรื่องที่ประชาชนต้องสามารดูแลตนเองได โดยที่ประชาชนทุกคนควรมีโอกาส มีสิทธิในกาเข้าถึงิ่งที่มีความจำเป็นต่อตนเอง หรือมีความต้องการในการยังชีพ สามารถที่จะไ้รับความมั่นใจว่าชีวิต ชุมชน ประเทศชาติของตน และโลกนี้จะได้รับการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
        ดังนั้น ความมั่นคงของมนุษย์จึงมิได้เป็นเพียงเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันเท่านั้น แต่เป็นแนวคิดเชิงบูรณาการที่จะต้องคำนึกถึงประเด็นทั้งระดับประชาชนและระดับประเทศชาติ
        ความมั่นคงของชาติ
         ความมั่นคงของชาติคือ การดำรงอยู่ของประเทศอย่างสงบและปลอดภัยจากอันตรายทั้งภายในและภายนอกประเทศ พร้อมทั้งมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าทุกด้านความมั่นคงของชาติ จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอด ความสุขสงบ และความเจริญของประชาชนในชาติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติของตนเพื่อ
          - ดำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งราชอาณาจักร
          - ดำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          - ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
          - เสริมสร้างสวัสดิภาพและความผาสุขของประชาชน
          - พัฒนาพลังอำนาจของชาติ
         เมื่อปรัชญาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานความจริง ความรู้ แนวการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาปรัชญาของชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะห้คนไทยรู้และเข้าใจพื้นฐานความจริงของชาติ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อทำให้คนในประเทศชาติรักและดำเนินชีวิตตามแนวทางที่จะเป็นไปเพื่อความสงบสุขเจริญรุ่งเรื่องยั่งยืนของชาติ และเมื่อเกิดปัญหาในชาติ มีผู้รู้เสนอแนวแก้ไขว่า "ต้องมุ่งไปที่รากฐานปรัชญาความคิดของคนในสังคม มากกว่าการแก้ไขเฉพาะพฤติกรรมหรือความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง" จากคำกล่าวนี้ การรักษาความมั่นคงของชาต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยปรัชญาเป็นพื้นฐาน ดังผู้รู้สรุปไว้ดังนี้
          - การตั้งอุดมการณ์แห่งชาติต้องมีปรัชญาเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่งยิ่งพทธปรัชญา
          - การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องนำทฟษฎีสมัยใหม่มาปรับให้เข้ากับลักษณะสังคมไทยและลักษณะนิสัยของคนไทย
          - การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องอาศัยความคิดหลักร่วมกันของประชาชน กล่าวคือ ต้องสอดคล้องกับปรัชญาการดำรงชีวิตของคนไทย เพื่อประชาชนจะได้ให้การสนับสนุน หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อประชาชนที่ถูกต้อง
          - การดำเนินการหรือการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องยึดหลักคุณธรรมประจำชาติ มิใช่ใช้ความรุนแรงสถานเดียว
          - การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องเกี่ยวพันกับปรัชญาและอุดมการณ์ของชาติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการของชาติ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560

Secular...Sacred

                     วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย

           ลักษณะทั่วไป เป้นวัฒนธรรมที่เกิดจากผลแห่งความเจริญทางสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมในระบบอุตสาหกรรม และสังคมที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจัดเป็นพฤติกรรมทางสังคมประเภทหนึ่ง ซึ่งแยกต่างหากจากศษสนา หรือตรงข้ามจากศาสนา หรือพฤิตกรรมอันแสดงให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้าน รูปแบบการดำเนินชีวิตขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในยุคก่อน พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตจะขึ้นอยู่กับอิทะิพลความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์เอง มนุษย์ถูกศาสนาควบคุมทุกกระบวนการ ศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ยังไม่มีโอกาสพัฒนาแนวความคิดของตนโดยการมีระบบความคิดที่เป็นอิสระ พฤติกรรมต่างๆ ของสังคมจึงขึ้นอยู่กับศาสนาโดยปริยาย
           การพัฒนาสังคม ความเจริญทางโลก ทำให้มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ความเจริญด้านสติปัญญาของมนุษย์ก็ดี ความมีเหตุผลด้านความคิด ทำให้มนุษย์รู้จักคิดตามหลักเหตุผล รู้จักดันปแลงและปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น และในบางวัฒนธรรม ก็ถอนตัวเองออกจากค่านิยมเดิมเพื่อให้เป็นอิสระในการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันระบบทางศาสนา ก็ยังไม่มีการดัดแปลง หรือจะมีแต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ จนเกือบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งี้ขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นเหตุให้มนุษย์มองเห็นความล้าหลังของศาสนา อันกลายเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์นำไปเป็นแนวความคิดที่ดัดแปลงแก้ไขศาสนา อันเป็นเหตุให้เกิดความเชือ่ถือศาสนาในรูปนิกายใหม่ขึ้นมา
         วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยเป็นข้อตกลงที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางของบรรดาพวกที่ศึกษาสังคมวิทยาศาสนาว่า เป็นแนวทางศษสนาที่มีขอบเขตหว้างขวางในสังคมระดับต่างๆ และยังเป็นการเสริมความเป็นคฤหัสถวิสัยในด้านกระบวนการที่มีความเป็นธรรมชาติของสากลจักรวาล และยังเป้นการลดความเชื่อถือด้านเทววิทยาและสิ่งลึกลับอีกด้วย
        ความเป็นคฤหัสถวิสัย เป็นพฤติกรรมการดำรงบีพประเภทหนึ่งที่พยายามสลัดจากอิทธิพลศาสนา และเป็นวิะีการหนึ่งที่พยายามทำให้ปรากฎออกมาในวิถีทางต่างๆ โดย
        - ทำลายความเชื่อในลักษณะให้คุณและโทษ ที่เีก่ยวกับสภาวะเหนือธรรมชาติที่เข้าครอบคลุมในทุกชวิตที่ผูกพันอยู่กับสังคมและศาสนา  เช่น ไม่แสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ ก็ถือว่าไม่ก่อให้เกิดโทษภัยแต่ประการใด
        - มีการเปลี่ยนบทบาทของศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านสาธารณศึกษา โดย พยายามสร้างบทบาทใหม่ทางศษสนาขึ้นมา เพื่อให้เกมาะสมกับสภาพการเปลียนแปลง
        - ตัดอำนาจศาสนาที่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจหรือรัฐให้มากที่สุด โดยไม่ให้ศาสนาเข้าเกี่ยวข้อง
        - ลดความเชื่อถือต่างๆ ทางศาสนาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับสภาวะเหนือธรรมชาติ
        - พยายามสร้างแนวโน้มด้ารผลผลิตทางศาสนาให้ตรงกับเป้าหมายที่แท้จริง อันเป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศาสนา
        - แยกประสบการณ์ความเคยชินขึ้นพื้นฐานทางศาสนาของมนุษย์ออกจากศาสนาให้มากขึ้น เช่น การเกิด การแต่งงาน และความตาย เป็นต้น โดยถือว่าภาวการณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องของสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ ไม่ใช่อิทธิพลที่เกิดจากความเชื่อของศาสนาโดยไร้เหตุผล
        - มนุษย์จะผูกพันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมฝ่ายโลกียวิสัยมากขึ้น โดยมีค่านิยมแบบชาวบ้าน ความมีหน้ามีตา ความมีเกียรติจากสังคม เป็นต้น
         ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อทางศาสนา จะมีแนวโน้มในด้านความมีเหตุผล และความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น โดย พยายามลดความเชื่อที่มีต่อสภาวะหนือธรรมชาติที่มีมาแต่เดิมออกไป ยึดเหตุผลประกอบความเชื่อ และถือเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมากขึ้น และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีกฎเกณฑ์มากขึ้นกว่าเดิม เข้าลักษณะตามหลักตรรกนิตินัย
        ความหมายของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมของสังคมที่เกดขึ้นจากผลการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอิทธิพลวิวัฒนาการ อันสืบต่อพฤติกรรมติดตัวที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงและเป็นพฤติกรรมที่มักจะถูกนำมาใช้เสมอๆ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอีกด้วย
         วัฒนธรรมประเภทนี้ เรามักเรียกกันเสมอว่าพฤติกรรมด้าน "โลกียวิสัย" อันหมายถึง รูปแบบพฤติกรรมด้านความเป็นอยู่แบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่ยแเด็ดขาดจากพฤติกรรมทางศาสนา มีรูปแบบตรงข้ามกับศาสนา หรือจะพูดอีกแบบหนึ่งก็ว่าวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม แม้จะแยกเด็ดขาดจากศาสนาแล้วก็ตาม แต่่ก็ยยังได้รับอิทธิพลจากสาถบันศาสนาและสัญลักษณ์ทางศษสนา จริงอยู่การแยกนั้น มิใช่จะจงใจยกเลิกวัฒนธรรมดั้งเเดิมเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ แต่เป็นการแยกโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำพฤติกรรมนั้น เป็นการแยกพฤติกรรมโดยการนำพฤติกรรมบางอย่างทางศาสนามาใช้ร่วมด้วยเพื่อเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม
        ความเป็นไปด้านวัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยนั้น จะเป็นเรื่องที่ไม่ผูกพันกับศาสนาเลย แต่เป็นการดำเนินไปตามพัฒนาการในตัวของมันเอง การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยก็จริง แต่ก็ถือว่าศษสนาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมประเภทนี้สามารขยายตัวออไปอย่างหว้างขวาง นั่นคือวัฒนธรรมประเภทนี้ จะไม่ติดอยู่กับบทบาทของศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่เป็นตัวของตัวเอง  เมื่อเป็นเช่นนี้ วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจึงก้าวหน้าแพร่หลายออกไปโดยไม่หยุดยั้ง
          สัญชาตญาณของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ยอมรับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับศาสนามาใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุดังนี้
          - ต้องการความอยู่รอดของมนุษย์เอง ความอยู่รอดในสังคม มนุษย์จุพยายามที่จะหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสนองความประสงค์ของตน เช่น การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อให้ได้รับสิ่งทีพึงปรารถนาตามความต้องการของสังคม เป็นต้น
          - ค่านิยมทางสังคม กิจการบางอย่างที่มนุษย์นำมาใช้ในสังคม วึ่งถือเป็นค่านิยมทางสังคม ดดยถือความมีหน้ามีตาอันเป็นที่ยอมรับกันภายในสังคมนั้นๆ เช่น การนิยมพระเครื่อง เครื่องรองของขลบังเป็นต้น
         - ผลทางจิต มนุษย์เมื่อประสบปัญหาต่างๆ อาจหาทางออกโดยอาศัยผลจากการกระทำทางศาสนา เช่น การรดน้ำมนต์ การสะเดาะเคราะห์
         - ผลตอบแทน สัญชาตญาฯของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่ได้รับผลสนองตอบต่อการกระทำของตนก็ดี คาดว่าจะได้รับก็ดี แทนที่จะถือว่าเป็นผลความสามารถของตน กลับยกให้สิ่งศักดิสิทธิที่ไม่สามารถมองเห็นตัว ให้เป็นผู้มีพระเดชพระคุณกับตน..
         การเกิดวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย ถือว่าการเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เคยปฏิวัติมาในอดีต เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดการปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้น ขึ้นอยู่กับ
         - พฤติกรรมดั้งเดิมของสังคม ถือเป็นตัวแบบทางพฤติกรรมประเภทหนึ่ง อันเกิดจาก พฤติกรรมติดตัว อันเป็นคามเคยชินที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว การเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมประเภทนี้ ถือว่าเป็นเองโดยธรรมชาติ หรอืเป็นสมาขิกโดยไม่รู้ตัว ค่านิยมเดิม โดยการยึดมั่นถือมั่นในค่านิยมดั้งเดิม จะโดยการมีทัศนคติหรือความเคยชินที่มีอยู่เดิมก็ตาม ถือว่าเป็นสาเหตุของวัฒนธรรมประเภทนี้ประการหนึ่ง พฤติกรรมสืบเนื่องระหว่างใหม่กับเก่า เป็นความสืบต่อระหว่างพฤติกรรมเก่ากับใหม่ โดยการถ่ายทอดกัน
        - ความเปลี่ยนแปลงทางศษสนา ถือว่าศษสนาเป้นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ขึ้นอยู่กับ...ระบบศาสนา ซึ่งเป็นระบบดั้งเดิม และเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลง , ความเป็นไปภายในศษสนาเอง, ด้านคำสอน สาวกไม่พัฒนาคำสอนใหเข้ากัสวังคม, พฤติกรรมทางศาสนา ยังคงเป็นพฤติกรรมที่ติดในค่านิยมทางสังคมคือความศักดิ์สิทธิอยู่ อันขัดกับความเจริญของสังคม และความเป็นจริงของเหตุการณ์...นักบวชหรือสาวกในศษสนา ถือว่ามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือทัศนคติของสังคมมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มักจะมีสาเหตุจากความเป็นไปในศาสนา การแสดงพฤติกรรมของนักบวชหรือสาวกในศาสนานั้นๆ ยยังสมควรหรือเหมาะสมกับบทบาทหรือไม่ ความใจแคบของศาสนา มกเกิดจากการที่สมาชิกของศาสนาไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอันเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งเกิดจากความเจริญของสังคมเอง  การไม่พัฒนาด้านต่างๆ ของศาสนา อันเกิดจาก ควาไม่สามารถถอยในภาวะผู้นำในสังคม โดยปล่อยให้ระบบศาสนาล้าหลัง ต้องเดินตามสังคม ความล้าหลังของระบบศาสนา การไม่พัฒนาศาสนาในด้านตางๆ ให้อยู่ในฐานะผู้นไสังคม ผู้นำศาสนายังติดในค่านิยมดั้งเดิมที่เคยได้รับมาในยังหนึ่ง แต่ความเจริญของสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งผิดตรงข้ามกับทางศาสนาที่ยังพอใจอยู่กับทัศนคติเดิม คือการรักษาบทบาทเก่า... สังคมภายนอก เป้นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่นแปลง โดยเข้าไปมีอิทธิพลในศาสนา การรับความเจริญจากภายนอก
              การขยายตัวของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นผลจากความเจริญของสังคม มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทของตนเอง ทำให้สามารถปรับตัวเองและขยายบทบยาทให้กว้างขวางออกไป การที่วัฒนธรรมประเภทนี้ สามารถปรับตัวเอง ขยายบทบาทให้กว้างขวางก็ดี เกิดขึ้นจากการดำเนินตามระบบสังคมที่เป้นท้งด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิด และเปลี่ยนแปลงตัวสังคมเองดัวย


