วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย
ลักษณะทั่วไป เป้นวัฒนธรรมที่เกิดจากผลแห่งความเจริญทางสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมในระบบอุตสาหกรรม และสังคมที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจัดเป็นพฤติกรรมทางสังคมประเภทหนึ่ง ซึ่งแยกต่างหากจากศษสนา หรือตรงข้ามจากศาสนา หรือพฤิตกรรมอันแสดงให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้าน รูปแบบการดำเนินชีวิตขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในยุคก่อน พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตจะขึ้นอยู่กับอิทะิพลความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์เอง มนุษย์ถูกศาสนาควบคุมทุกกระบวนการ ศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ยังไม่มีโอกาสพัฒนาแนวความคิดของตนโดยการมีระบบความคิดที่เป็นอิสระ พฤติกรรมต่างๆ ของสังคมจึงขึ้นอยู่กับศาสนาโดยปริยาย
การพัฒนาสังคม ความเจริญทางโลก ทำให้มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ความเจริญด้านสติปัญญาของมนุษย์ก็ดี ความมีเหตุผลด้านความคิด ทำให้มนุษย์รู้จักคิดตามหลักเหตุผล รู้จักดันปแลงและปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น และในบางวัฒนธรรม ก็ถอนตัวเองออกจากค่านิยมเดิมเพื่อให้เป็นอิสระในการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันระบบทางศาสนา ก็ยังไม่มีการดัดแปลง หรือจะมีแต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ จนเกือบไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งี้ขึ้นอยู่กับระบบความเชื่อที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นเหตุให้มนุษย์มองเห็นความล้าหลังของศาสนา อันกลายเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์นำไปเป็นแนวความคิดที่ดัดแปลงแก้ไขศาสนา อันเป็นเหตุให้เกิดความเชือ่ถือศาสนาในรูปนิกายใหม่ขึ้นมา
วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยเป็นข้อตกลงที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางของบรรดาพวกที่ศึกษาสังคมวิทยาศาสนาว่า เป็นแนวทางศษสนาที่มีขอบเขตหว้างขวางในสังคมระดับต่างๆ และยังเป็นการเสริมความเป็นคฤหัสถวิสัยในด้านกระบวนการที่มีความเป็นธรรมชาติของสากลจักรวาล และยังเป้นการลดความเชื่อถือด้านเทววิทยาและสิ่งลึกลับอีกด้วย
ความเป็นคฤหัสถวิสัย เป็นพฤติกรรมการดำรงบีพประเภทหนึ่งที่พยายามสลัดจากอิทธิพลศาสนา และเป็นวิะีการหนึ่งที่พยายามทำให้ปรากฎออกมาในวิถีทางต่างๆ โดย
- ทำลายความเชื่อในลักษณะให้คุณและโทษ ที่เีก่ยวกับสภาวะเหนือธรรมชาติที่เข้าครอบคลุมในทุกชวิตที่ผูกพันอยู่กับสังคมและศาสนา เช่น ไม่แสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ ก็ถือว่าไม่ก่อให้เกิดโทษภัยแต่ประการใด
- มีการเปลี่ยนบทบาทของศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะในด้านสาธารณศึกษา โดย พยายามสร้างบทบาทใหม่ทางศษสนาขึ้นมา เพื่อให้เกมาะสมกับสภาพการเปลียนแปลง
- ตัดอำนาจศาสนาที่ผูกพันอยู่กับวงการธุรกิจหรือรัฐให้มากที่สุด โดยไม่ให้ศาสนาเข้าเกี่ยวข้อง
- ลดความเชื่อถือต่างๆ ทางศาสนาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับสภาวะเหนือธรรมชาติ
- พยายามสร้างแนวโน้มด้ารผลผลิตทางศาสนาให้ตรงกับเป้าหมายที่แท้จริง อันเป็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของศาสนา
- แยกประสบการณ์ความเคยชินขึ้นพื้นฐานทางศาสนาของมนุษย์ออกจากศาสนาให้มากขึ้น เช่น การเกิด การแต่งงาน และความตาย เป็นต้น โดยถือว่าภาวการณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องของสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ ไม่ใช่อิทธิพลที่เกิดจากความเชื่อของศาสนาโดยไร้เหตุผล
