วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

The Wars

          สงครามโลกครั้งที่ 1 หากพิเคราะห์เหตุความขัดแย้งที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดสงครามนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งโดยแท้จริงนั้นเกิดเฉพาะประเทศในยุโรป  อันเกิดจากลัทธิชาตินิยมและการสิ้นสุด หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่ปรัสเซีย ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย นำมาซึ่งการสถาปนาอาณาจักรเยอรมันในเวลาต่อมา เกิดลัทธิชาตินิยมในหมู่ชาวฝรั่งเศส รวมไปถึง ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี ที่มีการรวมชาติหลังจบสงครามฝรั่งเศสปรัชเซีย รวมถึงชาวสลาฟในคาบสมุทรบอลข่าน การแข่งขันกันทางด้านการค้าเสรี การสแวงหาอาณานิคมเจริญถึงที่สุดในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้ ทวีปเอเชยและทวีปแอฟริกาตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปเกือบทั้งหมด แบ่งเป็นอินแดนในอแฟริกาตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ฝรั่เศส  ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ทวีปเอเชียอังกฤษครอบครอง อินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออกสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสปกครองลาว เขมรญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ตะวันออกกลางเป็นดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และตุรกี การแข่งขันกันทางด้านนี้จึงทำให้การมีอาณานิคมเป็นเครื่องมือความยิ่งหใญ่ ของชาติ ชาวยุโรป จึงได้มีการตกลงแบ่งเขตอิทธิพลในที่ต่างๆ เืพ่อไม่ใหมีปัญหาขัดแย้งกัน ภายหลัง
              มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งเป็น เยอรมนี ออสเตรีย- ฮังการีผเป็นจักรวรรดิที่มี ระบอบการปกครองแบบควบคู่ และอิตาลี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ฝรั่งเศส รัศเซีย และอังกฤษ เกิดเป็นกลุ่ม ประเทศความตกลงไตรภาคี มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่มมีการโน้มน้าวประเทศ อื่นๆ มาเป็นพันธ์มิตร เมื่อเกิดข้อขัดแย้งต่างๆ ประเทศในกลุ่มพันธมิตรก็จะมาช่วยกันในการทำสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน การเกิดสงครามระหว่างบัลแกเรีย-เซอร์เบีย กรีซ  หลังจากสงครามทำให้เซอร์เบียเป็นแค้วนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกลุ่มชาวสลาฟ
             เมื่อรัชของออสเตรีย-ฮังการีและพระชายถูกลอบปลงพระชนม์ ดดยชาวบอสเนย ซึ่งมีเชื่อสายเซอร์เบีย เหตุเพราะโกรธแค้นที่จักรวรรดิ์ออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองบอสเนย และขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย มือสังหารถูกจับกุมทันที่หลังลอบปลงพระชน
 ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียเข้าร่วมกับเซอร์เบีย อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาช่วยจากการทำพันธะสัญญากับรัสเซีย
             สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือมักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" ก่อน ค.ศ. 1914 เป็นสงครามใหญ่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914-11 พฤศจิการยน ค.ศ. 1918
              ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเกิดสงคราม ไทยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสัเกตุความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างำกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึนเป็นลำดั ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอมนี และออสเตรีย-ฮังการี แล้วประกาศเรียพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามยุดรป การส่งทหาไปรบครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียรู้วิชาการทางเทคนิคการรบ และการช่างในสมรภูมิ
            หลังจบสิ้นสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผุ้แทนเข้ประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่างๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และออสเตรีย - ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามของเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบควายากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จากดร. ฟราน ซิส บีแซยร์ ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยากลัยา ณไมตรี ในที่สุ ประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญ พงศ. 2467 ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลก
ำหมายครอบถ้อย และยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอากร ยกเว้น บางอย่างที่อังกฤษขอลดอย่นตอไ ปอี 10 ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่มาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับไทย ไทยจึงได้อิสรภาพทางอำนาจศาลและภาษีอากร คือมาโดยสมบูรณ์
           สงครามโลกครัั้งที่ 1 นำมาซึ่งกาเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างใหญ่หลวงในยุโรป ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง รวมทั้งการล่มสลายของรัฐจักรวรรดิที่สำคัญ ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักวรรดิออกตโตมัน ตลอดจนจักรวรรดิรัสเซีย ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เซอร์เบียและโรมาเนีย รวมถึงการก่อตั้งรัฐใหม่หลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมันล่มสลาย หลังสงคราม ชาตินิยม อุดมการณ์เรียกร้องดินแดน และลัทธิแก้แค้น กลายมามีความสำคัญในหลายประเทศยุโรป อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนและลัทธิแก้แค้นแรงกล้ามากในเยอรมนี เพราะเยอมนีถูกบังคับตามสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นผลให้เอยรมนีเสียดินแดนของประเทศไปร้อยละ 13 รวมทังอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด การรวมเยอมนีเข้ากับประเทศอื่นถูกห้าม ซึ้งต้องแบกภาระชำระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล และถูกจำกัดขนาดและขีดความสามารถของกองทัพอย่างมาก ขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองรัสเซีย ได้นำปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำโดยพรรคบอลเซวิค ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
         สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความขัดแย้งทางทหารระดับโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939-1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผุ้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็ฯพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธ์มิตรทางทหารคู่สงคามสองฝ่าย คือฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของสงคราม "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผุ้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเอทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยลยเส้นขีดแบ่งระหว่งทรัพยากรของพลเรือนหรือทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผุ้เสียชีวิตระหว่าง 40-มากกว่า 70 ล้านคน
         ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดสงครามในระดับโลกถึงสองครั้ง โดยสงครามโลกคร้งแรกเป็นสงครามที่เกิดขี้นเฉพาะในยุโรปเ็นสำคัญเท่านั้น แต่ในสงครามดลกครั้งที่สองนับได้ว่าเป็นสงครามที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างแท้จริง และพบว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการที่เดียว
         สงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นการรบซึ่งตั้งอยุ่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ (ฝ่ายอักษะ)และอีกฝ่ายี่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลกเอาไว้ (ฝ่ายสัมพันธมิตร) หรือกาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มตามอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติในครอบครองของตน ได้แก่ "กลุ่มประเทศมี" (Have Countries) กับ "กลุ่มประเ้ทศไม่มี" (Have not Countries) อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายก็มิได้ให้ควารวมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากนัก เพราะทั้งสองฝ่ายเพียงร่วมมือกันระหว่างประเทศคู่สงครามเพื่อทำลายอีกคู่สงครามฝ่ายลงอย่างรอบคาบเท่านั้น
         การรบในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี จนมีนักประวัติศาาสตร์ผุ้หนึ่งกล่าวไว้ว่า สงครามโลกครั้งที่สอง "เป็นการรบที่กระทำอย่างกะทันหันโดยปราศจากการวางแผนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนวว่าที่ใดคือจุแตกหักของสงคราม อาวุธใดโดดเด่นที่สุดในสงครามและข้อสรุปทางประวัติศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ทวีปยุโรปไม่เหลือพลังอำนาจที่จะดำเนินนโยบายของตนในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อีกต่อไป ดังที่เห็นได้จากสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบฝ่ายอักษะหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงคราม ดังนั้น สหรัฐอเมริกาและสภาพโซเวียตจึงก้าวขึ้นเป็นสองประเทศอภิมหาอำนาจที่ดำเนินนโยบายของโลกในเวลาต่อมา
         
           
                          (www.th.wikipedia.org/.., สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
                          (www.th.wikipedia.org/..,สงครามโลกครั้งที่สอง)
                          (knowleadge.eduzone.com/.."ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1)
                          (www.slidesshare.net/.."ความขัดแย้ง (สงครามโลกครั้งที่ 1/ สงครามโลกครั้งที่ 2/ สงครามเย็น)

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Thai_Tai

             "There are only four countries that escaped European colonialism, completely. Japan and Korea successfully staved off European domination, in part due to their strength and diplomacy, their isolationist policies, and perhaps their distance. Thailand was spared their distance.Thailand was spared when the British and French Empires decided to let it remained independent as a buffer between British-controlled Burma and French Indochina.Japan, However, colonized both Korea and Thailand itself during its early-20th-century  imperial period.
             "มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่ไม่ถูกยึดครองไม่ว่าในรูปแบบใดเลย ได้แก่ ญี่ปุน และเกาหลี(เหนือ-ใต้) นั้นรอดพ้นจากการถูกยึดครองโดยชาติยุโรปด้วยนโยบายโดเดียวตนเอง ส่วนหนึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับความเข้มแข็งและนโยบายทางการทูต..บางที่อาจจะรวมไปถึงข้อได้เปรีบบทางภูมิศาสตร์
              ไทยแลนด์นั้นถูกยกเว้นเอาไว้ไม่ถูกยึดครอง เนื่องจากเป็นการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 มหาอำนาจได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษนั้นยึดครองพม่าไว้ทั้งหมด ส่วนฝรั่งเศสยึดครองอินโดจีนไว้ทั้งหมด
              แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งไทยและเกาหลี ก็ล้วนแล้วแต่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น ในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองโดยระบอบจักรพรรพิ์ช่วงศตวรรษที่ 20"
             "Entente cordiale 8 April 1904. The final declaration  concerned Siam (Thailand), Madaascar and the New Hebrides (vanuatu).In Siam, the British recognised a French sphere of influennce to the east of the River Menam's basin;in turn, the French recognised British influence over the territory to the west of the Menam basin. Both parties disclaimed any idea of annexing Siamese territory.
             อังกฤษยอมรับอิทธิพลของฝรั่งเศสในพื้ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฝรั่งเศสก็ยอมรับอิทธิพลของกฤษที่ฝั่งตะวันตก(ฝั่งซ้าย) และทั้งคู่ตกลงจะไม่สนใจที่จะนำสยามเป็นเมืองขึ้น..(http//pantip.com "โลกนี้มีเพียง 5 ประเทศที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติยุโรปและไทยเป็น 1 ในนั้น)
         
              การสูญเสียแผ่นดินครั้งทั้ง 14 ครั้งของไทย

           
                  การเสียดินแดนในสมัยกรุงรัตนโกสินต์ ในครั้งแรกเสียดินแดน (ปีนัง)ให้กับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 1 ครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า ในสมัยเดียวกัน 3 บันทายมาส (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 2, 4) แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่า เป็นดินแดนที่ตีได้จาพม่ามนสมัยรัชกาลที่ 1, 5) รัฐเปรัค เสียให้กับอังกฤษ ในรัชสมัยเดียวกันในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี 6) สิบสองปันนา ในกับจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมือง หลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง(เมืองหน้าด่านเชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จ และในสมัยรัชกาลที่ 4 ยกไปตีอีกครั้งแต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป ครั้งที่ 6 เสียเขมรและเกาะ 6 เกาะให้กับฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการทูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกนไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเหล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคัยทำสัญญารับรองความอารักขอจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้ อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญกันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ รัชการลที่ 5 และการเสด็จประพาศยุโรปถึง 2 ครั้ง เยื่อนรัสเซียและเยอรมัน
                ครั้งที่ 8 สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส ในรัชสมัยเดียวกัน ฮ่อก่อกบฎ ทางทางฝ่ายไทยจัดกำลังไปปราบ 2 กองทัพ แต่แม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล อ้างว่า มาช่วยไทยทราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้วไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จักกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย ในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
                ครั้งที่ 9 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง คือการเสียดินแดนฝั่งซ้ายลุ่มน้ำสาละวิน ( 5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมื่องกะเหรี่ยง) ให้แก่อังกฤษ
                ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่นำ้โขง (อาณาจักรล้านชาง หรือประเทศลาว)ให้กับฝรั่งเศสในสมัยเดียวกัน ซึ่งเป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร และฝรั่งเศสเรียเงินจาไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย ค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี
              ครั้งที่ 11 ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไชยะบุลี) ให้กับฝรั่งเศส ในสมัยเดียวกัน  ไทยได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปจากจันทบุรีแล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก 5 ปี และเมือฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังล้ำย่านนาดี,ด่านซ้าย จ.เลย
              ครั้งที่ 12 มลฑลบูรพา (พระตระบอง, เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ใหกับฝรั่งเศส ไทยทำสัญญาเพื่อแลกกับตราด, เกาะกง, ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพังธงฝรังเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขายฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหาออกจากตราด กับด่านซ้าย คงเลหือแต่เกาะกงที่ไม่คืนให้ไทย
                 ครั้งที่ 13 เสียรัฐกลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี,ปริส ให้กับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
                ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหารให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ตามคำพิพากษาของศาลโลกให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส (www.rungnapa-astro.com/.., ประวัติศาสตร์ไทยการเสียดินแดนไทย 14 ครั้งเด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน)

