วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Religious Behavior

          พฤติกรรมทางศาสนา เป็นพฤติกรรมร่วม หรือพฤติกรรมกลุ่ม อันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อทางศาสนาร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะและวัตถุประสงค์ฯ ร่วมกันเพื่อการใดการหนึ่ง ในการร่วมพฤติกรรมทางศาสนากันนี้ ผู้ร่วมแสดงพฤติกรรมทางศาสนาแต่ละท่านอาจจะมีอายุ เพศ และลักษณะอื่นๆ อย่างเดียวกันก็มี ต่างกันก็มี ..
           พฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมานั้น จัดเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงออกตามประสบการณ์ทางศาสนาที่มนุษย์ยอมรับนับถืออยู่ ซึ่งมีทั้งศาสนาที่ปรากฎในสังคมที่เจิรญแล้ว และสังคมที่บยังด้อยความเจริญ อาทิสังคมของคนบางกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อถื่อที่สังคมนั้นๆยอมรับกันอยู่การแสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนานั้น ก็จัดเป็นพฤติกรรมทางศาสนาเช่นกัน
          "พฤติกรรม" เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกเมื่อสิ่งเร้ามากระทบอันเป็ฯการแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนทางศษสนาได้เมื่องกล่าวถึงศาสนาอันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อของมนุษย์
           "พฤติกรรม" มีความหมายไปได้หลายลักษณะด้วยกัน แต่มีลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก ก็คือการพูดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดย "การกระทำ" หรือ "แสดงออก" อย่างใดอย่างหนึ่ง
            การกระทำก็ดี การแสดงออกก็ดี ถือว่าเป็นการแสดงให้ปรากฎจนติดเป็นนิสัยหรือเคยชินอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้นๆ เช่น การแสดงออกทางอิริยาบถต่างๆ ของมนุษย์ พฤติกรรมนั้นเป็นเพียงอาการกระทำที่แสดงออกให้ปรากฎเท่านั้น ซึ่งการกระทำที่แสดงออกมานี้ เป็นผลที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในอันเกิดจากการเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น เมื่อเป็นดังนี้ พฤติกรรมทางศาสนาจึงจัดเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเดียวกันหรือพฤติกรรมร่วม ซึ่งเป็นเรื่องของคนหมู่มาก ที่ผู้แสดงพฤติกรรม เหล่านั้นต่างมีจิตร่วมในพฤติกรรมเดียวกัน
          ดังนั้นการแสดงออกที่เป็นพฤติกรรทางศาสนา จึงต้องมีรูปแบบของพฤติกรรมที่แสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนารูปแบบของพฤติกรรมตามลักษณะนี้ เรามักเรียกกันว่า "วัฒนธรรม" ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งทางสังคม
         พฤติกรรม - วัฒนธรรม : ประเภทของพฤติกรรม การที่มนุษย์อยู่ร่วมในสังคมจั้น จำต้องมีสื่อความหมายสำหรับสังคม เพื่อที่จะให้สมาชิกของสังคมได้รู้จักเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ โดยมีกระบวนการแสดงออกในรูปแบบอันสมาชิกแต่ละสังคมจะเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ ได้ ลักษณะอย่างนี้ จัดเป็นพฤติกรรมการที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น จำต้องมีรูปแบบสำหรับการนั้นโดยเฉพาะ รูปแบบทางพฤติกรรมก็ดี ผลิตผลของพฤติกรรมก็ดี เราเรียกว่า วัฒนธรรม สำหรับพฤติกรรมนั้น มีลักษณะที่พอแยกเป็นประเภทตามลักษณะได้ 2 ประการได้แก่
              - พฤติกรรมปกปิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยจะเปิดเผยให้ปรากฎภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายภาพ เชน การคิดวางโครงการอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมประเภทนี้เป็นพฤติกรรมที่รู้เฉพาะตัวบุคคล