- มนุษย์จะผูกพันเกี่ยวข้องกับกิจกรรมฝ่ายโลกียวิสัยมากขึ้น โดยมีค่านิยมแบบชาวบ้าน ความมีหน้ามีตา ความมีเกียรติจากสังคม เป็นต้น
ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อทางศาสนา จะมีแนวโน้มในด้านความมีเหตุผล และความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น โดย พยายามลดความเชื่อที่มีต่อสภาวะหนือธรรมชาติที่มีมาแต่เดิมออกไป ยึดเหตุผลประกอบความเชื่อ และถือเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมากขึ้น และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีกฎเกณฑ์มากขึ้นกว่าเดิม เข้าลักษณะตามหลักตรรกนิตินัย
ความหมายของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย วัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมของสังคมที่เกดขึ้นจากผลการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอิทธิพลวิวัฒนาการ อันสืบต่อพฤติกรรมติดตัวที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงและเป็นพฤติกรรมที่มักจะถูกนำมาใช้เสมอๆ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอีกด้วย
วัฒนธรรมประเภทนี้ เรามักเรียกกันเสมอว่าพฤติกรรมด้าน "โลกียวิสัย" อันหมายถึง รูปแบบพฤติกรรมด้านความเป็นอยู่แบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่ยแเด็ดขาดจากพฤติกรรมทางศาสนา มีรูปแบบตรงข้ามกับศาสนา หรือจะพูดอีกแบบหนึ่งก็ว่าวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม แม้จะแยกเด็ดขาดจากศาสนาแล้วก็ตาม แต่่ก็ยยังได้รับอิทธิพลจากสาถบันศาสนาและสัญลักษณ์ทางศษสนา จริงอยู่การแยกนั้น มิใช่จะจงใจยกเลิกวัฒนธรรมดั้งเเดิมเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ แต่เป็นการแยกโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำพฤติกรรมนั้น เป็นการแยกพฤติกรรมโดยการนำพฤติกรรมบางอย่างทางศาสนามาใช้ร่วมด้วยเพื่อเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม
ความเป็นไปด้านวัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยนั้น จะเป็นเรื่องที่ไม่ผูกพันกับศาสนาเลย แต่เป็นการดำเนินไปตามพัฒนาการในตัวของมันเอง การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยก็จริง แต่ก็ถือว่าศษสนาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมประเภทนี้สามารขยายตัวออไปอย่างหว้างขวาง นั่นคือวัฒนธรรมประเภทนี้ จะไม่ติดอยู่กับบทบาทของศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่เป็นตัวของตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ วัฒนธรรมคฤหัสถวิสัยจึงก้าวหน้าแพร่หลายออกไปโดยไม่หยุดยั้ง
สัญชาตญาณของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ยอมรับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับศาสนามาใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุดังนี้
- ต้องการความอยู่รอดของมนุษย์เอง ความอยู่รอดในสังคม มนุษย์จุพยายามที่จะหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาสนองความประสงค์ของตน เช่น การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อให้ได้รับสิ่งทีพึงปรารถนาตามความต้องการของสังคม เป็นต้น
- ค่านิยมทางสังคม กิจการบางอย่างที่มนุษย์นำมาใช้ในสังคม วึ่งถือเป็นค่านิยมทางสังคม ดดยถือความมีหน้ามีตาอันเป็นที่ยอมรับกันภายในสังคมนั้นๆ เช่น การนิยมพระเครื่อง เครื่องรองของขลบังเป็นต้น
- ผลทางจิต มนุษย์เมื่อประสบปัญหาต่างๆ อาจหาทางออกโดยอาศัยผลจากการกระทำทางศาสนา เช่น การรดน้ำมนต์ การสะเดาะเคราะห์
- ผลตอบแทน สัญชาตญาฯของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่ได้รับผลสนองตอบต่อการกระทำของตนก็ดี คาดว่าจะได้รับก็ดี แทนที่จะถือว่าเป็นผลความสามารถของตน กลับยกให้สิ่งศักดิสิทธิที่ไม่สามารถมองเห็นตัว ให้เป็นผู้มีพระเดชพระคุณกับตน..
การเกิดวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย ถือว่าการเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เคยปฏิวัติมาในอดีต เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดการปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้น ขึ้นอยู่กับ
- พฤติกรรมดั้งเดิมของสังคม ถือเป็นตัวแบบทางพฤติกรรมประเภทหนึ่ง อันเกิดจาก พฤติกรรมติดตัว อันเป็นคามเคยชินที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว การเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมประเภทนี้ ถือว่าเป็นเองโดยธรรมชาติ หรอืเป็นสมาขิกโดยไม่รู้ตัว ค่านิยมเดิม โดยการยึดมั่นถือมั่นในค่านิยมดั้งเดิม จะโดยการมีทัศนคติหรือความเคยชินที่มีอยู่เดิมก็ตาม ถือว่าเป็นสาเหตุของวัฒนธรรมประเภทนี้ประการหนึ่ง พฤติกรรมสืบเนื่องระหว่างใหม่กับเก่า เป็นความสืบต่อระหว่างพฤติกรรมเก่ากับใหม่ โดยการถ่ายทอดกัน
- ความเปลี่ยนแปลงทางศษสนา ถือว่าศษสนาเป้นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ขึ้นอยู่กับ...ระบบศาสนา ซึ่งเป็นระบบดั้งเดิม และเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลง , ความเป็นไปภายในศษสนาเอง, ด้านคำสอน สาวกไม่พัฒนาคำสอนใหเข้ากัสวังคม, พฤติกรรมทางศาสนา ยังคงเป็นพฤติกรรมที่ติดในค่านิยมทางสังคมคือความศักดิ์สิทธิอยู่ อันขัดกับความเจริญของสังคม และความเป็นจริงของเหตุการณ์...นักบวชหรือสาวกในศษสนา ถือว่ามีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือทัศนคติของสังคมมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มักจะมีสาเหตุจากความเป็นไปในศาสนา การแสดงพฤติกรรมของนักบวชหรือสาวกในศาสนานั้นๆ ยยังสมควรหรือเหมาะสมกับบทบาทหรือไม่ ความใจแคบของศาสนา มกเกิดจากการที่สมาชิกของศาสนาไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกอันเหมาะสมกับสภาวะของสังคม ซึ่งเกิดจากความเจริญของสังคมเอง การไม่พัฒนาด้านต่างๆ ของศาสนา อันเกิดจาก ควาไม่สามารถถอยในภาวะผู้นำในสังคม โดยปล่อยให้ระบบศาสนาล้าหลัง ต้องเดินตามสังคม ความล้าหลังของระบบศาสนา การไม่พัฒนาศาสนาในด้านตางๆ ให้อยู่ในฐานะผู้นไสังคม ผู้นำศาสนายังติดในค่านิยมดั้งเดิมที่เคยได้รับมาในยังหนึ่ง แต่ความเจริญของสังคม มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งผิดตรงข้ามกับทางศาสนาที่ยังพอใจอยู่กับทัศนคติเดิม คือการรักษาบทบาทเก่า... สังคมภายนอก เป้นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่นแปลง โดยเข้าไปมีอิทธิพลในศาสนา การรับความเจริญจากภายนอก
การขยายตัวของวัฒนธรรมคฤหัสวิสัย เป็นผลจากความเจริญของสังคม มนุษย์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทของตนเอง ทำให้สามารถปรับตัวเองและขยายบทบยาทให้กว้างขวางออกไป การที่วัฒนธรรมประเภทนี้ สามารถปรับตัวเอง ขยายบทบาทให้กว้างขวางก็ดี เกิดขึ้นจากการดำเนินตามระบบสังคมที่เป้นท้งด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิด และเปลี่ยนแปลงตัวสังคมเองดัวย
วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย
ลักษณะทั่วไป เป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่เกี่ยวกับความลึกลับหรือความศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นจากความเชื่อลักษณะที่มีความจงรักภักดีต่อศาสนา เป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบโดยเฉพาะของมันเอง มีความแตดต่างกันโดยรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับอิสรภาพของศาสนาแต่ละศาสนา วัฒนธรรมประเภทนี้ เป็นพฤติกรรมเฉพาะกลุ่ม
คำว่า บรรพชิตวิสัย แปลจาก Sacred ซึ่งหมายถึง ความศักดิ์สิทธิเป็นภาวะชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะเข้าถึงได้ผุ้จะเข้าถึงวัฒนธรรมประเภทนี้ จะต้องเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งถูกสมมติให้อยู่ในภาวะที่สามารถจะติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิประเภทนี้ได ซึ่งส่วนมากจะได้แก่พวกนักบวชในศาสนาเทวนิยม
