ความเชื่อ : การยอมรับว่าสิงใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือการมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน
ความเชื่อทางศาสนา เป็นลักษณะประจำของมนุษย์อย่างที่มีปรากฎอยู่ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้ว หรือสังคมที่กำลังเจริญ ทั้งเพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึค่งมีสภาพอันเป็นไปตามลักษณะ : เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สำหรับผุ้นับถือศาสนาประเภทเทวนิยม, เกี่ยวกับเหตุผล อันเกิดจากความนึกคิดของนักคิดและักปราชญ์ต่างๆ ในด้านเหตุผลสำหรับผู้นับถือศาสนาประเภทอเทวนิยม ฉะนั้นศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์ความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา ในการศึกษาอันจะเป็นการช่วยในการสาวถึงต้นตอของเหตุเกิดศาสนาต่างๆ ได้
ตามปกติเรื่องควาเชื่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของทุกคน ซึ่งจะผูกพันธอยู่กับความรู้สึกทั่วๆ ไป แต่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ดังนั้น ความเชื่อทางศาสนาจึึงมีผ้ให้ลักษณะ ดังนี้
- เป็นการเเสดงออกตาททัศนาคติทีมนุษ์มีต่อสิ่งที่เคาพรนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาที่มนุษย์ยอมรับเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตน ในลักาณะของกรแสดงออกาทางพฤติกรรมอันเกี่ยวกับความเชื่อศาสนานั้นๆ ซึ่งการแสดงออกตามลักาณะต่างๆ ที่ถือว่าเป็นการแสดงออกตามทรรศนะต่อสิ่งนั้นๆ มักเรียกว่า โลกทรรศน์ คือ การจัดประเภทความเชขื่อตามทรรศนะชาวโลกอกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1. โลกทรรศน์ตอสิ่งที่อยู่ภายนอก เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในศาสนาต่างๆ โดยกายอมรับในเรื่องอำนาจของพระเจ้า เช่น เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากพระเจ้า เป็นต้น โลกทรรศน์ประเภทนี้ มีปรากฎในระบบความเชื่อต่อสิ่งที่พ้นวิสัยของเรา
2. โลกทรรศน์ต่อรูปแบบ มีความเชื่อต่อรุปแบบทางศาสนาในลักษณะต่างๆ เช่น การเชื่อในจารีต ขนบประเพณีและวัฒนธรรม อันเกิดจากอิทธิพลทางศาสนา เป้ฯ้จ
3. โลกทรรศน์ต่อตัวเอง เป็นระบบความเชื่อต่อผลการกระทำของตนเอง โดยถือว่าปรากฎการณ์ทุกอย่างเกิดจากการกระทำ ไม่ใช่การบันดาล หรือการสร้างสรรค์จาสิ่งศักดิ์สิทธิ แม้ตัวของเราเองก็เหมือนกัน จะได้รับผลจากการกระทำของเราเอง โลกทรรศน์ประเภทนี้ เป้ฯการปฏิเสธความเชื่อเรพื่องพระเจ้าสร้างโลก
4. โลกทรรศน์ทางวิชาการ เป็นระบบความเชื่อต่อผลแห่งความเป็นจริง โดยถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องได้รับการพิสุจน์ให้เห็นจริงก่อนจึงเชื่อถือได้ โลกทรรศน์ประเภทนี้ มักเป็นความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งก่อนจะเชื่ออะไรมักจะทดลองด้วยตนเองก่อน
- ตามปกติความเชื่อทางศษสนา จัดเป็นภาวะทางจิตมจของมนุษย์ประเภทหนึ่งซึ่งถือความสำคัญที่ศาสนาเป็นเกณฑ์ โดยย้ภถึงผลอันเหิดจากความเชื่อทางศาสนา ในลักาณะที่ว่า ศาสนาที่ประโยชน์ในทางปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก ปราชญ์ถือว่าชีวิตมนุษย์ย่อมมีปัญหาทางจิตนานาประการ ศาสนาช่วยเหลือทางจิตใจได้มาก คำสอนทางศาสนาจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ปราชญ์ถือว่ามนุษย์สามารถยังชีวิตอยู่ได้โดยดีพอควร นอกจานี้ ความเชื่อทางศาสนายังก่อใหเกิดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นศาสนาเหรือพิธีกรรม ต่างล้วนเกิดจากการที่นนุษย์ไม่มีความแน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้น เรื่องความเชื่อทางศาสนา จึงเป้นปรากฎการณ์ทางจิตของมนุษย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ยอมรับมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แต่ละศาสนากำหนดไว้
