Spiritual Secutiry

            ความมั่นคงทางจิตใจ Spiritual Secutiry
            มาสโลว์ : ความต้องการความมั่นคง เป็นความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นอิสระจากความกลัว ขู่เข็ญ บังคับ จากผู้อื่นและสิ่งเเวดล้อม เป็นความต้องการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มกัน ซึ่งควงามต้องการประเภทนี้เป็นความต้องการตั้งแต่ทารกกระวัยชรา
            อมาร์ทยา เซน : ความมั่นคงทางด้านจิตใจนั้นสำคัญและมีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลกว่า 2,500 ปี พระพุทธเจ้าสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์พยายามหาเหตุแห่งความทุกข์และพยายามค้นหาหนทางเพื่อดับทุกข์ ซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงในระดับจิตใจ
            พระธรรมปิฎก : กล่าวไว้ว่า ความมั่นคงทางจิตใจนั้นเป็นความมั่นคงพื้นฐาน อยู่ในชุดความมั่นคงของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยความมั่นคงปลอดภัยทางด้านร่างกายที่จะเป็นฐานให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ ความมั่นคงทางจิตใจ และความมั่นคงทางสังคม ทั้งสามอย่างนี้เป็นพื้นฐานมาแต่เดิม ส่วนความมั่นคงด้านอื่นๆ มักจะเป็นของที่เพ่ิมขึ้นมาทีหลัง ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นเรื่องของจิตที่ลึกซึ้ง มักจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางศรัทธาโดยเฉพาะเรื่องทางศาสนา อาจแปลได้ว่าเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เมื่อพูดถึงในเรื่องทางพุทธต้องโยงมาหาปัญญา เพราะจิตใจจะมั่นคงแท้จริงต้องอาศยปัญญา สำหรับในความหมายของต่างชาติ เป็นเรื่องของการที่จิตใจมีที่พึ่งพำนัก มีที่ยึดเหนี่ยว มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งมีคุณความดีที่ทำให้เกิดความภูมิใจ
              นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายไว้อีกว่า ความมั่นคงทางจิตใจคือ ความรู้สึก อารมณ์ สภาพการณ์ที่บุคคลเชื่อมั่นต่อผลการปฏิบัติงาน มีความสุขที่ได้ปฏิบัติงานจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งไดแก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การยอมรับจากผู้อื่นและการยกย่องชม เชย หรือ หมายถึงสภาพจิตของบุคคลที่รู้สึกว่าปลอดภัย แน่ใจ ปราศจากความหวั่นไหว ไม่มีความเกรงกลัว หรือหวาดระแวง ไม่ลังเลหรือวิตกกังวล
             และยังมีคำที่มีลักาณะและความหมายใกล้เคียงกับความมั่นคงด้านจิตใจ ซึ่งได้แก่ ขวัญ morale มีผู้ให้ความหมายไว้ว่า ขวัญ คือ สภาพของจิตใจและอารมณ์ ซึ่งกระทบต่อความตั้งใจในการทำงาน ซึ่ผง
ผลกระทบนั้นจะมีต่อบุคคลและวัตถุประสงค์ขององค์กร
              กองวิชาการและแผน กรมประชาสงเคราะห์ : ขวัญ ในการปฏิบัติงาน เป็นสภาพทางจิตใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ท่าที ซึ่งมีลักษณะนามธรรมมองไม่เห็น แต่สมารถสังเกตได้จากการแสดงออกในรูปของการมีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
            ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นสภาพจิตใจ สภาพของอารมณ์และความรุ้สึกของบุคคล ซึ่งมีทังควมรู้สึกพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมปกติ หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรืออาจทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ โดยพฟติกรรมนี้แสดงออกได้ทั้งในขณะที่รู้สึกตัว สามารถควบคุมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ หรือแสดงออกโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวบุคคลและองค์การ
