วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Relation of Religion and Society

          ศาสนาและสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างสนิท และต่างเกื้อกูลต่อกันและกัน ตั้งตั้งโบราณกาลมากระทั้งปัจจุบัน สังคมจะเรียบร้อยก็เพราะมีหลักทางศาสนาคอยกำกับ ศาสนาจะมีอยู่ได้ต้องดูจาพฤติกรรมทางสังคม ศาสนาและสังคมจึงต่องต้องเกื้อกูลต่อกันและกัน ดังนั้นเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "ศาสนา"
           - ศาสนา กันก่อน ศาสนาเป็นปรากฎการณ์ด้านความศักดิ์สิทธิ์อันย้ำถึงลักษณะที่พึงประสงค์ด้านประสบการณ์ทางศาสนา ศาสนาเป็นนามธรรม เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอง ศาสนาจะอยู่โดยลำพังไม่ได้ จำต้องมีที่เกาะอาศย เพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสำหรับพักพิง ซึ่งได้แก่สังคมอันเป็นรวมของบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังคม โดยแสดงออกด้านการนับถือศาสนาในรุปของพฤติกรรม การที่ศาสนาจะดำรงมั่นคงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับค่านิยมอันมีอยู่ที่ตัวของศาสนาเอง ว่าจะสามารถผูกพันจิตใจของสมาชิกของสังคมนั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด เพราะศาสนานั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับของมนุษย์ในสังคม หากมนุษย์ยอมรับศาสนาจึงจะดำรงอยู่ต่อไปได้ ศาสนาไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทุกสังคม การที่ศาสนาจะดำรงอยู่ได้ก็เพราะความต้องการของสังคม  เช่นรูปแบบทางศาสนา หลักธรรมหรือแรัชญาของศาสนา ศาสราจะดำรงอยู่หรือสูญสิ้นไปนั้น ขึ้นอยู่ที่ศาสนาเอง ขึ้นอยู่กับความต้องการของมนุษย์ ผู้เป็นสมาชิกของสังคม ศาสนาไม่สามารถแสดงบทบาทได้หากปราศจากสังคม
          - ลักษณะสังคม สังคมธรรมชาติหรือสังคมดึกดำบรรพ์ มนุษย์อยู่ร่วมกันแบบธรรมชาติ เป็นสังคมประเภทที่เป็นเองตามธรรมชาติ และสังคมพิธีการ เป็นสังคมที่อาศัยวิวัฒนาการของโลก โดยวิวัฒนาการมาจากสังคมธรรมชาติ เนื่องจากสมาชิกสังคมไม่นิยมอยู่ใต้อิทธิพลของสังคมธรรมชาติ ได้ละเมิดกฎอันมีมาพร้อมกับสังคมธรรมชาติ มีการล่วงเกินกัน กระทบกระทั่งกัน  กระทั่งสังคมต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาบังคับใช้กับสมาชิกของสังคม พร้อมทั้งกำหนดรูปแบและแนวปฏิบัติเพื่อสมาชิกของสังคมอีกด้วย
          - ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม ขึ้นอยู่กับแกนกลางของสังคม  คือตัวบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังนั้นเอง ปัจเจกบุคคล ซึ่งถื่อว่าทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้สังคมและสาสนาสัมพันธ์กัน บุคคลอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนาในด้านการประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนา ซึ่งแสดงออกมาให้ปรากฎในรูปพฤติกรรมทางศาสนา และในทำนองเพียวกัน บุคคลนั้นๆ ก็เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ซึี่งอาจจะเริ่มจากตัวบุคคลในครอบครัว จนถึงรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอันจัดเป็นสังคมก็ได้ ฉะนั้น ศาสนาและสังคม จะสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับบุคคลอันถือเป็นหน่วยหนึ่งของศาสนาและสังคม ฉะนั้น ศาสนาและสังจึงมีความสัมพันธ์กัน โดยมีแกนกลางคือตัวบุคคลเป็นสำคัญ
