Colonialism : "East India Company, British"and South east Asia II

          หลังจากอังกฤษเข้าครอบครองอินเดียอันเป็นเสมือนเพชรเม็ดที่สุกใสที่สุดบนมงกุฎจักรพรรดิอังกฤษ อินเดียได้กลายเป็นแหล่งป้อนทรัพยากรมนุษย์และวัตถุดิบให้แก่อังกฤษเพื่อการขยายอำนาจไปยังส่วนต่างๆ ของทวีปเอเชีย อังกฤษเริ่มให้ความสนใจพม่าเพราะอังกฤษต้องเผ้าระวัผลประโยชน์ของตนในแค้วนเบงกอลที่มีเขตแดนติดกันกับพม่าโดยอังกฤษมองว่าการเมืองภายในของพม่าที่มักจะเกิดสงครามระวห่างเชื้อชาตินั้น จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการค้าของอังกฤษในบริเวณที่มีชายแดอนติดต่อ


กัน นอกจากนี้อังกฤษยังต้องคอยระวังรัสเซียที่ขยายอิทธิพลลงมาสู่ตะวันออกกลางผ่านอัฟกานิสถานและฝรั่งเศสที่ได้สถาปนาอำนาจอยู่ในอินโดจีนและพยายามที่จะเข้ามามีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในพม่า ฝรั่งเศสและพม่าได้มีการลงนามในสัญญาทางการค้าทำให้อังกฤษเริ่มมีความหวาดระแวงว่าหากฝรั่งเศสสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากการลงทุนในพม่าได้ก็จะคุกคมผลประโยชน์ของอังกฤษในอินเดียได้เช่นกันรัฐบาลอังกฤษในอินเดียจึงได้ตัดสินใจแสวงหาทางสถาปนาอำนาจทางการเมืองเหนือพม่า
        ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและพม่า มีสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องเขตแดนในปี ค.ศ. 1784 พระเจ้าโพเทาพญาของพม่าได้ทำการผนวกแคว้นอาระกันเข้ากับพม่ามีผลให้พรมแดนของพม่ามีอาณาเขตติดกันกับแคว้นเบงกอลของอังกฤษ พม่าเมื่อปกครอง"ยะไข่"แล้วได้ทำการปกครองอย่างกดขี่ ยะไข่หมดความเกรงกลัวพม่าและก่อกบฎขึึ้น แม้พม่าจะสามารถทำการปราบปรามกบฎลงได้แต่มีพวกกบฎจำนวนหนึ่งหนีข้ามไปในเขตจิตตะกอง อันเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษอยู่เป็นประจำทัพของพม่าก็มักที่จะยกตามพวกกบฎเหล่านี้เข้าไปจนเป็นเหตุให้มีการปะทะกับทหารของอังกฤษกองทัพของอังกฤษได้ยื่นคำขาดให้พท่าถอยตามหลักกฎหมายนานาชาติยุโรป และเหตุการจึงยุติลง
             การที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบตาม
พรมแดนสร้างความไม่สบายใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง อังกฤษได้พยายามหาหนทางที่จะยุติปัญหาความยุ่งยากจึงส่ง ทูตไปยังพท่าเพื่อเจรจาเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับพรมแดนและการค้ากับพม่า โดยสรุปให้กีดกันทางการค้ากับฝรั่งเศสและหันมาค้าขายกับอังกฤษแทน การเจรจาไม่ราบรื่นนัก แต่ตกลงกันว่าพม่าจะยอมปิดเมืองท่าที่ค้าขายกับฝรั่งเศสโดยอังกฤษจะส่งกบฎขาวยะไข่ในเมืองจิตตะกองคืนแก่พม่า 
           กบฎยะไข่ได้ทำการกบฎและหนีเข้าจิตตะกองของอังกฤษอีกหลายครั้งทำให้เกิดความตรึงเครียดระหว่างอังกฤษกับพม่า
           ปี ค.ศ. 1811 เกิดการกบฎขึ้นอีกครั้งในแคว้นอาระกัน ความสัมพันธ์ของอังกฤษและพม่าเริ่มเลวร้ายลงทุกขณะ โดยที่ทำการเจรจากันอยู่นั้นทัพพม่าสามารถทำการตีกองทัพของกบฎได้ ชิน เมียน หลบหนีไปในเขตแดนของอังกฤษอีกครั้งแต่ทางอังฤษกลับไม่สามารถจับตัวได้ สร้างความไม่พอใจให้กับพม่าเป็นอย่างยิ่งพม่ามองว่าอังกฤษไม่มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือพม่าในการจับตัวชินเมียน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและพม่าตรึงเครียดและสุดท้ายความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศได้ล่มสลายลง