           ความมั่นคงทางจิตใจสามารถแสดงผลออกลัพท์ออกมาทางสุขภาพจิต จากข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนของมหาวิทยาลัยมหิดลได้เสนอว่า สุขภาพจิตเป็นสภวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจ มีการปรับ เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทำให้คนเราต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ซึ่ง สุขภาพจิตของคนเราก็ต้องมีการปรับ และเปลี่ยนแปลงตามด้วยเช่นกัน บุคคลใดที่สามารถปรับตัวได้ในสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยตนเองมีความสุข สามารถปรับปรุงเปลี่ยนสแปลงตนเองได้ตามสถานการณ์ด้วยเหตุด้วยผลอันเหมาะสม มีความยือหยุ่น ก็คือผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตดีเปรียบได้กับต้นไม่ที่รากเต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความมีเมตตา การให้อภัย ความอดทนและสำนึกในบุญคุณผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต จิตใจมั่นคง มีความรัก ก่อให้เกิดความไว้วางใจ กลายเป็นลำต้นที่แข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรร ได้รับการยอมรับ มีแรงจูงใจ พอใจ และรู้จักตนเองอย่างแท้จริง รู้รับผิดชอบ มีความสามารถใช้ศักยภาพของตนได้อย่างดี ทำประโยชน์ให้กับสังคม และมีความสุขในชีวิต
            ความเข้มแข้งทางใจ Resilience,Resiliency ในทางจิตวิทยา หมายถึงกระบวนการ หรือศักยภาพในทางบวกของบุคคลในการจัดการกับภาวะเครียดหรือความล้มเหลวของชีวิต ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับความรู้สึกอดทนและสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่คุณลักษณะเช่นนี้มีความหมายเป็นปัจจัยปกป้อง จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
           นอกจากนี้ความเข้มแข็งทางใจยังหมายถึง พฤติกรรมทางบวกที่บุคคลใช้ในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับความโชคร้าย หายนะ หรือความรู้สึกบาดเจ็บ หรือใช้เป็นการกล่าวถึงการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคโดยเกิดผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกได้โดยกายืนหยัดต่อสู้แม้อยู่ในภาวะเสียงหรืออันตรยสูง ความคงทนอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ใต้ภาวะกดดัน และความสามารถในการฟิ้นพลังอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บ รวมทั้งการที่บุคคลสามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตมาได้อย่างดี แม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค ต่างๆ นับประกาณ ซึ่งปัญหาต่างๆ หรือความโชคร้าย
            จรอทเบิร์ก : ความเข็มแข็งทางใจ หรือความยืนหยุ่นทางอารมณ์เป็นศักยภาพของบุคคล กลุ่มหรือชุมชนที่มีความสามารถในการฟื้นตัวการป้องกันความสูญเสีย การลดความรุนแรง และการผ่านพ้นจากการได้รับผลกระทบที่เกดจากภาวะบีบคั้นต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ด้วยดี
            เดเยอร์ : เป็นความสามารถหรือทักษะ ซึ่งสามารถพบได้ใน 3 มิติ คือ มิติบุคคล มิติระหว่างบุคคลและครอบครัว โดยที่ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลหรือมีอิทธิพลให้บุคคลเกิดความเข้มแข็งทางใจในขณะหรือภายหลังเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤติ
            วองซ์ : คือลักษณะนิสัยการประสบความสำเร็จในนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่ดี หรืออุปสรรคที่รุนแรงแต่สามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษาและเจริญงอกงามได้
            ทูรเนอร์ : ความสามารถพิเศษของบุคคลในการอดทนต่อความยากลำบาก สามารถผ่านมรสุมและดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผุ้ที่มีความหยุ่นตัว มีความสามารถ "งอโดยไม่หัก" และหวนกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม
             มาโยว์ : ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดีต่อความเครียด เคราะห์กรรมบาดแผลทางใจ หรือเรื่องโศกเศร้า สามารถคงไว้ซึ่งความคงที่และระดับสุขภาวะของการทำหน้าที่ทางกายแะจิตใจเมื่อเผชิญความยากลำบาก โดยสามารถทำกิจกรรม ประจำวันได้ ยังมองชีวิตในแง่ดี ไม่สับสนและกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ซ
             ความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ กระบวนการที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์ที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งเป็นการปรับตัวในเชิงพฤติกรรมทางบวก เมื่อเผชิญกับเคราะห์กรรมหรือบาดแผลทางจิตใจ โดยที่บุคคลสามารถประคับประคองตนเองให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากมรสุมหรือความหระทบกระเทือนทางจิตที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)