Political participation

             "การมีส่วนร่วมทางการเมือง" ต่อคำถามที่ว่า แม้การเมืองจะยุ่งเกี่ยวกับเรา แต่เราจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้หรือไม่ "การยุ่งเกี่ยว" มักจะอยู่ในรูปแบบหรือลักษณะของการออกกฎหรือนโยบายใดๆ เพื่อหวังที่จะแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ รวมทั้งควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือการกินดีอยู่ดีของปวงชน จึงเป็นไปได้ว่าในบาสงสังคมกฎหรือนโยบายที่ออกมาไม่สนองตอบต่อการกินดีอยู่ดีของส่วนรวม แต่กลับไปสนองตอบความต้องการของกลุ่มทางสังคมไดๆ เมื่อเรามองว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งก็ย่อมต้องเสียประโยชน์ ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้น และจากความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมรู้สึกว่ตนเองถูกฉกชิงในสิ่งที่ตนเองควรจะได้รับ จะเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่้งอันจะนำไปสู่การเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมือง และการที่ประชาชนเข้าไป "ยุ่งเกี่ยว" กับการเมืองในที่นี้ก็คือ "การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง" นั่นเอง
               การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการทางการเมืองของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้ว เราจะพบว่าการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นหลักในการปกครอง การปกครองประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ก็จำเป็นต้องส่งเสริมให้ประชาชภายในประเทศเข้าำปมีส่วนร่วมทางการเมืองนี้เองที่ผู้ปกครองอ้างในความชอบธรรมของอำนาจ
              ความหมายของการมีส่วนร่วม มีผู้ให้นิยามไว้มากมาย อาทิ
               Weiner ได้สรุปนิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยได้แจกแจงเป็นองค์ประกอบย่อยๆ 3 ประการคือ
               1. จะต้องมีกิจกรรม เช่นมีการพูด คุย และรวมดำเนินการใดๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทัศนคติหรือความรู้สึก
               2. จะต้องมีกิจกรรมในลักษณะที่เป็นอาสาสมัคร
               3. จะต้องมีข้อเลือกหรือทางให้เลือกมากกว่าหนึ่งเสมอ
               Verba Nie และKim ได้ให้นิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองไว้ว่า "..เป็นกิจกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยราษฎรโดยส่วนตัว โดยมีเป้าหมายที่มุ่งเพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อการคัดเลือกบุคลากรของรัฐบาล และ/หรือกิจกรรมของรัฐบาล
                Huntington กับ Nelson ได้ให้นิยามของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองไว้ดังต่อไปนี้
                การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนโดยส่วนบุคคลมุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้การเข้ามี่ส่วนร่วม หมายถึงกิจกรรมต่างๆ แต่ไม่รวมถึงทัศนคติหรือความรู้สึก กิจกรรมของประชาชนโดยส่วนบุคคล หมายถึงกิจกรรมทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนในฐานะที่เป็นราษฎรเท่านั้น ไม่รวมถึงกิจกรรมของข้าราชการ เจ้าหน้าที่พรรรค ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง นักลอบบี้อาชีพ หรือนักการเมืองอาชีพ โดยปกติแล้วกิจกรรมทางการเมืองของผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมจเอยู่ในลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องไม่เต็มเวลาและไม่ถือเป็นอาชีพหลักนอกจานี้กิจกรรมของประชาชนนี้จะต้องเป็นกิจกรรมที่มุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของบริษัทเอกชนขึ้นเงินเดือนให้จึงไม่ถือว่าเป็นการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง และกิจกรรมนี้ยังรวมถึงกิจกรรมทุกรูปแบบที่มุ่งที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่ากิจกรรมนันจะก่อให้เกิดผลหรือไม่ก็ตาม
                 การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมุ่งที่จะเข้าไปมีอทิธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐบาลในระดับต่างๆ ซึ่งรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป

                  ระดับของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