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : Filipino

            จักรวรรดิสเปนเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลกและเป้ฯหนึ่งในจักรวรรดิแรกที่มีอินแดนและอาณานิมในยุโรป อเมริกา, เอเชียและโอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณรนิคมในแอฟริกาเป็ฯดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี ค.ศ. 1492 หลังจาก "การพิชิตดินแดนคืน"ในคาบสมุทรไอบีเียน ในปีเดียวกันคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสก็นำกองเรือสำตวจกองแรกของสเปนในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เป็นการเริ่มต้นของของการแสวงหา
อาณานิคมในอเมริกาของยุโรป ซึกโลกตะวันตก จึงเป็นจุดหมายทางอำนาจใหม่ของจักรวรรดิสเปน  
            ระหว่างยุคแห่งการสำรวจสเปนก็เร่ิมไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนและผุ้พิชิต ก็เริ่มโค่นจักรวรรดิท้องถิ่นที่พบเช่น จักรวรรดิแอซเท็คและจักรวรรดิอินคา ต่อมาคณะสำรวจก็ขยายดินแดนของจักรวรรดิสเปนตั้งแต่บริเวณที่เป็นแคนาดาปัจจุบันในทวีปอเมริกาเหนือไปจนจรดเดียร์ราเดลฟวยโกทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ การเดินทางสำรวจของสเปนเป็นการเดินทางรอบโลกที่เร่ิมโดยเฟอร์ดินันด์ มาเจลลน ในปี ค.ศ. 1519 และจบลงด้วย ยวน เซบาสเตียน เอลคาโน ในปี ค.ศ. 1522 ซึ่งเป็นกานรสำรวจสมตามความตั้งใจของโคลัมบัสในการพยายามหาเส้นทางไปยังเอเชียโดยการเดินทางไปทางตะวันตก ซึ่งทำให้สเปนหันมาสนใจในตะวันออกไกล โดยการก่อตั้งอาณานิคมในเกาะกวม, ฟิลิปปินส์ และเกาะใกล็เคียง
         ยุคก่อนการเข้ามาของสเปนเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนจากภายนอกเข้ามปักหลัอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปินส์ตั้งแต่ครั้งก่อนปะวัติศาสตร์ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่ครั้งก่อนปะวัติศาสตร์ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำใช้ชีวิตเรียบง่าย ยังชีพด้วยการทำนาและหาปลา ไม่ค่อยติดต่อกับโลกภายนอกมากนัก จากสถานที่ตั้งของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทำให้มีพ่อค้าและนักเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับผู้คนบนเกาะตั้งแต่ครั้งโบราณ พ่อค้าชาวจีน อินเดีย อาหรับ ปละอินโดนีเซียที่เดินทางมายังหมู่เกาะได้นำสินค้า ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นอย่งน้อยที่ผู้คนบนหมู่เกาะทำการค้ากับราชวงศ์ซ่งของจีน และมีบัฯทึกการส่งทูตไปเจรญสัมพันธ์ไมตรีจีน การค้าขายกับจีนทำให้มีชาวจีนมาตั้งรกรากถ่ินฐานอยู่ในหมู่เกาะเป็นจำนวนมาก แต่วัตถุประสงค์ของการเข้ามานั้นเพื่อทำการค้าเพียงอย่างเดียว  ซึ่งต่่างจากพ่อค้าที่เข้ามาในภายหลัง คือผู้นับถือศาสนาอิสลามและสเปน ที่เมื่อเข้ามาแล้วต้องการแผ่อิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะ
         ลักษณะการเมืองกาปกครองก่อนที่สเปนจะเข้าครอบครองนั้นเป็นการปกครองในรูปชนเผ่า มีลักษณะการปกครองแบบหมู่บ้าน หรือ บารังไก มี ดาตู เป็นผุ้ปกครอง ในแต่ละบารังไกจะมีการแบ่งประชาชนเป็นชนชั้น ปกครอง เสรีชน ชาวนา และทาส การปกครองของดาตูเป็นการปกครองแบบเผด็จการ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จึงขาดพลังในการวบรวมประชาชนต่อต้านการรุกรานของสเปน
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1521 มิเกล โลเปซ เด เลกัซปี มถึงฟิลิปปินส์ในปี 1565 และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมาหลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฎต่างๆ มากมายทั้งจากชนพื้เมืองและจากชาติอื่นที่พยายามแข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วยสงครามเจ็ดปี หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ได้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 ถึงปี ค.ศ. 1821 และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เร่ิมต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834
          สเปนปกครองฟิลิปปินส์อยู่นานถึง 335 ปี การปกครองของสเปนทำให้ฟิลิปปินส์มีโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองแตกต่างไปจากที่เคยเป็นมา ชาวสเปนพยายามแสงหาผลประโยชน์จากชาวพืนเมืองอย่างมาก เมื่อชาวสเปนเข้ามาปกครองมีการจัดโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม โดยแบ่งเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง ชาวสเปนนำ ระบบโปโล ซึ่งระบบเกณฑ์แรงงานมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้อย่างสะดวก คนพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่าต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ นอกจากนี้ยังมีระบบผูกขาดการค้าหรือระบบบันดาลา ที่ใช้บังคับซื้อสินค้าจากชาวพื้นเมืองในระคาต่ำ
          ในด้านการศึกษา สเปนจัดการศึกษให้ชาวพื้นเมืองโดยผ่านโรงเรียนคาทอลิกซึ่งสอนโดยบาทหลวง วัตถุประสงค์สำคัญคือการเผยแผ่คริสต์สาสนานิกายโรมันคาทอลิก และใช้ภาษาสเเปนเป็นหลัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคือการมีพ่อแม่อุปถัมภ์ทำให้สังคมของฟิลิปปินส์กลายเเป็นสังคมภายใต้ระบบอุปถัมภ์จนถึงทุกวันนี้
          ด้านเศรษฐกิจ สเปนเข้ามาครอบครองที่ดินทำให้ชาวพื้นเมือง พระจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงให้เปิดการค้าโดยตรงและจัดตั้งบริษัทหลวงขึ้นที่ฟิลิปปินส์ ให้ส่งสินค้าที่ผลิตได้จากที่ฟิลิปินส์ไปสเปนโดยไม่เสียภาษีขาเข้า ทำให้การค้ามีกำไรดี เกิดเป็ฯอุตสาหกรรมโรงานทอผ้า การผลิตพริกไทย เครื่องเทศ ครา น้ำตาล และไหมขึ้น ต่อมามีการสั่งยุบบริษัทหลวง และเปิดทาเรือมะนิลาสู่ตลาดโลก อันเนืองจากการประกาศเอกราชของเม็กซิโก
            ความเจริญทางการค้าที่เกิขึ้นส่งผลให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นในฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่เป็นลูกครึงจีนหรือสเปนซึ่งมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุข มีการศึกษาดี นิยมส่งลูกหลานไปรับการศึกษาในต่างประเทศ คนกลุ่มนี้ช่วยทำลายประเพณีดั้งเดิมที่ปิดฟิลิปปินส์จากโลกภายนอก และตื่นตัวเรื่องลัทธิชาตินิยมและลัทธิเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขบวนการชาตินิยมทีเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ได้หยั่งรากลึกในสังคมโดยมีผุ้นำศาสนาหัวเสรี กลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มนักศึกษาฟิลิปปินส์ในสเปนเข้าร่วม
           ประชากรฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์นิการโรมันคาทอริกมากที่สุด รัฐบาลสเปนใช้ศาสนบังหน้าเพื่อปกครองชาวฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ขูดรีด จนนำมาซึ่งการต่อต้านของปัญญาชนและการต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ แต่เมื่อได้อิสรภาพแล้วศาสนคริสต์นิกายโรมันคออลักก็ยังคงมีบทบาทในวิถีชีวิตของผุ้คน ผู้นำศาสนานิกายนี้มีอิทธิพลมากจนกระทั่งสามารถขับไล่ผู้นำรัฐบาลที่คอร์รับชันและล้มเหลวในการปกครองประเทศไทยถึงสองคน
            เอมีลีโอ ฟามี อากีนัลโด เป็นนักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกตาชของฟิลิปปินส์จากสเปน รุ่นเดียวกับ โฮเซ รีซัล และอันเดรส โบนฟาซีโอ เขาเป็นผู้นำในการลุฮือขั้นต่อสู้กับสเปนด้วยอาวุธหลังการถูกประหารชีวิต ของรีซัล ซึ่งเป็นนักปฏิวัติชาวฟิลิปปินส์ที่มีบทบาทในการจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 แยกออกมาจากการเป็นอาณานิคมของสเปนในครั้งแรก ในชื่อสาธารณรัฐบีอักนาบาโต และได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ก่อนจะกลายเป็นอาณานิคมของสหรัฐ เขาถูกจับกุมเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน และถูกบังคับให้สาบานตนว่าจะซื่อสัตย์ต่อสหรัฐอเมริกา
            อากีนัลโดเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีนประสบความสำเร็จในการนำกองกำลังชาวพื้นเมืองเข้าปล้นคลังอาวุธของสเปน ทำให้กาวีเต กลายเป็นศูนย์กลางของกลุ่มกบฎ อากีนัลโด มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับสเปนอย่างเข้มแข็ง สนับสนุนให้ชาวพื้นเมืองเรียกตัวเองว่ฟิลิปิโนแทนชื่อที่ชาวสเปนใช้ว่าอินดิโอสที่หมายถึงคนชั้นต่ำ เขาจัดตั้งคณะกรรมการกลางปฏิวัติและจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ การปฏิวัติตามแผนการของอากีนัลโดทำให้เขากลายเป็นคู่แข่งของ อันเดรส โบนีฟาซิโอ ผู้ก่อตั้งขบวนกาตีปูนัน
         