- เน้นในด้านศีลธรรมจรรยา โดยเฉพาะอย่างยิงศาสนา เราถือกันว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับการควบคุมทางศีลธรรมและจัดระบบต่างๆ ทางจริยธรรมโดยเพ่ิมกฎเกณฑ์ด้านการปฏิบัติเข้ามาด้วย ยิ่งกว่านั้น ศาสนาต่างๆ ของโลกหลายศาสนา เช่น ฮินดู พุทธ ขงจื้อ ยูดาย คริสเตียน และโมฮัมหมัด ยังเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า เป็นแหนกลางของระบบทางศีลธรรมอีกด้วย กันทำให้สังคมต่างๆ มีรูแปบบทางพฟติกรรมปรากฎเด่นชัดขึ้นมา เป็นเวลาหลายศตวรรษ
ความเชื่่อ เป็นปรากฎการณ์ทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปรากฎแก่ทุกคนในสังคม ทางจิตวิทยาถือว่าความเชื่อเป็นทัสนคติประเภทหนึ่ง อันเป็นการแสดงถึงความพร้อมของจิตใจ และประสาทที่เกิดจากประสบการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลในการสนองตอบต่อสิ่งต่างๆ หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่เีก่ยนวข้อง นอกจานั้น ทัศนคติจัดเป็นภาวะทางจิตหน่วยหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่ง และในกรณีที่ไม่มีอิทธิพลตจากทัศนคติอื่นไ ประกอบกับบุคคลนั้นอยู่ในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับทัสนคตินั้นแล้ว ก็จะสามารถคาดพฤติกรรมได้ เพราะว่าพฤติกรรมเป็นผลโดยตรงจากทัสนคตินั้น แต่จะอย่างก็ดี ความเชื่อทางศาสนา ก็จัดเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ อันเป็นพฤติกรรมปกปิด ลักษณะของความเชื่อ
- ความเชื่อัดเป็นทัศนคติอย่างหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสำนึก ความรู้สึกว่าสภาวะความเป็นจริงของมนุษย์ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือทัศนคติ และแยกออกต่างหากจากสิ่งศักดิ์สิทธิอันตั้งอยู่บนทัศนคติเฉพาะตัว 2 ประการด้วยกัน คือ ความเชื่อ เป็นการยอมรับตามความรู้แจ่แจ้งในบางสิ่งบางอย่างว่าเป็นความจริง อันแสดงถึงความเชื่ออย่างหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับศรัทธาและ พิธีกรรม เปนหารปสดงออกอันเนื่องมาจากผลแห่งความเชื่อถือ จัดเป็นอาการแห่งการจัดบริการทางศาสนา
- ความเชื่อถือนั้นจัดเป็นหน้าที่สากล การพิสูจน์ความลึกลับกับอำนาจภายนอกความเชื่อนั้น เราอาจจะลบล้างออกไปหรือปรบให้คลาดไปจากเดิมได้ ปรากฎการณ์บางอย่างของมนุษย์ เช่น ความทุกข์ทรมานใจก็ดี การได้รับความเจ็บป่วยในชีวิตประจำวันอย่าวสม่ำเสมอก็ดี การที่มนุษย์ยอมรับและปฏิเสธสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ปรากฎเสมอๆ
- ความเชื่อก็ดี ความนับถือก็ดี จะมีต่อสิ่งใดๆ ก็ตาม ถือว่ามีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ การที่จะมีความเชื่อและนับถือต่อสิ่งใดๆ นั้น จะต้องมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย ซึ่งได้แก่การมีศรัทธา ต่อสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงต้องขึ้นอยู่กับศรัทธาด้วย
ความหมายของความเชื่อ อาจแยกความเชื่อออกตามความหมายต่างๆ คือ
- ความเชื่อเป็นภาวะหรือนิสัย อันเป็นปรากฎการณ์ทางจิตใจของมนุุษย์อย่างหนึ่ง ที่มีความไว้วางใจหรือไว้เนื้อเชื่อใจ โดยหมดความคลางแคลงสงสัย หรือการคาดหมายที่แน่นอน ที่มีต่อบุคคลบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง
- ความเชื่อนั้นจัดเป็นการได้รับความเชื่อถือซึ่งได้แก่ลัทธิ หรือตัวความเชื่อถือเอง อันเป็นยึดถือโดยการยอมรับของกลุ่ม
