วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

Regional Organizations

           ในความพยายามที่จะจัดวางระเบีบแบบแผนให้กัีบการเมืองระหว่างประเทศหรือควบคุมพฤติกรรมทางการเมืองของประเทศต่างๆ บรรดานักคิดและรัฐบุรุษทั้เงหบายต่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นแห่งการร่วมมือกันเป็นหลักสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับวางหลักประกันในการรักษาความมั่นคงระหว่างชาติและสันติสุขชให้คงอยู่ จากการประชุมระหว่างประเทศและการหารือที่มีเรืทอยมาแต่อดีตเป็นผลให้เกิดความเชื่อที่ว่าในการร่วมมือกันนั้น ควรที่จะมีสภาบันนานาชาติส่วกลาง Universal Actor ดำเนินการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันให้แก่รัฐต่างๆ ทีั้งหลาย อิทธิพลแรวความคิดนี้ได้แสดงออกในแบบของการจัดร่างกฎเกณฑ์หรือกฎหมายระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมความเคลื่อนไหวและพฟติกรรมทางการเมืองของบรรดารัฐต่างๆ
            องค์การระหว่างรัฐนี้คือ สถาบันนานาชาติที่สวมบทบาทของผุ้ปกป้องรักษาความมั่นคงร่วมกัน เป็นองค์การที่มีอำนาจเหนือรัฐในการชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทระหว่างผระเทศ และไกล่เกลี่ยข้อบาทหมางที่บังเกิดขึ้นในความสัมพันะ์ระหว่างรัฐต่ารงๆ ตลอดจนอำนาจในการดำเนินการและแก้ไขปัญหากิจกรรมแขนงอื่นๆ ท่ประเทศทั้งหลายมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่
             ความมุ่งหวังใฝ่ฝันที่จะให้องค์การระหวา่งรัฐบาลเป็นศูนบ์กลางอำนวยประโยชน์ให้แก่นานาประเทศนัี้นได้รับการสนับสนุนทั้งในระดับสาก และในระดับภาคอื้น สำหรับแนวความคิดสนับสนุนองค์การส่วนภูมิภาคนั้นได้แผ่ขยายออกไปในระยะระหว่างก่อนและหลังสังครามโลกครั้งที่สอง และดูเหมือนว่าความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตซึ่งมีลักาณะเป็ฯองค์ฏารสากล ในการยับยั้งและยุติกรณีพิพาทจะเป็นแรงดันให้เหล่าประเทศต่างๆ หันมาให้ความสำคัญแก่แนวองค์การส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้นกว่าเดิม แม้แต่ในระหว่างที่มีการประชุมตระเรียมเสนอโครงร่างกฎบัตรสหประชาชาติ ก็ยังมีการถกเถียงกันถึงประโยชน์และความสำคัญขององค์การส่วนภูมิภาคเมื่อเปรียบกับองค์การระดับสากล หนึ่งในรัฐบุรุษที่เห็นด้วยและสนับสนุนหลักข้อสเนอแนวภูมิภาคนิยม คือ อดีตนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ซึ่งมีทัศนาะว่า ระบบนานาชาติควรเปิดโอาสให้มีการจัดตั้งองค์การส่วนภูมิภาคต่างหากแต่ละรายไปในส่วนของยุโรปบ้าง
 ทวีปอเมริกาบ้าง และส่วนเอเซียบ้าง ตามแต่ความสมัครใจของกลุ่มชาติในภฺมิภาคหนึ่งภาคใดและเห็นว่าบรรดารัฐต่างๆ ควรมีสิทธิเข้ารวมกลุ่มจัดตั้งขบวนการป้องกันในท้องถิ่น นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกองค์การระดับโลก
           ต่อเมื่อความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์การสหประชาชาติได้หย่อนคลายลงไปการสนับสนุนข้อตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลในส่วนภูมิภาคจึงทวีขึ้นตามลำดับ ดังที่ปรากฎจากจำนวนสมาคมหรือสถาบันต่าง ๆ ส่วนภูมิภาคที่เพ่ิมขึ้นมากรายในระยะหลังๆ
            อย่างไรก็ดี การหมายมั่นให้องค์การส่วนภูมิภาคเป็นวิถีทางหนึ่งในการส่งเสริมความมั่นคงระหว่งชาติเป็นปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์และพิจารณากันต่อไปว่าจะบ่ายโฉมหน้าไปทางทิศใด แต่เท่าที่ปรากฎให้ประจักษ์ สถาบันระวห่างประเทศไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร กล่าวคือ ไม่สามารถสนองตอบเป้าหมายที่ได้วางไว้แต่แรกเริ่มได้ ทั้งนี้ด้วยอุปสรรคขัดขวางหลายประการด้วยกัน ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาและศึกษาต่อไป
           ประเภทขององค์การสวนภฺมิภาค การแบ่งประเภทองค์การส่วนภูมิภา อาจกระทำได้โดยใช้บงรรทัดฐานแห่งความมั่นคงเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ปั้จจัยเบื้องแรกที่ดึงดูดให้รัฐต่างๆ สนใจต่อการร่วมมือกันจัดตั้งองค์การระหว่างรัฐบาล คือ ความปรารถนาที่จะเห็นความมั่นคงและความปลอดภัยบังเกิดขึ้นแก่ชาติของตน ตลอดจนกลุ่มชาติในบริเวณใกล้เคียง ความมั่นคงนี้ไม่จำเป็นต้องตีควาใมในเชิงความปลอดภัยจาการคุกคามทางทหารอย่างเดียว แต่อาจมีนัยความหมายในเชิงการมีเสถียรภาพมั่นคงทางเศราฐกิจ สังคม และการเมืองได้เช่นเดียวกัน  ถ้าพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่า องค์การระหว่างรัฐต่างๆ ไม่ว่าจะสถาปนาขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เช่นไร จุดมุ่งหมายสุดยอด คือ เจตจำนงที่จะสร้างความมั่นคงให้ลังเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เช่นไร จุดมุ่งหมายสุดยอด คือเจตจำนงที่จะสร้างความมั่นคงให้บังเกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน ด้งที่กล่าวข้างต้น
          ลักษณะหรือจุดหมาย เน้นในทางสมานสมัคคีกันเองในกลุ่ม กล่วคือ พยายามสนับสนุนการประนีประนอมในการระงับข้อพิพาทบาดหมางโดยสันติวิธีทั้ง่งเสริมใหมีการประสานนโยบายทั่วไปให้สอดคล้องกันเองภายในกลุ่มด้วย
            ลักษณะที่สอง มักจะเน้นการตกลงผูกมัดด้วยเลื่อนไข การร่วมือทางทหารตามพันธกรณีที่บัญญัติไว้ ผุ้ร่วมสัญญาจะต้องยอมรับหลักการให้ความช่วยเหลือหรือร่วมป้องกันเมื่อมีการรุกรานหรือโจมตีสมาชิกฝ่ายอื่นๆ
            ลักษณะที่สาม จะเป็ฯในรูปของการเจาะจงหน้าที่ในด้านต่างๆ กัน เพื่อการพัฒนาและเชื่อมความสัมพันธ์์ต่อกันและกันของกลุ่มสมาชิกในเครือ ส่วนมากส่งเสริมผลประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนช่วยเลหือกันทางสวัสดิการ ด้านวิทยาการเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจ ตลอดจนด้านอื่นๆ ด้วย
             ด้วยลักษณะทั้งสามประการจึงแยประเภทขององค์การส่วนภูมิภาคออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ ดังนี้
             1) ประเภท Cooperative องค์การที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลัษณะแนวโน้มทั้งสองประการแรกรวมกกันน กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในทางส่งเสริมความเป็ฯปึกแผ่นของภาคีในภาคพื้น องค์การมีบทบาทในการจัดแจงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างรัฐในหลุ่มเดี่ยวกัน
พร้อมทั้งส่งเสริมนโยบายการป้องกันร่วมกันของภาคีสมาชิก หากมีการรุกรานแทรกแซงจากภายนอก เช่น องค์การรัฐอเมริกัน OAS และองค์การเอกภาพแห่งอาฟริกา OAU อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีสัญญข้อตกลงร่วมป้องกันการุกรานรวมอยู่ในกฎบัตร องค์การเหล่านนี้ไม่ถือว่มีลักาณะเป็นพันธมิตรแบบเดียวกับองค์การสนธิสัญญป้องกันร่วมกันโดยตรงเพราะเจตจำนงใหญ่ขององค์การ คือ การร่วมประสานนโยายและรับผิดชอบต่อภูมิภาคส่วนตนเหนืออื่นใด
             2) ประเถทพันธมิตรทางทหาร Alliance องค์การที่สังกัดอยู่ในกลุ่มนี้ทั้งหมดถือกำเนินจากสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกัน โดยที่กลุ่มประเทศในเครือสนธิสัญญาร่วมตกลงผุกมัดตนเองเข้าด้วยกัน และวางเงื่อนไขว่า กรณีที่มีการโจมตีภาคีสมาชิกชาติหนึ่งชาติใด สมาชิกฝ่ายอื่นๆ หรือทั้งหมดจะต้องใช้มาตรการต่างๆ โดยเฉพาะทางทหานให้ความคุ้ม
กันภัยแก่ภาคีนั้นๆ องค์การสนธิสัญญาประเภทนี้ เกิดขึ้นมากมานในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองตามอาณาบริเวณต่างๆ กัน เช่น องค์การ นาโต้, วอร์ซอว์แพคท์,แอนซุส,และเซนโต้ เป็นต้น แม้องค์การประเภทนี้ระยะล่าสุดลดกิจกรรมทางทหารและเพิ่มบทบาททางพลเรือนแทน แต่องค์การเหล่านี้ยังคงรักษาเจตจำนงดั้งเดิมไว้ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร
            3) ประเภทFunctional คือมองในแง่หน้าที่ -ประโยชน์ องค์การประเภทนี้คือ บรรดาสภาบันระหว่งรัฐบาล ซึ่งได้วางจุดมุ่งหมายหน้าที่โดยเฉพาะไว้เพื่อส่งเสริมผลประโยชขน์จากากรร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมือง ภาพพจน์ขององค์การเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกในรูปของการจัดตั้งขบวนการป้องกันทางทหารหรือเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางทหารแต่อย่างใด องค์การที่จัีดอยู่ในหมู่ที่สามนี้โดยทั้งไป
             
