ความมั่นคงทางจิตใจ Spiritual Secutiry
มาสโลว์ : ความต้องการความมั่นคง เป็นความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นอิสระจากความกลัว ขู่เข็ญ บังคับ จากผู้อื่นและสิ่งเเวดล้อม เป็นความต้องการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มกัน ซึ่งควงามต้องการประเภทนี้เป็นความต้องการตั้งแต่ทารกกระวัยชรา
อมาร์ทยา เซน : ความมั่นคงทางด้านจิตใจนั้นสำคัญและมีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลกว่า 2,500 ปี พระพุทธเจ้าสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์พยายามหาเหตุแห่งความทุกข์และพยายามค้นหาหนทางเพื่อดับทุกข์ ซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงในระดับจิตใจ
พระธรรมปิฎก : กล่าวไว้ว่า ความมั่นคงทางจิตใจนั้นเป็นความมั่นคงพื้นฐาน อยู่ในชุดความมั่นคงของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยความมั่นคงปลอดภัยทางด้านร่างกายที่จะเป็นฐานให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ ความมั่นคงทางจิตใจ และความมั่นคงทางสังคม ทั้งสามอย่างนี้เป็นพื้นฐานมาแต่เดิม ส่วนความมั่นคงด้านอื่นๆ มักจะเป็นของที่เพ่ิมขึ้นมาทีหลัง ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นเรื่องของจิตที่ลึกซึ้ง มักจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางศรัทธาโดยเฉพาะเรื่องทางศาสนา อาจแปลได้ว่าเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เมื่อพูดถึงในเรื่องทางพุทธต้องโยงมาหาปัญญา เพราะจิตใจจะมั่นคงแท้จริงต้องอาศยปัญญา สำหรับในความหมายของต่างชาติ เป็นเรื่องของการที่จิตใจมีที่พึ่งพำนัก มีที่ยึดเหนี่ยว มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งมีคุณความดีที่ทำให้เกิดความภูมิใจ
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายไว้อีกว่า ความมั่นคงทางจิตใจคือ ความรู้สึก อารมณ์ สภาพการณ์ที่บุคคลเชื่อมั่นต่อผลการปฏิบัติงาน มีความสุขที่ได้ปฏิบัติงานจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งไดแก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การยอมรับจากผู้อื่นและการยกย่องชม เชย หรือ หมายถึงสภาพจิตของบุคคลที่รู้สึกว่าปลอดภัย แน่ใจ ปราศจากความหวั่นไหว ไม่มีความเกรงกลัว หรือหวาดระแวง ไม่ลังเลหรือวิตกกังวล
และยังมีคำที่มีลักาณะและความหมายใกล้เคียงกับความมั่นคงด้านจิตใจ ซึ่งได้แก่ ขวัญ morale มีผู้ให้ความหมายไว้ว่า ขวัญ คือ สภาพของจิตใจและอารมณ์ ซึ่งกระทบต่อความตั้งใจในการทำงาน ซึ่ผง
ผลกระทบนั้นจะมีต่อบุคคลและวัตถุประสงค์ขององค์กร
กองวิชาการและแผน กรมประชาสงเคราะห์ : ขวัญ ในการปฏิบัติงาน เป็นสภาพทางจิตใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ท่าที ซึ่งมีลักษณะนามธรรมมองไม่เห็น แต่สมารถสังเกตได้จากการแสดงออกในรูปของการมีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นสภาพจิตใจ สภาพของอารมณ์และความรุ้สึกของบุคคล ซึ่งมีทังควมรู้สึกพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมปกติ หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรืออาจทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ โดยพฟติกรรมนี้แสดงออกได้ทั้งในขณะที่รู้สึกตัว สามารถควบคุมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ หรือแสดงออกโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวบุคคลและองค์การ
ความมั่นคงทางจิตใจสามารถแสดงผลออกลัพท์ออกมาทางสุขภาพจิต จากข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนของมหาวิทยาลัยมหิดลได้เสนอว่า สุขภาพจิตเป็นสภวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจ มีการปรับ เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทำให้คนเราต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ซึ่ง สุขภาพจิตของคนเราก็ต้องมีการปรับ และเปลี่ยนแปลงตามด้วยเช่นกัน บุคคลใดที่สามารถปรับตัวได้ในสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยตนเองมีความสุข สามารถปรับปรุงเปลี่ยนสแปลงตนเองได้ตามสถานการณ์ด้วยเหตุด้วยผลอันเหมาะสม มีความยือหยุ่น ก็คือผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตดีเปรียบได้กับต้นไม่ที่รากเต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความมีเมตตา การให้อภัย ความอดทนและสำนึกในบุญคุณผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต จิตใจมั่นคง มีความรัก ก่อให้เกิดความไว้วางใจ กลายเป็นลำต้นที่แข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรร ได้รับการยอมรับ มีแรงจูงใจ พอใจ และรู้จักตนเองอย่างแท้จริง รู้รับผิดชอบ มีความสามารถใช้ศักยภาพของตนได้อย่างดี ทำประโยชน์ให้กับสังคม และมีความสุขในชีวิต
ความเข้มแข้งทางใจ Resilience,Resiliency ในทางจิตวิทยา หมายถึงกระบวนการ หรือศักยภาพในทางบวกของบุคคลในการจัดการกับภาวะเครียดหรือความล้มเหลวของชีวิต ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับความรู้สึกอดทนและสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่คุณลักษณะเช่นนี้มีความหมายเป็นปัจจัยปกป้อง จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
นอกจากนี้ความเข้มแข็งทางใจยังหมายถึง พฤติกรรมทางบวกที่บุคคลใช้ในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับความโชคร้าย หายนะ หรือความรู้สึกบาดเจ็บ หรือใช้เป็นการกล่าวถึงการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคโดยเกิดผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกได้โดยกายืนหยัดต่อสู้แม้อยู่ในภาวะเสียงหรืออันตรยสูง ความคงทนอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ใต้ภาวะกดดัน และความสามารถในการฟิ้นพลังอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บ รวมทั้งการที่บุคคลสามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตมาได้อย่างดี แม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค ต่างๆ นับประกาณ ซึ่งปัญหาต่างๆ หรือความโชคร้าย
จรอทเบิร์ก : ความเข็มแข็งทางใจ หรือความยืนหยุ่นทางอารมณ์เป็นศักยภาพของบุคคล กลุ่มหรือชุมชนที่มีความสามารถในการฟื้นตัวการป้องกันความสูญเสีย การลดความรุนแรง และการผ่านพ้นจากการได้รับผลกระทบที่เกดจากภาวะบีบคั้นต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ด้วยดี
เดเยอร์ : เป็นความสามารถหรือทักษะ ซึ่งสามารถพบได้ใน 3 มิติ คือ มิติบุคคล มิติระหว่างบุคคลและครอบครัว โดยที่ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลหรือมีอิทธิพลให้บุคคลเกิดความเข้มแข็งทางใจในขณะหรือภายหลังเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤติ
วองซ์ : คือลักษณะนิสัยการประสบความสำเร็จในนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่ดี หรืออุปสรรคที่รุนแรงแต่สามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษาและเจริญงอกงามได้
ทูรเนอร์ : ความสามารถพิเศษของบุคคลในการอดทนต่อความยากลำบาก สามารถผ่านมรสุมและดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผุ้ที่มีความหยุ่นตัว มีความสามารถ "งอโดยไม่หัก" และหวนกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม
มาโยว์ : ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดีต่อความเครียด เคราะห์กรรมบาดแผลทางใจ หรือเรื่องโศกเศร้า สามารถคงไว้ซึ่งความคงที่และระดับสุขภาวะของการทำหน้าที่ทางกายแะจิตใจเมื่อเผชิญความยากลำบาก โดยสามารถทำกิจกรรม ประจำวันได้ ยังมองชีวิตในแง่ดี ไม่สับสนและกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ซ
ความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ กระบวนการที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์ที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งเป็นการปรับตัวในเชิงพฤติกรรมทางบวก เมื่อเผชิญกับเคราะห์กรรมหรือบาดแผลทางจิตใจ โดยที่บุคคลสามารถประคับประคองตนเองให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากมรสุมหรือความหระทบกระเทือนทางจิตที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้...
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560
์Nation Security and King
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยจากประเทศต่างๆ ในยุโรปด้วพระองค์เอง และจากประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้รับเมื่อครั้งอยู่ต่างประเทศ จึงมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางการปกครองประชาชนของพระองค์ด้วยทั้งสองพระองค์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ ที่ทรงอยู่ในฐานะของผู้นำประเทศ โดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนทุกคน ทั้งนี้เพราะอำนาจในการปกครองแผ่นดินของพระมหากษัตริย์นั้น ได้มาจากการที่ประชาชนแต่ละคนยอมสละอำนาจของตนมอบให้แก่พระมกากษัตริย์ ที่จะใช้อำนาจนั้นปกครองประเทศเพื่อความเจริญของส่วนรวม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็ฯระบอบประชาธิปไตย ในต้นปี 2475 แต่คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง...
"ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง
ใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้อง
ตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล
และหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด
ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้น ในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จสละราชอำนาจ
อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แกราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า
ให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"
2 มีนาคม 2477
คณะราษฎรประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างทหารกับพลเรือน และทหารด้วยกันเอง ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคประชาธิปไตยแบบไทยๆ กึ่งเผด็จการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและสับสน ล่วงเข้า
รัชสมัยรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ก็ถูกปลงพระชนน์และโยงเข้าหาการเมือง นายปรีดี พนมยงค์ได้เสนอพระอนุชาขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกัน พร้อมเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง การฉวยโอกาส กับคำกล่าวที่ว่า ปรีดี ฆ่าในหลวง..ทำให้ไม่ยึดมั่นในสัจจะ กลายมาเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในการขึ้นสู่อำนาจนับแต่นั้นมา..
การเมืองไทยจึงเป็นการแก่งแย่งอำนาจระหว่างผ่ายกลุ่มผู้นำในคณะราษฎร์ และมีการแก่งแย่งชิอำนาจระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและไม่มั่นคงทางการเมือง เมื่อฝ่ายพลเรือนถูกผลักออกมานอกวงการเมือง ผู้นำฝ่ายทหารเองก็แก่งแย่งอำนาจการปกคอรงในยุคต่อมา โดยมีพลเรือนอยู่รอบนอก
การปกครองของไทยนั้น การเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือระบอบการปกครองไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และนักการเมือง หรืออาจกล่าวได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคือปัญหาของคุณภาพของการเป็นคนของแผ่นดิน
ในวันที่ 5 พฤษภาคน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพระราชลพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ทรงพระรชาทางพระปฐมบรมราชโองการว่า
" เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม"
5 เมษายน พ.ศ. 2525 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในการพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ว่า
" การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอัน
สำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาด สามารถและสุจริตเป็นธรรมแล้วยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทังประเทศด้วย คือ ประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวาย สร้างสรรค์
12 มิถุนายน 2549 ทรงดำรัสตอบผุ้เผ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคึล ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
" คุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคีที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกัน และรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง
ประการแรก คือการที่ทุกคนคิดพูดทำด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกายต่อใจต่อกัน
ประการที่ 2 คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสานงานประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
ประการที่ 3 คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
ประการที่ 4 คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคึงอยู่ในเหตุผล หากความคิดจิตใจและการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอบเดียวกัน ในทางที่ดีที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกายในใจคนไทย ก็มั่นใจว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ไปได้"
และทรงมีพระราชดำรัชตอนหนึ่ง ที่ตรัสขอบพระทัยพระราชอาคันตุกะที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นังอนันตสมาคม ในวันเดียวกันนั้นว่า
" ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวแก่ทุกท่านว่า การทำนุบำรุงประเทศชาตินั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของผุ้หนึ่งผุ้ใดโดยเฉพาะหากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่ต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อธำรงและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจิรญมั่นคงแลผาสุกร่มเย็นข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นเดี่ยวกันกับคนไทยทั้งมวล จึงของขอบใจทุกๆ คน ที่ต่างพยายามกระทำหน้าที่ของตน ด้วยเต็มกำลังความสามรถ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบาย ทำให้ไทยเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลก จนกระทั่ง "พระประมุขและพระราชวงศ์จากราชอาณาจักรตา่งๆ เสด็จมาประชุม ณ ราชอาณาจักรไทยโดยพร้อมเพรียงกัน สิ่งนั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึค่งที่จะเกื้อกูลให้สัมพันธภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างราชตระกูล และความร่วมมือระหว่างตาชตระกูล ปละราชอาณาจักรทั้งปวงดำรงมั่นคง ทั้งเจริญงอกงามและแน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป " ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะทรงเป็นผุ้แทนพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างผระเทศ ได้ถวายพระพรชยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมมโหฆาร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 มีใจความว่า " ข้าพระองค์ องค์พระประมุข และพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ ได้มาพร้อมเพรียงกัน ณ ที่นี้ ก็เพื่อถวายพระพรแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ ผู้เป็นที่รักของพระองค์ด้วยความเคารพ ชืนชมในพระบารมีล้นพ้น ตลอดจนเพื่อความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน
60 ปี ที่พระองค์ทรงครองสิริรราชสมบัติ มิได้เป็นเพียง 60 ปี ในประวัติศาสาตร์ของชาติไทย แต่เป็น 60 ปี ที่ประวัติศาสตร์ของเราทุกคน เป็นประวัติศาสตร์ที่ประสบทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งร้าย ทั้งความปลื้มปิติ และความโศกเศร้า ทั้งเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดี และเรื่องที่น่าสิ้นหวังและทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชปรีชาญาณ พระสติปัญญา พระวิริยะ อุตสาหะ ตลอดจนความองอาจและกล้าหาญที่พระองค์ทรงมีอยู่อย่างท่วมท้น ในการนำประเทศให้พ้นภัย พรเปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจให้แก่ประชาชนของพระองค์ตลอดมา..