 ในช่วงแรก ทั้งอากีนัลโดและโบนีฟัสซิโอร่วมมือกันในการจักตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จัดตั้งสภาปฏิวัติใหญ่ที่ตำบลเตเฮโรสที่เป็นที่มันของรัฐบาลกาตีปูนัน อากีนังโด ได้รับเลือกเป็ฯประธานาธิบดี ในการประชุมกลุ่มผุ้นำนักปฏิวัติพื้นเมืองในตำบลเตเฮโรสเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2439 แต่กลับเป็นชนวนให้เขากับโบนีฟัสซิโอต้องต่อสู้กันเอง หลังจากที่โบนีฟัสซิโอถูกประหารชีวิต อากีนัลโดเป็นผุ้นำการปฏิวัติแต่เพียงผู้เดียว และประกาศจัดตั้งสาธารณรับบีอักนาบาโต
          รัฐบาลอาณานิคมที่มะนิลาไม่ยอมรับรัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ และเข้าปราบปรามด้วยกำลังอาวุะในเดือนสิงหาคม ชาวพื้นเมืองในที่ต่างๆ เข้าร่วมกับกลุ่มของอากีนัโดเป็นจำนวนมาก ต่อมา อาซาเบโล อาร์ตาโช และเฟลิกซ์ เฟร์เรร์ ได้ร่างรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐบีอักนาบาโตโดยเลียนแบบรัฐธรรมนูญของคิวบา อากีนัลโดยนั้น ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐบีอักนาบาโตอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิการยน พ.ศ. 2440 โดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาราชการ
          ขณะนั้น สเปนเผชิญปัญหาการแข็งข้อของอาณานิคมทั้งในฟิลิปปินส์และคิวบา สเปนจึงตัดสินใจเจรจากับกลุ่มของอากีนัลโด ผลของการเจรจาทำให้มีการลงนาในสนธิสัญญาบีอักนาบาโดที่จะให้สทิธิแก่ชาวฟิลิปปินส์ สเปนจะจ่ายเงินชดเชยให้อากีนัลโดและขอให้กลุ่มของเขาออกไปจากฟิลิปปินส์ อากีนัลโด ตกลงและออกเดินทางไปฮ่องกง สาธารณรับบีอักนาบาโตจึงสิ้นสุดลง แต่รัฐบาลสเปนจ่ายเงินชดเชยไม่ครบ และพยายามจับกุมขาวพื้นเมืองในข้อหากบฎ ชาวพื้นเมืองจึงก่อกบฎต่อต้านสเปนอีก ส่วนกลุ่มของอากีนัลโด ไปขอความช่วยเลหือจากสหรัฐอเมริกา
          เมื่อสงครามสหรัฐอเมริกา-สเปนขยายตัวมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก จอร์จ ดิอีย์ ได้ทำลายกองทัพเรือสเปนที่มะนิลา อากีนัลโดเดินทางกลับสู่เมืองกาวีเตพร้มเรือรบสหรัฐ อากีนัลโดประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์โดยมีเมืองหลวงที่มาโลส แต่สหรัฐฯไม่ยอมรับ อากีนัลโดได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาเผด็จการ มีการชักธงชาติฟิลิปปินส์ขึ้นสู่ยอดเสา กองกำลังฝ่ายชาวพืนเมืองล้อมกรุงมะนิลาไว้ได้
         สเปนได้ทำสัญญาลับกับสหรัฐ โดยยกฟิลิปปินส์ ให้สหรัฐ และกับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสเปนถอนกองกำลังออกไป สหรัฐฯเข้ายึดมะนิลา ห้ามกองกำลังชาวพื้นเมืองเข้าสู่มะนิลา อากีนัลโดจึงประกาศยืนยันความเป็นรัฐอิสระของฟิลิปปินส์และสาบานตนเป็นประธานาธิบดี จากนั้นจึงต่อสู้กับสหรัฐฯต่อไป การต่อสู้กับสหรัฐใช้เวลาถึง 2 ปี โดยไม่ยอมแพ้ จนกรทั่งถูกจับตัวได้และถูกบังคับให้สาบานตนยอมแพ้ต่อสหรัฐ รวมท้งให้เขาออกประกาศให้ชาวพื้นเมืองยอมวางอาวุธ ซึ่งหลังจากนั้นต้องใช้เวลาออีก 2 ปี การสู้รบจึงยุติลง อากีนับโดถูกเนรเทศไปยังเกาะกวม ..
           สืบเนื่องจากการทำสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา ในปัญหาคิวบา การรบได้ขยายอาณาบริเวณจากทะเลแคริเบียนมาสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ในฐานะที่ฟิลิปปินส์เป็ฯกำลังสำคัญในสเปน ทำให้อเมริกามุงโจมตีกองทัพเรือของสเปนในฟิลิปปินส์ อเมริกามีคำสั่งให้นายเรือจัตวา ดิวอี้ เข้าโจมตี และสามารถทำลายกองทัีพเรือของสเปนได้ทั้งหมด ผลจากความสำเร็จของอเมริกานั้น ส่วนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือจากชบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ที่ต้องการจะต่อต้านสเปน ชาวฟิลิปปินส์ต้องการที่ตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น แต่ไม่เป็นผลดังที่ตั้งใจไว้ อเมริกาฯ ประกาศเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาปารีส ทำให้ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์เข้าต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่อเมริกาสามารถปราบขบวนการชาตินิยมได้ใน ค.ศ. 1901 สหรัฐฯเข้าครอบครองหมู่เกาะฟิลิปินส์เพราะเห็นประโยชน์ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทางด้านการค้าและการคมนาคมเพือเป็นฐานสู่เอเซียตะวันออก สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องปกครองฟิลิปปินส์อย่างไม่เป็นการถาวร ทั้งที่รู้ดีว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็ฯที่ต้องการของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และไม่อาจมอบปมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้แก่ชาวฟิลิปปินส์ได้ปกครองตนเอง เพราะดอ้ยพัฒนาในทุกด้าน เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีแมคคิลเลย์แห่งสหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในระยะเวลาหนึ่ง และทำการปลดปล่อยในอนาคตเมื่อ ฟิลิปปินส์มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
          ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริก อเมริกาได้ให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวพื้นเมืองมากว่ารัฐบาลสเปน ยกฐานะของสตรีให้สูงขึ้น จัดระบบการศึกษาที่ทันสมัยให้แก่ฟิลิปปินส์ จัดให้มีสวัสดิการแก่ชนชั้นกรรมกร สงเสริมความยุติธรรมทางสังคมคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็ก การทำงานมีค่าจ้าง ที่ดิน ผู้เช่าต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อังษร โอนคริตสจักรสเปนให้พระพื้นเมือง
            สหรัฐอเมริกาปรับปรุงแผนเศรษฐกิจ ควบคุมการค้าและภาษีของฟิลิปปินส์ ปรับปรุงธนาคารทางการเกษตรและอุตสาหกรรม มีการตั้งองค์กรมากมาย เช่น องค์กรผลิตอาหารแห่งชาติองค์กรข้าวโพดและข้าวองค์กรการทำน้ำตาลเป็นต้น
            สหรัฐอเมริกา ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ฝึกให้ประชาชนรู้จักการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา ได้ออก ฟิลิปปินส์ แอคส์ กำหนดให้สภาฟิลิปปินส์มีสภาผุ้แทน ตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ

                            (www.th.wikipedia.org/..,เอมิลีโอ_อากีนัลโด)
                            (www.th.wikipedia.org/..,ประเทศฟิลิปปินส์)
                            (www.th.wikipedia.org/..,จักรวรรดิสเปน)
                           - ฟิลิปินส์ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้-หนังสือชุด "อาเซียน"ในมิติประวัติศาสตร์, 30 ตุลาคม 2015.

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : "East India Company, British"and South east Asia II

          หลังจากอังกฤษเข้าครอบครองอินเดียอันเป็นเสมือนเพชรเม็ดที่สุกใสที่สุดบนมงกุฎจักรพรรดิอังกฤษ อินเดียได้กลายเป็นแหล่งป้อนทรัพยากรมนุษย์และวัตถุดิบให้แก่อังกฤษเพื่อการขยายอำนาจไปยังส่วนต่างๆ ของทวีปเอเชีย อังกฤษเริ่มให้ความสนใจพม่าเพราะอังกฤษต้องเผ้าระวัผลประโยชน์ของตนในแค้วนเบงกอลที่มีเขตแดนติดกันกับพม่าโดยอังกฤษมองว่าการเมืองภายในของพม่าที่มักจะเกิดสงครามระวห่างเชื้อชาตินั้น จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการค้าของอังกฤษในบริเวณที่มีชายแดอนติดต่อ


กัน นอกจากนี้อังกฤษยังต้องคอยระวังรัสเซียที่ขยายอิทธิพลลงมาสู่ตะวันออกกลางผ่านอัฟกานิสถานและฝรั่งเศสที่ได้สถาปนาอำนาจอยู่ในอินโดจีนและพยายามที่จะเข้ามามีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในพม่า ฝรั่งเศสและพม่าได้มีการลงนามในสัญญาทางการค้าทำให้อังกฤษเริ่มมีความหวาดระแวงว่าหากฝรั่งเศสสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากการลงทุนในพม่าได้ก็จะคุกคมผลประโยชน์ของอังกฤษในอินเดียได้เช่นกันรัฐบาลอังกฤษในอินเดียจึงได้ตัดสินใจแสวงหาทางสถาปนาอำนาจทางการเมืองเหนือพม่า
        ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและพม่า มีสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องเขตแดนในปี ค.ศ. 1784 พระเจ้าโพเทาพญาของพม่าได้ทำการผนวกแคว้นอาระกันเข้ากับพม่ามีผลให้พรมแดนของพม่ามีอาณาเขตติดกันกับแคว้นเบงกอลของอังกฤษ พม่าเมื่อปกครอง"ยะไข่"แล้วได้ทำการปกครองอย่างกดขี่ ยะไข่หมดความเกรงกลัวพม่าและก่อกบฎขึึ้น แม้พม่าจะสามารถทำการปราบปรามกบฎลงได้แต่มีพวกกบฎจำนวนหนึ่งหนีข้ามไปในเขตจิตตะกอง อันเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษอยู่เป็นประจำทัพของพม่าก็มักที่จะยกตามพวกกบฎเหล่านี้เข้าไปจนเป็นเหตุให้มีการปะทะกับทหารของอังกฤษกองทัพของอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้พท่าถอยตามหลักกฎหมายนานาชาติยุโรป และเหตุการจึงยุติลง
             การที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบตาม
พรมแดนสร้างความไม่สบายใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง อังกฤษได้พยายามหาหนทางที่จะยุติปัญหาความยุ่งยากจึงส่ง ทูตไปยังพท่าเพื่อเจรจาเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับพรมแดนและการค้ากับพม่า โดยสรุปให้กีดกันทางการค้ากับฝรั่งเศสและหันมาค้าขายกับอังกฤษแทน การเจรจาไม่ราบรื่นนัก แต่ตกลงกันว่าพม่าจะยอมปิดเมืองท่าที่ค้าขายกับฝรั่งเศสโดยอังกฤษจะส่งกบฎขาวยะไข่ในเมืองจิตตะกองคืนแก่พม่า 
           กบฎยะไข่ได้ทำการกบฎและหนีเข้าจิตตะกองของอังกฤษอีกหลายครั้งทำให้เกิดความตรึงเครียดระหว่างอังกฤษกับพม่า
           ปี ค.ศ. 1811 เกิดการกบฎขึ้นอีกครั้งในแคว้นอาระกัน ความสัมพันธ์ของอังกฤษและพม่าเริ่มเลวร้ายลงทุกขณะ โดยที่ทำการเจรจากันอยู่นั้นทัพพม่าสามารถทำการตีกองทัพของกบฎได้ ชิน เมียน หลบหนีไปในเขตแดนของอังกฤษอีกครั้งแต่ทางอังฤษกลับไม่สามารถจับตัวได้ สร้างความไม่พอใจให้กับพม่าเป็นอย่างยิ่งพม่ามองว่าอังกฤษไม่มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือพม่าในการจับตัวชินเมียน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและพม่าตรึงเครียดและสุดท้ายความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศได้ล่มสลายลง
    จากเหตุการดังกล่าวทำให้ราชสำนักพม่าหมดความเชื่อถือและมองว่าอังกฤษไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร กษัตรย์พม่ามีนโยบายที่จะขยายอิทธิพลของตนเข้าไป มณีปุระและอัสสัม อันเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษโดยพยายามเข้าแทรกแซงทางการมือง ซึงสร้างความวุ่นวาย และการกบฎขึ้น ทำให้มีผู้ลี้ภัยเข้าไปในเขตแดนอังกฤษมากขึ้นทุกที อังกฤษมองดุการกระทำดังกล่าวด้วยความแคลงใจเช่นกัน เมื่อพระเจ้าโพเทาพญาสวรรคต กษัตริย์องค์ใหม่ของพม่าคือพระเจ้า บาณีดอได้ขึ้นครองราชย์พระองค์เป็นผุ้มีความสามารถและมีความทะเยอทะยานพระองค์มีนโยบายที่จะขยายอำนาจเข้าไปในแคว้นเบงกอลเพื่อทำการแข่งขันกับอังกฤษ
           สงครามระหว่างอังกฤษและพม่าครั้งที่ 1 หลังจากที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ของพม่าขึ้นครองราชย์ได้ทำพิธีพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแต่ประากฎว่าเจ้าผุ้ครองแคว้นมณีปุระไม่ได้เดินทางมาร่วมในพระาชพิธีในครั้งนี้ด้วยพร้อมไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการไปถวายตามที่เมืองประเทศราชพึงจะปฏิบัติการกระทำดังกล่าวของเมืองมณีปุระสร้างความไม่พอพระทัยให้กับกษัตริย์พม่าพระองค์ใหม่เป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าบาณีดอทรงมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นหารประกาศตัวเป็นเอกราชของเมืองมณีปุระ
           พระเจ้าบาณีดอ ทรงดำริว่าควรจะแสดงพระราชอำนาจให้ปรากฎก่อนที่อังกฤษจะได้เข้ามทำการแทรกแซง ความคิดดังกล่าวได้รับความสนับสนุนจากบรรดาแม่ทัพนายกองของพระองค์ดังนั้นพระองค์จึงได้ส่งกองทัพไปทำการปราบปรามเมืองมณีปุระ ความวุ่นวายในเมืองมณีปุระได้ขยายตัวเข้าไปในแคว้น  คชา และ เจนเตีย ที่เป็นแค้วนเล็กๆ แต่อังกฤษมองว่าแคว้นทั้งสองนั้นเปรียบเสมือนแคว้นกันชนระหว่างอระกันของพม่ากับเบงกอลของอังกฤษ เพื่อปิดกั้นความวุ่นวายตามแนวชายแดนที่อาจจะขวายตัวเข้ามาในแคว้นเบงกอลอังกฤษได้ดำเนินการประกาศให้แคว้นทั้งสองเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่การประกาศดังกล่าวไม่เป้ฯที่สนใจของพม่าปฏิบัตตนโดยปราศจากความเกรงกลัวต่ออังกฤษและพร้อมที่จะทำสงครามกับอังกฤษอีกด้วยเหตุความวุ่นวายตามชายแดนที่มีมาตลอดและความก้าวร้าวของพม่าทำให้อังกฤษเองก็ได้หมดความอดทนแล้วเช่นกันอังกฤษได้ประกาศสงครามกับพม่า
          พม่าเชื่อมั่นว่าพวกตนคงจะได้รับชัยชนะ ได้อย่างไม่ยากเย็นนักในการทำการรบในครั้งนนี้ เมื่อได้ทำการรบกันนั้นปรากฎว่าอังกฤษได้รับชัยชนะแม้ว่ากองทัพของพม่าจะมีจำนวนที่มากกว่าถึงสองต่อหนึ่งแต่อาวุธของอังกฤษมีความทันสมัยกว่ามากแม่ทัพพม่าเสียชีวิตในสนามรบ อังกฤษสามารถยึดเมืองร่างกุ้ง หัวเมืองมอญต่างๆ ที่อยู่ทางใต้และมีอาณาเขตติดทะเล เช่น ตะนาวศรี ทวาย และมะริด เมื่อกองทัพอังกฤษสามารถยึดได้เมืองแปรและเตรียมที่จะบุกเข้าโจมตีอมรปุระ เมืองหลวงของพม่าจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พม่าหมดทางเลือกต้องยอมเจรจาสงบศึก
       