       - สมาชิกในเครือองค์การเหล่านี้ มีความแน่นอนใจล่วงหน้าแล้ว การขัดแย้งที่ถึงบังเกิดขึ้นในหมู่ภาคีของตนจะไม่ก้าวไปถึงขนาดการใช้กำลังอาวุธ ประเทศในกลุ่มต่างนอนใจได้ว่า การขัดแย้งทางผลประโยชน์กันเองสามารถลงเอยได้ด้วยการประนีประนอมของคู่กรณี
                        - ลักษณะหลัง คือ สถาบันระหว่างรัฐเหล่านรรี้ มุ่งปฏิบัติภารกิจหน้าที่ เช่นด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาการเทคนิค หรือในด้านระบบการเงิน เพื่อให้เกิดการคงตัวในระดับการพัฒนา จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือมีพันธกรณีทางทหารและกำลังอาวุธทั้งปวง
                อาจกล่าวเป็นแนวกว้างๆ ได้ว่า ความคิดแนวภูมิภาคนิยมได้เป็นพลังจูงใจ และสร้างความเลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นในหมู่รัฐบุรุษจากนานาประเทศทัวๆ โลก ทั้งนี้อาจวัดความนิยมดังกล่าวได้จากจำนวนองค์การส่วนภูมิภาคที่บรรดาชาติต่างๆ ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเ่รงแสวงหาความมั่นคงและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในขอบเขตของตน
               แม้ว่าบรรดาประเทศทั้งเล็กและใหญ่ต่างเล็งเห็นความสำคัญของอวค์การในระดับภูมิภาคทั้งในแง่เพื่อยึดเหนี่ยวและอำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเพื่อควบคุมความเป็นระเบียบในความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ปัจจุบันภาวะอย่างหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ องค์การส่วนภูมิภาคไม่สามารถปฏิบัติการสนองตอบให้สมกับความมุ่งมาดปรารถนาดังที่กำหนดไว้แต่แรกเริ่มได้ การประเมินประสิทธิภาพขององค์การส่วนภูมิภาค บ่งให้เห็นว่าความพยายามทุกๆ วิถีทางที่จะบรรเทาความ
ตึงเครียดและรักษาความมั่นคงในระดับภูมิภาคให้คงอยู่ต่อไปนั้นมิได้สัมฤทธิผลตามวัตถประสงค์มากเท่าใดนัก ในข้อนี้จะเห็นได้จากบทบาทขององค์การส่วนภูมิภาคจำพวกพันธมิตรทางทหารโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อพิจารณาในทางเป็ฯจริงแล้ว องค์การประเภทนี้กลับกลายเป็นเครื่อบงทวีความคลางแคลงสงสัีย และตัวถ่วงรั้งความตึงเครียดไว้ในบรรยากาศการเมืองระหว่างประเทศมากกว่าที่จะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากชาติมหาอำนาจต่างก็มีเบื้องหลังเคลื่อบแฝงอยู่ในนโยบายของตน และพยายามชักนำผลประโยชน์มาสู่ฝ่ายตนให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ต่างฝ่ายต่างจะได้ใช้กลไกข้อตกลงเป็นเครื่องคอนคุมเชิงซึ่งกันและกัน และคอยรักษาอำนาจและเขตอิทธิพลของตนเงอไว้ สภาพการณ์ขององค์การส่วนภูมิภาคในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้องค์การพันธมิตรทางทหารเริ่มเสื่อมคลาย
ทางบทบาทลง เพราะไม่ได้ยังประโยชน์ให้กับสังคมระหว่างชาติส่วนรวมเท่าใดนัก แต่ความจริงประการนี้มิได้หมายความว่า คุณประโยชน์ความหมายและความเจริญก้าวหน้าขององค์ฏารส่วนภูมิภาคจะหมดสิ้นไป อันที่จริงแล้ว นักวิเคราะห์ในสาขานี้หลายท่านกลับเล็งเห็นว่าพลังของการร่วมมือในกรูปแบบขององค์การเศรษฐฏิจ ซึ่งมุ่งส่งเสริมารพัฒนางานด้านสวัสดิการในอันที่จะช่วยยกระดับทางเศรษฐกิจของชาติภาคีในกลุ่มนั้นต่างหากที่จะ่วยพยุงหลักการภูมิภาคนิยมให้ยืนหยัดต่อไ ตลอดจนสามารถขยายวงงานในขอบเขตภูมิภาคให้ก้าวไปสู่การร่วมมือกันของประชาชาติในระดับโลกได้
              ปัจจัยที่สร้างความตื่นตัว และดึงดูดความสนใจในเเขนงนี้เนื่องมาจากความสำเร็จขององค์การตลาดร่วมยุโรปที่ทั่วๆ ไปต่างยอมรับกันว่าเป็นสถาบันที่มีความมั่นคงเพียงพอ แลฃะเป็นรากฐานที่แข็.กกร่งสำหรับก้าวไปสู่การวาวนฝโยบายร่วมกันในทางการเมืองได้ แต่กระนั้นก็ดี อุปสรรคที่กีดขวางและรั้งความเจริญก้าวหน้าขององค์การส่วนภูมิภาคก็เป็นส่ิงที่ไม่ควรละเลย แต่ควรได้รับการพัฒนาหาลู่ทางออกตามแต่กรณี ปัญหาพอกพูนที่ขวางกั้นมิให้องค์ฏารดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอนั้นเป็นเรื่องของการกระทบกระทั่งกันทางผลประโยชน์ของแต่ละรัฐเสียส่วนมาก การทะเลาะเบาะแว้งกันเองเป็นสาเหตุที่ไม่มีจุดส้ินสุด ในเมื่อต่างฝ่ายต่าง
คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นสำคัญ ทั้งนี้สืบเนื่องมาแต่ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจของแต่ละชาติภาคีบ้าง รูปแบบของสังคม ทัศนคติโครงการปกครองที่ผิดแผกจากกันบ้าง หรือความเห็ฯไม่ลงรอยของรํฐบุรุษที่ยึดถืออุถดมการณ์คนะลแนวทาง ตลอดจนปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่สถบันระหว่างรัฐจะดำเนินรอยตามเจตนารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ในเมื่อหลายชาติยังไม่เพียบพร้อมที่จะยอมรบอำนาจสถาบันที่มีัลักษณธเป็การบั่นทอนการใช้อำนาจอธิปไตยในบางกรณีได้ อนึ่ง ความกระตือรือร้นที่จะลอกเลียนแบบพัฒนาการของการรวมตัวทางเศรษฐกิจเยี่ยงในยุโรป ทำให้บรรดากลุ่มองค์การส่วนภูมิภาคอื่นๆ มองข้ามความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละภาคีสมารชิกในกลุ่มด้วยกันเองเสียสิ้น จะเห็นได้ว่า ชาติภาคีด้วยกันเองส่วนมากเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรม และมีผลผลิตคล้ยคลึงกัน การส่งสิ้นค้าออกจำหน่ายจึงมีลักษณะเป็นการแข่ขันกันเองมากกว่า และคงต้องอาศัยการค้าขายกับประเทศนอกกลุ่มเช่นเดิม ลำพังการและเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเองคงไม่สามารถป้อนความต้องการทางเศรษฐกิจของแต่ละสมาชุกได้พอเียง ดังน้ันปัญหาในลักษณธที่กล่าวจึงทำให้ภาคีของสถาบันเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะพึ่งพากันเองได้เต็มที่และโอกาสที่องค์การเหล่านี้จะร่วมกันประสานระบบการค้าแบบปกป้องคุ้มกันภาคีสมาชิกในกลุ่มจากการเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มภายนอก ย่อมลดลงเป็นเงาตามตัว ฉะนั้น ปัฐหาทั้งหมดจึงอยู่ที่ความตั้งใจจริงและการรอมชอมของภาคีสมาชิกในทุกๆ กลุ่มที่จะช่วยลดความขัแย้งทั้งหมดให้น้อยลง และหันมาส่งเสิรมการ่วมือกันเองโดยตรง

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Mekong River

             กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพญานาคราช สองตัวเป็นเพื่อนรักกันมาก ชื่อ ฑพญาศรีสุทโธนาค" กับพญาสุวรรณนาค"ทั้งสองแบ่งกันปกครองเมืองบาดาลหนองกระแสฝ่ายละครึ่งเมือง ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อกันว่า "หนองกระแส" คือเมืองบาดาลอยู่ใต้ทะเลสาบ"หนองหาน" พญานาคทั้งสองนั้นมีพญานาคบริวารฝ่ายละ 500 ตัว ทุกๆ ปีทั้งสองฝ่ายจะไปมาหาสู่กันเพื่อเยียมยามถามข่าวถึงสารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอมิได้ขาด

