วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Colonialism : Filipino

            จักรวรรดิสเปนเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลกและเป้ฯหนึ่งในจักรวรรดิแรกที่มีอินแดนและอาณานิมในยุโรป อเมริกา, เอเชียและโอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณรนิคมในแอฟริกาเป็ฯดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี ค.ศ. 1492 หลังจาก "การพิชิตดินแดนคืน"ในคาบสมุทรไอบีเียน ในปีเดียวกันคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสก็นำกองเรือสำตวจกองแรกของสเปนในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ที่เป็นการเริ่มต้นของของการแสวงหา
อาณานิคมในอเมริกาของยุโรป ซึกโลกตะวันตก จึงเป็นจุดหมายทางอำนาจใหม่ของจักรวรรดิสเปน  
            ระหว่างยุคแห่งการสำรวจสเปนก็เร่ิมไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนและผุ้พิชิต ก็เริ่มโค่นจักรวรรดิท้องถิ่นที่พบเช่น จักรวรรดิแอซเท็คและจักรวรรดิอินคา ต่อมาคณะสำรวจก็ขยายดินแดนของจักรวรรดิสเปนตั้งแต่บริเวณที่เป็นแคนาดาปัจจุบันในทวีปอเมริกาเหนือไปจนจรดเดียร์ราเดลฟวยโกทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ การเดินทางสำรวจของสเปนเป็นการเดินทางรอบโลกที่เร่ิมโดยเฟอร์ดินันด์ มาเจลลน ในปี ค.ศ. 1519 และจบลงด้วย ยวน เซบาสเตียน เอลคาโน ในปี ค.ศ. 1522 ซึ่งเป็นกานรสำรวจสมตามความตั้งใจของโคลัมบัสในการพยายามหาเส้นทางไปยังเอเชียโดยการเดินทางไปทางตะวันตก ซึ่งทำให้สเปนหันมาสนใจในตะวันออกไกล โดยการก่อตั้งอาณานิคมในเกาะกวม, ฟิลิปปินส์ และเกาะใกล็เคียง
         ยุคก่อนการเข้ามาของสเปนเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนจากภายนอกเข้ามปักหลัอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปินส์ตั้งแต่ครั้งก่อนปะวัติศาสตร์ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่ครั้งก่อนปะวัติศาสตร์ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำใช้ชีวิตเรียบง่าย ยังชีพด้วยการทำนาและหาปลา ไม่ค่อยติดต่อกับโลกภายนอกมากนัก จากสถานที่ตั้งของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทำให้มีพ่อค้าและนักเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับผู้คนบนเกาะตั้งแต่ครั้งโบราณ พ่อค้าชาวจีน อินเดีย อาหรับ ปละอินโดนีเซียที่เดินทางมายังหมู่เกาะได้นำสินค้า ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นอย่งน้อยที่ผู้คนบนหมู่เกาะทำการค้ากับราชวงศ์ซ่งของจีน และมีบัฯทึกการส่งทูตไปเจรญสัมพันธ์ไมตรีจีน การค้าขายกับจีนทำให้มีชาวจีนมาตั้งรกรากถ่ินฐานอยู่ในหมู่เกาะเป็นจำนวนมาก แต่วัตถุประสงค์ของการเข้ามานั้นเพื่อทำการค้าเพียงอย่างเดียว  ซึ่งต่่างจากพ่อค้าที่เข้ามาในภายหลัง คือผู้นับถือศาสนาอิสลามและสเปน ที่เมื่อเข้ามาแล้วต้องการแผ่อิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะ
         ลักษณะการเมืองกาปกครองก่อนที่สเปนจะเข้าครอบครองนั้นเป็นการปกครองในรูปชนเผ่า มีลักษณะการปกครองแบบหมู่บ้าน หรือ บารังไก มี ดาตู เป็นผุ้ปกครอง ในแต่ละบารังไกจะมีการแบ่งประชาชนเป็นชนชั้น ปกครอง เสรีชน ชาวนา และทาส การปกครองของดาตูเป็นการปกครองแบบเผด็จการ ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จึงขาดพลังในการวบรวมประชาชนต่อต้านการรุกรานของสเปน
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1521 มิเกล โลเปซ เด เลกัซปี มถึงฟิลิปปินส์ในปี 1565 และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมาหลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฎต่างๆ มากมายทั้งจากชนพื้เมืองและจากชาติอื่นที่พยายามแข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วยสงครามเจ็ดปี หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ได้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 ถึงปี ค.ศ. 1821 และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เร่ิมต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834
