ขณะเดียวกันทรงเห็นว่า ชาติมหาอำนาจตะวันตกยึดครองดินแดนต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จนทั่ว และกำลังคุกคามดินแดนไทย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองในเมืองไทย เพื่อมิให้ต่างชาติถือเป็นข้ออ้างในการเข้ายึดอำนาจการปกครอง
เนื่องจากความเยาว์วัยของกษัตริย์และกอรปกับความมีอำนาจอย่างยิ่งของขุนนางผู้ใหญ่ พระองค์สึคงต้องแสวงหาฐานกำลังที่จะสนับสนุนให้ทรงสามารถคานอำนาจของอีกฝ่าย และทรงเห็นว่าขุนนางหัวใหม่และประชาชนจะเป็นฐานกำลังสำคัญอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงยึคดมั่นในการปกครองโดยธรรมและให้ความใกล้ชิดกับประชาชน
พระราชกรณีกิจนี้เองที่ได้เปรียนทัศนะคติ และเพิ่มความจงรักภักดีของประชาชนต่อพระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังคงมีผลกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ คือ การทรงปลอดพระองค์เป็นสามัญชนออกเยี่ยมราษฎร ทรงคลุกคลีเสวยพระกระยาหาร ร่วมทำอาหารกับราษฎร ผลจากราชกรณียกิจนี้ทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น
ต่อมาทรงประกาศตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมาชิก 12 คน เพื่อเป็นที่ปรึกษาและ่วยกำหนดนโยบลายบริหารประเทศรวมทั้งคอยยับยั้งคัดค้านหากพระองค์มีนโยบายที่ผิดพลาด
ทรงมีพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช ว่า
" พระมหากษัตริย์มิใช่ผู้มั่งคั่ง และมีอำนาจที่จะกดขี่ประชาชนได้ หากแต่เป็นนายผุ้น่าสงสารที่จะต้องทำงานหนักเพื่อความสุขของประชาชน และถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ได้ พระองค์ก็ไม่สามารถจะปกครองแผ่นดินได้เช่นกัน"
ทรงตั้ง สภาองค์มนตรี จำนาน 49 คนเพื่อทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณ
สภาทั้งสองเป็นการเคลื่อนไหวการกระจายอำนาจการปกครองสู่สมาชิกสภาและฝึกฝนสมาชิกให้รู้จักออกเสียงแสดงความคิดเห็น เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ
แต่การปฏิรูปดังกล่าวต้องหยุดชะงักเมือขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยม(หัวเก่า)ขัดขวางอย่างรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งผู้นำฝ่ายอนุรักษ์ถึงแก่อนิจกรรม ฝ่ายค้ดค้านเสือมอำนาจลง
กระทั่ง ปี ร.ศ. 103 ( พ.ศ. 2428) เจ้านายและขุนนาง ที่ได้ไปศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ในยุโรป ทราบถึงนโยบายการล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งเป็นภัยจากตะวันตกที่กำลังคุกคามไทย จึงนำความกราบบังคมทูล รัชกาลที่ 5 ใจความว่า ประเทศไทยด้อยพัฒนา ประเทศทางตะวันตกจะเข้ามาปกครองเพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทย..เปรียบได้กับการจับจองไร่นา ถ้าเจ้าของไม่สามารถทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ ก็สมควรที่จะให้ผุ้อื่นเข้ามาทำประโยชน์ต่อไป.. การปกครองที่ชาวตะวันตกเห็นว่าล้าหลังคือการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่อำนาจในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ลำพังเพียงพระองค์เดียว ซึ่งเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะควบคุมบริหารทั้งปวงให้มีประสิทธิภาพได้ ...
หนทางที่จะพ้นภัยคุกคามในครั้งนี้คอ ต้องจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธปิไตยตามแบบตะวันตก ซึ่งหากจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็จะเกิดความเชื่อถือในหมู่ชาวต่างชาต การคุกคามจะลอน้อยลงไป แต่ประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบ แต่ก็เห็นสมควรที่จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบางส่วน เพื่อเตรียมการสำหรับที่จะเป็นประชธิปไตยในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น
- ที่มาของอำนาจ โดยให้มีการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารงานไปสู่คณะเสนาบดี บทบามของกษัตริย์จจึงมิใช่ผู้อำนาจสิทธิขาดในการกำหนดนโยบายต่างๆ เพียงลำพัง
- ให้มีเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ โดยมิต้องให้คณะเณาบดีเป็นผู้พิจารณา อันเป็นหนทางให้คณะเสนาบดีใช้อิทธิพลและสร้างอำนาจให้ตนเองและเป็นปัญหาในการปกครองต่อไป
- ป้องกันการใช้อำนาจทุจริตในวงรัฐบาล จัดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนอันสมควรแก่ภาระหน้าที่
- ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีอันใด ที่จะเป็นเครื่องกีดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
- ให้ประชาชนและข้าราชการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง การแสดงความคิดเห็นให้ปรากฎแก่สาธารณะนี้กระทำได้โดยผ่านหนังสือบพิมพ์หรือในที่ประชุม แต่บุคลที่ใช้เสรีภาพในทางที่ผิด เช่น กล่าวร้ายป้ายสี ให้มีการลงโทษ
- การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ให้คำนึงถึงที่ความสามารถและความประพฤติเป็นสำคัญ
จากตรงนี้จะเห็นถึงประปรีชาสามารถในการปกครองและสร้างความมั่นคงให้เกิดในการปกครองบ้านเมือง กล่าวคือ ไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ประชาชนและข้าราชการปรับตัวไม่ทัน อาจเกิดการแข็งข้อขัดขืนจากผู้เสียอำนาจ เป็นต้น หรือไม่เรียนแปลงในลักษณะที่ช้าเกิดไป ซึ่งจะทำให้เกิดภัยคุกคามจากชาติตะวันตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น