             อยู่มาวันหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่าเผอิญล่าได้ช้าป่ามาตัวหนึ่งพญาศรีสุทโธนาคนึกถึงสหายพญาสุวรรณนาค จึงชำเเหละเนือช้างให้บริวารนำไปให้ครึ่งตัว เมื่อพญาสุวรรณนาคได้รับของฝากจาเพื่อรักเป็นเนื้องช้างก็มีความยินดี จึงได้ส่งสาส์นแสดงความขอบใจมายังพญาศรรีสุทโธนาค ทั้งบอกว่าในโอกาสหน้าตนคงจะได้ส่งของฝากมาเป็นการตอบแทนบ้าง  วันหนึ่งพญาสุวรรณนาคได้พาบริวารออกไปล่าสัตว์ในป่า โดยล่าได้เม่นมาหนึ่งตัว พญาสุวรรณนาคจึงสั่งให้ชำแหละเนื้อเม่นแล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้กินเอง และอีกส่วนหนึ่งให้บริวารนำไปให้แก่พญาศรีสุทโธนาค เพื่อเป็นของฝาก พญาศรีสุทโธนาคเมื่อได้รับเนื้อเม่น เห็นว่ามีจำนวนน้อยนิดผิดกับเนื้อช้างที่ตนนำไปให้ก็ไม่พอใจ โดยคิดว่าเม่นน่าจะตัวใหญ๋หว่าช้าง เพราะขนเม่นยาวกว่าขนช้าง จึงไม่รับของฝากนั้น
พอพญาสุวรรณนาคทราบดังนั้นก็ไม่สบายใจ รีบเดินทางมาอธิบายชีแจงใหพญาศรีสุทโธนาคฟังว่า แม้ขนเม่นจะยาวกว่าขนช้างแต่เม่นก็ตัวเล็กกว่าช้างมาก ฉะนั้น เนื้อเม่นคตังตัวจึคงน้อยกว่าเนื้อช้างครึ่งตัวแน่นอน แต่พญาศรีสุทโธนาคก็ไม่ฟังเหตุผล หาว่าพญาสุวรรณนาคเอาเปรียบตน จคึงเกิดการโต้เถียงทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนถึงประกาศท้ารบกันขึ้น พญาศรีสุทโธนาคผุ้มุทะลุจึงยกทัพนาคมาบุกประชิดติดชายแดนเมืองหนองกระแสด้านที่อยู่ในความปกครองของพญาสุวรรณนาค การเคลื่อนพลมาอย่างรีบร้อนทำให้น้ำในทะเลสาบหนองกระแสขุ่นคลั่กเป็นสีชมพู ฝ่ายพญาสุวรรณนาคเห็นดังนั้นก็จนใจต้องพาบริวารออกต่อสู้กับเพื่อนรัก เพื่อป้องกันแว่นแคว้นในปกครอง พญานาคทั้งสองฝ่ายได้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกันอยู่นานถึง 7 ปี แต่ก็ไม่มีฝ่ายใดชนะอย่างเด็ดขาดสงครามนาคครั้งนี้ทำให้โลกสั่นสะเทือนลั่นหวั่นไหวสะท้านไปถึงสวรรค์และบาดาล เดือดร้อนกันไปทั่วทั้งมนุษย์ เทวดา และนาค จากเรื่องที่เข้าใจผิดกัน
             พญาแถนผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงเสด็จมายังดลมนุษย์ ณ บริเวณสนามรบที่เมืองหนองกระแส พร้อมมีเทวโองการว่า
             "ข้าพญาแถนจอมสวรรค์ผู้ยิ่งใหญ่ ขอสั่งให้สองฝ่ายหยุดรบกันพวกเจ้าไม่มีใครเก่งกว่าใคร และขอประกาศให้เมืองหนองกระแสเป็นเขตปลอดสงคราม ให้ทั้งสองจงพาไพล่พลออกจากเมืองหนองกระแสโดยด่วนที่สุด ถ้าเจ้าทั้งสองเก่งจริงขอจงไปสร้างแม่น้ำแข่งขันกันเถิดใครสร้างแม่น้ำไปถึงทะเลก่อนถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ชนะ แล้วข้อจะปล่อยปลาบึกลงในแม่น้ำสายที่สร้างเสร็จก่อน"
         
  พอสิ้นเทวโองการ พญานาคทั้งสองต่างก็พากันแยกย้ยไปในทันที โดยพญาศรีสุทโธนาคผู้มีอารมณ์อันมุทะลุดุดันและมุ่งหวังเอาชนะ ได้สร้างแม่น้ำไปทางทิศตะวันออกของเมืองหนองกระแสอย่างรีบร้อยไม่พิถีพิถันเอาเสร็จเข้าว่า แม่น้ำจึงคดเคี้ยวเลี้ยวไปมาตามแนวภูเขชาจึงเรียกว่า "แม่น้ำโค้ง"ต่อมาเพี้ยนเป็น "แม่น้ำโขง" ส่วนพญาสุวรรณนาคผุ้ใจเย็นสุขุมลุ่มลึก พาไพล่พลสร้างแม่น้ำมุ่งไปยังทิศใต้ของเมืองหนองกระแส โดยตั้งใจสร้างอย่างพิถีพิถันเป็นเส้นตรง เพื่อย่นระยะทางในการสร้าง แม่น้ำสายนี้จึงเรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน" ผลของการสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนี้ ปรากฎว่าพญาศรีสุโธนาคเป็น่ายชนะ พญาแถนจึงปล่อยปลาบึกซึ่งเป็นน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดลงในแม่น้ำโขง และเป็นแม่น้ำสายเดียวเท่านั้นที่มีปลาบึกอาศัียอยู่จนทุกวัีนนี้( วิเชียน เกษประทุม. นิทานพื้นบ้าน ชุดที่ 5 ชุดตำนาน, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์พัีฒนาศึกษา, 2551.)
             แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านบริเวณที่รอบสูงทิเบตและ มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศ จีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ แม่น้ำล้านช้างและเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึคงคำเมืองล้านนาก็เรียกแม่น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง
            ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือมีตลิ่งสูงชันมากทั้งสองฝั่่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปีระดับ ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆ หลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่า แม้น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูปตะวันออก
             นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็นหนึ่งในสามของแม่น้ำที่ำด้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนานภายใต้ชื่อพื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนานพื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลากทางชีวภาพสูง(wikipedia. แม่น้ำโขง)
       
 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ กลุ่มความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง Greater Mekong Subregion cooperation(GMS) คือ กลุ่มประเทศอาเซียนที่เชื่อมโยงโดยผ่านแม่น้ำโขงมี 5 ประเทศและรวมกับจีนแทบยูนนานเป็น 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวยดนาม กัมพูชา และทางตอนใต้ของจีนแทบยูนนาน ได้มีการจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสธารณูปโภคพื้นฐานมากว่า 2 ทศวรรษ โครงการดังกล่าวเิร่มจากากรทำแผนจังหวัดยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีคุณอนันต์ อนันตกูล เป็นปลัดกระทรวงซึ่งได้ริเริ่มจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต นครศณีธรรมราช ชลบุรี มุกดาหารและเชียงราย ในกรอบยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายกได้มีวิสัยทัศน์เชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายเข้ากับประเทศเพื่นบ้าน ซึ่งก็คือต้นกำเนิดของ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ ต่อมา ADB ได้ให้การสนับสนุนกับโครงการดังกลาวและกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งในยุคนั้นมีรองนายกฯ คือคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนจนกลายเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ
            ในกรอบ AEC ข้อที่ 2 คือการส่งเสริมขีด