                   วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย

           ลักษณะทั่วไป เป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่เกี่ยวกับความลึกลับหรือความศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นจากความเชื่อลักษณะที่มีความจงรักภักดีต่อศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบโดยเฉพาะของมันเอง มีความแตดต่างกันโดยรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับอิสรภาพของศาสนาแต่ละศาสนา วัฒนธรรมประเภทนี้ เป็นพฤติกรรมเฉพาะกลุ่ม
           คำว่า บรรพชิตวิสัย แปลจาก Sacred ซึ่งหมายถึง ความศักดิ์สิทธิเป็นภาวะชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะเข้าถึงได้ผุ้จะเข้าถึงวัฒนธรรมประเภทนี้ จะต้องเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งถูกสมมติให้อยู่ในภาวะที่สามารถจะติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิประเภทนี้ได ซึ่งส่วนมากจะได้แก่พวกนักบวชในศาสนาเทวนิยม
         นักวิชาการได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย โดยคำนึงถึงประสบการณ์ที่มีต่อมวลมนุษย์และยังได้จำแนกลักษณะอันเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวการสำคัญของวัฒนธรรมประเภทนี้ไว้หลายประการด้วยกัน คือ เป็ฯแง่คิดที่เกิดจากสิ่งที่ได้ประสบมา ซึ่งเนื่องด้วยการรับรู้ หรือความเชื่อในเรื่องอำนาจและพลัง บ่งลักษณะที่แสดงออกมาหลายนัยด้วยกัน ไม่ว่าการปสดงอออกมานั้น จะแสดงออกมาในด้านเอกอำนาจ หรือพหุอำนาจ มีลักษณะสำคัญที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอ๓ปรายไว้ว่ามักจะพบว่า ไม่เกี่ยวกับความจริง ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ไม่เกี่ยวกับความรู้ ..มีลักษณะสนับสนุนส่งเสริมตัวเองให้เข้มแข็ง เป็นการปลูกฝังอำนาจ หรือพลังจิตให้ผู้นับถือแเกิดความมั่นใจ ต้องการผู้เชื่อถือและเคารพบูชาที่ปรากฎอยู่ตามความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปอันเกี่ยวกับเกณฑ์ทางด้านศีลธรรม และอาณัติทางจริยธรรม
           ความหมายของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย นักปราชญ์ทางสังคมวิทยาศาสนาได้อธิบายเพื่อเป็นแนวในการศึกษาดังนี้
           - ศาสนาที่มัมพันธ์กับการขยายตัว นั้น  ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในประสบการณ์ของมนุษย์มากและยิ่งไปกว่านั้น ประสบการณ์ที่เป็นจุดขยายเหล่านี้เรามักจะเรียกกันว่า "ประสบกาณ์ทางศาสนา" โดยแสดงลักษณะออกมาในคุณลักษณะพิเศษ ที่สามารถบ่งถึงความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่มนุษย์มีอยู่ต่อวัฒนธรรมประเภทนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ ประเภทหนึ่ง นอกจากนี้ยังมุ่งที่ความขลังอันเป็นตัวการในการยึดถือด้านจิตใจที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น
            - ทรรศนะทางจิตวิทยาให้นิยามไว้ว่า "กันไว้ต่างหาก เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง" ตามปกติเกี่ยวกับศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือขึ้นอยู่กับศรัทธา" ซึ่งตามทรรศนะนี้จะเห็ว่าวัฒนธรรมประเภทนี้ มุ่งไปที่ด้านจิตใจเป็นสำคัญ คือความเชื่อทางศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ด้านความศักดิ์สิทธิ เป็นสิ่งสำคัญ
            - และในบางสมัยวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยยังมุ่งไปที่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิเป็นประการสำคัญ เพราะเป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมสำหรับนักบวชโดยเฉพาะ เป็นการรักษาสภานภาพทางศาสนาไว้เป็นประการสำคัญ
           วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นวัฒนธรรมที่เน้นในด้านค่านิยมที่เกิดขึ้นทางจิตใจของมนุษย์โดยตรง โดยเน้นความผูกพันทางจิตใจด้านความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบต่างๆ ของมนุษย์เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เราเห็นว่า การยอมรับวัฒนธรรมประเภทนี้มากำกับพฤติกรรมนั้น เป้ฯการยอมรับรูปแบบขอฝวัฒนธรรมรูปแบบนี้ มาใช้เป้นตัวกำหนดค่านิยมทางสังคม
           การนำมาใช้กับสังคม วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยนี้ ส่วนมากจะถูกนำมาใช้กับสังในหลายรูปแบบตามนัยแห่งพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ของสังคม โดยมีความมุ่งหมายที่ย้ำในเรื่องความศักดิ์สิทธิของศาสนาเป็นสำคัญ
           - ด้านพฤติกรรม.. พิธีกรรม เป้ฯการแสดงออกทางพฤติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นตามลัทธิอันเป็นยอมรับนับถือกันในสังคมนั้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ .. ขนบธรรมเนียม เป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบ ซึ่งเป็นปบบอย่างที่นิยมกันในสังคมนั้นๆ จึงมักจะมีรูปแบบต่างกันตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์..ประเพณี มุ่งแบบแผนแห่งการแสดงออกเป็นประการสำคัญ.. วัฒนธรรม เป็นเรื่องการแสดงออกทางพฤติกรรมร่วมกันของสังคมนั้นๆ ... ศาสนพิธี เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่จัดทำขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือ เพื่อความขลังของลัทธิความเชื่อทางศาสนาของตน... สถานภาพและบทบาททางศาสนา เป้ฯรูปแบบของพฟติกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงออกตามสถานภาพของสมาชิกสังคม ในสังคมล้าหลัง สังคมกำลังพัฒนา ความเชื่อถือทางศาสนาจะเน้นหนักไปที่พิธีกรรม
           - การปลอบประโลมใจ เมื่อมนุษย์มีปัญหาจะหาวิธีแก้ปัญหาซึงวิธีการแก้ปัญหาของมนุษย์มักจะเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ หรือบุคคลที่คิดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ของตนได้ เพื่อให้เกิดความเบาใจ ซึ่งวิธีกาเหล่านี้เช่น การระบายทุกข์ เช่นการสารภาพบาปกับนักบวช การปรึกษาหมอดูฯ การทำพิธีบางอย่าง เช่น การรดน้ำมนต์, การตั้งความหวังเป็นเป้าหมาย เช่นการตรวจโชคชะตา การสะเดาะเคราหะ์ ตลอดจนการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์บางประเภทฯ
          - รักษาค่านิยม รักษาความศักดิ์สิทธิให้คงรูปแบบอยู่ตลอดไปเพื่อให้เป็นที่นิยมของสังคม, รักษาความสูงส่งด้านสถานภาพของผุ้รักษาค่านิยมของวัฒนธรรมประเภทนี้
              ในการนำวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยมาใช้ในสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้คือ.. มักอ้างอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิที่ไม่สามารถจะมองเห็น โดยการสมมติสิ่งศักดิ์สิทธิขึ้นมาเป็นที่พึ่งทางใจ ยึดถือทางใจ มีการกำหนดพิธีกรรมขึ้น  มีการคาดคะเนในลักษณะที่ว่าหากแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างนั้นแล้ว จะเกิดผลตอบสนองตามที่คาดคิด สร้างประเพณีขึ้นมาสร้างระบบพฤติกรรมหมู่ขึ้น โดยถือว่าการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ต้องมี้อกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสังคม โดยการกำหนดคุณหรือโทษขึ้นมา ผลการกระทำทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระเจ้าเบื้องบน  มีความลึกลับ
             รูปแบบของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นการแสดงออกในด้านความเคารพเชื่อถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ อันเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง ในที่นี้ขอจัดแบ่งรุปแบบแห่งความเชือที่ผูกพันต่อสิ่งศักดิ์สิทธิดังนี้
              - ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับรูปเคารพ
              - ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับวิญญาณ
              - ความเชื่อในเรื่องสภาวะเหนือธรรมชาติ
              การเกิดวัฒรธรรมบรรพชิตวิสัย มีขึ้นหลายลักษณะดังนี้
              - สภาวะเหนือธรรมชาติ มนุษยุ์อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมอันเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ และเมื่อไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมนั้น เมื่อถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมครอบคลุมอยู่ จึงคิดว่าอิทธิพลเหล่านั้นเป็นทิพยอำนาจที่คอยบันดาลให้เป็นไป ตนจึงได้รับอิทธิพลเหล่านั้น
              - ความเชื่อที่มีอยู่เดิม เป็นความเชื่อถือที่ฝังติดอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความจงรักภักดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ ยากต่อการดัดแปลงแก้ไขหากจะมีการแก้ไข ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน จึงถือเป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความเคยชขินที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย
              - ทัศนคติ เป็นปฏิกิริยาที่ส่งผลด้านบวกในรูปของการยอมรับผลอันนั้น ทัศนคตินี้เป็นตัวการที่ยอมรับพฤติกรรมนั้นๆ
              - ค่านิยม เป็นการยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง การเกิดวัฒนธรรมรูปนี้ เป็นการเกิดโดยการปลูกฝังเพื่อให้เกิดความเคยชิน อันจะเป็นพฤติกรรมที่จะใช้เป็นปทัสถานทางสังคมต่อไป
              - ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นการแสดงออกไโดยปราศจากกฎเกณฑ์บังคับเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็พยายามสร้างกฎเกฑณ์ขึ้นมา โดยไม่ต้องคำนึงว่ากฎเกณฑ์นั้นถูกต้องหรือชอบธรรมหรือไม่
              - การแสวงหาความอยู่รอด เป็นการเกิดวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยรูปแบบนี้ ไม่คำนึงถึงเหตุผล แต่คำนึงถึงความศักดิ์สิทธิที่เกิดจากความเชื่อว่าจะต้องปลอดภัย
              - การหวังผลตอบแทน เป็นการแสดงออกโดยหวังผลจากการกระทำนั้นๆ เป็นประการสำคัญ ไม่ว่าผลนั้นๆ จะปรากฎในรุปแบบใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้ เป็นการตั้งความหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนั้น

