The Wars

          สงครามโลกครั้งที่ 1 หากพิเคราะห์เหตุความขัดแย้งที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดสงครามนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งโดยแท้จริงนั้นเกิดเฉพาะประเทศในยุโรป  อันเกิดจากลัทธิชาตินิยมและการสิ้นสุด หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่ปรัสเซีย ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย นำมาซึ่งการสถาปนาอาณาจักรเยอรมันในเวลาต่อมา เกิดลัทธิชาตินิยมในหมู่ชาวฝรั่งเศส รวมไปถึง ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี ที่มีการรวมชาติหลังจบสงครามฝรั่งเศสปรัชเซีย รวมถึงชาวสลาฟในคาบสมุทรบอลข่าน การแข่งขันกันทางด้านการค้าเสรี การสแวงหาอาณานิคมเจริญถึงที่สุดในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้ ทวีปเอเชยและทวีปแอฟริกาตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปเกือบทั้งหมด แบ่งเป็นอินแดนในอแฟริกาตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ฝรั่เศส  ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ทวีปเอเชียอังกฤษครอบครอง อินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออกสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสปกครองลาว เขมรญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ตะวันออกกลางเป็นดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และตุรกี การแข่งขันกันทางด้านนี้จึงทำให้การมีอาณานิคมเป็นเครื่องมือความยิ่งหใญ่ ของชาติ ชาวยุโรป จึงได้มีการตกลงแบ่งเขตอิทธิพลในที่ต่างๆ เืพ่อไม่ใหมีปัญหาขัดแย้งกัน ภายหลัง
              มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งเป็น เยอรมนี ออสเตรีย- ฮังการีผเป็นจักรวรรดิที่มี ระบอบการปกครองแบบควบคู่ และอิตาลี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ฝรั่งเศส รัศเซีย และอังกฤษ เกิดเป็นกลุ่ม ประเทศความตกลงไตรภาคี มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่มมีการโน้มน้าวประเทศ อื่นๆ มาเป็นพันธ์มิตร เมื่อเกิดข้อขัดแย้งต่างๆ ประเทศในกลุ่มพันธมิตรก็จะมาช่วยกันในการทำสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน การเกิดสงครามระหว่างบัลแกเรีย-เซอร์เบีย กรีซ  หลังจากสงครามทำให้เซอร์เบียเป็นแค้วนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกลุ่มชาวสลาฟ
             เมื่อรัชของออสเตรีย-ฮังการีและพระชายถูกลอบปลงพระชนม์ ดดยชาวบอสเนย ซึ่งมีเชื่อสายเซอร์เบีย เหตุเพราะโกรธแค้นที่จักรวรรดิ์ออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองบอสเนย และขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย มือสังหารถูกจับกุมทันที่หลังลอบปลงพระชน
 ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียเข้าร่วมกับเซอร์เบีย อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาช่วยจากการทำพันธะสัญญากับรัสเซีย
             สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือมักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" ก่อน ค.ศ. 1914 เป็นสงครามใหญ่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914-11 พฤศจิการยน ค.ศ. 1918
              ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเกิดสงคราม ไทยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสัเกตุความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างำกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึนเป็นลำดั ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอมนี และออสเตรีย-ฮังการี แล้วประกาศเรียพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามยุดรป การส่งทหาไปรบครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียรู้วิชาการทางเทคนิคการรบ และการช่างในสมรภูมิ
            หลังจบสิ้นสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผุ้แทนเข้ประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่างๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และออสเตรีย - ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามของเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบควายากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จากดร. ฟราน ซิส บีแซยร์ ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยากลัยา ณไมตรี ในที่สุ ประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญ พงศ. 2467 ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลก
ำหมายครอบถ้อย และยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอากร ยกเว้น บางอย่างที่อังกฤษขอลดอย่นตอไ ปอี 10 ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่มาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับไทย ไทยจึงได้อิสรภาพทางอำนาจศาลและภาษีอากร คือมาโดยสมบูรณ์