ความสามารถการแข่งขันและอีก 1 องค์ประกอบคือ พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน GMS จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ AEC ซึ่งเป็นโครงการพัี่พัฒนาต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้ และเมื่อพม่าเปิดประเทศ โครงการดังกล่าวยิ่งได้รับความสนใจและมีพลวัตรของการขับเคลื่อนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบดังกล่าว แต่ละประเทศตกลงที่จะรับผิดขอบในการพัฒนาเครือข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ ทางบก และอื่นๆ และแน่นอน เครือข่ายดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายคมนาคม โลจิสติกส์ หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งจะช่วยหนุนด้านการค้าและการลงทุนของประเทศในกรอบดังกล่าว ภายใต้ GMS จะมีกรอบเชื่อมโยงที่เรียกว่า ระเบียง Corridors 3 ระเบียง กล่าวคือ
         1) เรียกว่า North-South ซึ่งมีการเชื่อมโยง 3 เส้นทาง เริ่มจากยูนนาน ลาว พม่า จังหวัดพิษณุโลก กรุงเทพฯ เข้า ประจวบ และไปเชื่อมโยงกับสามเหลี่ยมทางตอนใต้ (Indonesia-MalaySia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT)
          2) เรียกว่า East-West เริ่มจาก แว้ ดานัง สุวรรณเขต เข้าอีสาน เชื่อมต่อ พิษณุโลก กรุงเทพฯ ไปออกเมืองมะละแหม่ง และเมาะลำไยของพม่า ไปสู่กลุ่ม BIMST-ECไปออกอินเดีย เชื่อต่อไปสู่ตะวันออกกลาง และยุโรป
          3) South-South เชื่อมต่อ 4 เส้นทาง เริ่มจากกรุงเทพฯไปจบที่เวียดนาม บางเส้นจบที่หวงเตา บางเส้นจบผ่านเสียมเรียบ บางเส้นผ่านตราดและกาะง การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการขยายตัวของเขตเศรษบกิจจำเพาะ โดยเฉพาะบริเวณรอบต่อ เช่น แม่สอด แม่สายกับเมียวดี หนองคายกับลาว ตราด เกาะกงกับกัมพูชา การเชื่อมต่อจะทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุน ซึ่งทำให้ราคาที่ดินขึ้นอย่างมหาศาล จังหวัดที่อยุ่ในกรอบเส้นทางดังกล่าว โดยเฉพาะพิษณุโลก ราคาที่ดินขึ้นถึง 1,000 เปอร์เซนต์(http//www.chaoprayanews.com, ความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS),1 สิงหาคม 2014.)
           ...เตือนใจ ดีเทศน์ อดีต ส.ว. จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในประเทศจีนที่เรียกว่า แม้น้ำล้านช้าง หรือหลานชางเจียง ถูกรัฐบาลจีนกำนหดแผนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 28 เขื่อน ขณะนี้สร้าเสร็จแล้ว 6 เขื่อน
              นักธรณีวิทยาระบุว่า แม่น้ำโขในจีนตั้งอยุ่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังมีพลังแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในยูนนานหลายครั้ง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงเขื่อนอาจแตก
              งานวิจัยหลายช่ินชี้ว่านับแต่มีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในจีน "ปริมณน้ำในฟดูน้ำหลกลดลง แต่ปริมาณน้ำในฤดูแล้วกลับเพิ่มขึ้น" ในฤดูแล้งเกือบ 100 เปอร์เซนต์ของน้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ไหลจากมแ่น้ำโขงไปจีน ส่วนในฤดูน้ำหลากปริมาณน้ำโขงกลับลดลง เพราะมีการเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อน สิบกว่าปีที่ผ่านมาพบว่าส่งผลกระทรุนแรง ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างที่น้ำท่วมถึงลดลงทำลายความมั่นคงทางอาหารประเทศท้ายน้ำ ตะกอนดิน สารอาหารที่สมบูรณ์ถูกเก็บกักไว้ในเชื่อ ส่งผลต่อการทำเกษตรริมฝั่ง เกิดการกัดเซาะตลิ่งและท้องน้ำ
              "ทางท้ายน้ำกด้ฒีความกังวลว่าสามเหลี่ยนมปากแม่น้ำโขงในเวียดนามที่ค่อยๆ จมลงนั้นอาจเป็นเพราะขาดดินตะกอนมาทับถมเพ่ิมเติมจากแม่น้ำโข เมื่อเกิดพายุความเสียหายจะรุนแรงยิ่งขึ้น"
              สำหรับ.."ชะตากรรมของแม่น้ำโขงตอนล่าง" อดีต ส.ว.เชียงราย กบล่าวว่า รัฐบาล 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม มีแผนสร้างเขื่อนและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ 12 โครงการ (http//www.thairath.co.th, อภิมหาเขื่อนยักษ์ หายนะแม่โขง)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

The Socialist Republic of Vietnam

            เวียดนาม เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของชาติที่ยาวนานประเทศหนึ่ง มีสภาพแวดล้อมประชิดติดกับจีน ลาว และกัมพุชา การที่เวียดนามตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนทำให้เวียนดนามได้รับอิทธิพลด้านต่างๆ อาทิ วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และการเมืองการปกครองในอดีตมาจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีน ซึ่งเวียดนามเคยตกเป็นเมืองขึ้นเป้นเวลานับพันปี ต่อมาเวยนามเป็นเอกราชกว่า 900 ปี จึงตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในยุคอาณานิยมจนถึงสงครามโลครั้งที่ 2 จึงตกเ็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นชั่วคราว เมื่อสิ้นสุดสงครามเวียดนามได้รับเอกราชในห้วยระยะเวลาสั้นๆ ก่อนผรังเศสกลับเข้ายึดครองอีกครั้ง  เวียดนามรบชนะฝรั่งเศสที่เดียน เบียน ฟู เป็นผลให้มีการเจรจาสันติภาพที่กรุงเจนีวา
กำหนดให้แบ่งเวียดนามเป็นเหนือ-ใต้ ชั่วคราวเป็นเวลา 2 ปี แต่ก็ไม่สามารถรวมกันได้ โดยผุ้นำเวียดนามใต้อ้างว่าไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญานั้น เวียดนามใต้เกรงกลัวว่าหากปล่อยให้มีการเลือกตั้งเพื่อรวมปรเทศในครั้งนั้นฝ่ายใต้จะเป็นฝ่ายแพ้เนื้องจากความนิยมชองชาวเวียดนามที่ีมีต่อโอจิมินห์ ซึ่งเป็นผู้นำเวียดนามตอนเหนือ (ความแตกแยกเหนือ-ใต้ ของเวียดนามมีมาตั้งแต่โบราณจากความแตกต่างทางภฺมิศาสตร์ แนวคิด อุดมการณ รวมทั้งคุณลักษณะของประชากร) ทำให้เวียดนามตกอยู่ในสภาวะสงครามภายใน ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามตัวแทนของฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรีในยุคสงครามเย็น กระทั่งปี พ.ศ. 2518 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือและเวียดกง ต่อเวียดนามใต้และพันธมิตร ในปีต่อมาเวียดนามก็สามารถรวมประเทศได้อีกครั้งภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
           จากชัยชนะครั้งนั้น ประกอบกับการหนุนหลังของสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกในการขยายอิทะิพลอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รวมทั้งแนวคิดของอดีตผู้นำเวียดนามคือ โฮจิมินห์ ที่เรียกว่าพินัยกรรม ฉบับ พ.ศ.2512 และสรรนิพนธ์โฮจิมินห ซึ่งพิจารณาว่าลาวและกัมพูชาเป็นดินแดอยู่ในอาณัติของเวียดนามด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นผลให้เวียดนามกำหนดนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์และเป็นศัตรูกับประเทศโลกเสรีทั้งยังส่งทหารเข้ารุกรามกัมพูชา และยึดพนมเปญได้ใน ผลจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และการกระทำของเวียดนามในครั้งนั้นได้กระทบต่อสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอย่างใหญ่หลวง ประเทศโลกเสรีทั้งหบลาย รวมทั้งอาเซียนต่างก็วิตกถึงภัยคุกคามจาการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประทเศไทยฐานะประเทศด่านหน้า ทำให้ประเทศต่างๆ ในอาเซียนหันมากระชับความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม ทั้งทางการเมืองระหว่างประเทศและการให้ความช่วยเลหือกองกำลังกัมพูชา 3 ฝ่ายอย่างลับๆ ในกาต่อสู้กับรัฐบาลหุ่น เฮง สัมริน ของเวียดนาม อาจกล่าวได้ว่า ผลจากสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นได้กระทบต่อนโยบายของแต่ละประเทศในอาเซียนและนโยบายของอาเซียนโดยส่วนรวม
             เมื่อสถานะการณ์เปลี่ยนไป อภิมหาอำนาจสหภาพโซเวียตประสบปัญหาเศรษบกิจภายในประเทศ มิคาเอง กอร์บาชอฟ เปลี่ยนนโยบายทั้งนโยบายภายในและต่างประเทศโดยนำนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเปิดกว้างทางการเมืองมาใช้ และการดำเนินการของอาเชียนในเวทีการเมอืงโลก เพื่อผลักดันเวียดนามให้ออกจากกัมพูชา และปัญหาภายในเวียดนามเอง ส่งผลให้เวียดนามต้องถอนทหารออกจากกัมพูชาในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งช่วยคลายความตึงเครียดในภูมิภาคเป็นอย่างมาก  และเมื่อโลกสิ้นสุดยุคสงครามเย็นอันเนื่องมาจากการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 เวียดนามเองก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงปรับท่าที่โดยใน พ.ศ. 2535 เวียดนามได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่ 4 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เลิกระบุชาติที่เป็นศัตรู เลิกระบุถึงพินัยกรรมโอจิมินห์ ทางด้านนโยบายต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างความร่วมมือต่อทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงคามแตกต่างทางการเมือง นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เวียดนามต้องทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีระบบเศรษฐกิจที่ยินยอมให้การตลอดเข้ามามีบทบาทสำคัญ ภายใต้ระบบการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (งานวิจัย "ทัศนะของทหารต่อการเข้าร่วมเป็นสมาขิกอาเซียนของเวียดนาม" บทที่ 2, น.17-19, 2538.)
             ลักษณะการปกครอง  เวียดนามเป็ฯประเทศสัีงคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม Communist of Vietnam-CPV ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการร่างกฎหมายและปกครองทั่วไป ประธานาธิบดีทำหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐ การทหาร และการรักษาความสงบภายในประเทศและมีสถาบันที่สำคัญคือ รัฐบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยสภาแห่งชาิต โดยมีวาระ 5 ปีเวียดนามแบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เขตเมือง หรือเรียกว่า นคร (Can Tho, Da Nang, Hai Phong, Ha Noi, Ho Chi Minh)
           การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผุ้นำ ได้แก่
           - กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน
           - กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ "วิวัฒนาการที่สันติ" อันเนื่องมากจากการเปิดประเทศ
           - กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยือหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก(http//www.61.47.41.107/..การเมืองการปกครองเวียดนาม)
           โครงสร้างการปกครองเวียดนาม
   ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกรวม 493 คน มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติและแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้งประธานาธิบดีตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรองหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบการบิหารแบบผู้นำร่วมสมาชิกสภาแห่งชาติมาจากเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี  แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต แต่กฎหมายเวียดนามก็อนุญาตให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งได้เช่นกันโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากแนวร่วมปิตุภูมิแห่งชาติ อันเป็นองค์กรส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุดมการณ์สังคมนิยม
           ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการำนินงานขององค์กรริหารระดับสูง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผุ้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเสือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป็นศูนย์กลางอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
           สภาเเห่งชาติ ของเวียดนาม ปัจจุบันเป็นชุดที่ 12 ได้รับเลือกตั้งเมื่อเดือน พฤษภาคม 2550 ซึ่งในครั้งนี้มีการลงมติรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยปรับลดจำนวนกระทรวงและรัฐมนตรีเหลือเพียง 22 ตำแหน่ง จากเดิม 26 ตำแหน่ง โดยรวมและยกเลิกกระทรวงต่างๆ ที่มีลักษณะงานใหกล้เคียงหรือสามารถบริหารร่วมกันได้ อาทิเช่น กระทรวงการประมงรวมกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกระทรวงการค้าเปลียนชื่อเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คณะกรรมการพลศึกษาและการกีศา รวมกับองค์กรด้านการท่องเที่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวัฒนธรรมท กีฆา และท่องเที่ยว กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม รวมกับกระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสาร เปลี่ยนเป็นกระทรวงข้อมูลแบะการสื่อสาร และยกเลิกคณะกรรมการด้านประชากร ครอบครัวและเด็ก เป็นต้น นโยบายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการลดขั้นตอนและซ้ำซ้อนในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
           การปกครองท้องถิ่น แต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถ่ินให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหรราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คอื ระดับจังหวัดและเทียบเท่า มี 59 จังหวัด กับอีก 5 นคร คือ ฮานอย โอจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกิ่นเธอ ซึ่งจะได้รับงบประมาณจากส่วนหลางโดยตรง รวมทั้งข้าราชการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ชวยให้เกิดความคล่องตัวในการบิรหารงาน สำหรับระดับเมืองและเทศบาลมีประมาณ 600 หน่วยและระดับตำบลมประมาณ 10,000 ตำบล (http//www.boi.go.th/.., โครงสร้างการปกครองของเวียดนาม)

