์Nation Security and King

           เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยจากประเทศต่างๆ ในยุโรปด้วพระองค์เอง และจากประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้รับเมื่อครั้งอยู่ต่างประเทศ จึงมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางการปกครองประชาชนของพระองค์ด้วยทั้งสองพระองค์ 
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ ที่ทรงอยู่ในฐานะของผู้นำประเทศ โดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนทุกคน ทั้งนี้เพราะอำนาจในการปกครองแผ่นดินของพระมหากษัตริย์นั้น ได้มาจากการที่ประชาชนแต่ละคนยอมสละอำนาจของตนมอบให้แก่พระมกากษัตริย์ ที่จะใช้อำนาจนั้นปกครองประเทศเพื่อความเจริญของส่วนรวม
            ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็ฯระบอบประชาธิปไตย ในต้นปี 2475 แต่คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง...

 "ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง 
ใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้อง 
ตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล
และหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด
ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้น ในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จสละราชอำนาจ
อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แกราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า
ให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"

                                                                                    พระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
                                                                                                              2 มีนาคม 2477

       คณะราษฎรประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างทหารกับพลเรือน และทหารด้วยกันเอง ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคประชาธิปไตยแบบไทยๆ กึ่งเผด็จการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและสับสน ล่วงเข้า
รัชสมัยรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ก็ถูกปลงพระชนน์และโยงเข้าหาการเมือง  นายปรีดี พนมยงค์ได้เสนอพระอนุชาขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกัน พร้อมเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง การฉวยโอกาส กับคำกล่าวที่ว่า ปรีดี ฆ่าในหลวง..ทำให้ไม่ยึดมั่นในสัจจะ กลายมาเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในการขึ้นสู่อำนาจนับแต่นั้นมา..
            การเมืองไทยจึงเป็นการแก่งแย่งอำนาจระหว่างผ่ายกลุ่มผู้นำในคณะราษฎร์ และมีการแก่งแย่งชิอำนาจระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและไม่มั่นคงทางการเมือง เมื่อฝ่ายพลเรือนถูกผลักออกมานอกวงการเมือง ผู้นำฝ่ายทหารเองก็แก่งแย่งอำนาจการปกคอรงในยุคต่อมา โดยมีพลเรือนอยู่รอบนอก
           การปกครองของไทยนั้น การเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือระบอบการปกครองไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และนักการเมือง หรืออาจกล่าวได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคือปัญหาของคุณภาพของการเป็นคนของแผ่นดิน
          ในวันที่ 5 พฤษภาคน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพระราชลพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ทรงพระรชาทางพระปฐมบรมราชโองการว่า
                       " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม"
          5 เมษายน พ.ศ. 2525 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในการพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ว่า
                       " การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอัน
สำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาด สามารถและสุจริตเป็นธรรมแล้วยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทังประเทศด้วย คือ ประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวาย สร้างสรรค์
ประโยชน์และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแต่ฐานะของตนๆ คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่ 4 ปรการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ รู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ควาททุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝั่งูและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์.."
             12 มิถุนายน 2549 ทรงดำรัสตอบผุ้เผ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคึล ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 
                       " คุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคีที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกัน และรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง
                         ประการแรก คือการที่ทุกคนคิดพูดทำด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกายต่อใจต่อกัน
                         ประการที่ 2 คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสานงานประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
                         ประการที่ 3 คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
                          ประการที่ 4 คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคึงอยู่ในเหตุผล หากความคิดจิตใจและการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอบเดียวกัน ในทางที่ดีที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกายในใจคนไทย ก็มั่นใจว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ไปได้"
                 และทรงมีพระราชดำรัชตอนหนึ่ง ที่ตรัสขอบพระทัยพระราชอาคันตุกะที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นังอนันตสมาคม ในวันเดียวกันนั้นว่า
                          " ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวแก่ทุกท่านว่า การทำนุบำรุงประเทศชาตินั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของผุ้หนึ่งผุ้ใดโดยเฉพาะหากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่ต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อธำรงและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจิรญมั่นคงแลผาสุกร่มเย็นข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นเดี่ยวกันกับคนไทยทั้งมวล จึงของขอบใจทุกๆ คน ที่ต่างพยายามกระทำหน้าที่ของตน ด้วยเต็มกำลังความสามรถ"
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบาย ทำให้ไทยเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลก จนกระทั่ง "พระประมุขและพระราชวงศ์จากราชอาณาจักรตา่งๆ เสด็จมาประชุม ณ ราชอาณาจักรไทยโดยพร้อมเพรียงกัน สิ่งนั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึค่งที่จะเกื้อกูลให้สัมพันธภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างราชตระกูล และความร่วมมือระหว่างตาชตระกูล ปละราชอาณาจักรทั้งปวงดำรงมั่นคง ทั้งเจริญงอกงามและแน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป " ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะทรงเป็นผุ้แทนพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างผระเทศ ได้ถวายพระพรชยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมมโหฆาร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 มีใจความว่า " ข้าพระองค์ องค์พระประมุข และพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ ได้มาพร้อมเพรียงกัน ณ ที่นี้ ก็เพื่อถวายพระพรแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ ผู้เป็นที่รักของพระองค์ด้วยความเคารพ ชืนชมในพระบารมีล้นพ้น ตลอดจนเพื่อความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน
             60 ปี ที่พระองค์ทรงครองสิริรราชสมบัติ มิได้เป็นเพียง 60 ปี ในประวัติศาสาตร์ของชาติไทย แต่เป็น 60 ปี ที่ประวัติศาสตร์ของเราทุกคน เป็นประวัติศาสตร์ที่ประสบทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งร้าย ทั้งความปลื้มปิติ และความโศกเศร้า ทั้งเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดี และเรื่องที่น่าสิ้นหวังและทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชปรีชาญาณ พระสติปัญญา พระวิริยะ อุตสาหะ ตลอดจนความองอาจและกล้าหาญที่พระองค์ทรงมีอยู่อย่างท่วมท้น ในการนำประเทศให้พ้นภัย พรเปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจให้แก่ประชาชนของพระองค์ตลอดมา.. 
            วันนี้ ประชาคมโลกต่างตระหนักถึงความสำเร็จทั้งหลายทังปวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หม่อมฉัน องค์พระประมุขและพระราชาอาคันตุกะทุกพระองค์ ที่มาพร้อมเพียงกัน ณ ที่นี้ จึงมีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่องค์การสหประชาชาติทูลเหล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จอันสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ฝ่าพระบาท แต่หม่อมฉันตลอดจรองค์พระประมุขและพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาร่วมงานในวันนี้ ของวถายพระราชสมัญญาที่เรียบง่าย แต่มีค่า และสะท้อนถึงความรู้สึกของหม่อมฉันและทุกพระองค์ ณ ที่นี้ คือ ฝ่าพระบาททรงเป็นมิตรที่รัก และพึงเคารพอย่างที่สุดของพวกเรา"
       
                       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)