- จอร์ช ไวท์เทอร์ครอส ปาตัน : นิติปรัชญาเป็นวิธีการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งเนื่องด้วยมิใช่เป็นการศึกษากฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่หากเป็นการศึกษาแนวความคิดทั่วไปในตัวกฎหมาย
- อาร์. ดับบลิว. เอ็ม. ดิแอส : นิติปรัชญาเป็ฯการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง การใช้และบทบาทของกฎหมาย ตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมาย
- จูเรียส สโตน : นิติปรัชญาเป็นเรื่องการตรวจสอบศึกษาของนักกฎหมายต่อหลักการ อุดมคติ และเทคนิคของกฎหมายในแง่มุมความคิดจากความรอบรู้ปัจจุบัน
หรือในทรรศนะของผู้สอนวิชานิติปรัชญาของไทยก็ได้ให้คำนยามไว้ต่างๆ กัน อาทิ
" นิติปรัชญาศึกษาถึงรากฐานทางทฤษฎีของกฎหมาย ศึกษาถึงอุดมคติสูงสุด หรือคุณค่าอันแท้จริงของกฎหมาย หรือแก่นสาระของกฎหมาย.. ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายอยุ่ที่ไหน คำตอบเหล่านี้ย่อมจะแตกต่างไปตามสำนักความคิดทางปรัชญานิติปรัชญาศึกษาว่าทำไมคนจึงต้องยอมรัีบนับถือกฎหมาย นอกจากนี้แล้ว นิติปรัชญาจะกล่าวถึงเรื่องความยุติธรรม และความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม"...
"วิชาปรัชญากฎหมาย ได้แก่ การศึกษาถึงหลักการพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในกฎหมายเพื่อแสวงหาอุดมการขั้นสุดท้าย และค่านิยมที่แท้จริงของกฎหมาย เช่น ปัญหาว่าด้วยลักษณะอันแท้จริงของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย เช่น ปัญหาว่าด้วยลักษณะอันแท้จริงของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย กฎหมายมีคุณประโยชน์อย่างไร รากฐานของกฎหมายมีอยู่อย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย กฎหมายมีคุณประโยชน์อย่างไร รากฐานของกฎหมายมีอยู่อย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร แนวความคิดและทฤษฎีทางกฎหมายโบราณกับปัจจุบันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น .."
" นิติปรัชญาเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม เป็นการศึกษาให้เข้าถึงซึ่งสัจธรรม, วิญญาณกฎหมาย หรือสิ่งที่เป็นคุณค่าหลักการ และทฤษฎีซึ่งอยู่เบื้องหลังกัวบท และวิธิการทางกฎหมาย"
" นิติปรัชญา หมายถึงวิชาที่ศึกษาถึงกฎหมายในลักษณะที่เป็ฯทฤษฎีมิใช่หลักหรือตัวบทกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทฤษฎีที่ว่านี้หมายถึงทฤษฎีว่าด้วยความหาายของกฎหมาย กำเนิดของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย เจตนารมณ์ของกฎหมาย และเรื่องราวต่างๆ อันแทรกอยุ่ในระบบกฎหมายทุกระบบตลอดเวลา เช่น ความยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการศึกษาหัวข้อนามธรรมในทางกฎหมายมิใช่ตัวบทกฎหมายใดโดยเฉพาะ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาคิดรวบยอดในทางกฎหมายเหล่านี้ไปตอบคำถามที่ว่าทำอย่างไรจึงจะออกกฎหมายใช้กฎหมายหรือตีความกฎหมายได้อย่างยุติธรรม ส่วนวิธีการให้คำตอบหรือวิธีการอธิบายคำตอบย่อมแตกต่างไปตามสำนักความคิดแต่ละสำนัก ซึ่งจะนำมาศึกษาในวิชานี้เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบ และเลือกความคิดที่ตนเห็นชอบด้วย"