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

Transnational Organized Crime

             องค์กรอาชญกรรม หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดโครงสร้างของบุคคลตั้งแต่สามคนกรือมากกว่า ที่ดำรงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งและมีการประสานการดำเนินงานระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการกะทำอาชญากรรมร้ายแรงหนึ่งอย่างหรือมากกว่า เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยอาชกรรมร้ายแรงนั้น อนุสัญญาฯ ระบุว่า คือการกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกขั้นสูงเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ปี หรือมากกว่า นอกจากนี้ในข้อ 3 ของอนุสัญญาฯ ยังระบุถึงลักษณะความผิดต่างๆ ที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ได้แก่
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งประเทศ
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่ส่วนสำคัญของการตระเตรียมการวางแผน การสังการ หรือการควบคุมได้กระทำในอีกประเทศหนึ่ง
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาในอาณาเขตของประเทศมากกว่าหนึ่งประเทศ หรือ
             - ความผิดนั้นกระทำลงในประเทศหนึ่งแต่มีผลกระทบที่สำคัญเกิดขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง...
             ในภาพกว้าง องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติหรือแก๊งมาเฟียจะดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายในสองลักษณคือการขายสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด อาวุธ สินค้าโจรกรรม ลักลอบขนแรงงานเถื่อน ปลอมแปลงเอกสารบุคคลเป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่งคืออาชญากรรมประเภทอื่นที่ไม่เข้าข่ายการจัดหาอุปทานสินค้าและบริการ เช่น การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การฉ้อฉลต่างๆ...
         
 ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในอาเชียน อาชญากรรมข้ามชาติเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันอกและอาเซียน เนื่องจากภาครัฐในหลายประเทศไม่สามารถจัดการกับปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ธุรกิจสีเทาต่างๆ เติบโตข้นจนกลายเป็นปัญหาความมั่นคงและปัญหาเศรษฐกิจ โดยภูมิภาพเอเซียตะวันออกประสบปัญหารอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญ ได้แก่
           1) การค้ามนุษย์และการลักลอบขนผุ้ย้ายถิ่น ประกอบด้วย
               - การขนย้ายแรงงานและผุ้บ้ายถ่ินในอนุภูมิภาคลุมแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทย คาดว่ามีการลักลอบขนย้ายคนเหล่านี้เข้ามาในไทยปีละกว่าห้าแสนคน กว่าร้อยละห้า หรือประมาณ26,400 คน เป็นเหยื่อค้ามนุษย์
               - การลักลอบขนคนต่างด้าวจากกลุ่ม GMS เข้ามาขายบริการทางเพศในไทยและกัมพูชา
               - การลักลอบขนผุ้ย้ายถิ่นจากเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังยุดรปและสหรัฐฯ โดยประเมินว่ามีการลักลอบนำชาวจีนและเวียดนาม ปีละกว่า 12,000 คน และเกือบ 1,000 คนตามลำดับเข้าไปยังสหรัฐฯ
               - การขนผุ้ย้ายถิ่นจากเอเซียใต้และเอเชียตะวันตก เช่น กลุ่มทมิฬจากศรีลังการ ชาวอิรัก และอื่นๆ ผ่านภูมิภาคอาเซียนเข้าไปยังออสเตรเลียและแคนาดา โดยในแต่ละปีจะมีผุ้อพยพทางเรือเข้าไปยังออสเตรเลียกว่า 6,000 คน
           2) การผลิตและค้ายาเสพติด ประกอบด้วย
         
 - การค้าฝิ่นและเฮโรอีนจากพม่าและอัฟกานิสถานมายังเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยส่วนใหญ่ส่งจากรัฐฉานในพม่าไปยังจีน และจากอัฟกานิสถานส่งมายังจีนและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อลำเลียงไปยังที่อื่นต่อ โดยฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญไปยังสหรัฐ
             - การค้าแอเฟตามีนและยาบ้าที่ผลิตจากพม่า จีนและประเทศใน GMS โดยส่งมาที่ไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเซีย โดยยาเสพติดทีผลิตในพม่าและจีนจะถูกส่งไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ สำหรับพม่า ชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนโดยเฉพาะกลุ่มว้าแดงและโกก้างเป็นผุ้แลค้ายาเสพติดรายใหญ่ นอกจากนี้ยังมีขบวนการค้ายาเสพติดชาวจีนและชาวพม่าเชื้อสายจีนที่มีกองกำลังคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง
            3) การค้าพืชพันธ์และสัตว์ป่า รวมถึงสารทำละลายโอโซนและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
              - การค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง
              - การค้าไม่เถื่อนจากอินโดนีเซีย มาเลเซียและประเทศอื่นในภูมิภาคไปยังจีนและเวียดนาม
              - การขนขยะอิเล็ทรอนิกส์จากสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นมายังเอเซียโดยเฉพาะจีน ไทย อินโดนีเซยและเวียดนาม โดยใช้ฮ่องกงแลุภาคเหนือของเวียดนามเป็นจุดขนถ่ายสำคัญ
              - การลักลอบค้าสารทำลายโอโซน ซึ่งต้องยกเลิกตามพิธีสารมอนทรีออล โดยมีกานขนสาร ODS จากจีนมายังไทย ฟิลิปปินส์และอินโดยนีเซียเป็นส่วนใหญ่ ผ่านผุ้นำเข้าที่เป็นผุ้ผลิตเครื่องทำความเย็น
            4) การค้าสินค้าปลอดแปลง ประกอบด้วย
              - สินค้าอุปโภคบริโภคปลอมแปลงและละเมิดลุขสิทะิ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากเอเซีย โดยแหลงผลิตใหญ่คือประเทศจีน
              - ยาปลอมซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากจีนและอินเดีย และนำไปจำหน่ายในเอเซียและแอฟริกา...
  ...ที่ผ่านมา อเาซียนได้พัฒนาความร่วมือทีเ่กี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติมาเป็นลำดับ โดยเริ่มจากความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติด จากนั้นก็ได้มีการหารือประเด็นความมั่นคงที่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในกรอบการประชุมต่างๆ เช่น การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน เป็นต้น ต่อมา ค.ศ. 1977 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอาชญากรรมขช้ามชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอาเซียร่วมลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งถือเป็นความร่วมือที่เป็นรูปธรรมครั้งแรก โดยคำประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้มีกลไกความร่วมมือต่างๆ เช่น การประชุม ทุกสองปี การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยกาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น ต่อมาได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ
               1) พัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือของภูมิภาคเพื่อป้องกัน ควบคุมและปราบปรามปาชญากรรมข้ามชาติ
               2) ร่วมมือกันในขึ้นตอนการสืบสวนฟ้องร้องและพิพากษาคดี และการฟื้นฟูผู้ก่ออาชญกรรม
               3) ส่งเริมการประสานงานกลไกต่างๆ ของอาเซียน
               4) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ของอาเซียนในการจัดการกับปัญหา
               5) พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมายและความตกลงของภูมิภาคที่เกี่ยวกับขบวนการยุติธรรม สำหรับกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของแผนปฏิบัติการฯ นี้ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรา่วมมือด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายการฝึกอบรม การพัฒนาองค์กร และความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคอาเซียน
                 นอกจากความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเองแล้ว อาเซียนยังพัฒนาความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มด้วย ดดยเฉพาะกับญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เช่น ความร่วมมือกับญี่ปุ่นเรื่อปัญหาโจรสลัด