 อังกฤษและพม่าได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก ยันดาโป พม่าเสียดินแดนอาระกัน ทวาย มะริด ให้กับอังกฤษพม่าจะต้องไม่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเขตอิทธิพลของอังกฤษและจะต้องเปิดความสัมพันะ์ทางการทูตขึ้นใหม่และพม่าจะต้องจ่ายค่าชดเชยจากการทำสงคราม เป้นจำนวนเงินถึง 1 ล้านปอนด์ พร้อมทั้งทำสัญญาการค้ากับอังกฤษให้เป็นเรื่องเป็นราว
         ผลจากการพ่ายแพ้สงครามและการทำสนธิสัญญายันดาโบซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคนี้สรางความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศพม่าเป็นอย่างยิ่ง ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้พม่าเสียหน้าและศักดิ์ศรีของชาติความเข้มแข็งทางการทหารของพม่าล่มสลายและไม่สามารถที่จะรื้อฟื้นกลับมาได้อีก
          พม่าเคยเป็นที่เกรงขามของประเทศเพื่อบ้านแต่สภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการทำสัญญาในครั้งนี้
           แม้ว่าอังกฤษและพม่าจะมีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตตามสนธิสัญญายันดาโบอังกฤษคิดว่าการใช้สัมพันธไมตรีทางการทูตจะช่วยให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นผ่อนคลายลงแต่ทางราชสำนักพม่ายังคงถือตัวว่ามีความสุงส่งและไม่ต้องการที่จะลดตัวลงไปทำการใดๆ กับผู้สำเร็จราชการที่อินเดีย แม้พท่าจะพ่ายแพ้และรับรู้ถึงแสนยานุภาพทางการรบของอังกฤษแต่พม่าก็ยังยึดติดอยุ่ในทัศนคติแบบเก่าและค่านิยมแบบดั้งเดิม จากแนวความคิดแบบนี้ของพม่าแม้อังกฤษพยายามจะใช้การทูตในการแก้ไขปัญหาก็ไม่ได้ทำอะไรใหดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีและการปฏิบัติคนของข้าราชการพม่าที่มีต่อพ่อค้าและข้าราชการอังกฤษทางอังกฤษก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนักทูตที่ทางอังกฤษส่งไปประจำในพม่า ทำตัวดูถูกและเหยียดหยามคนพม่าอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการก่อกบฎขึ้นในพม่าโดยมีเจ้าชายทราวดีเป็นผู้นำผุ้เป็ฯอนุชาของพระเจ้าบาณีดอ อังกฤษมองเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเป็ฯโอกาสดีที่อังกฤษจะเข้าแทรกแซงโดยการให้ความสนับสนุนเจ้าชายทราวดีในการก่อกบฎแต่เมื่อเจ้าชายทราวดีขึ้นครองราชย์พระองค์กลับกระทำสิ่งที่อังกฤษเองก็ไม่คาดคิด
           พระองค์ได้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในสนธิสัญญายันดาโบโดยอ้างว่าสนธิสัญญาที่ทำนั้นเป็นข้อตกลงในสมัยรัชกาลก่อนไม่มีข้อผูกมัดในรัชสมัยของพระองค์ ความสัมพันธ์ระหว่งพม่าและอังกฤษเลวร้ายลงเรื่อยๆ จนในที่สุดอังกฤษได้ถอนทูตออกจากพม่าจนหมดความสัมพันะ์ทางการทูตระหว่างอังกฤษและพม่าจึงสิ้นสุดลงโดยปริยาย การที่ทูตอังกฤษที่ผู้สำเร็จราชการที่อินเดียส่งมาได้ถอนตัวออกไปนั้นสร้างความพอพระทัยให้พระเจ้าทราวดีเป็นอย่างยิ่ง
       
 พระองค์ถือว่าการที่มีทูตอยู่ในเมืองหลวงถือเป็นความน่าอับอายเพราะ ทูตเหล่านี้ไม่ใช่ผู้แทนจากกษัตริย์อังกฤษ พระเจ้าทราวดีเกิดสติวิปลาสและสวรรคตลง พระเจ้าพุกามแมง กษัตริย์องค์ใหม่ของพม่า มีนโยบายต่อ้านอังกฤษทำให้บรรดาขุนนางต้องการที่จะเอาใจและทำตามนโยบายของกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วยการทำการกดขี่บรรดาพ่อค้าอังกฤษให้ได้รับความเดือดร้อน เป็นเหตุให้พ่อค้าอังกฤษเรียกร้องการคุ้มตีองและควบคุมอินแดนทางตอนในของพม่าจากรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ขุนนางพม่าที่เป็นเจ้าเมืองพะ โคจับเรืออังกฤษจำนวนสองลำและทำการกักขังกัปตันเรือไว้โดยกล่าวหาว่าเรืออังกฤษไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมทางอังกฤษตอบโต้การกระทำของพม่าโดยการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ทางพม่าได้ปฏิเสธสงครามระหว่างอังกฤษและพม่าจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง
          ในสงครามครั้งที่ 2 นี้ไม่มีอะไรแปลกใหม่อังกฤษได้รับชัยชนะ ในสงครามกับพม่าอีกคร้งการพ่ายแพ้ต่ออังกฤษแสดงให้เก็นถึงความล้มเหลวทางการทหารของพม่าเมืออังกฤษได้ผนวกพะ โค เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษเช่นเดียวกับอาระกันและตะนาวศรีที่ได้มาในสงครามครั้งก่อทำให้พม่าโดนตัดขาดจากภายใอกอังกฤษได้เมืองที่ติดชายทะเลไปจนหมดประเทศพม่ากลายเป็นดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล พม่ากลายเป็นประเทศที่ยึดติดกับขนบของตนเองมากขึ้นและไม่พยายามที่ผูกไมตรีหรือสนใจโลกภายนอก ขณะเดียวกันอังกฤษก็ได้แสดงให้เห็ว่าหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น โดยสันติวิธีได้อังกฤษก็พร้อมที่จะใช้กำลังทหารเข้าบังคับ ผลของสงครามได้สร้างคาามเปล่ยนแปลงในราชสำนักพม่าเมื่อบรรดาขุนนางได้ทำการถอดถอนพระเจ้าพุกามแมงและสถาปนาพระราชอนุชาของพระองค์คือเจ้าชาย มินดง ขึ้นเป้นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้ามินดงมิน
           พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่รับรู้ถึงความอันตรายของการต่อต้านอังกฤษเป็นอย่างดีทรางเสิรมสร้างให้พม่าเข้มแข็งโดยการปรับปรุงประเทศในด้านต่างๆ และพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นมาใหม่พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเสรีภาพของพม่าจะดำรงอยู่ได้โดยการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับอังกฤษแต่พระองค์พทรงได้พยายามถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษในพม่าด้วยการดึงฝรั่งเศสให้เข้ามามีบทบาทในพม่าด้วยเช่นกัน
 ในสมัยนี้เป็นสมัยที่พม่าตกอยู่ในยุคความหวาดกลัวเป็นสมัยของความทารุณโหดร้ายเป็นผลให้พม่าอ่อนแอ เกิดกบฎขึ้นทั่วไปข้าราชการอังกฤษในอินเดียเสนอให้รัฐบาลอังกฤษเข้าทำการแทรกแซงแต่รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นด้วย แต่การปกครองที่ไม่เป็นธรรมและคดโกงของราชสำนักพม่าภายใต้การนำของพระมเหสีและพรรคพวกสร้างความไม่พอใจให้กบพ่อค้าชาวอังกฤษเพราะการค้าได้รับความกระทบกระเทือนจนพยายามที่จะบับบังคับรัฐบาลอังกฤษในอินเดียเข้าแทรกแซง ความขัดแย้ของพม่าและอังกฤษถึงขั้นแตกหัก เมื่อทางพม่ากล่าวหาว่าบริษัทบอมเบย์เอบมาที่มีอิทธิพทางการเมืองว่าได้ทำการตัดไม้สักเกินกว่าที่ได้ทำการตกลงกันไว้และทางพม่าได้เรยกร้องค่าเสียหายแต่ทางบริษัทอบมเบย์เบอมาได้ปฏิเสธทางพม่าคิดว่าฝรั่งเศสจะเข้ามาให้คามช่วยเหลือแต่ต้องประสบกับความผิดหวัง
           สงครามครั้งที่ 3 ระหว่างอังกฤษและพม่าจึงเกิดขึ้นพม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามเหนมอนสองคร้งก่อนหน้านี้กษัตริย์พม่ายอมจำนนและโดนเนรเทศไปอยู่อินเดียอังกฤษได้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ของพม่าและประกาศรวมพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย


            "การเข้ายึดพม่าของอังกฤษ" พินธกร นามดี

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : "East India Company, British"and South east Asia