                  ในทุกสังคมจะมีคนอยู่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง นั่นก็คือ แต่ละสังคมจะมีระดับของการเข้าไปมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันไป ซึ่งสาเหตุทีทำให้ประชาชนในแต่ละสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันไป การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นปรากรฏหารณ์ของกิจกรรมทางการเมืองพลายอย่างรวมกันอยู่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต่างก็มุ่งที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น รูปแบบต่างๆ ของการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น รูปแบบต่างๆ ของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในแต่ละสังคมอาจเน้นหรือให้ความสำคัญแตกต่างกันไป บางสังคมอาจให้ความสำคัญกับการในช้สิทธิในการเลือกตั้งระดับชาติ แต่บางสังคมอาจเข้าไปมีส่วนร่วมใรูปแบบใดๆ เป็นแนวทางย่อมที่จะต้องมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปด้วย พวกที่เข้าไปช่วยหาเสียงใหผู้สมัครรับการเลือกตั้งอาจดำเนินการได้โดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคนั้น ๆ ปฏิบัติการไปตามแนวทางหรือแนวนโยบายที่พรรควางไว้ ส่วนพวกที่ติดต่อโดยตรงกับผู้แทนราษฎรเพื่อหวังจะให้ผู้แทนช่วยเหลือการใดๆ ก็ย่อมที่จะใช้กระบวนการต่างกันไป
                รูปแบบต่างๆ ของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง
                - การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นกิจกรรมของบุคคลแต่ละคนในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปใช้อำนาจในการปกครอง สิทธิในการเลือกตั้งจึงอาจนับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการควบคุมรัฐบาล แต่การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจะแตกต่างไปจากกิจกรรมการเข้ามีส่วนร่วมในรูปแบบอื่นๆ ที่สังคมเป็นผู้กำหนดโอกาสให้ เช่น สี่ปีต่อครั้ง จึงทำให้ความรู้สึกสร้างสรรของคนมีน้อยมาก
                - กิจกรรมการรณรงค์หาเสียงเป็นกิจกรรมในลักษณะเดียวกับการใช้สิทธิเลื่อกตั้งแต่เป็นรูปของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนอาจใช้เพื่อเพิ่มอิทธิพลที่เขาพึงมีต่อผลของการเบือกตั้งนอกเหนือไปจากเสียง 1 เสียงที่เขาได้จากสิทธิในการเลือกตั้บงแล้ว กิจกรรมการรณรงค์หาเสียงนี้นับเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างยากเมื่อเปรียบเทียบกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
               - กิจกรรมของชุมชนเป็นกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กรที่ราษฎร่วมกันดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมและการเมือง ในกรณีนี้ราษฎรจะร่วมมือกันเพื่อใช้อิทธิพลต่อการดำเนินงานของรัฐบาล กิจกรรมในรูปแบบนี้เป็นไปย่างมีเป้าหมายที่แน่นอนและมีอิทธิพลมาก
               - การติดต่อเป็นการเฉพาะ เป็นรูปแบบสุดท้ายของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองและจะเกี่ยวเนื่องกับราษฎรรายบุคคลไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเพื่อให้แก้ไขปัญหารใดๆ เฉพาะตัวหรือของครอบครัว กิจกรรมในรูปแบบนี้มีอิทะิพบต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลน้อยมาก
                การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในแวดวงของการพัฒนาทางการเมือง ซศึ่งมองว่าการเข้ามีส่วนร่วมนี้เป็นลักษณะทางการเมืองที่ำสคัญยิ่งของระบบการเมืองที่ทันสมัย และเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วด้วย ทำไม และโดยทางใดที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการที่จะแสวงหาคำตอบ ซึ่งคำตอบของนักวิชาการแต่ละคน แต่ละสำนักจึงมีอยู่มากมาย อาจสรุปได้ดังนี้
              - ยิ่งบุคคลได้รัีบสิ่งเร้าเกี่ยวกับการเมืองมากเท่าไร เขายิ่งมีแนวโน้มว่าจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองและจะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะที่ "ลึก" มากขึ้นเท่่านั้น
              - บุคคลที่เข้ามีส่วนร่วมในการพูดคุยทางการเมือง อย่างไปม่เป็นทางการจะมีแนวโน้มว่า จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ มากกว่าพวกที่ไม่มีการพูดคุยทางการเมืองเลย
              - ชนชั้นกลางมักจะได้รับสิ่งเร้าทางการเมืองมากกว่าชนชั้นกรรมกร
              - ในเมืองบุคคลมีแนวโน้มว่าจะติดต่อเจรจากันกับบุคคลื่อนๆ ที่มีระดับการศึกษาเท่าเทียนมกัน และในเมือ่บุคคลที่มีการศึกษาสูงโดยทั่วๆ ไปจะยุ่งเกี่ยวและพูดคุยเรื่องการเมืองมากกว่า พวกนี้จึงมักพบกับสิ่งเร้าเกี่ยวกับการเมืองมากกว่าบุคคลที่มีการศึกษาต่ำด้วย
             - บุคคลที่พึงพอใจในพรรคหรือผู้สมัครใดๆ มักมีสิ่งเร้าทางการเมืองมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้จะเลือใครหรือพรรคใดดี
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)