        - อิทธิพลของศาสนาต่อสังคม ในอดีตการอยู่ร่วมกันต้องมีหลักเกณฑ์สำหรับกำกับสังให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบ และสงบสุข ขอยงสังคมและหมู่คณธ เริ่มตั้งแต่อาศัยกฎธรรมชาติ อาทิ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณีต่างๆ ที่มีโดยธรรมชาติ รวมทั้งความสัมพันธ์กับระบบธรรมชาติด้วย กระทั่งสังคมวิวัฒนาการขึ้นมา ความสัมพันธ์ได้ขยายออกไปจำเป็นที่ต้องออกกฎเพื่อใช้ควบคุมสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอ้านศีลธรรมจรรยา และกฎนี้ออกตามความประสงค์ของสังคม ในอันที่จะให้สังคมดำเนินไปตามความมุ่งหมาย "..แม้สังคมจะวิวัฒนาการเพียงไร กฎออกมารัดกุมเพียงใดสังคมก็ยังมีความขัดแย้งกันภายในสังคมอยู่ กฎต่างๆ ที่ออกมานั้นสามารถบังคับสังคมได้เฉพาะทางกายหรือภายนอกเท่านั้น ยังไม่สามารถควบคุมได้สนิทเท่าศาสนา และจากความไม่เป็นระเบียบของสังคมนี้เอง เป็นเหตุให้ศาสนาเข้ามามีอิทธิพลในสังคม และสังคมก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยยอมรับอิทธิพลของศาสนานั้นๆ.." ซึงปรากฎออกเป็น โดยตรง เช่นการศึกษาอบรมจาทางศาสนาโดยตรง หรือโดยอ้อม โดขการทำตัวให้เข้ากับสภาวะของศาสนา โดยการติดต่อจากส่อมวลชน โดยการับฟังจากผู้อื่น เป็นต้น
          กฎหมายเป็นเพียงเครื่องป้องกันคนมิให้ผิดได้เพียงกายและวาจาเท่านั้น แต่ศาสนาเป็นเครื่องรักษาคนไว้ไม่ให้ทำชั่วได้ทั้งทางกาย วาจา และทางน้ำใจด้วย ดังนั้น ปวงชนที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนาและยึดถือศาสนาเป็นเครื่องปกครองตนโดยเคร่งครัดแล้ว จะต้องไม่กระทำความชั่วอันเป็นการละเมิด ทั้งกฎหมายและศีลธรรมต่อศาสนาของตนด้วย แสดงให้เก็นถึงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อสังคม อันสามารถช่วยให้สังคมดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม
          อันตรสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสังคม Interrelation Religion and Society การศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือความสัมพันธ์แผง ซึ่งอยู่ในแต่ละประเภท ซึ่งหากไม่วิเคราะห์ให้ถ่องแท้แล้ว จะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้ ของแยกออกเพื่อประโยชน์ในการศึกษา คือ ศาสนาในสังคม และสังคมในศาสนา ดังนี้
          ศาสนาในสังคม
         - สังคมวิทยาศาสนา เป็นการศึกษาถึงอันตรสัมพันธ์ของศาสนาและสังคม ที่มีอยู่ต่อกัน จะเป็นในรูปใดก็ตาม เราถือว่าสิ่งเร้าหรือแรงแระตุ้นต่างๆ ก็ดี แนวความคิดก็ดี และสถาบันต่างๆ ทางศาสนาก็ดี ถือว่าต่างมีอิทธิพลต่อศาสนาและในทางกลับกันสังคมก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาด้วย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางสังคมกระบวนการทางสังคม และการกระจายทางสังคม อันมีรายละเอียดตามความสัมพันธ์ตามลำดับ