นักวิชาการได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย โดยคำนึงถึงประสบการณ์ที่มีต่อมวลมนุษย์และยังได้จำแนกลักษณะอันเป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวการสำคัญของวัฒนธรรมประเภทนี้ไว้หลายประการด้วยกัน คือ เป็ฯแง่คิดที่เกิดจากสิ่งที่ได้ประสบมา ซึ่งเนื่องด้วยการรับรู้ หรือความเชื่อในเรื่องอำนาจและพลัง บ่งลักษณะที่แสดงออกมาหลายนัยด้วยกัน ไม่ว่าการปสดงอออกมานั้น จะแสดงออกมาในด้านเอกอำนาจ หรือพหุอำนาจ มีลักษณะสำคัญที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอ๓ปรายไว้ว่ามักจะพบว่า ไม่เกี่ยวกับความจริง ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ไม่เกี่ยวกับความรู้ ..มีลักษณะสนับสนุนส่งเสริมตัวเองให้เข้มแข็ง เป็นการปลูกฝังอำนาจ หรือพลังจิตให้ผู้นับถือแเกิดความมั่นใจ ต้องการผู้เชื่อถือและเคารพบูชาที่ปรากฎอยู่ตามความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปอันเกี่ยวกับเกณฑ์ทางด้านศีลธรรม และอาณัติทางจริยธรรม
ความหมายของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย นักปราชญ์ทางสังคมวิทยาศาสนาได้อธิบายเพื่อเป็นแนวในการศึกษาดังนี้
- ศาสนาที่มัมพันธ์กับการขยายตัว นั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในประสบการณ์ของมนุษย์มากและยิ่งไปกว่านั้น ประสบการณ์ที่เป็นจุดขยายเหล่านี้เรามักจะเรียกกันว่า "ประสบกาณ์ทางศาสนา" โดยแสดงลักษณะออกมาในคุณลักษณะพิเศษ ที่สามารถบ่งถึงความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นที่มนุษย์มีอยู่ต่อวัฒนธรรมประเภทนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ ประเภทหนึ่ง นอกจากนี้ยังมุ่งที่ความขลังอันเป็นตัวการในการยึดถือด้านจิตใจที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น
- ทรรศนะทางจิตวิทยาให้นิยามไว้ว่า "กันไว้ต่างหาก เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง" ตามปกติเกี่ยวกับศาสนา หรือเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหรือขึ้นอยู่กับศรัทธา" ซึ่งตามทรรศนะนี้จะเห็ว่าวัฒนธรรมประเภทนี้ มุ่งไปที่ด้านจิตใจเป็นสำคัญ คือความเชื่อทางศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ด้านความศักดิ์สิทธิ เป็นสิ่งสำคัญ
- และในบางสมัยวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยยังมุ่งไปที่ความขลัง ความศักดิ์สิทธิเป็นประการสำคัญ เพราะเป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมสำหรับนักบวชโดยเฉพาะ เป็นการรักษาสภานภาพทางศาสนาไว้เป็นประการสำคัญ
วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นวัฒนธรรมที่เน้นในด้านค่านิยมที่เกิดขึ้นทางจิตใจของมนุษย์โดยตรง โดยเน้นความผูกพันทางจิตใจด้านความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบต่างๆ ของมนุษย์เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เราเห็นว่า การยอมรับวัฒนธรรมประเภทนี้มากำกับพฤติกรรมนั้น เป้ฯการยอมรับรูปแบบขอฝวัฒนธรรมรูปแบบนี้ มาใช้เป้นตัวกำหนดค่านิยมทางสังคม
การนำมาใช้กับสังคม วัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยนี้ ส่วนมากจะถูกนำมาใช้กับสังในหลายรูปแบบตามนัยแห่งพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ของสังคม โดยมีความมุ่งหมายที่ย้ำในเรื่องความศักดิ์สิทธิของศาสนาเป็นสำคัญ
- ด้านพฤติกรรม.. พิธีกรรม เป้ฯการแสดงออกทางพฤติกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นตามลัทธิอันเป็นยอมรับนับถือกันในสังคมนั้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ .. ขนบธรรมเนียม เป็นพฤติกรรมอีกรูปแบบ ซึ่งเป็นปบบอย่างที่นิยมกันในสังคมนั้นๆ จึงมักจะมีรูปแบบต่างกันตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์..ประเพณี มุ่งแบบแผนแห่งการแสดงออกเป็นประการสำคัญ.. วัฒนธรรม เป็นเรื่องการแสดงออกทางพฤติกรรมร่วมกันของสังคมนั้นๆ ... ศาสนพิธี เป็นการแสดงออกทางพฤติกรรมที่จัดทำขึ้นตามลัทธิความเชื่อถือ เพื่อความขลังของลัทธิความเชื่อทางศาสนาของตน... สถานภาพและบทบาททางศาสนา เป้ฯรูปแบบของพฟติกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงออกตามสถานภาพของสมาชิกสังคม ในสังคมล้าหลัง สังคมกำลังพัฒนา ความเชื่อถือทางศาสนาจะเน้นหนักไปที่พิธีกรรม
