"... ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู เอาธงเปนหมอกหว้าย
เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู แสนผีพึงยอมท้าวฯ
เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู หันย้าวปู่สมิงพลาย
เจ้าหลวงผากลายช่วยดูฯ
ดีร้ายบอกคนจำ ผีพรายผีชรหมื่นคำช่วยดู
กำรูคลื่นเปนเปลว บ่ซื่อน้ำตัดคอฯ
ตัดคอเรวให้ขาด บ่ซื่อล้าออเอาใส่เล้าฯ
บ่ซื่อนำอยาดท้องเปนรุง บ่ซื่อหมาหมีหมูเข่นเขี้ยว
เขี้ยวชาชแวงยายี ยมราชเกี่้ยวตาตคาวช่วยดูฯ
ชื่อทุณพีตัวโตรด ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
เคล้าเคลื่อกเปลวลาม สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดูฯ..."
บางส่วนจาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ"
ความมั่นคงของมนุษย์ คือ การที่บุคคลแต่ละคนได้รับความเท่าเที่ยมกันใรเรื่อหลักประกัน สิทธิ ความปลอดภัยและโอกาสในการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีปราศจากความกลัวและความขาดแคลนอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกี่ยรติและมีศักดิ์ศรี
องค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้
- ความมั่นคงด้านสุขภาพ หมายถึง การที่มนุษย์มีความสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านอาหาร หมายถึงสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ เหมาะสม มีประโยชน์และปราศจากโทษ
- ความมั่นคงด้านการศึกษา หมายถึง การเข้าถึงบริการด้านการศึกษาพื้นฐานของรัฐในทุกรูปแบบ (ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย) โดยครอบคลุมองค์กรความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มนุษย์จำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากการครอบงำ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านศาสนาและความเชื่อ หมายถึง การดำรงชขีวิตของมนุษย์โดยมีหลักธรรม คำสอนที่มนุษย์ยึดถือศรัทธา
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัย หมายถึง การที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตส่วนตัวในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความมั่นคง และปลอดจากการไล่รื้อ ไล่ออก หรือการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของความสัมพันธ์ที่มนุษย์ต้องกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่แวดล้อม และเป็นผลต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และธรรมชาติส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ธรรมชาติที่แวดล้อมดังกล่าวต้องปลอดจากสิ่งปนเปื้อน และปลอดจากการถูกทำลาย
- ความมั่นคงของบมนุษย์ส่วนบุคคล หมายถึง ความมั่นคงปลอดภัยจากความรุนแรงทางกายภาพ และภัยคุกคามจาปัจจัยทั้งปวงที่มีต่อบุคคล ได้แก่ การประทุษร้าย อาชญากรรม การทำงาน อุบัติเหตุ และภัยคุกคามจากตนเอง เช่น การทำร้ายเด็ก การข่มขืน การทรมานร่างกาย การใช้สารเสพติด และการฆ่าตัวตาย (ภัยคุกคามต่อตนเอง) เป็นต้น
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านครอบครัว หมายถึง การที่มนุษย์มีสิทธิและความชอบธรรมตามกฎหมายของบุคคลในการตัดสินใจเลือกคู่และเลือกมีทายาทด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ทั้งนี้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่อันเหมาะสมที่พึงปฏิบัติต่อกัน โดยมี การให้คำปรึกษาแนะนำทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการครองคู่ ในกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งกัน ย่อมมีสิทธิรับคำปรึกษา แนะนำ และความช่วยเหลือจาหน่วยงานที่เชียวชาญเฉพาะเพื่อให้เกิดความมั่นคงในครอบครัวในานะที่เป้นสภาบันพื้ฐ.านของสังคม และการปลอดจากการคุกคาม ครอบงำจากสมาชิกในครอบครัว
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านชุมชน หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ในกลุ่มคนแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีการติดต่อสัมพันะ์กันในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องโดยการดำรงอยู่นั้นสามารถคงความเป็นอัตลักษณ์ของตน มีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรี ตลอดจนปลอดจากภาวะคุกคามและครอบงำจากสมาชิกชุมชน กรณีมีความขัดแย้งใช้การแก้ปัญหาอย่างสันติ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการเมือง หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงชีวิตในสังคมโดยมีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรีในการเข้าถึงอำนาจการตัดสินใจ และากรรับผลประโยชน์สาธารณะ โดยปลอดจากกรคุกคาม ครอบงำจากผู้มีอำนาจและอิทธิพลอื่นๆ
นักวิชาการกล่าวว่า ความมั่นคงของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีมาตรการและกลไกดูแลคุ้มครองดังนี้
การพัฒนาสังคม เป็นการพัฒนาทุกส่วนของสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ
สวัสดิการสังคม เพื่อช่วยเหลือให้ทุกคนในสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ได้มาตรฐาน
ป้องกัน คนในสังคมอาจจะมีปัญหา/ความยากลำบากต้องป้องกัน เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ
คุ้มครอง มองว่า คนจะเจอภัยพิบัติอะไรบ้าง จะต้องมีการคุ้มครองเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ
รองรับ เป็นที่มาของแนวคิดโครงข่างความคุ้มครองทางสังคมว่าแม้จะมีมาตรการทั้ง 4 อย่างข้างต้นแล้วก็อาจมีคนตกหลุมทางสังคม เช่น ปรับโครงสร้างการผลิต การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ จึงต้องมีการรองรับทางสังคม นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการและกลไกเพิ่มเติมอีก ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งต้องมีความมั่นคงทางสังคม ในความหมายใหม่จะเชื่อมโยงกับความมั่นคงของคน
อาจกล่าวได้ว่าความมั่นคงของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประการ คือความปลอดภัยจากสภาพปัญหาเรื้อรัง เช่นความหิวโหยโรคภัยการปิดกั้นสิทธิ เป็นต้น และ ประการที่สอง การได้รับการปกป้องจากากรที่แบบแผนการดำเนินชีวิตต้องถูกทำให้ยุติโดยฉับพลัน และสภาพขอวสิ่งรบกวนหรือความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน และทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงานตลอดจนชุมชน
ภาวะการเสูญเสียความมั่นคงของมนุษย์นั้น อาจเกิดจากแรงบีบคั้นจากภัยธรรมชาติหรือการดำเนินนโยบายที่ผิดในการบริหารประเทศ หรืออาจเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตามพึงตระหนักว่า เรื่องความมัี่นคงของมนุษย์นั้น ไม่สามารถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือมีความเทียบเท่ากันกับเรื่องการพัฒนามนุษย์ ทั้งนี้เพราะในขณะที่เรื่องการพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องของการให้มนุษย์นั้นมีชีวิตอยู่ในวันนี้ มีสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้และมีความมั่นใจว่าจะไม่สูญเสียสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตัวเชื่อมโยงระหว่างสองเรื่องนี้ คือการยะกระดับทางโอกาสของมนุษย์ แต่ความล้มเหลวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นได้ อาทิ หากการพัฒนามนุษย์ที่ล้มเหลวนำมาซึ่งความยากจน โรคภัย ความหิวโหยของชุมชน ความขัดแย้งทางเชื่อชาติซึ่งจะร้างให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงของมุษย์ตามมาอีกด้วย
การสร้างความมั่นใจในความมั่นคงของมนุษย์นั้น จึงไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะรับผิดชอบในการสร้างโอกาสและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่หมายถึงการที่ประชาขชนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับแบกภาระอันเหนื่องมาจากการกดขี่และความไม่เป็นธรรมนั้นด้วย เพื่อช่วยกันสร้างให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์อีกประการหนึ่ง จึงให้น้ำหนักในเรื่องที่ประชาชนต้องสามารดูแลตนเองได โดยที่ประชาชนทุกคนควรมีโอกาส มีสิทธิในกาเข้าถึงิ่งที่มีความจำเป็นต่อตนเอง หรือมีความต้องการในการยังชีพ สามารถที่จะไ้รับความมั่นใจว่าชีวิต ชุมชน ประเทศชาติของตน และโลกนี้จะได้รับการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น ความมั่นคงของมนุษย์จึงมิได้เป็นเพียงเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันเท่านั้น แต่เป็นแนวคิดเชิงบูรณาการที่จะต้องคำนึกถึงประเด็นทั้งระดับประชาชนและระดับประเทศชาติ
ความมั่นคงของชาติ
ความมั่นคงของชาติคือ การดำรงอยู่ของประเทศอย่างสงบและปลอดภัยจากอันตรายทั้งภายในและภายนอกประเทศ พร้อมทั้งมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าทุกด้านความมั่นคงของชาติ จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอด ความสุขสงบ และความเจริญของประชาชนในชาติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติของตนเพื่อ
- ดำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งราชอาณาจักร
- ดำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
- เสริมสร้างสวัสดิภาพและความผาสุขของประชาชน
- พัฒนาพลังอำนาจของชาติ
เมื่อปรัชญาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานความจริง ความรู้ แนวการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาปรัชญาของชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะห้คนไทยรู้และเข้าใจพื้นฐานความจริงของชาติ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อทำให้คนในประเทศชาติรักและดำเนินชีวิตตามแนวทางที่จะเป็นไปเพื่อความสงบสุขเจริญรุ่งเรื่องยั่งยืนของชาติ และเมื่อเกิดปัญหาในชาติ มีผู้รู้เสนอแนวแก้ไขว่า "ต้องมุ่งไปที่รากฐานปรัชญาความคิดของคนในสังคม มากกว่าการแก้ไขเฉพาะพฤติกรรมหรือความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง" จากคำกล่าวนี้ การรักษาความมั่นคงของชาต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยปรัชญาเป็นพื้นฐาน ดังผู้รู้สรุปไว้ดังนี้
- การตั้งอุดมการณ์แห่งชาติต้องมีปรัชญาเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่งยิ่งพทธปรัชญา
- การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องนำทฟษฎีสมัยใหม่มาปรับให้เข้ากับลักษณะสังคมไทยและลักษณะนิสัยของคนไทย
- การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องอาศัยความคิดหลักร่วมกันของประชาชน กล่าวคือ ต้องสอดคล้องกับปรัชญาการดำรงชีวิตของคนไทย เพื่อประชาชนจะได้ให้การสนับสนุน หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อประชาชนที่ถูกต้อง
- การดำเนินการหรือการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องยึดหลักคุณธรรมประจำชาติ มิใช่ใช้ความรุนแรงสถานเดียว
- การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องเกี่ยวพันกับปรัชญาและอุดมการณ์ของชาติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการของชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น