    จากเหตุการดังกล่าวทำให้ราชสำนักพม่าหมดความเชื่อถือและมองว่าอังกฤษไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร กษัตรย์พม่ามีนโยบายที่จะขยายอิทธิพลของตนเข้าไป มณีปุระและอัสสัม อันเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษโดยพยายามเข้าแทรกแซงทางการมือง ซึงสร้างความวุ่นวาย และการกบฎขึ้น ทำให้มีผู้ลี้ภัยเข้าไปในเขตแดนอังกฤษมากขึ้นทุกที อังกฤษมองดุการกระทำดังกล่าวด้วยความแคลงใจเช่นกัน เมื่อพระเจ้าโพเทาพญาสวรรคต กษัตริย์องค์ใหม่ของพม่าคือพระเจ้า บาณีดอได้ขึ้นครองราชย์พระองค์เป็นผุ้มีความสามารถและมีความทะเยอทะยานพระองค์มีนโยบายที่จะขยายอำนาจเข้าไปในแคว้นเบงกอลเพื่อทำการแข่งขันกับอังกฤษ
           สงครามระหว่างอังกฤษและพม่าครั้งที่ 1 หลังจากที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ของพม่าขึ้นครองราชย์ได้ทำพิธีพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแต่ประากฎว่าเจ้าผุ้ครองแคว้นมณีปุระไม่ได้เดินทางมาร่วมในพระาชพิธีในครั้งนี้ด้วยพร้อมไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการไปถวายตามที่เมืองประเทศราชพึงจะปฏิบัติการกระทำดังกล่าวของเมืองมณีปุระสร้างความไม่พอพระทัยให้กับกษัตริย์พม่าพระองค์ใหม่เป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าบาณีดอทรงมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นหารประกาศตัวเป็นเอกราชของเมืองมณีปุระ
           พระเจ้าบาณีดอ ทรงดำริว่าควรจะแสดงพระราชอำนาจให้ปรากฎก่อนที่อังกฤษจะได้เข้ามทำการแทรกแซง ความคิดดังกล่าวได้รับความสนับสนุนจากบรรดาแม่ทัพนายกองของพระองค์ดังนั้นพระองค์จึงได้ส่งกองทัพไปทำการปราบปรามเมืองมณีปุระ ความวุ่นวายในเมืองมณีปุระได้ขยายตัวเข้าไปในแคว้น  คชา และ เจนเตีย ที่เป็นแค้วนเล็กๆ แต่อังกฤษมองว่าแคว้นทั้งสองนั้นเปรียบเสมือนแคว้นกันชนระหว่างอระกันของพม่ากับเบงกอลของอังกฤษ เพื่อปิดกั้นความวุ่นวายตามแนวชายแดนที่อาจจะขวายตัวเข้ามาในแคว้นเบงกอลอังกฤษได้ดำเนินการประกาศให้แคว้นทั้งสองเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่การประกาศดังกล่าวไม่เป้ฯที่สนใจของพม่าปฏิบัตตนโดยปราศจากความเกรงกลัวต่ออังกฤษและพร้อมที่จะทำสงครามกับอังกฤษอีกด้วยเหตุความวุ่นวายตามชายแดนที่มีมาตลอดและความก้าวร้าวของพม่าทำให้อังกฤษเองก็ได้หมดความอดทนแล้วเช่นกันอังกฤษได้ประกาศสงครามกับพม่า
          พม่าเชื่อมั่นว่าพวกตนคงจะได้รับชัยชนะ ได้อย่างไม่ยากเย็นนักในการทำการรบในครั้งนนี้ เมื่อได้ทำการรบกันนั้นปรากฎว่าอังกฤษได้รับชัยชนะแม้ว่ากองทัพของพม่าจะมีจำนวนที่มากกว่าถึงสองต่อหนึ่งแต่อาวุธของอังกฤษมีความทันสมัยกว่ามากแม่ทัพพม่าเสียชีวิตในสนามรบ อังกฤษสามารถยึดเมืองร่างกุ้ง หัวเมืองมอญต่างๆ ที่อยู่ทางใต้และมีอาณาเขตติดทะเล เช่น ตะนาวศรี ทวาย และมะริด เมื่อกองทัพอังกฤษสามารถยึดได้เมืองแปรและเตรียมที่จะบุกเข้าโจมตีอมรปุระ เมืองหลวงของพม่าจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พม่าหมดทางเลือกต้องยอมเจรจาสงบศึก
       