- การปลอบประโลมใจ เมื่อมนุษย์มีปัญหาจะหาวิธีแก้ปัญหาซึงวิธีการแก้ปัญหาของมนุษย์มักจะเข้าหาสิ่งศักดิ์สิทธิ หรือบุคคลที่คิดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ของตนได้ เพื่อให้เกิดความเบาใจ ซึ่งวิธีกาเหล่านี้เช่น การระบายทุกข์ เช่นการสารภาพบาปกับนักบวช การปรึกษาหมอดูฯ การทำพิธีบางอย่าง เช่น การรดน้ำมนต์, การตั้งความหวังเป็นเป้าหมาย เช่นการตรวจโชคชะตา การสะเดาะเคราหะ์ ตลอดจนการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์บางประเภทฯ
- รักษาค่านิยม รักษาความศักดิ์สิทธิให้คงรูปแบบอยู่ตลอดไปเพื่อให้เป็นที่นิยมของสังคม, รักษาความสูงส่งด้านสถานภาพของผุ้รักษาค่านิยมของวัฒนธรรมประเภทนี้
ในการนำวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยมาใช้ในสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้คือ.. มักอ้างอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิที่ไม่สามารถจะมองเห็น โดยการสมมติสิ่งศักดิ์สิทธิขึ้นมาเป็นที่พึ่งทางใจ ยึดถือทางใจ มีการกำหนดพิธีกรรมขึ้น มีการคาดคะเนในลักษณะที่ว่าหากแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างนั้นแล้ว จะเกิดผลตอบสนองตามที่คาดคิด สร้างประเพณีขึ้นมาสร้างระบบพฤติกรรมหมู่ขึ้น โดยถือว่าการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ต้องมี้อกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสังคม โดยการกำหนดคุณหรือโทษขึ้นมา ผลการกระทำทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระเจ้าเบื้องบน มีความลึกลับ
รูปแบบของวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัย เป็นการแสดงออกในด้านความเคารพเชื่อถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ อันเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่ง ในที่นี้ขอจัดแบ่งรุปแบบแห่งความเชือที่ผูกพันต่อสิ่งศักดิ์สิทธิดังนี้
- ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับรูปเคารพ
- ความเชื่อที่ผูกพันอยู่กับวิญญาณ
- ความเชื่อในเรื่องสภาวะเหนือธรรมชาติ
การเกิดวัฒรธรรมบรรพชิตวิสัย มีขึ้นหลายลักษณะดังนี้
- สภาวะเหนือธรรมชาติ มนุษยุ์อยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมอันเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ และเมื่อไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมนั้น เมื่อถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมครอบคลุมอยู่ จึงคิดว่าอิทธิพลเหล่านั้นเป็นทิพยอำนาจที่คอยบันดาลให้เป็นไป ตนจึงได้รับอิทธิพลเหล่านั้น
- ความเชื่อที่มีอยู่เดิม เป็นความเชื่อถือที่ฝังติดอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความจงรักภักดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ การเกิดวัฒนธรรมประเภทนี้ ยากต่อการดัดแปลงแก้ไขหากจะมีการแก้ไข ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน จึงถือเป็นวัฒนธรรมที่ฝังอยู่กับพฤติกรรมอันเกิดจากความเคยชขินที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัย
- ทัศนคติ เป็นปฏิกิริยาที่ส่งผลด้านบวกในรูปของการยอมรับผลอันนั้น ทัศนคตินี้เป็นตัวการที่ยอมรับพฤติกรรมนั้นๆ
- ค่านิยม เป็นการยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตนเอง การเกิดวัฒนธรรมรูปนี้ เป็นการเกิดโดยการปลูกฝังเพื่อให้เกิดความเคยชิน อันจะเป็นพฤติกรรมที่จะใช้เป็นปทัสถานทางสังคมต่อไป
- ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นการแสดงออกไโดยปราศจากกฎเกณฑ์บังคับเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็พยายามสร้างกฎเกฑณ์ขึ้นมา โดยไม่ต้องคำนึงว่ากฎเกณฑ์นั้นถูกต้องหรือชอบธรรมหรือไม่
- การแสวงหาความอยู่รอด เป็นการเกิดวัฒนธรรมบรรพชิตวิสัยรูปแบบนี้ ไม่คำนึงถึงเหตุผล แต่คำนึงถึงความศักดิ์สิทธิที่เกิดจากความเชื่อว่าจะต้องปลอดภัย
- การหวังผลตอบแทน เป็นการแสดงออกโดยหวังผลจากการกระทำนั้นๆ เป็นประการสำคัญ ไม่ว่าผลนั้นๆ จะปรากฎในรุปแบบใดๆ ก็ตาม ทั้งนี้ เป็นการตั้งความหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนั้น