วันนี้ ประชาคมโลกต่างตระหนักถึงความสำเร็จทั้งหลายทังปวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หม่อมฉัน องค์พระประมุขและพระราชาอาคันตุกะทุกพระองค์ ที่มาพร้อมเพียงกัน ณ ที่นี้ จึงมีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่องค์การสหประชาชาติทูลเหล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จอันสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ฝ่าพระบาท แต่หม่อมฉันตลอดจรองค์พระประมุขและพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาร่วมงานในวันนี้ ของวถายพระราชสมัญญาที่เรียบง่าย แต่มีค่า และสะท้อนถึงความรู้สึกของหม่อมฉันและทุกพระองค์ ณ ที่นี้ คือ ฝ่าพระบาททรงเป็นมิตรที่รัก และพึงเคารพอย่างที่สุดของพวกเรา"
King and Nation Security
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชด้วยพระชนม์เพียง 15 ชรรษา ยึ่แนวทางที่สมเด็จพระราชบิดาทางวางไว้ ด้วยการออกเยี่ยมราษฎร และปฏิรูปการปกครองด้วยการเลิกระบบการเกณฑ์แรงงานจาำประชาชน ใช้วธีการเก็บเงินราชการแทน ทรงตั้งกองทหารประจำการแทนเพื่อปฏิบัติการรบในยามสงคราม และทรงประกาศ เลิกทาส ทรงกระจายอำนาจไปสู่คณะเสนาบดี จัดระบบการปกครองให้เป็นระเบียบ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
ขณะเดียวกันทรงเห็นว่า ชาติมหาอำนาจตะวันตกยึดครองดินแดนต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จนทั่ว และกำลังคุกคามดินแดนไทย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการปฏิรูปการปกครองในเมืองไทย เพื่อมิให้ต่างชาติถือเป็นข้ออ้างในการเข้ายึดอำนาจการปกครอง
เนื่องจากความเยาว์วัยของกษัตริย์และกอรปกับความมีอำนาจอย่างยิ่งของขุนนางผู้ใหญ่ พระองค์สึคงต้องแสวงหาฐานกำลังที่จะสนับสนุนให้ทรงสามารถคานอำนาจของอีกฝ่าย และทรงเห็นว่าขุนนางหัวใหม่และประชาชนจะเป็นฐานกำลังสำคัญอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงยึคดมั่นในการปกครองโดยธรรมและให้ความใกล้ชิดกับประชาชน
พระราชกรณีกิจนี้เองที่ได้เปรียนทัศนะคติ และเพิ่มความจงรักภักดีของประชาชนต่อพระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังคงมีผลกระทั่งตราบเท่าทุกวันนี้ คือ การทรงปลอดพระองค์เป็นสามัญชนออกเยี่ยมราษฎร ทรงคลุกคลีเสวยพระกระยาหาร ร่วมทำอาหารกับราษฎร ผลจากราชกรณียกิจนี้ทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น
ต่อมาทรงประกาศตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมาชิก 12 คน เพื่อเป็นที่ปรึกษาและ่วยกำหนดนโยบลายบริหารประเทศรวมทั้งคอยยับยั้งคัดค้านหากพระองค์มีนโยบายที่ผิดพลาด
ทรงมีพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช ว่า
" พระมหากษัตริย์มิใช่ผู้มั่งคั่ง และมีอำนาจที่จะกดขี่ประชาชนได้ หากแต่เป็นนายผุ้น่าสงสารที่จะต้องทำงานหนักเพื่อความสุขของประชาชน และถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ได้ พระองค์ก็ไม่สามารถจะปกครองแผ่นดินได้เช่นกัน"
ทรงตั้ง สภาองค์มนตรี จำนาน 49 คนเพื่อทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณ
สภาทั้งสองเป็นการเคลื่อนไหวการกระจายอำนาจการปกครองสู่สมาชิกสภาและฝึกฝนสมาชิกให้รู้จักออกเสียงแสดงความคิดเห็น เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ
แต่การปฏิรูปดังกล่าวต้องหยุดชะงักเมือขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยม(หัวเก่า)ขัดขวางอย่างรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ กระทั่งผู้นำฝ่ายอนุรักษ์ถึงแก่อนิจกรรม ฝ่ายค้ดค้านเสือมอำนาจลง
กระทั่ง ปี ร.ศ. 103 ( พ.ศ. 2428) เจ้านายและขุนนาง ที่ได้ไปศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ในยุโรป ทราบถึงนโยบายการล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งเป็นภัยจากตะวันตกที่กำลังคุกคามไทย จึงนำความกราบบังคมทูล รัชกาลที่ 5 ใจความว่า ประเทศไทยด้อยพัฒนา ประเทศทางตะวันตกจะเข้ามาปกครองเพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทย..เปรียบได้กับการจับจองไร่นา ถ้าเจ้าของไม่สามารถทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ ก็สมควรที่จะให้ผุ้อื่นเข้ามาทำประโยชน์ต่อไป.. การปกครองที่ชาวตะวันตกเห็นว่าล้าหลังคือการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่อำนาจในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ลำพังเพียงพระองค์เดียว ซึ่งเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะควบคุมบริหารทั้งปวงให้มีประสิทธิภาพได้ ...
หนทางที่จะพ้นภัยคุกคามในครั้งนี้คอ ต้องจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธปิไตยตามแบบตะวันตก ซึ่งหากจัดให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็จะเกิดความเชื่อถือในหมู่ชาวต่างชาต การคุกคามจะลอน้อยลงไป แต่ประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบ แต่ก็เห็นสมควรที่จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบางส่วน เพื่อเตรียมการสำหรับที่จะเป็นประชธิปไตยในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น
- ที่มาของอำนาจ โดยให้มีการกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริหารงานไปสู่คณะเสนาบดี บทบามของกษัตริย์จจึงมิใช่ผู้อำนาจสิทธิขาดในการกำหนดนโยบายต่างๆ เพียงลำพัง
- ให้มีเกณฑ์ที่แน่นอนเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์ โดยมิต้องให้คณะเณาบดีเป็นผู้พิจารณา อันเป็นหนทางให้คณะเสนาบดีใช้อิทธิพลและสร้างอำนาจให้ตนเองและเป็นปัญหาในการปกครองต่อไป
- ป้องกันการใช้อำนาจทุจริตในวงรัฐบาล จัดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนอันสมควรแก่ภาระหน้าที่
- ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีอันใด ที่จะเป็นเครื่องกีดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
- ให้ประชาชนและข้าราชการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง การแสดงความคิดเห็นให้ปรากฎแก่สาธารณะนี้กระทำได้โดยผ่านหนังสือบพิมพ์หรือในที่ประชุม แต่บุคลที่ใช้เสรีภาพในทางที่ผิด เช่น กล่าวร้ายป้ายสี ให้มีการลงโทษ
- การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ให้คำนึงถึงที่ความสามารถและความประพฤติเป็นสำคัญ
จากตรงนี้จะเห็นถึงประปรีชาสามารถในการปกครองและสร้างความมั่นคงให้เกิดในการปกครองบ้านเมือง กล่าวคือ ไม่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ประชาชนและข้าราชการปรับตัวไม่ทัน อาจเกิดการแข็งข้อขัดขืนจากผู้เสียอำนาจ เป็นต้น หรือไม่เรียนแปลงในลักษณะที่ช้าเกิดไป ซึ่งจะทำให้เกิดภัยคุกคามจากชาติตะวันตก
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560
Security
"... ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู เอาธงเปนหมอกหว้าย
เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู แสนผีพึงยอมท้าวฯ
เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู หันย้าวปู่สมิงพลาย
เจ้าหลวงผากลายช่วยดูฯ
ดีร้ายบอกคนจำ ผีพรายผีชรหมื่นคำช่วยดู
กำรูคลื่นเปนเปลว บ่ซื่อน้ำตัดคอฯ
ตัดคอเรวให้ขาด บ่ซื่อล้าออเอาใส่เล้าฯ
บ่ซื่อนำอยาดท้องเปนรุง บ่ซื่อหมาหมีหมูเข่นเขี้ยว
เขี้ยวชาชแวงยายี ยมราชเกี่้ยวตาตคาวช่วยดูฯ
ชื่อทุณพีตัวโตรด ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
เคล้าเคลื่อกเปลวลาม สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดูฯ..."