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Belife

             ความเชื่อ : การยอมรับว่าสิงใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือการมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน
             ความเชื่อทางศาสนา เป็นลักษณะประจำของมนุษย์อย่างที่มีปรากฎอยู่ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้ว หรือสังคมที่กำลังเจริญ ทั้งเพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึค่งมีสภาพอันเป็นไปตามลักษณะ :  เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สำหรับผุ้นับถือศาสนาประเภทเทวนิยม, เกี่ยวกับเหตุผล อันเกิดจากความนึกคิดของนักคิดและักปราชญ์ต่างๆ ในด้านเหตุผลสำหรับผู้นับถือศาสนาประเภทอเทวนิยม ฉะนั้นศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์ความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา ในการศึกษาอันจะเป็นการช่วยในการสาวถึงต้นตอของเหตุเกิดศาสนาต่างๆ ได้
              ตามปกติเรื่องควาเชื่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของทุกคน ซึ่งจะผูกพันธอยู่กับความรู้สึกทั่วๆ ไป แต่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ดังนั้น ความเชื่อทางศาสนาจึึงมีผ้ให้ลักษณะ ดังนี้
                    - เป็นการเเสดงออกตาททัศนาคติทีมนุษ์มีต่อสิ่งที่เคาพรนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาที่มนุษย์ยอมรับเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตน ในลักาณะของกรแสดงออกาทางพฤติกรรมอันเกี่ยวกับความเชื่อศาสนานั้นๆ ซึ่งการแสดงออกตามลักาณะต่างๆ ที่ถือว่าเป็นการแสดงออกตามทรรศนะต่อสิ่งนั้นๆ มักเรียกว่า โลกทรรศน์ คือ การจัดประเภทความเชขื่อตามทรรศนะชาวโลกอกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
                        1. โลกทรรศน์ตอสิ่งที่อยู่ภายนอก เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในศาสนาต่างๆ โดยกายอมรับในเรื่องอำนาจของพระเจ้า เช่น เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากพระเจ้า เป็นต้น โลกทรรศน์ประเภทนี้ มีปรากฎในระบบความเชื่อต่อสิ่งที่พ้นวิสัยของเรา
                         2. โลกทรรศน์ต่อรูปแบบ มีความเชื่อต่อรุปแบบทางศาสนาในลักษณะต่างๆ เช่น การเชื่อในจารีต ขนบประเพณีและวัฒนธรรม อันเกิดจากอิทธิพลทางศาสนา เป้ฯ้จ
                         3. โลกทรรศน์ต่อตัวเอง เป็นระบบความเชื่อต่อผลการกระทำของตนเอง โดยถือว่าปรากฎการณ์ทุกอย่างเกิดจากการกระทำ ไม่ใช่การบันดาล หรือการสร้างสรรค์จาสิ่งศักดิ์สิทธิ แม้ตัวของเราเองก็เหมือนกัน จะได้รับผลจากการกระทำของเราเอง โลกทรรศน์ประเภทนี้ เป้ฯการปฏิเสธความเชื่อเรพื่องพระเจ้าสร้างโลก
                         4. โลกทรรศน์ทางวิชาการ เป็นระบบความเชื่อต่อผลแห่งความเป็นจริง โดยถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องได้รับการพิสุจน์ให้เห็นจริงก่อนจึงเชื่อถือได้ โลกทรรศน์ประเภทนี้ มักเป็นความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งก่อนจะเชื่ออะไรมักจะทดลองด้วยตนเองก่อน
                     - ตามปกติความเชื่อทางศษสนา จัดเป็นภาวะทางจิตมจของมนุษย์ประเภทหนึ่งซึ่งถือความสำคัญที่ศาสนาเป็นเกณฑ์ โดยย้ภถึงผลอันเหิดจากความเชื่อทางศาสนา ในลักาณะที่ว่า ศาสนาที่ประโยชน์ในทางปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก ปราชญ์ถือว่าชีวิตมนุษย์ย่อมมีปัญหาทางจิตนานาประการ ศาสนาช่วยเหลือทางจิตใจได้มาก คำสอนทางศาสนาจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ปราชญ์ถือว่ามนุษย์สามารถยังชีวิตอยู่ได้โดยดีพอควร นอกจานี้ ความเชื่อทางศาสนายังก่อใหเกิดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นศาสนาเหรือพิธีกรรม ต่างล้วนเกิดจากการที่นนุษย์ไม่มีความแน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้น เรื่องความเชื่อทางศาสนา จึงเป้นปรากฎการณ์ทางจิตของมนุษย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ยอมรับมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แต่ละศาสนากำหนดไว้
                     - เน้นในด้านศีลธรรมจรรยา โดยเฉพาะอย่างยิงศาสนา เราถือกันว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับการควบคุมทางศีลธรรมและจัดระบบต่างๆ ทางจริยธรรมโดยเพ่ิมกฎเกณฑ์ด้านการปฏิบัติเข้ามาด้วย ยิ่งกว่านั้น ศาสนาต่างๆ ของโลกหลายศาสนา เช่น ฮินดู พุทธ ขงจื้อ ยูดาย คริสเตียน และโมฮัมหมัด ยังเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า เป็นแหนกลางของระบบทางศีลธรรมอีกด้วย กันทำให้สังคมต่างๆ มีรูแปบบทางพฟติกรรมปรากฎเด่นชัดขึ้นมา เป็นเวลาหลายศตวรรษ
            ความเชื่่อ เป็นปรากฎการณ์ทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปรากฎแก่ทุกคนในสังคม ทางจิตวิทยาถือว่าความเชื่อเป็นทัสนคติประเภทหนึ่ง อันเป็นการแสดงถึงความพร้อมของจิตใจ และประสาทที่เกิดจากประสบการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลในการสนองตอบต่อสิ่งต่างๆ หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่เีก่ยนวข้อง นอกจานั้น ทัศนคติจัดเป็นภาวะทางจิตหน่วยหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่ง และในกรณีที่ไม่มีอิทธิพลตจากทัศนคติอื่นไ ประกอบกับบุคคลนั้นอยู่ในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับทัสนคตินั้นแล้ว ก็จะสามารถคาดพฤติกรรมได้ เพราะว่าพฤติกรรมเป็นผลโดยตรงจากทัสนคตินั้น แต่จะอย่างก็ดี ความเชื่อทางศาสนา ก็จัดเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ อันเป็นพฤติกรรมปกปิด ลักษณะของความเชื่อ
               - ความเชื่อัดเป็นทัศนคติอย่างหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสำนึก ความรู้สึกว่าสภาวะความเป็นจริงของมนุษย์ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือทัศนคติ และแยกออกต่างหากจากสิ่งศักดิ์สิทธิอันตั้งอยู่บนทัศนคติเฉพาะตัว 2 ประการด้วยกัน คือ ความเชื่อ เป็นการยอมรับตามความรู้แจ่แจ้งในบางสิ่งบางอย่างว่าเป็นความจริง อันแสดงถึงความเชื่ออย่างหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับศรัทธาและ พิธีกรรม เปนหารปสดงออกอันเนื่องมาจากผลแห่งความเชื่อถือ จัดเป็นอาการแห่งการจัดบริการทางศาสนา
              - ความเชื่อถือนั้นจัดเป็นหน้าที่สากล การพิสูจน์ความลึกลับกับอำนาจภายนอกความเชื่อนั้น เราอาจจะลบล้างออกไปหรือปรบให้คลาดไปจากเดิมได้ ปรากฎการณ์บางอย่างของมนุษย์ เช่น ความทุกข์ทรมานใจก็ดี การได้รับความเจ็บป่วยในชีวิตประจำวันอย่าวสม่ำเสมอก็ดี การที่มนุษย์ยอมรับและปฏิเสธสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ปรากฎเสมอๆ
              - ความเชื่อก็ดี ความนับถือก็ดี จะมีต่อสิ่งใดๆ ก็ตาม ถือว่ามีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ การที่จะมีความเชื่อและนับถือต่อสิ่งใดๆ นั้น จะต้องมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย ซึ่งได้แก่การมีศรัทธา ต่อสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงต้องขึ้นอยู่กับศรัทธาด้วย
            ความหมายของความเชื่อ อาจแยกความเชื่อออกตามความหมายต่างๆ คือ
               - ความเชื่อเป็นภาวะหรือนิสัย อันเป็นปรากฎการณ์ทางจิตใจของมนุุษย์อย่างหนึ่ง ที่มีความไว้วางใจหรือไว้เนื้อเชื่อใจ โดยหมดความคลางแคลงสงสัย หรือการคาดหมายที่แน่นอน ที่มีต่อบุคคลบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง
                - ความเชื่อนั้นจัดเป็นการได้รับความเชื่อถือซึ่งได้แก่ลัทธิ หรือตัวความเชื่อถือเอง อันเป็นยึดถือโดยการยอมรับของกลุ่ม
                - เป็นเรื่องของการมีความเชื่อมั่น ต่อความจริง โดยการเห็นประจักษ์แจ่มแจ้ง หรือปรากฎตามความเป็นจริงบางประการเกี่ยนวกับความแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือได้ฝังรากลงไปย่างมั่นคงแล้ว ความหมายของความเชื่อดังกล่าวข้างต้น หากจะกล่าวอีกนั้ยหนึ่งแล้ว จะมีความหมายในลักาณะที่ว่า ความเชื่อนั้นจัดว่าเป็นการมีศรัทธาต่อศาสนาอย่างมั่นคง, มีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริง ต่อความเป็จริง หรือความดีเด่นของบางสิ่งบางอย่าง, เป็นความคิด- สมมติ ในรูป : ยอมรับความจริงหรือสูงค่า , ถือเป็นทรรศนะอย่างหนึ่ง
            ความเชื่อถือนั้น จัดเป็นการมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เชื่อถือนั้น โดยการยอมรับสิ่งนั้นๆ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวประจำใจอย่างสนิทใจ ฉะนั้น ความเชื่อถือ จึดจัดเป็นทัศนคติที่ดีประการหนึ่งที่มีต่อสิ่งที่เคารพนับถือ ตามลักษณะนี้ จะเห็ว่าการที่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นเครื่องยึดเหนียวทางจิตใจนั้น ถือว่าเป็นการยอมรับโดยหมดความสงสัย ให้ความไว้วางใจในสิ่งนั้นๆ ฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นการแสดงออกทางจิตใจของมนุษย์อย่างเต็มใจ
             ความเชื่อทางศาสนา เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความต้องที่จะหาสิ่งมาบำรุงใจประการหนึ่งความเชื่อทางศาสนานั้น ถือเป็นทัศนคติที่ดีต่อศาสนา ซึ่งพยายามหาทางที่จะอธิบายถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ และการถือกำหเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับกันโดยประยายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีอยู่และปรากฎออกมาใน 2 สถานะ
                  - สถานะแรก มีทัศนะว่าโลกนี้ปรากฎอยู่เนหือเหตุผล ที่เรามักพูดกันว่า โลกนี้มีรูปร่างเหมือนอะไร
                  - สถานะที่สอง ให้ความหมายว่า ความเชื่อถือทางศาสนานั้น จะบอกเราได้ว่า ธรรมชาิตของสิ่งต่างๆ เหล่าานั้นคืออะไร และสิ่งศักดิ์สิทธิเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับโลกเหนือเหตุผลอย่งไร
           อีกทรรศนะหนึ่งว่า ความเชื่อทางศาสนา เป็นมิติด้านความรู้สึก ที่มีต่อศาสนา โดยมนุุษย์อาศัยความเชื่อนั้นมาอธิบายธรรมชาติและแหล่งกำเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ และสรุปเอาง่ายๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ยังคมมีชีวิตอยู่ ซึ่งความเชื่อทางศาสนาจะเป้นไปใน 2 ลักษณะ คือ บ่งถึงโลกที่อย่เหนือเหตุผล และความเชื่อทางศาสนานี้จะบอกเราทำนองเดียวกันว่าธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ นั้น ได้แก่อะไร และสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับโลกเหนือเหตุผลอย่างไร
           ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเชื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วย ได้แก่
                  - ศรัทธา เป็นเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล และปัญญาเป็ฯตัวการสำคัญ จัดเป็นความเชื่อที่มนุษย์เห็ฯแจ้งประจักษ์ตามจริง สำคัญมากกว่าปัจจัยอย่างอื่นเพราะเป็นเรื่องของความสมัครใจของแต่ละบุคคล
                  - ความจงรักภักดี เป็นความเชื่อที่อยู่เหนือศรัทธามากกว่าเห็นแจ้งประจักษ์ตามความเป็นจริง ไม่เกี่ยวกับเหตุผล แต่เป็นความเชื่อที่ยอมอยู่ภายใต้ออำนาจของสิ่งนั้นๆ นั่นก็คือเนื้อหาสาระของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์จะพึงหวังได้จากภาษาพระคัมภีร์ความปรากฎชัดของสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ปรากฎจากศาสนา



วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Religious Behavior

          พฤติกรรมทางศาสนา เป็นพฤติกรรมร่วม หรือพฤติกรรมกลุ่ม อันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อทางศาสนาร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะและวัตถุประสงค์ฯ ร่วมกันเพื่อการใดการหนึ่ง ในการร่วมพฤติกรรมทางศาสนากันนี้ ผู้ร่วมแสดงพฤติกรรมทางศาสนาแต่ละท่านอาจจะมีอายุ เพศ และลักษณะอื่นๆ อย่างเดียวกันก็มี ต่างกันก็มี ..
           พฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมานั้น จัดเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงออกตามประสบการณ์ทางศาสนาที่มนุษย์ยอมรับนับถืออยู่ ซึ่งมีทั้งศาสนาที่ปรากฎในสังคมที่เจิรญแล้ว และสังคมที่บยังด้อยความเจริญ อาทิสังคมของคนบางกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อถื่อที่สังคมนั้นๆยอมรับกันอยู่การแสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนานั้น ก็จัดเป็นพฤติกรรมทางศาสนาเช่นกัน
          "พฤติกรรม" เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกเมื่อสิ่งเร้ามากระทบอันเป็ฯการแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนทางศษสนาได้เมื่องกล่าวถึงศาสนาอันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อของมนุษย์
           "พฤติกรรม" มีความหมายไปได้หลายลักษณะด้วยกัน แต่มีลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก ก็คือการพูดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดย "การกระทำ" หรือ "แสดงออก" อย่างใดอย่างหนึ่ง
            การกระทำก็ดี การแสดงออกก็ดี ถือว่าเป็นการแสดงให้ปรากฎจนติดเป็นนิสัยหรือเคยชินอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้นๆ เช่น การแสดงออกทางอิริยาบถต่างๆ ของมนุษย์ พฤติกรรมนั้นเป็นเพียงอาการกระทำที่แสดงออกให้ปรากฎเท่านั้น ซึ่งการกระทำที่แสดงออกมานี้ เป็นผลที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในอันเกิดจากการเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น เมื่อเป็นดังนี้ พฤติกรรมทางศาสนาจึงจัดเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเดียวกันหรือพฤติกรรมร่วม ซึ่งเป็นเรื่องของคนหมู่มาก ที่ผู้แสดงพฤติกรรม เหล่านั้นต่างมีจิตร่วมในพฤติกรรมเดียวกัน
          ดังนั้นการแสดงออกที่เป็นพฤติกรรทางศาสนา จึงต้องมีรูปแบบของพฤติกรรมที่แสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนารูปแบบของพฤติกรรมตามลักษณะนี้ เรามักเรียกกันว่า "วัฒนธรรม" ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งทางสังคม
         พฤติกรรม - วัฒนธรรม : ประเภทของพฤติกรรม การที่มนุษย์อยู่ร่วมในสังคมจั้น จำต้องมีสื่อความหมายสำหรับสังคม เพื่อที่จะให้สมาชิกของสังคมได้รู้จักเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ โดยมีกระบวนการแสดงออกในรูปแบบอันสมาชิกแต่ละสังคมจะเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ ได้ ลักษณะอย่างนี้ จัดเป็นพฤติกรรมการที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น จำต้องมีรูปแบบสำหรับการนั้นโดยเฉพาะ รูปแบบทางพฤติกรรมก็ดี ผลิตผลของพฤติกรรมก็ดี เราเรียกว่า วัฒนธรรม สำหรับพฤติกรรมนั้น มีลักษณะที่พอแยกเป็นประเภทตามลักษณะได้ 2 ประการได้แก่
              - พฤติกรรมปกปิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยจะเปิดเผยให้ปรากฎภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายภาพ เชน การคิดวางโครงการอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมประเภทนี้เป็นพฤติกรรมที่รู้เฉพาะตัวบุคคล
              - พฤติกรรมแบบเปิดเผย เป้ฯพฤติกรรมที่ปรากฎให้บุคคลอื่นๆ เห็นได้ เช่น การอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ พฤติกรรมที่บุคคลอื่นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ จะอย่างก็ตาม วัฒนธรรมนั้นถื่อว่่าเป็นแบบอย่างแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากผลิตผลของพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา ฉะนั้น ทางสังคมศาสตร์จึงจัดวัฒนธรรมเป็นพฤติกรรม เพราะถือว่าการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง
           วัฒนธรรม : ผลิตผลจาพฤติกรรม ดังที่ทราบแล้วว่า พฤติกรรมเป็นการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลิตพลแห่งการแสดงออกนั้น จัดเป็นวัฒณธรรม โดยมีการจัดประเภทออกตามลัษณะของวัฒนธรรม คือ
                 - ภาษาพูด หมายรวมทั้งภาษาและวรรณคดี
                 - สิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุ แบ่งเป็น อาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การคมนาคมและขนส่ง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาวุธยุทธภัณฑ์, อาชีพและอุตสาหกรรม
                 - ศิลปะ แบ่งออกเป็น การแกะสลัก, ระบายสี, วาดเขียน, ดนตรีฯ
                 - นิยายปรัมปราและความรู้วิทยาการต่างๆ นิทานพื้นบ้านเป็นต้น
                 - การปฏิบัติทางศาสนา แบ่งออกเป็น แบบพิธีกรรม, การปฏิบัติต่อคนเจ็บ, การปฏิบัติต่อคนตาย
                - ครอบครัวและระบบทางสังคม แบ่งเป็น การแต่งงาน, วิธีนับวงศ์ญาติ, การรับมรดก, เครื่องควบคุมทางสังคม (ระเบียบข้อบังคับ), กีฬาและการละเล่นต่างๆ
                 - ทรัพย์สมบัติ จัดแยกตามประเภทเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ (สังหาริมทรัยพ์)และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (อสังหาริมทรัพย์), มาตรฐานการตีราคาและแลกเปลี่ยน, การค้า,
                - รัฐบาลและการปกครอง แบ่งออกเป็น รูปแบบทางการเมือง, กระบวนการทางการเมือง
                - การสงคราม ระบบของสงคราม ขั้นตอนในการสงคราม
            ประเภทของวัฒนธรรม การจัดประเภทของวัฒนธรรมคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่ปรากฎเป็นสำคัญ การจัดประเภทวัฒนธรรมจึงมีรูปลักษณ์เป็น วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรม เช่น รูปเคารพทางศาสนา สิ่งของเครื่องใช้ อาคาร เป็นต้น และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ความคิด คติธรรมเป็นต้น