Political stability

          ก่อนถึงวันครบรอบ 30 ปี ฮุน เซ็น ครองอำนาจในกัมพุชาได้เพียง 1 วัน องค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน "ฮิวแมนไรท์วอทช์" เปิดเผยรายงานความยาว 67 หน้า ชื่อว่า Thirty Years of Hun Sen เพื่อสะท้อนภาพรวมของสถานการ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาภายต้การปกครองของผุ้นำนามว่า "ฮุน เซน"
           รายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่านายกฯ ฮุน เซ็น มีส่วนเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิของประชาชนจำนวนมาก ทั้งการฆ่าคนโดยไม่เคารพกฎหมายและการซ้อมทรมาน ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตัเ้งแต่สมัยแรกที่ฮุน เซ็น ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยเวียดนาม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งรัฐบาลพรรคซีพีพีสังการให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจรัฐในการปราบปรมและกวาดล้างจับกุมผุ้เห็นต่างทางการเมือง สั่งปิดกั้นข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงสั่งห้ามการชุนนุมแสดงออกทางการเือง เห็นได้จาการใช้กำลังปราบปรามกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลซึ่งปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2556 หลังพรรค CPP ได้รับเลือกเข้าไปดำรงตำแหน่งในสภาน้อยลงเกือบครึ่งจาก 90 ที่นั่ง เหลือ 68 ที่นั่ง  ขณะที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน CNRP นำโดยนายสม รังสี ได้รับเลือเข้าดำรงตำแหน่งสูงเกือบ 55 นั่ง
            เมื่อฝ่ายค้านประกาศค่วำบาตรการเลือกตั้งในปี 2556 ก็ยิ่งส่งผลให้ขบวนการภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ออกมาลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเพ่ิมมากขึ้น จนทำให้ ฮุน เซน ออกกฎห้ามการชุมนุม รวมถึงสังเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมโดยใช้กำลัง ทำให้มีผุ้บาดเจ็บและเสียชีวิตในการประท้วงหลายครั้ง

          
 แม้ที่ผ่านมาฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาจะเงียบเสียงลงเพราะถูกปราบปรามอย่างหนัก แต่นักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าบยังมีการเคลื่อนไหวในทางลับควบคู่ไปกับการแสดงจุดยืทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่ต้องติอตามกันต่อไปว่า จะชนุในการเลือกตั้งครั้หน้าในปี 2561 ได้อีกหรือไม่(http//www.thairath.co.th, 30 ปี ฮุน เซ็น, 18 ม.ค. 2558)
            ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปกครองประเทศที่ยาวนานต่อเนื่องกันมาถึงกว่า 31 ปี ของ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สามารถสร้างอำนาจและเครือข่ายทั่วประเทศจนกลายเป็นอาณาจกรตระกุลฮุน ที่ขวายอำนาจครอบคลุมภาคธุรกิจกว่า 18 ภาค อทาทิ การค้า พลังงาน เหมืองแร่ การเกษตร ป่าไม้ สื่อสารมวลขน กองทัพ และแม้กระทั่งองค์กรการกุศลอย่างสภากาชาด
           โกลบอล วิทเนส องค์กรอิสระจากอังกฤษ เปิดเผยรายงาน ไการครอบครองกิจการอย่งเป็นปรปักษ์ : อาณาจักระูรกิจตระกูลผู้ปกครองกัมพูชา" พบว่า ตระกูลของฮุนเซนและคเรือญาติกว่า 27 ราย ถือหุ้นบริษัทในประเทศอย่างน้อย 114 แห่ง รวมมุลค่าทรัพย์สินมหาศาลกว่า 200 ล้าเหรียญสหรัฐ (ราว 7,045 ล้านบาท) ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและละเมิดกฎหมายและละเมิดกฎหมาย แม้ฮุน เซน จะเคยเปิดเผที่มาของทรัพย์สินต่อหน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยระบุว่า รายได้หลักของฮุน เซนมาจากเงินเดือนประจำตำแหน่งนายก1,150 เหรียญสหรัฐ/เดือน (ราว 4.05 หมื่นบาท) ทว่ารายได้กับส่วนทางกับไลฟ์สไตล์หรูหราฮุนเซนอย่างน่าสงสัย
           รายงานระบุว่า ฮุน เซนใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุญาตให้เครือญาติเข้าควบคุมหรือเป็นผุ้ถือหุ้นรายใหญ่ของภาคธุรกิจสำคัญๆ ในกัมพูชา ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน จนเรียกได้ว่า เครือข่ายของฮุ่น เซน แทบจะเข้าคุมกัมพูชาทั้งประเทศ อาทิ บริษัทการค้า 17 แห่ง สถาบันทางการเงิน 10 แห่ง สถานบริการและธุรกิจบันเทิง 10 แห่ง ธุรกิจท่องเที่ยวและค้าปลีก 8 แห่ง ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ 7 แห่ง บริษัทในภาคการผลิต 3 แห่ง บริษัทกฎหมาย 3 แห่ง และธุรกิจพนัน 2 แห่ง (โพสต์ทูเดย์, " 31 ปีแห่งอำนาจ "ฮุนเซน" กินรวบธุรกิจกัมพูชา, 10 กรกฎาคม 2559)
             การศิลปะการใช้อำนาจ ของฮุน เซน ย้อนกลับไปหารจารีตการใช้อำนาจแบบเก่าในสัีงคมเขมรโบราณซึ่งยังคงหลงเหนืออยู่ในโบลกทรรศน์ความรับรู้ของคนเขมรปัจจุบัน อาทิ หลักการที่ว่าอำนาจ จะต้องเกิดจากการประกอบเข้าด้วยกันของสิ่งมงคลอย่างเช่นบุญญาบารมีและยศถาบรรดาศักดิ์ ซึ่งก็ทำให้ฮุนเซ็นได้รับการยอมรับจากชาวเขมรบางกลุ่มง่าเป็นองค์อธิปัตย์ที่ทรงบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ซึ่งมีคนเขมรอีกจำนวนมิน้อยที่เชื่อว่าเขาคือร่างอวตารของ "เสด็จกอน" Sdch Korn/Kon/Kan กษัตริย์เขมรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีพื้นเพมาจากสามัญชนหากแต่ได้ทำการโค่นบัลลังก์อดีตกษัตริย์ผุ้ไร้ทศพิธราชธรรม พร้อมปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่แห่งกัมพุชประเทศ
             ฮุน เซนวางแผนจะอยู่ในอำนาจกระทั่งอายุ 74 ปี จึงต้องพยายามเพื่อยึดกุมกลไกอำนาจรัฐสืบต่อไป พร้อมเตรียมสะสมเครือวานธุรกิจการเมืองเพื่อดันให้คนในตระกูลตนสามารถปกครองประเทศได้ยาวนานที่สุดโดยปราศจากผุ้ท้าทายทางการเมือง
             ฮุน เซน ได้สร้างเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อเปิดคลังทรัพยากรทางเศราฐกิจอย่างน้ำมันก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ และอัญมณีนานาชนิดให้กับกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ โดยเขาได้ควบคุมบริหารสำนักปิโตรเลี่ยมแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการน้ำมันของประเทศโดยตรง พร้อมสนับสนุนให้พวกพ้องเข้าคุมสัมปทาสธุรกิจตามเขตจังหวัดต่างๆ  อาทิ พระตะบอง ศีรโสภณ รัตนครี สีหนุวิลล์ และแม้แต่กลุ่มจังหวัดรอบทะเลสาบเขมรซึ่งเริ่มมีการสำรวจน้ำมันที่ทับถมอยู่ใต้ตะกอนโคลนตม
           นอกจากนี้ โครงสร้างอำนาจริติยบัญญัติ การบริหารราชการแผ่นดินทุกระดับ ล้วนตกอยู่ใต้การควบคุมของนักการเมืองจากพรรคประชาชนกัมพูชา Combodian People Party/CPP ดดยเห็นได้จาก จำนวน ส.ส. และ ส.ว. ในสภาผุ้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นบุคลากรจาพรรคcpp
         ขณะที่อำนาจระดับสูงในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ แม้จะมีการแตกกระจายออกเแ็นมุ้งการเมืองยิบย่อย แต่จำนวนสมาชิกของพรรคการเมืองฮุนเซนมีสัดส่วนที่มากพอที่จะกระชับอำนาจในสภาและคณะรัฐบาลได้อย่างมั่นคง
          ขณะเดียวกัน การปกครองแบบรัฐเดี่ยวที่ถ่ายอำนาจจากจังหวัด สูอำเภอ คอมมูน (หน่วยปกครองท้องถิ่นใกล้เคียงกับตำบล) และหมู่บ้าน ก็ยังคงมีลัษณะที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของเครือข่ายอำนาจฮุน เซน
          โดยรากฐานวัฒนธรรมการเมืองแบบอุปถัมภ์และความจำเป็นในการพัฒนาชนบทได้นำท้องถิ่นอย่างกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้าน จำเป็นต้องกระชับสายสัมพันะ์ร่วมกับเครือข่ายชนชั้นนำที่ถูกส่งมาจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อย่าง ผุ้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการพลเรือน ตลอดจนกองกำลังตำรวจและกองทหารประจำกองทัพภาคต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็ล้วนเป็นกลุ่มบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมืองร่วมกับพรรค CPP และเครือข่ายวงศ์วานของฮุนเซนแทบทั้งสิ้น ("สมเด็จฮุน เซน" สุดยอดรัฎฐาธิปัตย์แห่งโลกกัมพูชา" http//www.blogazine.pub, 19 เมษายน 2557)