           จักรวรรดิบริติช หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ คราวน์โคโลนี รัฐในอารักขา รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นมหาอำนาจ โลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึงศตวรรษ จักวรรดิบริติชปกครองประชการประมาณ 458 ล้านค้น หรือกว่หนึ่งในห้าของประชากรโลกในเวลานั้นครอบคลุมพื้ที่มากกว่า 33,000,000
ตารางกิโลเมตร เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก เป็นผลให้มรดกทางการเมือง, กฎหมาย, ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษแผ่ขยาย ในยุคที่จักรวรรดิบริติชรุ่งเรื่องที่สุด มักใช้คำวลี "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิบริติช" เพราะดินแดนที่มีอยู่ทั่วโลกทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองอย่างย้อนที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา
           อังกฤษ เริ่มสนใจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังจากการเดินทางรอบโลก ของ เซอร์ ฟรานซิส เดรก และได้จักตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนแข่งกับฮอลันดา เพื่อ ผลประโยชน์ทางการค้าในหมู่เกาะอิสดีสตะวันออก แต่การลงทุน และระยะเวลาที่เข้ามามีน้อยกว่าฮอลันดา อังกฤษได้เข้ามา
ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตน เพื่อทำการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย เมื่อการค้าก้วรหน้าขึ้น อังกฤษจึงต้องการดินแดนริมฝั่งทะเล เพื่อเป็นสถานีการค้าและเป็นฐานทัพ เรือของตน อังกฤษจึงสนใจมลายู และได้ดำเนินการเป็นขึ้นตอนเพื่อเข้าครอบครองมลายู ใน พ.ศ. 2329 อังกฟษ ได้ดำเนินการขอเช่าเกาะปีนังจากเจ้าเทืองไทนบุรี ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทยเวลานั้น ต่อมาได้ขอเช่าไทรบุรี และให้ชื่อว่ โพรวินส์ เวสลีย์ และได้เจรจาของเข่าเกาะสิงคโปร์ จากสุลต่านรัฐยะโฮร์ ซึ่งดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของฮอลันดามาก่อน อังกฤษจึงต้องเจรจากับฮอลันดา ตกลงทะสนธิสัญญาลอนดอน สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการแบ่งอิทะิพล ระหว่างอังกฤษกับฮอลันดา คือ ฮอลันดาได้ครอบครองหมู่เกาะอินเดียตะวัน
ออก ในขณะที่อังกฤษครอบครองมะละกา ซึ่งเป็นของฮอลันดามาก่อน และอังกฤษต้องถอนตนออกจากเกาะสุมาตรา หลังจากนั้น อังกฤษได้รวม ปีนัง สิงคโปร์ และมะละกาเข้าด้วยกัน เรียกว่ สเตรทส์ เซทเทิลเมนส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษเข้ายึดอินเดียย เป็นอาณานิคมแล้ว อังกฤษก็ให้ความสนใจดินแนในแหลมมลายูมาขึ้น โดยเข้าไปรักษาความสงบและข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่างๆ จนเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ รวมทั้งการเจรจาทำสนธิสัญญากับไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ซึ่งเป็นของไทย โดยอังกฤษจะยอมเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ หลังจากอังกฤษ ได้ครอบครองดินแดนในแหลมมลายูแล้ว อังกฤษได้ครอบครองดินแดนอื่นๆ คือ บอร์เนียว บรูไนส์ และพม่า โดยที่อังกฤไษด้ทำสงครามกับพม่าถึง 3 ครั้ง และได้ชัยชนะตลอด จนพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
              สหภาพมาลายา เป็นสหพันธ์ของกลุ่มรัฐมลายูและอาณานิคมช่องแคบ รวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งสืบทอดมาจากลุ่มอาณานิคมบริติชมาลายาสหภาพแห่งนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อรวมสูนย์การปกครองของรัฐต่างๆ ที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูให้อยู่ใต้รัฐบาลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ สหภาพมลายาเป็นรูปแบบการปกครองที่อังกฤษเสนอขึ้นเพื่อใช้ปกครองอินแดนมลายู่เป็นอาณานิคม
            ปลายศตวรรษที่ 15 และต้นศตวรรษที่ 16 มะละกาได้ขยายเป็นจักรวรรดิครอบครองพื้นที่ทั้งหมดของคาบสมุทรมาลายูและบ่างส่วนของเกาะสุมาตรา มะละกาได้เปลี่ยนสภานภาพจากเมืองท่าเล็กๆ เป็นชุมทางการค้าการขนส่งทางทะเลและโมลุกกะ กับตลาดทังใยุโรปและเอเชีย ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มะละกาประสบความสำเร็จ คือ มะละกาตังอยู่ในแนวลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวัออกเฉียงเหนือซึ่ง
ช่วยให้เรือสำเภาทั้งจากตะวันตกและตะวันออกสามารถแล่นถึงกันได้ตลอดทั้งปี เมื่อมหาอำนาจตะวันตกยึดเมืองมะละกา สุลต่านอาห์เหม็ด ชาห์ สุลต่านองค์ุดท้ายของมะละกาได้หนีไปยะโอร์และใช้ยะโฮร์เป็นฐานที่มั่นในการต่อสู้เพื่อชิงมะละกาคืมาแต่ไม่เป็นผลจึงหนีไปเปรัคและสวรรคต พระโอรสองค์โต สุลต่าน มุซาฟาร์ ชาห์ ได้ก่อตั้งเมืองใหม่ในปีเดียวกันที่เปรัคซึ่งเป็นเมืองที่อุดมด้วยดีบุก และพระโอรสองค์รอบสุลต่านอัลเลาะด์ดิน ไรยัท ชาห์ ตั้งมั่นอยู่ที่ยะโฮร์และสถาปนาอาณาจักรใหม่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยะโฮร์ ได้ขยายอำนาจขึ้นเป็นจักรวรรดิครอบครองยะโฮร์ สิงคโปร์และหมู่เกาะรีเยา และเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่แทนมะละกา การล่มสลายของจักรวรรดิมะละกาและยะโฮร์ทำให้มหาอำนาจทั้งในและนอกภูมิภาคผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองคาบสมุทรมลายู
           อังกฤษเป็นมหาอำนาจตะวันตกชาติสุดท้าย ต่อจาก โปรตุเกศและเนเธอร์แลนด์ที่เข้าครอบครองคาบสมุทรมลายู การครอบครองรัฐต่างๆ ของอังกฤษแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ อาณษนิคมช่องแคบ สหพันธ์รัฐมลาย และรัฐนอกสหพันธ์มลาย ซึ่งแต่ละแบบมีวิธีการที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่อาศัยการแทรกแซงทางการเมืองซึ่งมีความขัดแย้งกันอยู่เป็นทุนเดมและแสวงหาแนวร่วมด้านผลประโยชน์ กล่าวคื อคาบสมุทรมลายูประกอบด้วยรัฐน้อยใหญ่มากมาย อาทิ ยะโฮร์ เซลังงอร์ เปรัค ปาหัง ตรังกานู แแต่ละรัฐมีผู้ปกครองของตน ทำให้คาบสมุทรมลายูไม่มีความเป็นเอกภาคในการปกครองและขาดเสถียรภาพทางการเมือง อังกฤษอาศัยจุดอ่อนนี้ในการครอบครองรัฐต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปแม้จะใช้เวลาที่ยาวนานแต่ก็สามารถครอบครองคาบสมุทรมลายูได้อย่างเบ็ดเสร็จ
              อาณานิคมช่องแคบ คืออาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง รัฐมะละกา สิงคโปร์ และบาบวนในปัจจุบัน อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2369 โดยในตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึงของอินแดนที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาได้กลายเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว และได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
              อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้สมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเจตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลนทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์โดยและกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเากะปีนังมาสิงคโปร์
             ในปี พ.ศ.2410 นิคมดังกล่าวำด้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเต็มตัว โดยอยู่ภายใต้การปกครองของสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอนแทนที่จะขึ้นตรงกับรัฐบาลประจำอินเดียในกัลกัตตา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลอังกฤษได้ตราธรรมนูญประจำอาณานิคม โดยให้อำนาจแก่ข้าหลวงแห่งนิคม ซึ่งบริหารกิจการของอาณานิคมโดยได้รับคามช่วยเหลือจากสภบริหารและสภานิติบัญญัติ
             ดินดิงซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะทางตะวันตกของรัฐเประก์ ได้กลายเป็นของอังกฤษตามสนธิสัญญาปังโกร์ แต่ดินแดนดังกล่าวก็ไม่ทำประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากนัก
             พรอวินซ์เลส์ลีย์ซึ่งเป็นพื้นทางชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกดะห์ที่อยู่ตรงกันข้ามกับเกาะปีนังและมีอาณาเขตทางใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ ได้กลายเป็นของอังกฤษ โดยเขตแดนทางเหนือและทางตะวันออกที่ติดต่อกับรัฐเกดะห์นั้นได้กำหนดตามข้อตกลงที่ทำกับสยาม ดินแดนแห่งนี้ถูกปกครองโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งขึ้นตรงต่อหน่วยงานในเกาะปีนัง พื้นที่ส่วนใหญ่ของพรอวินซ์เลลส์ลีย์เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู โดยมีชาวจีนและชาวทมิฆซึ่งเป็นแรงงาน รวมทั้งผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆ อาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง พื้ประมาณหนึ่งในสิบเป็นเนินเตี้ยๆ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ พื้นที่นี้ผลิตข้าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
             อาณานิคมช่องแคบประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปีนัง ดินดิงส์ และโพรวินซ์ เวลเลสลีย์ พื้นที่ีชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกดะห์ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะปีนัง มะละกา และสิงค์โปร์ต่อมาเมืองจึงรวมลาบวน บนเกาะบอร์เนียวไว้ในอาณานิคมช่องแคบในท้ายที่สุดอาณานิคมช่องแคบอยู่ในสังกัดสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอนและเรียกดินแดนเหล่านี้ว่า คราวน์ โคโลนีย์ โดยอังกฤษส่งข้าหลวง มาปกคอรงบริหารรัฐเหล่านี้โดยขึ้ตรงกับกษัตรย์อังกฤษ
            ปีนัง เป็นเกาะอยู่ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น เกาะหมาก(ในภาษาไทย) ปูเลา ปีนัง (ภาษามาลายู) และพรินซ์ออฟเวลล์(ในภาษาอังกฤษ) ปีนังเป็นอาณานิคมแห่งแรกของอังกฤษในคาบสมุทรมลายู อังกฤษเริ่มแข้ามาเกาะปีนังในปี ค.ศ. 1771 ขณะนั้นปีนังเป็นส่วนหนึ่งของเกดะห์ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เจรจากับสุลต่านมูฮัมหมัด จีวาแห่งเกดะห์เพื่อของการจัดตั้งสภานีการค้าแห่งในปีนัง ในช่วงนั้นเกดะห์ หรือไทรบุรีเป็นเมืองขึ้นของสยามและต้องส่งบรรณาการแก่สยามทุกปี สุลต่านจึงยอมให้อังกฤษจัดตั้งสถานีการต้าเพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอังกฤษ ปีนังจึงเป็นรัฐแรกที่ถูกอังกฤษครอบครองและจัดตั้งเป็นสภานีการค้าแห่งแรกของอังกฤษในคาบสมุทรมลายู
             สิงคโปร์ ข้าหลวงอังกฤษคิดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งสถนีการค้าแห่งใหม่และเพื่อคานอำนาจของฮอลันดา จึงออกสำรวจและเดินทางถึงสิงคโปร์ และมีความเห็นว่าสิงคโปร์มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจะเป็นสูนย์กลางการค้าของอังกฤษในภูมิภาคนี้ ขณะนั้นเกาะสิงคโปร์เป็นเพียงหมู่บ้าชาวประมงเล็กๆ ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำสิงคโปร์ และเป็นส่วนหนึ่งของยะโฮร์ อังกฤษเจรจากับสุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน แห่งยะโฮร์เพื่อจัดตั้งสถานีการค้าบนเกาะสิงคโปร์แต่ถูกปฏิเสธ ทั้งนี้เพรราะยะโฮร์อยู่ภายใต้อำนาจของฮอลันดาและยูกส ต่อมาอังกฤษได้สืบทราบว่าการที่สุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน ได้ครองราชย์เป็นเพราะพระเชษฐา ตนกูฮุสเซน ชาห์ หรือตนกูลอง ซึ่งมีสิทธิ์ในการครอบครองราชย์ไม่ประทับอยู่ที่ยะโฮร์ในขณะที่อดีตสุลต่านสวรรคต จึงเสียสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ เซอร์แรฟเผิลจึงได้สมคบกับตนกูฮุสเซน ชาห์ ซึ่งถูกเนรเทศไปยู่ที่รีเยาให้กลับมาเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์ ช่วยให้อังกฤษสามารถครอบครองสิงคโปร์ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและสุลต่านฮุสเซน ซาห์ ได้ลงนามอย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้เกาะสิงคโปร์ เมื่ออังกฤษได้จัดตั้งอาณานิคมช่องแคบซึ่งประกอบด้วย ปีนัง ดินดิงส์ มะละกา และสิงคโปร์ ได้กำหนดให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการต้าและการปกครองของอาณานิคมช่องแคบ
            มะละกา อังกฤษและฮอลันดาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในคาบสมุทรมลาู โดยอังกฤษยกเบนคูเลน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตราให้กับฮอลันดาและฮอลันดามอบมะละกาให้แก่อังกฤษเป็นการตอบแทน
            รัฐในอารักขาของอังกฤษ รัฐในอารักขาคือ รัฐซึ่งมีเอกราชและอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้ามแข็งกว่าทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้อินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง
            สหพันธรัฐมาลายา เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมลายูและดินแดนต่างรวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะลกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร แต่ต่อมาก็ได้มีการประกาศเอกราช และจัดตั้งเป็นประเทศมาเลเซียในเวลาต่อมา สหพันธ์รัฐมลายาประกอบด้วยรัฐเซลังงอร์ เปรัค ปาหัง และเนกรี แซมบิลัม ก่อนที่จะมีการจัดตั้งสหพันธรัฐมลายา แต่ละรัฐมีสุลต่านเป็นผู้ปกครอง และอังกฤษส่งข้าหลวงประจำ เพื่อดูแลการต้าและผลประโยชน์ของอังกฤษในรัฐต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาสุลต่านใด้านการเก็บภาษีอากร เมื่อมีการรวมรัฐทั้งสี่และจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐมลายาในปี ค.ศ. 1895 จึงได้แต่งตั้ง ข้าหลวงใหญ่ เป็นผู้ปกครองสูงสุดของสหพันธรัฐมาลายูรวมถึงอาณานิคมช่องแคบ การได้มาซึ่งรัฐในสหรัพธ์รัฐมลายามีดังนี้
            เซลังงอร์  ในศตวรรษที่ 19 เซลังงอร์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากได้สำรวจพบแหล่งแร่ดีบุกอีกท้้งยังเป็นแผล่งผลิตยางพาราที่สำคัญ ในช่วงนี้เองมีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่เข้ามาขายแรงงานในเซลังงอร์เป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านี้ได้รวมตัวกันอย่างลับๆ และร่วมมือกับชนชั้นผู้นำเพื่อควบคุมเหมืองดีบุก ในระหว่างความขัดแย้งได้ลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองซ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างผู้ปกครองเซลังงอร์และผู้ปกครองเมืองแคลงเพื่อยึดครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการปกครอง ซึ่งรู้จักกันในนาม สงครามกลางเมืองเซลังงอร์หรือสงครามแคลง เหตุการณ์นี้เปิดช่องให้อังกฤษซึ่งในขณะนันมีบทบาทในเศรษฐกิจของเซลังงอร์ยื่นข้อเสนอให้สุลต่านแห่งเชลังงอร์ยอมรับให้มีข้าหลวงอังกฤษประจำเซลังงอร์เพื่อให้ความช่วยเหลือในการยุติความขัแย้งและสงครามแลางเมือง หลังจากที่เซลังงอร์กลับข้าหวงอังกฤษประจำเซลังงอร์ เพื่อให้ความช่วยเหลือในการยุติความขัดแย้งและสงครตามกลางเมือง หลังจากที่เซลังงอร์กลับเข้าสู่สภาวะปกติข้อหลวงประจำของอังกฤษเซอร์แฟรง สเวทเทนแฮม ได้ประสานให้มีการรวมเซลังงอร์ เนเกรี เซมบิแลน เปรัค และปาหัง เพื่อจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลย์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ในเซลงงอร์
                เปรัค เปรัคก่อตั้งหลังจากที่อาณาจักรมะละกาล่มสลาย โดยาชบุตองค์โตของสุลต่าน อาห์เหม็ด ชาห์ สุลต่านองค์สุดท้ายแห่งมะละกา คือ สุลต่าน มุซาฟาร์ ชาห์ เนื่องจากเปรัคอุดมด้วยแร่ดีบุก จึงเป็นที่หมายปองของรัฐต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค ในศตควรรษที่ 19 บูกิส อาเจะห์และสยสมต่างพยายามที่จะครอบครองเปรัค ในขณะนั้นอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลในคาบสมุทรมลายู โดยได้ครอบครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ และหมายที่จะครอบครองเปรัคเช่นกัน อังกฤษจึงเข้ามาแทรกแซงการรุกรานดังกล่าวทำให้เปรัคสามารถรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของสยาม
                ต่อมาเกิดการแย่งชิงสัมปทานเหมืองแร่ระวห่างชาวจีน 2 กลุ่มในเปรัค สุลต่านแห่งเปรัคไม่สามารถปราบปรามได้ เนื่องจากเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ในราชสำนักสุลต่าน ราชามุดา อับดุลลาห์ ได้มีสาสน์ถึงข้าหลวงใหญ่ของนิคมช่องแคบแสดงความจำนงค์ยินยอมให้เปรัคอยู่ในอาณัติของอังกฤษหากช่วยให้เขาได้ครองบัลลังก์ ทั้งสองได้พบกันที่เกาะปังกอร์ เพื่อลงามในสนธิสัญญาเพื่อให้อังกฤษช่วยรักษาความสงในรัฐเปรัค และสนับสนุนให้ราชามุดา อับดุลลาห์เป็นสุลต่านอับดุลลาห์ มูห์หมัด ชาห์ ที่ 2 แทนสุลต่าน อิสเมล มอบิดดิน ไรยัท ชาห์ โดยเปรัคยอมให้อังกฤษส่งข้าหลวงมาประจำ อีกทั้งมอบสิทธิในการครอบครองอินดิงส์ และเกาะปังกอร์ ให้แก่อังกฤษ
              ปาหัง เป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดบนคาบสมุทรมลายูเป็ฯรัฐเก่าแก่ของไทย เคยมีคนไทยเป็ฯเจ้าอมืองมาแต่โบราณ ก่อนหน้านี้ปาหังเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย แต่หลังจากอาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1000 ปาหังถูกครอบครองโดยอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาโดยสยาม และสุดท้ายโดยจักรวรรดิมะละกา
            เนเกรี เชมบิลัน อยู่ในสภาวะความขัดแย้งทางการเมืองมาตลอด สาเหตุเนื่องจากเนเกรี เซมบิลันเป็นรัฐที่ก่อตั้งโดยชาวมินังคาเบาจากเกาะสุมาตราในศตวรรษที่ 15 ในช่วงแรกเนเกรี เซมบิลันอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งยะโฮร์ ต่อมายะโฮร์อ่อนกำลังลงเนื่องจากถูกบูกิสโจมตี เนเกรี เซมบิลันจึงหันพึ่งสุมาตราซึ่งเป็นเชื้อสายเดียวกัน สุมาตราได้ส่ง ราชาเมเลวาร์ มาครองเนเกรี เซมบิลัน แต่เมื่อมาถึงปรากฎว่าราชาคาทิบ ได้ตั้งตนเป็นผู้ปกครองเนเกรี เซมบิลันเรียบร้อยแล้ว ในที่สุดราชาเมเลวอร์ได้ขึ้นครองรชย์ในปี 1773 โดยการรับรองของสุลต่านแห่งยะโฮร์โดยแต่งตั้งให้เป็น ยังดีปอตวนอากงแห่งเนเกรี เซมบิลัน และเมื่อราชาเมลาวาร์สิ้นพระชนม์ทายาทของราชาเมเลวาร์และราชาคาทิบก็ต่อสุ่เพื่ออ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ การต่อสู้ลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองอังกฤษจึงถือเป็นข้ออ้างในการส่งกองกำลังเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษในเมืองซันไกอูจง และส่งข้าหลวงมาประจำต่อมา ยึดเมือง เจเลบู และยึดเมืองที่เหลือได้ทั้งหมด
              บอร์เนียวเหนือ เป็นรัฐในอารักขาในการดูแลของบริษัทบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรโดยใช้ชื่อว่าบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ จนถึงปี ค.ศ.1963 บอร์เนียวเหนือตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ซึ่งก็คือรัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน
              บรูไน  เป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 -คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอเนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้นคือ การบูร พริกไทยและทองคำ หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปนและฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยิมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมายอมลงนามในสนธิสัญญายินยิมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
               รัฐนอกสหรัพธรัฐมลายา ประกอบด้วย รัฐยะโฮร์ และรัฐที่เป็นเมืองขึ้นของสยาม การครอบครองรัฐเหล่านี้อาศัยวิธีการดังนี้
              ยะโฮร์ เป็นหนึ่งในสองรัฐที่สามารถขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิในช่วงที่ฮอลันดาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในคาบสมุทรมลายูจักรวรรดิยะโฮร์-รีเยา-ลิงกะ ประกอบด้วยดินแดนในอาณัติ 4 ส่วน คือ มัวร์ ปาหัง รีเยา และยะโฮร์ซึ่งรวมถึงสิงคโปร์ แต่ละส่วนมีผู้ปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งจากสุลต่านซึ่งประทับอยู่ในลิงกะ จักรวรรดิยะโฮร์เรื่องอำนาจในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 17 แต่เมืองขึ้นต้นศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มเสือมอำนาจลงเนื่องจากถูกรุกรานโดยบูกิสและมินังกาเบา นอกจากนี้ความเสื่อมถอยของราชสำนักสุลต่านยังเป็นผลมาจากการแทรกแซงของอังกฤษโดยเริ่มต้นจากเซอร์แรฟเฟิล สแตมฟอร์ด ในการสนับสนุนให้ตนกูฮุสเซน ชาห์ ครองราชย์แทนสุลต่าน อับดุล ราห์์มาน มอสแซน โดยมุ่งหวังที่จะขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากยะโฮร์เพื่อจัดตั้งเป็นสถานีการค้าในปี 1819 ในปีนี้เองจักวรรดิแยกเป็น 2 ส่วน คือ อาณาจักยะโฮร์ ซึ่งปกครองโดยชาวเตเมงกองและรัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกะซึ่งปกครองโดยบูกิส การแทรกแซงของอังกฤษมากขึ้นตามลำดับจนกระทั่งราชสำนักอ่อนกำลัง ประจวบกับในปลายศตวรรษที่ 19 มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อยะโฮร์กับสหพันธรัฐมลายาทำให้ยะโฮร์ต้องยอมอังกฤษ โดยอังกฤษส่งข้าหลวงมาประจำและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษในที่สุด
             รัฐที่เป็นเมืองขึ้นของสยาม ได้แก่
                          - เกดะห์ ซึ่งไทยเรียกว่า ไทรบุรี มีพรมแดนติดต่อจังหวัดสงขลาของไทย ไทรบุรีอยู่ภายใต้อิทะิพลของอาณาจักรศรีวิชัย และต่อมาเป็นเมืองขึ้นของไทย ดังที่กล่าวมาแล้ว ไทรบุรียอมให้อังกฤษเช่าเกาะปีนัง เพื่อแลกกับการคุ้มครองจากอังกฤษเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของสยาม
                           - กลันตัน เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสของไทย เป็นเมืองขึ้นเก่าแก่ของไทย กลันตันหลุดจากการเป็นเมืองขึ้นของไทย และต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมะละกา แต่เมื่อโปรตุเกสครอบครองมะละกากลันตันอยูาภายใต้อาณัติของปัตตานี และกลับมาอยู่ในอาณัติของประเทศไทย
                            - ตรังกานู เป็นรัฐอิสระที่มีสุลต่านซึ่งสืบเชื้อสายจากยะโฮร์เป็ฯผู้ปกครอง ในช่วงนี้การเมืองในตรังกานูถูกครอบงำโดยยะโฮร์ และตกเป็ฯประเทศราชของสยามและส่งเครื่องราชบยรรณาการมาถวายทุกปี
                             - เปอร์ลิส ซึ่งไทยเรียกว่า ปะลิส เป็นรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกับจังหวัดสตูลและสงขลาของไทย ในอดีตเปอร์ลิสเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ซึ่งผลัดกันปกครองโดยอาเจะห์และสยาม หลังจากที่เคดาห์กลับมาเป็นของไทย เนื่องจากอังกฤษเกรงว่าผลประโยชน์ของตนในเปรัคจะถูกคุกคาม มีการลงนามในสนธิสัญญเบอร์นีย์ โดยอังกฤษยมอรับว่ารัฐทั้งสี่ในภาคเหนือของคาบสมุทรมลายู เป็นส่วนหนึ่งราชอาณาจักรสยาม และสยามยอมรับว่าอังกฤษเป็ฯเจ้าของเกาะปีนัง อีกทั้งให้สิทธิ์อังกฤษในการค้าขายในกลันตันและตรังกานู ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ สุลต่าน อาห์เหม็ด แห่งเกดะห์ ซึ่งถูกเนรเทศและต่อต้านสยามถึง 12 ปี จำยอมรับเง่อนไขและกลับมาครองบัลลังก์ หลังจากนั้นสยามได้แยกเปอร์ลิสออกจากเกดะห์
                              สนธิสัญญาเบอร์นีย์สิ้นสุดลงเมื่ออังกฤษและไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแองโกล-สยาม หรือสนธิสัญญากรุงเทพ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน โดยอังกฤษยกเมืองสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสให้เป็นของสยาม และอังฏฟษได้เมืองเกดะห์ กลันตัน และตรังกานู ส่วนเปอร์ลิสและสตูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกดะห์ ให้เปอร์ลิสเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลเป็นของสยาม รัฐเหล่านี้ก่อนได้รับเอกราชแม้จะมีสุลต่านเป็นผู้ปกครองแต่มีข้อหลวงอังกฤษทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่สุลต่าน
             