          สเปนปกครองฟิลิปปินส์อยู่นานถึง 335 ปี การปกครองของสเปนทำให้ฟิลิปปินส์มีโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองแตกต่างไปจากที่เคยเป็นมา ชาวสเปนพยายามแสงหาผลประโยชน์จากชาวพืนเมืองอย่างมาก เมื่อชาวสเปนเข้ามาปกครองมีการจัดโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม โดยแบ่งเป็น ชนชั้นสูง ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง ชาวสเปนนำ ระบบโปโล ซึ่งระบบเกณฑ์แรงงานมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้อย่างสะดวก คนพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่าต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ นอกจากนี้ยังมีระบบผูกขาดการค้าหรือระบบบันดาลา ที่ใช้บังคับซื้อสินค้าจากชาวพื้นเมืองในระคาต่ำ
          ในด้านการศึกษา สเปนจัดการศึกษให้ชาวพื้นเมืองโดยผ่านโรงเรียนคาทอลิกซึ่งสอนโดยบาทหลวง วัตถุประสงค์สำคัญคือการเผยแผ่คริสต์สาสนานิกายโรมันคาทอลิก และใช้ภาษาสเเปนเป็นหลัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคือการมีพ่อแม่อุปถัมภ์ทำให้สังคมของฟิลิปปินส์กลายเเป็นสังคมภายใต้ระบบอุปถัมภ์จนถึงทุกวันนี้
          ด้านเศรษฐกิจ สเปนเข้ามาครอบครองที่ดินทำให้ชาวพื้นเมือง พระจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงให้เปิดการค้าโดยตรงและจัดตั้งบริษัทหลวงขึ้นที่ฟิลิปปินส์ ให้ส่งสินค้าที่ผลิตได้จากที่ฟิลิปินส์ไปสเปนโดยไม่เสียภาษีขาเข้า ทำให้การค้ามีกำไรดี เกิดเป็ฯอุตสาหกรรมโรงานทอผ้า การผลิตพริกไทย เครื่องเทศ ครา น้ำตาล และไหมขึ้น ต่อมามีการสั่งยุบบริษัทหลวง และเปิดทาเรือมะนิลาสู่ตลาดโลก อันเนืองจากการประกาศเอกราชของเม็กซิโก
            ความเจริญทางการค้าที่เกิขึ้นส่งผลให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นในฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่เป็นลูกครึงจีนหรือสเปนซึ่งมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุข มีการศึกษาดี นิยมส่งลูกหลานไปรับการศึกษาในต่างประเทศ คนกลุ่มนี้ช่วยทำลายประเพณีดั้งเดิมที่ปิดฟิลิปปินส์จากโลกภายนอก และตื่นตัวเรื่องลัทธิชาตินิยมและลัทธิเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขบวนการชาตินิยมทีเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ได้หยั่งรากลึกในสังคมโดยมีผุ้นำศาสนาหัวเสรี กลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มนักศึกษาฟิลิปปินส์ในสเปนเข้าร่วม
           ประชากรฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์นิการโรมันคาทอริกมากที่สุด รัฐบาลสเปนใช้ศาสนบังหน้าเพื่อปกครองชาวฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ขูดรีด จนนำมาซึ่งการต่อต้านของปัญญาชนและการต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ แต่เมื่อได้อิสรภาพแล้วศาสนคริสต์นิกายโรมันคออลักก็ยังคงมีบทบาทในวิถีชีวิตของผุ้คน ผู้นำศาสนานิกายนี้มีอิทธิพลมากจนกระทั่งสามารถขับไล่ผู้นำรัฐบาลที่คอร์รับชันและล้มเหลวในการปกครองประเทศไทยถึงสองคน
            เอมีลีโอ ฟามี อากีนัลโด เป็นนักปฏิวัติในการเรียกร้องเอกตาชของฟิลิปปินส์จากสเปน รุ่นเดียวกับ โฮเซ รีซัล และอันเดรส โบนฟาซีโอ เขาเป็นผู้นำในการลุฮือขั้นต่อสู้กับสเปนด้วยอาวุธหลังการถูกประหารชีวิต ของรีซัล ซึ่งเป็นนักปฏิวัติชาวฟิลิปปินส์ที่มีบทบาทในการจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 แยกออกมาจากการเป็นอาณานิคมของสเปนในครั้งแรก ในชื่อสาธารณรัฐบีอักนาบาโต และได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ก่อนจะกลายเป็นอาณานิคมของสหรัฐ เขาถูกจับกุมเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน และถูกบังคับให้สาบานตนว่าจะซื่อสัตย์ต่อสหรัฐอเมริกา
            อากีนัลโดเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีนประสบความสำเร็จในการนำกองกำลังชาวพื้นเมืองเข้าปล้นคลังอาวุธของสเปน ทำให้กาวีเต กลายเป็นศูนย์กลางของกลุ่มกบฎ อากีนัลโด มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับสเปนอย่างเข้มแข็ง สนับสนุนให้ชาวพื้นเมืองเรียกตัวเองว่ฟิลิปิโนแทนชื่อที่ชาวสเปนใช้ว่าอินดิโอสที่หมายถึงคนชั้นต่ำ เขาจัดตั้งคณะกรรมการกลางปฏิวัติและจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ การปฏิวัติตามแผนการของอากีนัลโดทำให้เขากลายเป็นคู่แข่งของ อันเดรส โบนีฟาซิโอ ผู้ก่อตั้งขบวนกาตีปูนัน
         
 ในช่วงแรก ทั้งอากีนัลโดและโบนีฟัสซิโอร่วมมือกันในการจักตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จัดตั้งสภาปฏิวัติใหญ่ที่ตำบลเตเฮโรสที่เป็นที่มันของรัฐบาลกาตีปูนัน อากีนังโด ได้รับเลือกเป็ฯประธานาธิบดี ในการประชุมกลุ่มผุ้นำนักปฏิวัติพื้นเมืองในตำบลเตเฮโรสเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2439 แต่กลับเป็นชนวนให้เขากับโบนีฟัสซิโอต้องต่อสู้กันเอง หลังจากที่โบนีฟัสซิโอถูกประหารชีวิต อากีนัลโดเป็นผุ้นำการปฏิวัติแต่เพียงผู้เดียว และประกาศจัดตั้งสาธารณรับบีอักนาบาโต
          รัฐบาลอาณานิคมที่มะนิลาไม่ยอมรับรัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ และเข้าปราบปรามด้วยกำลังอาวุะในเดือนสิงหาคม ชาวพื้นเมืองในที่ต่างๆ เข้าร่วมกับกลุ่มของอากีนัโดเป็นจำนวนมาก ต่อมา อาซาเบโล อาร์ตาโช และเฟลิกซ์ เฟร์เรร์ ได้ร่างรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐบีอักนาบาโตโดยเลียนแบบรัฐธรรมนูญของคิวบา อากีนัลโดยนั้น ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐบีอักนาบาโตอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤศจิการยน พ.ศ. 2440 โดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาราชการ
          ขณะนั้น สเปนเผชิญปัญหาการแข็งข้อของอาณานิคมทั้งในฟิลิปปินส์และคิวบา สเปนจึงตัดสินใจเจรจากับกลุ่มของอากีนัลโด ผลของการเจรจาทำให้มีการลงนาในสนธิสัญญาบีอักนาบาโดที่จะให้สทิธิแก่ชาวฟิลิปปินส์ สเปนจะจ่ายเงินชดเชยให้อากีนัลโดและขอให้กลุ่มของเขาออกไปจากฟิลิปปินส์ อากีนัลโด ตกลงและออกเดินทางไปฮ่องกง สาธารณรับบีอักนาบาโตจึงสิ้นสุดลง แต่รัฐบาลสเปนจ่ายเงินชดเชยไม่ครบ และพยายามจับกุมขาวพื้นเมืองในข้อหากบฎ ชาวพื้นเมืองจึงก่อกบฎต่อต้านสเปนอีก ส่วนกลุ่มของอากีนัลโด ไปขอความช่วยเลหือจากสหรัฐอเมริกา
          เมื่อสงครามสหรัฐอเมริกา-สเปนขยายตัวมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก จอร์จ ดิอีย์ ได้ทำลายกองทัพเรือสเปนที่มะนิลา อากีนัลโดเดินทางกลับสู่เมืองกาวีเตพร้มเรือรบสหรัฐ อากีนัลโดประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์โดยมีเมืองหลวงที่มาโลส แต่สหรัฐฯไม่ยอมรับ อากีนัลโดได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาเผด็จการ มีการชักธงชาติฟิลิปปินส์ขึ้นสู่ยอดเสา กองกำลังฝ่ายชาวพืนเมืองล้อมกรุงมะนิลาไว้ได้
         สเปนได้ทำสัญญาลับกับสหรัฐ โดยยกฟิลิปปินส์ ให้สหรัฐ และกับเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสเปนถอนกองกำลังออกไป สหรัฐฯเข้ายึดมะนิลา ห้ามกองกำลังชาวพื้นเมืองเข้าสู่มะนิลา อากีนัลโดจึงประกาศยืนยันความเป็นรัฐอิสระของฟิลิปปินส์และสาบานตนเป็นประธานาธิบดี จากนั้นจึงต่อสู้กับสหรัฐฯต่อไป การต่อสู้กับสหรัฐใช้เวลาถึง 2 ปี โดยไม่ยอมแพ้ จนกรทั่งถูกจับตัวได้และถูกบังคับให้สาบานตนยอมแพ้ต่อสหรัฐ รวมท้งให้เขาออกประกาศให้ชาวพื้นเมืองยอมวางอาวุธ ซึ่งหลังจากนั้นต้องใช้เวลาออีก 2 ปี การสู้รบจึงยุติลง อากีนับโดถูกเนรเทศไปยังเกาะกวม ..
