Nation Security

แนวความคิดความมั่นโดยทั่วไป มีดังนี้
               - ความมั่นคงแห่งชาติ แนวความคิดมุ่งเน้นในการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความมั่นคง โดยอาศัยพลังอำนาจของชาติ เพราะพลังอำนาจของชาติจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกาารพิทักษ์รักษาสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนหัวใจของชาติ นั่นคือ ความมุ่งประสงค์ของชาติและผลประโยชน์ของชาติ  ความมุ่งประสงค์ของและผลประโยชน์ของแต่ละชาติก็จะแตกต่างกันไปใแต่ละชาติ
              - ความมั่นภายใน ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับความมั่นคงคงของชาติ โดยความมั่นคงภายในจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความมั่นคงภายในประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติในที่สุด
              - ความมั่นคงของโลก เป็นเหมือนกับความมั่นคงของภูมิภาค แต่จะแตกต่างกันที่การรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น คือทุกประเทศในโลกนี้ ซึ่งจะรวมความมั่นคงภายในแต่ละชาติและความมั่นคงของชาติแต่ละชาติ
               - ความมั่นคงของสภาวะแวดล้อม เป็ฯแนวความคิดที่พยายามจะรักษาภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมภายในโลก เพื่อให้สังคมมนุษย์ยังคงอยู่ต่อไปภายในโลกนี้ร่วมกับธรรมชาติได้ การพิจารณาแนวความคิดนี้จะมองไปในอนาคต
โดยใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร สำหรับประเด็นสำคัญของความมั่นคงประเภทนี้ คือ ประเทศที่ก่อให้เกิดการทำลายสิงแวดล้อมมากมักจะเป็นประเทศมหาอำนาจ หรือ ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น ความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกัน
               - ความมั่นคงของบุคคล เป็นแนวความคิดที่หลายประเทศให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิง ประเด็นของสิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษย์ โดยการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคงวของมนุษย์นั้น จะต้องใช้พลังอำนาจของชาติในด้านต่างๆ มาเป็นเครื่่องมือจำนวนมากเพราะแต่ละบุคคลจะมีความมั่นคงได้ จะมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาหลายประการเช่น สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต การศึกษา ฐานะทางการเงิน อนามัยชุมชน
                 ความมั่นคงของชาติส่งผลให้ประาชนมีความปลอดภัย สงบสุข ผู้ที่มีหน้าที่เีก่ยข้องในบล้านเมือง ได้มีการร่วมกันศึกษา หาแนวทางที่จะให้ชาติเกิดความมั่นคง เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งความมั่นคงของชาตินั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ ดังนี้
               1. ความมั่นคงด้านการเมืองภายในประเทศ  กระแสการเบ่งบานของประชาธิปไตยพร้อมกับความสามารถในการรับรุ้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน อีกทั้งความเข้มแข็.ที่เพ่ิมขึ้นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน กลุ่มเหล่านี้เรียกว่าประชาสังคม ความเข้มแข็งของกลุ่มประชาสังคมนี้ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนในการดำเนินงานการเมืองภายในประเทศ อำนาจที่แท้จริงของปวงชนชาวไทยกำลังถูกนำกลับคืนมาสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจด้วยการเพ่ิมอำนาจในการถอดถอนผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลังจากที่ประชาชนได้ใช้อำนาจผ่านผู้แทนของเขาเหล่านั้นในอดีตผู้แทน ได้ใช้อำนาจอย่างละเลยความต้องการที่แท้จริงของประชาชน การมีบทบาทและการมีส่วนร่วมมากขึ้นของประชาชนในการปกครองประเทศ
             2 . ความมีบทบาทขององค์กรเหนือรัฐ เช่น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป องค์การค้าโลกฯ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานการเมืองของประเทศ ซึ่งในบางครั้งได้ส่งผลคาบเกี่ยวต่ออำนาจอธิปไตยของชาติ
            3. ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ เช่นการทำความเข้าใจในรูปแบบธุรกิจแบบใหม่หรือธุรกิจออนไลน์จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความมั่นคงแห่งชาติในที่สุด
           4 . ความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา การให้น้ำหนักระหว่างความสามารถ และ คุณธรรมจริยธรรม จะทำให้ประเทศเกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน
           5 . ความมั่นคงด้านการป้องกันประเทศ การปรับกองกำลังให้เหมาะสมกับสภานะการณ์ปัจจุบัน การหันมาใช้วิธีการทางการทูต เป็นต้น
           6. ความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีในด้านต่างๆ การจดสิทธิบัตรจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจและกำหนดทิศทางเพื่อที่จะนำไปใช้กในการรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นต้น