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

Hun sen

           รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ.2540 เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฏา -สิงหาคม ผลที่ตามมาคือ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีร่วม ปลดเจ้านโรดม รณฤทธิ์นายกรัฐมนตรีร่วมอีกคนหนึ่งได้ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 10 คน
            มีนาคม 2535 คณะผู้บริหารของ UNTAC เดินทางมาถึงกัมพูชาเพื่อเตีรยมพร้อมสำหรับการจัการเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2536 เขมรแดงหรือพรรคกัมพูชาประชาะิปไตยไม่ยอมวางอาวุธ ไม่หยุดเคลื่อนไหว และไม่ให้ประชาชนในเขตของตนเข้าร่วมการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง ปรากฎว่าพระนโรดม รณฤทธิ์จากพรรค "ฟุนซินเปก"ชนะการเลือกตั้ง โดยฮุน เซน จากพรรค "ประชาชนกัมพูชา" ได้ลำดับที่ 2 ทั้งสองพรรคได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีพระนโรดม รณฤทธิ์และฮุน เซน เป็นนรายกรัฐมนตรีร่วม
         ในปี พ.ศ. 2540 ความตึงเครียดที่ยาวนานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสองพรรคกลายเป็นการต่อสู้ระหว่างพระนโรดม รณฤทธิ์กับฮุนเซน ซึ่งพยายามแย้งขิงโอกาสในการกุมอำนาจทั้งหมด รวมทั้งพยายามดึงแขมรแดงเข้าเป้นพวก ฮุนเซนได้ออกมากล่าวหาวว่าเจ้านโรดม รณฤทธิ์ วางแผนจะยึดอำนาจโดยมีทหารเขมรแดงหนุนหลัง จึงสั่งให้ทหารในฝ่ายของตนจับกุมฝ่ายของฟุนซินเปก
         เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2540 เกิดการปะทะระหว่างมหารที่สนับสนุนฮุน เซนกับพระนโรดม รณฤทธิ์ที่มีพลเอกญึก บุญชัยเป็นหัวหน้าได้ล่าถอยมาตั้งมั่นที่โอร์เสม็ดติดแนวชายแดนที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีกองกำลังเขมรแดงส่วนหนึ่งเข้าช่วยเหลือฝ่าพระนโรดม รณฤทธิ์ คือกลุ่มของ เขียว สัมพัน และ ตา มก ที่ตั้งมั่นอยุ่ที่อันลองเวงอีกกลุ่มเข้าโจมตีฝ่ายรัฐบาลที่บ้านโอตาเตี๊ยะตรงข้ามกับ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ผลการสู้รบกระสุนมาตกฝั่งไทยทหารไทยเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 3 นาย ชาวกัมพูชาอพยพหนีเข้าฝั่งไทย 3,000  คน การสู้รบดำเนินไปจนถึงเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน นายฮุน เซนเป็นฝ่ายมีชัยเหนือ เจ้านโรดม รณรฤทธิ์ และขอลี้ภัยไปฝรั่งเศส ผุ้นำพรรคฟุนซิดเปกอีกหลายคนออานอกประเทศ อึง ฮวดได้เป็นนายกรัฐมนตรีร่วมแทน  ผุ้นำของพรรคฟุนซินเปกกลับสู่กัมพูชาในช่วงสั้นๆ ระหว่างการเลือกตั้งปีะ 2541 พรรคประชาชนกัมพูชาของนายฮุนเซนเป็นฝ่ายชนะแต่เสียงไม่พอจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฟุนซินเปก(wikipedia.org. รัฐประหารในประเทศกัมพูชา พ.ศ. 2540)
            ฮุน เซน เกิดที่จังหวัดกำปงจาม เป็นลูกชาวนา อายุ 13 ก็ออกจากบ้านเป็นเด็กเร่ร่อน อาศัยข้าวก้นบาตรพระเพื่อให้ได้เรียนหนังสือ อายุ 19 ปีเข้าร่วมในกองทัพปฏิวัติ(เขมรแดง) ทำการสู้รบกับทหารลอนนอน (Lon Nol) ซึ่งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน(CIA)
             ฮุน เซน สูญเสียนัยน์ตาข้างซ้าย ก่อนจะชนะต่อกองกำลังลอนนอน เพียงวันเดียว ตอนนั้นเขามีตำแหน่งเป็นผุ้บัญชาการกองพัน ในปี 2518 ต่อมาอีกสองปีเขาหนีไปยู่เวียดนาม เวียดนามยอมรับในการติดต่อเจรจาของเขา มากกว่า เฮง สัมริน ดังนั้นเมื่อเวียดนามยึดครองกัมพูชา เขาจึงได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศใน พ.ศ.2522 ต่อมาฮุนเซน ได้เป็นสมาชิกกรรมการกลางกรมการเมืองและเป้นสมาชิกสำนักงานเลขาธิการซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารพรรคด้วย และไดัรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในปีเดียวกัน
             อีกสี่ปีเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งอายุน้อยที่สุดของโลกคนหนึ่ง เพราะขณะนั้นเขาอายุ 33 ปี ในปี พ.ศ. 2528 และในปี พ.ศ.2531 รัฐบาลไทยโดยพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ได้สร้างความประหลาดใจแก่ชาวโลกที่รับรองรัฐบาลเขมรสามฝ่ายที่มีสมเด็นเจ้านโรดม สีหนุเป็นผุ้นำ แต่กลับเชื้อเชิญ ฮุน เซน มาเยื่อนพร้อมตกลงทำชายแดนไทย-กัมพูชา เปลี่ยนสถานะจากสนามรบเป็นสนามการค้า
             เมื่อเวียดนามถอนตัวจากัมพูชา ฮุน เซน ได้ตกลงร่วมประชุมตกลงให้ต่อสู้กันในสนามเลือกตั้งขณะที่เขมรแดงบอยคอต ผลการเลือกตังพรรคประชาชนกัมพูชาของเขา แพ้การเลือกตั้ง เจ้านโรดม รณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ฮุนเซนเป็นรัฐมนตรีคนที่ 2
             นับแต่ปี 2537 นักลงทุนชาวมาเลเซียเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชา
              กัมพูชา เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์มาช้านาน แน่นอนว่าอิทธิพลของกษัตริย์ยังคงมีอยู่ จึงมีความจำเป็นที่ฮุน เซนจะต้องริดรอนอำนาจของกษัตริย์และระบบเพื่อให้ตนดำรงอยู่ในตำแหน่งได้นานที่สุด
            ฮุน เซนมีลูกชายที่จบจาเวศปอยส์ สถาบันทางการทหารอันดับของสหรัฐ จึงต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างตะวันตกกับโลกอิสลาม เพื่อนำเสถียรภาพความมั่นควและมั่งคั่งมาสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา (oknation.nationtv.tv ประวัติสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน, 11 กุมภาพันธ์2554)
             "ผมขอขอบคุณคนที่บอกว่าผมเลว ผมขอขอบคุณคนที่บอกว่าผมดี ผมขอขอบคุณพวกเขาทุกคน"
             "แน่นอนว่าผมเคยทำผิดพลาด แต่ได้โปรดไตรตรองเทียบกันระหว่างสิ่งที่ผมทำผิดและสิ่งที่ผมทำถูกด้วย"
             สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปราศรัยต่อผู้เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ในโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง "เนียกเลือง" ใน จ.กันดาล ของกัมพูชา ซึ่งตรงกับวันที่ฮุน เซน ดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลกัมพูชายุคต่างๆ ครบรอบ 30 ปี ทำให้เป็นผู้นำที่อยู่ในตำแหน่ง"ทางการเมือง"ยาวนานที่สุดในเอเซียอีกด้วย!!
              หากมองจากประวัติศาสตร์กัมพูชาแต่งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา และมองว่ารัฐประหารเป็นการ "ล้างกระดาน" เพื่อให้การเมืองเดินหน้าต่อไปได้ การจะกล่าวว่า ฮุน เซน เป็น "ผู้นำที่มาจาการเลือกตั้ง" เมื่อรัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น ก็พลอยส่งผลดีต่อการบริหารประเทศ รวมถึงช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงขึ้น
              แต่ก็ใช้ว่าเหตุการณ์ในยุคหลังจะสามารถลบล้างรอยเลือดและน้ำตาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้!! (thairath.co.th, "30 ปี ฮุน เซ็น", 18 มกราคม 2558)