                 (www.tri.chula.ac.th/.. "การครอบครองคาบสมุทรมลายูของมหาอำนาจตะวันตก")
                 (www.th.wikipedia.org/..,ประเทศบรูไน.., รัฐในอารักขา.., เบอร์เนียว.., สหพันธรัฐมลายา.., นิคมช่องแคบ.., จักรวรรดิบริติช.)
                 (http//site.google.com/.., "เอเชียใต้)
               

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : Indochine française Union Indochinoise

                  ก่อน ค.ศ. 1500 มีชาวยุโรปเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสนใจดินแดที่อยู่นอกเหนือชายฝั่งทะเลองตน พวกเขารู้จักเฉพราะบริเวณรอบๆ ทะเลบอลติค และการขยายตัวไปทางตะวันออกสู่ทวีปเอเชย สงครามครูเสด ได้นำชาวยุโรปสู่ตะวันออกกลาง และทำให้ชาวยุโรปเกิดความตื่นเต้น กระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไปแม้ว่าในเวลานั้นชาวยุโรปจะรูจักทะเลดำ และทะเลเมติเตอร์เรเนีย แต่ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกและตะวันออกเฉียใต้ของสเปนนั้นยังเป็นที่ว่างเปล่าในแผนที่ของชาวยุโรป            
                 มาร์โค โปโล พือค้าชาวเวนิสที่มีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นผุ้ที่มีส่วนทำให้ชาวยุโรปตะหนักว่ามีดินแดห่งไกลที่แปลกประหลาด สมาชิกของตระกูลโปโลได้ติดต่อขายกับพวกมองโกล ในเอเชียตะวันตก พวกเขาเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งซึ่งจักรพรรดิกุบไลข่าน ครองราชย์อยู่ในขณะนั้นพวกโปโลอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่งเป็นเวลาหลายปี และเมื่อมาณ์โค โปโล เดินทางกลับมายังอิตาลี เขาก็เขียนหนังสือเล่าถึงการเดินทางของเขา และเปิดเผยถึงความร่ำรวยอย่างมหาศาลของโลกตะวันออก ซึ่งทำให้ชาวยุโรปรู้สึกประหลาดใจและกระหายที่จะรู้จักดินแดนที่ห่างไกลออกไป
                 เป็นเวลาหลายศตวรรษทาแล้วที่ชาวตะวันตกบริโภคสินค้าต่างๆ จากดินแนตะวันออกำหล โดยผ่านางพ่อค้าคนกลางคือพวกอาหรบ นครรัฐต่างๆ ของอิตาลีซึ่งเป็นผุ้ผูกขากการค้าเครื่องเทศที่ได้กำไรอย่างมหาศาลต้องการรักษาสถานะเดิมใขณะนั้นแต่พ่อค้าของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ต่างต้องการทำการค้าโดยตรงกับทางตะวันออกโดยไม่ต้องผ่านท้งพ่อค้าอิตาลีและพ่อค้าอาหรับ
                 การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองของสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษมีผลต่อแรงผลักดันใหมีการเดินทางสำรวจภายนอกประเทศ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ และพระราชินีอิซาเบบา ของสเปนได้รวมราชอาณาจักรต่างๆ เข้าเป็นราชอาณาจักรเดียวกันคือ สเปน ฐานะของกษัตริย์สเปนจึงเข้มแข็งกว่าแต่ก่อน และพร้อมที่จะสนับสนุนการสำรวจดินแดน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม โปรตุเกสซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้สุดของทวีปยุโรปกลับเป็นประเทศแรกที่เริ่มการสำรวจทางทะเล
                 เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การแข่งขันกันเพื่อหาเส้นทางเดินเรือระหว่างยุโรปตะวันตกและตะวันอกไกลก็เริ่มขึ้นชาวยุโรปทราบว่าไม่มีเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนและมหาสมุทรอินเดีย มีเส้นทางที่เป็นไปได้เพียง 2 ทาง คือ เส้นทางแรกโดยไปททางใต้ อ้อมทวีปแอฟริกาและมุ่งตะวันออกสู่อินเดีย อีกเส้นทางหนึ่งคือเดินทางสู่ทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ซึ่้งเป็นเส้นทางที่ต้องอาศัยความกล้าหาญและการเสียงมากกว่า เพราะแม้นักภูมิศาสตร์จะเชื่อว่าจีนตั้งอยูอีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติคแต่ไม่มีผุ้ใดทราบแน่นอนว่ามันเป็นระยะทางเท่าไรหรือมีอะไรขวางกั้นอยู่ ทั้งสองเส้นทางเป็นการเดินเรือที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสี่ยงภัย แม้พ่อค้าชาวยุโรปกระหายที่จะหาเส้นทางใหม่แต่ก็ไม่เต็มใจที่จะใช้จ่ายเงินในการสำรวจ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งเห็นว่า การหาเส้นทางเดินเรือและสถานีการค้าใหม่จะเป็นการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกษัตริย์ซึ่บงมีพระราชประสงค์จะสำรวจเส้นทางเดินเรือยังทรงได้รับการสนับสนุนจากศานจักรเพราะพระชั้นผู้ใหญ่มุ่งทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาและต้องการให้มีผุ้เข้ารีดมากขึ้น ดังนั้นการขยายตัวของชาวยุโรปมาสู่ภาคโพ้นทะเลจึงมีสาเหตุในระยะแรก 3 ประการคือ ความต้องการของพ่อค้าสำหรับทองคำและความร่ำรวยจาการค้า, ความปรารถนาของกษัตริย์สำหรับอำนาจและเกี่ยรติยศและแรงบันดาลใจของพวกพระในคริสต์ศาสนาที่ต้องการเผยแพร่ศาสนา
                 จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส ประกอบด้วย อาณานิคมโพ้นทะล, รัฐในอารักขา และบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีสซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือ จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่งซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1814 เมื่อนโปเลี่ยนถูกถอดจากราชบัลลังก์ และเริ่มเข้าสู้ยุคจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่ 2 อีกครั้งในปี 1838 เมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรีย และเริ่มเสื่อมถอยลงจากสงครามในเวียดนาม(1955) และแอลจีเรีย (1962) ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสในอีกหลายๆ ประเทศภายหลังปี 1960
                อินโดจีนของฝรั่งเศส ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพอินโดจีน เป็นอาณานิคมจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วย ตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมเป็นเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาจึงรวมลาวเข้าด้วย อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงแล้วจึงย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชี และยังถูกญีุ่ปุ่นรุกรานด้วย ต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่า สงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้ง รัฐเวียดนาม ซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสและต่อมาเวียดมินห์ก็กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยมีรัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่
               การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส
               ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุดิต นำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอค เข้ามาเผยแผ่คริสต์สาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวยดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็ฯดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอน ได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วงเหลือเงียน อั็ญ (ซึ่งภายหลังคือ จักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สุญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึง พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิ การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง
             ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตี ดานัง ของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เอด เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ต่อมากองทัพผสมระว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปนได้เข้าตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด
         
 เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อน ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญ เดื่อง ให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจาหน้าที่ เพราะเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนา จากจักพพรรดิตึ ดิ๊ก และต่อมาในฝรังเศสประกาศดินแดนของฝรั่งเศสจังหวัด เจิวต็ก(โชฎก) ห่าเตียนและหวิญล็อง ก็ตกเป็นของฝรั่งเศส
           ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษณ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ
            ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าำว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม
             ฝรั่งเศสมอบอำนาจให้กับผุ้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชาและเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริง อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผุ้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่กระทั่ง พ.ศ. 2497
            กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 1401 และในช่วงกลางคริสต์ทวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428-2438 ฟาน ดิญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม ดดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหนึ่งจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น
ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบตินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนะให้ยอมตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของอินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส
             ฝรั่งเศสกดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้งโดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่เศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมาสยามต้องยอมยอตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และปัจจันตคีรีเขตร์  ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยากลับคือ และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐแสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยามในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้นผู้ลวนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยัง โตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญส่งมอบอินแดนคืน
             ปี พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียบ็าย การจลาจลแห่งเอียบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคอชาตินิยมเวียดนาม การปะทะกันครั้งนี้เป็ฯการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในชวงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดนดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ..