บางส่วนจาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ"
ความมั่นคงของมนุษย์ คือ การที่บุคคลแต่ละคนได้รับความเท่าเที่ยมกันใรเรื่อหลักประกัน สิทธิ ความปลอดภัยและโอกาสในการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีปราศจากความกลัวและความขาดแคลนอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกี่ยรติและมีศักดิ์ศรี
องค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้
- ความมั่นคงด้านสุขภาพ หมายถึง การที่มนุษย์มีความสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านอาหาร หมายถึงสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ เหมาะสม มีประโยชน์และปราศจากโทษ
- ความมั่นคงด้านการศึกษา หมายถึง การเข้าถึงบริการด้านการศึกษาพื้นฐานของรัฐในทุกรูปแบบ (ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย) โดยครอบคลุมองค์กรความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มนุษย์จำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจเพื่อการดำรงชีวิตอย่างสอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากการครอบงำ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านศาสนาและความเชื่อ หมายถึง การดำรงชขีวิตของมนุษย์โดยมีหลักธรรม คำสอนที่มนุษย์ยึดถือศรัทธา
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านที่อยู่อาศัย หมายถึง การที่มนุษย์สามารถใช้ชีวิตส่วนตัวในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความมั่นคง และปลอดจากการไล่รื้อ ไล่ออก หรือการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของความสัมพันธ์ที่มนุษย์ต้องกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่แวดล้อม และเป็นผลต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และธรรมชาติส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ ธรรมชาติที่แวดล้อมดังกล่าวต้องปลอดจากสิ่งปนเปื้อน และปลอดจากการถูกทำลาย
- ความมั่นคงของบมนุษย์ส่วนบุคคล หมายถึง ความมั่นคงปลอดภัยจากความรุนแรงทางกายภาพ และภัยคุกคามจาปัจจัยทั้งปวงที่มีต่อบุคคล ได้แก่ การประทุษร้าย อาชญากรรม การทำงาน อุบัติเหตุ และภัยคุกคามจากตนเอง เช่น การทำร้ายเด็ก การข่มขืน การทรมานร่างกาย การใช้สารเสพติด และการฆ่าตัวตาย (ภัยคุกคามต่อตนเอง) เป็นต้น
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านครอบครัว หมายถึง การที่มนุษย์มีสิทธิและความชอบธรรมตามกฎหมายของบุคคลในการตัดสินใจเลือกคู่และเลือกมีทายาทด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ทั้งนี้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่อันเหมาะสมที่พึงปฏิบัติต่อกัน โดยมี การให้คำปรึกษาแนะนำทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการครองคู่ ในกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งกัน ย่อมมีสิทธิรับคำปรึกษา แนะนำ และความช่วยเหลือจาหน่วยงานที่เชียวชาญเฉพาะเพื่อให้เกิดความมั่นคงในครอบครัวในานะที่เป้นสภาบันพื้ฐ.านของสังคม และการปลอดจากการคุกคาม ครอบงำจากสมาชิกในครอบครัว
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านชุมชน หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ในกลุ่มคนแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีการติดต่อสัมพันะ์กันในช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องโดยการดำรงอยู่นั้นสามารถคงความเป็นอัตลักษณ์ของตน มีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรี ตลอดจนปลอดจากภาวะคุกคามและครอบงำจากสมาชิกชุมชน กรณีมีความขัดแย้งใช้การแก้ปัญหาอย่างสันติ
- ความมั่นคงของมนุษย์ด้านการเมือง หมายถึง การที่มนุษย์สามารถดำรงชีวิตในสังคมโดยมีสิทธิ โอกาส และศักดิ์ศรีในการเข้าถึงอำนาจการตัดสินใจ และากรรับผลประโยชน์สาธารณะ โดยปลอดจากกรคุกคาม ครอบงำจากผู้มีอำนาจและอิทธิพลอื่นๆ
นักวิชาการกล่าวว่า ความมั่นคงของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีมาตรการและกลไกดูแลคุ้มครองดังนี้
การพัฒนาสังคม เป็นการพัฒนาทุกส่วนของสังคมให้เข้มแข็งและมีคุณภาพ
สวัสดิการสังคม เพื่อช่วยเหลือให้ทุกคนในสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ได้มาตรฐาน
ป้องกัน คนในสังคมอาจจะมีปัญหา/ความยากลำบากต้องป้องกัน เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ
คุ้มครอง มองว่า คนจะเจอภัยพิบัติอะไรบ้าง จะต้องมีการคุ้มครองเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ
รองรับ เป็นที่มาของแนวคิดโครงข่างความคุ้มครองทางสังคมว่าแม้จะมีมาตรการทั้ง 4 อย่างข้างต้นแล้วก็อาจมีคนตกหลุมทางสังคม เช่น ปรับโครงสร้างการผลิต การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ จึงต้องมีการรองรับทางสังคม นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการและกลไกเพิ่มเติมอีก ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งต้องมีความมั่นคงทางสังคม ในความหมายใหม่จะเชื่อมโยงกับความมั่นคงของคน
อาจกล่าวได้ว่าความมั่นคงของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประการ คือความปลอดภัยจากสภาพปัญหาเรื้อรัง เช่นความหิวโหยโรคภัยการปิดกั้นสิทธิ เป็นต้น และ ประการที่สอง การได้รับการปกป้องจากากรที่แบบแผนการดำเนินชีวิตต้องถูกทำให้ยุติโดยฉับพลัน และสภาพขอวสิ่งรบกวนหรือความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน และทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ที่ทำงานตลอดจนชุมชน
ภาวะการเสูญเสียความมั่นคงของมนุษย์นั้น อาจเกิดจากแรงบีบคั้นจากภัยธรรมชาติหรือการดำเนินนโยบายที่ผิดในการบริหารประเทศ หรืออาจเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง อย่างไรก็ตามพึงตระหนักว่า เรื่องความมัี่นคงของมนุษย์นั้น ไม่สามารถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือมีความเทียบเท่ากันกับเรื่องการพัฒนามนุษย์ ทั้งนี้เพราะในขณะที่เรื่องการพัฒนามนุษย์เป็นเรื่องของการให้มนุษย์นั้นมีชีวิตอยู่ในวันนี้ มีสิทธิเสรีภาพที่พึงมีพึงได้และมีความมั่นใจว่าจะไม่สูญเสียสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตัวเชื่อมโยงระหว่างสองเรื่องนี้ คือการยะกระดับทางโอกาสของมนุษย์ แต่ความล้มเหลวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นได้ อาทิ หากการพัฒนามนุษย์ที่ล้มเหลวนำมาซึ่งความยากจน โรคภัย ความหิวโหยของชุมชน ความขัดแย้งทางเชื่อชาติซึ่งจะร้างให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงของมุษย์ตามมาอีกด้วย
การสร้างความมั่นใจในความมั่นคงของมนุษย์นั้น จึงไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะรับผิดชอบในการสร้างโอกาสและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่หมายถึงการที่ประชาขชนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับแบกภาระอันเหนื่องมาจากการกดขี่และความไม่เป็นธรรมนั้นด้วย เพื่อช่วยกันสร้างให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น แนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์อีกประการหนึ่ง จึงให้น้ำหนักในเรื่องที่ประชาชนต้องสามารดูแลตนเองได โดยที่ประชาชนทุกคนควรมีโอกาส มีสิทธิในกาเข้าถึงิ่งที่มีความจำเป็นต่อตนเอง หรือมีความต้องการในการยังชีพ สามารถที่จะไ้รับความมั่นใจว่าชีวิต ชุมชน ประเทศชาติของตน และโลกนี้จะได้รับการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น ความมั่นคงของมนุษย์จึงมิได้เป็นเพียงเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันเท่านั้น แต่เป็นแนวคิดเชิงบูรณาการที่จะต้องคำนึกถึงประเด็นทั้งระดับประชาชนและระดับประเทศชาติ
ความมั่นคงของชาติ
ความมั่นคงของชาติคือ การดำรงอยู่ของประเทศอย่างสงบและปลอดภัยจากอันตรายทั้งภายในและภายนอกประเทศ พร้อมทั้งมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าทุกด้านความมั่นคงของชาติ จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอด ความสุขสงบ และความเจริญของประชาชนในชาติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องรู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติของตนเพื่อ
- ดำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งราชอาณาจักร
- ดำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
- เสริมสร้างสวัสดิภาพและความผาสุขของประชาชน
- พัฒนาพลังอำนาจของชาติ
เมื่อปรัชญาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานความจริง ความรู้ แนวการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาปรัชญาของชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะห้คนไทยรู้และเข้าใจพื้นฐานความจริงของชาติ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อทำให้คนในประเทศชาติรักและดำเนินชีวิตตามแนวทางที่จะเป็นไปเพื่อความสงบสุขเจริญรุ่งเรื่องยั่งยืนของชาติ และเมื่อเกิดปัญหาในชาติ มีผู้รู้เสนอแนวแก้ไขว่า "ต้องมุ่งไปที่รากฐานปรัชญาความคิดของคนในสังคม มากกว่าการแก้ไขเฉพาะพฤติกรรมหรือความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง" จากคำกล่าวนี้ การรักษาความมั่นคงของชาต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยปรัชญาเป็นพื้นฐาน ดังผู้รู้สรุปไว้ดังนี้
- การตั้งอุดมการณ์แห่งชาติต้องมีปรัชญาเป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่งยิ่งพทธปรัชญา
- การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ต้องนำทฟษฎีสมัยใหม่มาปรับให้เข้ากับลักษณะสังคมไทยและลักษณะนิสัยของคนไทย
- การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องอาศัยความคิดหลักร่วมกันของประชาชน กล่าวคือ ต้องสอดคล้องกับปรัชญาการดำรงชีวิตของคนไทย เพื่อประชาชนจะได้ให้การสนับสนุน หรือมีการรวมกลุ่มเพื่อประชาชนที่ถูกต้อง
- การดำเนินการหรือการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องยึดหลักคุณธรรมประจำชาติ มิใช่ใช้ความรุนแรงสถานเดียว
- การรักษาความมั่นคงของชาติ ต้องเกี่ยวพันกับปรัชญาและอุดมการณ์ของชาติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการของชาติ
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560
Secular...Sacred
วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย
ลักษณะทั่วไป เป้นวัฒนธรรมที่เกิดจากผลแห่งความเจริญทางสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมในระบบอุตสาหกรรม และสังคมที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจัดเป็นพฤติกรรมทางสังคมประเภทหนึ่ง ซึ่งแยกต่างหากจากศษสนา หรือตรงข้ามจากศาสนา หรือพฤิตกรรมอันแสดงให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้าน รูปแบบการดำเนินชีวิตขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในยุคก่อน พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตจะขึ้นอยู่กับอิทะิพลความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์เอง มนุษย์ถูกศาสนาควบคุมทุกกระบวนการ ศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ยังไม่มีโอกาสพัฒนาแนวความคิดของตนโดยการมีระบบความคิดที่เป็นอิสระ พฤติกรรมต่างๆ ของสังคมจึงขึ้นอยู่กับศาสนาโดยปริยายการพัฒนาสังคม ความเจริญทางโลก ทำให้มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ความเจริญด้านสติปัญญาของมนุษย์ก็ดี ความมีเหตุผลด้านความคิด ทำให้มนุษย์รู้จักคิดตามหลักเหตุผล รู้จักดันปแลงและปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น และในบางวัฒนธรรม ก็ถอนตัวเองออกจากค่านิยมเดิมเพื่อให้เป็นอิสระในการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันระบบทางศาสนา ก็ยังไม่มีการดัดแปลง หรือจะมีแต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ จนเกือบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งี้ขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นเหตุให้มนุษย์มองเห็นความล้าหลังของศาสนา อันกลายเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์นำไปเป็นแนวความคิดที่ดัดแปลงแก้ไขศาสนา อันเป็นเหตุให้เกิดความเชือ่ถือศาสนาในรูปนิกายใหม่ขึ้นมา
วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยเป็นข้อตกลงที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางของบรรดาพวกที่ศึกษาสังคมวิทยาศาสนาว่า เป็นแนวทางศษสนาที่มีขอบเขตหว้างขวางในสังคมระดับต่างๆ และยังเป็นการเสริมความเป็นคฤหัสถวิสัยในด้านกระบวนการที่มีความเป็นธรรมชาติของสากลจักรวาล และยังเป้นการลดความเชื่อถือด้านเทววิทยาและสิ่งลึกลับอีกด้วย
ความเป็นคฤหัสถวิสัย เป็นพฤติกรรมการดำรงบีพประเภทหนึ่งที่พยายามสลัดจากอิทธิพลศาสนา และเป็นวิะีการหนึ่งที่พยายามทำให้ปรากฎออกมาในวิถีทางต่างๆ โดย
- ทำลายความเชื่อในลักษณะให้คุณและโทษ ที่เีก่ยวกับสภาวะเหนือธรรมชาติที่เข้าครอบคลุมในทุกชวิตที่ผูกพันอยู่กับสังคมและศาสนา เช่น ไม่แสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ ก็ถือว่าไม่ก่อให้เกิดโทษภัยแต่ประการใด
- มีการเปลี่ยนบทบาทของศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านสาธารณศึกษา โดย พยายามสร้างบทบาทใหม่ทางศษสนาขึ้นมา เพื่อให้เกมาะสมกับสภาพการเปลียนแปลง
- ตัดอำนาจศาสนาที่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจหรือรัฐให้มากที่สุด โดยไม่ให้ศาสนาเข้าเกี่ยวข้อง
- ลดความเชื่อถือต่างๆ ทางศาสนาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับสภาวะเหนือธรรมชาติ
- พยายามสร้างแนวโน้มด้ารผลผลิตทางศาสนาให้ตรงกับเป้าหมายที่แท้จริง อันเป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศาสนา
- แยกประสบการณ์ความเคยชินขึ้นพื้นฐานทางศาสนาของมนุษย์ออกจากศาสนาให้มากขึ้น เช่น การเกิด การแต่งงาน และความตาย เป็นต้น โดยถือว่าภาวการณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องของสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ ไม่ใช่อิทธิพลที่เกิดจากความเชื่อของศาสนาโดยไร้เหตุผล
- มนุษย์จะผูกพันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมฝ่ายโลกียวิสัยมากขึ้น โดยมีค่านิยมแบบชาวบ้าน ความมีหน้ามีตา ความมีเกียรติจากสังคม เป็นต้น
ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อทางศาสนา จะมีแนวโน้มในด้านความมีเหตุผล และความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น โดย พยายามลดความเชื่อที่มีต่อสภาวะหนือธรรมชาติที่มีมาแต่เดิมออกไป ยึดเหตุผลประกอบความเชื่อ และถือเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมากขึ้น และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีกฎเกณฑ์มากขึ้นกว่าเดิม เข้าลักษณะตามหลักตรรกนิตินัย
ความหมายของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมของสังคมที่เกดขึ้นจากผลการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอิทธิพลวิวัฒนาการ อันสืบต่อพฤติกรรมติดตัวที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงและเป็นพฤติกรรมที่มักจะถูกนำมาใช้เสมอๆ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอีกด้วย
วัฒนธรรมประเภทนี้ เรามักเรียกกันเสมอว่าพฤติกรรมด้าน "โลกียวิสัย" อันหมายถึง รูปแบบพฤติกรรมด้านความเป็นอยู่แบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่ยแเด็ดขาดจากพฤติกรรมทางศาสนา มีรูปแบบตรงข้ามกับศาสนา หรือจะพูดอีกแบบหนึ่งก็ว่าวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม แม้จะแยกเด็ดขาดจากศาสนาแล้วก็ตาม แต่่ก็ยยังได้รับอิทธิพลจากสาถบันศาสนาและสัญลักษณ์ทางศษสนา จริงอยู่การแยกนั้น มิใช่จะจงใจยกเลิกวัฒนธรรมดั้งเเดิมเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ แต่เป็นการแยกโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำพฤติกรรมนั้น เป็นการแยกพฤติกรรมโดยการนำพฤติกรรมบางอย่างทางศาสนามาใช้ร่วมด้วยเพื่อเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม
ความเป็นไปด้านวัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยนั้น จะเป็นเรื่องที่ไม่ผูกพันกับศาสนาเลย แต่เป็นการดำเนินไปตามพัฒนาการในตัวของมันเอง การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยก็จริง แต่ก็ถือว่าศษสนาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมประเภทนี้สามารขยายตัวออไปอย่างหว้างขวาง นั่นคือวัฒนธรรมประเภทนี้ จะไม่ติดอยู่กับบทบาทของศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่เป็นตัวของตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจึงก้าวหน้าแพร่หลายออกไปโดยไม่หยุดยั้ง
สัญชาตญาณของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ยอมรับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับศาสนามาใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุดังนี้
- ต้องการความอยู่รอดของมนุษย์เอง ความอยู่รอดในสังคม มนุษย์จุพยายามที่จะหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสนองความประสงค์ของตน เช่น การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อให้ได้รับสิ่งทีพึงปรารถนาตามความต้องการของสังคม เป็นต้น
- ค่านิยมทางสังคม กิจการบางอย่างที่มนุษย์นำมาใช้ในสังคม วึ่งถือเป็นค่านิยมทางสังคม ดดยถือความมีหน้ามีตาอันเป็นที่ยอมรับกันภายในสังคมนั้นๆ เช่น การนิยมพระเครื่อง เครื่องรองของขลบังเป็นต้น
- ผลทางจิต มนุษย์เมื่อประสบปัญหาต่างๆ อาจหาทางออกโดยอาศัยผลจากการกระทำทางศาสนา เช่น การรดน้ำมนต์ การสะเดาะเคราะห์
- ผลตอบแทน สัญชาตญาฯของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่ได้รับผลสนองตอบต่อการกระทำของตนก็ดี คาดว่าจะได้รับก็ดี แทนที่จะถือว่าเป็นผลความสามารถของตน กลับยกให้สิ่งศักดิสิทธิที่ไม่สามารถมองเห็นตัว ให้เป็นผู้มีพระเดชพระคุณกับตน..
การเกิดวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย ถือว่าการเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เคยปฏิวัติมาในอดีต เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดการปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้น ขึ้นอยู่กับ
- พฤติกรรมดั้งเดิมของสังคม ถือเป็นตัวแบบทางพฤติกรรมประเภทหนึ่ง อันเกิดจาก พฤติกรรมติดตัว อันเป็นคามเคยชินที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว การเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมประเภทนี้ ถือว่าเป็นเองโดยธรรมชาติ หรอืเป็นสมาขิกโดยไม่รู้ตัว ค่านิยมเดิม โดยการยึดมั่นถือมั่นในค่านิยมดั้งเดิม จะโดยการมีทัศนคติหรือความเคยชินที่มีอยู่เดิมก็ตาม ถือว่าเป็นสาเหตุของวัฒนธรรมประเภทนี้ประการหนึ่ง พฤติกรรมสืบเนื่องระหว่างใหม่กับเก่า เป็นความสืบต่อระหว่างพฤติกรรมเก่ากับใหม่ โดยการถ่ายทอดกัน
- ความเปลี่ยนแปลงทางศษสนา ถือว่าศษสนาเป้นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ขึ้นอยู่กับ...ระบบศาสนา ซึ่งเป็นระบบดั้งเดิม และเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลง , ความเป็นไปภายในศษสนาเอง, ด้านคำสอน สาวกไม่พัฒนาคำสอนใหเข้ากัสวังคม, พฤติกรรมทางศาสนา ยังคงเป็นพฤติกรรมที่ติดในค่านิยมทางสังคมคือความศักดิ์สิทธิอยู่ อันขัดกับความเจริญของสังคม และความเป็นจริงของเหตุการณ์...นักบวชหรือสาวกในศษสนา ถือว่ามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือทัศนคติของสังคมมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มักจะมีสาเหตุจากความเป็นไปในศาสนา การแสดงพฤติกรรมของนักบวชหรือสาวกในศาสนานั้นๆ ยยังสมควรหรือเหมาะสมกับบทบาทหรือไม่ ความใจแคบของศาสนา มกเกิดจากการที่สมาชิกของศาสนาไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอันเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งเกิดจากความเจริญของสังคมเอง การไม่พัฒนาด้านต่างๆ ของศาสนา อันเกิดจาก ควาไม่สามารถถอยในภาวะผู้นำในสังคม โดยปล่อยให้ระบบศาสนาล้าหลัง ต้องเดินตามสังคม ความล้าหลังของระบบศาสนา การไม่พัฒนาศาสนาในด้านตางๆ ให้อยู่ในฐานะผู้นไสังคม ผู้นำศาสนายังติดในค่านิยมดั้งเดิมที่เคยได้รับมาในยังหนึ่ง แต่ความเจริญของสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งผิดตรงข้ามกับทางศาสนาที่ยังพอใจอยู่กับทัศนคติเดิม คือการรักษาบทบาทเก่า... สังคมภายนอก เป้นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่นแปลง โดยเข้าไปมีอิทธิพลในศาสนา การรับความเจริญจากภายนอก
การขยายตัวของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นผลจากความเจริญของสังคม มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทของตนเอง ทำให้สามารถปรับตัวเองและขยายบทบยาทให้กว้างขวางออกไป การที่วัฒนธรรมประเภทนี้ สามารถปรับตัวเอง ขยายบทบาทให้กว้างขวางก็ดี เกิดขึ้นจากการดำเนินตามระบบสังคมที่เป้นท้งด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิด และเปลี่ยนแปลงตัวสังคมเองดัวย
วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย
ลักษณะทั่วไป เป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่เกี่ยวกับความลึกลับหรือความศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นจากความเชื่อลักษณะที่มีความจงรักภักดีต่อศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบโดยเฉพาะของมันเอง มีความแตดต่างกันโดยรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับอิสรภาพของศาสนาแต่ละศาสนา วัฒนธรรมประเภทนี้ เป็นพฤติกรรมเฉพาะกลุ่มคำว่า บรรพชิตวิสัย แปลจาก Sacred ซึ่งหมายถึง ความศักดิ์สิทธิเป็นภาวะชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะเข้าถึงได้ผุ้จะเข้าถึงวัฒนธรรมประเภทนี้ จะต้องเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งถูกสมมติให้อยู่ในภาวะที่สามารถจะติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิประเภทนี้ได ซึ่งส่วนมากจะได้แก่พวกนักบวชในศาสนาเทวนิยม
นักวิชาการได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย โดยคำนึงถึงประสบการณ์ที่มีต่อมวลมนุษย์และยังได้จำแนกลักษณะอันเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวการสำคัญของวัฒนธรรมประเภทนี้ไว้หลายประการด้วยกัน คือ เป็ฯแง่คิดที่เกิดจากสิ่งที่ได้ประสบมา ซึ่งเนื่องด้วยการรับรู้ หรือความเชื่อในเรื่องอำนาจและพลัง บ่งลักษณะที่แสดงออกมาหลายนัยด้วยกัน ไม่ว่าการปสดงอออกมานั้น จะแสดงออกมาในด้านเอกอำนาจ หรือพหุอำนาจ มีลักษณะสำคัญที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอ๓ปรายไว้ว่ามักจะพบว่า ไม่เกี่ยวกับความจริง ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ไม่เกี่ยวกับความรู้ ..มีลักษณะสนับสนุนส่งเสริมตัวเองให้เข้มแข็ง เป็นการปลูกฝังอำนาจ หรือพลังจิตให้ผู้นับถือแเกิดความมั่นใจ ต้องการผู้เชื่อถือและเคารพบูชาที่ปรากฎอยู่ตามความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปอันเกี่ยวกับเกณฑ์ทางด้านศีลธรรม และอาณัติทางจริยธรรม
ความหมายของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย นักปราชญ์ทางสังคมวิทยาศาสนาได้อธิบายเพื่อเป็นแนวในการศึกษาดังนี้
- ศาสนาที่มัมพันธ์กับการขยายตัว นั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในประสบการณ์ของมนุษย์มากและยิ่งไปกว่านั้น ประสบการณ์ที่เป็นจุดขยายเหล่านี้เรามักจะเรียกกันว่า "ประสบกาณ์ทางศาสนา" โดยแสดงลักษณะออกมาในคุณลักษณะพิเศษ ที่สามารถบ่งถึงความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่มนุษย์มีอยู่ต่อวัฒนธรรมประเภทนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ ประเภทหนึ่ง นอกจากนี้ยังมุ่งที่ความขลังอันเป็นตัวการในการยึดถือด้านจิตใจที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น
- ทรรศนะทางจิตวิทยาให้นิยามไว้ว่า "กันไว้ต่างหาก เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง" ตามปกติเกี่ยวกับศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือขึ้นอยู่กับศรัทธา" ซึ่งตามทรรศนะนี้จะเห็ว่าวัฒนธรรมประเภทนี้ มุ่งไปที่ด้านจิตใจเป็นสำคัญ คือความเชื่อทางศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ด้านความศักดิ์สิทธิ เป็นสิ่งสำคัญ
- และในบางสมัยวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยยังมุ่งไปที่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิเป็นประการสำคัญ เพราะเป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมสำหรับนักบวชโดยเฉพาะ เป็นการรักษาสภานภาพทางศาสนาไว้เป็นประการสำคัญ
วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นวัฒนธรรมที่เน้นในด้านค่านิยมที่เกิดขึ้นทางจิตใจของมนุษย์โดยตรง โดยเน้นความผูกพันทางจิตใจด้านความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบต่างๆ ของมนุษย์เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เราเห็นว่า การยอมรับวัฒนธรรมประเภทนี้มากำกับพฤติกรรมนั้น เป้ฯการยอมรับรูปแบบขอฝวัฒนธรรมรูปแบบนี้ มาใช้เป้นตัวกำหนดค่านิยมทางสังคม
การนำมาใช้กับสังคม วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยนี้ ส่วนมากจะถูกนำมาใช้กับสังในหลายรูปแบบตามนัยแห่งพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ของสังคม โดยมีความมุ่งหมายที่ย้ำในเรื่องความศักดิ์สิทธิของศาสนาเป็นสำคัญ
- ด้านพฤติกรรม.. พิธีกรรม เป้ฯการแสดงออกทางพฤติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นตามลัทธิอันเป็นยอมรับนับถือกันในสังคมนั้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ .. ขนบธรรมเนียม เป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบ ซึ่งเป็นปบบอย่างที่นิยมกันในสังคมนั้นๆ จึงมักจะมีรูปแบบต่างกันตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์..ประเพณี มุ่งแบบแผนแห่งการแสดงออกเป็นประการสำคัญ.. วัฒนธรรม เป็นเรื่องการแสดงออกทางพฤติกรรมร่วมกันของสังคมนั้นๆ ... ศาสนพิธี เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่จัดทำขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือ เพื่อความขลังของลัทธิความเชื่อทางศาสนาของตน... สถานภาพและบทบาททางศาสนา เป้ฯรูปแบบของพฟติกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงออกตามสถานภาพของสมาชิกสังคม ในสังคมล้าหลัง สังคมกำลังพัฒนา ความเชื่อถือทางศาสนาจะเน้นหนักไปที่พิธีกรรม
- การปลอบประโลมใจ เมื่อมนุษย์มีปัญหาจะหาวิธีแก้ปัญหาซึงวิธีการแก้ปัญหาของมนุษย์มักจะเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ หรือบุคคลที่คิดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ของตนได้ เพื่อให้เกิดความเบาใจ ซึ่งวิธีกาเหล่านี้เช่น การระบายทุกข์ เช่นการสารภาพบาปกับนักบวช การปรึกษาหมอดูฯ การทำพิธีบางอย่าง เช่น การรดน้ำมนต์, การตั้งความหวังเป็นเป้าหมาย เช่นการตรวจโชคชะตา การสะเดาะเคราหะ์ ตลอดจนการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์บางประเภทฯ
- รักษาค่านิยม รักษาความศักดิ์สิทธิให้คงรูปแบบอยู่ตลอดไปเพื่อให้เป็นที่นิยมของสังคม, รักษาความสูงส่งด้านสถานภาพของผุ้รักษาค่านิยมของวัฒนธรรมประเภทนี้
ในการนำวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยมาใช้ในสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้คือ.. มักอ้างอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิที่ไม่สามารถจะมองเห็น โดยการสมมติสิ่งศักดิ์สิทธิขึ้นมาเป็นที่พึ่งทางใจ ยึดถือทางใจ มีการกำหนดพิธีกรรมขึ้น มีการคาดคะเนในลักษณะที่ว่าหากแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างนั้นแล้ว จะเกิดผลตอบสนองตามที่คาดคิด สร้างประเพณีขึ้นมาสร้างระบบพฤติกรรมหมู่ขึ้น โดยถือว่าการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ต้องมี้อกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสังคม โดยการกำหนดคุณหรือโทษขึ้นมา ผลการกระทำทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระเจ้าเบื้องบน มีความลึกลับ
รูปแบบของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นการแสดงออกในด้านความเคารพเชื่อถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ อันเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง ในที่นี้ขอจัดแบ่งรุปแบบแห่งความเชือที่ผูกพันต่อสิ่งศักดิ์สิทธิดังนี้
- ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับรูปเคารพ
- ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับวิญญาณ
- ความเชื่อในเรื่องสภาวะเหนือธรรมชาติ
การเกิดวัฒรธรรมบรรพชิตวิสัย มีขึ้นหลายลักษณะดังนี้
- สภาวะเหนือธรรมชาติ มนุษยุ์อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมอันเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ และเมื่อไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมนั้น เมื่อถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมครอบคลุมอยู่ จึงคิดว่าอิทธิพลเหล่านั้นเป็นทิพยอำนาจที่คอยบันดาลให้เป็นไป ตนจึงได้รับอิทธิพลเหล่านั้น
- ความเชื่อที่มีอยู่เดิม เป็นความเชื่อถือที่ฝังติดอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความจงรักภักดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ ยากต่อการดัดแปลงแก้ไขหากจะมีการแก้ไข ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน จึงถือเป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความเคยชขินที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย
- ทัศนคติ เป็นปฏิกิริยาที่ส่งผลด้านบวกในรูปของการยอมรับผลอันนั้น ทัศนคตินี้เป็นตัวการที่ยอมรับพฤติกรรมนั้นๆ
- ค่านิยม เป็นการยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง การเกิดวัฒนธรรมรูปนี้ เป็นการเกิดโดยการปลูกฝังเพื่อให้เกิดความเคยชิน อันจะเป็นพฤติกรรมที่จะใช้เป็นปทัสถานทางสังคมต่อไป
- ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นการแสดงออกไโดยปราศจากกฎเกณฑ์บังคับเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็พยายามสร้างกฎเกฑณ์ขึ้นมา โดยไม่ต้องคำนึงว่ากฎเกณฑ์นั้นถูกต้องหรือชอบธรรมหรือไม่
- การแสวงหาความอยู่รอด เป็นการเกิดวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยรูปแบบนี้ ไม่คำนึงถึงเหตุผล แต่คำนึงถึงความศักดิ์สิทธิที่เกิดจากความเชื่อว่าจะต้องปลอดภัย
- การหวังผลตอบแทน เป็นการแสดงออกโดยหวังผลจากการกระทำนั้นๆ เป็นประการสำคัญ ไม่ว่าผลนั้นๆ จะปรากฎในรุปแบบใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้ เป็นการตั้งความหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนั้น
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
Belife
ความเชื่อ : การยอมรับว่าสิงใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือการมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน
ความเชื่อทางศาสนา เป็นลักษณะประจำของมนุษย์อย่างที่มีปรากฎอยู่ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้ว หรือสังคมที่กำลังเจริญ ทั้งเพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึค่งมีสภาพอันเป็นไปตามลักษณะ : เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สำหรับผุ้นับถือศาสนาประเภทเทวนิยม, เกี่ยวกับเหตุผล อันเกิดจากความนึกคิดของนักคิดและักปราชญ์ต่างๆ ในด้านเหตุผลสำหรับผู้นับถือศาสนาประเภทอเทวนิยม ฉะนั้นศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์ความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา ในการศึกษาอันจะเป็นการช่วยในการสาวถึงต้นตอของเหตุเกิดศาสนาต่างๆ ได้
ตามปกติเรื่องควาเชื่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของทุกคน ซึ่งจะผูกพันธอยู่กับความรู้สึกทั่วๆ ไป แต่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ดังนั้น ความเชื่อทางศาสนาจึึงมีผ้ให้ลักษณะ ดังนี้
- เป็นการเเสดงออกตาททัศนาคติทีมนุษ์มีต่อสิ่งที่เคาพรนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาที่มนุษย์ยอมรับเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตน ในลักาณะของกรแสดงออกาทางพฤติกรรมอันเกี่ยวกับความเชื่อศาสนานั้นๆ ซึ่งการแสดงออกตามลักาณะต่างๆ ที่ถือว่าเป็นการแสดงออกตามทรรศนะต่อสิ่งนั้นๆ มักเรียกว่า โลกทรรศน์ คือ การจัดประเภทความเชขื่อตามทรรศนะชาวโลกอกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1. โลกทรรศน์ตอสิ่งที่อยู่ภายนอก เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในศาสนาต่างๆ โดยกายอมรับในเรื่องอำนาจของพระเจ้า เช่น เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากพระเจ้า เป็นต้น โลกทรรศน์ประเภทนี้ มีปรากฎในระบบความเชื่อต่อสิ่งที่พ้นวิสัยของเรา
2. โลกทรรศน์ต่อรูปแบบ มีความเชื่อต่อรุปแบบทางศาสนาในลักษณะต่างๆ เช่น การเชื่อในจารีต ขนบประเพณีและวัฒนธรรม อันเกิดจากอิทธิพลทางศาสนา เป้ฯ้จ
3. โลกทรรศน์ต่อตัวเอง เป็นระบบความเชื่อต่อผลการกระทำของตนเอง โดยถือว่าปรากฎการณ์ทุกอย่างเกิดจากการกระทำ ไม่ใช่การบันดาล หรือการสร้างสรรค์จาสิ่งศักดิ์สิทธิ แม้ตัวของเราเองก็เหมือนกัน จะได้รับผลจากการกระทำของเราเอง โลกทรรศน์ประเภทนี้ เป้ฯการปฏิเสธความเชื่อเรพื่องพระเจ้าสร้างโลก
4. โลกทรรศน์ทางวิชาการ เป็นระบบความเชื่อต่อผลแห่งความเป็นจริง โดยถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องได้รับการพิสุจน์ให้เห็นจริงก่อนจึงเชื่อถือได้ โลกทรรศน์ประเภทนี้ มักเป็นความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งก่อนจะเชื่ออะไรมักจะทดลองด้วยตนเองก่อน
- ตามปกติความเชื่อทางศษสนา จัดเป็นภาวะทางจิตมจของมนุษย์ประเภทหนึ่งซึ่งถือความสำคัญที่ศาสนาเป็นเกณฑ์ โดยย้ภถึงผลอันเหิดจากความเชื่อทางศาสนา ในลักาณะที่ว่า ศาสนาที่ประโยชน์ในทางปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก ปราชญ์ถือว่าชีวิตมนุษย์ย่อมมีปัญหาทางจิตนานาประการ ศาสนาช่วยเหลือทางจิตใจได้มาก คำสอนทางศาสนาจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ปราชญ์ถือว่ามนุษย์สามารถยังชีวิตอยู่ได้โดยดีพอควร นอกจานี้ ความเชื่อทางศาสนายังก่อใหเกิดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นศาสนาเหรือพิธีกรรม ต่างล้วนเกิดจากการที่นนุษย์ไม่มีความแน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้น เรื่องความเชื่อทางศาสนา จึงเป้นปรากฎการณ์ทางจิตของมนุษย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ยอมรับมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แต่ละศาสนากำหนดไว้
- เน้นในด้านศีลธรรมจรรยา โดยเฉพาะอย่างยิงศาสนา เราถือกันว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับการควบคุมทางศีลธรรมและจัดระบบต่างๆ ทางจริยธรรมโดยเพ่ิมกฎเกณฑ์ด้านการปฏิบัติเข้ามาด้วย ยิ่งกว่านั้น ศาสนาต่างๆ ของโลกหลายศาสนา เช่น ฮินดู พุทธ ขงจื้อ ยูดาย คริสเตียน และโมฮัมหมัด ยังเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า เป็นแหนกลางของระบบทางศีลธรรมอีกด้วย กันทำให้สังคมต่างๆ มีรูแปบบทางพฟติกรรมปรากฎเด่นชัดขึ้นมา เป็นเวลาหลายศตวรรษ
ความเชื่่อ เป็นปรากฎการณ์ทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปรากฎแก่ทุกคนในสังคม ทางจิตวิทยาถือว่าความเชื่อเป็นทัสนคติประเภทหนึ่ง อันเป็นการแสดงถึงความพร้อมของจิตใจ และประสาทที่เกิดจากประสบการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลในการสนองตอบต่อสิ่งต่างๆ หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่เีก่ยนวข้อง นอกจานั้น ทัศนคติจัดเป็นภาวะทางจิตหน่วยหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่ง และในกรณีที่ไม่มีอิทธิพลตจากทัศนคติอื่นไ ประกอบกับบุคคลนั้นอยู่ในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับทัสนคตินั้นแล้ว ก็จะสามารถคาดพฤติกรรมได้ เพราะว่าพฤติกรรมเป็นผลโดยตรงจากทัสนคตินั้น แต่จะอย่างก็ดี ความเชื่อทางศาสนา ก็จัดเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ อันเป็นพฤติกรรมปกปิด ลักษณะของความเชื่อ
- ความเชื่อัดเป็นทัศนคติอย่างหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสำนึก ความรู้สึกว่าสภาวะความเป็นจริงของมนุษย์ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือทัศนคติ และแยกออกต่างหากจากสิ่งศักดิ์สิทธิอันตั้งอยู่บนทัศนคติเฉพาะตัว 2 ประการด้วยกัน คือ ความเชื่อ เป็นการยอมรับตามความรู้แจ่แจ้งในบางสิ่งบางอย่างว่าเป็นความจริง อันแสดงถึงความเชื่ออย่างหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับศรัทธาและ พิธีกรรม เปนหารปสดงออกอันเนื่องมาจากผลแห่งความเชื่อถือ จัดเป็นอาการแห่งการจัดบริการทางศาสนา
- ความเชื่อถือนั้นจัดเป็นหน้าที่สากล การพิสูจน์ความลึกลับกับอำนาจภายนอกความเชื่อนั้น เราอาจจะลบล้างออกไปหรือปรบให้คลาดไปจากเดิมได้ ปรากฎการณ์บางอย่างของมนุษย์ เช่น ความทุกข์ทรมานใจก็ดี การได้รับความเจ็บป่วยในชีวิตประจำวันอย่าวสม่ำเสมอก็ดี การที่มนุษย์ยอมรับและปฏิเสธสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ปรากฎเสมอๆ
- ความเชื่อก็ดี ความนับถือก็ดี จะมีต่อสิ่งใดๆ ก็ตาม ถือว่ามีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ การที่จะมีความเชื่อและนับถือต่อสิ่งใดๆ นั้น จะต้องมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย ซึ่งได้แก่การมีศรัทธา ต่อสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงต้องขึ้นอยู่กับศรัทธาด้วย
ความหมายของความเชื่อ อาจแยกความเชื่อออกตามความหมายต่างๆ คือ
- ความเชื่อเป็นภาวะหรือนิสัย อันเป็นปรากฎการณ์ทางจิตใจของมนุุษย์อย่างหนึ่ง ที่มีความไว้วางใจหรือไว้เนื้อเชื่อใจ โดยหมดความคลางแคลงสงสัย หรือการคาดหมายที่แน่นอน ที่มีต่อบุคคลบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง
- ความเชื่อนั้นจัดเป็นการได้รับความเชื่อถือซึ่งได้แก่ลัทธิ หรือตัวความเชื่อถือเอง อันเป็นยึดถือโดยการยอมรับของกลุ่ม
- เป็นเรื่องของการมีความเชื่อมั่น ต่อความจริง โดยการเห็นประจักษ์แจ่มแจ้ง หรือปรากฎตามความเป็นจริงบางประการเกี่ยนวกับความแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือได้ฝังรากลงไปย่างมั่นคงแล้ว ความหมายของความเชื่อดังกล่าวข้างต้น หากจะกล่าวอีกนั้ยหนึ่งแล้ว จะมีความหมายในลักาณะที่ว่า ความเชื่อนั้นจัดว่าเป็นการมีศรัทธาต่อศาสนาอย่างมั่นคง, มีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริง ต่อความเป็จริง หรือความดีเด่นของบางสิ่งบางอย่าง, เป็นความคิด- สมมติ ในรูป : ยอมรับความจริงหรือสูงค่า , ถือเป็นทรรศนะอย่างหนึ่ง
ความเชื่อถือนั้น จัดเป็นการมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เชื่อถือนั้น โดยการยอมรับสิ่งนั้นๆ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวประจำใจอย่างสนิทใจ ฉะนั้น ความเชื่อถือ จึดจัดเป็นทัศนคติที่ดีประการหนึ่งที่มีต่อสิ่งที่เคารพนับถือ ตามลักษณะนี้ จะเห็ว่าการที่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นเครื่องยึดเหนียวทางจิตใจนั้น ถือว่าเป็นการยอมรับโดยหมดความสงสัย ให้ความไว้วางใจในสิ่งนั้นๆ ฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นการแสดงออกทางจิตใจของมนุษย์อย่างเต็มใจ
ความเชื่อทางศาสนา เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความต้องที่จะหาสิ่งมาบำรุงใจประการหนึ่งความเชื่อทางศาสนานั้น ถือเป็นทัศนคติที่ดีต่อศาสนา ซึ่งพยายามหาทางที่จะอธิบายถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ และการถือกำหเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับกันโดยประยายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีอยู่และปรากฎออกมาใน 2 สถานะ
- สถานะแรก มีทัศนะว่าโลกนี้ปรากฎอยู่เนหือเหตุผล ที่เรามักพูดกันว่า โลกนี้มีรูปร่างเหมือนอะไร
- สถานะที่สอง ให้ความหมายว่า ความเชื่อถือทางศาสนานั้น จะบอกเราได้ว่า ธรรมชาิตของสิ่งต่างๆ เหล่าานั้นคืออะไร และสิ่งศักดิ์สิทธิเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับโลกเหนือเหตุผลอย่งไร
อีกทรรศนะหนึ่งว่า ความเชื่อทางศาสนา เป็นมิติด้านความรู้สึก ที่มีต่อศาสนา โดยมนุุษย์อาศัยความเชื่อนั้นมาอธิบายธรรมชาติและแหล่งกำเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ และสรุปเอาง่ายๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ยังคมมีชีวิตอยู่ ซึ่งความเชื่อทางศาสนาจะเป้นไปใน 2 ลักษณะ คือ บ่งถึงโลกที่อย่เหนือเหตุผล และความเชื่อทางศาสนานี้จะบอกเราทำนองเดียวกันว่าธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ นั้น ได้แก่อะไร และสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับโลกเหนือเหตุผลอย่างไร
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเชื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วย ได้แก่
- ศรัทธา เป็นเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล และปัญญาเป็ฯตัวการสำคัญ จัดเป็นความเชื่อที่มนุษย์เห็ฯแจ้งประจักษ์ตามจริง สำคัญมากกว่าปัจจัยอย่างอื่นเพราะเป็นเรื่องของความสมัครใจของแต่ละบุคคล