 อังกฤษและพม่าได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก ยันดาโป พม่าเสียดินแดนอาระกัน ทวาย มะริด ให้กับอังกฤษพม่าจะต้องไม่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเขตอิทธิพลของอังกฤษและจะต้องเปิดความสัมพันะ์ทางการทูตขึ้นใหม่และพม่าจะต้องจ่ายค่าชดเชยจากการทำสงคราม เป้นจำนวนเงินถึง 1 ล้านปอนด์ พร้อมทั้งทำสัญญาการค้ากับอังกฤษให้เป็นเรื่องเป็นราว
         ผลจากการพ่ายแพ้สงครามและการทำสนธิสัญญายันดาโบซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคนี้สรางความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศพม่าเป็นอย่างยิ่ง ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้พม่าเสียหน้าและศักดิ์ศรีของชาติความเข้มแข็งทางการทหารของพม่าล่มสลายและไม่สามารถที่จะรื้อฟื้นกลับมาได้อีก
          พม่าเคยเป็นที่เกรงขามของประเทศเพื่อบ้านแต่สภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการทำสัญญาในครั้งนี้
           แม้ว่าอังกฤษและพม่าจะมีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตตามสนธิสัญญายันดาโบอังกฤษคิดว่าการใช้สัมพันธไมตรีทางการทูตจะช่วยให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นผ่อนคลายลงแต่ทางราชสำนักพม่ายังคงถือตัวว่ามีความสุงส่งและไม่ต้องการที่จะลดตัวลงไปทำการใดๆ กับผู้สำเร็จราชการที่อินเดีย แม้พท่าจะพ่ายแพ้และรับรู้ถึงแสนยานุภาพทางการรบของอังกฤษแต่พม่าก็ยังยึดติดอยุ่ในทัศนคติแบบเก่าและค่านิยมแบบดั้งเดิม จากแนวความคิดแบบนี้ของพม่าแม้อังกฤษพยายามจะใช้การทูตในการแก้ไขปัญหาก็ไม่ได้ทำอะไรใหดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีและการปฏิบัติคนของข้าราชการพม่าที่มีต่อพ่อค้าและข้าราชการอังกฤษทางอังกฤษก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนักทูตที่ทางอังกฤษส่งไปประจำในพม่า ทำตัวดูถูกและเหยียดหยามคนพม่าอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการก่อกบฎขึ้นในพม่าโดยมีเจ้าชายทราวดีเป็นผู้นำผุ้เป็ฯอนุชาของพระเจ้าบาณีดอ อังกฤษมองเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเป็ฯโอกาสดีที่อังกฤษจะเข้าแทรกแซงโดยการให้ความสนับสนุนเจ้าชายทราวดีในการก่อกบฎแต่เมื่อเจ้าชายทราวดีขึ้นครองราชย์พระองค์กลับกระทำสิ่งที่อังกฤษเองก็ไม่คาดคิด
           พระองค์ได้ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในสนธิสัญญายันดาโบโดยอ้างว่าสนธิสัญญาที่ทำนั้นเป็นข้อตกลงในสมัยรัชกาลก่อนไม่มีข้อผูกมัดในรัชสมัยของพระองค์ ความสัมพันธ์ระหว่งพม่าและอังกฤษเลวร้ายลงเรื่อยๆ จนในที่สุดอังกฤษได้ถอนทูตออกจากพม่าจนหมดความสัมพันะ์ทางการทูตระหว่างอังกฤษและพม่าจึงสิ้นสุดลงโดยปริยาย การที่ทูตอังกฤษที่ผู้สำเร็จราชการที่อินเดียส่งมาได้ถอนตัวออกไปนั้นสร้างความพอพระทัยให้พระเจ้าทราวดีเป็นอย่างยิ่ง
       
 พระองค์ถือว่าการที่มีทูตอยู่ในเมืองหลวงถือเป็นความน่าอับอายเพราะ ทูตเหล่านี้ไม่ใช่ผู้แทนจากกษัตริย์อังกฤษ พระเจ้าทราวดีเกิดสติวิปลาสและสวรรคตลง พระเจ้าพุกามแมง กษัตริย์องค์ใหม่ของพม่า มีนโยบายต่อ้านอังกฤษทำให้บรรดาขุนนางต้องการที่จะเอาใจและทำตามนโยบายของกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วยการทำการกดขี่บรรดาพ่อค้าอังกฤษให้ได้รับความเดือดร้อน เป็นเหตุให้พ่อค้าอังกฤษเรียกร้องการคุ้มตีองและควบคุมอินแดนทางตอนในของพม่าจากรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ขุนนางพม่าที่เป็นเจ้าเมืองพะ โคจับเรืออังกฤษจำนวนสองลำและทำการกักขังกัปตันเรือไว้โดยกล่าวหาว่าเรืออังกฤษไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมทางอังกฤษตอบโต้การกระทำของพม่าโดยการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ทางพม่าได้ปฏิเสธสงครามระหว่างอังกฤษและพม่าจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง
          ในสงครามครั้งที่ 2 นี้ไม่มีอะไรแปลกใหม่อังกฤษได้รับชัยชนะ ในสงครามกับพม่าอีกคร้งการพ่ายแพ้ต่ออังกฤษแสดงให้เก็นถึงความล้มเหลวทางการทหารของพม่าเมืออังกฤษได้ผนวกพะ โค เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษเช่นเดียวกับอาระกันและตะนาวศรีที่ได้มาในสงครามครั้งก่อทำให้พม่าโดนตัดขาดจากภายใอกอังกฤษได้เมืองที่ติดชายทะเลไปจนหมดประเทศพม่ากลายเป็นดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล พม่ากลายเป็นประเทศที่ยึดติดกับขนบของตนเองมากขึ้นและไม่พยายามที่ผูกไมตรีหรือสนใจโลกภายนอก ขณะเดียวกันอังกฤษก็ได้แสดงให้เห็ว่าหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น โดยสันติวิธีได้อังกฤษก็พร้อมที่จะใช้กำลังทหารเข้าบังคับ ผลของสงครามได้สร้างคาามเปล่ยนแปลงในราชสำนักพม่าเมื่อบรรดาขุนนางได้ทำการถอดถอนพระเจ้าพุกามแมงและสถาปนาพระราชอนุชาของพระองค์คือเจ้าชาย มินดง ขึ้นเป้นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้ามินดงมิน
           พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่รับรู้ถึงความอันตรายของการต่อต้านอังกฤษเป็นอย่างดีทรางเสิรมสร้างให้พม่าเข้มแข็งโดยการปรับปรุงประเทศในด้านต่างๆ และพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นมาใหม่พระองค์ทรงตระหนักดีว่าเสรีภาพของพม่าจะดำรงอยู่ได้โดยการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับอังกฤษแต่พระองค์พทรงได้พยายามถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษในพม่าด้วยการดึงฝรั่งเศสให้เข้ามามีบทบาทในพม่าด้วยเช่นกัน
 ในสมัยนี้เป็นสมัยที่พม่าตกอยู่ในยุคความหวาดกลัวเป็นสมัยของความทารุณโหดร้ายเป็นผลให้พม่าอ่อนแอ เกิดกบฎขึ้นทั่วไปข้าราชการอังกฤษในอินเดียเสนอให้รัฐบาลอังกฤษเข้าทำการแทรกแซงแต่รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นด้วย แต่การปกครองที่ไม่เป็นธรรมและคดโกงของราชสำนักพม่าภายใต้การนำของพระมเหสีและพรรคพวกสร้างความไม่พอใจให้กบพ่อค้าชาวอังกฤษเพราะการค้าได้รับความกระทบกระเทือนจนพยายามที่จะบับบังคับรัฐบาลอังกฤษในอินเดียเข้าแทรกแซง ความขัดแย้ของพม่าและอังกฤษถึงขั้นแตกหัก เมื่อทางพม่ากล่าวหาว่าบริษัทบอมเบย์เอบมาที่มีอิทธิพทางการเมืองว่าได้ทำการตัดไม้สักเกินกว่าที่ได้ทำการตกลงกันไว้และทางพม่าได้เรยกร้องค่าเสียหายแต่ทางบริษัทอบมเบย์เบอมาได้ปฏิเสธทางพม่าคิดว่าฝรั่งเศสจะเข้ามาให้คามช่วยเหลือแต่ต้องประสบกับความผิดหวัง
           สงครามครั้งที่ 3 ระหว่างอังกฤษและพม่าจึงเกิดขึ้นพม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามเหนมอนสองคร้งก่อนหน้านี้กษัตริย์พม่ายอมจำนนและโดนเนรเทศไปอยู่อินเดียอังกฤษได้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ของพม่าและประกาศรวมพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย


            "การเข้ายึดพม่าของอังกฤษ" พินธกร นามดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)