                                (www.th.wikipedia.org/..อินโดจีนของฝรั่งเศส)
                                ("การกำเนิดและสิ้นสุดระบบอาณานิคม", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2536)

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism

         ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจองประเทศอื่นๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนั่งในการคงไว้ซึ่ง"อาณานิคม" และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนนั้นๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีกานำนำว่า "จักรวรรดินยม" ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนีคำว่า "จักรวรรดินิยม"มีนับแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาน เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่นๆ เหนือกว่าชาตที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย
          กิจกรรมซึ่งเรียกได้ว่าลัทธิอาณานิคมนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานเริ่มจากจักรวรรดิแอฟริกาก่อนสมัยอาณานิคมซึ่งนำให้ชาวอียิปต์ ฟินีเซียกรีกและโรมันล้วนสร้างอาณานิคมในสมัยโบราณ ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่เริ่มด้วยยุคแห่งการสำรวจ โปรตุเกสและสเปนค้นพบดินแดนใหม่ทั่วทั้งมหาสมุทรและสร้างสถานีการค้าหรือพิชิตดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล บางคนถือว่าการสร้างอาณานิคมทั้งทั้งมหสมุทรนี้เองที่แยกแยะ "ลัทธิอาณานิคม" จาก "ลัทธิการขยายอาณาเขต" แบบอื่นมีการแบ่งดินแดนใหม่เหล่านี้ระว่างจักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนครั้งแรกโดยสารตราพระสันตะปาปาอนเทอร์เซเทอรา และต่อมาโดยสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาสและสนธิสัญญาซาราโกซา สมัยนี้ยังสมันพันธ์กับการปฏิวัติพาณิชน์ สมัยกลางตอนปลายมีการปฏิรูปการบัญชีและการธนาคารในอิตาลีและเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ยุโรปตะวันตกรับและนำมาปรับใช้กับความเสี่ยงและรางวัลสูงที่เกี่ยวกับการลงทุนแาณานิคม
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดิดัตช์ เช่น เดียวกับกรรมสิทธิโพ้นทะเลของอังกฤษ ซึ่งต่อมากลายเป็นจักรวรรดิอังกฤษนอกจากนี้ ยังมีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กและอาณานิคมโพ้นทะเลของสวีเดนบ้าง
          การแพร่กระจายของจักรวรรดิอาณานิคมลดลงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสงครามปฏิวัติอเมริกา และสงครามประกาศอิสรภาพละตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม มีการสถาปนาจักรวรรดิอาณานิคมเบลเยียม ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลายชาติยุโรปเกี่ยวข้องในลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา..
           จักรวรรดินิยมในเอเชีย เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำสู่ยุคแห่งการสำรวจโดยตรง และนำการสงครามสมัยใหม๋ตอนต้นมาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียกว่าตะวันออกไกล เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุคแห่งการเดินเรือขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการต้าเครื่องเทศภายใต้ลัทธิอาณานิคมอย่างมาก มีจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ ติมอร์-เลสเต ซึ่งเปาณานิคมสุดท้ายของจักรวรรดิโปรตุเกส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์ชาติและรัฐพหุชาติแบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตก
            แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้าโภคภัฒฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียยอ้อมแหลมกู็ดโฮป อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทะิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตเวีย ซึ่งเป็ฯสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอรแลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) จากนั้น ดัตช์แย่งชิงการค้ากับ "มะละกา ซีออน" ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และญี่ปุนที่มีกำไรมาจากโปรตุเกส. อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนีจะคอยๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลังสงครามเจ็ดปี อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนาบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดในอนุทวีปอินเดีย
             ก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุปสงค์ของสินคึ้าตะวันออกอย่างเช่น เครื่องเปลือกไข ไหม เครืองเทศและชา ยังเป็นแรงผลักเบื้องหลังจักรวรรดินิยมของยุโรป และเดิมพันของยุโรปในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ยังจำกดัอยูกับสถานีการค้าและกองรักษาด่านทางยุทูศาสตร์ซึงจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้า ทว่า การปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเพิ่มอุปสงค์ของยุโรปต่อวัตถุดิบจากเอเชียอย่างมาก และภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำระยะยาว แห่งคริสต์ทศวรรษ 1870 เป็นชนวนการแย่งชิงตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยุโรปและบริการทางการเงินในทวีป แอฟริกา อเมริกา ยุโรปตะวันออ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเชีย การแย่งชิงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสมัยใหม่ในการขยายอาณานิคมโลกเรียกว่า "จักรวรรดินิยมใหม่" ซึ่งหัมความสนใจจากการค้าและการปกครองทางอ้อมเป็นการควบคุมอาณาเขตโพ้นทะเลไพศาลแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการ ปกครองดโยการขยายทางการเมืองจากประเทศแม่ ระหว่งคริสต์ทศวรรษ 1870 กระทั่งเริ่มสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริ่มใน ค.ศ. 1914 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมผนวกอาณาเขตกว้างใหญ่อของตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดียและเอเบียตะวันออกเฉียงใต้ เข้ากับจักรวรรดิของตน ในห้วงเวลาเดียวกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปเมจิ จักรวรรดเยอรมันหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียยุตลง จักรวรรดิรัสเซยและสหรัฐอเมริกาหลังสงคราม สเปน-อเมริกา กำเนิดเป็นเจ้าอาณาเขตในเอเชียตะวันออกและบริเวณมหาสมุทรเเปซิฟิกอย่างรวดเร็ว

ในทวีปเอเชีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่ สองเป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าอาณานิคมหลายชาติ ความขัดแย้งดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชาติยุโรปกับรัสเซียและสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งกำลังผงาด ทว่าไม่มีเจ้าอาณานิคมประเทศใดมีทรัพยากรเพียงพอกับความเสียหายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและธำรงการปกครองดโยตรงในทวีปเอเชียได้.. แม้ขบวนการชาตินิยมทั้วโลกอาณานิคมนำมาซึ่งเอกราชทางการเมืองในอาณานิคมแทบทั้งหมดที่เหลืออยู่ในทวีปเอเชีย การปลดปล่อยอาณานิคมถูกสงครามเย็นขัดขวาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวัออกกลางและเอเชียตะวันตกยังจมอยู่ในระบบเศรษฐกิจ การเงินและและการทหารโลก ซึ่งมหาอำนาจแข่งกันขยายอิทธิพล
              อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามที่รวดเร็วของเสือเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน ตลอดจนการล่มสลายของสไภาพโซเวียต ได้ลดอิทะิพลของยุโรปและอเมริกา เหนือทวีปเอเชีย ทำให้มีการสังเกตในปัจจุบันว่าอินเดียและจีนสมัยใหม่ อาจกำเนิดเป็นอภิมหาอำนาจใหม่ของโลก
            อินเดีย การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดีย
             อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ขึ้นในปี ค.ศ. 1600 แม้นะเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศษและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขายอำนาจเ้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษทต่อมา เื่ออังกฤษเข้าครองเบงกอลได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการที่ปาลาศี บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลเหรือราชวงศ์โมกุล ตกต่ำเสื่อถอยเนื่องจกาการคอรับชั้น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฎ และในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลาย ในรัชสมัยของกษัตรยิ์โอรัง เซบ ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658-1707
             รัชสมัยของกษัตริย์ ชาห์ จาฮัน เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์ แต่เมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็ยุคแห่งหายนะ กษัตริย์โอรัง เซบเป็นผุ้มีความอำมหิตและคลั่งไคล้ศาสนา มีระประสงค์กำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากควาเชื่อของมุสลิม ในช่วงเริ่มต้นของการรัชสมัยโอรังเซบเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมก์ฮัลสามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลที่สุด มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินเดียทั้งหมด แต่สิลห้าปีหลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์โอรังเซบ ราชอาณาจักรโมก์ฮัลที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงแก่การล่มสลายลง อนุทวีปก้าวเข้าสู่ช่วงอนาธิปไตย บ้านเมืองยุ่งเหยิง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางแย่งกันเป็นใหญ่ ในช่วงเวลาดังกล่าวราชวงศ์โมก์ฮัลปกครองอินเดียอยู่ในนาม กลางทั้งปี ค.ศ. 1858 รัฐบาลกลางจึงถึงกาลล่มสลาย เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจในดินแดนภาระที่กว้างใหญ่นี้
            การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนา สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น "จักรพรรดินีแห่งอินเดีย" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถภูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้านๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมา กฎหมายที่ออกมาเหล่านี้ได้ให้อำนจแก่รัฐสภในการควบคุมนโยบายต่างๆ ของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่างตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่าง ว่า "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี 1858 ในปี ค.ศ. 1818 บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก ปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมขององัฏฟษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกคหรองโดยตรงขององักฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองอยู่ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
             จีน การแทรกซึมของลัทธิจักรวรรดินยมในจีน
              ในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษมีการค้าขายกับจีน โดยมีการส่งออกแร่เงินจากเม็กซิโกไปยังจีนและนำเข้าชาจากจีนไปยังเมืองแม่ แต่เมื่ออังกฤษสูญเสียอาณานิคมอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับเม็กซิโกไป อังกฤษก็สูญเสียแหล่งป้อมแร่เงินสำคัญของตนไปด้วย จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาสินคาทางเลือกอื่นเพื่อการส่งออก  "ฝิ่น" ของชนอินเดียนเป็นสินค้าที่สามารถทำกำไรได้งามถ้านำมาส่งออกไปยังจีนแทน ถ้าไม่คำนึงถึงศีลธรรมสินค้าตัวใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีให้แก่อังกฤษได้ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านสังคมในจีน ส่งผลให้เกิดสงครามฝิ่น ระหว่างอังกฤษกับจีนในปี ค.ศ. 1830..
            ความทะเยอทะยานของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมและคู่แข่งในตะวัออกไกลทำให้จีนซึ่งมี
อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล และจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของโลกตกเป็นเป้าของการไล่ล่าเพื่อเข้ายึดครองแย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้จีนยังคงสามารถอยู่รอดเป็นประเทศเอกราชอยูได้ในภาพรวมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยืดหยุ่นของโครงสร้างทางสังคมและการบริหารปกครองของจีนเอง อย่างไรก็ตามการคงความเป็นเอกราชของจีน ยังสะท้อนให้เห็นถึงขีดจำกัดที่แท้จริงของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการอ้างสิทธิในการแข่งขันที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
          .. ตามหลักการแล้ว เบื้องลึกของการไล่ล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ก็เพื่อให้มีดินแดนที่ใช้เป็นที่ตั้งกองกำลัง เพื่อทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่ "การลงทุน" ขนาดใหญ่ของเหล่าประเทศเจ้าอาณานิคมท้งหลาย ในบางสำนึก อังกฤษยังคงยึดมั่นกับแยวคิดตามลัทธเเสรพาณิชย์ของนักเศรษฐศาสตร์ "คอบ เด็น" ที่ว่า ลัทธิอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการนั้น มีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับใน
กลุ่มนักลงทุนนิยมอุตสาหกรรมทั้งหลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่างการล่มสลาบของนโปเลียนและสงครามฟรังโก้-ปรัสเซีย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปน้ัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความชอบสำหรับลัทธิอาณานิคมเหนือ กว่าจักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการ แต่ท่าที่ต่อการปกครองอาณานิคมอย่างเป็นทางการในส่วนใหญ่ของพื้นที่ในแถบร้อนั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกพิจารณาว่า "ล้าหลัง" มากเกินไปสำหรับการค้า พื้นที่ซึ่งมีความเป็นเอกราชนั้น ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการถูกกครองในฐานะอาณานิคมอย่างเป็นทางการ เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
            อังกฤษพบว่าเป็นการยากที่จะขายสินค้าของตนในจีน และประสบกับสถานการณ์ที่ต้องเสียดุลการค้าให้แก่จีน(ในลักษณะที่เหมือนกันกับชาติยุโรปอื่นๆ) กระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 การเริ่มต้นค้าฝิ่นขนานใหญ่จากอาณานิคมอินเดียของอังกฤษไปยังจีน ทำให้สถานการณ์ดุลการค้าดังกล่าวเเปแเปลียนไป พร้อมกับทำให้จำนวนผู้เสพติดฝิ่นเพ่ิมขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประชากรจีนระดับสูง และเป็นภัยคุกคามประเทศด้วยก่อให้เกิดความเสียหาย บ่อนทำลายประชากรจีนทั้งทางด้านสุขภาพ ศีลธรรมจรรยา และทางด้านจิตวิทยา อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะวัดคำนณออกมาเป็นสถิติตัวเลขได้


                                (www,th.wikipedia.org/..ลัทธิจักรวรรดินิยม)
                                (www.th.wikipedia.org/..ลัทธิอาณานิคมนิยม)

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...