           สงครามโลกครัั้งที่ 1 นำมาซึ่งกาเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างใหญ่หลวงในยุโรป ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง รวมทั้งการล่มสลายของรัฐจักรวรรดิที่สำคัญ ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักวรรดิออกตโตมัน ตลอดจนจักรวรรดิรัสเซีย ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เซอร์เบียและโรมาเนีย รวมถึงการก่อตั้งรัฐใหม่หลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมันล่มสลาย หลังสงคราม ชาตินิยม อุดมการณ์เรียกร้องดินแดน และลัทธิแก้แค้น กลายมามีความสำคัญในหลายประเทศยุโรป อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนและลัทธิแก้แค้นแรงกล้ามากในเยอรมนี เพราะเยอมนีถูกบังคับตามสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นผลให้เอยรมนีเสียดินแดนของประเทศไปร้อยละ 13 รวมทังอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด การรวมเยอมนีเข้ากับประเทศอื่นถูกห้าม ซึ้งต้องแบกภาระชำระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล และถูกจำกัดขนาดและขีดความสามารถของกองทัพอย่างมาก ขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองรัสเซีย ได้นำปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำโดยพรรคบอลเซวิค ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
         สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความขัดแย้งทางทหารระดับโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939-1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผุ้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็ฯพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธ์มิตรทางทหารคู่สงคามสองฝ่าย คือฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของสงคราม "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผุ้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเอทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยลยเส้นขีดแบ่งระหว่งทรัพยากรของพลเรือนหรือทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผุ้เสียชีวิตระหว่าง 40-มากกว่า 70 ล้านคน
         ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดสงครามในระดับโลกถึงสองครั้ง โดยสงครามโลกคร้งแรกเป็นสงครามที่เกิดขี้นเฉพาะในยุโรปเ็นสำคัญเท่านั้น แต่ในสงครามดลกครั้งที่สองนับได้ว่าเป็นสงครามที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างแท้จริง และพบว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการที่เดียว
         สงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นการรบซึ่งตั้งอยุ่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ (ฝ่ายอักษะ)และอีกฝ่ายี่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลกเอาไว้ (ฝ่ายสัมพันธมิตร) หรือกาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มตามอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติในครอบครองของตน ได้แก่ "กลุ่มประเทศมี" (Have Countries) กับ "กลุ่มประเ้ทศไม่มี" (Have not Countries) อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายก็มิได้ให้ควารวมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากนัก เพราะทั้งสองฝ่ายเพียงร่วมมือกันระหว่างประเทศคู่สงครามเพื่อทำลายอีกคู่สงครามฝ่ายลงอย่างรอบคาบเท่านั้น
         การรบในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี จนมีนักประวัติศาาสตร์ผุ้หนึ่งกล่าวไว้ว่า สงครามโลกครั้งที่สอง "เป็นการรบที่กระทำอย่างกะทันหันโดยปราศจากการวางแผนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนวว่าที่ใดคือจุแตกหักของสงคราม อาวุธใดโดดเด่นที่สุดในสงครามและข้อสรุปทางประวัติศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ทวีปยุโรปไม่เหลือพลังอำนาจที่จะดำเนินนโยบายของตนในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อีกต่อไป ดังที่เห็นได้จากสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบฝ่ายอักษะหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงคราม ดังนั้น สหรัฐอเมริกาและสภาพโซเวียตจึงก้าวขึ้นเป็นสองประเทศอภิมหาอำนาจที่ดำเนินนโยบายของโลกในเวลาต่อมา
         
           
                          (www.th.wikipedia.org/.., สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
                          (www.th.wikipedia.org/..,สงครามโลกครั้งที่สอง)
                          (knowleadge.eduzone.com/.."ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1)
                          (www.slidesshare.net/.."ความขัดแย้ง (สงครามโลกครั้งที่ 1/ สงครามโลกครั้งที่ 2/ สงครามเย็น)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)