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

Political Security & Investment

            หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชาตกอยู่ใต้การรุกรานของเวียนดนามและรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา สงครามกลางเมืองหลัง พ.ศ. 2523 เป็นการสู้รบระห่างกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นองกลุ่มต่างๆ สามกลุ่มคือ พรรคฟุดซินเปกของพระนโรดม สีหนุ พรรค กัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง และแนวร่วมปลอปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร มีการเจรจาสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และไปสู่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกในปี พ.ศ. 2534 ในที่สุดมีกาจัดตั้งโดยสหประชาชาติในพ.ศ. 2536 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟูประเทศ พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังจากมีการเลือกตั้งโดยปกติใน พ.ศ. 2541 การเมืองมีความมั่นคงขึ้น หลังการล่มสลายของเขมรแดงใน พ.ศ. 2541
           สถานะภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่มีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา CCP ของสมเด็จฮุน เซน และพรรค ฟุนซินเปค FUNCINPEC ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมือกันได้อย่งราบรื่นทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผุ้นำ เขมรแดงมาพิจารณาโทษ เป็นต้น
           กลุ่มการเมืองฝายตรงข้ามรฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสมารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพุชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพุชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณะและนานาชาต เห็นถึงการทุจริตและประพฟติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค(wikipedia.co.th กัมพูชา)
            จากสถิติสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา ระบุว่าตั้งแต่ 2534-2536 มีนักลงทุนต่างชาติยื่นคำของอนุญาตดำเนินธุรกิจ ซึ่งนักลงทุนไทยยื่นคำขอสูงที่สุดในบรรดานักลงทุนต่างชาต รองลงมาได้แก่นักลงทุนจากสิงคโปร์, ฝรั่งเศส, และฮ่องกง
           นักลงทุนไทยที่เข้าไปทำการต้า และลงทุนในจังหวัดเกาะกงมีหลายราย เช่น ธนิต ไตรวุฒิ ส.ส. ตราด ทำธุรกิจรับซื้อไมจากเกาะกง, สมพร สหวัฒน์ ทำสัมปทานไม่, ทัด สิงหพันธ์ นักลงทุนจากตราดเข้าไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำบนพื้นที่กว่าร้อยไร่, ทด สิงหพันธ์ ลงทุนทำรีสอร์ทที่ปากคลอง, สุรศักดิ์ อิงประสาร พ่อค้าพลอย จากจันทบุรีเช่าวังสีหนุเก่าหรือตึกแดงเพื่อทำรีสอร์ทฯ
          เมื่อศูนย์อำนาจในกัมพุชาด้ถูกถ่ายโอนจากคณะรัฐบาลฮุนเซ็น มาเป็นเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ภายหลังที่พรรคฟุนซินเปคยึดครองชัยชนะในการเลือกตั้งสมรชิกสภาร่างรัฐะธรรมนูญเมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้านโรดม รณฤทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่
          เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักลงทุนต่างชาติ และรัฐบาลพนมเปญก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง ว่าหากพรรคฟุนซิเปคได้เป็นฝ่านจัดตั้งรัฐบาลนโยบายเร่งด่วนที่ฟุดซินเปคได้เป็นฝ่ายยจัดตั้งรัฐบาลนโยบายเร่งด่วนที่ฟุดซินเปคจะนำใช้คือ นโยบายการทบทวน และแก้ไขสัญญาการลงทุนของนักลวทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนชาวไทยได้ถูกเพ่งเลงเป็นพิเศษ อันเนื่องมาจากความสัมพันะืที่ใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลพนมเปญ รวมทั้งข้อครหาว่านักลงทุนชาวไทยส่วนใหญ่นิยมติดสินบนใหแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อำนวยความสะดวกในการอนุมัติโครงการ
             การขนนักร้องนักดนตรีชื่อดังจากเมืองไทยกว่า 50 ชีวิต ของกลุ่มชินวัตรซึ่งเข้าไปดำเนินกิจการเคเบิลทีวีและระบบโทรคมนาคมในกัมพูชา เข้าไปร่วมแสดงในการหาเสีงเลือกตั้งวันสุดท้ายของพรรคประชาชนกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดสอทางเคเบิลทีวีไปทั่วประเทศจึงเสมอืนเป็นการ "แทงม้าแบบเทกระเป๋า" ของกลุ่มชินวัตร ซึงเป็นที่ไม่พอใจของพรรคฟุนซินเปค
            เมื่อเส้นทางสู่ทำเนียบเกิดพลิกผันพรรคฟุนซนเปคเป็นฝ่ายชนะ ดังนนั้น นักธุรกิจไทยจึงโดนลงดาบกันถ้วนหน้า ตั้งแต่กลุุ่มชินวัตร, พนมเปญ โฟลทติ้ง ของโอฬาร อัศวฤทธิกุล สัญญาเช่ารีสอร์ทจ.เาะกง โดยนักธุรกิจค้าพลอยชาวไทยในนาม "สุรศักดิ์ อิงประสาร" นอกจากนี้ "เท้ง บุญมา" นักธุรกิจาวไทยผู้บุกเบิกการลงทุนในกัมพูชาในยุคแรกๆ ในนามของ บริษัทไทยบุญรุ่ง
             บทเรียนของนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ยังไมม่มสเสถียรภาพทางการเมือง และไม่มีหลักประกันในการลงุทนใดๆ แม้ว่าจะมีกฎหมายรองรับการลงทุนออกมา เช่นประเทศกัมพุชานั้นคงจะเป็นอุธาหารณ์ให้นักลงทุนเพ่ิมความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น(http//www.info.gotomanager.com, "บทเรียนของนักลงทุนไทยในกัมพูชา" มกราคม 2537)
             การรัฐประหารที่ล้มเหลวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2537 กับการเข้าไปพวพันของบรรษัทข้ามชาติไทย  การรัฐประการเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 5.00 น.กองกำลังฝ่ายกบฎประมาณ 500 คน ได้ยกพลพร้อมด้วยรถถัง 20 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ 21 คัน และอาวุธสงครามประกอบด้วยเครื่องกระสุน จรวด ตลอดจนเครื่องมือตัดสายไฟฟ้า กองกำลังทั้งหมดเดินทางมาจากจังหวัดเปรเวง มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงพนมเปญ
             ต่อมาได้รับการสกัดกั้นจากกองทหารฝ่ายรัฐบาล สังกัดพรรคฟุนซินเปค ที่นำโดย นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 แทนที่จะเป็นเจ้านโรดม รณฤทธิ์
              กองกำลังพรรคฟุนซินเปฝ่ายรัฐบาลได้ทำการสกัดกั้นกองกำลังกลุ่มกบฎไว้จับกุมตัวพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย สังกัดพรรคประชาชน กับนายเตียซอย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งทั้งสองคนเป็นผุ้บัญชาการกองกำลังฝ่ายกบฎหลังจากนั้นจึุงส่งกองกำลังฝ่ายกบฎกลับที่ตั้งโดยไม่มีการปะทะกัน
              การรัฐประหารครั้งนี้ มีเสดต็กรมขุนเจ้านโรดม จักรพงษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีโอรสต่างมารดาในสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ และนายพลเอก สินสอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผุ้นำในการก่อรัฐประหาร กองทหารฝ่ายรับาลจึงเข้าควบคุมตัวเจ้านโรดม จักรพงษ์
               เจ้านโรดม จักรพงษ์ ได้เรียกร้องขอความคุ้มครองจากผุ้สื่อข่าวชาวอเมริกัน และยังเรียกร้องไปยังสมเด็จเน้านโรดม สีหนุ ที่ทรงพำนักอยุ่ ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อขออนุญาตเดินทางลบี้ภัยไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
               หลังจากนั้นกองทหารฝ่ายรัฐบาลเข้าจับกุมตัวนายพลสินสองที่บ้านพัก พร้อมกันนี้กองทหารฝ่ยรัฐบาลได้ยึดอาวุธปืนจำนวนหนึ่ง  และเครื่องมือสิื่สาร ตลอดจนทำการกักตัวนายพลสินสองไว้ที่บ้านพัก สำหรับเจ้านโรดม จักรพงษ์ ต่อมาภายหลังก็ได้รับการอนุญาตจากเจ้านโรดม รณฤทธิ์ให้ลี้ภัยไปยังประเทศมาเลเซีย
            !!จับกุม 14 คนไทยพัวพันการรัฐประหาร-ไล่ล่า ส.ส.ไทย พัวเครือชินวัตร?
             นายฮุนเซนได้เคยพบปะกับนักธุรกิจชั้นนำ ที่กระทรวงการต่างประเทศ การพบปะดังกล่าว นายฮุนเซนได้กล่าวถึง การเข้าไปลงทุนของนักธุรกิจไทยว่านักธุรกิจไทยเป็นนักฑุุรกิจที่กล้าหาญที่ไปลงทุนในกัมพูชาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งเชื่อว่านักธุรกิจไทยคงประสบความเสียหายน้อยลง
             หลังจากที่ตนได้ร่วมลงนามกับเจ้ารณฤทธิ์เพื่อขอ มติขับนาย สัม รังษี อคีตรัฐมนตรีคลังออกจากตำแน่าง เหนืองจากเป็นบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของต่างประเทศ การหยิบยกสัญญาที่ได้ทำไว้กับรัฐบาลชุดก่อนขึ้นมาทบทวนแล้วบอกว่า เป้นวัญญาที่ไม่ถูกต้องหรือในกรณีที่ธนาคารต่างชาติไปลงทุนในกัมพูชาก็ถูกนาย สัม รังษีกล่าวหาว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน
           นายฮุนเซน กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการลงทุนในดัมพูชาตนขอเอาชีวิตเป็นประกันว่าธุรกิจและการลงทุนของไทยที่จะเข้าไปในกัมพูชาต่อไปนี้จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป และขอย้ำว่าจะมอบชีวิตเป็นประกันธุรกิจไทยในกัมพูขา ทั้งยังจะเสนอให้มีการหยิบยกสัญญาที่ยังมีปัญหาขึ้นมาพิจารณาอย่างยุติธรรมอีกครั้งหนึ่้ง โดยจะเร่งให้เสร็จสิ้นปัญหาดดยเร็วที่สุด
           การให้สัมภาษณ์ของนายฮุนเซน จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ 2 ประการ ประการแรก ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 กันายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ไม่ดี นับแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลผสมและต้องทำงานร่วมกัน
           ประการที่สอง ชี้ให้เห็นถึงสายสัมพันธ์อันเกี่ยวเนืองเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่มนักธุรแกจไทยกับนายฮุนเซนอย่งเห็นได้ชัด ฉะนั้นการที่นาย สัม รังษี และเจ้สนโรดม รณฤทโิ์เข้ามาทำการรอันเป็นผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจไทย
          จึงเป็นที่ต้องสงสัยว่า การรัฐประหารในกัมพูชาครั้งนี้ ผู้ที่เข้าไปพัวพันกับการรัฐประหารก็คือ กลุ่มนักธุรกิจจากประเทศไทย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากการที่กลุ่มนักธุรกิจซึ่งนำโดยอดีตสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรพรรคการเมืองหนึ่งกับพรรคพวก ได้ให้ความช่วยเหลือนำตัวพลเอก สินสอง ผุ้มีส่วนร่วมในการัฐประหารกับพรรคพวกหลบหนีเข้าเมืองทางชายแดนด้านจังหวัดตราด หลังจากที่กลุ่มเขมรเหล่านี้ก่อการรัฐประหารไม่สำเร็จ..(มติชนออนไลน์, เปิดวิทยานิพนธ์"ร้อน"-กลุ่มชินวัตรสัมพันะ์ลึก "ฮุนเซน" พวพันรัฐประหารซ่อนเงื่อนในกัมพูชา?)        

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...