           7. ความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมแห่งการบริโภคตามลักษณะของทุนนิยมจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และมีลักษณะเป็นลูกโซ่ ต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยกรธรรมชาติ
          8. ความมั่นคงด้านสารสนเทศ สารสนเทศ หรือข้อมูลข่าวสาร กลายเป็นทรัพย์สินมีค่า ดังนั้น การป้องกันการลักลอบแก้ไขข้อมูล ป้องกันการขโมยข้อมูล การทำให้ข้อมูลพร้มอใช้งาน และอิทธิพลของการใช้สารสนเทศในการจัดการความเข้าใจ จะส่งผลกระทบต่อบุคคล หน่วยงาน และปรเทศได้ และนำมาซึ่งความมั่นคงในที่สุด
         9 . ระบาดวิทยา การเกิดขึ้นของโรคระบาดใหม่ๆ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ การควบคุมและป้องกันจึงมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ
         10. ความมั่นคงด้านการอพยพย้ายถิ่นฐาน ทั้งการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมือง และการย้ายถิ่นข้ามประเทศ ที่เป็นปัญหาต่อความมั่นคงโดยตรงคือ แรงงานเถื่อน การค้ามนุษย์ ค้าแรงงาน เป็นต้น ส่วนปัญหารต่อความมั่นคงทางอ้อมคือ ปัญหาการนำพาเชื้อโรค ปัญหาอาชญกรรม เป็นต้น
        11 . ความมั่นคงของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ การด้อยการศึกษา ปัญหาความยากจน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ และส่งผลต่อขีดความามารถของประเทศในการแข่งขัน การยกระดับความมั่นคงมนุษย์จึงเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ
        12 . ความมั่นคงด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นภัยคุกคามรูปแบบหนึ่งต่อประเทศชาตินั้นๆ
        13 . ความมั่นคงด้านพลังงาน การประหยัดพลังงานเป็นแนวทางซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติ
        14. ความมั่นคงด้านภัยพิบัติ ซึงส่งผลต่อความเสียหายทั้งชีวิต เศรษบกิจ การจัดการระบบ กระบวนการ และการดำเนินงานทางด้านแจ้งเตือนภัย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะช่วยลดการสูญเสีย
        15. ความมั่นคงด้านวัฒนธรรมและชาติพันธ์ุ ความเป็นรัฐ-ชาติในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาของขาติพันธุ์ที่อาจสำไปสู่กาแตกเป็นประเทศเล็ก ดังจะเห็นได้จากหลายๆ ประเทศทั่วโลก
                   กฎหมายลักษณะพิเศษ
           ในภาวะที่เกิดสภานการณ์ร้ายแรง หรือ ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศอันเป็นประโยชน์สาธารณะของของชาติอย่างร้ายแรงขึ้น เช่น สงคราม จลาจล กบฎ ภัยพิบัติ สาธารณะ เป็นต้น ในสถานการณ์เช่นนี ทุกประเทศต่างถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดแก้ไขเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ หรือประโยชน์สารธารณะให้ยุติลง และฟื้นคืนกลับมาโดยเร็วที่สุด และยอมรับถึงความจำเป็นที่รั๘จะต้องมีอำนาจ เครื่องมือ สรรพกำลัง และอาวุธในการดำเนิการได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม ซึ่งการใช้อำนาจดังกล่าวข่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีผลกระทบในทางจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนอย่างไม่อาจหลักเลี่ยงได้กว้างขวางมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความร้ายแรงของสถานกาณ์เป็นสำคัญ และกฎหมายทั่วไปที่มีใช้อยู่ในยามปกติย่อมไม่ม่ีบทบัญญัติให้รัฐมีอำนาจกระทำการเช่นนั้นได้ตามหลักนิติธรรม ส่วนอำนาจที่รัีฐพอจะมีอยู่บ้างตามกฎหมายบางฉบับก็อาจไม่เหมาะสม หรือ ไม่เพียงพอจะเยียวยาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นานาอารยประเทศต่างยอมรับโดยทั่วกัน ถึงความจำเป็นต้องมีกฎหมายพิเศษในสภานะการอันไม่ปกติมอบอำนาจให้รัฐมีและใช้อำนาจได้อว้างขวางเบ็ดเสร็จรวมถึงจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มากกว่ายามปกติ โดยถือเป็นกรณีที่ประโยชน์ของเอกชนชัดแย้งกับประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องนำข้อยกเว้นของหลักนิติธรรมมาใช้ในการตรากฎหมาย และใช้อำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อคุ้มครองรักษาประโยชน์สาธารณะไว้ ขณะเดี่ยกันก็ได้พยายามวางกรอบให้มีและการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษนี้ได้เพียงเท่าที่จำเป็นจริงๆ และอย่างจำกัดเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าในเวลาต่อมาประเทศต่างๆ ก็ได้มีการบัญญัติกรอบอำนาจของรัฐในการตรากฎหมายพิเศษในสถานการณ์ไม่ปกติดังกล่าวได้เพียงเท่าที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ขอบเขตและระยะเวลาอย่างจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ เพื่อรับรองความชอบธรรมไว้อีกชั้นหนึ่งด้วยกันทั้งสิ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)