- ความจงรักภักดี เป็นความเชื่อที่อยู่เหนือศรัทธามากกว่าเห็นแจ้งประจักษ์ตามความเป็นจริง ไม่เกี่ยวกับเหตุผล แต่เป็นความเชื่อที่ยอมอยู่ภายใต้ออำนาจของสิ่งนั้นๆ นั่นก็คือเนื้อหาสาระของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์จะพึงหวังได้จากภาษาพระคัมภีร์ความปรากฎชัดของสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ปรากฎจากศาสนา
ความเชื่อทางศาสนา เป็นลักษณะประจำของมนุษย์อย่างที่มีปรากฎอยู่ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจริญแล้ว หรือสังคมที่กำลังเจริญ ทั้งเพราะศาสนาเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง ซึค่งมีสภาพอันเป็นไปตามลักษณะ : เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สำหรับผุ้นับถือศาสนาประเภทเทวนิยม, เกี่ยวกับเหตุผล อันเกิดจากความนึกคิดของนักคิดและักปราชญ์ต่างๆ ในด้านเหตุผลสำหรับผู้นับถือศาสนาประเภทอเทวนิยม ฉะนั้นศาสนาทั้งเทวนิยมและอเทวนิยม เมื่อว่าโดยสรุปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์ความเชื่อทางศาสนาอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณา ในการศึกษาอันจะเป็นการช่วยในการสาวถึงต้นตอของเหตุเกิดศาสนาต่างๆ ได้
ตามปกติเรื่องควาเชื่อ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตใจของทุกคน ซึ่งจะผูกพันธอยู่กับความรู้สึกทั่วๆ ไป แต่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ดังนั้น ความเชื่อทางศาสนาจึึงมีผ้ให้ลักษณะ ดังนี้
- เป็นการเเสดงออกตาททัศนาคติทีมนุษ์มีต่อสิ่งที่เคาพรนับถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาที่มนุษย์ยอมรับเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตน ในลักาณะของกรแสดงออกาทางพฤติกรรมอันเกี่ยวกับความเชื่อศาสนานั้นๆ ซึ่งการแสดงออกตามลักาณะต่างๆ ที่ถือว่าเป็นการแสดงออกตามทรรศนะต่อสิ่งนั้นๆ มักเรียกว่า โลกทรรศน์ คือ การจัดประเภทความเชขื่อตามทรรศนะชาวโลกอกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1. โลกทรรศน์ตอสิ่งที่อยู่ภายนอก เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในศาสนาต่างๆ โดยกายอมรับในเรื่องอำนาจของพระเจ้า เช่น เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากพระเจ้า เป็นต้น โลกทรรศน์ประเภทนี้ มีปรากฎในระบบความเชื่อต่อสิ่งที่พ้นวิสัยของเรา
2. โลกทรรศน์ต่อรูปแบบ มีความเชื่อต่อรุปแบบทางศาสนาในลักษณะต่างๆ เช่น การเชื่อในจารีต ขนบประเพณีและวัฒนธรรม อันเกิดจากอิทธิพลทางศาสนา เป้ฯ้จ
3. โลกทรรศน์ต่อตัวเอง เป็นระบบความเชื่อต่อผลการกระทำของตนเอง โดยถือว่าปรากฎการณ์ทุกอย่างเกิดจากการกระทำ ไม่ใช่การบันดาล หรือการสร้างสรรค์จาสิ่งศักดิ์สิทธิ แม้ตัวของเราเองก็เหมือนกัน จะได้รับผลจากการกระทำของเราเอง โลกทรรศน์ประเภทนี้ เป้ฯการปฏิเสธความเชื่อเรพื่องพระเจ้าสร้างโลก
4. โลกทรรศน์ทางวิชาการ เป็นระบบความเชื่อต่อผลแห่งความเป็นจริง โดยถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องได้รับการพิสุจน์ให้เห็นจริงก่อนจึงเชื่อถือได้ โลกทรรศน์ประเภทนี้ มักเป็นความเชื่อของนักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งก่อนจะเชื่ออะไรมักจะทดลองด้วยตนเองก่อน
- ตามปกติความเชื่อทางศษสนา จัดเป็นภาวะทางจิตมจของมนุษย์ประเภทหนึ่งซึ่งถือความสำคัญที่ศาสนาเป็นเกณฑ์ โดยย้ภถึงผลอันเหิดจากความเชื่อทางศาสนา ในลักาณะที่ว่า ศาสนาที่ประโยชน์ในทางปลอบประโลมใจในยามทุกข์ยาก ปราชญ์ถือว่าชีวิตมนุษย์ย่อมมีปัญหาทางจิตนานาประการ ศาสนาช่วยเหลือทางจิตใจได้มาก คำสอนทางศาสนาจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม แต่ปราชญ์ถือว่ามนุษย์สามารถยังชีวิตอยู่ได้โดยดีพอควร นอกจานี้ ความเชื่อทางศาสนายังก่อใหเกิดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นศาสนาเหรือพิธีกรรม ต่างล้วนเกิดจากการที่นนุษย์ไม่มีความแน่ใจในเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้น เรื่องความเชื่อทางศาสนา จึงเป้นปรากฎการณ์ทางจิตของมนุษย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ยอมรับมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แต่ละศาสนากำหนดไว้
- เน้นในด้านศีลธรรมจรรยา โดยเฉพาะอย่างยิงศาสนา เราถือกันว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับการควบคุมทางศีลธรรมและจัดระบบต่างๆ ทางจริยธรรมโดยเพ่ิมกฎเกณฑ์ด้านการปฏิบัติเข้ามาด้วย ยิ่งกว่านั้น ศาสนาต่างๆ ของโลกหลายศาสนา เช่น ฮินดู พุทธ ขงจื้อ ยูดาย คริสเตียน และโมฮัมหมัด ยังเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่า เป็นแหนกลางของระบบทางศีลธรรมอีกด้วย กันทำให้สังคมต่างๆ มีรูแปบบทางพฟติกรรมปรากฎเด่นชัดขึ้นมา เป็นเวลาหลายศตวรรษ
ความเชื่่อ เป็นปรากฎการณ์ทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีปรากฎแก่ทุกคนในสังคม ทางจิตวิทยาถือว่าความเชื่อเป็นทัสนคติประเภทหนึ่ง อันเป็นการแสดงถึงความพร้อมของจิตใจ และประสาทที่เกิดจากประสบการณ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลในการสนองตอบต่อสิ่งต่างๆ หรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่เีก่ยนวข้อง นอกจานั้น ทัศนคติจัดเป็นภาวะทางจิตหน่วยหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่ง และในกรณีที่ไม่มีอิทธิพลตจากทัศนคติอื่นไ ประกอบกับบุคคลนั้นอยู่ในเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับทัสนคตินั้นแล้ว ก็จะสามารถคาดพฤติกรรมได้ เพราะว่าพฤติกรรมเป็นผลโดยตรงจากทัสนคตินั้น แต่จะอย่างก็ดี ความเชื่อทางศาสนา ก็จัดเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ อันเป็นพฤติกรรมปกปิด ลักษณะของความเชื่อ
- ความเชื่อัดเป็นทัศนคติอย่างหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์และความสำนึก ความรู้สึกว่าสภาวะความเป็นจริงของมนุษย์ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือทัศนคติ และแยกออกต่างหากจากสิ่งศักดิ์สิทธิอันตั้งอยู่บนทัศนคติเฉพาะตัว 2 ประการด้วยกัน คือ ความเชื่อ เป็นการยอมรับตามความรู้แจ่แจ้งในบางสิ่งบางอย่างว่าเป็นความจริง อันแสดงถึงความเชื่ออย่างหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับศรัทธาและ พิธีกรรม เปนหารปสดงออกอันเนื่องมาจากผลแห่งความเชื่อถือ จัดเป็นอาการแห่งการจัดบริการทางศาสนา
- ความเชื่อถือนั้นจัดเป็นหน้าที่สากล การพิสูจน์ความลึกลับกับอำนาจภายนอกความเชื่อนั้น เราอาจจะลบล้างออกไปหรือปรบให้คลาดไปจากเดิมได้ ปรากฎการณ์บางอย่างของมนุษย์ เช่น ความทุกข์ทรมานใจก็ดี การได้รับความเจ็บป่วยในชีวิตประจำวันอย่าวสม่ำเสมอก็ดี การที่มนุษย์ยอมรับและปฏิเสธสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ปรากฎเสมอๆ
- ความเชื่อก็ดี ความนับถือก็ดี จะมีต่อสิ่งใดๆ ก็ตาม ถือว่ามีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งนั้นๆ การที่จะมีความเชื่อและนับถือต่อสิ่งใดๆ นั้น จะต้องมีปัจจัยเป็นเครื่องช่วย ซึ่งได้แก่การมีศรัทธา ต่อสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความเชื่อจึงต้องขึ้นอยู่กับศรัทธาด้วย
ความหมายของความเชื่อ อาจแยกความเชื่อออกตามความหมายต่างๆ คือ
- ความเชื่อเป็นภาวะหรือนิสัย อันเป็นปรากฎการณ์ทางจิตใจของมนุุษย์อย่างหนึ่ง ที่มีความไว้วางใจหรือไว้เนื้อเชื่อใจ โดยหมดความคลางแคลงสงสัย หรือการคาดหมายที่แน่นอน ที่มีต่อบุคคลบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง
- ความเชื่อนั้นจัดเป็นการได้รับความเชื่อถือซึ่งได้แก่ลัทธิ หรือตัวความเชื่อถือเอง อันเป็นยึดถือโดยการยอมรับของกลุ่ม
- เป็นเรื่องของการมีความเชื่อมั่น ต่อความจริง โดยการเห็นประจักษ์แจ่มแจ้ง หรือปรากฎตามความเป็นจริงบางประการเกี่ยนวกับความแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือได้ฝังรากลงไปย่างมั่นคงแล้ว ความหมายของความเชื่อดังกล่าวข้างต้น หากจะกล่าวอีกนั้ยหนึ่งแล้ว จะมีความหมายในลักาณะที่ว่า ความเชื่อนั้นจัดว่าเป็นการมีศรัทธาต่อศาสนาอย่างมั่นคง, มีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริง ต่อความเป็จริง หรือความดีเด่นของบางสิ่งบางอย่าง, เป็นความคิด- สมมติ ในรูป : ยอมรับความจริงหรือสูงค่า , ถือเป็นทรรศนะอย่างหนึ่ง
ความเชื่อถือนั้น จัดเป็นการมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เชื่อถือนั้น โดยการยอมรับสิ่งนั้นๆ มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวประจำใจอย่างสนิทใจ ฉะนั้น ความเชื่อถือ จึดจัดเป็นทัศนคติที่ดีประการหนึ่งที่มีต่อสิ่งที่เคารพนับถือ ตามลักษณะนี้ จะเห็ว่าการที่ยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นเครื่องยึดเหนียวทางจิตใจนั้น ถือว่าเป็นการยอมรับโดยหมดความสงสัย ให้ความไว้วางใจในสิ่งนั้นๆ ฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นการแสดงออกทางจิตใจของมนุษย์อย่างเต็มใจ
ความเชื่อทางศาสนา เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความต้องที่จะหาสิ่งมาบำรุงใจประการหนึ่งความเชื่อทางศาสนานั้น ถือเป็นทัศนคติที่ดีต่อศาสนา ซึ่งพยายามหาทางที่จะอธิบายถึงปรากฎการณ์ธรรมชาติ และการถือกำหเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับกันโดยประยายว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีอยู่และปรากฎออกมาใน 2 สถานะ
- สถานะแรก มีทัศนะว่าโลกนี้ปรากฎอยู่เนหือเหตุผล ที่เรามักพูดกันว่า โลกนี้มีรูปร่างเหมือนอะไร
- สถานะที่สอง ให้ความหมายว่า ความเชื่อถือทางศาสนานั้น จะบอกเราได้ว่า ธรรมชาิตของสิ่งต่างๆ เหล่าานั้นคืออะไร และสิ่งศักดิ์สิทธิเหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับโลกเหนือเหตุผลอย่งไร
อีกทรรศนะหนึ่งว่า ความเชื่อทางศาสนา เป็นมิติด้านความรู้สึก ที่มีต่อศาสนา โดยมนุุษย์อาศัยความเชื่อนั้นมาอธิบายธรรมชาติและแหล่งกำเนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ และสรุปเอาง่ายๆ ว่าสิ่งเหล่านี้ยังคมมีชีวิตอยู่ ซึ่งความเชื่อทางศาสนาจะเป้นไปใน 2 ลักษณะ คือ บ่งถึงโลกที่อย่เหนือเหตุผล และความเชื่อทางศาสนานี้จะบอกเราทำนองเดียวกันว่าธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ นั้น ได้แก่อะไร และสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับโลกเหนือเหตุผลอย่างไร
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเชื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วย ได้แก่
- ศรัทธา เป็นเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล และปัญญาเป็ฯตัวการสำคัญ จัดเป็นความเชื่อที่มนุษย์เห็ฯแจ้งประจักษ์ตามจริง สำคัญมากกว่าปัจจัยอย่างอื่นเพราะเป็นเรื่องของความสมัครใจของแต่ละบุคคล
- ความจงรักภักดี เป็นความเชื่อที่อยู่เหนือศรัทธามากกว่าเห็นแจ้งประจักษ์ตามความเป็นจริง ไม่เกี่ยวกับเหตุผล แต่เป็นความเชื่อที่ยอมอยู่ภายใต้ออำนาจของสิ่งนั้นๆ นั่นก็คือเนื้อหาสาระของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์จะพึงหวังได้จากภาษาพระคัมภีร์ความปรากฎชัดของสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่ปรากฎจากศาสนา
วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559
Religious Behavior
พฤติกรรมทางศาสนา เป็นพฤติกรรมร่วม หรือพฤติกรรมกลุ่ม อันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อทางศาสนาร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะและวัตถุประสงค์ฯ ร่วมกันเพื่อการใดการหนึ่ง ในการร่วมพฤติกรรมทางศาสนากันนี้ ผู้ร่วมแสดงพฤติกรรมทางศาสนาแต่ละท่านอาจจะมีอายุ เพศ และลักษณะอื่นๆ อย่างเดียวกันก็มี ต่างกันก็มี ..
พฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมานั้น จัดเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงออกตามประสบการณ์ทางศาสนาที่มนุษย์ยอมรับนับถืออยู่ ซึ่งมีทั้งศาสนาที่ปรากฎในสังคมที่เจิรญแล้ว และสังคมที่บยังด้อยความเจริญ อาทิสังคมของคนบางกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อถื่อที่สังคมนั้นๆยอมรับกันอยู่การแสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนานั้น ก็จัดเป็นพฤติกรรมทางศาสนาเช่นกัน
"พฤติกรรม" เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกเมื่อสิ่งเร้ามากระทบอันเป็ฯการแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนทางศษสนาได้เมื่องกล่าวถึงศาสนาอันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อของมนุษย์
"พฤติกรรม" มีความหมายไปได้หลายลักษณะด้วยกัน แต่มีลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก ก็คือการพูดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดย "การกระทำ" หรือ "แสดงออก" อย่างใดอย่างหนึ่ง
การกระทำก็ดี การแสดงออกก็ดี ถือว่าเป็นการแสดงให้ปรากฎจนติดเป็นนิสัยหรือเคยชินอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้นๆ เช่น การแสดงออกทางอิริยาบถต่างๆ ของมนุษย์ พฤติกรรมนั้นเป็นเพียงอาการกระทำที่แสดงออกให้ปรากฎเท่านั้น ซึ่งการกระทำที่แสดงออกมานี้ เป็นผลที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในอันเกิดจากการเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น เมื่อเป็นดังนี้ พฤติกรรมทางศาสนาจึงจัดเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเดียวกันหรือพฤติกรรมร่วม ซึ่งเป็นเรื่องของคนหมู่มาก ที่ผู้แสดงพฤติกรรม เหล่านั้นต่างมีจิตร่วมในพฤติกรรมเดียวกัน
ดังนั้นการแสดงออกที่เป็นพฤติกรรทางศาสนา จึงต้องมีรูปแบบของพฤติกรรมที่แสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนารูปแบบของพฤติกรรมตามลักษณะนี้ เรามักเรียกกันว่า "วัฒนธรรม" ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งทางสังคม
พฤติกรรม - วัฒนธรรม : ประเภทของพฤติกรรม การที่มนุษย์อยู่ร่วมในสังคมจั้น จำต้องมีสื่อความหมายสำหรับสังคม เพื่อที่จะให้สมาชิกของสังคมได้รู้จักเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ โดยมีกระบวนการแสดงออกในรูปแบบอันสมาชิกแต่ละสังคมจะเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ ได้ ลักษณะอย่างนี้ จัดเป็นพฤติกรรมการที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น จำต้องมีรูปแบบสำหรับการนั้นโดยเฉพาะ รูปแบบทางพฤติกรรมก็ดี ผลิตผลของพฤติกรรมก็ดี เราเรียกว่า วัฒนธรรม สำหรับพฤติกรรมนั้น มีลักษณะที่พอแยกเป็นประเภทตามลักษณะได้ 2 ประการได้แก่
- พฤติกรรมปกปิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยจะเปิดเผยให้ปรากฎภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายภาพ เชน การคิดวางโครงการอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมประเภทนี้เป็นพฤติกรรมที่รู้เฉพาะตัวบุคคล
- พฤติกรรมแบบเปิดเผย เป้ฯพฤติกรรมที่ปรากฎให้บุคคลอื่นๆ เห็นได้ เช่น การอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ พฤติกรรมที่บุคคลอื่นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ จะอย่างก็ตาม วัฒนธรรมนั้นถื่อว่่าเป็นแบบอย่างแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากผลิตผลของพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา ฉะนั้น ทางสังคมศาสตร์จึงจัดวัฒนธรรมเป็นพฤติกรรม เพราะถือว่าการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง
วัฒนธรรม : ผลิตผลจาพฤติกรรม ดังที่ทราบแล้วว่า พฤติกรรมเป็นการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลิตพลแห่งการแสดงออกนั้น จัดเป็นวัฒณธรรม โดยมีการจัดประเภทออกตามลัษณะของวัฒนธรรม คือ
- ภาษาพูด หมายรวมทั้งภาษาและวรรณคดี
- สิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุ แบ่งเป็น อาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การคมนาคมและขนส่ง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาวุธยุทธภัณฑ์, อาชีพและอุตสาหกรรม
- ศิลปะ แบ่งออกเป็น การแกะสลัก, ระบายสี, วาดเขียน, ดนตรีฯ
- นิยายปรัมปราและความรู้วิทยาการต่างๆ นิทานพื้นบ้านเป็นต้น
- การปฏิบัติทางศาสนา แบ่งออกเป็น แบบพิธีกรรม, การปฏิบัติต่อคนเจ็บ, การปฏิบัติต่อคนตาย
- ครอบครัวและระบบทางสังคม แบ่งเป็น การแต่งงาน, วิธีนับวงศ์ญาติ, การรับมรดก, เครื่องควบคุมทางสังคม (ระเบียบข้อบังคับ), กีฬาและการละเล่นต่างๆ
- ทรัพย์สมบัติ จัดแยกตามประเภทเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ (สังหาริมทรัยพ์)และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (อสังหาริมทรัพย์), มาตรฐานการตีราคาและแลกเปลี่ยน, การค้า,
- รัฐบาลและการปกครอง แบ่งออกเป็น รูปแบบทางการเมือง, กระบวนการทางการเมือง
- การสงคราม ระบบของสงคราม ขั้นตอนในการสงคราม
ประเภทของวัฒนธรรม การจัดประเภทของวัฒนธรรมคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่ปรากฎเป็นสำคัญ การจัดประเภทวัฒนธรรมจึงมีรูปลักษณ์เป็น วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรม เช่น รูปเคารพทางศาสนา สิ่งของเครื่องใช้ อาคาร เป็นต้น และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ความคิด คติธรรมเป็นต้น
วัฒนธรรมในรูปของปทัสถานทางสังคม พฤติกรรมทางศาสนาเป็นการแสดงออกด้านความเชื่อถือศาสนา ซึ่งเรามักจะประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จริงอยู่ แม้ว่าพฤติกรรมนั้นจะเกิดจากการแสดงออกให้ปรากฎ จะโดยอัตโนมัติ หรือแรงกระตุ้นจาสิ่งเร้าก็ตาม ถือเป็นพฤติกรรม มีรูปแบบแตกร่างกันออกไปตามการยอมรับของสังคม มีรูปแบบ 3 รูปแบ ด้วยกันคือ
1. ขนบธรรมเนียม จัดเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่ง อันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม มีลักาณะ ดังนี้ พูดถึงนิสัยของคนส่วนใหญ่ในสังคม มักจะปรากฎเฉพาะเขตวัฒฯธรรมใตวัฒณธรรมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่มากมาย แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม, เป็นเรื่องของบุคคลที่จะพึงปฏิบัติ ต่อกันตามกาลโอกาสที่เหมาะสมอันเป้ฯแบบความประพฤติที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติ ต่อกันส่วนบุคคล อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ที่บุคคลเพียง 2-3 คนจะพึงปฏิบัติต่อกันตามโอกาสและสถานะ, เป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามความเคยชิน หากจุมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำผิดขนบธรรมเนียมบ้าง คนอื่นมักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง และมักจะไม่มีการทำโทษ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคลมิใช่เป็นเรื่องส่วนรวมสังคมไม่ได้รับความเสียหาย, จัดเป็นวัฒนธรรมรูปหนึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องการปฏิบัติตนในทางสวนตัว หรือเป็นเรื่องของบุคคลที่ปฏิบัติต่อกันเป็นส่วนบุคคล และบุคคลในสังคมได้ยอมรับและปฏิบัติกัน, อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียม ยังเป็นสัญลักษณ์บอกความเป็นพวกเป็นกลุ่มเกี่ยวกันของผู้ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมเดียวกัน และขนบธรรมเนียมองแต่ละสังคมยังเกิดขึ้นโดยความเคยชิน มีเหตุผลเฉพาะตัว และยังไม่เป็นการบีบบังคับจิตใจสมาชิกอีกด้วย
2. วิถีประชา เป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในสังคมหนึ่ง และมักจะถือกันว่าเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่เหมาสมโดยสังคมนั้นๆ จะอย่างไรก็ดี โดยการใช้ประโยชน์ทั่วไป วิถีประชามักจะถือกันว่ามีผลบังคับน้อยกว่าจารีต วิถีประชาจัดเป็นการดำเนินชีวิตหรือความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยหนึ่งๆ ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นธรรมเนียมประเพณีอย่างนั้น โดยคำนึงถึงความเหมาะความควรเป็นสำคัญ สิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติ แต่ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนก็ไม่มีการลงโทษอย่างรุนแรงแต่อย่างใดเพราะวิถีประชานั้นไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคม, กล่าวกันว่าวิถีประชานั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครวางแผน เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นในการอยู่รอด วิธีปฏิบัติต่างๆ เมื่อได้ผลก็มีคนปฏิบัติตาม และมีการสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไป วิถีประชาชนมนุษย์ มักผิดแปลกไปตามเป่าพันธุ์และสถานที่อยุ่ ที่เป็นเช่นนี เพราะแต่ละชนชาติได้ค้นพบวิธีการต่อสู้หรือการครองชีวิต เมื่อได้พบวิธีดังกล่าวนั้นแล้ว ก็มักไม่ยอมเปลี่ยน วิถีประชาชขนคนบางชาติพันธุ์จึงคงที่อยู่เป็นเวลานาน วิถีประชาของสังคมใหม่มักเปลี่ยนได้ง่ายกว่า วิถีประชา ได้แก่การปฏิบัติและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันทั่วๆ ไปหากไม่ปฏิบัติตามแล้วก็มีการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การถูกกีดกันหรือไม่ยอมรับเข้าเป็นพวกด้วย
3. จารีต เป็นปทัสถานทางสังคมรูปหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องต้องห้ามในสังคม คือจารีต เป็นข้อบังคับที่มีผลสะท้อนรุนแรงมากหากไม่กระทำตา มีลักษณะคือ เป็นขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสวัสดการ หรือความปลอดภัยของกลุ่มชน จัดเป็นข้อผูกพันและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับค่านิยมในสังคม, มักฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของสมาชิกในสังคม ซึ่งมีข้ำกำหนดตัวลงไปว่าอะไรถูกหรือผิด อะไรเป็นบุญหรอืบาป โดยไม่ต้องบอกเหตุผล ดังนั้น จารีตจึงเกี่ยวกันกับชีวิตทางอารมณ์คนเรามาก จารีตมีปรากฎในทุกสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคม ในการผ่าผืนจารีต มักมีโทษในลักษณะเป็นโทษทางสังคม เช่นการถูกประณาม, โทษจากบ้านเมือง หรือการได้รับโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐ, โทษเกิดจากความสำนึกนำ เช่นความละอายฯ , โทษบางประเภทที่ไม่รุนแรงนัก เช่นการกล่าวตักเตือนจากสังคม