            วัฒนธรรมในรูปของปทัสถานทางสังคม พฤติกรรมทางศาสนาเป็นการแสดงออกด้านความเชื่อถือศาสนา ซึ่งเรามักจะประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จริงอยู่ แม้ว่าพฤติกรรมนั้นจะเกิดจากการแสดงออกให้ปรากฎ จะโดยอัตโนมัติ หรือแรงกระตุ้นจาสิ่งเร้าก็ตาม ถือเป็นพฤติกรรม มีรูปแบบแตกร่างกันออกไปตามการยอมรับของสังคม มีรูปแบบ 3 รูปแบ ด้วยกันคือ
                 1. ขนบธรรมเนียม จัดเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่ง อันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม มีลักาณะ ดังนี้ พูดถึงนิสัยของคนส่วนใหญ่ในสังคม มักจะปรากฎเฉพาะเขตวัฒฯธรรมใตวัฒณธรรมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่มากมาย แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม, เป็นเรื่องของบุคคลที่จะพึงปฏิบัติ ต่อกันตามกาลโอกาสที่เหมาะสมอันเป้ฯแบบความประพฤติที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติ ต่อกันส่วนบุคคล อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ที่บุคคลเพียง 2-3 คนจะพึงปฏิบัติต่อกันตามโอกาสและสถานะ, เป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามความเคยชิน หากจุมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำผิดขนบธรรมเนียมบ้าง คนอื่นมักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง และมักจะไม่มีการทำโทษ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคลมิใช่เป็นเรื่องส่วนรวมสังคมไม่ได้รับความเสียหาย, จัดเป็นวัฒนธรรมรูปหนึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องการปฏิบัติตนในทางสวนตัว หรือเป็นเรื่องของบุคคลที่ปฏิบัติต่อกันเป็นส่วนบุคคล และบุคคลในสังคมได้ยอมรับและปฏิบัติกัน, อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียม ยังเป็นสัญลักษณ์บอกความเป็นพวกเป็นกลุ่มเกี่ยวกันของผู้ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมเดียวกัน และขนบธรรมเนียมองแต่ละสังคมยังเกิดขึ้นโดยความเคยชิน มีเหตุผลเฉพาะตัว และยังไม่เป็นการบีบบังคับจิตใจสมาชิกอีกด้วย
                2. วิถีประชา เป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในสังคมหนึ่ง และมักจะถือกันว่าเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่เหมาสมโดยสังคมนั้นๆ จะอย่างไรก็ดี โดยการใช้ประโยชน์ทั่วไป วิถีประชามักจะถือกันว่ามีผลบังคับน้อยกว่าจารีต วิถีประชาจัดเป็นการดำเนินชีวิตหรือความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยหนึ่งๆ ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นธรรมเนียมประเพณีอย่างนั้น โดยคำนึงถึงความเหมาะความควรเป็นสำคัญ สิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติ แต่ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนก็ไม่มีการลงโทษอย่างรุนแรงแต่อย่างใดเพราะวิถีประชานั้นไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคม, กล่าวกันว่าวิถีประชานั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครวางแผน เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นในการอยู่รอด วิธีปฏิบัติต่างๆ เมื่อได้ผลก็มีคนปฏิบัติตาม และมีการสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไป วิถีประชาชนมนุษย์ มักผิดแปลกไปตามเป่าพันธุ์และสถานที่อยุ่ ที่เป็นเช่นนี เพราะแต่ละชนชาติได้ค้นพบวิธีการต่อสู้หรือการครองชีวิต เมื่อได้พบวิธีดังกล่าวนั้นแล้ว ก็มักไม่ยอมเปลี่ยน วิถีประชาชขนคนบางชาติพันธุ์จึงคงที่อยู่เป็นเวลานาน วิถีประชาของสังคมใหม่มักเปลี่ยนได้ง่ายกว่า วิถีประชา  ได้แก่การปฏิบัติและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันทั่วๆ ไปหากไม่ปฏิบัติตามแล้วก็มีการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การถูกกีดกันหรือไม่ยอมรับเข้าเป็นพวกด้วย
               3. จารีต เป็นปทัสถานทางสังคมรูปหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องต้องห้ามในสังคม คือจารีต เป็นข้อบังคับที่มีผลสะท้อนรุนแรงมากหากไม่กระทำตา มีลักษณะคือ เป็นขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสวัสดการ หรือความปลอดภัยของกลุ่มชน จัดเป็นข้อผูกพันและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับค่านิยมในสังคม, มักฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของสมาชิกในสังคม ซึ่งมีข้ำกำหนดตัวลงไปว่าอะไรถูกหรือผิด อะไรเป็นบุญหรอืบาป โดยไม่ต้องบอกเหตุผล ดังนั้น จารีตจึงเกี่ยวกันกับชีวิตทางอารมณ์คนเรามาก จารีตมีปรากฎในทุกสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคม ในการผ่าผืนจารีต มักมีโทษในลักษณะเป็นโทษทางสังคม เช่นการถูกประณาม, โทษจากบ้านเมือง หรือการได้รับโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐ, โทษเกิดจากความสำนึกนำ เช่นความละอายฯ , โทษบางประเภทที่ไม่รุนแรงนัก เช่นการกล่าวตักเตือนจากสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Relation of Religion and Society

          ศาสนาและสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างสนิท และต่างเกื้อกูลต่อกันและกัน ตั้งตั้งโบราณกาลมากระทั้งปัจจุบัน สังคมจะเรียบร้อยก็เพราะมีหลักทางศาสนาคอยกำกับ ศาสนาจะมีอยู่ได้ต้องดูจาพฤติกรรมทางสังคม ศาสนาและสังคมจึงต่องต้องเกื้อกูลต่อกันและกัน ดังนั้นเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "ศาสนา"
           - ศาสนา กันก่อน ศาสนาเป็นปรากฎการณ์ด้านความศักดิ์สิทธิ์อันย้ำถึงลักษณะที่พึงประสงค์ด้านประสบการณ์ทางศาสนา ศาสนาเป็นนามธรรม เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอง ศาสนาจะอยู่โดยลำพังไม่ได้ จำต้องมีที่เกาะอาศย เพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสำหรับพักพิง ซึ่งได้แก่สังคมอันเป็นรวมของบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังคม โดยแสดงออกด้านการนับถือศาสนาในรุปของพฤติกรรม การที่ศาสนาจะดำรงมั่นคงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับค่านิยมอันมีอยู่ที่ตัวของศาสนาเอง ว่าจะสามารถผูกพันจิตใจของสมาชิกของสังคมนั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด เพราะศาสนานั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับของมนุษย์ในสังคม หากมนุษย์ยอมรับศาสนาจึงจะดำรงอยู่ต่อไปได้ ศาสนาไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกสังคม การที่ศาสนาจะดำรงอยู่ได้ก็เพราะความต้องการของสังคม  เช่นรูปแบบทางศาสนา หลักธรรมหรือแรัชญาของศาสนา ศาสราจะดำรงอยู่หรือสูญสิ้นไปนั้น ขึ้นอยู่ที่ศาสนาเอง ขึ้นอยู่กับความต้องการของมนุษย์ ผู้เป็นสมาชิกของสังคม ศาสนาไม่สามารถแสดงบทบาทได้หากปราศจากสังคม
          - ลักษณะสังคม สังคมธรรมชาติหรือสังคมดึกดำบรรพ์ มนุษย์อยู่ร่วมกันแบบธรรมชาติ เป็นสังคมประเภทที่เป็นเองตามธรรมชาติ และสังคมพิธีการ เป็นสังคมที่อาศัยวิวัฒนาการของโลก โดยวิวัฒนาการมาจากสังคมธรรมชาติ เนื่องจากสมาชิกสังคมไม่นิยมอยู่ใต้อิทธิพลของสังคมธรรมชาติ ได้ละเมิดกฎอันมีมาพร้อมกับสังคมธรรมชาติ มีการล่วงเกินกัน กระทบกระทั่งกัน  กระทั่งสังคมต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาบังคับใช้กับสมาชิกของสังคม พร้อมทั้งกำหนดรูปแบและแนวปฏิบัติเพื่อสมาชิกของสังคมอีกด้วย
          - ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม ขึ้นอยู่กับแกนกลางของสังคม  คือตัวบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังนั้นเอง ปัจเจกบุคคล ซึ่งถื่อว่าทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้สังคมและสาสนาสัมพันธ์กัน บุคคลอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาในด้านการประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนา ซึ่งแสดงออกมาให้ปรากฎในรูปพฤติกรรมทางศาสนา และในทำนองเพียวกัน บุคคลนั้นๆ ก็เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ซึี่งอาจจะเริ่มจากตัวบุคคลในครอบครัว จนถึงรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอันจัดเป็นสังคมก็ได้ ฉะนั้น ศาสนาและสังคม จะสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับบุคคลอันถือเป็นหน่วยหนึ่งของศาสนาและสังคม ฉะนั้น ศาสนาและสังจึงมีความสัมพันธ์กัน โดยมีแกนกลางคือตัวบุคคลเป็นสำคัญ
        - อิทธิพลของศาสนาต่อสังคม ในอดีตการอยู่ร่วมกันต้องมีหลักเกณฑ์สำหรับกำกับสังให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบ และสงบสุข ขอยงสังคมและหมู่คณธ เริ่มตั้งแต่อาศัยกฎธรรมชาติ อาทิ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณีต่างๆ ที่มีโดยธรรมชาติ รวมทั้งความสัมพันธ์กับระบบธรรมชาติด้วย กระทั่งสังคมวิวัฒนาการขึ้นมา ความสัมพันธ์ได้ขยายออกไปจำเป็นที่ต้องออกกฎเพื่อใช้ควบคุมสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอ้านศีลธรรมจรรยา และกฎนี้ออกตามความประสงค์ของสังคม ในอันที่จะให้สังคมดำเนินไปตามความมุ่งหมาย "..แม้สังคมจะวิวัฒนาการเพียงไร กฎออกมารัดกุมเพียงใดสังคมก็ยังมีความขัดแย้งกันภายในสังคมอยู่ กฎต่างๆ ที่ออกมานั้นสามารถบังคับสังคมได้เฉพาะทางกายหรือภายนอกเท่านั้น ยังไม่สามารถควบคุมได้สนิทเท่าศาสนา และจากความไม่เป็นระเบียบของสังคมนี้เอง เป็นเหตุให้ศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในสังคม และสังคมก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยยอมรับอิทธิพลของศาสนานั้นๆ.." ซึงปรากฎออกเป็น โดยตรง เช่นการศึกษาอบรมจาทางศาสนาโดยตรง หรือโดยอ้อม โดขการทำตัวให้เข้ากับสภาวะของศาสนา โดยการติดต่อจากส่อมวลชน โดยการับฟังจากผู้อื่น เป็นต้น
          กฎหมายเป็นเพียงเครื่องป้องกันคนมิให้ผิดได้เพียงกายและวาจาเท่านั้น แต่ศาสนาเป็นเครื่องรักษาคนไว้ไม่ให้ทำชั่วได้ทั้งทางกาย วาจา และทางน้ำใจด้วย ดังนั้น ปวงชนที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนาและยึดถือศาสนาเป็นเครื่องปกครองตนโดยเคร่งครัดแล้ว จะต้องไม่กระทำความชั่วอันเป็นการละเมิด ทั้งกฎหมายและศีลธรรมต่อศาสนาของตนด้วย แสดงให้เก็นถึงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อสังคม อันสามารถช่วยให้สังคมดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม
          อันตรสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสังคม Interrelation Religion and Society การศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือความสัมพันธ์แผง ซึ่งอยู่ในแต่ละประเภท ซึ่งหากไม่วิเคราะห์ให้ถ่องแท้แล้ว จะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้ ของแยกออกเพื่อประโยชน์ในการศึกษา คือ ศาสนาในสังคม และสังคมในศาสนา ดังนี้
          ศาสนาในสังคม
         - สังคมวิทยาศาสนา เป็นการศึกษาถึงอันตรสัมพันธ์ของศาสนาและสังคม ที่มีอยู่ต่อกัน จะเป็นในรูปใดก็ตาม เราถือว่าสิ่งเร้าหรือแรงแระตุ้นต่างๆ ก็ดี แนวความคิดก็ดี และสถาบันต่างๆ ทางศาสนาก็ดี ถือว่าต่างมีอิทธิพลต่อศาสนาและในทางกลับกันสังคมก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาด้วย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางสังคมกระบวนการทางสังคม และการกระจายทางสังคม อันมีรายละเอียดตามความสัมพันธ์ตามลำดับ