- เป็นเรื่องของการมีความเชื่อมั่น ต่อความจริง โดยการเห็นประจักษ์แจ่มแจ้ง หรือปรากฎตามความเป็นจริงบางประการเกี่ยนวกับความแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือได้ฝังรากลงไปย่างมั่นคงแล้ว ความหมายของความเชื่อดังกล่าวข้างต้น หากจะกล่าวอีกนั้ยหนึ่งแล้ว จะมีความหมายในลักาณะที่ว่า ความเชื่อนั้นจัดว่าเป็นการมีศรัทธาต่อศาสนาอย่างมั่นคง, มีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริง ต่อความเป็จริง หรือความดีเด่นของบางสิ่งบางอย่าง, เป็นความคิด- สมมติ ในรูป : ยอมรับความจริงหรือสูงค่า , ถือเป็นทรรศนะอย่างหนึ่ง
ความเชื่อถือนั้น จัดเป็นการมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เชื่อถือนั้น โดยการยอมรับสิ่งนั้นๆ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวประจำใจอย่างสนิทใจ ฉะนั้น ความเชื่อถือ จึดจัดเป็นทัศนคติที่ดีประการหนึ่งที่มีต่อสิ่งที่เคารพนับถือ ตามลักษณะนี้ จะเห็ว่าการที่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นเครื่องยึดเหนียวทางจิตใจนั้น ถือว่าเป็นการยอมรับโดยหมดความสงสัย ให้ความไว้วางใจในสิ่งนั้นๆ ฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นการแสดงออกทางจิตใจของมนุษย์อย่างเต็มใจ
ความเชื่อทางศาสนา เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความต้องที่จะหาสิ่งมาบำรุงใจประการหนึ่งความเชื่อทางศาสนานั้น ถือเป็นทัศนคติที่ดีต่อศาสนา ซึ่งพยายามหาทางที่จะอธิบายถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ และการถือกำหเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับกันโดยประยายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีอยู่และปรากฎออกมาใน 2 สถานะ
- สถานะแรก มีทัศนะว่าโลกนี้ปรากฎอยู่เนหือเหตุผล ที่เรามักพูดกันว่า โลกนี้มีรูปร่างเหมือนอะไร
- สถานะที่สอง ให้ความหมายว่า ความเชื่อถือทางศาสนานั้น จะบอกเราได้ว่า ธรรมชาิตของสิ่งต่างๆ เหล่าานั้นคืออะไร และสิ่งศักดิ์สิทธิเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับโลกเหนือเหตุผลอย่งไร
อีกทรรศนะหนึ่งว่า ความเชื่อทางศาสนา เป็นมิติด้านความรู้สึก ที่มีต่อศาสนา โดยมนุุษย์อาศัยความเชื่อนั้นมาอธิบายธรรมชาติและแหล่งกำเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ และสรุปเอาง่ายๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ยังคมมีชีวิตอยู่ ซึ่งความเชื่อทางศาสนาจะเป้นไปใน 2 ลักษณะ คือ บ่งถึงโลกที่อย่เหนือเหตุผล และความเชื่อทางศาสนานี้จะบอกเราทำนองเดียวกันว่าธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ นั้น ได้แก่อะไร และสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับโลกเหนือเหตุผลอย่างไร
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเชื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วย ได้แก่
- ศรัทธา เป็นเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล และปัญญาเป็ฯตัวการสำคัญ จัดเป็นความเชื่อที่มนุษย์เห็ฯแจ้งประจักษ์ตามจริง สำคัญมากกว่าปัจจัยอย่างอื่นเพราะเป็นเรื่องของความสมัครใจของแต่ละบุคคล
- ความจงรักภักดี เป็นความเชื่อที่อยู่เหนือศรัทธามากกว่าเห็นแจ้งประจักษ์ตามความเป็นจริง ไม่เกี่ยวกับเหตุผล แต่เป็นความเชื่อที่ยอมอยู่ภายใต้ออำนาจของสิ่งนั้นๆ นั่นก็คือเนื้อหาสาระของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์จะพึงหวังได้จากภาษาพระคัมภีร์ความปรากฎชัดของสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ปรากฎจากศาสนา
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น