         - ศาสนา มีความสัมพันธ์กับบุคคล ตั้งแต่บุคคลแต่ละคน ซึ่งอสจจะเริ่มต้นจากครอบครัวขยายออกสู่ชุมชน และประเทศชาติเป็นต้น เพราะถือว่าความสัมพันธ์นั้นเริ่มจากสิ่งวที่อยู่ใกล้ตัวเองก่อน แล้วค่อยๆ ขยายออกมาจากครอบครัว หรือจะพูดง่าย ๆก็คื อจากกลุ่มปฐมภูมิ หรือกลุ่มอื่นๆ
         - ในการจัดระบบทางสังคมนั้น ได้รับอิทธิพลจากทางศาสนาเป็นส่วนมาก เช่น การจัดอันดับในรูปการปกครอง การจัดรูปแบบของสังคม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเดิมมีความเชื่อถือกันว่า ผู้ปกครองหรือกษัตริย์นั้น มักจะจุติมาจากสรวงสวรรค์ที่เรียกกันว่าสมมติเทพ คือถือเป็นบุคคลอีกระดับหนึ่ง ดำรงฐานะลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ เมื่อมาอยู่ในโลกมนษย์จึงได้ใช้อิทธิพลความเชื่อถือทางศสานาเป็นหลักในการจัดระบบการปกครอง
        - ศาสนามีอิทธิพลสามารถขจัดปัญหาเรื่องชนชั้นได้ ตามความเชื่อถือทางศาสราในทุกสังคมซึ่งสมาชิกแต่ละคนที่มาร่วมอยุ่ในสังคมเดี่ยวกันนั้น แม้จะมาจากบุคคลที่มีฐานะและชาติชั้นวรรณะต่างกันอย่างไรก็ตาม สามารถรวมกันได้ เพราะอาศัยศาสนาเป็นศูนย์กลาง
        - หลักอันหนึ่งของศาสนาที่เป็นศูนย์รวมของสังคม ก็คือการมีพิธกรรม ในการประกอบพิธีกรรมประจำสังคมนั้น ต้องอาศัยศาสนาตามที่สังคมนั้นจึดถือปฏิบัติกันมทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดควารมศักดิ์สิทธฺในพิธีกรรมนั้น
        -อิทธิพลอันยั่งยืออีกอย่างหนึ่งของศาสนาในสังคมก็คือ ช่วยควบคุมสังคมให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันเป็นเหตุทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ด้วยปกติสุข
         ศาสนากับความสัมพันธ์ทางด้านสถาบันสังคมอื่นๆ อาทิ :
        - ศาสนากับการปกครอง หรือที่เรียกว่า รัฐบาล ความสัมพันธ์ในข้อนี้ถือเป็นการค้ำจุนค่านิยมของสังคมให้ดำเนินไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การออกพระราชบัญญัติควบคุมสังคม เป็นต้น จำเป็นจะต้องมีการใช้หลักธรรมทางศาสนา หรือกลักจริยธรรมในการบริหารราชการ เป็นต้น
        - ศาสนากับการศึกษา ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมวิทยา อันเป็นหระบวนการอบรมบ่มนิสัย การเรียนรูตามหลัการศึกาาทั้งที่เป็นแบบแผนและนอกแบบแผน
        - ศาสนากับเศรษฐกิจ ข้อนี้จะเห็นว่าอทิธพลทางศาสนาช่วยให้มนุษย์มีความกระตือรือร้นในการดำรงชีพ โดยใช้หลักธรรทางศาสนาช่วยกระตุ้นในการทำมาหากินการดำเนินชีวิตประจำวัน รู้จัการผลิตตและการบริโภคโภคทรัพย์ เป็นต้น
        - ศาสนากับครอบครัว หากจุพูดตามความเป้นริงแล้ว ครอบครัวถือเป็็นแหล่งก่อให้มีความสัมพันธ์ทางศาสราเป็นอันดับแรก เพราะเป็นที่หล่อหลอมปทัสถานต่างๆ ในฐานะที่เป็นสถาบันที่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอันเป็นเครื่องผดุงครอบครัวให้อยู่ในศีลธรรมอันดี