              - พฤติกรรมแบบเปิดเผย เป้ฯพฤติกรรมที่ปรากฎให้บุคคลอื่นๆ เห็นได้ เช่น การอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ พฤติกรรมที่บุคคลอื่นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ จะอย่างก็ตาม วัฒนธรรมนั้นถื่อว่่าเป็นแบบอย่างแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากผลิตผลของพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา ฉะนั้น ทางสังคมศาสตร์จึงจัดวัฒนธรรมเป็นพฤติกรรม เพราะถือว่าการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง
           วัฒนธรรม : ผลิตผลจาพฤติกรรม ดังที่ทราบแล้วว่า พฤติกรรมเป็นการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลิตพลแห่งการแสดงออกนั้น จัดเป็นวัฒณธรรม โดยมีการจัดประเภทออกตามลัษณะของวัฒนธรรม คือ
                 - ภาษาพูด หมายรวมทั้งภาษาและวรรณคดี
                 - สิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุ แบ่งเป็น อาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การคมนาคมและขนส่ง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาวุธยุทธภัณฑ์, อาชีพและอุตสาหกรรม
                 - ศิลปะ แบ่งออกเป็น การแกะสลัก, ระบายสี, วาดเขียน, ดนตรีฯ
                 - นิยายปรัมปราและความรู้วิทยาการต่างๆ นิทานพื้นบ้านเป็นต้น
                 - การปฏิบัติทางศาสนา แบ่งออกเป็น แบบพิธีกรรม, การปฏิบัติต่อคนเจ็บ, การปฏิบัติต่อคนตาย
                - ครอบครัวและระบบทางสังคม แบ่งเป็น การแต่งงาน, วิธีนับวงศ์ญาติ, การรับมรดก, เครื่องควบคุมทางสังคม (ระเบียบข้อบังคับ), กีฬาและการละเล่นต่างๆ
                 - ทรัพย์สมบัติ จัดแยกตามประเภทเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ (สังหาริมทรัยพ์)และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (อสังหาริมทรัพย์), มาตรฐานการตีราคาและแลกเปลี่ยน, การค้า,
                - รัฐบาลและการปกครอง แบ่งออกเป็น รูปแบบทางการเมือง, กระบวนการทางการเมือง
                - การสงคราม ระบบของสงคราม ขั้นตอนในการสงคราม
            ประเภทของวัฒนธรรม การจัดประเภทของวัฒนธรรมคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่ปรากฎเป็นสำคัญ การจัดประเภทวัฒนธรรมจึงมีรูปลักษณ์เป็น วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรม เช่น รูปเคารพทางศาสนา สิ่งของเครื่องใช้ อาคาร เป็นต้น และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ความคิด คติธรรมเป็นต้น

            วัฒนธรรมในรูปของปทัสถานทางสังคม พฤติกรรมทางศาสนาเป็นการแสดงออกด้านความเชื่อถือศาสนา ซึ่งเรามักจะประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จริงอยู่ แม้ว่าพฤติกรรมนั้นจะเกิดจากการแสดงออกให้ปรากฎ จะโดยอัตโนมัติ หรือแรงกระตุ้นจาสิ่งเร้าก็ตาม ถือเป็นพฤติกรรม มีรูปแบบแตกร่างกันออกไปตามการยอมรับของสังคม มีรูปแบบ 3 รูปแบ ด้วยกันคือ
                 1. ขนบธรรมเนียม จัดเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่ง อันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม มีลักาณะ ดังนี้ พูดถึงนิสัยของคนส่วนใหญ่ในสังคม มักจะปรากฎเฉพาะเขตวัฒฯธรรมใตวัฒณธรรมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่มากมาย แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม, เป็นเรื่องของบุคคลที่จะพึงปฏิบัติ ต่อกันตามกาลโอกาสที่เหมาะสมอันเป้ฯแบบความประพฤติที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติ ต่อกันส่วนบุคคล อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ที่บุคคลเพียง 2-3 คนจะพึงปฏิบัติต่อกันตามโอกาสและสถานะ, เป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามความเคยชิน หากจุมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำผิดขนบธรรมเนียมบ้าง คนอื่นมักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง และมักจะไม่มีการทำโทษ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคลมิใช่เป็นเรื่องส่วนรวมสังคมไม่ได้รับความเสียหาย, จัดเป็นวัฒนธรรมรูปหนึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องการปฏิบัติตนในทางสวนตัว หรือเป็นเรื่องของบุคคลที่ปฏิบัติต่อกันเป็นส่วนบุคคล และบุคคลในสังคมได้ยอมรับและปฏิบัติกัน, อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียม ยังเป็นสัญลักษณ์บอกความเป็นพวกเป็นกลุ่มเกี่ยวกันของผู้ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมเดียวกัน และขนบธรรมเนียมองแต่ละสังคมยังเกิดขึ้นโดยความเคยชิน มีเหตุผลเฉพาะตัว และยังไม่เป็นการบีบบังคับจิตใจสมาชิกอีกด้วย
                2. วิถีประชา เป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในสังคมหนึ่ง และมักจะถือกันว่าเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่เหมาสมโดยสังคมนั้นๆ จะอย่างไรก็ดี โดยการใช้ประโยชน์ทั่วไป วิถีประชามักจะถือกันว่ามีผลบังคับน้อยกว่าจารีต วิถีประชาจัดเป็นการดำเนินชีวิตหรือความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยหนึ่งๆ ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นธรรมเนียมประเพณีอย่างนั้น โดยคำนึงถึงความเหมาะความควรเป็นสำคัญ สิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติ แต่ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนก็ไม่มีการลงโทษอย่างรุนแรงแต่อย่างใดเพราะวิถีประชานั้นไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคม, กล่าวกันว่าวิถีประชานั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครวางแผน เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นในการอยู่รอด วิธีปฏิบัติต่างๆ เมื่อได้ผลก็มีคนปฏิบัติตาม และมีการสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไป วิถีประชาชนมนุษย์ มักผิดแปลกไปตามเป่าพันธุ์และสถานที่อยุ่ ที่เป็นเช่นนี เพราะแต่ละชนชาติได้ค้นพบวิธีการต่อสู้หรือการครองชีวิต เมื่อได้พบวิธีดังกล่าวนั้นแล้ว ก็มักไม่ยอมเปลี่ยน วิถีประชาชขนคนบางชาติพันธุ์จึงคงที่อยู่เป็นเวลานาน วิถีประชาของสังคมใหม่มักเปลี่ยนได้ง่ายกว่า วิถีประชา  ได้แก่การปฏิบัติและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันทั่วๆ ไปหากไม่ปฏิบัติตามแล้วก็มีการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การถูกกีดกันหรือไม่ยอมรับเข้าเป็นพวกด้วย
               3. จารีต เป็นปทัสถานทางสังคมรูปหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องต้องห้ามในสังคม คือจารีต เป็นข้อบังคับที่มีผลสะท้อนรุนแรงมากหากไม่กระทำตา มีลักษณะคือ เป็นขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสวัสดการ หรือความปลอดภัยของกลุ่มชน จัดเป็นข้อผูกพันและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับค่านิยมในสังคม, มักฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของสมาชิกในสังคม ซึ่งมีข้ำกำหนดตัวลงไปว่าอะไรถูกหรือผิด อะไรเป็นบุญหรอืบาป โดยไม่ต้องบอกเหตุผล ดังนั้น จารีตจึงเกี่ยวกันกับชีวิตทางอารมณ์คนเรามาก จารีตมีปรากฎในทุกสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคม ในการผ่าผืนจารีต มักมีโทษในลักษณะเป็นโทษทางสังคม เช่นการถูกประณาม, โทษจากบ้านเมือง หรือการได้รับโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐ, โทษเกิดจากความสำนึกนำ เช่นความละอายฯ , โทษบางประเภทที่ไม่รุนแรงนัก เช่นการกล่าวตักเตือนจากสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...