           สืบเนื่องจากการทำสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา ในปัญหาคิวบา การรบได้ขยายอาณาบริเวณจากทะเลแคริเบียนมาสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ในฐานะที่ฟิลิปปินส์เป็ฯกำลังสำคัญในสเปน ทำให้อเมริกามุงโจมตีกองทัพเรือของสเปนในฟิลิปปินส์ อเมริกามีคำสั่งให้นายเรือจัตวา ดิวอี้ เข้าโจมตี และสามารถทำลายกองทัีพเรือของสเปนได้ทั้งหมด ผลจากความสำเร็จของอเมริกานั้น ส่วนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือจากชบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ที่ต้องการจะต่อต้านสเปน ชาวฟิลิปปินส์ต้องการที่ตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น แต่ไม่เป็นผลดังที่ตั้งใจไว้ อเมริกาฯ ประกาศเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาปารีส ทำให้ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์เข้าต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่อเมริกาสามารถปราบขบวนการชาตินิยมได้ใน ค.ศ. 1901 สหรัฐฯเข้าครอบครองหมู่เกาะฟิลิปินส์เพราะเห็นประโยชน์ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทางด้านการค้าและการคมนาคมเพือเป็นฐานสู่เอเซียตะวันออก สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องปกครองฟิลิปปินส์อย่างไม่เป็นการถาวร ทั้งที่รู้ดีว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็ฯที่ต้องการของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และไม่อาจมอบปมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้แก่ชาวฟิลิปปินส์ได้ปกครองตนเอง เพราะดอ้ยพัฒนาในทุกด้าน เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีแมคคิลเลย์แห่งสหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในระยะเวลาหนึ่ง และทำการปลดปล่อยในอนาคตเมื่อ ฟิลิปปินส์มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
          ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริก อเมริกาได้ให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวพื้นเมืองมากว่ารัฐบาลสเปน ยกฐานะของสตรีให้สูงขึ้น จัดระบบการศึกษาที่ทันสมัยให้แก่ฟิลิปปินส์ จัดให้มีสวัสดิการแก่ชนชั้นกรรมกร สงเสริมความยุติธรรมทางสังคมคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็ก การทำงานมีค่าจ้าง ที่ดิน ผู้เช่าต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อังษร โอนคริตสจักรสเปนให้พระพื้นเมือง
            สหรัฐอเมริกาปรับปรุงแผนเศรษฐกิจ ควบคุมการค้าและภาษีของฟิลิปปินส์ ปรับปรุงธนาคารทางการเกษตรและอุตสาหกรรม มีการตั้งองค์กรมากมาย เช่น องค์กรผลิตอาหารแห่งชาติองค์กรข้าวโพดและข้าวองค์กรการทำน้ำตาลเป็นต้น
            สหรัฐอเมริกา ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ฝึกให้ประชาชนรู้จักการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา ได้ออก ฟิลิปปินส์ แอคส์ กำหนดให้สภาฟิลิปปินส์มีสภาผุ้แทน ตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ

                            (www.th.wikipedia.org/..,เอมิลีโอ_อากีนัลโด)
                            (www.th.wikipedia.org/..,ประเทศฟิลิปปินส์)
                            (www.th.wikipedia.org/..,จักรวรรดิสเปน)
                           - ฟิลิปินส์ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้-หนังสือชุด "อาเซียน"ในมิติประวัติศาสตร์, 30 ตุลาคม 2015.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...