         ความสัมพันธ์เหล่านี้ถือเป็นความสัมพันธ์ในด้านที่ถือว่าศาสนาอยู่ร่วมในสังคม แฃละเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมัสังคมในรูปอืนอีกที่มีความสัพันธ์กับศาสนาก็พึงถือว่ามีความสัมพันธ์กันในรูปใดรูปหนึ่ง
          สังคมในศาสนา
          - ถือเป็นรูปแบบของสังคมอย่างหนึ่งในด้านการบิหารและปฏิบัติตามพิธีการทางศาสนา อันจัดเป็นชนกลุ่มหนึ่ง ที่สังกัดในศาสนา หรือเป็นศาสนิกของศาสนาที่ทำหน้าทเพื่อสนองสังคม
          - ในการจัดรูปแบบของสังคมในศษสนานั้น เพื่อความสะดวกในการบริหารศาสนาและการประกอบพิธีกรรมความเชื่อถือ จึงมีการจัดแบ่งออกเป็นนิกายต่งๆ ตามความเชื่อถือของแต่ละบุคคลในสังคม ตามนิกายที่ตนสังกัด
          - การจัดแบ่งโครงสร้างของศาสนาออเป็นนิกายต่างๆ ตามลักาณะควาทเชื่อถือในศาสนาของสังคมนั้นๆ ซึ่งมีหลายประการด้วยกัน แต่เมื่อสรุปแล้วทุกนิกายในแต่ละศาสนาจะมีโครงสร้างของศาสนาอัประกอบด้วย
                     1.The Church  เป็นตัวรวมศสราทุกระบบของชาวตะวันตก อันหมายถึงกิจการทั้งหมดในทุกระบบของศาสนา ซึ่งรวมทั้งตัวศาสนา นิกาย และสถานที่ประกอบพิธกรรมทางศษสนาด้วย โดยถือการประกอบสังฆกรรมร่วมกันในโบสถ์ หากพูดในแง่ของสังคมวิทยาแล้เวหมายถึงนิกายต่าง ๆ ในคริสต์ศสนาอันมีผู้นับถือมาก เป็นสถาบันที่มีการปฏิบัติศสนกิจสอดคล้องต้องกับความเป็นระเบียบของสังคมและภาวะเศรษบกิจดวย
                    2. The Ecclesia เป็นการจัดศาสนาอีกระบบหึ่ง ดดยมีการนำคำสอนของศาสนาไปสู่ขุมขน หรือไปสู่สังคมภายนอก อันเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างศาสนากับรัฐระบบนี้ได้แก่พวกพระ
                    3. Denomination ระบบนี้เป็นการแบ่งแยกนิกายของศาสนาออาเป็นกลุ่ม เป็นคณะเพื่อค่านิยมของหมู่คณะ โดยมุ่งหวังจะให้ศาสนาเป็นของบริสุทธิผุดผ่อง ไม่ให้อยู่ใต้อิทธิพลหรือบารมีของกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นนิกายของศาสนาที่แยกตัวมาจากนิกายเดิม อันเป็นระบบ The Church ฝ่าย Protestant โดยได้นำหลักการต่างๆ มาดัดแปลงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับสังคม เพื่แยกกิจการของศษสนาออกาจากกิจการของบ้านเมืองโดยเด็ดขาเพื่อให้เป็นอิสระ
                    4. The Sect ระบบขชองศาสนาประเภทนี้ ถือเป็นนิกายดั้งเดิม ที่มีความเชื่อมั่นในเรื่องคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้ายิ่งกว่านิกายอื่น และไม่ยอมดัดแปลงแก้ไขคำสอนให้เหมาะสมกับสมัยด้วย ควาทเชื่อในระดับนิกายนี้จึงติดอยู่กับ ความงมงานเป็นส่วนใหญ่
                   5. The Cult ถือเป็นองค์กรทางศาสนาประการสุดท้าย อันเกิดขึ้นโดยเสรีไม่มีกฎข้อบังคับสำหรับสมาชิกมากนัก ไม่คำนึงว่าสมาชิกจะออกจะเข้า ใครจะอยู่ใครจะไป ไม่ห่วง ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล ระบบนี้ต้องการเพียงแต่จัดรูปศาสนาขึ้นมา โดยมุ่งปรัชญาเป็นสำคัญเพียงประการเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...