พฤติกรรมทางศาสนาที่แสดงออกมานั้น จัดเป็นปรากฎการณ์ที่แสดงออกตามประสบการณ์ทางศาสนาที่มนุษย์ยอมรับนับถืออยู่ ซึ่งมีทั้งศาสนาที่ปรากฎในสังคมที่เจิรญแล้ว และสังคมที่บยังด้อยความเจริญ อาทิสังคมของคนบางกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อถื่อที่สังคมนั้นๆยอมรับกันอยู่การแสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนานั้น ก็จัดเป็นพฤติกรรมทางศาสนาเช่นกัน
"พฤติกรรม" เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกเมื่อสิ่งเร้ามากระทบอันเป็ฯการแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกระบวนทางศษสนาได้เมื่องกล่าวถึงศาสนาอันเป็นการแสดงออกตามความเชื่อของมนุษย์
"พฤติกรรม" มีความหมายไปได้หลายลักษณะด้วยกัน แต่มีลักษณะหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก ก็คือการพูดถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดย "การกระทำ" หรือ "แสดงออก" อย่างใดอย่างหนึ่ง
การกระทำก็ดี การแสดงออกก็ดี ถือว่าเป็นการแสดงให้ปรากฎจนติดเป็นนิสัยหรือเคยชินอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้นๆ เช่น การแสดงออกทางอิริยาบถต่างๆ ของมนุษย์ พฤติกรรมนั้นเป็นเพียงอาการกระทำที่แสดงออกให้ปรากฎเท่านั้น ซึ่งการกระทำที่แสดงออกมานี้ เป็นผลที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในอันเกิดจากการเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น เมื่อเป็นดังนี้ พฤติกรรมทางศาสนาจึงจัดเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาเดียวกันหรือพฤติกรรมร่วม ซึ่งเป็นเรื่องของคนหมู่มาก ที่ผู้แสดงพฤติกรรม เหล่านั้นต่างมีจิตร่วมในพฤติกรรมเดียวกัน
ดังนั้นการแสดงออกที่เป็นพฤติกรรทางศาสนา จึงต้องมีรูปแบบของพฤติกรรมที่แสดงออกตามความเชื่อถือทางศาสนารูปแบบของพฤติกรรมตามลักษณะนี้ เรามักเรียกกันว่า "วัฒนธรรม" ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งทางสังคม
พฤติกรรม - วัฒนธรรม : ประเภทของพฤติกรรม การที่มนุษย์อยู่ร่วมในสังคมจั้น จำต้องมีสื่อความหมายสำหรับสังคม เพื่อที่จะให้สมาชิกของสังคมได้รู้จักเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ โดยมีกระบวนการแสดงออกในรูปแบบอันสมาชิกแต่ละสังคมจะเข้าใจสื่อความหมายนั้นๆ ได้ ลักษณะอย่างนี้ จัดเป็นพฤติกรรมการที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น จำต้องมีรูปแบบสำหรับการนั้นโดยเฉพาะ รูปแบบทางพฤติกรรมก็ดี ผลิตผลของพฤติกรรมก็ดี เราเรียกว่า วัฒนธรรม สำหรับพฤติกรรมนั้น มีลักษณะที่พอแยกเป็นประเภทตามลักษณะได้ 2 ประการได้แก่
- พฤติกรรมปกปิด เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยจะเปิดเผยให้ปรากฎภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกายภาพ เชน การคิดวางโครงการอย่างใดอย่างหนึ่ง พฤติกรรมประเภทนี้เป็นพฤติกรรมที่รู้เฉพาะตัวบุคคล
- พฤติกรรมแบบเปิดเผย เป้ฯพฤติกรรมที่ปรากฎให้บุคคลอื่นๆ เห็นได้ เช่น การอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ พฤติกรรมที่บุคคลอื่นสามารถรู้เห็นและเข้าใจได้ จะอย่างก็ตาม วัฒนธรรมนั้นถื่อว่่าเป็นแบบอย่างแห่งพฤติกรรมอันเกิดจากผลิตผลของพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา ฉะนั้น ทางสังคมศาสตร์จึงจัดวัฒนธรรมเป็นพฤติกรรม เพราะถือว่าการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง
วัฒนธรรม : ผลิตผลจาพฤติกรรม ดังที่ทราบแล้วว่า พฤติกรรมเป็นการแสดงออกตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลิตพลแห่งการแสดงออกนั้น จัดเป็นวัฒณธรรม โดยมีการจัดประเภทออกตามลัษณะของวัฒนธรรม คือ
- ภาษาพูด หมายรวมทั้งภาษาและวรรณคดี
- สิ่งที่เกี่ยวกับวัตถุ แบ่งเป็น อาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การคมนาคมและขนส่ง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องมือเครื่องใช้, อาวุธยุทธภัณฑ์, อาชีพและอุตสาหกรรม
- ศิลปะ แบ่งออกเป็น การแกะสลัก, ระบายสี, วาดเขียน, ดนตรีฯ
- นิยายปรัมปราและความรู้วิทยาการต่างๆ นิทานพื้นบ้านเป็นต้น
- การปฏิบัติทางศาสนา แบ่งออกเป็น แบบพิธีกรรม, การปฏิบัติต่อคนเจ็บ, การปฏิบัติต่อคนตาย
- ทรัพย์สมบัติ จัดแยกตามประเภทเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ (สังหาริมทรัยพ์)และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (อสังหาริมทรัพย์), มาตรฐานการตีราคาและแลกเปลี่ยน, การค้า,
- รัฐบาลและการปกครอง แบ่งออกเป็น รูปแบบทางการเมือง, กระบวนการทางการเมือง
- การสงคราม ระบบของสงคราม ขั้นตอนในการสงคราม
ประเภทของวัฒนธรรม การจัดประเภทของวัฒนธรรมคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่ปรากฎเป็นสำคัญ การจัดประเภทวัฒนธรรมจึงมีรูปลักษณ์เป็น วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรม เช่น รูปเคารพทางศาสนา สิ่งของเครื่องใช้ อาคาร เป็นต้น และวัฒนธรรมทางอวัตถุ เช่น ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ความคิด คติธรรมเป็นต้น
วัฒนธรรมในรูปของปทัสถานทางสังคม พฤติกรรมทางศาสนาเป็นการแสดงออกด้านความเชื่อถือศาสนา ซึ่งเรามักจะประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จริงอยู่ แม้ว่าพฤติกรรมนั้นจะเกิดจากการแสดงออกให้ปรากฎ จะโดยอัตโนมัติ หรือแรงกระตุ้นจาสิ่งเร้าก็ตาม ถือเป็นพฤติกรรม มีรูปแบบแตกร่างกันออกไปตามการยอมรับของสังคม มีรูปแบบ 3 รูปแบ ด้วยกันคือ
1. ขนบธรรมเนียม จัดเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่ง อันเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม มีลักาณะ ดังนี้ พูดถึงนิสัยของคนส่วนใหญ่ในสังคม มักจะปรากฎเฉพาะเขตวัฒฯธรรมใตวัฒณธรรมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่มากมาย แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม, เป็นเรื่องของบุคคลที่จะพึงปฏิบัติ ต่อกันตามกาลโอกาสที่เหมาะสมอันเป้ฯแบบความประพฤติที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติ ต่อกันส่วนบุคคล อันเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม ที่บุคคลเพียง 2-3 คนจะพึงปฏิบัติต่อกันตามโอกาสและสถานะ, เป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามความเคยชิน หากจุมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำผิดขนบธรรมเนียมบ้าง คนอื่นมักจะไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง และมักจะไม่มีการทำโทษ เพราะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคลมิใช่เป็นเรื่องส่วนรวมสังคมไม่ได้รับความเสียหาย, จัดเป็นวัฒนธรรมรูปหนึง ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องการปฏิบัติตนในทางสวนตัว หรือเป็นเรื่องของบุคคลที่ปฏิบัติต่อกันเป็นส่วนบุคคล และบุคคลในสังคมได้ยอมรับและปฏิบัติกัน, อย่างไรก็ดี ขนบธรรมเนียม ยังเป็นสัญลักษณ์บอกความเป็นพวกเป็นกลุ่มเกี่ยวกันของผู้ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมเดียวกัน และขนบธรรมเนียมองแต่ละสังคมยังเกิดขึ้นโดยความเคยชิน มีเหตุผลเฉพาะตัว และยังไม่เป็นการบีบบังคับจิตใจสมาชิกอีกด้วย
2. วิถีประชา เป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่ประพฤติปฏิบัติกันในสังคมหนึ่ง และมักจะถือกันว่าเป็นวิถีแห่งการกระทำบางสิ่งบางอย่างที่เหมาสมโดยสังคมนั้นๆ จะอย่างไรก็ดี โดยการใช้ประโยชน์ทั่วไป วิถีประชามักจะถือกันว่ามีผลบังคับน้อยกว่าจารีต วิถีประชาจัดเป็นการดำเนินชีวิตหรือความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยหนึ่งๆ ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นธรรมเนียมประเพณีอย่างนั้น โดยคำนึงถึงความเหมาะความควรเป็นสำคัญ สิ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติ แต่ถ้าหากผู้ใดฝ่าฝืนก็ไม่มีการลงโทษอย่างรุนแรงแต่อย่างใดเพราะวิถีประชานั้นไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคม, กล่าวกันว่าวิถีประชานั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครวางแผน เกิดขึ้นด้วยความจำเป็นในการอยู่รอด วิธีปฏิบัติต่างๆ เมื่อได้ผลก็มีคนปฏิบัติตาม และมีการสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไป วิถีประชาชนมนุษย์ มักผิดแปลกไปตามเป่าพันธุ์และสถานที่อยุ่ ที่เป็นเช่นนี เพราะแต่ละชนชาติได้ค้นพบวิธีการต่อสู้หรือการครองชีวิต เมื่อได้พบวิธีดังกล่าวนั้นแล้ว ก็มักไม่ยอมเปลี่ยน วิถีประชาชขนคนบางชาติพันธุ์จึงคงที่อยู่เป็นเวลานาน วิถีประชาของสังคมใหม่มักเปลี่ยนได้ง่ายกว่า วิถีประชา ได้แก่การปฏิบัติและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันทั่วๆ ไปหากไม่ปฏิบัติตามแล้วก็มีการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การถูกกีดกันหรือไม่ยอมรับเข้าเป็นพวกด้วย
3. จารีต เป็นปทัสถานทางสังคมรูปหนึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องต้องห้ามในสังคม คือจารีต เป็นข้อบังคับที่มีผลสะท้อนรุนแรงมากหากไม่กระทำตา มีลักษณะคือ เป็นขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสวัสดการ หรือความปลอดภัยของกลุ่มชน จัดเป็นข้อผูกพันและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับค่านิยมในสังคม, มักฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของสมาชิกในสังคม ซึ่งมีข้ำกำหนดตัวลงไปว่าอะไรถูกหรือผิด อะไรเป็นบุญหรอืบาป โดยไม่ต้องบอกเหตุผล ดังนั้น จารีตจึงเกี่ยวกันกับชีวิตทางอารมณ์คนเรามาก จารีตมีปรากฎในทุกสังคม ซึ่งขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคม ในการผ่าผืนจารีต มักมีโทษในลักษณะเป็นโทษทางสังคม เช่นการถูกประณาม, โทษจากบ้านเมือง หรือการได้รับโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐ, โทษเกิดจากความสำนึกนำ เช่นความละอายฯ , โทษบางประเภทที่ไม่รุนแรงนัก เช่นการกล่าวตักเตือนจากสังคม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...