         - ศาสนา มีความสัมพันธ์กับบุคคล ตั้งแต่บุคคลแต่ละคน ซึ่งอสจจะเริ่มต้นจากครอบครัวขยายออกสู่ชุมชน และประเทศชาติเป็นต้น เพราะถือว่าความสัมพันธ์นั้นเริ่มจากสิ่งวที่อยู่ใกล้ตัวเองก่อน แล้วค่อยๆ ขยายออกมาจากครอบครัว หรือจะพูดง่าย ๆก็คื อจากกลุ่มปฐมภูมิ หรือกลุ่มอื่นๆ
         - ในการจัดระบบทางสังคมนั้น ได้รับอิทธิพลจากทางศาสนาเป็นส่วนมาก เช่น การจัดอันดับในรูปการปกครอง การจัดรูปแบบของสังคม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเดิมมีความเชื่อถือกันว่า ผู้ปกครองหรือกษัตริย์นั้น มักจะจุติมาจากสรวงสวรรค์ที่เรียกกันว่าสมมติเทพ คือถือเป็นบุคคลอีกระดับหนึ่ง ดำรงฐานะลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ เมื่อมาอยู่ในโลกมนษย์จึงได้ใช้อิทธิพลความเชื่อถือทางศสานาเป็นหลักในการจัดระบบการปกครอง
        - ศาสนามีอิทธิพลสามารถขจัดปัญหาเรื่องชนชั้นได้ ตามความเชื่อถือทางศาสราในทุกสังคมซึ่งสมาชิกแต่ละคนที่มาร่วมอยุ่ในสังคมเดี่ยวกันนั้น แม้จะมาจากบุคคลที่มีฐานะและชาติชั้นวรรณะต่างกันอย่างไรก็ตาม สามารถรวมกันได้ เพราะอาศัยศาสนาเป็นศูนย์กลาง
        - หลักอันหนึ่งของศาสนาที่เป็นศูนย์รวมของสังคม ก็คือการมีพิธกรรม ในการประกอบพิธีกรรมประจำสังคมนั้น ต้องอาศัยศาสนาตามที่สังคมนั้นจึดถือปฏิบัติกันมทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดควารมศักดิ์สิทธฺในพิธีกรรมนั้น
        -อิทธิพลอันยั่งยืออีกอย่างหนึ่งของศาสนาในสังคมก็คือ ช่วยควบคุมสังคมให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันเป็นเหตุทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ด้วยปกติสุข
         ศาสนากับความสัมพันธ์ทางด้านสถาบันสังคมอื่นๆ อาทิ :
        - ศาสนากับการปกครอง หรือที่เรียกว่า รัฐบาล ความสัมพันธ์ในข้อนี้ถือเป็นการค้ำจุนค่านิยมของสังคมให้ดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การออกพระราชบัญญัติควบคุมสังคม เป็นต้น จำเป็นจะต้องมีการใช้หลักธรรมทางศาสนา หรือกลักจริยธรรมในการบริหารราชการ เป็นต้น
        - ศาสนากับการศึกษา ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมวิทยา อันเป็นหระบวนการอบรมบ่มนิสัย การเรียนรูตามหลัการศึกาาทั้งที่เป็นแบบแผนและนอกแบบแผน
        - ศาสนากับเศรษฐกิจ ข้อนี้จะเห็นว่าอทิธพลทางศาสนาช่วยให้มนุษย์มีความกระตือรือร้นในการดำรงชีพ โดยใช้หลักธรรทางศาสนาช่วยกระตุ้นในการทำมาหากินการดำเนินชีวิตประจำวัน รู้จัการผลิตตและการบริโภคโภคทรัพย์ เป็นต้น
        - ศาสนากับครอบครัว หากจุพูดตามความเป้นริงแล้ว ครอบครัวถือเป็็นแหล่งก่อให้มีความสัมพันธ์ทางศาสราเป็นอันดับแรก เพราะเป็นที่หล่อหลอมปทัสถานต่างๆ ในฐานะที่เป็นสถาบันที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันเป็นเครื่องผดุงครอบครัวให้อยู่ในศีลธรรมอันดี
         ความสัมพันธ์เหล่านี้ถือเป็นความสัมพันธ์ในด้านที่ถือว่าศาสนาอยู่ร่วมในสังคม แฃละเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมัสังคมในรูปอืนอีกที่มีความสัพันธ์กับศาสนาก็พึงถือว่ามีความสัมพันธ์กันในรูปใดรูปหนึ่ง
          สังคมในศาสนา
          - ถือเป็นรูปแบบของสังคมอย่างหนึ่งในด้านการบิหารและปฏิบัติตามพิธีการทางศาสนา อันจัดเป็นชนกลุ่มหนึ่ง ที่สังกัดในศาสนา หรือเป็นศาสนิกของศาสนาที่ทำหน้าทเพื่อสนองสังคม
          - ในการจัดรูปแบบของสังคมในศษสนานั้น เพื่อความสะดวกในการบริหารศาสนาและการประกอบพิธีกรรมความเชื่อถือ จึงมีการจัดแบ่งออกเป็นนิกายต่งๆ ตามความเชื่อถือของแต่ละบุคคลในสังคม ตามนิกายที่ตนสังกัด
          - การจัดแบ่งโครงสร้างของศาสนาออเป็นนิกายต่างๆ ตามลักาณะควาทเชื่อถือในศาสนาของสังคมนั้นๆ ซึ่งมีหลายประการด้วยกัน แต่เมื่อสรุปแล้วทุกนิกายในแต่ละศาสนาจะมีโครงสร้างของศาสนาอัประกอบด้วย
                     1.The Church  เป็นตัวรวมศสราทุกระบบของชาวตะวันตก อันหมายถึงกิจการทั้งหมดในทุกระบบของศาสนา ซึ่งรวมทั้งตัวศาสนา นิกาย และสถานที่ประกอบพิธกรรมทางศษสนาด้วย โดยถือการประกอบสังฆกรรมร่วมกันในโบสถ์ หากพูดในแง่ของสังคมวิทยาแล้เวหมายถึงนิกายต่าง ๆ ในคริสต์ศสนาอันมีผู้นับถือมาก เป็นสถาบันที่มีการปฏิบัติศสนกิจสอดคล้องต้องกับความเป็นระเบียบของสังคมและภาวะเศรษบกิจดวย
                    2. The Ecclesia เป็นการจัดศาสนาอีกระบบหึ่ง ดดยมีการนำคำสอนของศาสนาไปสู่ขุมขน หรือไปสู่สังคมภายนอก อันเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างศาสนากับรัฐระบบนี้ได้แก่พวกพระ
                    3. Denomination ระบบนี้เป็นการแบ่งแยกนิกายของศาสนาออาเป็นกลุ่ม เป็นคณะเพื่อค่านิยมของหมู่คณะ โดยมุ่งหวังจะให้ศาสนาเป็นของบริสุทธิผุดผ่อง ไม่ให้อยู่ใต้อิทธิพลหรือบารมีของกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นนิกายของศาสนาที่แยกตัวมาจากนิกายเดิม อันเป็นระบบ The Church ฝ่าย Protestant โดยได้นำหลักการต่างๆ มาดัดแปลงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับสังคม เพื่แยกกิจการของศษสนาออกาจากกิจการของบ้านเมืองโดยเด็ดขาเพื่อให้เป็นอิสระ
                    4. The Sect ระบบขชองศาสนาประเภทนี้ ถือเป็นนิกายดั้งเดิม ที่มีความเชื่อมั่นในเรื่องคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้ายิ่งกว่านิกายอื่น และไม่ยอมดัดแปลงแก้ไขคำสอนให้เหมาะสมกับสมัยด้วย ควาทเชื่อในระดับนิกายนี้จึงติดอยู่กับ ความงมงานเป็นส่วนใหญ่
                   5. The Cult ถือเป็นองค์กรทางศาสนาประการสุดท้าย อันเกิดขึ้นโดยเสรีไม่มีกฎข้อบังคับสำหรับสมาชิกมากนัก ไม่คำนึงว่าสมาชิกจะออกจะเข้า ใครจะอยู่ใครจะไป ไม่ห่วง ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล ระบบนี้ต้องการเพียงแต่จัดรูปศาสนาขึ้นมา โดยมุ่งปรัชญาเป็นสำคัญเพียงประการเดียว