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ คงไม่ผิดนักหากกล่าวว่ากฎหมายธรรมชาติถือำเนิดพร้อมๆ กับอารยธรรมตะวันตก นับแต่ยุคกรีกโบราณ, โรมันโบราณและเติบโตพัฒนากระทั่งปัจจุบัน และกล่าวได้เช่นกันในวัฒนธรรมกฎหมายของตะวันออกไม่ว่าจะเป็นมุสลิม ฮินดู พุทธหรือประเพณีความคิดของจีน การปรากฎตัวของกฎหมายธรรมชาติ อาจตีความได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความบันดาลใจของมนุษย์ที่มุ่งมั่นจะค้นหาหลักการอันสุงสังสำหรับกฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น วิวัฒนาการของปรัชญากฎหมายธรรมชาติจึงเป็นเสมือนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในความพยายามที่จะค้นหาหลกความยุติธรรมที่แท้จริงในฐานนะเป็นหลักอุดมคติของกฎหมาย หรือความพยายามที่จะค้นหาหลักอุดมคติซึ่งจะใช้ประสานความขัดแย้งพื้นฐานในสังคมมนุษญ์ แม้จะต้องถูกเย้ยหยันหรือปฏิเสธจากเพื่อมนุษย์ด้วยกันเองว่าเป็นความคิดเพ้อฝันเลื่อนลอย
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การกำเนิด ดำรงอยู่และพัฒนาการของกฎหมายธรรมชาติจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความขัดแย้ง หรือความไม่สมบูรณ์ในสังคมมนุษย์ที่ปรากฎอยู่ จนทำให้ต้องมีการเรียกร้องหรืออ้างอิงกฎหมายอุดมคติขึ้นยันต่อรัฐในฐานะผู้ออกกฎหมาย และผุ้ใช้อำนาจปกครองต่อประชาชน ข้อนี้จะห็นได้ว่าในยุคสมัยที่ย้านเมืองวุ่นวายสับสน รหือมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นระบบ กฎหมายธรรมชาติมักถูกนำขึ้นกล่าวอ้างอย่างหนักแน่นแสมอจากบรรดาบุคคลผู้คับข้องหรือถูกกดขี่ เพื่อการขบถต่อต้านอำนาจรัฐที่ตนเห็ฯว่าไม่เป็นธรรม กฎหมายธรรมชาติในแง่นี้จึงเป็นเสมือนกฎหมายอุดมคติที่คุ้มครองและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพแก่ปัเจกชนทั่วไปในลัษณะที่เป็นพลังความคิดปฏิวัติซึ่งที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในโลกตะวันตก ซึ่งไม่มีบทบาทมากนักหากนำมาใขช้กล่าวอ้างหลักสิทธิมนุษยชนขึ้นในสังคมไทยในแง่บทบาททางการเมือง ..อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่หนึ่งกฎหมายธรรมชาติก็เป็นความคิดเชิงอนุรักษ์ฯที่ถูกสร้างและใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองของรัฐเช่นกัน ในลักษณะการแอบอ้างทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติขึ้นบังหน้าเพื่อซ่อนเร้นความทะเยอทะยานในทางการเมือง ดังนั้นในโลกตะวันตกกฎหมายธรรมชาติจึงแกว่งไปมาระหว่างขั่วปฏิวัติและอนุรักษณ์นะยมตลอดประวัติศาสตร์ของกฎหมายธรรมชาติ (ถูกใช้เป็นเครื่องมือ)...
ความยุติธรรม

การเชื่อมต่อปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับความกลมกลืนอาจไม่ให้ภาพที่ชัดเจนนักต่อการแปลความหมายความยุติธรรมจากแง่มุมนี้ แต่ดูเหมือจะชี้ให้เห็นว่า ความยุติธรรมเป็นหลักคุณค่าหรือคุณธรรมอันจำเป็นเพื่อยุติปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้นซึ่งอาจดำรงอยู่ในระดับเอกชนหรือในระดับวังคม ก่อนที่ความขัดแย้งต่างๆ จะขยายวงหว้างไปสู่จุดแห่งการทำลายล้างซึ่งกันและกัน ความยุติธรรมจะเป็นหลักคุณค่าที่ถูกใช้เพื่อจำกัดความขัดแย้งวนั้นให้ดำรงอยู่ในระดับที่เหมาะสมประนีประนอมกันมากขึ้นหรือมิฉะนั้นก็ทำให้มันยุติลงด้วยความเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น