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Political participation

             "การมีส่วนร่วมทางการเมือง" ต่อคำถามที่ว่า แม้การเมืองจะยุ่งเกี่ยวกับเรา แต่เราจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่ "การยุ่งเกี่ยว" มักจะอยู่ในรูปแบบหรือลักษณะของการออกกฎหรือนโยบายใดๆ เพื่อหวังที่จะแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ รวมทั้งควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการกินดีอยู่ดีของปวงชน จึงเป็นไปได้ว่าในบาสงสังคมกฎหรือนโยบายที่ออกมาไม่สนองตอบต่อการกินดีอยู่ดีของส่วนรวม แต่กลับไปสนองตอบความต้องการของกลุ่มทางสังคมไดๆ เมื่อเรามองว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งก็ย่อมต้องเสียประโยชน์ ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้น และจากความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมรู้สึกว่ตนเองถูกฉกชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ จะเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่้งอันจะนำไปสู่การเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมือง และการที่ประชาชนเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมืองในที่นี้ก็คือ "การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง" นั่นเอง
               การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการทางการเมืองของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้ว เราจะพบว่าการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นหลักในการปกครอง การปกครองประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ก็จำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชภายในประเทศเข้าำปมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้เองที่ผู้ปกครองอ้างในความชอบธรรมของอำนาจ
              ความหมายของการมีส่วนร่วม มีผู้ให้นิยามไว้มากมาย อาทิ
               Weiner ได้สรุปนิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยได้แจกแจงเป็นองค์ประกอบย่อยๆ 3 ประการคือ
               1. จะต้องมีกิจกรรม เช่นมีการพูด คุย และรวมดำเนินการใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทัศนคติหรือความรู้สึก
               2. จะต้องมีกิจกรรมในลักษณะที่เป็นอาสาสมัคร
               3. จะต้องมีข้อเลือกหรือทางให้เลือกมากกว่าหนึ่งเสมอ
               Verba Nie และKim ได้ให้นิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองไว้ว่า "..เป็นกิจกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยราษฎรโดยส่วนตัว โดยมีเป้าหมายที่มุ่งเพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกบุคลากรของรัฐบาล และ/หรือกิจกรรมของรัฐบาล
                Huntington กับ Nelson ได้ให้นิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองไว้ดังต่อไปนี้
                การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนโดยส่วนบุคคลมุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้การเข้ามี่ส่วนร่วม หมายถึงกิจกรรมต่างๆ แต่ไม่รวมถึงทัศนคติหรือความรู้สึก กิจกรรมของประชาชนโดยส่วนบุคคล หมายถึงกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนในฐานะที่เป็นราษฎรเท่านั้น ไม่รวมถึงกิจกรรมของข้าราชการ เจ้าหน้าที่พรรรค ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง นักลอบบี้อาชีพ หรือนักการเมืองอาชีพ โดยปกติแล้วกิจกรรมทางการเมืองของผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมจเอยู่ในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องไม่เต็มเวลาและไม่ถือเป็นอาชีพหลักนอกจานี้กิจกรรมของประชาชนนี้จะต้องเป็นกิจกรรมที่มุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของบริษัทเอกชนขึ้นเงินเดือนให้จึงไม่ถือว่าเป็นการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง และกิจกรรมนี้ยังรวมถึงกิจกรรมทุกรูปแบบที่มุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่ากิจกรรมนันจะก่อให้เกิดผลหรือไม่ก็ตาม
                 การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมุ่งที่จะเข้าไปมีอทิธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาลในระดับต่างๆ ซึ่งรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป

                  ระดับของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
                  ในทุกสังคมจะมีคนอยู่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง นั่นก็คือ แต่ละสังคมจะมีระดับของการเข้าไปมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันไป ซึ่งสาเหตุทีทำให้ประชาชนในแต่ละสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันไป การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปรากรฏหารณ์ของกิจกรรมทางการเมืองพลายอย่างรวมกันอยู่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต่างก็มุ่งที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น รูปแบบต่างๆ ของการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น รูปแบบต่างๆ ของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในแต่ละสังคมอาจเน้นหรือให้ความสำคัญแตกต่างกันไป บางสังคมอาจให้ความสำคัญกับการในช้สิทธิในการเลือกตั้งระดับชาติ แต่บางสังคมอาจเข้าไปมีส่วนร่วมใรูปแบบใดๆ เป็นแนวทางย่อมที่จะต้องมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปด้วย พวกที่เข้าไปช่วยหาเสียงใหผู้สมัครรับการเลือกตั้งอาจดำเนินการได้โดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคนั้น ๆ ปฏิบัติการไปตามแนวทางหรือแนวนโยบายที่พรรควางไว้ ส่วนพวกที่ติดต่อโดยตรงกับผู้แทนราษฎรเพื่อหวังจะให้ผู้แทนช่วยเหลือการใดๆ ก็ย่อมที่จะใช้กระบวนการต่างกันไป
                รูปแบบต่างๆ ของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
                - การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นกิจกรรมของบุคคลแต่ละคนในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปใช้อำนาจในการปกครอง สิทธิในการเลือกตั้งจึงอาจนับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการควบคุมรัฐบาล แต่การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะแตกต่างไปจากกิจกรรมการเข้ามีส่วนร่วมในรูปแบบอื่นๆ ที่สังคมเป็นผู้กำหนดโอกาสให้ เช่น สี่ปีต่อครั้ง จึงทำให้ความรู้สึกสร้างสรรของคนมีน้อยมาก
                - กิจกรรมการรณรงค์หาเสียงเป็นกิจกรรมในลักษณะเดียวกับการใช้สิทธิเลื่อกตั้งแต่เป็นรูปของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนอาจใช้เพื่อเพิ่มอิทธิพลที่เขาพึงมีต่อผลของการเบือกตั้งนอกเหนือไปจากเสียง 1 เสียงที่เขาได้จากสิทธิในการเลือกตั้บงแล้ว กิจกรรมการรณรงค์หาเสียงนี้นับเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างยากเมื่อเปรียบเทียบกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
               - กิจกรรมของชุมชนเป็นกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กรที่ราษฎร่วมกันดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมและการเมือง ในกรณีนี้ราษฎรจะร่วมมือกันเพื่อใช้อิทธิพลต่อการดำเนินงานของรัฐบาล กิจกรรมในรูปแบบนี้เป็นไปย่างมีเป้าหมายที่แน่นอนและมีอิทธิพลมาก
               - การติดต่อเป็นการเฉพาะ เป็นรูปแบบสุดท้ายของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองและจะเกี่ยวเนื่องกับราษฎรรายบุคคลไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเพื่อให้แก้ไขปัญหารใดๆ เฉพาะตัวหรือของครอบครัว กิจกรรมในรูปแบบนี้มีอิทะิพบต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลน้อยมาก
                การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในแวดวงของการพัฒนาทางการเมือง ซศึ่งมองว่าการเข้ามีส่วนร่วมนี้เป็นลักษณะทางการเมืองที่ำสคัญยิ่งของระบบการเมืองที่ทันสมัย และเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วด้วย ทำไม และโดยทางใดที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการที่จะแสวงหาคำตอบ ซึ่งคำตอบของนักวิชาการแต่ละคน แต่ละสำนักจึงมีอยู่มากมาย อาจสรุปได้ดังนี้
              - ยิ่งบุคคลได้รัีบสิ่งเร้าเกี่ยวกับการเมืองมากเท่าไร เขายิ่งมีแนวโน้มว่าจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองและจะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะที่ "ลึก" มากขึ้นเท่่านั้น
              - บุคคลที่เข้ามีส่วนร่วมในการพูดคุยทางการเมือง อย่างไปม่เป็นทางการจะมีแนวโน้มว่า จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ มากกว่าพวกที่ไม่มีการพูดคุยทางการเมืองเลย
              - ชนชั้นกลางมักจะได้รับสิ่งเร้าทางการเมืองมากกว่าชนชั้นกรรมกร
              - ในเมืองบุคคลมีแนวโน้มว่าจะติดต่อเจรจากันกับบุคคลื่อนๆ ที่มีระดับการศึกษาเท่าเทียนมกัน และในเมือ่บุคคลที่มีการศึกษาสูงโดยทั่วๆ ไปจะยุ่งเกี่ยวและพูดคุยเรื่องการเมืองมากกว่า พวกนี้จึงมักพบกับสิ่งเร้าเกี่ยวกับการเมืองมากกว่าบุคคลที่มีการศึกษาต่ำด้วย
             - บุคคลที่พึงพอใจในพรรคหรือผู้สมัครใดๆ มักมีสิ่งเร้าทางการเมืองมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้จะเลือใครหรือพรรคใดดี
           

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...